ภาษาไทยเปลี่ยนมากถึงขนาดนี้เลยหรือ

เห็นมาหลายกระทู้แล้ว, ดูเหมือนว่าเปลี่ยนไปจากที่เคยใช้ :-
ก็ -- ก้อ
เป็น -- เปง
เดี๋ยว -- เด๋ว

โรงเรียนกับทางการที่เมืองไทยเขียนแบบนี้หรือไม่, หรือว่าเขาเขียนแบบนี้ในเว็บเท่านั้น

ความคิดเห็นที่ 1
คำพวกนี้ในภาษาเขียน เช่น ตามนิตยสารวัยรุ่น, วัยรุ่นเขียนจดหมายถึงกัน, วัยรุ่นเขียนจดหมายน้อย(เขียนโน๊ต) ถึงกัน
มีมาราวๆ อย่างน้อย 30 ปีแล้วค่ะ โดยเฉพาะคำว่า ก้อ (ก็)

และ คำทั้งหมดที่คุณ จขกท. ยกมาในกระทู้นี้ มีในภาษาเขียนในอินเทอร์เน็ท ตามเว็บบอร์ดของไทยมานานมากแล้วค่ะ
เป็นภาษาเขียน เป็นภาษาแบบไม่เป็นทางการ หรือ บางครั้งทำให้ประโยคดูน่ารักน่าเอ็นดูขึ้น หรือ ดู soft ลง

คำในภาษาอังกฤษ ในแต่ละปี แต่ละทศวรรษ ก็มีคำใหม่ๆ เกิดขึ้นไม่น้อยเลย และ มีภาษาเขียนแบบไม่เป็นทางการสำหรับ
เอาไว้ใช้ในอินเทอร์เน็ทเช่นกัน รวมถึงสัญลักษณ์ต่างๆ ด้วย

สำหรับเรา เราเห็นว่าเป็นวิวัฒนาการเป็นการเปลี่ยนแปลงการกัดกร่อนของภาษา แค่ต้องเลือกใช้ตามโอกาส ตามกาละ
เทศะ และ ตามอารมณ์ค่ะ

ก็เหมือนๆ กับคนไทยในสมัยนี้ ที่ใช้คำต่างๆ ในภาษาเขียน และ ในบทสนทนา ไม่เหมือนกับคนไทยเมื่อสมัยร้อยกว่าปีที่
แล้ว หรือ เมื่อสมัย 40, 50, 60, 70, 80, 90 ปีที่แล้วค่ะ ภาษาอังกฤษก็เช่นกัน หรือ ภาษาจีนก็มีตัวอักษรโบราณ
มีคำโบราณ ที่ใช้ไม่เหมือนกับในสมัยนี้โดยเฉพาะในเรื่องของตัวเขียน


ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
ยังมี

เทอร์, เทอว์-เธอ
จุงเบย-จังเลย
หรา-เหรอ
คร่า-ค่ะ
คะ-ค่ะ
ค๊ะ-คะ
สำพาด-สัมภาษณ์
แร้ว-แล้ว

เวลาเจอแล้วปวดสายตามากค่ะในการอ่าน


ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
เพิ่มเติมค่ะ_ศัพท์แบบภาษาเด็กๆ หัดพูด ศัพท์แบบเด็กๆ เล็กๆ พูด หรือ พวกศัพท์แอ๊บแบ๊วทั้งหลาย หรือ ศัพท์แบบ
น่ารักๆ คิกขุอาโนเนะในภาษาไทยเนี่ย ส่วนหนึ่งมาจากการพากษ์การ์ตูนญี่ปุ่น มาจากตัวละครการ์ตูนญี่ปุ่น หรือ มาจาก
หนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นที่มีอิทธิพลต่อเด็กไทย หรือ วัยรุ่นไทยมาช้านาน เกิน 30 ปีแล้ว จากการ์ตูนญี่ปุ่นหลายๆ เรื่องค่ะ

หรือ ศัพท์ตลกๆ , ศัพท์ตลกร้าย หรือ พวกศัพท์ตลกทะลึ่ง ในอินเทอร์เน็ทเนี่ย มักจะมาจากภาษาของพวกเกย์
พวกเก้ง กวาง เก้บ ค่ะ ลองกูเกิ้ลดูนะคะ ใส่คำว่า พจนานุเกย์ ค่ะ

หรือ ใส่คำว่า พจนานุเกรียน นะคะ หรือ ใส่คำว่า ไร้สาระนุกรม หรือ วิเกรียนพีเดี่ย ค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
ความเปลี่ยนแปลงการเขียนภาษาไทย
มาแรงและแพร่กระจายเร็ว
แบบตั้งตัวตั้งหลักรับกันไม่ทัน

ในสื่อสังคมประเภทออนไลน์
แม้แต่ในกลุ่มผู้ใหญ่ไม่ใช่วัยรุ่น แต่เป็นกลุ่มทีสนิทสนมกัน
การคุยกันทางเฟสบุ๊ค ก็ใช้การเขียนอย่างว่า หยอกล้อกัน

ถ้าเข้าไปคุยด้วย โดยการใช้ภาษาเขียนที่เคยใช้ๆกัน ก็ไม่มีใครว่าอะไร
แต่ตนเองจะรู้สึกแปลกๆไปเหมือนกัน และชักเริ่มสงสัย ว่า
แล้วเขาจะเข้าใจ ที่เราเขียนหรือไม่
สักวัน ต้องทำอย่างเขาแน่ๆเลย คริ คริ !

ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
คำลักษณะนี้ ไม่ใ่ชภาษาวิบัติแต่อย่างใด และ คงไม่มีทางทำให้ภาษาไทย เ้พี้ยนไปจากรูปแบบเดิมได้เลย
เพราะการเขียนคำ "แทนภาษาพูด" สามารถเขียนให้ใกล้เคียงสำเนียงจริงได้ โดยไม่จะเป็นต้องอ้า่งอิงภาษาเขียนเดิม
ถ้า จะเพี้ยน ก็ต้องเ้ป็นคำที่จงใจจะเพี้ยน แบบ คำบางคำใน ความเห็นที่ 2 นั้น มากกว่าครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 5
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 6
ไม่ขนาดนั้นหรอกค่ะ เค้าเขียนในโอกาสที่ไม่เป็นทางการเท่านั้น

เหมือนภาษาไทยยุคก่อนๆที่เขียนคำว่า ใช่ไหม เป็น ใช่มั้ย หรือ เมื่อไร เป็น เมื่อไหร่

ทุกวันนี้คำว่าใช่มั้ย หรือ เมื่อไหร่ เราก็ยังพบเห็นอยู่ในนิตยสารหรือในคำพูดของตัวละครในนิยาย

แต่เราจะไม่ใช้คำแบบนี้ในการเขียนรายงานทางการหรือเอกสารราชการหรือจดหมายลาครู


ตอบกลับความเห็นที่ 6
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 7
ที่ถามมาเพราะว่าไม่แน่ใจว่าจะใช้ในโรงเรียนหรือทางการเท่านั้น
ขอขอบใจทุกท่านที่มาตอบและอธิบายให้กับคนแก่


ตอบกลับความเห็นที่ 7
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 8
อ่านมาถึง คห.7 โอ้...จขกท. เป็น คุณปู่ หรือ คุณยาย

ยังไม่รู้จักใช้คำว่า วิจารณญาณ เลยจริงๆ อ่ะ

ขอขอบใจ


ตอบกลับความเห็นที่ 8
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 9
เป็นแค่การเขียนในสังคมออนไลน์ สังคมเฉพาะกลุ่มครับ
แต่ก็น่าเป็นห่วงอยู่เหมือนกัน เนื่องจากว่า ภาษาพวกนี้ เริ่มแพร่หลายมากขึ้นเรื่อยๆ
จนปัจจุบันนี้ เด็กนักเรียน นักศึกษา (ระดับมหาวิทยาลัย) เริ่มจะหลงๆ นำคำเขียนพวกนี้มาใช้บ้างแล้ว
บางคนเขียนมาแบบผิดๆ โดยไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตนเขียนผิด
ก็เลยเริ่มน่าเป็นห่วงมากขึ้นเรื่อยๆ


ตอบกลับความเห็นที่ 9
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 10
มันขึ้นอยู่กับว่า เขียนให้ใครอ่านด้วยครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 10
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 11
จขกท ไปเห็นที่เว็บไหน
คงไม่ใช่เว็บนี้ เพราะถ้าเขียนมาแบบนั้น มีหวังโดนเตือนโดนสอนนะ


ตอบกลับความเห็นที่ 11
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 12
ใช่เป็นบางคำ เฉพาะเวลาคุยกับเพื่อนๆ แต่คิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไรมากน่ะ ถ้าใช้แบบถูกกาลเทศะ


ตอบกลับความเห็นที่ 12
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 13
ใครรู้บ้างว่า ฟิน แปลว่าอะไร เห็นเค้าใช้กัน ไม่กล้าถาม กลัวคนหาว่าเชย


ตอบกลับความเห็นที่ 13
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 14
ฟิน : มาจากคำว่า "ฟินาเล่" ที่แปลว่า จบแบบสมบูรณ์แบบ โดยส่วนมากมักจะใช้ตอนที่รู้สึกว่า... "สุดยอด" อย่างเช่น ดีใจจังได้คุยกับรุ่นพี่คนนั้นแล้ว ฟินสุด ๆ อ่ะ เป็นต้น

http://hilight.kapook.com/view/74708


ตอบกลับความเห็นที่ 14
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 15
คห8 - "วิจารณญาณ" คำนี้ไม่เคยเห็นและไม่รู้จริงๆ, ไปหาใน google เห็นในวิกิพีเดีย - http://th.wikipedia.org/wiki/วิจารณญาณ
คห11 - จำไม่ได้ว่าเห็นจากเว็บใหน, ส่วนมากก็อ่านที่ห้องใกลบ้านกับห้อง Tech.
Thanks again everyone...


ตอบกลับความเห็นที่ 15
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 16
เพิ่งรู้เหมือนกันว่าฟินมาจากคำว่า finale ซึ่งออกเสียงว่า ไฟนาลี - fi'nalee ไม่ใช่ ฟินาเล่ ก็ว่ากันไปครับ คำพวกนี้มันไม่ค่อยมีเหตุผลมารองรับอยู่แล้ว อยากออกเสียงยังไงก็ได้ครับ แต่ขอให้มันถูกหน่อยละกัน ถ้าจะเอาศัพท์ฝรั่งมาเล่นน่ะ..


ตอบกลับความเห็นที่ 16
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 17
fin ?

finish หรือป่าว เวลาถึงจุดสุดยอด เลยใช้มาเปรียบเทียบกับหนัง บางฉาก


ตอบกลับความเห็นที่ 17
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 18
ฟืน
เคมี
เพลียแคม
เหวง


ตอบกลับความเห็นที่ 18
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 19
ขอบคุณที่คุณ chilla ถามให้ใน คห #13 เพราะดิฉันเองก็ได้ยินคนพูดว่าฟินบ่อย แต่ไม่รู้ความหมาย และที่มาที่ไป แต่แรกก็นึกถึงคำว่า finish เหมือนกัน แต่ก็ยังไม่เมคเซ้นส์ จนว่ามาเจอฟินาเล่นี่แหละ เลยถึงบางอ้อ


ตอบกลับความเห็นที่ 19
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 20
มันก็คล้ายๆกับวัยรุ่นฝรั่งล่ะครับ

how are you -----> how r u
nice to meet you ---> nice 2 meet u
I go to Japan ------> I go 2 j pan

เวลาวัยรุ่นฝรั่งโพสคุยกันก็แบบนี้ล่ะครับ

จึงไม่แปลกที่วัยรุ่นไทยจะใช้ภาษาเปลี่ยนแปลงไป,, แต่อย่างไรก็ดี ควรใช้ภาษาให้ถูกต้องเหมาะสมที่สุด


ตอบกลับความเห็นที่ 20
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 21
คห 16 finale ออกเสียงว่า ฟินาลี ไม่ใช่ ไฟนาลี
ก่อนจะว่าคนอื่น หาข้อมูลหน่อยนะ


ตอบกลับความเห็นที่ 21
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 22
ผมว่าแบบนั้นไม่เสื่อมหรอก มันเปลี่ยนเป็นสมัยไปน่ะ

แต่ที่เสื่อมแน่ๆคงเป็นคำว่า เพิ่งตื่น เพิ่งรู้หรือเพิ่งจะ

บางคนพูดหรือพิมพ์เป็น พึ่งตืน พึ่งรู้ พึ่งจะ

ผมเชื่อว่าคนที่พูดหรือพิมพ์แบบนั้นเขาคงไม่รู้จริงๆ

ว่าผิดแน่ๆ


ตอบกลับความเห็นที่ 22
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 23
เพิ่ง กับ พึ่ง ใช้แทนกันได้ค่ะ

พึ่งมีสองความหมาย ความหมายแรกคือ พึ่งพิงพึ่งพาอาศัย ส่วนความหมายที่สองหมายถึงเวลาที่ล่วงไปหยกๆใช้เหมือนเพิ่ง

...คำนี้ดิฉันก็เคยเข้าใจผิดคิดว่า พึ่ง มีความหมายเดียวคือพึ่งพาอาศัย แต่พอไปเปิดพจนานุกรมราชบัณฑิตดูก็หงายเงิบไปเลยเพราะคำว่าพึ่งมีสองความหมาย


ตอบกลับความเห็นที่ 23
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 24
มีอีกคำเห็นคนใช้กันเกลื่อนเฟสบุ๊ค "มว๊ากกก"


ตอบกลับความเห็นที่ 24
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 25
ฉัน(ภาษาเขียน) = ชั้น (ภาษาพูด)
ข้อเขียนส่วนตัวบนเนตไม่เท่าไหร่ ถือเป็นลักษณะการเขียนส่วนตัว
แต่การ์ตูน หรือหนังสือสำหรับเด็กและเยาวชน อันเป็นสิ่งพิมพ์ถาวรที่ต้องผ่านการตรวจสอบจากบรรณาธิการ
ก็ใช้ชั้นแทนฉันกันหมด สักวันคงได้เห็นหนังสือธุรกิจ หรือหนังสือราชการใช้ ชั้น ดิชั้น แทน ฉัน ดิฉัน
หรือเด็กอาจตอบข้อสอบ ทำการบ้านวิชาเรียงความ หรือวิชาเขียนจดหมายทางการว่า ชั้น ดิชั้น กันเป็นแถว


ตอบกลับความเห็นที่ 25
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 26
เราก็เขียนแบบที่ จขกท บอกนะค่ะเวลาที่่แชตกะเพื่อน ยิ่งเวลาเพิ่งตื่นนี่พิมพ์ผิดระเบิดเลย ตายังเปิดไม่เต็มที่ก็กดแล้วก็เลยต้องสั้นไว้ก่อน แต่ถ้าต้องเขียนรายงานการประชุม อะไรที่เป็นสาระ เราแยกแยะออกค่ะ

ถ้าจะมองในมุมอื่นเรากลับเห็นว่า การที่เด็กเอาภาษาพูดมาเขียนก็เป็นทางเลือกในการใช้ภาษาอีกทาง เด็กบางคนแทบไม่รู้ว่าภาษาเขียนที่ถูกต้องเขียนแบบไหน แบบนี้เราจะโทษคนสอนได้หรือเปล่าค่ะว่าไม่สามารถบรรจุคำที่ถูกต้องให้เด็กได้ มันต่างกันนะค่ะระหว่าง เด็กที่ใช้ภาษาพูดในงานเขียน เพราะไม่รู้ว่าภาษาเขียนที่ถูกต้องเป็นอย่างไร กับ เด็กที่เข้าใจทั้งสองแบบ แต่เลือกได้ว่าจะใช้แบบไหนกับงานเขียนลักษณะไหน

เราว่าผู้ใหญ่สมัยนี้ก็เเปลกๆ ตอนเราเด็กเราก็ใช้คำแบบนี้บ่อยๆ เรารู้ว่าผิด แต่พอเราโต เวลาทำงานเราก็ไม่เคยเอาคำพวกนี้มาใช้ ผู้ใหญ่นี่จะติงกันตั้งแต่เด็กยังไม่ทำบัตรเลยหรอค่ะ เคยเป็นวัยรุ่นกันหรือเปล่าค่ะ อารมณ์ประมาณว่า เอาภาษาพูดมาเขียนมันผิด คำพูดของคนวัยผู้ใหญ่ วัยที่มีทั้งคุณวุฒฺิ วัยวุฒิ มาย้ำเด็กๆ ว่า ผิด ผิด ผิด สำหรับเราๆ ว่าพอคนเราโตขึ้นเจอกฎของสังคมก็จะรู้กันเองว่าอะไรควรไม่ควรค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 26