[ขอคำปรึกษาคะ]พี่สาวเรียนที่อเมริกามา 7 ปีแต่มีแนวโม้มว่าจะเรียนไม่จบเพราะทุนหมด

ต้องขอออกตัวว่าเป็นเรื่องของพี่สาว เราจะเล่าคร่าวๆพอให้ได้ทราบปัญหา พี่เราไม่สะดวกพิมพ์ภาษาไทยค่ะ
แต่เดี๋ยวเราจะให้log in นี้พี่สาวมาเพิ่มเติมรายละเอียด และหากท่านใดพอมีหนทางแนะนำแก้ไขหรือช่วยเหลือ
เราค่อยให้รายละเอียดเพิ่มเติมเป็นการส่วนตัวภายหลังนะคะ

พี่สาวได้ทุนเรียนจากรัฐบาลไปเรียน โท-เอกที่อเมริกาตั้งแต่ปี 49
เริ่มแรกไปเรียนที่ Connecticut เรียนcoursework ปีครึ่งพี่เราสอบได้คะแนนดีมาก (ถ้าจำไม่ผิดได้คะแนนเต็มและบวกเพิ่มให้)
ทางมหาวิทยาลัยที่Connecticut ก็ให้ผ่านไม่ต้องเรียนโท และแนะนำให้ย้ายไปเรียนเฉพาะทางที่อีกรัฐหนึ่ง
เพราะมีAdvisorเฉพาะทางอยู่ พี่สาวเราจึงเปลี่ยนมาเรียนที่ใหม่ เพื่อเริ่มเรียนปริญญาเอกเลย

แต่ปัญหาเกิดจากเรียนที่ใหม่นี่แหละค่ะ แรกๆพี่เราก็ลงเรียน coursework ป.เอกปกติและเริ่มทำLab
Advisorของพี่สาวเราให้พี่ทำแต่Labไม่ยอมให้ทำงานพิเศษข้างนอกเพิ่มเติม พี่เราก็ยอม...
ทำLabอย่างเดียวมาตลอด จนปีที่แล้วได้เวลาจบงานจบก็มี แต่ก็เหมือนเขาจะไม่ยอมให้จบ
ไม่ว่าจะผลLab ที่แก้แล้วแก้อีกเหมือนไม่มีเหตุผล เอางานพี่สาวเราไปpresent ให้พี่เราทำLab ให้เขา เหมือนยื้อพี่เราไว้
(เรื่องตรงนี้ค่อยให้รายละเอียดเพิ่มเติมภายหลังนะคะ เพราะเยอะมากค่ะตลอดสามสี่ปีที่พี่เราโทรมาระบายให้เราฟังว่าเครียด และท้อแท้ขนาดไหน)

ประมาณเมื่อปีที่แล้ว ด้วยว่าพี่สาวเราเรียนข้ามปริญญาโทมาเลยทำให้การนับระยะเวลาจ่ายทุนลดลง
แต่Advisorก็ไม่ยอมปล่อยพี่เราไปไหน และไม่หาทางช่วยเหลือพี่เราเลย โชคดีว่าตอนนั้นมีคนแนะนำให้ตัดงานมาทำโทสักส่วน
และAdvisor ก็จะอนุมัติให้จบเลยเพราะยังไงก็เป็นงานที่ proof มาแล้ว(เตรียมตีพิมพ์ปริญญาเอก)
แต่พี่เราต้องทำLabต่อที่นั้นอีก 1-2 ปีตามเวลาทุนที่ขยาย

แต่แม้จะทำโทเพิ่มเพื่อขยายระยะเวลารับทุนแต่เขาก็เริ่มนับตั้งแต่พี่เราเรียนที่ Connecticut อยู่ดี

เทอมที่ผ่านมาคือเทอมสุดท้ายที่รัฐบาลจะจ่ายทุนให้พี่เรา Advisorคนนั้นก็ยังไม่ยอมให้พี่สาวเราจบสักที
หาเรื่องแก้นั่นแก้นี่ ทั้งงานทำโท ทั้งทำเอก ทั้งๆที่โทพี่สาวเราก็สอบปากเปล่าผ่านหมดแล้วเหลือเล่มขั้นสุดท้าย
คณะกรรมการสอบก็ไม่มีปัญหาอะไรหรือให้แก้ไขอะไรเลย แต่Advisor พี่สาวเราเขาก็ยังให้แก้ไข
(แก้กลับมาพี่สาวเราบอกไวยากรณ์ภาษาอังกฤษยังผิดเลยไม่รู้ว่ายังไง วนไปวนมา) สรุปแตะถ่วงงานทำโทไปเป็นปี

การที่advisor คนนั้นยังไม่ยอมปล่อยพี่สาวเราทั้งๆพี่สาวเราก็บอกว่าทุนหมดก็ยังไม่ให้พี่สาวเราไปทำงานพิเศษข้างนอก
และเขาบอกว่าจะให้พี่สาวเราทำงานที่ Lab และให้เงินเป็นชั่วโมงแทน
แต่ตอนนี้จะจ่ายเงินเทอมใหม่แล้ว และAdvisorคนนั้นก็ไม่จ่ายเงินให้พี่สาวเราอย่างที่รับปากไว้สักที
มาถึงตรงนี้พี่เราเขาเครียดมากเลยคะ เงินก็ไม่มี ทุนก็หมด เรียนก็ไม่จบ
ก็เลยอยากขอคำแนะนำค่ะว่า

1. จะคุยกับAdvisor คนนี้ว่ายังไงดี เราว่าเขาแล้งน้ำใจมาก เหมือนหลอกใช้พี่สาวเรามาเป็นปีๆ (เป็นคนเอเชียเหมือนกันแท้ๆไม่น่าทำกันได้)
2. มีหน่วยงานไหนหรืออะไรพอร้องขอความช่วยเหลือได้บ้างคะ พี่เราปรึกษาหน่วยงานต้นสังกัดเขาแนะนำว่าอาจต้องกลับมาเขียนผลที่เมืองไทย
อย่างนี้แล้วมีทางเลือกอื่นที่ดีกว่านี้ไหมคะ เมื่อเป็นแบบนี้ก็เหมือนกับว่าพี่เราไปเรียนตั้ง 7 ปีแต่ไม่มีปริญญากลับมาสักใบ ด้วยความเห็นแก่ตัวของคนบางคน

ตอนนี้พี่สาวเราเครียดมากค่ะ ตัวเราเองก็ให้คำปรึกษาเป็นสาระไม่ค่อยได้ เลยบอกพี่ว่าจะมาขอคำแนะนำในห้องนี้
ใครพอมีทางออกแนะนำด้วยนะคะ จะเป็นพระคุณอย่างยิ่งค่ะ

เขียนไปเขียนมา ยาวมาก ต้องขออภัยด้วยค่ะ แต่เราขอรับประกันอย่างหนึ่งว่า พี่สาวเราเขาเป็นคนขยันมากและเป็นคนดีมากๆด้วย
ดังนั้นเราเชื่อว่าเรื่องที่เกิดขึ้นกับเขาคงไม่ใช่เพราะเขาขี้เกียจหรือไม่ฉลาด หรอกคะแต่เกิดด้วยเหตุผลอื่นมากกว่า

ความคิดเห็นที่ 1
มีอาจารย์ท่านอื่นในคณะให้เข้าหาไหมคะ ที่ตำแหน่งสูงกว่า adviser เช่นคณบดี เป็นคนที่พี่คุณสนิทมาก่อนหน้านี้ (เพราะถ้าไม่เคยคุยกับคนอื่นเลย นอกจาก adviser ตัวเอง ถ้าร้องเรียนอะไรขึ้นมา คงไม่มีคนออกหน้าให้ แล้วทุกคนคงเลือกที่จะเชื่ออาจารย์มากกว่าแน่ๆ

หรืออาจารย์เก่าที่ connecticut ก็ได้ค่ะ ถ้าสนิทกัน และสามารถรับรองได้ว่าเรามีความประพฤติดี + มีวินัยดี และสมควรจบได้แล้ว


ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
สำหรับผม เรื่องที่คุณเล่ามา ค่อนข้างสับสน
แต่ถ้าเป็นจริง ควรรายงานให้เจ้าของทุน
และหน่วยงานต้นสังกัดทราบปัญหา เป็นระยะ

เห็นด้วย ที่ต้นสังกัดแนะนำให้เอางาน มาทำต่อให้สมบูรณ์ที่เมืองไทย
ปัญหาที่พี่สาวจะต้องเสียค่าใช้จ่าย
เพื่อเดินทางกลับ ไปพบอาจารย์ในต่างประเทศ อย่างสมัยก่อน
สมัยนี้แทบไม่มี เพราะสามารถติอต่อกันทางอินเตอร์เน็ทได้

ปัญหาว่าทั้งสองฝ่าย จะตกลงทำงานกัน อย่างเป็นระบบอย่างไร
ไม่เหมือนตอนอยู่ไกล้กันเสียแล้ว
นี้คืออันตรายที่สุด ที่จะส่งผลต่อการจบไม่จบ

มีกรณีคล้ายพี่สาว เกิดที่ออสเตรลีย เจ้าตัวต้องเอางานมาทำต่อที่ไทย
ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ไปพบอาจารย์ที่อังกฤษจำนวนมาก
เพราะอาจารย์ที่เคยสอนที่ออสเตรเลีย ย้ายไปอังกฤษ
ยืดเยื้อกันห้าหกปี ที่สุดจบได้

เป็นผม จะพยายามรักษาความสัมพันธ์ และความรู้สึกที่ดีต่อกัน
กับอาจารย์ที่ปรึกษา ไว้อย่างเหนี่ยวแน่น จนวินาทีสุดท้ายทีเดียว
ขณะเดียวกัน ก็หอบงานมาทำต่อที่เมืองไทย
น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด ครับ

ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
ลองคุยกับ สนร. และก็ต้นสังกัดทุนดูครับ แล้วอาจจะต้องทำหนังสือขอขยายเวลาการรับทุนครับ
ถ้าไม่งั้นก็ลองทำแบบที่ คห.2 ดูครับ แล้วก็เจรจากับ สนร.ไปด้วย
ผมว่าถ้ามีปัญหาจริง น่าจะขยายระยะเวลการรับทุนได้ครับ
ลองคุยกับ สนร. ดูก่อน เขาไม่ใจร้ายหรอกครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
#คห 2 เราเล่าสับสนจริงๆค่ะยอมรับ แต่เราก็ไม่อยากเล่าส่วนที่แย่มากๆเลยวกไปวนมา
จริงๆโดยความคิดส่วนตัวแล้วจากที่พี่เราเจอคือเหมือนโดนยื้อไว้ใช้งาน
การที่พี่เรายอมรับก้มหน้าทำ Lab มาห้าปีก็คือการรักษาความสัมพันธ์กับที่ปรึกษาให้ดีที่สุด ให้นานที่สุด
แต่เมื่อความสัมพันธ์ที่พี่เราคอยรักษาไว้ เขากลับไม่เคยมีน้ำใจหยิบยื่นช่วยเหลือเลย
คอยแต่ละกอบโกยให้ทำงานแต่ของตัวเอง
พอมาถึงจุดนี้เขาก็ยังไม่คิดจะช่วยเหลือหรือทำอะไร เลยไม่รู้จะเดินต่อไปทางไหนจริงๆค่ะ
#คห 1 #คห 3 ขอบคุณสำหรับคำแนะนำค่ะ แต่ระยะเวลาทุนขยายไม่ได้แล้วค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
ก็ลองคุยกับ adviser ดูครับ
บอกไปว่าเวลาของทุนจบเมื่อไหร่
หลังจากจบแล้วเราไม่สามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่ต่างประเทศได้
จำเป็นจะต้องกลับไปเขียนผลที่ไทย
แล้วขอคำแนะนำจากเค้าว่าจะให้ทำอย่างไรต่อไปครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 5
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 6
ลองให้พี่สาวติดต่อถามว่าใครคือ Ombudsman แล้วไปร้องเรียนกับคนนั้นได้เลยค่ะ เค้าจะทำการสืบสาวราวเรื่อง หาหลักฐานและให้ความเป็นธรรมได้นะคะ


ตอบกลับความเห็นที่ 6
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 7
เข้าใจสถานการณ์อย่างดี

(เป็นคนเอเชียเหมือนกันแท้ๆไม่น่าทำกันได้) >>>> ก็เพราะเอเซียด้วยกันจึงทำแบบนี้ได้

ยังไงเรื่องก็ยาวมาถึงนี้แล้ว ต้องแก้ดีๆ ก็บอกเขาตรงๆว่าเราต้องจบและกลับบ้านไปทำงานแล้ว ด้วยเหตุผล ทุนรัฐบาลไทย ที่ทำงาน ครอบครัว ทุกอย่างประกอบกันหมด แม้เขาจะอยากได้เราไว้ทำงานก็เป็นไปไม่ได้

มีถมไป ที่ทำงานดี Advisor ไม่ให้จบทำ ป เอกเป็นสิบปี แต่คนทำก็แฮปปี้เพราะอาจารย์ก็แฟร์ บางคนอยู่กันไปแบบนั้น เพราะไม่เดือดร้อน และมีเปเปอร์ออกมาได้ตลอด เป็นฝรั่งก็ทำกันแบบนี้


ตอบกลับความเห็นที่ 7
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 8
..อืม..
น่าเห็นใจนะค่ะ

ป้าแหม่ม..ช่วยอะไรมากไม่ได้..เพราะไม่มีความรู้เลย
ก็เลยแวะมาให้กำลังใจกันนะคะ

ดีใจจัง...ที่คนไทยจะมีบุคลากร เก่งๆ อย่างพี่สาวของเจ้าของกระทู้
รีบ ๆ กลับมาพัฒนาบ้านเรานะค่ะ

ตอบกลับความเห็นที่ 8
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 9
# คห5 พี่สาวเราบอกเขาและคุยกับเขาตรงๆตั้งแต่ทุนหมดเวลาครั้งแรกและจนมาถึงครั้งนี้เขาก็ยังตีมึนไม่รับไม่รู้ค่ะ
#คห6 จะลองให้พี่ไปถามดูค่ะ เดียวค่ำๆเขาคงได้มาอ่านกระทู้ขอบคุณมากคะ
#คห 7 ถ้าเขาแฟร์แบบนั้นเราก็เชื่อว่าพี่เราจะแฮปปีี้ค่ะ เพราะพี่เราชอบทำเลปและชอบเรียนด้านนี้มาก
#_/\_ ขอบคุณป้าแหม่ม มณี ค่ะสำหรับกำลังใจให้พี่สาวเรา

ตอนนี้ทางบ้านก็เป็นห่วงมาก ยุให้กลับมาเมืองไทย แต่พี่เราเขาก็เครียดคะ ไปเรียนตั้งนานไม่มีอะไรกลับมาเลย


ตอบกลับความเห็นที่ 9
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 10
ความคิดเห็นที่ 8
ผมไม่รู้จักป้าแหม่มหรอกครับ
แต่อยากจะบอกว่า พวกเราที่ไปเรียนต่างประเทศ ด้วยทุนอะไรก็แล้วแต่
แล้วกลับมาทำงานในไทย จนบางคนเกษียณไปแล้ว
ส่วนหนึ่งขณะเรียนในต่างประเทศ
ได้รับการสนับสนุนทั้งกำลังกายและใจ
จากคนที่ไม่มีความรู้อยางป้าแหม่มนี้แหละ
จึงได้กลับมาเป็นผู้เป็นคน
ในบ้านเมืองตนเองในปัจจุบัน


ตอบกลับความเห็นที่ 10
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 11
อ่านแล้วงงๆเรื่องการเรียนเอกแล้วกลับไปเรียนโทเล็กน้อย แต่นั่นไม่ใช่ประเด็น ปัญหาดูเหมือนจะอยู่ที่ตัวอาจารย์ ถ้าชัดว่าอาจารย์ที่ปรึกษาเตะถ่วงด้วยเหตุผลที่ไม่สมควร ก็ปรึกษากับทางภาควิชาเลยค่ะ คงต้องมีการทำเรื่องร้องเรียนกัน หรืออาจต้องถึงกับเปลี่ยนตัวอาจารย์ที่ปรึกษา ถึงขนาดนี้แล้วไม่ต้องกลัวเรื่องรักษาความสัมพันธ์กับอาจารย์แล้วมั้งคะ ถ้าต้องเรียนต่อแล้วทุนหมด ก็ปรึกษาทางภาคฯ ด้วยว่าจะมีทุนหรือมีงานพิเศษอะไรช่วยเราเรื่องการเงินได้บ้าง มาถึงขนาดนี้แล้วเขาไม่น่าจะปล่อยให้เราเคว้งเรียนไม่จบหรอกค่ะ

แล้วก็ปรึกษากับสนร.ว่าจะช่วยคุยกับทางมหาวิทยาลัยให้เราด้วยได้มั้ย (กรณีร้องเรียนอาจารย์) และเรื่องการจัดการการเรียนค่ะ เพราะอาจต้องกลับไปเขียนงานที่เมืองไทย


ตอบกลับความเห็นที่ 11
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 12
เคยเห็นเหมือนกัน advisor ที่หลอกใช้งานเด็กไปเรื่อยๆ เพราะไม่ต้องทำงานเอง ได้แรงงานฝืมือดี ไม่ต้องจ่ายตังค์ แต่ถ้าเด็กจะไม่จบเพราะทุนหมดนี่ advisor จะเสียชื่อนะ มีผลต่อการประเมินผลของคณะด้วย ถ้าคุยกับ advisor ไม่รู้เรื่องคงต้องไปคุยกับคณบดี หรือหัวหน้าแผนก

อาจารย์เราเคยบอกว่า คนที่ตั้งใจทำงาน ส่งงานหมดแล้วที่ไม่จบ มีอย่างเดียวคือทะเลาะกับ advisor เลยโดนไม่ยอมให้จบ ถ้าไม่ทะเลาะกันซะ ยังไงส่งงานแล้วก็ต้องจบ advisor ปกติเค้าต้องดันให้ด้วยเพราะถ้าเด็กไม่จบกะเค้าหลายๆคน เค้าก็เสียชื่อเหมือนกัน ไม่ทราบว่าพี่ของคุณทะเลาะอะไรกับadvisor หรือเปล่า

เรื่องไม่ให้รับงานข้างนอกเป็นเรื่องค่อนข้างไม่แปลกนะ เรียนเอก ทำแลบก็หัวบานแล้ว มีน้อยที่ยังจะไปทำงานข้างนอกได้อีก ถึงอาจารย์ไม่ห้ามก็เถอะ


ตอบกลับความเห็นที่ 12
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 13
คุณ ยืนงงในดงแมว

จากที่อ่านปัญหาดู พี่สาวของคุณ น่าจะอยู่ในวัย ๒๕ ถึง ๓๐ ปี
ได้เรียนถึงระดับหลังบัณฑิตวิทยา ในสหรัฐฯ นานถึง ๗ ปี มีปสก.ทำงาน

อย่างแรกที่จะขอให้กำลังใจ คือ อย่ามองอนาคตไปในทิศทาง ๑ เดียว

ตอนนี้ท้อแท้ เพราะตั้งเข็มว่า ทุ่มเทเวลามานานขนาดนี้ แล้วยังไม่จบซะที
หรืออาจถูกกดดันจากสังคม ว่าต้องได้ปริญญาเป็นเรื่องราวกลับบ้านด้วย

นั่นแหละคือปัญหา ที่สำคัญ ต้องเปลี่ยนมุมมองให้กว้างกว่านี้

ชีวิตคน ยังไม่เรียกว่าเริ่มต้นด้วยซ้ำ ถ้ายังไม่รู้จุดยืนของตนเองที่แน่ชัด
พี่สาวนั้น ยังมีทางออก ทางไป อีกไกลและยาว จะมีความสุขกว่าที่หวังไว้

ประการแรก ถึงเรียนไม่จบ ก็ไม่ได้แปลว่ากลับไปไม่ได้อะไรสักอย่าง
แต่ได้ตัวเองกลับไป เต็มๆทั้งชีวิต ปริญญาเอก ไม่ใช่ทุกอย่างในชีวิต

คุณว่า พี่สาวทั้งขยันและเป็นคนดีมากๆ ทั้งตั้งใจทำงาน ทั้งมีความรู้สูงด้วย

คนเก่งและดีแบบนี้ จะต้องกลัวอะไร ต่อให้ไม่มีคำว่า ดร. นำหน้าชื่อไว้

บอกพี่สาว ลองเสิร์ชในกลุ่มนักเรียนเก่าของยูที่เรียนอยู่ ถ้ายูใหญ่ๆดังๆ
เขาจะให้เกียรตินักศึกษาเก่าเสมอ เรียนนานกี่ปี จบไหมจบ จะมีประวัติอยู่
เครือข่ายจะกว้างขวางมากทีเดียว ในประเทศนี้ ยิ่งมีประสบการณ์ทำงานดี

ในชั้นนี้ ให้เตรียมการแก้ไขไว้ ๓ ลำดับ

ลำดับหนึ่ง ติดต่อท่านอัครราชทูตฝ่ายการศึกษา และที่ปรึกษาอีกครั้ง
กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของนร.ทุนรัฐบาล ที่นี่

http://www.oeadc.org/oea/oeateam

กรณีที่ปรึกษาแล้ว ท่านจัดการให้ได้ดีที่สุดแค่ไหน ขอให้ยอมรับตรงนั้น
กลับคือกลับ ไม่ได้แปลว่าอนาคตหมดสิ้น แต่ว่า เพียงพลาดหวังเท่านั้น


ลำดับสอง มองให้เห็นว่า วัยและการเริ่มต้นใหม่ ยังทำได้ในอีกหลายทิศ

เรียนถามผู้รู้ ว่าเรียนไม่จบ ระบบราชการกำหนดให้ใช้ทุนทำงานอย่างไร
พี่สาวพร้อมจะทำตรงนั้นไหม ถ้าหากว่าไม่ไหว ตอบตัวเองทนแรงกดดัน
หรือคำสบประมาทจากรอบข้างไม่ได้ จริงๆ ก็ต้องขอใช้เงินทุนคืนราชการ
(ไม่แนะนำวิธีนี้ แต่ขึ้นกับปัจจัยแวดล้อม สุขภาพจิต และครอบครัวด้วย)


ลำดับสาม เริ่มต้นใหม่ เรียนใหม่ ย้ายสถาบัน ฝังเรื่องเก่าไว้ที่เดิม จบไป

การทรานสเฟอร์ เปลี่ยนสาขา โอนย้ายวิชา ในสหรัฐฯ ทำได้ตลอดเวลา
กรณีที่ไม่มีทุน งบหมด เวลาหมด แต่ลมหายใจยังมี นี่คือโอกาสของพี่คุณ

ทำงานใหม่ อันนี้ต้องไปตามระบบ ว่ามีช่องทางไหนที่กฎพอจะขยายได้
อย่าเลือกงาน แต่ต้องเลือกว่าจะทำให้ชีวิตอยู่ต่อไปให้ได้ ยอมลำบาก
รับความเปลี่ยนแปลง สถานะที่หมดไป กลายเป็นอดีตนักเรียนทุนรัฐบาล

แต่ความก้าวหน้ายังมี ถ้าขยันจริง ปล่อยวางความมีชื่อเสียงในสังคมก่อน

ให้เวลาอีก ๕ ปี เรียนต่อโทใหม่ หรือปรับวิชาเรียนเสริมให้เข้าทางอื่นๆ

อาชีพที่จะมีความสุขที่สุด เหมาะสมที่สุด คืออะไร เลือกให้ได้ชัดเจน
และทำงานอย่างอื่นๆ เก็บหอมรอมริบ ไปจนกว่าจะเรียนได้ใบป.โทใหม่

ในวันนั้น พี่สาวก็จะมีความสำเร็จอย่างใหม่ แม้จะไม่ใช่อันเดิมที่ฝันไว้..


ชีวิตที่ก้าวมาไกล ล้วนมีอุปสรรค พี่สาวคุณไม่ใช่คนแรกและสุดท้ายเลย
ที่ต้องมีการพลิกผัน มีคนที่เคยเรียนนานกว่านั้น ได้หลายปริญญามากๆ
และมีชีวิตที่มีความสุข เพียงแค่ เอาตัวเองออกมาจากบ่วงคล้องในสังคม


จริงอยู่ คนไทยตั้งมาตรฐานชีวิต บุคลากรได้ทุนมา เป็นคนเก่งมีคุณธรรม
แต่ในเมื่อเส้นทางไม่ราบรื่น มีประสบการณ์ที่ทำให้เกิดอุปสรรค อย่าท้อ

ไม่ต้องคิดว่า โอย...อายเขาไปทั่ว เรียนไม่จบเอก เพื่อนๆจะก้าวล้ำหน้า

รับประกันว่า ไม่มีใครหยามหยันได้เลย ต่อให้อนาคตจะไม่ใช่ ดร.ในไทย
ตราบใดที่ใจพี่คุณ ยังมองเห็นทางสร้างตน และทำประโยชน์ให้กับสังคม

ถ้าอยากจะอยู่ไทย พี่คุณต้องเข้าไปสู่ระบบของค่านิยมที่จะทำให้ท้อแท้
แต่ถ้าใช้ประสบการณ์ ๗ ปีในสหรัฐฯ สร้างทางเดินใหม่ อนาคตจะงดงาม
ยิ่งกว่าที่จะกลับไปรับราชการก็ได้ ใครจะไปทราบ อยู่ที่กำลังใจของเธอ

ไม่ได้หมายความว่า ทางเลือกใหม่นี้จะดีที่สุดนะ แต่เป็นวิธีคิดให้กว้างไว้

อย่าไปติดหลงในวงวน ว่าชีวิตไม่มีความหวังอีกแล้ว ดร.ไม่ใช่สิ่งการันตี
ว่าเส้นทางจะรุ่งเรืองเสมอไป แต่ก็ขอภาวนาให้เธอเรียนสำเร็จดังที่หวังไว้
ได้กลับไปทำงาน มีเกียรติ มีวาสนาบารมีต่อไปในอนาคตรับใช้ราชการ

แต่ว่า หากจะกลับไปอย่างคนสิ้นหวัง อ่อนแอ หรือรู้สึกว่าเป็นคนเคว้ง
ก็อย่ากลับ ตัดใจเสีย ทำเอกสารที่ต้องทำ และรับคำแนะนำของท่านทูต
ก่อนที่จะเลือกอะไรใหม่ให้กับชีวิต ให้คิดให้ดี ว่าตนเองต้องการอะไรแน่

เรื่องเงิน นั่นคือปัญหาอย่างสำคัญ แต่อย่าลืมว่า พี่สาวมีประวัติทางการรับรองอยู่ การที่จะปรับทางและเริ่มใหม่ ทำได้ แค่ว่าต้องหาคนส่งเสริม
ส่วนเรื่องที่โดนอ.ที่ปรึกษาดึงถ่วงไว้นั้น ให้เป็นบทเรียน อย่าโทษที่เขา
ฝ่ายเดียว เพราะเรื่องมันเกิดขึ้นในข้อตกลงกันของระบบการศึกษาทั้งหมด

ในโลกของการต่อสู้ ต้องพบคนที่เอาเปรียบและคนที่จะสนับสนุนให้ได้ดี

ช่วงนี้ พบคนทำร้ายก็ต้องฝ่าไปให้ได้ สักวัน พี่สาวคุณจะประสบสิ่งที่หวัง
อย่าปล่อยให้ประสบการณ์ ๗ ปี ในต่างประเทศ ด้อยค่ากว่าใบปริญญาได้
ถ้าให้ความสำคัญกับกระดาษ ก็จะทรุดเร็ว พี่สาวต้องหันมาให้ความหมาย
กับศรัทธาในการดำรงชีวิต และอย่ายอมให้ความผิดพลาดทางการศึกษา
กลายเป็นปมปัญหาหรือเป็นเครื่องตัดรอนอนาคตทั้งหมด ชีวิตต้องก้าว
ต่อไปข้างหน้า เป็นคนที่ไม่มีคำว่า ดร.นำหน้า ก็ใช่ว่าจะไม่ใช่คนดีอะไร

เชื่อเถิด คนที่รู้จักพี่สาว จะยิ่งนับถือ จะยิ่งรัก และจะชื่นชมในความดีนั้น
ขอเพียงให้ทำหน้าที่ของลูกของพี่ที่ดีต่อไป ทำในสิ่งที่เป็นไปได้ให้ดีที่สุด

อะไรเป็นไปไม่ได้ ก็ไม่ต้องทำ ไม่ต้องดันไปทั้งที่เห็นว่าเป็นทางตัน
การใช้ชีวิตในต่างประเทศ ก็สร้าง benefits ให้ประชาคมโลกได้เช่นกัน
และจะส่งผลให้นานาชาติได้รู้ว่า มีคนจากเมืองไทยที่เก่งๆมาอยู่ในสากล

คิดใหม่แล้วทำอย่างไร ท่านทูตแนะนำอย่างไร คืบหน้าทางไหน บอกด้วย


ตอบกลับความเห็นที่ 13
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 14
ช่วยสรุปความหน่อยได้มั้ยคะ

1. ที่สอบปากเปล่าจบแล้วแต่ยังแก้เล่มไม่จบคือเรื่องขอจบปโท ไม่ใช่ปเอก
2. งานวิจัยส่วนปเอกทำผลแล็บครบหรือยัง ต้องมีเก็บข้อมูลเพิ่มมั้ย สรุปวิเคราะห์ผลไปถึงไหนแล้ว
3. เคยเอางานปเอกไปให้กรรมการคนอื่นช่วยดูบ้างมั้ย
4. ที่ผ่านมาไม่เคยได้ทุน RA TA จากที่ปรึกษาหรือมหาวิทยาลัยเลยใช่มั้ย
5. มาวีซ่าอะไรคะ


ตอนนี้ช่วยตอบได้แค่สองอย่าง

1. ภาษาอังกฤษเอาไปให้คนอื่นตรวจให้ก่อนส่งอที่ปรึกษา ปกติ grad school ของทุกมหาวิทยาลัยจะมีบริการพวกนี้
ยอมเสียเงินนิดหน่อยไปเลย จะได้ไม่กลายมาเป็นข้ออ้างให้อาจารย์

2. เรื่องเงินลองคุยกับภาควิชาดูดีมั้ยว่ามีทุน TA อะไรบ้างหรือเปล่า เพราะอาจจะไม่ต้องใช้เงินวิจัยจากอที่ปรึกษาที่ดูจะงกเหลือเกิน


ตอบกลับความเห็นที่ 14
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 15
ช่วยอะไร จขกท ไม่ได้เลย
แต่เข้ามาแนะนำเวบรับตรวจ paper ค่ะ ใช้เวลาไม่กี่วัน

http://www.papercheck.com/

http://www.scribendi.com/

เป็นกำลังใจให้นะคะ
เท่าที่เราเข้าใจ ทุนรัฐบาลมีกำหนด พอหมดทุน ต้องกลับทันที

เราเคยมีรุ่นพี่เราคนนึงเหมือนกันค่ะ ไปต่อเอก อยู่ 7-8 ปีเนี่ยแหละค่ะ ถูกเรียกตัวกลับกระทันหัน ภายใน 30 วันมั๊งคะ ไม่จบเหมือนกัน
แต่ไม่มีใครว่ากระไร เพราะพี่เค้าอยู่เมืองนอกนาน สั่งสมความรู้ประสบการณ์เพียบ เป็นคนโลกกว้าง หูตากว้างไกล
กลับมาทำงานในกระทรวง ทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติได้อย่างเต็มที่ (ไม่ใช่เฉพาะเนื้องานของตน แต่พี่เค้าพยายามจะแก้ไขระบบการทำงานของกระทรวงที่ล้าหลังอย่างยิ่ง เช่น การใช้จดหมายเวียน ที่ทั้งเปลืองกระดาษและล่าช้า )


ถ้าอาจารย์อยากให้อยู่ต่อจริง ก็ต่อรองอาจารย์ว่าขอเป็น post-doc ได้มั๊ย (อาจารย์ต้องยอมควักบ้างอะไรบ้าง)
มีรุ่นพี่ (อีกคน) เหมือนกันค่ะ จบเอกแล้วแต่อาจารย์อยากให้ทำ post-doc ต่อ พี่เค้าก็ทำต่อเป็นปี (แต่พ่อแม่อยากให้กลับไทยแล้ว เพราะห่างบ้านมาจะ 10 ปีแล้ว) จบ post-doc เป็นอาจารย์เต็มตัว ตอนนี้เป็น Asst. Prof. แล้ว

ใจจริงพี่เค้าอยากกลับไทย แต่ก็เกรงใจอาจารย์ที่ดีกับพี่เค้ามาตลอดเลยอยู่ช่วยอาจารย์ไปก่อน

ยังไงก็ขอเป็นกำลังใจให้นะคะ

โชคดีค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 15
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 16
ทางมหาลัยมี requirement มั้ยคะว่ากี่เปเปอร์จบ ถ้ามีบอกไว้ว่ากี่เปเปอร์จบ แล้วพี่สาวของคุณทำได้ครบตามนั้นแล้วก็ต้องคุยกับ advisor ค่ะ ถ้าเขายังมึนก็คงต้องร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่สูงกว่าในมหาลัย เราเคยเห็นในสวีเดนนะคะ แค่เด็กอิยิปต์ไม่พอใจว่า advisor ดูแลเขาดีไม่เท่าคนอื่น (จริงๆ เราว่าเหมือนๆ กันแหละ แต่ไอ้คนนี้มันเรื่องมาก) เขาร้องเรียน ทางสภามหาลัยยังเรียกสอบเครียดเลยค่ะ...ในกรณีพี่สาวคุณเราว่าซีเรียสกว่าด้วยซ้ำ น่าจะทำอะไรทำนองนี้ได้

แต่ถ้าสมมติว่าไม่มีกฎตายตัวว่ากี่เปเปอร์จบ ใช้วิจารณญาณของอาจารย์ที่ปรึกษา อันนั้นซวย เพราะอาจารย์ที่ปรึกษาดันไม่มีวิจารณญาณ เรื่องนี้เคยเจอมาเอง แต่ที่เมืองไทยนี่แหละ หมดทุนไปชาตินึง ใช้ทุนแม่กันไป

แต่เราอยากทราบว่าเวลาที่พี่สาวคุณเข้าไปคุยกับอาจารย์ว่าหมดเวลาแล้ว หมดทุนแล้ว แต่อาจารย์ตีมึน เราอยากรู้ว่าอาจารย์เขาให้เหตุผลว่าอะไรคะ จะได้ตั้งรับกันถูก

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นถ้ายังพอหาทางออกแบบประนีประนอมได้ เราขอให้จากกันด้วยดีค่ะ เพราะมันจะโยงใยมายังอนาคตด้วย

เอาใจช่วยค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 16
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 17
โชคดีนะคะ เข้ามาให้กำลังใจนะคะ


ตอบกลับความเห็นที่ 17
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 18
ขอบคุณสำหรับหลายๆความคิดเห็นนะคะ ตอนแรกเราเข้าใจว่าพี่สาวเราเขาคงเข้ามาอ่านและตอบเมื่อวานตอนเย็น(เวลาไทย)
ขอบคุณ#13 มากๆเลยคะข้อความของคุณสร้างกำลังใจให้กับพี่เรามาก
สำหรับรายละเอียดที่ความเห็น #11 #12 #14 ถามไว้เราไม่ทราบนะคะ คงต้องให้เจ้าตัวเขามาตอบเอง ตอนนี้ก็ลุ้นว่าเขาจะเอายังไงเห็นว่าจะไปคุยกับ Adviser เขาวันนี้

ตอบกลับความเห็นที่ 18
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 19
คุยกับ thesis committee members ขอความเห็นใจจากเค้า เอางานที่ทำไปให้เค้าดู ถ้าเค้าเห็นว่างานเราทำมากพอแล้ว พวกเค้าจะช่วยพูดให้จบค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 19
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 20
ความคิดเห็นที่ 18
ยังเชื่อว่า พอผ่านมาถึงระดับหนึ่ง
และด้วยความที่เป็นลูกศิษย์อาจารย์ กันมานานพอควร
ทุกอย่างจะลงเอยด้วยดี

อาจารย์บางคนลึกๆแล้ว มีแผนและลู่ทางอะไรดีๆ
เตรียมไว้ให้ลูกศิษย์ ทำก่อนจบอยู่แล้ว
แต่ด้วยเหตุผลบางอย่าง ที่ไม่พูดออกมาให้ชัด
ทำให้ลูกศิษย์บางราย ใจคอไม่ดี เช่น
ทดสอบความอดทน แกล้งดูใจลูกศิษย์
หรืออะไรไม่ทราบ ตามประสาอาจารย์เอเซียบางคน ที่ชอบหยอกเด็ก
ที่สุดทุกอย่างผ่านไปด้วยดี และลูกศิษย์จะต้องจำและพูดถึงไปอีกนาน


ตอบกลับความเห็นที่ 20
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 21
Thanks for many helpful suggestions naka.
To clarify from my sis (need to thank her for helping me too),
I have my MS degree from the same lab that I'm working now.
(Just finished it!!! majority of time to take is editing)

You can imagine how worse it was: I did ask the help from the editing service from grad school, but she not satisfied. So I did asked native speaker (MS degree) and it went well..but she still said it's not my standard, need to get back to her hand again.

At the beginning, after defense and received corrections from the committee as well as hers too...so that's mean she didn't to the work in her part before giving it back to me..what does it mean???


For the Ph.D and MS here, the manuscript is not required. But..this advisor still insist us to do so, otherwise will not let us go..for the other committee, they do not have strong voice on this. Yes, you can ask for help in certain things -the environment in this Institution is not like the University at all!!!

She also has other things that can consider as mis-conduct on us- as students. It is not the way of advisor to talk to us eg. you are stupid, idiot, how dare you are...


For the funding, since my program of study is not located on campus, TA is not available..and can't expect the RA from her either.

according to your suggestions, now I have to stand on my feet and
need to discuss for the options that she can help for keeping me stay here until I graduate. Otherwise, need to go home and write there.

Thanks again naka for the cheerful and I will keep them in mind..always :)


ตอบกลับความเห็นที่ 21
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 22
ดูแล้วเหมือนจะแกล้งไม่ให้จบ แก้แล้วแก้อีกขนาดนี้เป็นใครก็ท้อค่ะ
(แหม อยากทราบจริงๆว่ามาตรฐานของ Advisor ท่านนี้เป็นเช่นไร)
เหมือนเค้าจะเก็บคุณไว้ให้ทำงานฟรีๆรึเปล่า.........

ถ้าไปเจรจาหารือแล้วผลเป็นอย่างไร ช่วยแจ้งข่าวด้วยนะคะ อยากทราบว่าจะมีทางออกยังไง
ถ้าต้องกลับไปเขียนผลที่เมืองไทยก็เป็นกำลังใจให้ค่ะ.........


ตอบกลับความเห็นที่ 22
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 23
อ้าว ! ที่ปรึกษา เป็นเพศเดียวกันหรือ
ถ้างั้น ปัญหาน่าจะซับซ้อนจริง
ว่ากันว่า เพศเดียวกัน ความเห็นอกเห็นใจกัน ในบ้างเรื่องจะน้อย

ถ้าเป็นอาจารย์ผู้ชาย ผมคันปากอยากจะทาย ว่า
มาจากประเทศ In ....
เป็นผู้หญิง ส่วนตัวไม่มีประสบการณ์ ไม่ทายดีกว่า
ผมเคย ปวดเศียร กับเรื่องทำนองนี้มาบ้าง
แต่ผ่านมาสามสิบกว่าปีแล้ว
หายโกรธแล้ว

ดูแล้วต้องทนทู้ซี้กันจนจบ งานของคุณอยู่ในขั้นที่ต้องเดินหน้าลูกเดียว
เลิกคิดเรื่องหาที่ปรึกษาใหม่ ถ้าได้มา ก็เหมือนเริ่มต้นกันใหม่
และจะรู้ได้อย่างไร ว่า เขาดีกว่าคนเดิม
อีกอย่างไม่มีใครอยากมาทำงาน กับกรณีที่มีปัญหาหรอก

ถ้าจะต้องหอบงาน ไปทำต่อที่ไทย ขอให้จากกันด้วยดี
เพราะคุณยังต้องอาศัยเขานะครับ

เอางานกลับมาทำต่อที่ไทยก็ดี เงินเดือนจะได้ขึ้นเสียที
หลังจากลาไปเรียนต่อหลายปี

ผมว่า ในการเรียนขั้นสูง academic ability อย่างเดียวไม่พอ
ไหวพริบและความฉลาด ที่สามารถทำงานให้ชนะใจ
และอยู่ร่วมกับคนรอบข้างได้ อย่างมีความสุข เป็นสิ่งสำคัญ

ที่เห็นมา อย่างน้อยในที่ทำงานผม เด็กเก่ง หรือคนเก่งซึ่งเป็นที่ยอมรับของรุ่น
ต้องประสบกับความล้มเหลว ในการเรียนกลับประเทศ มีอยู่บ้าง
หลายคนรู้สึกเสียดาย กับความสามารถในการเรียนของเขา
แต่ก็ไม่มีใครกล้าถาม ในรายละเอียด ว่าเกิดอะไรขึ้น

เข้าใจและเอาใจช่วยครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 23
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 24
สู้ๆ ค่ะ ถ้าได้ข้อมูลครบแล้ววิเคราะห์คร่าวๆ ว่าไม่มีอะไรต้องเก็บเพิ่มก็กลับเมืองไทยเถอะ เขียนที่เมืองไทยถ้าเราตั้งใจจริงๆมันก็จบค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 24
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 25
อืม..


ตอบกลับความเห็นที่ 25
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 26
คิดถึง เมื่อหลายปีก่อนนักศึกษาปริญญาเอกเอาค้อนตีหัว Advisor ตาย ดูเหมือนจะเป็น Harvard
.

ที่คุณ : newcomer (gpvtu2009)บอกว่า ในการเรียนขั้นสูง academic ability อย่างเดียวไม่พอ ไหวพริบและความฉลาด ที่สามารถทำงานให้ชนะใจและอยู่ร่วมกับคนรอบข้างได้ อย่างมีความสุข เป็นสิ่งสำคัญ
.
จริงที่สุดแล้วครับ เห็นตัวอย่างมาเยอะมาก เมื่ออัจฉริยะล้มเหลว
.
ขอเอาใจช่วยครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 26
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 27
ความล้มเหลวของอัจฉริยะ บางคน ที่มีพลังจิตเข้มแข็ง

ยังอยู่ในระดับที่สูงกว่า ความสำเร็จสูงสุดในชีวิต ของ คนธรรมดา


บุคคลที่หาโอกาสเหยียบย่ำ หรือซ้ำเติมความล้มเหลวของผู้อื่นเนืองๆ

คือ คนที่ไม่เคยประสบความสุขสำเร็จอะไรมาก นอกจากฝันเพ้อ



ถึงอย่างไร คุณพี่สาวของน้องยืนงง ก็เป็นคนมีความมุมานะสูง

กรณีของคุณ ได้รับกำลังใจจากกลุ่มนักเรียนนอกตัวจริงหลายๆคน

ดีใจที่เห็นคุณมีความรู้สึกที่ดีขึ้น ต่อไปข้างหน้า ไม่ว่าพบสิ่งดีร้าย

จำไว้อย่างหนึ่งว่า อย่าละทิ้งความเพียรพยายามที่รักษาไว้ตลอดมา

ชีวิตของคุณจะไม่มีคำว่าล้มเหลว ตราบใดที่มีความตั้งใจจริงต่อผลงาน

ละวางความไม่พอใจอ.ที่ปรึกษาลง แล้วรวมสมาธิ เดินต่อไปข้างหน้า


อนาคตของคุณ จะเป็นสิ่งที่พิสูจน์ความสำเร็จในระยะยาวได้แน่นอน


ตอบกลับความเห็นที่ 27
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 28
^
^
ขอบคุณมากๆค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 28
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 29
ผมขอเอาใจช่วยพี่สาวคุณ จขกท ครับ
เข้าใจเลยว่าคุณกำลังรู้สึกอย่างไร ขอให้สถานการณ์ดีขึ้นไวไวครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 29