การปิดท่าเทียบเรือเกาะสเม็ด

ศูนย์ข่าวศรีราชา - ชาวระยอง นักท่องเที่ยวไทย ต่างประเทศ ธุรกิจท่องเที่ยว ที่พักอาศัย การค้า เดือดร้อนหนัก หลัง อบจ.ระยองตัดสินใจประกาศปิดตายห้ามเรือทุกชนิด ทุกประเภทเข้าเทียบท่าเรือเกาะเสม็ด พบสะพานชำรุด และการก่อสร้างสะพานแห่งใหม่ยังไม่เรียบร้อย หลังโดนระงับการก่อสร้าง และไม่มีความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหา หวั่นนักท่องเที่ยว และประชาชนได้รับอันตราย ดีเดย์ 1 พ.ย.55 ปิดตาย

วันนี้ (21 ต.ค.) นายปิยะ ปิตุเตชะ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (นายก อบจ.) ระยอง พร้อมเจ้าหน้าที่ได้เดินทางไปตรวจสอบสะพานเทียบเรือเกาะเสม็ด ต.เพ อ.เมือง จ.ระยอง พบว่า ยังมีเรือรับนักท่องเที่ยว เรือประมง เรือเร็ว และเรือรับ-ส่งสินค้าระหว่างเกาะกับชายฝั่งยังหมุนเวียนเข้าเทียบสะพานเกาะเสม็ดเก่าที่ชำรุดทรุดโทรม และสะพานใหม่ที่ยังดำเนินการก่อสร้างยังไม่เรียบร้อย มีนักท่องเที่ยว ชาวไทย และชาวต่างประเทศเดินทางมาท่องเที่ยว และพักอาศัยเป็นจำนวนมาก เพราะเป็นวันหยุดราชการ และยังเป็นช่วงปิดเทอมของนักเรียนด้วย

นายปิยะ ปิตุเตชะ นายก อบจ.ระยอง เปิดเผยว่า จากการลงพื้นที่ไปตรวจสอบสะพานเทียบเรือเกาะเสม็ดทั้งสะพานเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมอย่างมาก และสะพานใหม่ที่กำลังก่อสร้าง ใช้งบประมาณ 170 ล้านบาท แต่ว่าได้เกิดปัญหาเมื่อได้มีประกาศอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด โดยนายอาคม น้ำคำ นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการพิเศษและหัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า และหมู่เกาะเสม็ด เรื่อง มิให้ดำเนินการก่อสร้างก่อนได้รับอนุญาต เพราะได้ตรวจสอบพบว่า การก่อสร้างสะพานท่าเทียบเรือเกาะเสม็ด โดยกิจการร่วมค้าบ้านค่ายพระนคร เลขที่ กพ.15/2554 ลง 11 ก.ย.2553 ยังมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามขั้นตอนของการอนุญาต

ดังนั้น จึงประกาศให้นักท่องเที่ยว และประชาชนรับทราบว่า มิให้บริษัทร่วมค้าบ้านค่ายพระนคร และองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง ดำเนินการก่อสร้างใดๆ ก่อนได้รับอนุญาต และให้ อบจ.ระยอง ดำเนินการรีบเร่งจัดทำรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EA) หรืออย่างน้อยต้องดำเนินการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (EE) เพื่ออุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด จะได้นำเสนอกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ใช้ประกอบการอนุญาตต่อไป ด้วยประกาศนี้ทำให้การก่อสร้างได้หยุดลงอย่างกะทันหัน

ที่ผ่านมา ขณะดำเนินการก่อสร้างสะพานใหม่ก็ได้ผ่อนผันให้เรือขนส่งสินค้า เรือนักท่องเที่ยว เรือประมงเข้าเทียบท่าเรือเก่าได้บ้าง ไม่เช่นนั้นการหมุนเวียนของวิถีประชาชน นักท่องเที่ยวที่อยู่บนเกาะเสม็ดจะไม่สามารถดำเนินการทางด้านการท่องเที่ยว การค้าขาย การบริการบ้านพักได้เลย แต่ตอนนี้สะพานเก่าได้มีการชำรุดทรุดโทรมอย่างมาก ถ้าปล่อยให้ใช้ต่อไปจะเกิดอันตรายต่อชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ และเมื่อเกิดปัญหาทำให้เสียชื่อเสียงด้านความปลอดภัยของการท่องเที่ยว และใครจะรับผิดชอบความเสียหาย

สุดท้าย อบจ.ระยองจะต้องรับผิดชอบถ้าเกิดปัญหา จึงได้ตัดปัญหาทั้งหมดที่จะเกิดขึ้นด้วยการประกาศปิดห้ามใช้ท่าเรือใหม่ที่กำลังดำเนินการก่อสร้างค้างอยู่ขณะนี้ และท่าเรือเก่าด้วย กำหนดปิดในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2555 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีการแก้ไขปัญหาเรื่องการก่อสร้างท่าเรือใหม่ให้แล้วเสร็จต่อไป

นายปิยะ กล่าวอีกว่า ถึงแม้ว่าเมื่อประกาศปิดสะพานเทียบเรือเกาะเสม็ดอย่างเป็นทางการ ประชาชน นักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างประเทศต้องเดือดร้อนอย่างหนักก็ต้องยอมให้ประชาชนออกมาต่อต้าน และประณาม อบจ.ระยอง ถ้าไม่ตัดสินใจดำเนินการอย่างนี้ ประชาชนก็ไม่เข้าใจว่าปัญหาที่แท้จริงคืออะไร เพราะก่อนการก่อสร้างดำเนินการตามขั้นตอนการขออนุญาตใช้พื้นที่ดำเนินโครงการก่อสร้างสะพานท่าเทียบเรือเกาะเสม็ด โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองเรียบร้อยหมดแล้วจึงได้ดำเนินการก่อสร้างตามสัญญา และกำหนดระยะเวลาเพื่อเปิดบริการได้อย่างปลอดภัย สะดวก มีมาตรฐาน

แต่ในเมื่ออธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้สั่งระงับก็ต้องปฏิบัติตาม ส่วนความเดือดร้อนของชาวระยอง และนักท่องเที่ยวที่ตามมาก็ต้องเข้ามาร่วมกันแก้ไขปัญหา ไม่ใช่ปล่อยให้ อบจ.ระยองแก้ไขอยู่เพียงผู้เดียว


http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9550000128910

---------------------------------------------------------

ปิดแล้วไปเกาะสเม็ดยังไงหรือครับใครรู้บ้าง แต่พออ่านข่าวนี้แล้วปวดใจนะนี่

ตอนแรกก็งงที่ กรมอุทยานสั่งระงับการก่อสร้างสะพานเทียบเรือที่บอกว่าสร้างบริเวณที่เดิม แต่พอในข่าวนี้บอกว่าเพราะไม่มีการทำ IEE และ EIA เพื่อขอนุญาตก็สมควรแล้วละ อบจ.แดกเงินก่อสร้างใช่ไหมในส่วนที่ต้องใช้ทำ IEE และ EIA ใช่ไหมถึงไม่ยอมทำตามระเบียบ เฮ้อ

ความคิดเห็นที่ 1
เหอๆ..

นักท่องเที่ยวเขาไม่แคร์หรอก ปิดที่นี่ เขาก็ไปเที่ยวที่อื่น...

คนที่เดือดร้อนก็คนที่ต้องทำมาหากินกับนักท่องเที่ยวนั่นแหล่ะ...

อย่าเอานักท่องเที่ยวมาเป็นตัวประกัน มันไม่ถูก..


ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
ผมคิดว่าถ้าจะเที่ยวน่าจะใช้เรือเล็กรับคนไปเที่ยวได้อยู่รึเปล่าครับ แต่ที่เป็นปัญหาคือเรือใหญ่


ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
เสม็ดขึ้นเกาะใด้หลายทาง หลายท่าครับ ถ้าสปีดโบทก็เดินขึ้นหาดเลย ไม่ใด้ปิดเกาะนี้ครับ แค่ปิดท่าเรือที่มีปัญหา


ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
ทุบหม้อข้าวตัวเองแท้ ๆๆ


ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองได้เริ่มดำเนินโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือเกาะเสม็ดตามขั้นตอนของกฎหมายตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยได้มีหนังสือขอความเห็นชอบในการใช้พื้นที่ต่ออุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า – หมู่เกาะเสม็ด, หนังสือขอใช้พื้นที่ต่อธนารักษ์พื้นที่ระยองและขออนุญาตก่อสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำต่อขนส่งทางน้ำที่ ๖ สาขาระยอง ซึ่งทั้งสามหน่วยงานเป็นผู้รับผิดชอบพื้นที่เกาะเสม็ด ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองได้รับอนุญาตให้ใช้พื้นที่จากธนารักษ์พื้นที่ระยอง เมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๒ และได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำจากขนส่งทางน้ำที่ ๖ สาขาระยอง ตามใบอนุญาตเลขที่ ๐๘/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๒ ในระหว่างที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองยังไม่ได้รับการอนุญาตจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช นั้น ได้มีประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและแนวทางการจัดทำรายงานการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ลงวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๒ ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๒ โดยกำหนดให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หรือเริ่มบังคับใช้ในวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๒ ซึ่งมีข้อกำหนดให้ท่าเทียบเรือที่รับเรือขนาด ตั้งแต่ ๕๐๐ ตันกรอส หรือความยาวหน้าท่า ตั้งแต่ ๑๐๐ เมตร หรือมีพื้นที่ท่าเทียบเรือรวม ตั้งแต่ ๑,๐๐๐ ตารางเมตร ขึ้นไป ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โดยกำหนดให้เสนอในขั้นขออนุมัติหรือขออนุญาตโครงการ น่าจะหมายความว่า ถ้าโครงการใดที่เข้าข่ายที่จะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) หากมีการยื่นขออนุญาตต่อกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช หรือหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาโครงการ ตั้งแต่วันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๒ ซึ่งเป็นวันที่ประกาศมีผลบังคับใช้เป็นต้นไป จะต้องมีการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ด้วย แต่โครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือเกาะเสม็ด ถึงแม้จะเป็นท่าเทียบเรือที่มีพื้นที่มากกว่า ๑,๐๐๐ ตารางเมตร ซึ่งตามข้อกำหนดจะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) แต่เนื่องจากได้รับการอนุญาตจากสำนักงานขนส่งทางน้ำ ที่ ๖ ก่อนที่ประกาศกระทรวงฯ ดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับ ทำให้ไม่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) แต่อย่างใด ทั้งนี้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีหนังสือที่ ทส ๑๐๐๙.๔/๕๒๗๔ ลงวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๓ (เอกสารแนบท้าย ๖) ยืนยันว่าองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองไม่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เนื่องจากได้รับอนุญาตจากสำนักงานขนส่งทางน้ำที่ ๖ สาขาระยอง ก่อนที่ประกาศกระทรวงฯ ดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับ


ตอบกลับความเห็นที่ 5
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 6
มติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๔๓ กำหนดให้อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า - หมู่เกาะเสม็ด เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติและระดับชาติของประเทศไทย ต่อมามี
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ กำหนดให้โครงการพัฒนาใดๆ ที่มีแนวโน้มจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศของพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติและระดับชาติ ให้มีจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) แต่เนื่องจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองได้มีการดำเนินโครงการตั้งแต่ปี ๒๕๕๑ ได้รับอนุญาตให้ใช้พื้นที่จากธนารักษ์พื้นที่ระยอง เมื่อเมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๒ และได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำจากขนส่งทางน้ำที่ ๖ สาขาระยองตามใบอนุญาตเลขที่ ๐๘/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๒ และขออนุญาตต่อกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ก่อนที่มติ ครม.เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ จะบังคับใช้ น่าจะหมายความว่า โครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือเกาะเสม็ด ได้มีการเริ่มดำเนินโครงการและได้รับอนุญาต ก่อนวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ ทั้งนี้ เมื่อมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ไม่ได้ระบุลงไว้ชัดเจนว่าให้มีผลย้อนหลัง ก็ต้องเป็นไป ตามหลักที่ว่า “กฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง” โดยเทียบเคียงกับความเห็นของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ดังนั้น โครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือเกาะเสม็ด จึงไม่เข้าข่ายที่จะต้องมีการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)
กรณีที่สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีข้อแนะนำให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองดำเนินการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) เพื่อศึกษาว่า การก่อสร้างท่าเทียบเรือเกาะเสม็ด มีแนวโน้มจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศของพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่ ซึ่งจะนำไปสู่การไม่ต้องจัดทำหรือจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวนั้น เป็นข้อเสนอแนะที่สร้างภาระให้กับองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองเกินสมควร ทำให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองต้องตั้งงบประมาณในการดำเนินการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) แต่อย่างไรก็ตาม องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองได้มีการตั้งงบประมาณและจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) แล้วและได้จัดส่งให้อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า – หมู่เกาะเสม็ดเพื่อประกอบการพิจารณาแล้ว ถ้ากรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพ้นธุ์พืช มีความจริงใจที่จะแก้ปัญหา ควรจะรีบพิจารณาตามระเบียบข้อกฎหมายโดยเร็ว


ตอบกลับความเห็นที่ 6
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 7
องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองได้มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า – หมู่เกาะเสม็ดและองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง ที่มีสาระสำคัญว่า โครงการดังกล่าวเป็นประโยชน์ในการเดินทางของนักท่องเที่ยว การขนส่งสินค้า การคุ้มครองและดูแลรักษาอุทยานแห่งชาติ อำนวยความสะดวกและแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและนักท่องเที่ยว ซึ่งเป็นความจำเป็นเร่งด่วนตามนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของรัฐบาล อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะดำเนินการ โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๙ แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ สำหรับสิ่งก่อสร้างในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองจะส่งแบบแปลนให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช พิจารณาให้ความเห็นชอบ ว่าการก่อสร้างท่าเทียบเรือเกาะเสม็ด เป็นการดำเนินการของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๙ หรือไม่ ทั้งนี้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้เคยมีหนังสือที่ ถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า กรมฯมีโครงการที่จะดำเนินการก่อสร้างสะพานท่าเทียบเรือเกาะเสม็ด ขนาดไม่เกิน ๕๐๐ ตันกรอส ในอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า – หมู่เกาะเสม็ด ท้องที่ ตำบลเพ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง โดยดำเนินการร่วมกันกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง บริเวณสะพานท่าเทียบเรือเดิม ที่มีสภาพเก่า ไม่เหมาะสมกับการใช้งานของท่าเรือ ที่มีทั้งการขนส่งสินค้าและการบริการนักท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐาน มีความปลอดภัยและเป็นภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยว ตามระเบียบกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ว่าด้วยการปฏิบัติการของพนักงานเจ้าหน้าที่ในเขตอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๙ ข้อ ๕(๕) ดังนั้น การดำเนินการก่อสร้างท่าเทียบเรือเกาะเสม็ด จึงเป็นการดำเนินการโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา ๑๙ แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ โดยอุทยานฯ ได้ออกระเบียบกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ว่าด้วยการปฏิบัติการของพนักงานเจ้าหน้าที่ในเขตอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๙ ลงวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ข้อ ๕(๕) กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจปฏิบัติการตามโครงการหรือแผนการใดๆ เพื่อให้มีสิ่งก่อสร้างตามแบบที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชเห็นชอบ ในเขตอุทยานแห่งชาติได้ โดยขอรับอนุมัติจากอธิบดีกรมอุทยานฯ เป็นการเฉพาะราย ทั้งนี้ อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชได้มอบอำนาจให้ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๒ ลงนามอนุญาตใช้ในแบบแปลนสิ่งก่อสร้างตามหนังสือกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ที่ ทส ๐๙๐๖.๖๐๓/๑๗๒๘๙ ลงวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๒ เรื่อง มอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนอธิบดี และผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๒ ได้พิจารณาและลงนามอนุญาตในแบบแปลนแล้ว จึงจะเห็นได้ว่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้ให้สัตยาบันกับการลงนามใน MOU ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองกับหัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า – หมู่เกาะเสม็ด อันเป็นผลให้การก่อสร้างท่าเทียบเรือดังกล่าวเป็นการดำเนินการโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๙ แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ แล้วอย่างนี้จะบอกว่า อบจ.ระยอง ก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาตได้อย่างไร


ตอบกลับความเห็นที่ 7
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 8
กรณีการดำเนินการก่อสร้างท่าเทียบเรือเกาะเสม็ดก่อนที่จะได้รับอนุญาตจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ซึ่งเป็นปัญหาข้อเดียวที่น่าจะเป็นประเด็น นั้น ถ้าท่านเคยไปเที่ยวที่เกาะเสม็ดก่อนปี ๒๕๕๑ จะเห็นว่า ท่าเทียบเรือเกาะเสม็ดเดิมที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองเป็นผู้รับผิดชอบ มีสภาพชำรุดทรุดโทรมอย่างมาก โครงสร้างได้รับความเสียหายจากการกัดกร่อนของน้ำทะเล เพราะมีอายุการใช้งานมาเป็นเวลานาน ทำให้ประชาชนและนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและต่างประเทศที่มาท่องเที่ยวเกาะเสม็ด ไม่ได้รับความสะดวก ขาดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินจากการใช้บริการที่ท่าเทียบเรือ แม้องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองจะได้จัดสรรงบประมาณไปดำเนินการซ่อมแซม แต่เป็นเพียงการซ่อมแซมได้เฉพาะสภาพภายนอกเท่านั้น เนื่องจากโครงสร้างภายในโดยเฉพาะส่วนที่จะต้องรับน้ำหนัก ไม่อยู่ในสภาพที่จะรับน้ำหนักได้อย่างเต็มที่ หากองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองไม่ตัดสินใจที่จะก่อสร้างโดยเร็ว เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้รับความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินแล้ว ย่อมส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน, นักท่องเที่ยวและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างแน่นอน ทั้งนี้ หากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวข้างต้นขึ้นแล้ว องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองจะนำเอาเหตุผลที่ยังไม่ได้รับการอนุญาตให้มีการก่อสร้างจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช มาอ้างเป็นเหตุในการหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบไม่ได้อย่างแน่นอน เนื่องจากเป็นหน่วยงานส่วนท้องถิ่นที่อยู่ใกล้ชิดประชาชน มีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ และสภาพความชำรุดบกพร่องของท่าเทียบเรือดังกล่าว องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองได้เล็งเห็นผลแล้วว่า หากไม่ตัดสินใจให้มีการดำเนินการก่อสร้างโดยเร็ว ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบในวงกว้างอย่างแน่นอน ดังนั้น การตัดสินใจในการดำเนินโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือเกาะเสม็ดก่อนที่จะได้รับการอนุญาตก่อสร้างจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช จึงตั้งอยู่บนหลักความรับผิดชอบ (Responsibility) ซึ่งเป็นการดำเนินการเพื่อประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง
ทั้งนี้ ก่อนดำเนินการก่อสร้าง องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองได้มีหนังสือ ลงวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๓ ขออนุมัติดำเนินการโครงการต่อผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง เนื่องจากท่าเทียบเรือไม่มีความมั่นคงแข็งแรง อีกทั้งโครงการดังกล่าวเป็นโครงการพัฒนาตามยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวขององค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง ที่มีความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ได้มีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามกฎหมายแต่อย่างใด แต่ตัดสินใจบนหลักการเพื่อประโยชน์สาธารณะทั้งสิ้น
โดยสรุปที่กล่าวมาอย่างยืดยาว เพราะเรื่องนี้มันยาว
ก. เรื่องนี้มีข้อมูลอยู่ว่า
๑. อบจ.ระยอง เริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่เดือนธันวาคม ๒๕๕๑
๒. อบจ.ระยอง ขออนุญาตต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง ๓ หน่วยงานตามระเบียบ โดย
๒.๑ ต่อกรมธนารักษ์ ได้รับอนุญาตแล้ว เมื่อ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๒
๒.๒ ต่อกรมเจ้าท่า โดยได้รับอนุญาตแล้ว เมื่อ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๒
๒.๓ ต่ออุทยานฯ โดยทำ MOU ว่าเป็นการดำเนินการของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๙ ซึ่งสามารถดำเนินการได้ (มีหนังสือจากกรมอุทยานฯ แสดงชัดเจนว่าเป็นโครงการที่เป็นความร่วมมือ) แต่ต้องเสนอให้อธิบดีอนุมัติแบบก่อสร้างก่อน โดยอธิบดีมอบอำนาจให้ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๒ พิจารณาแทน และผู้รับมอบอำนาจได้ลงนามอนุญาตใช้ในแบบแปลนสิ่งก่อสร้างแล้ว
๓. ประกาศกระทรวงทรัพย์ฯ ที่กำหนดให้จัดทำ EIA มีผลบังคับใช้ ๓๐ ธ.ค. ๕๒ ซึ่งโครงการได้เริ่มดำเนินโครงการ(เป็นการขออนุญาต แต่ยังไม่เริ่มก่อสร้าง) และได้รับอนุญาตก่อสร้างจาก กรมธนารักษ์และกรมเจ้าท่า ก่อนที่กฎหมายจะมีผลใช้บังคับ เรื่องนี้ สผ.ที่เป็นหน่วยงานหลักเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของกระทรวงทรัพย์ฯ ยืนยันชัดเจนว่า โครงการนี้เริ่มก่อนที่กฎหมายจะมีผลใช้บังคับ จึงไม่ต้องจัดทำ EIA
๔. มติ ครม. วันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ที่กำหนดให้จัดทำ EIA ก็ออกมาบังคับใช้หลังจากเริ่มโครงการเช่นกัน แล้วก็ไม่ได้ระบุว่าให้กฎหมายมีผลย้อนหลัง
๕. ถ้าใครเคยมาเที่ยวเกาะเสม็ด จะเห็นว่าท่าเรือเดิมชำรุดทรุดโทรมมาก เคยมีประกาศงดใช้ท่าเทียบเรือเพราะไม่มีความปลอดภัย

ประเด็นอยู่ว่า
๑. การก่อสร้างท่าเทียบเรือดังกล่าว ต้องจัดทำ EIA ตามประกาศกระทรวงทรัพย์ฯ หรือไม่
(ปัญหานี้ยุติแล้วเนื่องจาก สผ.แจ้งแล้วว่า มีการดำเนินโครงการและได้รับอนุญาตจากเจ้าท่า(อนุญาตก่อสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ) ก่อนที่กฎหมายจะมีผลใช้บังคับ
๒. การก่อสร้างท่าเทียบเรือดังกล่าว ต้องจัดทำ EIA ตามมติ ครม.เมื่อวันที่ ๓ พ.ย. ๕๒ ที่ื้ว่าโครงการที่มีแนวโน้มจะเกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศของพื้นที่ชุ่มน้ำต้องจัดทำ EIA (ขอย้ำว่า โครงการได้รับอนุญาตให้มีการก่อสร้างจากกรมเจ้าท่าเมื่อ ๒๙ ก.ย. ๕๒ ก่อนจะมีมติ ครม.)
๓. การจัดทำ MOU ระหว่าง อบจ.กับอุทยานฯ ที่อุทยานฯ บอกว่าเป็นเพียงข้อตกลงเบื้องต้นที่จะดำเนินการตามข้อระเบียบและกฎหมาย การจัดทำเพื่อแสดงว่าจะเป็นการดำเนินการภายใต้ระเบียบและข้อกฎหมายให้ถูกต้องโดยจะไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่อุทยานฯได้เคยมีหนังสือแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า เป็นโครงการที่อุทยานฯดำเนินการร่วมกับ อบจ.ระยอง ประเด็นนี้จะถือว่าเป็นการดำเนินการของเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือ เป็นการดำเนินการของ อบจ.ระยองฝ่ายเดียว
๔. ถ้า อบจ.ระยอง จะรอให้อุทยานฯ อนุญาตก่อสร้างแล้วค่อยดำเนินการ ในขณะที่ อบจ.ระยอง ซึ่งเป็นเจ้าของทราบดีว่าท่าเรือเดิมไม่มีความมั่นคงแข็งแรง ไม่ปลอดภัย เคยประกาศปิดใช้ท่าเทียบเรือด้วยซ้ำ ถ้าท่าเทียบเรือพังลง นักท่องเที่ยวต่างชาติตายซักราย ชาวบ้านบาดเจ็บสาหัส ถามว่า ถ้าเกิดการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ อบจ.ระยอง หรือ อุทยานฯ นี่ยังไม่นับถึงความเสียหายทางด้านการท่องเที่ยวที่ไม่อาจประมาณค่าได้


ตอบกลับความเห็นที่ 8
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 9
ท่าเรือเกาะเสม็ดไม่ปิดแล้วจ้า


ตอบกลับความเห็นที่ 9