คำว่า "ตักอาหารแต่พออิ่ม" ในภาษาอังกฤษและจีน ควรใช้เวิรด์ดิ้งอย่างไรดีครับ?

ที่ร้านมักพบปัญหาว่าลูกค้าตักอาหารจากบัฟเฟต์ไลน์ไปแล้วทานไม่หมด เหลือทิ้งพอสมควร
- เราควรใช้เวิร์ดดิ้งอะไรดีครับ เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าได้คิดก่อนที่จะตักอาหาร
- ที่ต่างประเทศ เขามีการรณรงค์เรื่องนี้หรือไม่ และองค์กรหรือโปรเจคนี้ เขาเรียกว่าอะไรและโลโก้เขาเป็นอย่างไร
รบกวนเพื่อนๆ สมาชิกช่วยแนะนำเป็นภาษาอังกฤษและจีนให้ด้วยนะครับ ขอบคุณมากครับ

ความคิดเห็นที่ 1
Eat as much as you care to.
Customers already pay for the buffet so they can do what they want.
If you don't want customers to waste food you may as well stop serving buffet.
If you decide to put up such a sign, customers may go elsewhere.

- ที่ต่างประเทศ เขามีการรณรงค์เรื่องนี้หรือไม่ และองค์กรหรือโปรเจคนี้ เขาเรียกว่าอะไรและโลโก้เขาเป็นอย่างไร

Have never seen one anywhere before in my 30 plus years of being out here.


ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
World Food Programme (WFP) ,United Nations
เป็นหน่วยงานหนึ่ง ที่เป็นห่วงเป็นใย
เกี่ยวกับการมีอาหารบริโภคอย่างเพียงพอ
ของประชากรในประเทศต่างๆทั่วโลก

รณรงค์ให้ประเทศที่ผลิตอาหาร ได้อย่างเพียงพอ หรือเหลือกินเหลือใช้
ได้ทำาการผลิต และบริโภคอาหาร อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยให้ตระหนักถึงความอดยาก และหิวโหย
ในประเทศยากจน ที่ประชากรขาดแคลนอาหาร กำลังรอรับการช่วยเหลือ
การรณรงค์นี้มีมาอย่างยาวนาน ไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีแล้ว
ในรูปบทความ และสื่อประเภทต่างๆ

สมัยหนึ่งมหาวิทยาลัยหลักๆ ใน Midwest อเมริกา
ได้เปิดสอน วิชาเกี่ยวกับ World Food Problems
มีลักษณะเป็นสหวิชาการ
เพื่อให้คนได้ตระหนัก ถึงความสำคัญ ความต้องการ
ความขาดแคลนและความหิวโหย ในบางภูมิภาคของโลก

เพื่อเตรียมให้คนของเขา ไปทำงานในภูมิภาคที่มีปัญหา
แต่ต่อมา ปัญหาโรคเอดส์ มาแรงกว่า
ส่งผลให้การรณรงค์ การมีอาหารอย่างเพียงพอ
และบริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ แผ่วลงไป
แต่มิได้หมายความว่า ปัญหาเบาบางลง หรือหมดแล้ว

ส่วนการรณรงค์ ตามแนวที่คุณว่า จะมีลงไปถึงระดับร้านอาหาร ภัตตาคารหรือไม่
ไม่ชัดเจนครับ

ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
การเขียนป้ายบอกลูกค้าให้ตักอาหารแต่พอกินมันคงใช้ไม่ได้กับร้านบัฟเฟ่นะ
หากไม่อยากให้ลูกค้าตักอาหารมากเกินไปก็คงต้องใช้วิธีชาร์จเพิ่มจากอาหารที่เหลือนั่นแหละ
ป้ายที่เขียนคงต้องเปลี่ยนคอนเซปเป็นพวกรักษ์โลกอะไรประมาณนั้น
แบบตามห้องน้ำในโรงแรมน่ะ

Did you know that wasted food has a negative impact on our environment?

Think about how much food you throw away.

Please, help us to decreasing food waste

" £5 wil be added to your bill if food left over on any of your plates "

Seriously ;)


ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
ภาษาจีนน่าจะใช้คำนี้ค่ะ 请珍惜食物 (qing zhenxi shiwu)

ปล: ถ้าจะให้ได้ผลควรจะเขียนบอกว่าจะชาร์จเงินเพิ่มจากการทานเหลือ ตาม คห.ที่3 เลยค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
ร้านจีนบุฟเฟท์ในนิวยอร์ค ติดป้ายเตือนให้ตักแต่พอดี และถ้าเหลือมากมายจะถูกปรับ

บางร้านเข้มงวดถึงขนาดมีพนง.เดินดูเมื่อคนกินเหลือ กินทิ้งกินขว้าง และมีคนแอบใส่กระเป๋าไปด้วย


หลายร้านต้องปิดกิจการไป ด้วยสู้ไมไหวกับค่้าเช่า และลูกค้ากินเปลือง


ติดป้ายตั้งกฏเหล็ก ถึงจะช่วยได้


ตอบกลับความเห็นที่ 5
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 6
ขอขอบคุณทุกๆ ความเห็นมากเลยครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 6
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 7
All you can eat, pay what you have left!!


ตอบกลับความเห็นที่ 7
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 8
ตามข้างบนครับ สั้นๆแต่คนอ่าน will get the message และไม่รู้สึกไปในทาง Negative

All you can eat เขาไม่ได้จำกัดเวลา จะเดินกี่รอบ กินกี่จานไม่มีใครว่า แต่เห็นพวกตะกละ
ต้องกินให้เกินคุ้ม ตักจนล้นจานกินไม่หมดต้องโยนทิ้ง


ตอบกลับความเห็นที่ 8
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 9
เราเคยเห็นร้านนึง ลูกค้าทานเหลือเท่าไหร่ก็คิดเงินเท่านั้น แล้วห่อเทคโฮมให้ค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 9
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 10



ตอบกลับความเห็นที่ 10
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 11
ผมคงไม่ได้มีโอกาสกลับไปอยู่ตปท.แล้ว ตอนเคยอยู่ก็ไม่ได้ไปกินร้านบัฟเฟต์กับเขาหรอกครับ แค่ไปแต่ร้านอาหารธรรมดาๆ ยิ่งได้ไปเห็นอาหารแต่ละพอร์ทชั่นเขาใหญ่มาก ยังนึกอยู่เลยว่าจะกินกันหมดเหรอ

ใจนึงก็คิดว่า เพราะเป็นอย่างนี้นี่เองคนอเมริกันถึงได้อ้วนนัก อ้วนหนา สังเกตเห็นว่าก็มีกันพอสมควรนะครับที่กินกันไม่หมด น่าเสียดาย

ขอขอบคุณทุกความคิดเห็นอีกครั้งนะครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 11
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 12
การไปรับประทานบั๊ฟเฟ่ท์/บุ๊ฟเฟ่ท์เหลือ แล้วต้องจ่ายค่าปรับ หรือจ่ายค่าของที่กินเหลือในจาน ที่เมืองไทยบางร้าน
ทำมานานเป็นสิบๆ ปีแล้ว ไม่ใช่เทรนใหม่แต่ประการใด ที่เมืองจีน ที่เวียตนาม เคยเห็นป้ายทำนองนี้เช่นกัน

เป็นจิตวิทยาที่จะไม่ให้ลูกค้าตักเผื่อ ตักเหลือ เพราะอุปนิสัยของคนเอเชี่ยนส่วนใหญ่ในการตักบั๊ฟเฟ่ท์ คือ แต่ละคนจะตักมา
มากๆ จนล้านจาน ตักมาเผื่อกัน ตักแบบกั๊กไม่ให้คนอื่นได้ แต่ตัวเองและพวกพ้องต้องได้ก่อน ตักมาแล้วเอามาวางรวมกัน
ตรงกลางวงกลางโต๊ะ ทำเหมือนไปกินอาหารเอเชี่ยนแบบที่แบ่งกันรับประทาน ไม่ทานส่วนตัวจานใครจานมัน

ส่วนตัวแล้ว เคยเห็นอุปนิสัยในการตักบั๊ฟเฟ่ท์แบบนี้ที่มาเลเซีย, จีน, เวียตนาม, สิงคโปร์ และ ไทย

ถือเป็นพฤติกรรมในเชิงมารยาทสังคมที่สะท้อนถึงอะไรหลายๆ อย่างของสังคมนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี ทั้งในเรื่องมารยาท
ส่วนรวม, เรื่องของความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่, เรื่องของความเห็นแก่ตัว, เรื่องของการพัฒนาของเมืองแต่คนไม่ได้พัฒนาไปด้วย
พร้อมๆ กัน และ ในเรื่องของมารยาทบนโต๊ะอาหารในแบบต่างๆ


ตอบกลับความเห็นที่ 12
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 13
เทรน ในบรรทัดที่สอง ของ คห. 12 แก้ไขเป็น เทรนด์ หรือ เทร็นด์ ค่ะ ขออภัยพิมพ์ตกตัว "ด์" ไป


ตอบกลับความเห็นที่ 13
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 14


ตอบกลับความเห็นที่ 14