วิศวกรไทย เมือ่เทียบกับประเทศอาเซียนแล้ว ถือว่ามีความสามารถมั้ยครับ ?

ขอความช่วยเหลือผู้รู้อ่ะครับ อยากทราบตามหัวข้อเลยจะเอาไปทำการบ้านอ่ะครับ

เช่นพวกด้านขุดเจาะ ท่าเรือ รถไฟ คมนาคมอะไรแบบนี้อ่ะครับ
พอจะสู้พวกเดียวกันในอาเซียนได้หรือเปล่าครับ

ความคิดเห็นที่ 1
แล้วสมมติว่าถ้าสู้ไม่ได้เนี้ยะ วิศวกรไทยมีอะไรที่สู้ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนไม่ได้บ้างครับ ?


ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
วิศวกรบ้านเราเก่งนะคะ ขยันอดทน
ด้ารเทคนิคไม่แพ้ใคร
แต่เรื่องภาษาอังกฤษนี้เข้าทิ้งเราห่าง
เลยนะคะ วิศวกรฟิลิปินส์ เค้าคิดว่าเค้า
ได้เปรียบกว่า ก็เพราะภาษานี้แหละค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
วิศวกรไทย ถ้าไม่เก่งจริง ก็ไม่ได้ไปทำงานต่างประเทศกันเยอะแยะหรอก
แต่ว่าเราเสียเปรียบด้านภาษานี่แหละ


ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
ไม่ครับ
ภาษาไม่ดี
ปฏิบัติน้อย สู้ไม่ได้
พื้นฐานไม่แน่น
เรียนแบบท่องจำมากไป
วิจัยไม่หลากหลาย

แต่ก็ไม่ได้แย่หมดนะ มันก็แล้วแต่คน ถ้าเอารวมๆ คงสู้ยาก...มาก...


ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
วิศวกรไทยที่มาจากยูท๊อปของไทยเรา ทำงานในอเมริกาเก่งเป็นที่ยอมรับของทั่วโลก ภาษาเท่านั้นที่ไม่เก่งเท่าเนทีพ แต่ตำแหน่งก็เท่าเทียมกับชาวอเมริกัน


ตอบกลับความเห็นที่ 5
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 6
ความสามารถไม่ได้อยู่ที่เชื้อชาติ ความสามารถอยู่ที่ตัวบุคคลค่ะ
วิศวกรไทย ไม่ว่าจะสถาบันไหน จบออกมาก็มีความสามารถในด้านวิศวกรรมทุกคน
แต่ว่าใครจะพัฒนาตัวได้มากน้อย ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลจริงๆค่ะ

วิศวกรบางคนจบออกมา ทำงานตรงกับสายที่เรียนมา ความเชี่ยวชาญก็จะค่อยๆเพิ่มขึ้น
วิศวกรบางคนจบออกมา ไปทำงานขายตรง ก็จะค่อยๆลืมวิชาความรู้ที่เรียนมาไปเรื่อยๆ

สำหรับภาษาในการทำงานของวิศวกรไม่ค่อยเป็นปัญหาไม่ว่าชาติไหน
เพราะศัพท์ที่ใช้นั้นส่วนใหญ่ล้วนเป็นศัพท์เฉพาะทาง ที่ใช้คำเดียวกันก็สื่อสารกันเข้าใจทั้งโลก
แต่ภาษาที่วิศวกรไทยอาจจะมีปัญหาคือภาษาในการสื่อสารในชีวิตประจำวันมากกว่าค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 6
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 7
คห.4 เอาความรู้สึกส่วนตัวตอบเหรอ


ตอบกลับความเห็นที่ 7
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 8
เก่งค่ะ เก่งสู้เขาได้ แน่นอนความรู้พื้นฐานแน่น เทียบกับฝั่งเอเชียนะ ขยัน รับผิดชอบ มองเหตุการณ์เฉพาะหน้าได้ แต่ภาษาอาจจะไม่คล่องมากนัก แต่สู้เขาได้แน่นอน ทำงานดีกว่าด้วย ยิ่งพวก ฟิลิปปินส์ นี่อย่าเอามาเปรียบเลย (ไม่พูดถึงกลุ่มที่อยู่ในประเทศพัฒนานะ เช่น ยุโรป อเมริกา)


ตอบกลับความเห็นที่ 8
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 9
ผมเห็นว่า คห 4 ตอบตรงกับความเป็นจริงที่เป็นอยู่นะครับ ไม่ใช่จากความรู้สึกส่วนตัว

เรื่องภาษานั้นไม่ต้องพูดถึง ก็ยอมรับกันอยู่แล้วว่าเป็นรองอย่างไม่ต้องสงสัย

แต่... แม้แต่ในสายอาชีพวิศวกรรมเองโอกาสที่วิศวกรไทยจะตกงานเมื่อเปิดอาเซียนนั้นเป็นไปได้สูง เพราะจะมีวิศวกรต่างชาติที่ได้คุณภาพมากกว่าเข้ามาแข่งขันได้อย่างเสรีและนั่นคือสิ่งที่ผู้ที่อยู่ในอาชีพนี้กลัวกันอย่างมาก คณบดีของคณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาถึงได้ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลลงมือกระทำการปรับปรุงและยกมาตรฐานวิศวกรรมไทยให้เป็นที่ยอมรับเทียบเท่ากับมาตรฐานสากล

เอาแค่หลักสูตรของคณะวิศวกรรมในประเทศไทยก่อนแล้วกันจนถึงปัจจุบันนี้หลักสูตรของทุกมหาลัย ย้ำว่าทุกมหาลัยแม้แต่ของจุฬาฯ ยังไม่ได้รับการยอมรับมาตรฐานสากลจาก คณะกรรมการรับรองหลักสูตรสำหรับวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี จากประเทศสหรัฐอมริกา (Accreditation Board for Engineering and Technology (ABET)) ในขณะที่มหาลัยของสิงค์โปร์และมาเลเซียทุกมหาลัยได้รับการรับรองหมดแล้ว

ถ้าประเทศไทยมีผลงานทางด้านวิศวกรรมโดดเด่นในระดับสากลให้เป็นที่ประจักษ์ยอมรับแล้ว การรับรองมาตรฐานนั่นก็ไม่จำเป็น แต่เพราะไทยยังก้าวไปไม่ถึงขั้นที่สามารถประดิษฐ์คิดค้นที่จะแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จ ที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ก็เป็นการรับเทคโนโลยี่ที่พัฒนามาจากประเทศอื่นแล้วทั้งสิ้น ก็คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องหาคนอื่นที่ก้าวหน้าพัฒนาไปไกลกว่ามารองรับ

เอาแค่เรื่องนี้เรื่องเดียวซึ่งเป็นเรื่องพื้นฐานแท้ๆ ไทยก็ตกเป็นรองประเทศคู่แข่งอย่างสิงค์โปร์และมาเลเซียแล้ว ประเทศที่เหลือนั้นไม่ใช่คู่แข่งที่น่ากลัวอะไรเลย

ที่ คห 5 บอกว่า "วิศวกรไทยที่มาจากยูท๊อปของไทยเรา ทำงานในอเมริกาเก่งเป็นที่ยอมรับของทั่วโลก ภาษาเท่านั้นที่ไม่เก่งเท่าเนทีพ แต่ตำแหน่งก็เท่าเทียมกับชาวอเมริกัน"

ผมขอให้ช่วยกรุณาแสดงข้อมูลที่ชัดเจนด้วยครับว่าคนเหล่านั้นอยู่ที่ไหนกันบ้าง? มีสักกี่คนที่เป็นขอยกเว้น การกล่าวอ้างลอยๆ แบบนี้ใครๆ ก็ทำได้ครับ แต่ความเป็นจริงที่ปรากฏนั้นตรงกันข้าม

ยกตัวอย่างให้เห็นชัดเจนอีกประเทศที่มีชื่อเสียงทางด้านวิศวกรรมนั่นคือ เยอรมนี นักศึกษาไทยมาเรียนทางด้านนี้กันเป็นส่วนใหญ่ ผมยังไม่เห็นมีใครที่ทำงานในบริษัทเยอรมันในตำแหน่งระดับหัวหน้าเลย แม้แต่จะหางานทำให้ได้ยังเป็นไปได้ยากเย็นต้องกลับบ้านกันเป็นส่วนใหญ่ ทั้งๆ ที่เจ้าของประเทศก็ป่าวประกาศตลอดเวลาว่าตำแหน่งงานวิศวกรขาดแคลน และถึงแม้จะได้งานทำก็เป็นตำแหน่งงานเริ่มต้นของการเป็นวิศวกร ยังไม่เห็นมีใครขึ้นได้ไปมากกว่านี้

ตอบกลับความเห็นที่ 9
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 10
เอาด้านเครื่องกลได้ไหมคะ คนไทยก็เก่งค่ะ ความรู้ก็ดี ไม่ได้แพ้ชาติอื่น ส่วนภาษา มันเป็นภาษาช่าง เรียนรู้กันได้ เอาแค่จบมาจากพระนครเหนือก็เก่งเยอะค่ะ เรียนรู้งานก็ดีค่ะ

แต่ที่เคยทำงานร่วมด้วย เสียอย่างเดียว จะไม่ค่อยอดทนค่ะ ทนแรงกดดันและคำติมากๆไม่ค่อยได้ โดนนิดหน่อยก็ลาออก เจอที่ไหนเงินดีกว่าก็ลาออก ความผิดของตัวเองไม่ค่อยยอมรับ ชอบโยนความผิดไปที่คนอื่น


ตอบกลับความเห็นที่ 10
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 11
ที่ คห 5 บอกว่า "วิศวกรไทยที่มาจากยูท๊อปของไทยเรา ทำงานในอเมริกาเก่งเป็นที่ยอมรับของทั่วโลก ภาษาเท่านั้นที่ไม่เก่งเท่าเนทีพ แต่ตำแหน่งก็เท่าเทียมกับชาวอเมริกัน"

ผมขอให้ช่วยกรุณาแสดงข้อมูลที่ชัดเจนด้วยครับว่าคนเหล่านั้นอยู่ที่ไหนกันบ้าง? มีสักกี่คนที่เป็นขอยกเว้น การกล่าวอ้างลอยๆ แบบนี้ใครๆ ก็ทำได้ครับ แต่ความเป็นจริงที่ปรากฏนั้นตรงกันข้าม

ยกตัวอย่างให้เห็นชัดเจนอีกประเทศที่มีชื่อเสียงทางด้านวิศวกรรมนั่นคือ เยอรมนี นักศึกษาไทยมาเรียนทางด้านนี้กันเป็นส่วนใหญ่ ผมยังไม่เห็นมีใครที่ทำงานในบริษัทเยอรมันในตำแหน่งระดับหัวหน้าเลย แม้แต่จะหางานทำให้ได้ยังเป็นไปได้ยากเย็นต้องกลับบ้านกันเป็นส่วนใหญ่ ทั้งๆ ที่เจ้าของประเทศก็ป่าวประกาศตลอดเวลาว่าตำแหน่งงานวิศวกรขาดแคลน และถึงแม้จะได้งานทำก็เป็นตำแหน่งงานเริ่มต้นของการเป็นวิศวกร ยังไม่เห็นมีใครขึ้นได้ไปมากกว่านี้
จากคุณ : Bagheera

ผมคนหนึ่งหละที่มาจากสามย่าน เป็น Senior Principal Engineer ของบริษัทใหญ่ใน Texas ตำแหน่งเท่าเทียมหรือใหญ่กว่าวิศกรทั่วๆไปที่มี Experience ไร่เรี่ยกัน ไม่ว่างานทางด้าน Engineer จะ up หรือ down ขนาดไหน ผมก็ไม่ต้องห่วงว่าจะถูก lay off เพราะ Boss บอกเลยว่าจะไปก็ต่อเมื่อบริษัทปิดเท่านั้น เมืองที่ผมอยู่ มีวิศวกรไทยหลายท่านที่เคยทำกับบริษัท Engineeringใหญ่ๆเช่น Fluor, Jacob, Foster Wheeler, Bechtel…….ตำแหน่งก็ดีๆทั้งนั้น บางคนก็กลับไทยไปทำงานรับตำแหน่งสูงที่ PTT, Exxon Mobil….บางคน Retire ไปเป็น Consultant ของ PTT

ความจริงผมไม่จำเป็นต้องมาสาธยายอะไรให้คุณฟังหรอก คุณจะเชื่อหรือไม่ผมก็ไม่เดือดร้อน ผมก็แค่ออกความเห็นว่าวิศวกรไทยเราเก่งไม่แพ้ชาติอื่นก็เท่านั้น กระทู้นี้ไม่ใช่กระทู้วิจัยเก็บข้อมูลอย่างละเอียด คุณอาจจะไม่เคยรู้จักวิศวกรไทยเก่งๆก็ได้ ผมไม่ถือสาหรอก แต่ถ้าไม่รู้จริงก็ไม่ควรไปดูถูกคนไทยด้วยกัน

ปิดประเด็น……. Agree to Disagree


ตอบกลับความเห็นที่ 11
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 12
รู้จักแต่คนที่จบ ตรีที่ไทย แล้วมาต่อ โท หรือ เอก เมืองนอกคับ แล้วก็ทำงานอยู่เมือง ก็เลยไม่สามารถบอกได้ ว่ามีความสามารถอะไรเท่าไร

แต่ในความคิดผมก็คงมีความสามารถบ้างละคับ เพราะใช่นั้น บริษัทต่างประเทศในไทย จะจ้าง วิศวะ เหล่านั้นเข้าทำงานรึคับ แล้วคนที่เรียนมืองนอกส่วนใหญ่ มาต่อโท ก็จบ ตรีมาจากไทยเสียส่วนมาก ในสาขาวิศวะ เขาก็เรียนจบกันเยอะไป...

ส่วนตัว สิ่งที่เรียนอยู่ในมหาลับ ป. ตรี เป็นแค่พื่นฐาน มันอยู่ที่ตัวบุคคล ว่าจะไปต่อยอดเอาแค่ไหน วิศวะ ป. ตรี มันเหมือนสิ่งที่ชี้บอกว่า เราชอบทางไหน รักจะทำงานอะไรเสียมากกว่า เพราะอย่าง วิศวะเครื่องกล เอง เมื่อเรียนจบ ก็ไปได้หลายทางมาก...


ตอบกลับความเห็นที่ 12
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 13
ชาติอาเซียนด้วยกันด้านวิศวะ ก็ดูที่ AIT ซิครับ วิศวกรไทยไม่เป็นสองรองจากใครทั้งนั้น โดยเฉพาะวิศวโยธา

ลองหาข้อมูลดูได้

วิศวกรเก่งๆ ส่วนใหญ่จะไม่ทำงานวิศวฯจนเกษียณอายุหรอกครับ จะไปเป็นผู้บริหารองค์กรใหญ่ๆ ทำงานข้ามชาติกันทั้งนั้น และที่สำคัญคือใช้ภาษาอังกฤษ ถึงใช้ไม่คล่องก็ให้ลูกน้องทำให้ แต่สื่อสารรู้เรื่องก็แล้วกัน เรียนมาก็ใช้หนังสือภาษาอังกฤษทั้งนั้น

ภาษาอังกฤษคงจะจำเป็นสำหรับวิศวกรรุ่นใหม่ๆ ที่จะเริ่มงานในช่วงของการเปิดเสรีอาเซียน เดี๋ยวนี้บริษัทฯใหญ่ๆมีการทดสอบภาษาอังกฤษก่อนรับเข้าทำงานแล้วนะครับ

ถ้าคุณเป็นบริษัทไทย ผมเชื่อว่าคุณคงเลือกใช้วิศวกรไทยก่อนเป็นอันดับแรกในการส่งไปทำงานต่างประเทศ นอกจากหาคนไทยไม่ได้และวิศวกรท้องถิ่นค่าจ้างราคาถูกกว่ามาก

ถ้าเป็นในประเทศไทย บริษัทไทยจะจ้างวิศวกรชาติอื่นหรือ ในเมื่อยังจ้างคนไทยทำได้นอกจากว่าหาคนไทยทำไม่ได้จริงๆอย่างแรงงานบางประเภท

ถ้าคุณอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ต้องใช้ภาษาตลอดเวลา ไม่ใช่เรื่องยากในการสื่อสารหรอกครับ ดูตัวอย่างผู้หญิงไทยที่ไปทำงานแถวพัทยาซิครับ สามารถสื่อสารได้คล่อง แม้ว่าอาจจะไม่ค่อยถูกไวยากรณ์เท่าไรนัก

สรุป วิศวกรไทย ไม่ได้ด้อยกว่าชาติใดในอาเซียนหรอกครับ และเราก็ไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของชาติใดมาก่อน


ตอบกลับความเห็นที่ 13
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 14
คุณ Intania(BenzSiam)

อย่าเพิ่งขุ่นใจครับ ผมไม่ทราบนะครับว่าคุณไปทำงานที่นั่นตั้งแต่จบไปจากเมืองไทยเลยหรือว่าคุณไปเรียนต่อที่นั่นอีกก่อนทำงาน? จะตอบหรือไม่ตอบก็มิเป็นไรนะครับ

ผมยังไม่เคยรู้จักวิศวกรไทยเก่งๆ ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับระดับสากลจริงๆ ครับ ยกเว้นคนเก่าๆ รุ่น ด๊อกเตอร์อาจอง ชุมสาย ซึ่งนั่นก็ถือเป็นข้อยกเว้นที่ไม่อาจเอามาสรุปเป็นคุณภาพของวิศวกรไทยได้

ผมเชื่อสิครับว่ามีวิศวกรไทยทำงานอยู่ในบริษัทใหญ่โตที่คุณบอกมานั่น และเชื่อด้วยว่าคุณประสบความสำเร็จอยู่ในระดับหนึ่งในบริษัทที่คุณทำงานอยู่ และแม้แต่จะมีวิศวกรไทยทำงานอยู่ที่นั่นที่นี่อีกหลายแห่งทั่วโลก แต่ที่ผมไม่เชื่อเพราะผมไม่เคยเห็นก็คือ สิ่งประดิษฐ์คิดค้นที่มาจากวิศวกรไทยที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผลงานที่พิสูจน์ได้ถึงความก้าวหน้า

การที่มีวิศวกรไทยทำงานอยู่ในตำแหน่งสูงระดับหนึ่งในอเมริกา ไม่ได้หมายความว่าคุณภาพวิศวกรรมไทยเป็นเลิศนี่ครับ เหมือนกับที่แพทย์ไทยไปทำงานประสบความสำเร็จในอเมริกาก็หลายคน แต่ในความเป็นจริงแพทย์ไทยก็ยังต้องขวนขวายดิ้นรนไปเรียนในต่างประเทศเพื่อเสริมความรู้ความสามารถ เช่นเดียวกับวิศวกรไทยเหมือนกันที่ต้องไปอาศัยทำงานเพื่อขยับมาตรฐานความรู้ความก้าวหน้าที่มีอยู่ในประเทศอื่นก่อนแล้ว นี่ถ้าไม่ใช่เพราะผมมีสมาชิกในครอบครัวที่เป็นแพทย์หัวใจมีตำแหน่งเป็น Senior Partner อยู่ในโรงพยาบาลที่อเมริกา ผมคงตกกะใจกับตำแหน่งใหญ่โตของคุณแล้วล่ะครับ จริงๆ นะ

แม้แต่ PTT ที่คุณระบุชื่อถึงนั้น ผมคิดว่าในฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี่การขุดเจาะ ค้นหาน้ำมันนั้นก็น่าจะเป็นชาวต่างชาติที่เป็นระดับหัวหน้า เท่าที่ผมทราบนั้นเมื่อก่อน Total ของฝรั่งเศสเป็นคนรับผิดชอบอยู่ ถึงแม้ว่าปัจจุบัน Total จะถอนตัวออกไปแล้วแต่ก็ยังมีวิศวกรชาวฝรั่งเศสทำงานอยู่ทุกวันนี้

เป็นไปได้ว่าผมยังไม่เคยเจอวิศวกรไทยที่เก่งๆ ขนาดที่ให้ผมรู้สึกทึ่งในความสามารถ ทั้งๆที่ผมก็มีเพื่อนที่เป็นวิศวกรไทยอยู่บ้างจบจากสามย่านก็มี พระจอมเกล้าก็ด้วย ส่วนวิศวกรต่างชาตินี่ถือว่าผมอยู่ในดงคนเหล่านี้เลยและได้เห็นความสามารถทั้งด้านความคิดและการปฏิบัติและผลงานมามากมายจริงๆ ชนิดที่เรียกว่าไม่น่าเชื่อว่านี่คือผลงานที่มนุษย์สามารถคิดค้นออกมาได้ อย่างง่ายที่สุดแล้วเช่น การสร้าง lock กั้นระดับน้ำต่างระดับในคลองเพื่อให้เรือสามารถแล่นผ่านได้ ถือเป็นวิศวกรรม civil structure ขั้นพื้นฐานที่สร้างในคลองปานามา แต่ในยุโรปนั้นเริ่มสร้างมาตั้งแต่ปี 1325 เอาที่นับว่าทันสมัยขึ้นมาอีกนิดก็คือ รถไฟหัวกระสุนขับเคลื่อนด้วยแม่เหล็กไฟฟ้าที่จีนซื้อไปใช้

เริ่องวิศวกรรมนั้นผมสนใจเป็นพิเศษเพราะอยู่ในประเทศที่ได้ชื่อว่าวิศวกรรมติดอันดับโลก สิ่งจับต้องที่ต้องใช้อยู่ในชีวิตประจำวันเกี่ยวข้องกับวิศวกรรมทั้งนั้น จึงพอจะประเมินได้ว่าวิศวกรรมระดับใดที่เรียกได้ว่า เข้าขั้นอยู่ในระดับสากล

วิศวกรโยธานั้นผมเห็นด้วยว่าวิศวกรไทยสร้างตึกอยู่เต็มเมืองไทยไปหมด แต่ลองให้แผ่นดินไหวเมืองไทยสักครั้งสิครับเอาแค่ขนาด 5 ริคเตอร์ก็พอ นึกภาพไม่ออกเลยครับว่าจะเป็นอย่างไร และถ้าตราบใดที่ยังเอาความเห็นที่ว่า "เมืองไทยไม่เคยเป็นเมืองขี้นใคร" มาอ้างอย่างไม่ได้เข้ากันเลยกับประเด็นเรื่องนี้ล่ะก็ คงอีกหลายศตวรรษครับกว่าวิศวกรรมไทยจะก้าวหน้าทันประเทศอื่นๆ

และถ้ามีใครที่ไม่เป็นรู้จักมาบอกผมว่า วิศวกรไทยสู้เขาได้ในอาเซียน กับอีกคนหนึ่งคือ รศ. ดร.บุญสม เลิศหิรัญวงศ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ มองบัณฑิตจบวิศวะไทยโอกาสยากที่จะรอดตกงานหากเปิดเวลาอาเซียน เหตุมีวิศวกรต่างชาติไหลเข้าประเทศเยอะ ชี้ต้องยกคุณภาพหลักสูตร เพิ่มศักยภาพด้านภาษาอังกฤษ และเพิ่มความหลากหลายของสาขาวิชาจึงจะสู้ได้

ผมควรจะฟังใครครับ?

ความคิดของผมขอสรุปสั้นๆ ดังนี้ครับ ศักยภาพในการศึกษาเรียนรู้ของคนไทยนั้นไม่แพ้ชาติไหนหรอกครับ ไม่ว่าจะเป็นวิศวกรหรืออาชีพอื่นใด แต่ระบบการศึกษาและระบบการพัฒนาฝีกอบรมที่จะสร้างให้คนมีความสามารถต่างหากที่แต่ละประเทศมีไม่เท่ากัน

ตอบกลับความเห็นที่ 14
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 15
ตามความคิดและประสบการณ์ วิศวกรที่ไหนๆมีความสามารถหรือไม่ขึ้นกับบุคคลมากกว่า ด้านไอที คอม ไทยเก่งนะ ทำงานในต่างประเทศก็เยอะ ยิ่งรุ่นหลังๆนี่ได้งานระดับ world wide company เยอะนะ แต่พอถึงระดับหนึ่งค่านิยมเรียนต่อด้านบริหาร เศรษฐศาสตร์ดึงวิศวกรเหล่านี้เปลี่ยนแนวงานเพราะเงืนดีกว่า งานเป็นเวลากว่า และหลายๆคนก็เลือกกลับเมืองไทยได้อยู่กับครอบครัว ส่วนชาวต่างชาติที่มาเป็นระดับหัวหน้าในไทยส่วนมากจะจบระดับ HNC/HND ไม่ใช่ปริญญา แต่ค่านิยมของเค้าก็ต้องเลือกคนของเค้าไว้ก่อนในระดับหัวหน้ามาคุม local staff ในไทย คนพวกนี้จะอาศัยประสบการณ์การทำงานมาระดับ 10 ปีเพราะเค้าจะเริ่มทำงานกันตั้งแต่อายุ 15 ปี และพยายามดึงพรรคพวกตัวเองเข้ามาโดยระดับทฤษฏีไม่ได้แม่นในการประยุกต์เท่าระดับปริญญาแต่อาศัยมาจาก host country และกีดกันวิศวกรไทยในการก้าวขึ้นตำแหน่งสูง รวมทั้งค่านิยมเมืองไทยบ้าฝรั่งด้วยนึกว่าเก่งทั้งหมดเลยไปกันใหญ่ อ่อ วิศวกรส่วนมากไม่ได้ไปด้านค้นคว้าวิจัยแต่เป็นประยุกต์ใช้ เป็นยูสเซอร์ ส่วนค้นคว้านี่ต้องในระดับสถาบันวิจัย ยูต่างๆ ในระดับวิศวกร ป.เอก หรือ วิทยาศาสตร์ สาย คอม เคมี แมททีเรียว ฟิสิกส์ ซึ่งส่วนมากเราจะจบกันแค่ป.ตรีหรือโท เพราะฉะนั้นไม่แปลกที่ไม่ค่อยมีในสถาบันวิจัยต่างๆ


ตอบกลับความเห็นที่ 15
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 16
ไทยไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของชาติใด เป็นการบอกว่าความถนัดในการใช้ภาษาเมื่อเทียบกับประเทศอาเซียนด้วยกันอาจเป็นจุดอ่อน

มองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ซิครับ ยุโรปมีเรือกลไฟแล้ว ประเทศไทยยังเคี้ยวหมากนุ่งโจงกระเบนอยู่ เทคโนโลยีเราจำเป็นที่ต้องรับการถ่ายทอดมาจากประเทศที่เจริญแล้วเอามาพัฒนาประเทศเราและเลือกใช้เฉพาะเรื่องที่เป็นประโยชน์ ไม่ใช่ต้องไปแสดงความเก่งแข่งทุกเรื่อง มันไม่เกิดประโยชน์

ไทยเราจำเป็นต้องเสียเงินเพื่อซื้อเทคโนโลยี่มาใช้ ค่าใช้จ่ายในการส่งคนไปเรียนต่อคนปีละไม่ต่ำกว่าล้านบาท ปีหนึ่งๆจะไปได้ซักกี่คน หาเงินจากไหน

สิ่งคิดค้นที่พระเจ้าอยู่หัวของคนไทยทุกคนได้คิดค้นขึ้นและมีชื่อเสียงเป็นที่ประจักษ์ไปทั่วโลก ถูกนำไปใช้ในหลายประเทศ รู้จักไหมครับ ฝนหลวงนะ ฝรั่งคิดได้หรือเปล่า


ตอบกลับความเห็นที่ 16
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 17
คุณ nscas ครับ คุณเข้าใจผิดแล้วล่ะครับ

โครงการฝนหลวงนั้นในหลวงรัชการที่ 9 เป็นผู้ริเริ่มขึ้นในประเทศไทยเมื่อปี 1975 (ปีที่ก่อตั้งโครงการฝนหลวง) เพื่อช่วยชาวนาไทยในภาคอีสานที่มีปัญหาขาดแคลนน้ำ แต่การคิดค้นการทำฝนเทียมนั้นทำกันมาตั้งแต่เริ่มศตวรรษที่ 20 แล้วครับ และอเมริกาเริ่มทำฝนเทียมเพื่อแก้ปัญหาความแห้งแล้งมาแล้วตั้งแต่ปี 1930 และมาปฏิบัติการอย่างจริงจรังอีกในปี 1940

หลักฐานที่พิสูจนได้อีกอย่างหนึ่งว่าอเมริกาเริ่มทำฝนเทียมมาก่อนล่วงหน้าประเทศอื่นๆ ในโลกไปนานแล้ว ก็จากหนังที่สร้างขึ้นในปี 1956 ชื่อเรื่องว่า The Rainmaker

ในปี 1972 ก่อนโครงการฝนหลวงเสียอีก อเมริกาทำปฏิบัติการฝนเทียมขึ้นแล้วในสงครามเวียตนามที่รู้จักกันดีว่าฝนเหลือง ซึ่งเป็นฝนพิษเพื่อฆ่านักรบเวียตกง โครงการนี้เรียกว่า Operation Popeye

และผมอยากสรุปครับว่า การทำฝนเทียมเพื่อช่วยการเกษตรนั้นเป็นเรื่องน่าชื่นชมยินดีครับ แต่ที่สำคัญที่สุดจะด้วยวิธีการอย่างไรก็แล้วแต่ การทำการเกษตรในที่นี้หมายถึงการปลูกข้าวซึ่งเป็นสินค้าหลักของไทยนั้น ทำอย่างไรที่จะให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด นั่นคือผลผลิตสูงและต้นทุนต่ำเพื่อแข่งในตลาดโลกได้ และประเด็นอยู่ตรงนี้แหละครับนั่นคือ ปัจจุบันนี้เวียตนามนั้นมีผลผลิตปลูกข้าวได้มีประสิทธิภาพกว่าไทย อาจมีคนแย้งได้ว่า ข้าวไทยมีคุณภาพดีกว่า แต่เอาเข้าจริงข้าวไทยที่ส่งขายตลาดนอกนั้นก็ปนเปกับข้าวเวียตนาม กัมพูชา นั่นเอง และผู้บริโภคข้าวต่างประเทศนั้นไม่มีใครยอมเสียเงินซื้อข้าวแพงจากไทยเมื่อมีข้าวที่ราคาถูกกว่าจาก อินเดีย บังคลาเทศ หรือ เวียตนามตั้งขายอยู่เคียงคู่กัน

ผมยังมีคำถามอีกว่า ในขณะที่ประเทศไทยประสบภัยน้ำท่วมเสียหายอย่างรุนแรงจากฝนตกหนักทุกปีในหน้าฝน แล้วทำไมถึงไม่มีใครคิดค้นวิธีการที่จะเก็บน้ำมากมายนี้มาไว้ใช้ในหน้าแล้ง?? ผมว่าคนไทยน่าจะใช้โอกาสเอาปัญหานี้ไปคิดค้นหนทางการแก้ปัญหาให้สำเร็จ เพื่อที่จะได้ชื่อว่า " เป็นความสำเร็จคิดค้นโดยคนไทย " ให้เป็นที่จารึกในโลกเสียเลย ลองปรึกษาวิศวกรชาวฮอลแลนด์ดูก็น่าจะได้เพราะประเทศนี้สร้างบ้านเมืองอยู่ใต้ระดับน้ำมาแล้วหลายสิบปี

ตอบกลับความเห็นที่ 17
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 18
คห. นี้ ขอเข้ามาตอบคุณ จขกท. เท่านั้นนะคะ ตอบคำถามหัวข้อกระทู้ที่คุณลักกี้ออกัส จขกท. ถามว่า
"วิศวกรไทย เมื่อเทียบกับประเทศอาเซี่ยนแล้ว ถือว่ามีความสามารถไหมครับ"

เราขอตอบจากประสบการณ์ในการเดินทางไปมาทั่วอาเซี่ยนนับสิบปี ในหลายๆ เมือง เมืองละหลายหน
และบางประเทศก็ไปอยู่ด้วย หลายๆ ไฟล์ทบนเครื่องบินที่เรานั่งระหว่างเมือง ต่างๆ ในอาเซี่ยน โดยเฉพาะ
เมืองหลักๆ เช่น กรุงเทพฯ จาการ์ต้า กัวลาลัมเปอร์ มะนิลา สิงคโปร์ พบว่ามีคนไทยไม่น้อยที่มีอาชีพทางด้านสาขา
วิศวกร หรือ ทางด้านช่างยนตร์ ช่างเครื่องกล อยู่บนไฟล์ท และเขาเหล่านั้นเดินทางไปติดตั้งอุปกรณ์ หรือ เครื่องจักร
หรือเดินทางไปซ่อมแซม หรือเดินทางไปตรวจงาน หรือเดินทางไปสอนคนชาติอื่นๆ ในอาเซี่ยนค่ะ

หลายๆ ท่านเหล่านั้นเป็นคอมมิวเตอร์ คือเดินทางบ่อยมาก เดินทางไปทั่วอาเซี่ยน จนได้เป็นผู้โดยสารระดับบัตรทอง
ของสายการบินในกลุ่มสตาร์อัลลายอั้นซ์

และเท่าที่ประสบพบมา หลายๆ ท่านภาษาอังกฤษไม่แข็งแรงค่ะ

แต่ถ้าเป็นเรื่องฝีมือ ความละเอียดอ่อน ความมีไหวพริบ ความขยัน วิศวกรไทยกินขาดค่ะ

ถ้าพ่อแม่พี่น้อง ได้ทำความรู้จักกับคนในอาเซี่ยน เหมือนที่ดิฉันได้รับเกียรติและได้รับโอกาสนี้ในชีวิต พวกท่านจะค้นพบ
เองค่ะ ว่าคนไทยหน่ะ เก่งมากๆ ประเทศของเรามีคนเก่งเยอะ แต่ประเทศของเราพัฒนาได้ยากมาก ด้วยอุปสรรคหลายๆ
ประการที่ฝังหยั่งรากลึกค่ะ พูดง่ายๆ คือพวกเราเก่ง พวกเรามีสักยภาพมากมาย มีทรัพยากรธรรมชาติดีๆ มากมาย
มีทรัพยากรมนุษย์ดีๆ มากมาย แต่พวกเรามีกรรมบางอย่าง หรือหลายอย่างค่ะ ซึ่งดิฉันจะไม่ขอเขียนความคิดเห็นใน
ส่วนนี้

ในทุกๆ ไฟล์ทที่เดินทางระหว่างเมืองในอาเซี่ยน ดิฉันภูมิใจมากๆ ที่ได้เห็นคนไทยออกไปเป็น Expat หรือคนไทยที่
ประจำที่เมืองไทย ได้ออกไปประชุมไปสัมมนา หรือไปทำงานในอาเซี่ยนบ่อยๆ ค่ะ คนไทยหลายๆ คนที่ทำงานในเมืองไทย
ประจำอยู่เมืองไทย เขาไม่ได้บินกันว่อนทำงานในอาเซี่ยนแค่นั้น แต่เขาไปกันถึง ฮ่องกง ใต้หวัน จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น
ออสเตรเลีย ยุโรป ค่ะ

ดิฉันภูมิใจมากที่เป็นคนไทยที่ใช้ชีวิตอยู่ในอาเซี่ยนซึ่งเป็นภูมิภาคต้นกำเนิดของดิฉันเอง
และภาคภูมิใจในความเป็นประชากรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ค่ะ

ขอให้คุณ จขกท. นำ คห. ของดิฉันไปอ่านดูดีๆ แล้วคิดพิจารณาหาคำตอบเอาเองนะคะ
ว่าคนไทยเป็นคนอาเซี่ยนที่มีคุณภาพไหม


ตอบกลับความเห็นที่ 18