Ph.D หรือ DBA

ขอปรึกษาเพื่อนๆพี่น้องห้องนี้หน่อยค่ะ

ดิชั้นกำลังพิจารณาระหว่างการเรียน Ph.D vs DBA

พื้นฐานจบเศรษฐศาสตร์ ป.โท ก็เศรษฐศาสตร์ค่ะแต่ออกแนวการเงินการ ลงทุน แต่ประสบการณ์ทำงาน 7-8 ปีนี้ ทำงาน บ.คอนซัลท์ โปรเจคเกี่ยวกับลงทุนภาครัฐ ด้าน Logistics/Transport (ซะงั้น !!!! ) ซึ่งก็ต้องใช้ความรู้และการวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ แต่ขณะเดียวกันเราทำงานเชิง practical ต้องวิเคราะห์ในเชิงธุรกิจมากขึ้นด้วย ความรู้พวกนี้เหมือนมาเริ่มต้นได้เอาตอนทำงานจริงนี่ล่ะค่ะ กลายเป็นว่าที่ร่ำเรียนมาเป็นพื้นฐานในการคิด เป็นแนวทางการทำงาน แต่เอาเข้าจริงสิ่งที่ใช้ทำงาน ก็คือ จากการเรียนรู้ในงาน

ตอนนี้เริ่มอยากเป็นอาจารย์ ที่ยังสามารถทำงานคอนซัลท์ได้ด้วย (ก็ยังชอบงานคอนซัลท์อยู่นะ แต่เราก็ต้องพัฒนาตัวเองเป็นผู้เชี่ยวชาญมากขึ้น)

เลยคิดว่า DBA น่าจะเหมาะกับเรา น่าจะเรียนสนุกกว่า (และไปได้ตลอดรอดฝั่ง) กับการนำประสบการณ์ในทางปฏิบัติมาใช้ หรือเรากลัวไปเองกับการมุ่งไป Ph.D คะ


ปล.ตอนนี้หายูในใจมาได้บ้างแล้วค่ะ และกำลังเริ่มเขียน Proposal

----------------------------------------------

ปล.2 (เพิ่มเติม) เกรด ป.ตรี 3กว่า แต่ ป.โท อังกฤษ ผ่านมาเฉียดฉิว T_T ก็ดูไว้ว่าจะต่อที่อังกฤษตามเดิม จะไหวมั๊ยคะเนี่ย ประสบการณ์ทำโปรเจคจะพอช่วยได้มั๊ยคะเนี่ย นอกเหนือจากเราต้องเขียน proposal ให้แข็งอยู่แล้ว

ความคิดเห็นที่ 1
มุมมองจากคนนอกวงการ และรู้ว่า คุณศึกษามาระดับหนึ่งแล้ว
ย้ำว่า เป็นมุมมองส่วนตัวครับ

Ph.D. VS D.B.A.
กล่าวกันว่า
Ph.D. เป็น Theoretical research degree นำไปสู่การสร้างทฤษฎีใหม่
เหมาะกับคนในวงการวิชาการ และการเรียนการสอนขั้นสูง
มักจะได้รับการยอมรับว่า ยากกว่า
หรือคนเรียนต้องเก่งกว่าคนที่ทำทาง Applied research degree

D.B.A เป็น Professional degree
หรืออาจมองว่า เป็น Applied research degree
แสวงหาคำตอบ เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาธุรกิจในทางปฏิบัติ
มักจะถูกมองว่า เก่งน้อยกว่า Ph.D.
เพราะอะไรที่ประยุกต์แล้ว คิดกันว่า น่าจะง่ายกว่าศาสตร์ที่ยังบริสุทธิ์
มักจะมองกันอย่างนั้น และอาจจริงในบางเรื่อง

ส่วนตัว ให้ความสำคัญเท่ากัน เพราะเห็นว่า
เป็นการเรียนขั้นสูงเหมือนกัน ที่มีจุดหมายปลายทาง ที่ต่างกันเท่านั้นเอง
ไม่ได้คำนึงถึง ความเก่งหรือไม่เก่งของใคร
แต่ลึกๆแล้ว จะเอนเอียงไปทาง D.B.A
เพราะผลงานที่ออกมา น่าจะนำไปแก้ปัญหาได้จริง

เมื่อประมาณยี่สิบห้าปีที่ผ่านมา
ณ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง มีคณะหนึ่ง ได้ชื่อว่ามีผลงานวิจัยมากที่สุด
แต่เมื่อเวลาผ่านไป ความภูมิใจต้องลดลงไป
เมื่อถูกถามว่า สังคมได้รับประโยชน์อะไรบ้างจากงานวิจัยนั้น ซึ่งขาดการประยุกต์

สรุปดื้อๆว่า ผมชอบอะไรที่มัน ดัดแปลงแล้ว ปรับปรุงแล้ว
หรือประยุกต์แล้ว นำไปใช้ได้จริงมากกว่า

ส่วนคุณจะเลือกเรียนอะไรระหว่าง Ph.D. VS D.B.A. เลือกเอาเอง
แต่ไม่ว่าจะเลือกเรียนอะไร ให้ดีควรเรียนกับ มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง
และได้รับการยอมรับ จากคนในวงการเท่านั้น
ทั้งนี้เพื่อตัดปัญหา การซุบซิบนินทา
ที่จะทำให้คุณหงุดหงิดใจทีหลังครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
1# ขอบคุณมากค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
ตามความเห็นหนึ่งเลย

เพราะเอาเข้าจริงงานวิจัยที่เราทำระดับปเอกเฉพาะเนื้อหามันจะแคบมาก
จนเรียกว่าอาจจะไม่โอกาสได้นำมาใช้จริงจัง
ส่ิงสำคัญที่ได้คือกระบวนการทางความคิด วิธีการทำงาน
ซึ่งไม่ว่าปริญญาจะชื่ออะไร เราว่าให้ได้ทั้งคู่

ที่สำคัญคือเลือกหัวข้อที่สนใจกับอาจารย์ที่ดี
จะช่วยให้เราผ่านการเรียนตรงนี้ได้อย่างสบายใจขึ้น
เก็บประสบการณ์ได้เต็มที่

ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
I think PhD or DBA doesn't really matter. Although (technically) DBA seems to be a program for practitioners, schools usually offer either one of them (PhD or DBA). I believe there is no significant difference between the two but PhD seems to be a bit more academic. I think what you should consider very carefully (besides the funding support if you do not have one yet) are your potential research topics, supervisors, structure of the program & duration, school and location.


ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
ยังไงต้องดูหลักสูตรด้วยครับว่า โครงสร้างเป็นอย่างไร และตรงกับความประสงค์ของราหรือไม่
ผมจบ DBA มาแต่ว่าก็ไม่ได้มีผลอะไรมากกับการทำงาน เพราะไม่ได้ทำงานด้านวิชาการ แต่กระบวนการเรียนสอนให้เรามีกระบวนการทางความคิด และการค้นหาความจริง อย่างเป็นระบบระเบียบครับ ขอให้โชคดีครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 5
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 6
เท่าที่เคยเห็นมา การเลือกว่าจะเรียนตัวไหนอยู่ที่ว่าอยากจบไปทำอะไรเป็นหลักค่ะ พูดให้แคบหน่อยคืออยากเป็นนักวิชาการหรือเปล่า ที่ที่เรียนอยู่ (ในอังกฤษ) เปิดทั้งสองโปรแกรม (แต่ตัวเองเรียน PhD) ส่วนใหญ่คนเรียน DBA ที่ได้เจอเค้าไม่ได้อยากทำงานวิชาการกันน่ะค่ะ กรณีศึกษาคือมีเพื่อนคนนึงเค้าเป็นอาจารย์มาจากทางอเมริกาใต้ ได้ทุนมาเลือกเรียน DBA โดยที่จะกลับไปเป็นอาจารย์ ปรากฎว่าเวลาไปไหนมาไหนเจออุปสรรคค่อนข้างเยอะจากทัศนคติของแวดวงวิชาการภายนอกที่มีต่อ DBA ในที่สุดเมื่อฤดูร้อนที่ผ่านมาเธอเลยโอนย้ายสถานะมาเป็น PhD เรียบร้อยแล้ว ทั้งๆที่โดยส่วนตัวเธอก็ชอบโครงสร้าง การเรียนการสอนของ DBA มากแต่ว่าทำไงได้ เมื่อสภาพสังคมมั้นบีบคั้น :)

โดยส่วนตัวคิดว่า contribution ของ DBA นั้นไม่ได้ด้อยกว่า PhD แค่"แตกต่าง"เท่านั้นค่ะ เพราะทิศทางในการคิด การเริ่มต้นปัญหา และดำเนินงานนั้นดูจะสวนทางกัน ส่วนใหญ่ที่เจอ เค้าจะมุ่งเป้าที่การนำไปใช้ในบริษัทของตัวเอง เวลาเห็น DBA เค้าพรีเซนต์ดูเค้ามีโมเดลหรือเฟรมเวิร์คสวยๆเก๋ๆเต็มไปหมด เท่ดี (เคยดูนักเรียนที่เป็นผู้บริหารของ Ted Baker พรีเซนต์ด้วย ดูดีมีออร่ามากๆ)

ทีนี้ก็ต้องกลับมาดูเส้นทางอาชีพที่ต้องการอีกแหละ ถ้าอยากเป็นนักวิชาการโปรเฟสเซอร์กันจริงจัง เค้าแข่งกันที่การตีพิมพ์ในวารสารวิชาการชั้นนำ ซึ่งค่อนข้างเน้นทฤษฏี ว่าง่ายๆว่าเราต้องการงานวิชาการที่ต่อยอดใช้ได้จริง แต่คุณค่าทางทฤษฏีถือว่าเป็นคุณสมบัติขึ้นต่ำของการได้ตีพิมพ์ค่ะ เรื่องการประยุกต์นั้นค่อยดูเป็นด่านถัดไป (ไม่นับ Harvard Business Review หรือวารสารแนว practitioner นะคะ) ถ้าคิดอย่างงี้ ทางของ DBA ดูจะไม่ได้สร้างมาเพื่อสิ่งนั้น บอกไว้ก่อนว่าไม่ใช่ว่าครูบาอาจารย์ไม่ได้สนใจภาคปฎิบัตินะคะ แต่ว่าการนำไปใช้ประโยชน์ในสังคมวงกว้างนั้นจะต้องผ่านการโมดิฟายและใช้ช่องทางอื่น มากกว่าจะเป็นการตีพิมพ์วิชาการตรงๆค่ะ (อ่านกันอยู่ไม่กี่คนหรอกเชื่อเถอะ ^^)

อีกเรื่องนึงที่ต้องคำนึงถึงคือวีซ่าค่ะ ถ้าเป็นที่ที่เรียนอยู่เค้าไม่ได้นับ DBA เป็น full time เพราะว่านักศึกษาส่วนใหญ่ก็ทำงานทำการอยู่ต่างประเทศ บินมาเรียนกันเป็นบล็อกๆทีละสองสามสัปดาห์อะไรแบบนี้ แต่ถ้าอยากเรียนจริงๆน่าจะมีทางออกนะคะ เพราะว่าก็เห็นคนมาจากตะวันออกกลางหรือแอฟริกาหลายคนเหมือนกัน

ส่วนระบบอเมริกันคงต้องรอความเห็นเพิ่มค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 6
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 7
ไม่ต้องไปสนใจระหว่าง DBA,Phd,สนใจแต่ว่า เรามีความพร้อมมากน้อยแค่ไหนเช่นภาษา,ค่าการศึกษา จากนั้นเลือกมหาลัยที่ทุกสถาบันยอมรับคือลงทุนเรียนไปแล้วไม่เสียเปล่า แนะนำเลือกมหาลัยของรัฐเล็กๆ เรียนง่ายจบเร็ว ชีวิตเรายังมีอะไรรออยู่อีกมาก ขออย่าจมอยู่กับคำว่าเลิศหรู


ตอบกลับความเห็นที่ 7