เกาะ เซนกากุ เดิมที่เป็นของประเทศ??

แต่ดังเดิม เกาะเป็นของประเทศอะไร ก่อนที่อเมริกาจะยืดไป

วใครสมควรจะได้ไป ครับ

ความคิดเห็นที่ 1
ญี่ปุ่นบอกว่า ของฉัน

จีนบอกว่า ของฉัน

ไทยบอกว่า ไม่ใช่ของฉัน

จขกท ถามใคร


ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
ญี่ปุ่นบอกเป็นของญี่ปุ่น


http://www.youtube.com/v/gnlr_OBN2uw
ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
ถามพี่ๆว่า เดิมที่ เกาะเป็นของประเทศ ไหน ก่อนโดนยืด อะครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
คิดว่าไม่มีใครตอบได้ครับ เพราะเดิมทีญี่ปุ่นก็บอกว่าเป็นของญี่ปุ่น
จีนก็บอกว่าเป็นของจีนมาตั้งนานแล้วครับ คงต้องถาม จขกท ว่าจะเชื่อใครครับ?


ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
ปัญหาดินแดนนี่มันเหมือนๆกันในโลกอะนะ
จะเอาประวัติศาสตร์ยุคไหนมาอ้างกัน มันไม่มีวันตกลงกันได้หรอก

ฝ่ายญี่ปุ่นเสนอให้เอาเรื่องขึ้นศาลโลก
แต่ฝ่ายจีนปฎิเสธ บอกญี่ปุ่นว่า "ให้เลิกสร้างภาพหลอนตัวเองเถอ"

จีนนะเขาเรียกตัวเอง "จงกั๋ว" แปลว่า ประเทศศูนย์กลาง
เพราะฉะนั้นเขาต้องเป็นศูนย์กลางของโลกตลอดแหละ
จะกฎหมายสากลอะไรเนี่ย มันไม่ใช่ศูนย์กลางของเขา

วันก่อนเห็นแผนที่ประเทศจีนของเขาแล้ว โห..เหลือเชื่อ
เล่นขีดเส้นพรมแดนตัวเองเสียจน..น่าสงสารประเทศแถบนี้จริงๆ
เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ โดนหมด อ้าว..พรมแดนทะเลของ
ประเทศเหล่านี้ทำไมเหลือแค่ติดชายหาดล่ะ

จีนเป็นประเทศที่มีพรรคการเมืองพรรคเดียว คือพรรคคอมมิวนิสต์
บางทีทำอะไรให้รู้สึกว่าเหมือนพรรคมาเฟีย

ตอบกลับความเห็นที่ 5
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 6
คอลัมน์: หมุนตามโลก: ความขัดแย้งระหว่างจีนกับญี่ปุ่น
Monday, September 24, 2012 04:21

รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์
ความขัดแย้งระหว่างจีนกับญี่ปุ่นในเรื่องหมู่เกาะที่ทางญี่ปุ่นเรียกว่า "เซนกากุ"ในขณะที่จีนเรียกว่า "เตียวหยู" (ส่วนไต้หวันเรียกว่าเทียวหยูไถ๋) นั้นเกิดขึ้นเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาเมื่อรัฐบาลญี่ปุ่นได้ซื้อเกาะจำนวน 3 เกาะจากเอกชนชาวญี่ปุ่นหรือพูดง่ายๆ คือได้โอน 3 เกาะดังกล่าวในหมู่เกาะเซนกากุเข้าเป็นของรัฐนั่นเองแนวทางดังกล่าวจึงเท่ากับว่าเป็นการแสดงออกถึงความเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยในหมู่เกาะที่มีข้อโต้แย้งกับจีนมาเป็นเวลานานหลายทศวรรษและทำให้เกิดการประท้วงของคนจีนอย่างกว้างขวาง

หมู่เกาะเซนกากุหรือที่จีนเรียกว่าเตียวหยูนั้นแต่เดิมอาจกล่าวได้ว่าไม่มีใครเป็นเจ้าของชัดเจน (No Man Land)อย่างไรก็ตามในยุคเมจิของญี่ปุ่นได้ปรากฏว่ารัฐบาลญี่ปุ่นในสมัยนั้นได้เข้าไปยึดอาณาจักรRyukyu หรือที่เราเรียกว่าโอกินาวาในปัจจุบันในปี ค.ศ 1875 โดยมีหมู่เกาะเซนกากุอยู่ระหว่างอาณาจักร Ryukyu และอาณาจักรชิงของจีนและนั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งในเวลาต่อมาในปีค.ศ. 1885 ผู้ว่าราชการของโอกินาวาได้เสนอให้รัฐบาลญี่ปุ่นทำการยึดครองหมู่เกาะเซนกากุ แต่อย่างไรก็ตามรัฐมนตรีต่างประเทศของญี่ปุ่นในสมัยนั้นคือนาย Inoue Kauru ได้แสดงความไม่เห็นด้วยเพราะอาจนำไปสู่ความขัดแย้งกับจีนได้ซึ่งก็ได้ปรากฏว่าผู้นำญี่ปุ่นในขณะนั้นคือนาย Yamagata ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ปฏิเสธข้อเรียกร้องของผู้ว่าราชการโอกินาวาดังกล่าว

อย่างไรก็ตามในปีค.ศ. 1895 ก็ได้เกิดสงครามระหว่างญี่ปุ่นกับจีนขึ้นและเมื่อจีนพ่ายแพ้ในสงครามดังกล่าวก็ทำให้ทั้ง2 ประเทศได้ทำสนธิสัญญา Shimonoseki ในเดือนเมษายน ค.ศ.1895 โดยสนธิสัญญาดังกล่าวนี้ประเทศจีนถูกบังคับให้ยอมมอบเกาะต่างๆ รวมทั้งหมู่เกาะเซนกากุให้แก่ญี่ปุ่น ต่อมาภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อญี่ปุ่นได้พ่ายแพ้สงครามและทำข้อตกลงสนธิสัญญาซานฟรานซิสโกที่ทำขึ้นระหว่างฝ่ายพันธมิตรและญี่ปุ่นก็ได้มีการยกเลิกข้อตกลงเดิมที่จีนเคยทำไว้กับญี่ปุ่น ซึ่งหมายความว่าหมู่เกาะเซนกากุจึงไม่ได้ตกอยู่ในอธิปไตยของญี่ปุ่นอีกต่อไป อย่างไรก็ตามหลังจากนั้นทั้ง 3 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่นและไต้หวันต่างก็เรียกร้องสิทธิในการครอบครองในหมู่เกาะดังกล่าว

ในเดือนพฤษภาคมปีค.ศ. 1972 สหรัฐอเมริกาในฐานะประเทศที่ชนะสงครามและผู้ที่เข้ายึกครองโอกินาวาและหมู่เกาะเซนกากุไว้นั้นก็ได้คืนการบริหารจัดการให้กับญี่ปุ่น ในกรณีสหรัฐอเมริกานั้นรัฐบาลสหรัฐฯได้วางตัวเป็นกลางในเรื่องความขัดแย้งดังกล่าวแต่สหรัฐฯได้มีการทำข้อตกลงกับญี่ปุ่นไว้ในของความร่วมมือทางด้านการทหารและความมั่นคงว่าถ้ามีภัยคุกคามญี่ปุ่นสหรัฐฯก็จะให้ความช่วยเหลือทันทีโดยที่หมู่เกาะดังกล่าวก็ถือเป็นเขตแดนภายใต้สนธิสัญญาความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างสหรัฐฯอเมริกาและญี่ปุ่นด้วย

ความขัดแย้งระหว่างจีนและญี่ปุ่นในเรื่องหมู่เกาะเซนกากุนั้นในระยะสั้นได้ส่งผลกระทบในด้านการค้าและการลงทุนบ้าง ดังเห็นได้จากการที่โรงงานหลายแห่งของญี่ปุ่นที่เปิดในจีน เช่น Toyota Honda Canon และอื่นๆ ต่างก็ได้มีการปิดโรงงานชั่วคราว แต่อย่างไรก็ตามในระยะกลางและระยะยาวแล้วนั้น อาจวิเคราะห์ได้ว่าผลกระทบอาจมีน้อยมากหรือไม่มีเลยเนื่องจาก

ประการที่หนึ่งจีนและญี่ปุ่นต่างมีความผูกพันทางการค้าอย่างมหาศาล ทั้ง 2 ประเทศเป็นคู่ค้าที่สำคัญระหว่างกันและปริมาณการลงทุนของญี่ปุ่นในจีนก็มีจำนวนมหาศาล ดังนั้นรัฐบาลทั้ง 2 ประเทศคงจะต้องหลีกเลี่ยงหรือป้องกันไม่ให้สถานการณ์ความขัดแย้งบานปลายเพราะจะนำไปสู่ความสูญเสียอย่างมหาศาลได้ เหมือนกับที่ทฤษฎีเกมบอกว่า "คนฉลาดจะรู้จักหลีกเลี่ยงทฤษฎีเกมลบ (negative sum game)"นั่นเอง

ประการที่สองจีนนั้นมีความจำเป็นที่จะรักษาภาพลักษณ์ของการเป็นประเทศฝ่ายสันติ การมีท่าทีที่แข็งกร้าวและดำเนินมาตรการในทางรุกจะกระทบกับภาพลักษณ์ดังกล่าวและจะกระทบภาพลักษณ์ในสายตาของอาเซียนที่ยังมีประเทศที่มีความขัดแย้งกับจีนในหมู่เกาะสแปตลีย์ เช่น มาเลเซียฟิลิปปินส์ บรูไน เป็นต้น เพราะภาพลักษณ์ที่แข็งกร้าวดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบทางการเมืองเท่านั้นแต่ยังจะส่งผลกระทบทางด้านการค้าอีกด้วย และขณะเดียวกันจีนก็ยังร่วมมือกับอาเซียนในการรวมกลุ่มที่เรียกว่า อาเซียนบวก 3 อีกด้วย

ประการที่สามสหรัฐอเมริกากำลังหาโอกาสที่จะแผ่ขยายอิทธิพลเข้ามาในเอเชียตะวันออกเพื่อคานอำนาจกับจีน มาตรการที่รุนแรงของจีนเท่ากับว่าจะเป็นการเปิดโอกาสให้สหรัฐอเมริกาสามารถขยายบทบาทเพิ่มมากขึ้นได้เนื่องจากว่าการใช้ความรุนแรงดังกล่าวจะสร้างความหวาดระแวงของอาเซียนและมีความจำเป็นในการดึงสหรัฐอเมริกาเข้ามาถ่วงดุล

อย่างไรก็ตามแม้ในระยะกลางและระยะยาวผลกระทบจะไม่มี แต่ในระยะสั้นนั้นรัฐบาลจีนจำเป็นให้มีการประท้วงเกิดขึ้นไปตามธรรมชาติโดยเพียงแต่ป้องปรามไม่ให้เกินขอบเขตเท่านั้น เพราะรัฐบาลจีนเองก็ต้องแสดงท่าทีตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของประชาชนในประเทศและป้องกันอธิปไตยของประเทศโดยแสดงออกถึงความไม่พอใจซึ่งก็เท่ากับว่าเป็นการเล่นละครการเมืองภายในประเทศแต่อีกด้านหนึ่งก็ต้องเล่นละครการเมืองภายนอกคือแสดงท่าทีไม่พอใจเพราะการประท้วงญี่ปุ่นในเขตแดนที่จีนที่คิดว่าตนเองเป็นเจ้าของการประท้วงของรัฐบาลและประชาชนจีนจึงมีนัยสำคัญในอนาคตเรื่องหมู่เกาะเซนซากุเพราะในหมู่เกาะดังกล่าวมีทรัพยากรอยู่ไม่น้อยและจะช่วงชิงทรัพยากรดังกล่าวในอนาคต อย่างไรก็ตามเนื่องจากผลประโยชน์ในระยะยาวที่จีนและญี่ปุ่นมีร่วมกันอย่างมหาศาล เหตุการณ์ใดๆ ที่เกิดขึ้นเกี่ยวหมู่เกาะเซนกากุนั้นจึงเป็นเพียงเหตุการณ์ที่จะต้องดำเนินไปเพียงชั่วคราวและในที่สุดก็จะเงียบไป (ทั้งนี้หลักการเจรจาที่สำคัญข้อหนึ่งมีอยู่ว่าอย่าให้ข้อขัดแย้งประเด็นใดประเด็นหนึ่งลุกลามไปกระทบกับความสัมพันธ์ทั้งระบบ) ทั้ง 2 ประเทศจะไม่ปล่อยให้กระทบกับการค้าและการลงทุนที่มีผลประโยชน์มากกว่า แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่จะขัดแย้งต่อไปไม่สิ้นสุดก็คือการเรียกร้องสิทธิในหมู่เกาะเซนกากุของทั้ง 3 ประเทศคือ จีน ญี่ปุ่น และไต้หวัน ก็คงจะเป็นประเด็นความขัดแย้งต่อเนื่องกันไปอีกนาน

โดยสรุปอาจกล่าวได้ว่าความขัดแย้งระหว่างจีนกับญี่ปุ่นนั้นคงไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อภูมิภาคและโลก นอกจากผลกระทบเล็กน้อยในระยะสั้นที่ทำให้ธุรกิจการค้าการลงทุนชะงักงันลงไปบ้างเล็กน้อยเท่านั้นเอง.--จบ--

ที่มา: หนังสือพิมพ์สยามรัฐ


ตอบกลับความเห็นที่ 6
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 7
ไม่รู้ว่าเป็นของใคร ไม่มีใครตอบได้ พอๆกับเขาพระวิหารของไทยกับเขมรนั่นแหละคะ แต่คนไทยจะเข้าข้างญี่ปุ่นซะมากกว่า เพราะหมั่นไส้จีน


ตอบกลับความเห็นที่ 7