ถ้ามีเงินก็ไปเรียนต่อเมืองนอกเถอะ เห็นด้วยขนาดไหนคะ

พอดีเราเพิ่งไปอ่านการศึกษาของระบบการศึกษาไทยก็ยังมีคนเข้ามาถกเถียงค่ะว่าเป็นเพราะตัวเด็กด้วยครูด้วยสถาบันการบริหารต่างๆนานา แต่เราก็เคยได้ยินคนที่เค้าเคยไปเรียนตปท มาว่าถ้ามีเงินก็ไปเรียนเมืองนอกเถอะอะไรๆก็ดีกว่าเยอะ แต่ไม่ได้หมายความว่าไปเรียนเมืองนอกเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิตนะคะแต่ถ้าอยากได้การศึกษาที่ดีก็แนะนำอยากให้ไป เราเองยังอยากไปเลยค่ะ แล้วคุณคิดอย่างไรคะ

ความคิดเห็นที่ 1
มารอฟังผู้รู้ด้วยคน


ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
เราคิดว่า แล้วแต่ จุดประสงค์ของการใช้ชีวิตของคนค่ะ

ถ้าคุณคิดจะกลับมาทำงานที่ไทย สังคมค่อนข้างสำคัญมาก ...
เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ช่วยกันในเรื่องงานยังมีอยู่

อีกทั้ง มหาลัยดังๆในไทย คุณภาพก็ไม่ได้แย่


ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
เห็นด้วยขนาดหนัก


ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
ถ้ามีเงิน ชีวิตเป็นคุณหนู เรียนอยู่เมืองไทยเถอะ

มาเรียนเมืองนอก เดี๋ยวก็มาโอดครวญความลำบาก เหมือนกระทู้เมื่อเร็วๆ นี้นะ


ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
แล้วแต่ว่าเรียนต่อที่ไหน
ถ้าได้ที่ดี ๆ ดัง ๆ มีเงินก็เรียนเถอะ
แต่ถ้าโนเนมเรียนเมืองไทยดีกว่า ยกเว้นเงินเหลือใช้จริง ๆ

เรื่องสังคมเราเฉย ๆ นะคะ
เด็กไทยไปเรียน boarding school ที่อังกฤษ ต่อมหาลัยที่นู่นมีเยอะแยะไป
แต่ละคนก็พื้นฐานดีทั้งนั้น กลับมาทำงานเมืองไทยกันเยอะ
ได้ connection คนไทยในอังกฤษก็ดีเหมือนกัน connection ไม่ได้หาได้แต่ในเมืองไทย

ยกเว้นแต่ว่าอยากเรียนเฉพาะทางแบบที่ต้องมีใบอนุญาตในไทย
แบบนี้แนะนำเรียนตรีเมืองไทยให้จบก่อน
เช่น กฎหมาย สถาปนิก เป็นต้น ตั๋วทนายก็สอบกฎหมายไทยเป็นภาษาไทย
สอบสถาปนิกก็คำศัพท์ไทย
และคงมีวิชาอื่น ๆ อีกที่อาจจะเป็นประมาณนี้แต่เราไม่รู้

พวกบริหาร คอม การเงิน อะไรแบบนี้เรียนเมืองนอกหรือเมืองไทยก็ไม่น่าแตกต่างในด้าน requirement เวลากลับมาทำงานค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 5
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 6
อยู่ที่ใจ มากกว่า

บางคนไม่มีเงิน แต่กัดฟันสู้จนได้ทุน

บางคนมีเงิน แต่ไม่เห็นคุณค่าไม่ขวนขวาย

เงินไม่ใช่ทางออกของการศึกษา แต่สำหรับไทยแล้ว เงินคือปัจจัยทางการศึกษา

นักล่าฝันหลายๆคน มาจากคนที่ไม่มีอะไร มีแค่ใจกับความรู้ พร้อมความตั้งใจ แต่ทำไมเขาประสบความสำเร็จ


ตอบกลับความเห็นที่ 6
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 7
แท้จริงแล้ว ขึ้นกับความประสงค์ ของเด็กหรือลูก
ใช่ว่าเด็กทุกคน จะกระโจนเข้าใส่
โอกาสการได้ไปเรียนต่อต่างประเทศ
อย่างที่หลายคนคิด บางคนปฎิเสธการไปเรียนต่างประเทศ
อย่างจริงใจ และโดยไม่ได้มีอะไรแสแสร้งเลย
แถมออกอาการ ต่อต้านข้อเสนอของพ่อแม่
ที่จะให้เขาไปเรียนต่างประเทศเสียอีก
เป็นที่งุนงงของเพื่อนๆ ที่เห็นเขาตั้งหน้าตั้งตา เรียนต่อในไทยเท่านั้น

บางครอบครัว ไม่ได้คาดหวังอะไรมาก
จากการไปเรียนต่างประเทศของลูก
เพียงแต่อยากให้เขาได้ไปสัมผัส
และรับประสบการณ์ใหม่มา ทั้งด้านบวกและลบ
เพียงเพื่อเป็นบทเรียน ของชีวิตในอนาคต
นอกเหนือจากการที่อยู่กิน กับพ่อแม่มาแต่อ้อมแต่ออด
เพียงลูกไปใช้ชีวิต ในฐานะนักเรียนสักระยะ และได้ปริญญากลับมา
ก็เป็นความสุขของพ่อแม่แล้ว

สรุป พ่อแม่บางราย ไม่ได้คาดหวังว่า
ลูกจะต้องจบจากสถาบันการศึกษาที่เลอเลิศ
กลับมาไทย ต้องได้เงินเดือนสูงกว่าใครๆ
เพียงถ้าเขากลับมา อย่างผู้คนทั่วไป
ที่มีพร้อมทั้งวัยวุฒิและคุณวุฒิ
และสามารถ อยู่อย่างมีความสุขได้ ในสังคมไทย
ซึ่งเป็นรากเหง้าที่แท้จริง ของตัวเขาเองและบรรพบุรุษ
ถ้าลูกทำได้เท่านั้นเป็นพอ


ตอบกลับความเห็นที่ 7
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 8
ถ้าไปเรียนต่างประเทศ ก็อยากให้รับสิ่งดีๆมาแก้ไขประเทศไทย เช่น ความรับผิดชอบ ไม่โกง


ตอบกลับความเห็นที่ 8
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 9
ประการแรกเลย คำว่าถ้ามีเงินนั้น คงต้องหมายถึงมีเงินส่งเสียเรียนได้อย่างที่ครอบครัวทางเมืองไทยไม่เดือดร้อนเลย หากมีเงินบางส่วน พ่อแม่กู้ยืมมาบางส่วน อด หรือขาด สภาพคล่องเป็นช่วงๆก็ไม่น่าจะถือว่า .."ถ้ามีเงิน"เพราะการไป(มา)เรียนต่อตปท.ในปัจจุบันนี้ค่าใช้จ่ายสูงมาก มาเรียนปริญญาตรีสี่ปีคงไม่ต่ำกว่า๕-๖ ล้าน ประมาณนั้น

ประการที่สองถ้ามีเงินอย่างที่ว่าแล้ว ควรมาเรียนที่ตปท.หรือไม่ สำหรับผม ผมสนับสนุนล้านเปอร์เซ็นต์ เด็กจากเมืองไทยมาแล้วโตเป็นผู็ใหญ่เร็วมาก มีความรับผิดชอบทั้งเรื่องเงิน เวลา การศึกษาเล่าเรียน รู้จักเข้าสังคม การคบเพื่อน ที่สำคัญใจมันแกร่งกว่าอยู่เมืองไทยนะ คือจะเริ่มเรียนรู้ที่จะพึ่งตนเองและไม่อ่อนไหวต่อสิ่งรอบข้างมากเกินไป นอกจากสิ่งเหล่านี้ การศึกษาเขามีคณะสาขาวิชาให้เราเลือกเรียนได้หลากหลายกว่า และที่สำคัญได้ภาษาอังกฤษหรือภาษาของประเทศที่จะไป ทำให้ชีวิตเราในอนาคตมีทางเลือกมากกว่าคนอื่นๆ

ประการสุดท้าย โอกาสการหางานและทำงานในประเทศที่ไปเรียนนั้นสูงกว่าคนไทยที่ไม่ได้มา หาเงินได้เป็นดอลล่าร์ หรือปอร์นแล้วเก็บออมไปใช้เมืองไทย.....มัสุดยอดจริงๆครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 9
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 10
การมีเงินไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุด หรือไม่ได้เป็นตัววัดอะไรเลย สิ่งสำคัญแรกๆที่คุณควรรู้คือ รู้เป้าหมายของชีวิตในตัวคุณเองก่อน รู้จักตัวเองก่อน ว่าชอบสิ่งไหน ต้องการจะเป็นอะไร แล้วจากนั้นถึงค่อยหาหนทางที่จะไปต่อไปค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 10
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 11
จริงๆคำถามนี้น่าสนใจนะครับ แต่ต้องมองว่ามองจากมุมไหน ถ้ามองจากมุมของคนไทยในสังคมปกติ โดยส่วนใหญ่แล้วสมัยนี้การมาเรียนต่อเมืองนอกก็กลายเป็นค่านิยมไปแล้ว คนไทยเองโดยส่วนใหญ่ก็มักจะให้คุณค่า หรือการยอมรับคนจบปริญญาเมืองนอกมากกว่าในไทย แต่ถ้าให้ถามกันจริงๆว่า เพราะอะไรนั้น ผมไม่แน่ใจเหมือนกันว่า ใครจะสามารถอธิบายให้เหตุผลได้จริงๆจังๆ นอกจากคำว่า "ค่านิยม" กลายเป็นว่า ถ้ามีทางเป็นไปได้ก็จะต้องส่งลูกส่งหลานมาหิ้วใบปริญญากลับไปให้ได้ซักใบ (เอาเข้าจริงๆ เอาไปได้ใช้ประโยชน์แค่ไหนก็ไม่รู้) มีบ้างเหมือนกันที่เด็กอยากจะมาเรียนเอง แต่ส่วนใหญ่ก็เพราะอยากจะทำ profile ตัวเองให้ดีขึ้น เพื่อที่เมื่อถึงคราวจะต้องหางานทำในอนาคตนั้น profile ตัวเองจะได้ดูโดดเด่นกว่าคนอื่น มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่รู้สึกว่า อยากจะเรียนเพราะ "ความอยากเรียน" จริงๆ

จริงๆแล้วนั้นถ้าเอาเหตุเอาผลเข้าว่า การจะไปเรียนต่างประเทศนั้น ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ ควรจะมีจุดประสงค์เพื่อหาประสบการณ์ให้ชีวิต หรือที่เรียกกันว่า to broaden one's horizons นั่นล่ะครับ คำว่า broaden ในที่นี้เอาเข้าจริงๆ ไม่ได้หมายถึงด้านภาษาเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงการเข้าใจถึงวัฒนธรรม นิสัย ความเป็นอยู่ของประเทศนั้นๆต่างหาก ซึ่งคนไทยที่มาเรียนต่างประเทศน้อยคนนักที่จะทำตรงจุดนี้ เพราะมักยากครับ การที่คนไทยจะทำตรงนี้ได้ คนๆนั้นต้องก้าวข้าม barrier ส่วนตัว ต้องกล้าเข้าหาคนประเทศนั้นๆก่อน ต้องกล้ายอมรับว่า เรามีอะไรต้องเรียนรู้จากคนประเทศนั้นๆอีกเยอะ (ไม่งั้นจะมาทำไม?) แต่คนที่สามารถทำตรงนี้ได้ ก็จะลำบากแต่ตอนต้น สุดท้ายแล้วก็มีแต่ได้กับได้ ถามว่าทำไมต้องมานั่งใส่ใจเรียนรู้อะไรประเทศอื่นเค้า ไม่เห็นเกี่ยวกับที่มาเรียนเลย ผมก็มักจะถามกลับว่า ประเทศอื่นๆที่เค้าเจริญกว่าไทยนั้น เค้าเรียนน้อยกว่าเด็กไทยตั้งเยอะ ทำไมเค้าเจริญกว่า ก็ไม่เคยจะมีใครให้คำตอบกับผมได้ซักที แท้จริงแล้วการที่ประเทศอื่นๆ เช่น ประเทศทางตะวันตกที่เจริญกว่าไทยนั้น เพราะมันอยู่ที่นิสัย ที่ตัวคน ที่สังคม ที่ความคิดความอ่าน และจิดสำนึกหลายๆอย่างที่มันไม่สามารถเรียนรู้ได้ในมหาวิทยาลัย หรือในโรงเรียน เรื่องเรียนเรื่องความรู้มีความสำคัญแน่นอน แต่มันจะมาจากไหน หากไม่ได้เกิดจากการพัฒนาคิดค้นของ "ตัวคน" สรุปง่ายๆว่า ประเทศเจริญได้ สามารถดูได้ที่ "คุณภาพของประชาชน" คุณภาพตรงนี้ไม่ได้หมายถึงปริญญานะครับ สังเกตดูดีๆ ประเทศทางตะวันตกโดยส่วนใหญ่ ไม่ได้ให้ค่า "ใบปริญญา" สูงเหมือนที่ไทย แต่ประเทศเค้าก็ยังเจริญกว่า ตราบใดที่คนไทยที่มาเรียนต่างประเทศต่างๆนั้น ยังไม่เข้าใจตรงจุดนี้ และเอาง่ายเข้าว่า เรียนไปวันๆ เรียนจบก็เก่งแล้ว ว่างก็เที่ยว สนุกเฮฮากันในกลุ่มคนไทยเองนั้น ก็ไม่ต่างกับเรียนที่ไทยหรอกครับ ส่วนใหญ่ก็ขึ้นชื่อว่ามาเรียนนอก แต่ก็กระจุกตัวแต่กับกลุ่มคนไทย ไปไหนมาไหนก็แต่คนไทย ถามเอาเข้าจริงๆว่า รู้อะไรบ้างเกี่ยวกับประเทศนั้นๆ ส่วนใหญ่ก็มักจะตอบกันได้แค่ผิวเผิน แบบที่ไม่ต้องมาก็ตอบได้ทั้งนั้น สถานการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ หรืออะไรต่างๆเป็นอย่างไรจริงๆนั้น น้อยคนที่จะสามารถตอบได้จริง

ผมยกตัวอย่างของการมองเด็กแลกเปลี่ยนสำหรับต่างประเทศให้ซักนิด ให้เป็นตัวเปรียบเทียบกัน หลายๆบริษัทสมัยนี้ในเยอรมันก็มักจะอยากรับคนที่เคยแลกเปลี่ยนไปต่างประเทศมาทำงาน เพราะถือว่ามีวิสัยทัศน์ที่กว้างกว่าคนอื่น ได้เห็นอะไรมามากกว่าคนอื่น และได้เรียนรู้ culture ที่อื่น การจะส่งไปทำงาน หรือติดต่องานกับประเทศนั้นๆก็ง่ายขึ้น เพราะรู้ว่าควรจะทำตัวแบบไหนให้ถูกกาลเทศะ สมัยนี้อะไรๆก็ globalization ใครได้เปรียบตรงนี้ ก็ profile ดีกว่าคนอื่นไป แต่ไม่ได้กำหนดว่า ต้องไปเรียนนอกนะ ต้องได้ปริญญานะ ตรงนี้ไม่ใช่จุดที่น่าสนใจซักนิด

เอาเข้าจริงๆการที่ส่งเด็กไปเรียนเมืองนอกนั้น ก็ต้องมองด้วยว่า ส่งไปที่ไหนประเทศอะไร อยู่ในสิ่งแวดล้อมแบบไหน ถ้าส่งไปเรียนนอกก็จริงแต่เด็กก็กระจุกตัวอยู่แต่กับกลุ่มคนไทย นอกจากภาษาไม่ไปไหนแล้ว วิสัยทัศน์ก็ยังแคบเหมือนเดิม ไม่ต่างกับอยู่ที่ไทย นอกจากมีใบปริญญาเพิ่มอีกใบให้ดูเก๋หน่อย ให้คนอืนชื่นชมว่า เคยมาเรียนนอก หรือจบนอกนะก็เท่านั้น

โดยส่วนตัวผมคิดว่า หากคิดจะส่งลูกหลานมาเรียนเมืองนอก หรือหากอยากจะมาเอง แต่ไม่ได้มีความคิดจะเรียนรู้อะไรจริงๆ นอกจากมาเรียนหนังสือ และเที่ยวเล่น ไม่ต่างกันหรอกครับจะเรียนที่ไทยหรือที่ไหน วิสัยทัศน์ไม่ต่างจากเดิม แค่สถานที่เปลี่ยนไป ก็เท่านั้น จะว่าไปหนังสือเรียนที่ใช้ที่ไทย ส่วนใหญ่ก็แปลเค้ามา หลักสูตรก็ก๊อปเค้ามา ถึงจะไม่ได้คุณภาพเท่าเค้าซะทีเดียว แต่ก็ยังคล้ายคลึง แต่ไม่เห็นประเทศเราจะได้เสี้ยวเค้าเลย แค่ความรู้อย่างเดียว ไม่ได้ช่วยพัฒนาประเทศ แต่เป็นวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล และการรู้จักเรียนรู้เอาสิ่งที่ดี และความคิดความอ่านที่ประเทศอื่นเค้าเจริญแล้วมาเป็นตัวอย่างต่างหากคือตัวตัดสิน สังเกตดูดีๆครับ ประเทศแต่ละประเทศประชาชนเค้าจะมี characteristic ของเค้า ซึ่งสอดคล้องกับข้อดีของประเทศนั้นๆ ลองไปถามเด็กจบนอกที่อยู่ในไทยสิครับว่า characteristic ของประเทศที่เค้าไปเรียนกันมานั้นคืออะไร แล้วให้เหตุผลได้มั้ยว่า ทำไมประเทศนั้นเจริญกว่าไทย ก็จะได้คำตอบกันเองว่า ไปเรียนเมืองนอกมาสรุปเรียนรู้อะไรกันมาจริงๆ


ตอบกลับความเห็นที่ 11
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 12
เรื่องตัวความรู้ของเด็กจบนอก ผมคิดว่าไม่ได้ต่างกับเด็กจบใน หรอกครับ

สิ่งที่ต่างกันคือประสบการณ์การใช้ชีวิตแบบเด็กจบนอก ที่ได้เห็นอะไรเยอะกว่าแค่นั้นเอง

ทั้งนี้และทั้งนั้น ขึ้นกับตัวเด็กเองนะครับ ว่าจะขวานขวายขนาดไหน บางคนไปเรียนนอก ก็คบเพื่อนไทย พูดไทยเสียงดังฟังชัดเหมือนเดิม


ตอบกลับความเห็นที่ 12
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 13
ตัวเรามีประสบการณ์ทั้งเรียนในไทยและตปท.นะคะ

แต่เราก็ไม่สามารถตอบคุณได้ว่าอย่างไหนดีกว่า

เราว่ามันขึ้นอยู่กับตัวบุคคลมากๆเลย คุณควรถามตัวเองก่อนว่าตัวคุณต้องการอะไร

ในมุมของเราๆว่าเราเหมาะกับอเมริกามากกว่า ด้วยนิสัยมุมมองของเรา

แต่ที่ตอนที่เราตัดสินใจเรียนต่อที่อเมริกา เพราะเราอยากได้ประสบการณ์ เห็นโลกที่กว้างขึ้น มุมมองใหม่ๆ

และเราก็ตอบได้เลยว่ามันคุ้มค่ามากสำหรับเรา


ตอบกลับความเห็นที่ 13
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 14
มาอยู่นี่แล้วคุณจะรักเมืองไทย


ตอบกลับความเห็นที่ 14