เห็นเพื่อนต่างชาติตะลึงโค้กใส่ถุง เ้ลยอยากทราบเรื่องเครื่องดื่มแ่ต่ละประเทศค่ะ

ตามหัวข้อกระทู้เลยค่ะ

เพื่อนเป็นคนอิตาลีค่ะ บอกว่า บ้านเขาไม่กินน้ำแข็ง (อันนี้พอเข้าใจได้ค่ะ เมืองไทยมันร้อนกว่ามาก) แต่เขาบอกว่า บ้านเขาไม่นิยมน้ำเปล่า แต่มีน้ำโซดาแทน... เราเลยงง
โค้ก น้ำดำ เพื่อนก็ไม่กิน ชอบกินสไปร์ เขาถามเราว่า ทำไม คนไทยไม่นิยมสไปร์เหรอ อร่อยนะ

อยากรู้เหมือนกันค่ะว่า ที่ไหนเขานิยมดื่มอะไรกันบ้างคะ มีอะไรสนุกๆเล่าให้ฟังบ้างไหมคะ ^^

ความคิดเห็นที่ 1
เคยเจอชาวต่างชาติ เดินเข้า 7-11 หยิบ โซดา มากิน งงเหมือนกัน


ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
ครั้งที่ไปเที่ยว
เด็กๆ ไม่มีปัญหา เรื่องได้น้ำเปล่ามาดื่ม ที่ร้านอาหารในอิตาลี
มามีปัญหาที่เยอรมัน มีแต่น้ำโซดาไว้บริการ
ต้องไปหา น้ำเปล่าดื่มเอาเอง จากก็อกในห้องน้ำ

ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
ร้านอาหารที่อิตาลี มีโซดาให้ดื่มครับ

แถมฮิตด้วย

โซดาเปล่า ๆ นี่แหละ


ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
ที่เยอรมัน ปกติตามร้านจะมีแบบไม่มีโซดาด้วยนะคะ ต้องสั่งหรือไม่ก้อบอกเค้าว่าเอาน้ำก๊อก

ปล. ลูกสาวกลับไทยครั้งที่แล้ว กินโซดาแข่งกับตา สรุปคุณตาซื้อมากินกับเหล้า โดนหลานแย่ง เราพยายามไม่ให้ลูกกิน เพราะไม่มั่นใจว่ามันเหมือนกับน้ำที่เยอรมันหรือเปล่า


ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
โดยทั่วไปแล้วความเข้าใจคำว่า "น้ำโซดา" สับสนกันไปหมด ทุกคนจะเข้าใจกันว่า "น้ำโซดา" คือน้ำอัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (เรียกขั้นตอนนี้ว่า carbonation) ที่ทำให้รู้สึกซ่าในปากเมื่อดื่ม ยิ่งปัจจุบันนี้มีเครื่องมือ Siphon สามารถอัดก๊าซทำน้ำให้ซ่าได้เองที่บ้าน ทุกคนเลยเหมาเรียกกันว่าน้ำโซดาหมด

จริงๆ แล้วน้ำโซดาโดยดั้งเดิมเริ่มแรกที่มีการผลิตขึ้นมาโดย Schweppe ชาวเยอรมัน (ปัจจุบันใช้เป็นชื่อเครื่องดื่มยี่ห้อ Schweppes) น้ำโซดาจะต้องมีส่วนผสมของโซเดียมไบคาร์บอเนต (เบคกิ้งโซดาหรือผงฟู) อยู่อย่างน้อย 570 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1 ลิตร แล้วจึงอัดก๊าซด้วยปริมาณที่สูงกว่าเครื่องดื่มโดยทั่วไปหลายเท่า น้ำโซดาชนิดนี้จะมีรสชาติเค็มปะแล่มด้วยคุณสมบัติความเป็นด่าง และเอาไว้ใช้ผสมเครื่องดื่มในเหล้าเฉพาะอย่างยิ่งเหล้าคอกเทล ด้วยรสชาติพิเศษของโซเดียมไบคาร์บอเนตจะไปช่วยดึงให้รสเหล้าที่ผสมแล้วดีขึ้น แต่จะไม่เอาไว้ดื่มต่างน้ำหรือใช้ทำอาหาร น้ำโซดาที่ไว้ผสมเหล้านี้จะมีขายเฉพาะตามห้างใหญ่ๆ หรือร้านเฉพาะเท่านั้น จะหาซื้อยากโดยทั่วไป ในชื่อว่า soda club หรืออื่นๆ และนี่เป็นที่มาของคำที่เรียกว่า น้ำโซดา เพราะน้ำผสมด้วยโซเดียมไบคาร์บอเนต

มาในปัจจุบัน การทำน้ำให้ซ่าโดยอัดก๊าซสามารถทำเองได้ คนทั่วไปก็ยังเรียกน้ำเปล่าอัดก๊าซว่า น้ำโซดา ซึ่งคนทั่วไปเอามาดื่มต่างน้ำได้เพราะไม่มีรสเค็มของเบคกิ้งโซดา

ในเยอรมนีที่ คห 2 ระบุถึงนั้นไม่ใช่น้ำโซดา แต่คือน้ำแร่อัดก๊าซ นั่นหมายถึงว่าโดยทั่วไปแล้ว น้ำดื่มที่บรรจุขวดขายอยู่นั้นเป็นน้ำแร่ธรรมชาติทั้งหมด หรือ mineral water โดยสามารถตรวจสอบได้จากฉลากข้างขวดซึ่งตามกฏหมายจะกำหนดให้ระบุแหล่งที่มาของน้ำแร่และมีแร่ธาตุอะไรบรรจุอยู่ปริมาณเท่าไหร่ น้ำแร่นี้มีอยู่ 3 ประเภทคือ ไม่อัดก๊าซเลยที่เรียกว่า still water สังเกตุได้ง่ายเพราะจะมีฝาจุกสีเขียวเสมอ ต่อไปเป็น อัดก๊าซปานกลาง และท้ายสุดคือ อัดก๊าซมาก ถ้าสั่งว่าต้องการน้ำดื่ม แค่บอกว่า water ก็จะได้น้ำแร่แบบนี้ จะเอาแบบมีก๊าซหรือไม่มีเท่านั้น

แถมน้ำแร่สำหรับดื่มนี้ไม่ถูกจัดอยุ่ในกลุ่มอาหารที่จำเป็นอีกต่างหาก จึงคิดภาษีมูลค่าเพิ่มที่ 19% ไม่ใช่แค่ 7% เหมือนสินค้าประเภทอาหารทั่วไป เครื่องดื่มถือเป็นส่วนที่สำคัญยิ่งยวดของวัฒนธรรมการกินอาหารของชาวตะวันตก ถึงขนาดกลายเป็นเครื่องวัดสถานะภาพทางสังคมไป อาหารจะเลิศรสหรือไม่ก็ขึ้นกับเครื่องดื่ม และถึงแม้ว่าจะมีคนส่วนน้อยหรือปัจจุบันจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ สำหรับคนที่เลือกดื่มน้ำเปล่า ก็ยังต้องเป็นน้ำแร่เป็นอย่างน้อยที่จะมีโอกาสขึ้นโต๊ะอาหาร ไม่ใช่น้ำจากก๊อก

ความแตกต่างของคำว่า "น้ำดื่ม" อยู่ตรงที่ว่า ในต่างประเทศคุณภาพของน้ำก๊อกจะได้รับการรับรองคุณภาพที่ผ่านการตรวจสอบควบคุมเป็นระยะ ทั้ง กลิน สี และ รส รวมทั้งระบบท่อขนส่งน้ำจะใช้แรงดันสูงมากและจะต้องไม่ใช้ท่อที่เป็นโลหะเพื่อความบริสุทธิ์ของน้ำ อีกทั้งปริมมาณของคลอรีนน้อยมากและกรองออกเสียจนไม่ส่งกลิ่นแม้แต่น้อย แต่ต่างประเทศอาจใช้ปริมาณคลอรีนได้น้อยเพราะอากาศไม่ร้อนแบบเมืองไทยที่โอกาสจะเกิดการแพร่เชื้อได้ง่าย นอกจากนั้นแล้วแหล่งน้ำดื่มจะมีข้อกำหนดควบคุมไปถึงบริเวณโดยรอบที่จะต้องไม่มีทั้งที่พักอาศัยและโรงงานอุตสาหกรรมอยู่ใกล้ที่จะทำให้เกิดการปนเปื้อนได้เลย ฉะนั้นน้ำดื่ม น้ำใช้ในต่างประเทศคือ มาตรฐานเดียวกัน จึงไม่มีใครสามารถเอาน้ำที่ทางการออกมาตรฐานรับรองแล้วไปทำธุรกิจขายได้อีกต่อไป

น้ำดื่มที่ขายอยู่ในเมืองไทยคือ น้ำก๊อกที่เอาไปผ่านขั้นตอนทำความสะอาดแล้วบรรจุขวดขาย หรือ ถ้าจะดื่มน้ำก๊อกที่บ้านจะต้องนำไปต้มก่อน หรือ ต้องผ่านเครื่องกรอง ทั้งๆ ที่ทางการก็รับรองเหมือนกันว่าน้ำประปาไทยได้คุณภาพดื่มได้เลย แต่ไม่เกิดความไว้วางใจในหมู่ประชาชน กลายเป็นธุรกิจขายน้ำที่ขายดิบขายดีไปเสียอีก นักท่องเที่ยวที่คุ้นเคยกับน้ำดื่มอัดก๊าซที่บ้านตัวเองก็ต้องไปดื่มน้ำโซดากระป๋องแทน จะเป็นโซดาที่ใส่ผงฟูหรือไม่ใส่คงไม่ได้สนใจ ที่สำคัญขอให้ซ่าไว้ก่อนเป็นใช้ได้ เป็นเรื่องของความเคยชินอย่างแท้จริง

ตอบกลับความเห็นที่ 5
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 6
น้ำโซดาที่เมืองนอก เค้าเรียก sparkling water อัดก๊าซนิดหน่อย คนยุโรปชอบดื่มกัน

น้ำบรรจุขวดในอเมริกา รสชาติไม่เหมือนน้ำก๊อกจากบ้านเท่าไหร่ น้ำก๊อกฝรั่งบางคนก็กิน ฝรั่งบางคนก็ไม่กินนะ เพราะแต่ละเมือง ความสะอาดของน้ำไม่ได้เท่ากันไปหมด บางเมืองแร่ธาตุเยอะมาก ไม่ดีต่อสุขภาพเท่าไหร่

อย่างที่บ้านตัวเอง ไม่ดื่มน้ำก๊อกเลย จะซื้อน้ำ spring water มาดื่ม กับทำกับข้าวตลอด เวลาซื้อคุณต้องอ่านฉลากนิดนึง มันมีบอกว่า แหล่งน้ำเค้ามาจากไหน

แต่น้ำดื่มที่ดื่มแล้วอร่อยมากคือ น้ำดื่มยี่ห้อ Fuji รสชาติดี ไม่แปร่ง ชื่นใจแต่ก็แพงพอสมควร

มีอีกน้ำนึงที่คิดว่าอร่อยคือยี่้ห้อ arnold palmer เป็น น้ำชาผสมน้ำมะนาว อย่างละครึ่ง

ตอบกลับความเห็นที่ 6
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 7
จริงด้วย ทำไมคนถึงชอบเรียกน้ำอัดก๊าซว่าน้ำโซดา
กันหมด เรารู้ทันทีเลยนะ ว่าไม่ใช่แน่ๆ เพราะผสมเหล้า
แล้วรสเสียหมด 555 น้ำที่คิดว่าที่นี่นิยมมาก แต่ไม่ค่อยเห็น
ที่ไทย คงเป็น Spezi รุ่นแก่ๆเรียก kalte Kaffee หรือ กาแฟ
เย็น สมัยนี้ เรียก mezzo mix จะเรียกอะไร มันคือ โคล่าผสม
แฟนต้าน้ำส้ม น่ะล่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 7
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 8
เข้ามาลบความคิดเห็นของตนเองเพราะอาจจะไม่ถูกต้องทำให้คนที่อ่านเข้าใจผิด

ตอบกลับความเห็นที่ 8
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 9
ผมชอบที่เมกาครับ
ที่เขาให้กดโค๊กดื่มไม่อั้น
ผมจะซื้อแก้วเล็กสุดแล้วเติมบ่อยๆเอา
แต่คนที่นี้เขาซื้อแก้วใหญ่กัน
ผมก็ไม่เข้าใจ


ตอบกลับความเห็นที่ 9