คนที่ประสบความสำเร็จในต่างประเทศ

รบกวนสอบถามครับ ใครเคยเป็น เคยเห็นหรือรู้จักบางคนที่ล้มเหลวที่ไทยอย่างสิ้นเชิง แล้วไปประสบความสำเร็จที่ต่างประเทศบ้างมั้ยครับ (ประสบคามสำเร็จ นิยามยาก แต่บางคนอาจจะแค่เจ้าตัวพอใจ มากกว่าอยู่ที่ไทย ) .....

เพราะเหตุใดถึงเป็นแบบนั้นอ่ะครับ ทั้งที่อยู่เมืองไทย อะไรๆมันก็น่าจะง่ายกว่า หรือสะดวกกว่า

ความคิดเห็นที่ 1
เห็นเยอะแยะไปครับ เพราะอะไร...

เมืองไทยสมัครงานต้องมีใบปริญญา ต่างประเทศไม่เอาไม่สนใจ ดูแค่ความสามารถ (นอกจากงานระดับบริหาร)
เมืองไทย ไม่มีเส้นสาย โอกาสได้งานน้อยกว่าคนมีเส้น
เมืองไทย จำกัดอายุ ต่างประเทศเอาความสามารถ อายุไม่สน


ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
เห็นด้วยกับข้างบน เมืองไทยทำอะไรก็ไม่ง่ายต้องใช้เส้นสายเงินทอง
ไม่ต้องยกตัวอย่างใครเรานี่แหล่ะตัดสินใจมาใช้ชีวิตที่ต่างประเทศ
เพราะรู้สึกล้มเหลวกับชีวิตที่เมืองไทยหลายๆ ด้าน

หน้าที่การงานก็ไม่รุ่งเพราะวิ่งเต้นไม่เป็น
เงินเดือนน้อยกว่าค่าครองชีพฐานะเลยค่อนข้างจน
โดนเอารัดเอาเปรียบเบียดเบียนตลอดเวลาหาโอกาสลืมตาอ้าปากยากมาก
มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาโทยังไม่ช่วยอะไรเพราะจบจากสถาบันธรรมดา
ทำงานหนักให้ตายก็โดนรุ่นน้องที่เส้นสายดีกว่าข้ามหัวไปอยู่ดี

พอมาอยู่ต่างประเทศเราได้รับการสนับสนุนให้ต่อยอดความรู้และพัฒนาทักษะการทำงาน
มีปัญหาอะไรปรึกษาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ตลอดไม่ต้องใช้เส้นสายใครทั้งนั้น
ทุกอย่างลื่นไหลไปตามระบบไม่ต้องคอยตามคอยเดินทางเทียวไปมาให้เหนื่อย
คุณภาพชีวิตดีขึ้น สุขภาพกายและใจก็ดีตาม
มีโอกาสใช้เวลา สติ และสมองมานั่งคิดหาช่องทางทำกินได้

ถึงวันนี้ก็ยังไม่บังอาจอวดอ้างตัวว่าประสบความสำเร็จเพียงแต่รู้สึกพอใจกับสิ่งที่ได้รับ
และมองเห็นหนทางสว่างไสวรออยู่ข้างหน้า ไม่อับเฉาหดหู่ กดดันอีกต่อไป


ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
มีเพื่อนสนิทครอบครัวหนึ่ง บ้านเดิมอยู่เยาวราช อายุมากกว่าผมทั้งคู่ ความรู้ในโรงเรียนน่าจะ ป 4 ทั้งคู่ พูดอังกฤษพอถูไถ ตอนนี้ยังอ่านไม่ออกทั้งคู่แต่อ่านป้ายจราจรได้ แต่สามีมีความจำเร็วมาก สามีพูดจีนได้พอสมควรภรรยาพูดจีนได้นิดหน่อย เคยมีธุรกิจค่อนข้างดีคือค่อนข้างรวยแล้วเจ๊ง หอบลูกห้าคนมาอเมริกาตอนเด็ก เมื่อราวยี่สิบปีก่อน ตอนนี้ถือว่าสำเร็จเพราะลูกทุกคนเป็นเด็กดีเท่าที่ผมเห็น มีธุรกิจส่วนตัวสามคนและที่รับเงินเดือนก็มีรายได้ดีทุกคน ตอนนี้มีที่ดินราวยี่สิบล้านที่เมืองไทยอยากจะขาย!
(เจ๊งแล้วนะยังมีที่ดินเหลือไว้ขายตั้งยี่สิบล้าน)


ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
ขอต่ออีกนิดหนึ่ง
ไหนๆคุณจขกทมีคำถามแบบนี้ จึงอยากจะบอกว่า มีคนที่สนิทมากตั้งแต่เกิด เป็นผู้หญิงอยู่เมืองไทยอายุสี่สิบนิดๆ (จบเกษตรเกียรตินิยมและมินิ MBA จุฬา) มีธุรกิจส่วนตัวปกติอยู่แล้ว เพิ่งจับงานใหม่โดยบังเอิญตั้งแต่เริ่มทำไม่เคยต่ำกว่าวันละหมื่นห้า แต่เขาเป็นนักขายมีรางวัลเยอะก่อนทำธุรกิจตนเอง


ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
คห.2 แนะนำลู่ทางให้บ้างสิครับว่า ทำอะไรยังไง

ผมรู้สึกเหมือนพี่เลยครับ เรียนมาเยอะแยะ แต่ก็ไม่ได้ช่วยอะไร


ตอบกลับความเห็นที่ 5
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 6
# 1 #2

เรื่องจริงเลยแหละ เด็กเกียรตินิยม จบมา 3.8 แพ้เด็กเส้น .....


ตอบกลับความเห็นที่ 6
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 7
เยอะมาก !!!! โดยเฉพาะ สายงาน Oil & Gas

มี Supervisor มาจาก เด็กรับขับรถ ขนก่อสร้าง คืองาน แรงงานทั่วไป จนวันนึง ได้มีโอกาส มาทำงานต่างประเทศ

ผ่านไป 5-7 ปี เก็บประสบการณ์ ขยับ ขยัน ใฝ่รู้ อดทนงานหนัก ทนแดด จากคนงาน เป็น โฟร์แมน จากโฟร์แมน มาเป็น ซุป

เงินเดือนเกือบแสน !!!! กลับไปเช็คประวัติการศึกษา จบแค่ ม.3

บอกตรงๆ ว่าต่างประเทศ ประสบการณ์สำคัญกว่าการศึกษา (ในบางสายงานที่ทำงาน on site) ไม่นับพวก engineer นะครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 7
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 8
คุณ คคห.5 ระหว่างรอผมคร่าวๆให้ก่อน จะไปต่างประเทศ สมมุติเช่น USA ความรู้
ที่ควรมีติดตัวสำหรับต่างด้าวด้อยภาษาอย่างเราๆต้องเป็นประเภทวิชาชีพ สายงาน
เน้นไปทาง เทคโนโลยี่ Skill หรือ(และ) ประสบการณ์สำคัญมากที่จำเป็นจะต้องมี

สายอาชีพที่ส่วนมากจะไปได้ ช่างกลโรงงาน CNC PLC คอมพิวเตอร์กราฟฟิคสาย
นี้ที่จะไปได้ก็ Mechanical desktop, SolidWork, Unigraphic, ด้านโปรแกรมก็ MasterCam

กร๊าฟฟิค design ด้านอื่นก็พวก flash รับเขียนเวป เดี๋ยวนี้หน้าเวปเกือบทุกร้านต้องอั๊พเดท
ทุก2-3วันหรือทุกอาทิตย์ บางที่ต้องทุกวัน สายนี้ยังต้องการคนอยู่


สายงานที่ได้ทั้งบริษัทและสามารถเป็น sideline หรืองานพิเศษของตัวเองได้โดยไม่ต้องลงทุน
ก็ด้าน Network + computer ถ้าสามารถมี certificate ก่อนไปเลยได้จะทำให้หางานได้ง่ายขึ้น
และทางเลือกเยอะ ขี้หมูขี้หมาก็ตาม Bestbuy หรือ Fry's electronic เอาประสบการณ์งานก่อน
ที่จะไต่บันไดไปเรื่อยๆ ความรู้สายนี้ทำเองได้ทั้งที่บ้านหรือเดินสายนอกสถานที่ช่วงเสาร์อาทิตย์

หรือไม่ก็ OIL and Gas ตามข้างบน แต่ต้องแกร่งหน่อย

ช่างซ่อมรถ ก่อสร้าง ช่างฝีมือทั้งหลาย ถ้ามีติดตัวมาก็จะมีโอกาสได้ใช้ แต่ไม่ใช่งานหลัก

ความรู้ด้านบัญชีหรือ book keeping ไม่ต้องเสียเวลา เพราะสู้เจ้าของประเทศลำบาก


ตอบกลับความเห็นที่ 8
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 9
จริงๆแล้วคำว่าประสบความสำเร็จในต่างแดน ก็ต้องดูด้วยครับว่าประสบความสำเร็จที่ไหน แล้วช่วงไหนนะครับ ถ้าพูดกันในแถบ US ผู้ที่มาอยู่ที่อเมริกาแล้วประสบความสำเร็จทั้งๆที่ไม่มีใบปริญญา มากันแบบมือเปล่า และสร้างเนื่อสร้างตัวกันได้ ส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นรุ่นที่เรียกกันว่า รุ่นบุกเบิก คือ ผู้ที่มาในช่วงที่เศรษฐกิจของอเมริกากำลังอยู่ในช่วงพัฒนาขาขึ้นขณะนั้น และกำลังเปิดประเทศสำหรับนักแสวงหาโชคทุกชาติ หรือที่เคยเรียกกันว่า American Dream นั้นซึ่งกล่าวไว้ว่า ความเท่าเทียมทางโอกาสและเสรีภาพที่เอื้อให้พลเมืองบรรลุถึงเป้าหมายในชีวิตด้วยการทำงานหนักและด้วยความมุ่งมั่น ซึ่งปัจจุบันความหมายโดยทั่วไปได้ปรับเปลี่ยนเป็นว่า ความมั่งคั่งของบุคคลขึ้นอยู่กับขีดความสามารถและการทำงานหนัก ไม่ขึ้นอยู่กับโครงสร้างระดับชั้นที่ตายตัวของสังคม ซึ่งอยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 นั่นคือเหตุผลหลักที่คนสมัยนั้นมีโอกาสในการสร้างเนื้อสร้างตัวที่ดีกว่าทุกวันนี้ แต่หากพูดกันถึงทุกวันนี้ด้วยฐานะเศรษฐกิจของอเมริกาที่กำลังย่ำแย่นั้น จะให้ใครๆก็ตามสร้างเนื้อสร้างตัวให้ประสบความสำเร็จเช่นวันเก่านั้น คงเป็นไปได้ยาก ไหนจะการแข่งขันในตลาดที่สูงลิ่ว ที่กดดันให้คนรุ่นหลังต้องเรียนสูงขึ้นๆเพื่อจะได้ไปแข่งขันกับคนอื่นได้ ไหนจะ Gap ระหว่าง Class ที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ที่ทำให้ประชาชน middle class เองต้อง suffer เป็นอย่างมาก

นอกจากนี้อย่างที่ จขกท ว่าไว้นั้นล่ะครับ คำว่าประสบความสำเร็จนั้น แต่ละคน define ไว้ไม่เหมือนกัน บางคนได้ทำงานที่จริงๆแล้วอาจจะไม่ได้ดีกว่าที่ไทย แต่กลับมีความสุขในการทำงานและใช้ชีวิตมากกว่า แม้เงินทองจะไม่ได้เยอะมากมาย แต่ความสุขทางใจนั้นมีมากกว่า เพราะผู้คนรอบข้างไม่มานั่งดูถูก หรือแบ่งชนชั้น แบ่งสีผิว การทำงานจึงมีความสุขมากขึ้น ทั้งๆที่ความจริงเนื้องานไม่ได้ดีกว่า หรือต่างจากงานเดิมที่ไทยที่ตนเคยทำ จะบอกว่าใบปริญญาไม่สำคัญนั้น ผมไม่เห็นด้วยซักเท่าไหร่นัก จริงครับที่ต่างชาติสามารถทำงานได้ทั้งๆที่ไม่มีปริญญา แล้วก็ใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างปกติดีไม่เดือดร้อนอะไร แต่หากเทียบกับผู้มีใบปริญญานั้น งานก็ยังดีกว่าอยู่ดี ซึ่งก็แน่นอนว่า งานและตำแหน่งที่ดีโดยทั่วไป ยังไงก็ยังมี Degree เป็นตัวกำหนด หากจะบอกว่าการเรียนระดับปริญญานั้นไม่สำคัญ ก็คงจะขัดกับความจริงที่ว่า ค่าเล่าเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่อเมริกาต่อปีๆนั้นเป็นเงินจำนวนไม่น้อย แต่หากเทียบกับประเทศไทย สำหรับผู้ที่ไม่มีปริญญานั้น หรือไม่ได้จบจากมหาลัยดัง อนาคตหน้าที่การงานก็แตกต่างกับผู้จบจากมหาลัยชื่อดังอย่างเห็นได้ชัด การได้รับการยอมจากสังคม หรืองานที่ทำก็แตกต่างอย่างเห็นได้ชัดเช่นกัน ซึ่งตรงนี้การทำงานอยู่ต่างแดนจะแตกต่างไปอย่างชัดเจน เพราะฉะนั้นความรู้สึกตัวคนเราเองนี่ล่ะครับที่เป็นตัวตัดสินที่สำคัญที่สุดว่า อยู่ที่ไหนชีวิตมีความสุขมากกว่า = อยู่ที่ไหนประสบความสำเร็จมากกว่า

แต่หากพูดถึงในยุโรปนั้น ต้นสายปลายเหตุมันเริ่มตั้งแต่ความแตกต่างทางด้านการเรียน การศึกษา และ Qualification ในการทำงานทีแตกต่างกับที่ไทยโดยสิ้นเชิง หากจะให้กล่าวถึงเรื่องนี้คงได้อีกยาวครับ

ตอบกลับความเห็นที่ 9
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 10
ต่างประเทศที่เปิดโอกาสให้คนมีโอกาสประสบความสำเร็จไม่จำกัดอายุ คือ อเมริกา เท่าที่ทราบ


ส่วนประเทศในยุโรป "จำกัดอายุ" การสมัครงานออฟฟิส งานบริษัททั่วๆไปคือ เยอรมนี เท่าที่ทราบห้ามเกิน ๓๕ เหมือนกับประเทศไทย


ตอบกลับความเห็นที่ 10
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 11
สำหรับประเทศสวิสในความเห็นของดิฉันนะคะ

ด้านประสบการณ์ก็มีความสำคัญไม่แพ้คนที่จบมหาวิทยาลัยเช่นกัน และขึ้นอยู่กับโอกาสและความสามารถในการทำงานเช่นกัน

เช่น ไดเร็คเตอร์ของแบงค์สำคัญบางแห่ง เรียนพาณิชย์ด้านธนาคาร มีตำแหน่งสูงเพราะประสบการณ์และจากการสมาคม(ที่สามารถเอื้อผลประโยชน์ให้แก่กันและกันในภายภาคหน้า)

ขณะเดียวกันลูกน้องจบมหาวิทยาลัยมีชื่อ ได้เกียรตินิยม มีความสามารถไม่แพ้กัน ต่างกันที่ไม่มีใครช่วยดึง ก็เท่านั้นเองค่ะ

แต่ที่อยู่กันได้เพราะว่าความมั่นคงและเงินเดือนที่ไม่ห่างกันมาก

หากจะนับเรื่องอายุ นับว่าแปลกเหมือนกัน ดิฉันเชื่อว่าอยู่ที่คนอีกนั่นแหละที่เป็นตัวการ ดังตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายมากคือ ตำแหน่งเลขา

เช่นการรับเลขาของสำนักงานใหญ่แห่งหนึ่ง มีผู้สมัครรายแรกเป็นหญิงสาวอายุยี่สิบปลายๆ มีอายุการทำงานมาแล้วเกือบสิบปี

ผู้สมัครอีกรายมีอายุสี่สิบปลายๆ มาสมัครหลังจากหยุดงานไปเป็นแม่บ้านสิบปี

บริษัทตกลงรับผู้สมัครที่อายุสี่สิบปีปลาย ด้วยเหตุผลที่ว่า คนๆนี้ต้องการทำงานจริงและจะหากจะอยู่ที่นี่ ก็จะอยู่อีกนาน อาจจนถึงเกษียณ ร่วมๆสิบสี่ปี

ต่างจากหญิงสาวที่อาจมาเลือกที่นี่เพื่อเป็นบันไดผ่านไปสู่หน่วยงานที่ใหญ่กว่านี้ มีโอกาสหางานได้ง่ายกว่า เพราะยังเด็กอยู่ และหากอยู่กับนี้ไม่นาน บริษัทต้องเสียเวลาหาคนมาแทนที่

และที่เห็นส่วนมากแล้วประเทศสวิสยังให้โอกาสฝ่ายหญิงที่มีการศึกษา พอแต่งงานและลาออกไปดูแลครอบครัว

วันหนึ่งเมื่อจัดสรรทุกอย่างได้ลงตัว ก็อาจมาสมัคร ขอทำงานในสาขาที่ตนมีความรู้ได้เหมือนเดิม

และสามารถดูได้อีกกรณีหนึ่งคือ หญิงไทยที่มาอยู่สวิสด้วยความรู้อันน้อยนิด ไม่ได้มีงานทำอะไรที่เมืองไทย แต่พอได้มีโอกาสทำงานที่นี่

แม้จะไม่ได้มีระดับอะไรมากมาย แต่สามารถปรับตัว หางานทำ มีโอกาสส่งเสียครอบครัวญาติพี่น้องที่เมืองไทยให้อิ่มหนำสำราญกันถ้วนทั่ว

นี่แหละคือความสำเร็จอย่างแท้จริง ยิ่งกว่านักการเมืองไทยที่หนีตายแล้วมาหาหลักพักพิงที่ต่างประเทศ จนกว่าจะเปลี่ยนรัฐบาล ถึงจะกลับไปโก้ โม้ต่อที่เมืองไทย

เห็นด้วยกับ คห. 9 คุณ Prudence ที่ว่า คำว่าประสบความสำเร็จนั้น อยู่ที่คำจำกัดความของแต่ละคนค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 11
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 12
ขออภัย จขกท ที่นอกเรื่องนิดนะครับ พอดีมีข้อสงสัยจากการอ่าน คห. 10 น่ะครับ

เอ่อ..คห. ที่ 10 ครับ ช่วยชี้แจงหน่อยได้มั้ยครับว่า ที่ว่า

>> ส่วนประเทศในยุโรป "จำกัดอายุ" การสมัครงานออฟฟิส งานบริษัททั่วๆไปคือ เยอรมนี เท่าที่ทราบห้ามเกิน ๓๕ เหมือนกับประเทศไทย <<

เอามาจากไหนเหรอครับ? เข้าใจอะไรผิดรึเปล่าครับ? เพราะมันเป็นไปไม่ได้แน่นอนครับ ไม่ใช่ทั้งในเยอรมันีและประเทศใน EU ทั้งหมด

ทวีปยุโรปถือเป็นทวีปที่มีความก้าวหน้าทางด้านสิทธิมนุษยชนมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลกโดยเฉพาะในแง่ความก้าวหน้าทางปรัชญาและประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิ และในปัจจุบันก็ได้มีการพัฒนาการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นระบบ ทั้งในแง่กฎหมายระหว่างประเทศ เช่น Charter of Fundamental Rights of the European Union (กฎบัตรสิทธิพื้นฐานแห่งสหภาพยุโรป ) ซึ่งระบุไว้อย่างชัดเจนถึงเรื่องข้อห้ามการเลือกปฏิบัติอายุ หรือ Prohibition of age discrimination

นอกจากสภายุโรป คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป และคณะกรรมาธิการยุโรปแล้ว สถาบันหลักที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนโดยตรงในกรอบสหภาพยุโรปได้แก่ศาลยุติธรรมแห่งยุโรปซึ่งจะใช้คำตัดสินของศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปเป็นแนวทางในการตัดสินคดีที่เกี่ยวกับประเด็นสิทธิมนุษยชน กรอบกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในสหภาพยุโรปคือกฎบัตรสิทธิพื้นฐานแห่งสหภาพยุโรป ซึ่งร่างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2542 เพื่อให้ครอบคลุมถึงสิทธิทุกประเภทของพลเมืองสหภาพยุโรป รวมทั้งสิทธิที่ระบุในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปและกฎบัตรว่าด้วยสิทธิทางสังคมแห่งยุโรปในกรอบของสภาแห่งยุโรปด้วย

สรุปสั้นๆง่ายๆว่า ด้วยกฎบัตรสิทธิพื้นฐานแห่งสหภาพยุโรป (Charter of Fundamental Rights of the European Union) ที่ระบุมีข้อห้ามถึงเรื่องข้อห้ามการเลือกปฏิบัติอย่างชัดเจน (หาอ่านดูได้ใน Official Journal of the European Union) ซึ่งมีผลใช้ในทุกประเทศใน EU นั้น ทำให้ที่บอกว่าเรื่องที่ว่ายุโรปนั้น ไม่ว่าจะที่เยอรมันีหรือที่ประเทศไหนใน EU กับเรื่อง "จำกัดอายุ" นั้นตามกฏหมายแล้วเป็นไปไม่ได้ครับ

ถ้าหาก คห. 10 มั่นใจว่ามี ก็รบกวนช่วยระบุหน่อยได้มั้ยครับว่า ประเทศไหน บริษัทอะไร ผมจะได้เปิดหูเปิดตารู้จักบริษัทไหนที่เส้นใหญ่ถึงขนาดกล้าฝ่าฝืนกฏหมายระหว่างประเทศครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 12
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 13
คห 9 แจงได้ละเอียดถูกต้องแล้ว เมกาแม้จะไม่บ้าปริญญาเหมือนบางประเทศ แต่สำหรับงานใน Vocational field หรือ Speicialization career เขาก็ยัง require ระดับการศึกษาขั้นต่ำอยู่ เช่นการไปสมัครเป็นแอร์โฮสเตส เขารับระดับจบปริญญาตรี การไปสมัครเป็นลูกจ้างประจำของรัฐบาล เช่น Health Deapartment เขาก็รับผู้จบปริญญาตรีขึ้นไป เป็นต้น


ตอบกลับความเห็นที่ 13
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 14
จาก คคห.9 ที่แจงไว้ถูกครับที่ว่า..มีปริญญาต้องดีกว่าไม่มีสำหรับผู้ที่ปริญญา "ซึ่งก็แน่นอนว่า งานและตำแหน่งที่ดีโดยทั่วไป ยังไงก็ยังมี Degree เป็น
ตัวกำหนด หากจะบอกว่าการเรียนระดับปริญญานั้นไม่สำคัญ ก็คงจะขัดกับความจริงที่ว่า ค่าเล่าเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่อเมริกาต่อปีๆนั้นเป็นเงินจำนวน
ไม่น้อย" ตรงนี้เห็นด้วยและตามหลักความเป็นจริงก็เป็นของแน่นอนอยู่แล้วครับ ถ้าอยากสบายก็ต้องลงทุน แต่ถ้าใครที่อยู่ในข่ายที่ว่านั้นคงไม่ใช่ "ผู้ที่
ล้มเหลวที่ไทยอย่างสิ้นเชิง" ตามที่ จขกท ถามหรือประเด็นที่ จขกท ต้องการรู้


ตอบกลับความเห็นที่ 14
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 15
เวลาจะส่ง Proposal เพื่อแข่งกันที่จะรับ Contract จากรัฐบาล บางคราวต้องระบุคุณสมบัติของพนักงานไปด้วย หมายถึงปริญญา


ตอบกลับความเห็นที่ 15
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 16
Theory, Fantasy, Reality

Theory ก็อย่างที่อธิบายไว้ใน คคห.14
Fantasy มักจะตาม Theory มาติดๆ ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล
Reality คือตามที่ จขกท ถาม และเพราะอะไร

ผมเป็นคนหนึ่งที่เรียนมา มีปริญญา แต่ไม่ได้ใช้ เพราะ Job market ไม่อำนวย
เสียดายเวลาที่เรียน ยังไม่ค่อยเห็นคนไทยที่เรียนจบนอกมีโอกาสใช้ปริญญา
ทำมาหากินแล้วประสบความสำเร็จเท่าไหร่ มีบ้างแต่ก็คงส่วนน้อยหากเทียบกัน
เป็นเปอร์เซ็นต์

ถือปริญญาแต่ไม่มีไหวพริบในการทำงานก็อยู่ไม่ได้ เห็นจบมาใหม่ทำงานเดือน
เดียวก็โดน Layoff ซะแล้วเยอะมาก ฉนั้นคนที่มีประสบการณ์และ Skill จะมีโอกาส
survive ในต่างประเทศมากกว่า

สรุป..เมื่อ Reality sets in คนเราจะเริ่มยอมรับว่า Theory และ Fantasy ไม่สามารถ
Bring food to the table.


แต่จริงๆก็คือ จขกท กำลังพูดถึง Reality เพราะ theory มันไม่ออกมาตามที่ supposed to


ตอบกลับความเห็นที่ 16
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 17
คห 13 เป็นแอร์ของอเมริกาไม่ต้องจบปริญญาค่ะ ม. ปลายก็สมัครได้ค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 17
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 18
^
^
สมัครได้ แต่เขาจะรับหรือไม่? หากผู้ที่สมัครเป็นต่างด้าวโดยกำเหนิด (กระเหรี่ยง) ไม่ได้เกิดในเมกา ไม่ได้พูดอังกฤษเป็นหลัก ในที่นี้เขาพูดกันหมายถึงคนไทยที่มาอยู่ในเมกาที่ถือว่าประสพความสำเร็จ ลองเดินเข้าไปสมัครดู คนนึงถือ High school diploma คนนึงถือ College degree


ตอบกลับความเห็นที่ 18
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 19
## ความเห็นนี้ถูกลบ ##
ตอบกลับความเห็นที่ 19