CHOMON = โชมอน แปลว่าอะไรครับ ?

รบกวนด้วยครับ







ภาษาญี่ปุ่นครับ  ไม่ทราบตัวสะกดแต่ ทับศัพท์ว่า CHOMON ครับ





น่าจะแบบเดียวกับ ชื่อหนัง ราโชมอน ครับ





รบกวนด้วยครับ
ความคิดเห็นที่ 1
Search ว่า dict ญี่ปุ่นสิ
ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
ตอบแบบนี้ น้อง ป.3 สมรัก น่าจะตอบดีกว่า - -
ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
น่าจะเป็น??? jyoumomjidai   ???????? เป็นยุคเริ่มต้นของดินแดนที่เรารู้จักว่าญี่ปุ่นครับ

หมายถึงคาบเวลาในยุคก่อนประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น ประมาณ 14,000 ปีก่อนคริสต์ศักราชถึง 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช

?jyou หมายถึงเชือกครับ

? mon ตัวอักษร ลวดลาย

เป็นยุคที่มีเครื่องปั้นดินเผา ที่ประดับลายด้วยลายเชือก



อันนี้ลิ้งรายละเอียดเพิ่มเติมจากวิกิครับ เผื่ออยากได้

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%88%E0%B8%A1%E0%B8%87

เอามาให้อ่านโดยทั่วกันครับ จะได้ทราบว่าญี่ปุ่นไม่ได้กำเนิดจากเกาหลี อย่างที่หลายๆคนเข้าใจ (มีคนเชื่ออย่างนั้นจริงๆนะ)



**สะกดด้วย CHOMON ลองค้นแล้วไม่มีครับ

ถ้า jyoumom หรือ jomon อันนี้มีครับ
ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
มันต้องดูประโยคแวดล้อมครับ ว่าพูดถึงเรื่องอะไร ภาษาญี่ปุ่นมีคำพ้องเสียงมากมาย ยิ่งใช้ตัวโรมันจิสะกด ยิ่งผิดง่ายเพราะมันสะกดการออกเสียงเสียงได้ไม่ถูกต้องร้อยเปอร์เซนต์ ต้องยกมาทั้งประโยค แล้วที่ออกเสียงว่า โชมอนก็ไม่ถูกต้อง เป็นการออกเสียงแบบไทยๆครับ ที่ใกล้เคียงคือ โจมง (ถ้าเป็นคำตามคห3) หรือ โชมง (ถ้าอ่านตามโรมันจิ)
ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4-1
ถ้าเป็นแสลงก็คงมิสามารถหาเจอเหมือนกันครับ



อ๊ะ เจอมาอีกคำ เก่ามาก เจอในดิกคำเก่าๆ

????(CHOMON)    something well-known throughout the world
ความคิดเห็นที่ 5
เฮ้อ ไหนๆก็โดนว่าละ ตอบดีๆก็ได้



นี่ผมก็ไป search มาเหมือนกันแหละ พอดีอยากรู้เหมือนกัน



ราโชมอน ใช้ตัว romanji สะกดว่า Rashomon (???) เป็นชื่อประตู



ถ้าให้เดาเล่นๆจะเอาให้สะกด romanji เหมือนชื่อราโชมอน อาจจะหมายถึง Shomondai (???) แปลว่า ปัญหาเยอะ



ส่วน Chomon เฉยๆ คือ ?? เหมือนที่ คห บนพูดน่ะแหละ

ตอบกลับความเห็นที่ 5
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 6
ถ้าหมายถึงเรื่องราโชมอนจะเขียนแบบนี้ค่ะ ??? (Ra-Sh?-Mon) อ้างอิงตามประวัติศาสตร์หมายถึงหนึ่งในประตูที่ใหญ่ที่สุดของเมืองเกียวโตสมัยเฮอัน ในศตวรรษที่ 12 ประตูนี้ทรุดโทรมมากกลายเป็นสถานที่น่าสะพรึง มักมีโจรหรือพวกน่ารังเกียจซ่อนอยู่ และคนมักนำศพหรือเด็กที่ไม่เป็นที่ต้องการมาทิ้งไว้ที่นี่



นอกจากนี้ยังหมายถึงปรากฏการณ์เกี่ยวกับมุมมองของผู้พบเห็นเหตุการณ์เดียวกันแต่รำลึกและบอกเล่าเหตุการณ์นั้นได้ต่างกันอย่างมากและความไปได้ของคำบอกเล่าเหล่านั้นล้วนมีความเป็นไปได้พอๆกันอีกด้วย



แต่สำหรับคำว่า Chomon ที่ยกมา เป็นไปได้ว่าจะเขียนแบบนี้ ?? (Ch?-Mon) ถ้าใช้หมายถึง การเคารพศพค่ะ



น่าจะตรงกับคำถามที่ถามมาบ้างเนอะ ^^
ตอบกลับความเห็นที่ 6
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 7
นึกถึงสมัยหนึ่ง ผมเคยหลอกเด็กว่า ราโชมอน

เป็นคำสนธิระหว่าง ราชา+ โดเรมอน
ตอบกลับความเห็นที่ 7
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 8
Ch? mon?เสียงยาวมีตัวนี้ด้วยครับ (แบบนี้ผมถึงเกลียดโรมันจิ มันไม่แสดงเสียงยาว หาศัพท์ยาก 555)

http://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Ch%C5%8D_mon_(Japanese_crests_of_butterfly)
ตอบกลับความเห็นที่ 8
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 9
พอดี ได้เรือ จำลองมาลำนึงครับ จะเอาไปวางเป็นศิริมงคล แต่เห็นชื่อเรือชื่อ CHO MON เลย สงสัยครับผม
ตอบกลับความเห็นที่ 9
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 10
น้องคนนึงก็บอกว่า เคารพศพ แต่ ผมว่า มันแปลก ถ้าเรือ จะชื่อ เคารพศพ



เพราะเรือเป็นเรือ ทั่วไป ครับ
ตอบกลับความเห็นที่ 10
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 10-1
อย่างนั้นก็ดูที่คันจิครับ เพราะว่าถ้าเป็นชื่อส่วนมาก หาความหมยไม่ค่อยได้ครับ
ความคิดเห็นที่ 10-2
ถ้ามีตัวคันจิ ถ่ายรูปมาโพสต์เลยค่ะ
ความคิดเห็นที่ 11
ไม่มีครับ มันเป็นตัวภาษาอังกฤษ เขียนว่ า CHO MON  ครับ
ตอบกลับความเห็นที่ 11
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 12
นี่ไงครับถึงบอกว่าให้ยกมาทั้งประโยค ถ้าเป็นภาษาญี่ปุนได้ยิ่งดี ความจริง Cho mon ต้องอ่านว่า โจะมง เพราะเป็นเสียงสั้น ถ้าเป็นเสียงยาวควรเขียนว่า  Chou mon อ่านว่า โชวมง เพราะเวลาพิมพ์ภาษาญี่ปุ่นต้องพิมพ์แบบนี้จึงเปลี่ยนเป็น โชว เสียงยาว ดังนั้นถ้ายกเอาคำมาแค่นั้น ก็อาจจะได้ความหมายผิดๆไป
ตอบกลับความเห็นที่ 12
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 13
เคยได้ยินแต่ราโชมอน เป็นนิยายบทประพันธ์ของพลตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อ่ะครับ
ตอบกลับความเห็นที่ 13
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 14
ไม่มีคันจิก็บอกให้เจาะจงไปเลยไม่ได้หรอกครับว่าแปลว่าอะไร
ตอบกลับความเห็นที่ 14
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 15
ตอบกลับความเห็นที่ 15