สำรวจวัดราชบูรณะ อโยธยาศรีรามเทพนคร







อาจจะดูแปลกตาไปสักหน่อย มาในรูปแบบ ของ วีดีโอ ครับ พอดีว่า ไปเที่ยว แล้วก็ ทำสารคดี ด้วยในตัว จึงนำมาแบ่งปันเผื่อโดนใจใครบางคน

หากไม่โดนใจ หรือเป็นที่ๆทำให้ท่านรู้สึกว่าเสียเวลา ข้าน้อย ขออภัยครับ



สามารถ แวะ เยี่ยมเยียนกันได้ ที่ fanpage  www.facebook.com/welovethaihistory  

เพจประวัติศาสตร์ไทยเพจแรกของประเทศไทยครับ

สาระความรู้ด้านประวัติศาสตร์ไทย เชิงท่องเที่ยวมีให้อ่าน กัน เยอะแยะมากมายครับผม
ความคิดเห็นที่ 1
ระดับใหญ่ๆเขาเคลียร์กัน

เป็นคำพูดที่ต้องจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ไหม
ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
ชอบๆ
ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
ขอบคุณครับที่นำมาให้ชม คราวที่แล้วผมไปที่นี่ ไปวันธรรมดา ไม่มีใครกล้าเดินลงไปด้วยเลยสักคน

ผมเดินลงไปเกือบถึงข้างล่าง เห็นมืดๆ เลยกลัวกลับขึ้นมาดีกว่า แต่ตอนนี้กระจ่างแล้วว่าข้างล่างมีอะไร

ขอบคุณมากๆเลยครับ ^^
ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
เคยลงไปหลายครั้งแล้ว. มีภาพเขียนฝาผนัง เป็นห้อง



ว่ากันว่า มีทางใต้ดิน. ลอดไปถึงพระราชวัง กรุงศรีอยุทธยา
ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
เรื่องอุโมงค์ใต้ดินนี่เคยได้ยินเหมือนกัน  แต่เป็นเส้นทางพระบรมมหาราชวัง - วัดมงคลบพิตร

น่าจะเป็นแค่เรื่องจินตนาการโดยขาดหลักฐานอ้างอิงใดๆทั้งสิ้น



แต่ก็เป็นจินตนาการที่มีความเป็นไปได้สูง

เพราะอยุธยาเป็นราชธานีถึง ๔๑๗ ปี  น่าจะซ่อนความลับอะไรๆไว้มากกว่าที่เรารู้

ถึงมาตรว่ามีอุโมงค์อยู่จริง  ก็ไม่รู้ว่าอยู่ตรงไหน



ข้อควรคำนึงคือ  อยุธยานั้นน้ำท่วมทุกปี  ระดับน้ำใต้ดินน่าจะอิ่มฉ่ำ

อุโมงค์ที่อาจมีอยู่นั้นคงเป็นแค่เส้นทางลี้ภัย  ที่ไม่มีสมบัติอันใดซุกซ่อนอยู่
ตอบกลับความเห็นที่ 5
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 6
สมัยนั้นไม่ท่วมครับ ถ้าจำไม่ผิดนะ ผมก็ไม่แน่ใจ  กำแพงเมือง ลึกลงใต้ดิน 7 เมตร  สูงอีก 7 เมตร
ตอบกลับความเห็นที่ 6
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 7
สมัยอยุธยาที่เรารบกับพม่าบ่อยๆ  ตามตำราเขาว่าเราปิดประตูเมือง  รอน้ำหลากมาท่วมกองทัพพม่านั่นไงครับ

แม้ว่ารากกำแพงจะหยั่งลึกลงในดิน  แต่เขามีประตูน้ำนี่ครับ  ผมคิดว่าน้ำคงเข้ามาท่วมภายในเมืองด้วยแหละ

(สมัยก่อนเรือนยกพื้นสูงทุกหลัง  มีเรือทุกบ้าน  คงไม่เดือดร้อนอะไร)
ตอบกลับความเห็นที่ 7
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 8
ขอขยายความศัพท์ “ประตูน้ำ”

ประตูน้ำในที่นี้หมายถึง  ประตูน้ำแบบในหนังเรื่องพระนเรศวร (ตอนพระยาจีนจันตุ)

ไม่ใช่ประตูน้ำแบบปัจจุบัน



ประตูน้ำแบบปัจจุบัน  ทำหน้าที่หลักในการผันน้ำ  เขตเกษตรกรรม-ต้องการน้ำมาก  เขตเศรษฐกิจ-ต้องการน้ำน้อย

แต่สมัยโบราณ  ไม่ว่าจะพระนครหรือหัวเมืองก็ทำการเกษตรเหมือนกันหมด

ประตูน้ำแบบโบราณจึงไม่ใช่การกั้นแบ่งระดับน้ำ  หากแต่ปล่อยให้น้ำผ่านไปมาโดยเสรี

ประตูน้ำแบบโบราณจึงมีไว้เพื่อเป็นด่านเก็บภาษี/รักษาความปลอดภัย



เช่น ประตูน้ำในหนังเรื่องพระนเรศวร  จะมีโซ่ห้อยไว้ใต้ท้องน้ำ

เมื่อต้องการปิดประตู(ยามวิกาล)ก็ใช้กว้านดึงโซ่ที่นอนอยู่ใต้ท้องน้ำให้ตึงขึ้นมาเสมอผิวน้ำ

ดังนั้นจะเห็นว่าประตูน้ำแบบโบราณจะปล่อยให้น้ำผ่านไปมาโดยเสรี

เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก  ผมจึงคิดว่าในกำแพงพระนครก็ต้องท่วมด้วยเช่นกัน



ป.ล. ผมปะติดปะต่อเรื่องเอาเอง  จากสิ่งที่ได้เห็นได้ยินมา
ตอบกลับความเห็นที่ 8