ถามเรื่องค่านิยมเรียนช่างเทคนิค ในสวีเดน เยอรมัน หรือสหรัฐฯ

คนในประเทศที่อยู่ใน สวีเดน เยอรมัน หรือสหรัฐฯ เขามีค่านิยมให้ลูกหลานเรียนช่างเทคนิคแบบอาชีวะบ้านเราไหมคะ อ้างอิงจากกระทู้นี้ค่ะhttp://www.pantip.com/cafe/library/topic/K12369879/K12369879.html
ดร ยงยุทธ แฉล้มวงศ์ TDRI บอกว่า คนไทยนิยมให้ลูกเรียนเอา ปริญญา คนจบ ป ตรี ตกงานมากที่สุด แต่คนเรียนสายอาชีพกลับขาดแคลน เพราะไม่มีคนส่งลูกหลานเข้าเรียนอาจจะรู้สึกว่าต่ำต้อย
ในต่างประเทศ เป็นแบบบ้านเรารึเปล่า กรมอาชีวศึกษา ก็มีเรื่องถูกร้องเรียนการทุจริตซื้อครุภัณฑ์อีก มองไม่เห็นอนาคตประเทศจะแก้ปัญหา ค่านิยมนี้ได้อย่างไร ทั้งที่ประเทศเราขาดแคลนแรงงานฝีมือเป็นจำนวนมาก ไม่ได้ขาดคนจบ ตรี โท เอก

ความคิดเห็นที่ 1
ค่านิยมคนไทยกับใบปริญญามันมากเกินไป

ต่างประเทศ เช่นอเมริกาไม่สนใจเรืองใบปริญญา
ของให้เป็นคนดีขยันทำมาหากิน อาชีพอะไรก็ได้ทั้งนั้น

ผมมีเพื่อนเป็นอาจาร์ย์ สามีเขาอาชีพขับรถบรรทุกของ ไม่เห็นแปลก
อาชีพสุจริตสามารถเลี้ยงลูกเมียได้

การเข้าศึกษามหาวิทยาลัยเมืองไทยกำหนดอายุ
แต่อเมริกาคนแก่ๆอายุ๗๐แล้ว
อยากได้ใบปริญญาก็กลับไปเรียนได้
อยากจะไปเป็นช่างก็ไปเรียนโรงเรืยนอาชีวะได้ไม่มีกำหนดอายุ
โรงเรียนอาชีวะก็ไม่มีตีกัน หรือไล่ยิงกันแบบเมืองไทยนะ


ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
วันนี้ว่างขอตอบนะคะ แต่ไม่ได้อยู่ในสามประเทศข้างบนนะคะ

ประเทศที่ดิฉันอยู่ คนอายุ 18 ปีต้องเริ่มต้นจ่ายประกันสุขภาพเองแล้วค่ะ เออ...แล้วมันเกี่ยวอะไรกับการเรียนหนังสือด้วย ประกันสุขภาพต้องจ่ายเป็นรายเดือนซุุึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนที่นี่มาก เกิดป่วยต้องหาหมอค่ารักษาพยาบาลแพงค่ะ พ่อแม่ถ้าสามารถส่งเสียลูกให้เรียนสูง สิ่งพวกนี้ก็ต้องจ่ายด้วย ซึ่งไม่ค่อยมีใครเค้าทำกันเยอะนะ เด็ก ๆ 17-18 เค้าก็เริ่มทำงานหาเงินเองแล้วนะ เพราะเค้าต้องการมีชีวิตอิสระคือแยกออกมาอยู่เอง

ระบบการศึกษาของที่นี่เค้าจะเริ่มดูเด็กตั้งแต่ 5 ขวบจากคะแนนผลการเรียนของทุุก ๆ ปีไปจน 12 ขวบ คะแนนที่เรียนมาตอนประถมจะตัดสินการเรียนต่อในชั้นมัธยม แล้วพอไปเรียนมัธยมเด็กที่เก่งจริงๆถึงจะไปเรียนสายวิทย์ต่ออีก 6 ปีหรือสายทฤษฎีอีก 5 ปี ส่วนมากที่เด็กจะเลือกเรียนกันที่เรียน 4 ปี (หมายถึงจบประมาณอายุ 16 ปี) แล้วไปต่อสายอาชีพ 2 -3 ปีแล้วก็เริ่มทำงานกันเลย

จะเห็นได้ว่าคนส่วนมากไปเรียนสายอาชีพโดยตรง เช่นจะไปเป็นผู้ช่วยในร้านยาก็ต้องเรียนโดยตรง จะไปเป็นพี่เลี้ยงเด็กก็ต้องเรียนเทคนิคโดยตรง ข่างเสริมสวย ช่างเล็บ คนทำงานสถานพยาบาล แม้กระทั่งคนเรียงอิฐตามถนนก็ต้องมีวิชาชีพเรียงอิฐมานะคะ และสายอาชีพอื่นๆ อีกมากมายที่ต้องเรียนโดยตรง
ฉะนั้นวิชาชีพเค้าจึงมีคุณภาพ เพราะคนทำงานเค้ามีหลักสุตรที่เรียนมาตรง ๆ อีกอย่างค่าแรงงานก็ได้ตามมารตรฐานการวิชาชีพที่จบมา

เราคงไม่พุดถึงระบบเมืองไทยนะคะ แค่อยากให้เมืองไทยมีระบบแบบนี้

เด็ก ๆ พอมีอาชีพแล้วถ้าหากต้องการเรียนต่อเค้าก็สามารถทำได้ ค่าเรียนสามารถเอาไปลดหย่อนภาษีได้ หรือบางที่ทำงานเค้าก็สนับสนุนจ่ายค่าเรียนให้

จบปริญาตรีที่นี่สุงนะ แต่ถ้าไม่มีงานทำก็อยู่ยากค่ะ

ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
ขอต่ออีกหน่อยนะคะ

ส่วนเด็กที่เรียนเก่งในประเทศที่ดิฉันอยู่ พอเรียนจบมัธยม 5 ปีหรือ 6 ปีแล้วก็ต้องไปเรียนต่อในมหาวิทยาลัย ซึ่งเรียนก็หนัก ค่าใช้จ่ายก็สูง ถ้าพ่อแม่ไม่ช่วยจริงๆ คงแย่ ถึงจะเรียนทุนแต่ คชจ.ก็ยังสุงอยู่นะคะ ฉะนั้นในระยะเวลาที่เรียนก็ต้องหารายได้พิเศษมาช่วยค่าใช้จ่าย ซึ่งงานก็คือทำเสริฟอาหารหรือรับจ้างอื่น ๆ นั่นแหละ

แล้วเด็กที่เรียนมัธยมแค่ 4 ปี ถ้าเค้าเรียนดีก็เลือกเรียนต่อสูง ๆ ต่อได้ แถมทำงานได้ด้วย
และถ้าต่อสายอาชีพเลย อายุเท่ากันเค้าเริ่มทำงาน มีเงินเองแล้ว อาจจะซื้อรถหรืออาจจะเริ่มผ่อนบ้านเองแล้วก็ได้

อ้อ..แล้วเค้ายังมีผ่อนผันสำหรับเด็กที่ไม่ชอบเรียนด้วยนะคะ เช่นหลักสุตรช่างหลายหลักสุตรที่เรียนแค่ 6 เดือนหรือ 1 ปีจบ เป็นต้น

ส่วนตัวมองว่าการเรียนสายอาชีพนั้นดีนะคะ ไม่ได้ต่ำต้อยอะไร และโอกาสเรียนที่เปิดตลอด พึ่งผ่านมาไม่กี่สัปดาห์นี่เอง เพื่อนร่วมงานของดิฉันพึ่งจบหลักสูตรพยาบาลด้วยวัย 57 ปี ดิฉันงี้อึ้งค่ะ 50 กว่าแล้วยังมีจิตใจไปเรียนอีกน๊อ...

ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
ถ้ารู้ว่าอยากทำอาชีพอะไร เค้าจะไปเรียนทางด้านนั้นเลยค่ะ
ทุกอาชีพสังคมยอมรับเท่าเทียมกัน ยิ่งสายอาชีพเน้นประสบการณ์
เค้าก้อจะไม่มาเสียเวลาไปเรียนต่อให้จบชั้น 12

ส่วนตัวคิดว่า ที่เมืองไทยนอกจากค่านิยมเรื่องปริญญาแล้ว
เด็กเองไม่รู้จักตัวเองว่าต้องการอะไรด้วย ก้อเรียนๆมันไป แล้ว
ไปเอนเข้าคณะที่คะแนนตัวเองจะเข้าได้ โดยไม่ได้ยึดว่าตัวชอบ
จริงๆหรือไม่


ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
คุณTanja-nl อยู่ในฮอลแลนด์รึเปล่าคะ ปัญหาขาดแคลนช่างฝีมือ ถ้ารัฐบาลจะแก้อย่างจริงจังก็น่าจะทำได้ แต่ไม่มองว่านี่เป็นปัญหา ก็เลยเอาเวลาไปทำอย่างอื่น เช่นโครงการแจกแท็บเล็ท โครงการเรียนฟรี 12 ปี ที่ อาชีวะก็ไม่ค่อยมีเด็กมาเรียน บางโรงเรียนต้องเปิดรับสอง ถึงสามรอบ ก็ยังหาคนเรียนไม่ได้เต็มจำนวน


ตอบกลับความเห็นที่ 5
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 6
ท่าน ดร ที่พูด ท่านก็มีค่านิยมเรียนสูงๆ แล้วก็มาพูดแบบนี้ ถ้าจะให้ดีต้องให้คนเรียนช่างเทคนิค แล้วประสบต์ความสำเร็จในชีวิตมาพูด มันถึงน่าฟัง

หน่วยราชการทั้งหลายกำหนดมา ต้องจบปริญญาตรี ถ้าจะแก้ ก็ไปแก้การรับเข้าทำงานของหน่วยงานรัฐเลย เพราะเป็นตลาดแรงงานขนาดใหญ่เปิดทุกปี กำหนดว่าเบื้องต้นต้องจบช่างเทคนิค มีคุณวุฒิ ปวช ปวส ถึงมีสิทธิ์สมัคร แค่นี้แหละ เดี๋ยวเด็กแห่ไปเรียนเป็นช่างเทคนิคกันเป็นแถว แต่ปัจจุบันมันไม่ใช่ อะไรๆก็ปริญาตรี แถมให้คนจบปริญญาตรี มีคุณสมบัติทุกอย่างที่เหนือกว่าช่างเทคนิคทุกด้าน แล้วที่บอกว่าคนไทย ไม่นิยมเรียนช่าง ผมว่าไม่ใคร่จะจริงน่ะครับ โรงเรียนช่างเทคนิคเปิดออกเยอะแยะไป


ตอบกลับความเห็นที่ 6
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 7
คุ่ะคุณ จขกท.ดิฉันอยู่ประเทศเล็ก ๆ ตอนบนของยุโรป

ไม่ได้มีความรู้ระดับสูง ๆ หรอกนะคะ แค่มองปัญหาแบบชาวบ้าน ๆ ธรรมดาคนนึง เรื่องค่านิยมต้องจบ ป.ตรี ขึ้นไปของเมืองไทยนั้นก็เป็นไปเพราะ คนที่เป็นสังคมไทยพ่อแม่นั้นอยากให้ลูกได้มีหน้าที่การงานดี ๆ ก็สนับสนุนให้เรียนกันไป ทั้งระบบราชการ และแรงงานไทยส่วนใหญ่นั้น รับ ป.ตรี เลยกลายเป็นค่านิยมมังคะ
เคยเป็นเด็กคนนึงเรียนสายวิทย์แล้วล้มเหลว (เอนไม่ติด) ในสมัยนั้นก็มีวุฒิ ปวท.มารองรับเด็กที่ ม.6 ที่อยากเรียนต่อสายอาชีพนะคะ แต่สถาบันการทำงานก็ไม่ค่อยจะรับรองวุฒินี้ ถ้ารับเด็ก ปวท.รับ ปวส.ดีกว่า ดิฉันว่าระบบการศึกษา ควรสนับสนุนด้านอาชีพให้มากขึ้น มีสถานบันรองรับคนเรียน รวมทั้งตลาดแรงงานด้วย ไม่ใช่ใช้คนจบวุฒิ ป.ตรีมาใช้งานสะเปะสะปะ เช่นจบ ป.ตรีการจัดการแล้วไปเป็นครู ร.ร.เอกชน เป็นต้น

พูดไปจะกลายเป็นเรื่องยาวและใหญ่ระดับชาติที่ต้องแก้ไข ผู้น้อยอย่างดิฉันมิอาจเอื้อมค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 7
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 8
เยอรมัน ถ้าเรียนสายอาชีพ(ปกติ) เด็กจะได้เงินเดือน พ่อแม่จะไม่ต้องส่ง

แล้วบางคนเรียนจบ ม.6 แล้วไม่เรียนต่อ ป. ตรี กลับมาเรียนสายอาชีพแทนก็เยอะ


ตอบกลับความเห็นที่ 8