แจ้งเกิดเด็กชายไทยกับการโดนหมายเรียกเกณฑ์ทหาร

ถ้าเราแจ้งเกิดเด็กชายไทยที่สถานทูตไทย ณ ต่างแดน ได้สูติบัตรมา แต่ไม่ได้เพิ่มชื่อลูกเข้าทะเบียนบ้านในไทย
แบบนี้เมื่อลูกอายุครบ 18ปี จะไม่โดนหมายเรียกเกณฑ์ทหารใช่หรือไม่ค่ะ ทำแบบนี้ผิดหรือไม่
มีข้อเสียหรือเปล่า ถ้าหลังจากนั้น เราขอเพิ่มชื่อทีหลังจะโดนหมายเรียกอีกหรือไม่คะ

ความคิดเห็นที่ 1
1. การได้สูติบัตรของเด็ก จากการแจ้งเกิดเด็กในสถานทูต/สถานกงสุลไทย ในต่างประเทศ..............................แต่ไม่ได้เพิ่มชื่อเด็กเข้าทะเบียนบ้านในไทย นั้น อธิบายได้ว่า

ก็คือแจ้งเกิดเด็กเพื่อการได้รับสถานะบุคคลสัญชาติไทย เท่านั้น......เพราะเมื่อไม่ได้เพิ่มชื่อลูกเข้าทะเบียนบ้านไทย ก็จะทำให้กรมการปกครอง ฝ่ายทะเบียน ไม่มีข้อมูลบุคคล เพื่อกลาโหมจะได้นำชื่อเด็กเข้ากระบวนการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหาร ( เกณฑ์ทหาร ) ตาม พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ. 2497 ได้เลย ไม่ว่าการลงบัญชีทหารกองเกินเมื่ออายุ 18 หรือไม่ต้องไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกไปเกณฑ์ทหาร เมื่ออายุครบ 21 ปีบริบูรณ์

กล่าวคือ เด็กคนนี้ตกสำรวจไปจากระบบการเกณฑ์ทหารไทยไปเลย เพราะ ไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนประวัติทางทหารในประเทศไทยแต่อย่างใด .............ซึ่งเด็กสัญชาติไทยที่เกิดในต่างประเทศ โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา อยู่ในสถานะอย่างนี้มากมาย

2.ข้อเสียในกรณีนี้ คือเด็กผู้นี้อาจเข้ารับราชการในหน่วยงานต่างๆ ของไทยลำบาก เพราะเขามักจะถามหา " ใบสำคัญการเกณฑ์ทหาร " ตอนรับสมัคร รวมทั้งในงานเอกชนบางแห่งในประเทศไทย

3. หากไปแจ้งเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านภายหลัง เด็กคนนี้ก็จะต้องตกอยู่ในวังวนของ พ.ร.บ.รับราชการทหารต่อไปอีก คือต้องไปรับราชการทหาร โดยอาจไม่ต้องผ่านการตรวจเลือก ไม่ต้องจับสลาก โดยสัสดีอำเภออาจมีหนังสือแจ้งมาที่บ้าน ตามข้อมูลที่ได้รับจากฝ่ายทะเบียนอำเภอ ให้ไปเข้ากรมกองเพื่อฝึกทหารเลย

4 . อย่างไรก็ตาม หากเด็กคนนี้มิได้ไปรับราชการทหารตามนี้ จนถึงอายุ 30 ปี ก็สามารถขอปลดเป็นทหารกองหนุนชั้นที่ 2 ได้ตามมาตรา 39 ของกฎหมายดังกล่าวนี้ ( เขาไม่อยากเอาคนอายุมากมาฝึกทหารแล้ว )

แต่ก็ยังไม่พ้นภาระการรับใช้ชาติโดยสิ้นเชิง จนกว่าจะครบอายุ 46 ปีบริบูรณ์

5. อย่างไรก็ตาม สมัยนี้สวัสดิการทางกองทัพมีให้อย่างดี ทหารเกณฑ์ได้รับค่าครองชีพดีกว่าแต่ก่อน กิน อยู่ ก็ฟรี มีอาหารสามมื้อ จึงมีคนหนุ่มที่ไม่มีงานทำในประเทศไทยสมัครเข้ารับราชการเป็นทหารเกณฑ์กันมากจึงทำให้กองทัพไทยไม่ขาดแคลนกำลังพล............

ชายไทยที่ไม่ไปเข้าสู่กระบวนการทหารตามกฎหมาย ( หรือหนีทหาร ) จึงไม่ต้องตกใจ ทางการเขาไม่อยากตามตัวมากนักดอก รออายุ ครบ 30 ปี แล้วไปขอปลดเป็นทหารกองหนุนกับสัสดีอำเภอเลย



ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน ก็ทำบัตรประชาชนไม่ได้ ใช่ไหมคับ


ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน ทำบัตรประชาชนไม่ได้ ขอพาสปอร์ตไม่ได้อีกด้วย


ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
ขอเรียนเสริม เพิ่มเติม ความเห็นที่ 1 เพื่อความถูกต้องชัดเจนอีกครั้งหนึ่ง

1. ในปัจจุบัน เด็กที่เกิดในต่างประเทศ และได้ใบสูติบัตรไทยจากสถานทูต/สถานกงสุลไทย แล้ว หากประสงค์จะได้บัตรประจำตัวประชาชนไทยในอนาคต ( Thai I.D.) ก็ต้องเดินทางเข้าประเทศไทย เพื่อนำชื่อเด็กเข้าทะเบียนบ้านเสียก่อน จึงจะขอมีบัตรประจำตัวประชาชนไทยที่เขต หรืออำเภอ ได้

2. หากเด็กผู้นั้นยังอยู่ในต่างประเทศ เพียงแต่มีหลักฐานของตนเองแค่สูติบัตรไทยที่สถานทูต หรือสถานกงสุลไทยออกให้ โดยไม่ต้องมีชื่อในทะเบียนบ้านแต่อย่างใด ก็สามารถขอหนังสือเดินทางไทยได้ที่สถานทูต / สถานกงสุลไทยตามที่ได้แจ้งเกิดไว้ ทั้งนี้ บิดาและมารดา หรือผู้ปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายของเด็กจะต้องมาลงนามให้ความยินยอมในคำร้องขอมีหนังสือเดินทาง พร้อมทั้งแสดงเอกสารสำคัญของบิดามารดา หรือผู้ปกครอง................เป็นอย่างนี้ทุกๆ สถานทูตไทย ในทุก ๆ ประเทศทั่วโลก

แต่หากเด็กผู้นั้นกลับมาขอหนังสือเดินทางที่กรมการกงสุล ในประเทศไทย เด็กต้องแสดงทะเบียนบ้านต่อเจ้าหน้าที่ด้วย

ขอกเรียนยืนยันมา ณ ที่นี้


ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
เอ่อ ขอหนังสือเดินทางไม่ได้นะคะ ปีนี้เพิ่งไปทำเรื่องมาเอง
ที่ frankfurt เค้าออกแต่สูติบัตร ถ้าอยากได้พาสปอร์ต ต้องไปแจ้ง
ขื่อเข้าทะเบียนบ้าน เพื่อขอเลขประจำตัวบัตรไปทำพาสต่อไป

สมัยก่อนทำได้ค่ะ ตอนลูกสาวก็ขอสูติบัตรและออกหนังสือเดินทางเลย
แต่ตอนนี้ไม่ได้ ไม่ว่าเด็กหญิง เด็กชาย แต่ไม่ทราบว่าที่ประเทศอื่นเป็นแบบนี้
รึปล่าว

ตัวเองก้อมีลูกชาย คงเอาขื่อเข้าทะเบียนบ้าน เพราะอย่างที่
คห. ด้านบนว่า เดี๋ยวนี้มีแต่คนแย่งกันเป็นทหาร ไม่ต้องลุ้นจับ
ใบดำใบแดงแล้ว เต็ม!!!


ตอบกลับความเห็นที่ 5
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 6
ความคิดเห็นที่ 5
เอ่อ ขอหนังสือเดินทางไม่ได้นะคะ ปีนี้เพิ่งไปทำเรื่องมาเอง
ที่ frankfurt เค้าออกแต่สูติบัตร ถ้าอยากได้พาสปอร์ต ต้องไปแจ้ง
ขื่อเข้าทะเบียนบ้าน เพื่อขอเลขประจำตัวบัตรไปทำพาสต่อไป
~~~~~~~~
เมื่อ 5 ปีที่แล้ว ป้าให้ลูกไปทำที่สถานกงสุลไทยที่ชิคาโก เมื่อเขาอายุย่าง 18 ปีค่ะ
ได้มาอย่างสะดวกสบายมาก คอยเตือนให้ลูกเอาหนังสือเดินทางไปต่ออายุ ไม่รู้จะฟังหรือเปล่า
ไม่ได้เอาชื่อเขาเข้าทะเบียนที่เมืองไทยค่ะ เพราะป้า หรือ ลุง ไม่มีบ้านที่เมืองไทย


ตอบกลับความเห็นที่ 6
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 7
ยืนยันอีกครั้งหนึ่ง......เป็นครั้งที่สอง...ว่า

เด็กไทยที่เกิดในในต่างประเทศ เมื่อไปแจ้งเกิดที่สถานทูต หรือสถานกงสุลไทยในประเทศนั้นๆ แล้ว......

สามารถขอหนังสือเดินทางไทย ณ ที่นั่น ได้เลย ได้แน่นอน โดยบิดา มารดาต้องนำหลักฐานสำคัญไปแสดงประกอบคำร้อง ฯ ให้เด็กด้วยด้วย

เป็นไปถูกต้องดังที่คุณ " ป้านี่เอง " ในความเหนที่ 6 ช่วยยืนยัน

นี่เป็นหลักปฎิบัติโดยทั่วไปสำหรับสถานทูต สถานกงสุลไทย ทั่วโลก


ก็ด้วยเหตุผลว่า

1. เมื่อสถานทูตยอมรับว่าเขาเป็นคนไทย โดยได้ออกสูติบัตรไทยรับรองการเกิดให้ ปรากฎในช่องบน ด้านขวามือว่า " สัญชาติไทย " ให้เขาแล้ว

ดังนั้น เมื่อเขาต้องการเดินทางเข้าประเทศไทย ต้องการถือหนังสือเดินทางไทย ........รัฐบาลไทยโดยสถานทูต/สถานกงสุลใหญ่ไทย ก็ต้องออกเอกสารเดินทางไทยให้เขาผู้นั้น ( ต้องเป็นเล่ม Passport ด้วย มิใช่แค่ C.I. )

หรือมิฉะนั้นเขา คนไทยในต่างประเทศ จะไปแจ้งชื่อ เพิ่มชื่อ เข้าทะเบียนบ้านที่เมืองไทยได้อย่างไร ? ? ? ?

การไม่ออกหนังสือเดินทางให้คนไทยในต่างประเทศ หากพิสูจน์รู้แน่ชัดแล้วว่าเขาผู้นั้นเป็นบุคคลสัญชาติไทย เป็นความผิดร้ายแรงของสถานทูตไทย/สถานกงสุลใหญ๋ไทย ณ ประเทศนั้นๆ

2. มีคนสัญชาติไทยในต่างประเทศจำนวนมาก โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา...... เกิดที่นั่น เป็นคนไทยโดยสมบูรณ์ ( ก็จากใบเกิดที่สถานทูตไทยออกรับรองให้ นั่นแหละ ) แต่เขาไม่มีบ้าน ไม่มีทะเบียนบ้านอยู่ในเมืองไทย แล้วจะให้เขาคนไทยเหล่านั้นไปเอาทะเบียนบ้านที่เมืองไทยมาจากไหน มาแสดงให้สถานทูต /สถานกงสุลใหญ่ไทย? ? ? เช่นกรณีลูกชายของ คุณ " ป้านี่เอง " ในชิคาโก ตามความเห็นที 6 นี่แหละ

นอกจากนี้ ปัจจุบัน ยังมีคนไทยในต่างแดนอีกจำนวนมากมาย ในหลายประเทศ ถึงแม้เกิดในเมืองไทย แต่ได้ขายบ้าน ขายช่องทิ้งหมดแล้ว ไม่มีทะเบียนบ้านในเมืองไทย...เขามีแต่สัญชาติไทยไปตลอดชีวิต..... ดังนี้ หากสถานทูตไทยแห่งไหน ไม่ออกหนังสือเดินทางให้เขาเหล่านี้.......สถานทูต/สถานกงสุลไทย ณ ที่นั้น โดยท่านเอกอัครราชทูต หรือท่านกงสุลใหญ่ ต้องมีความผิดขนาดเกือบต้องนำตัวไปตัดหัวเสียบประจาร

3. กรณีของท่านความเห็นที่ 5. คุณ Annachen

ให้ท่านไปติดต่อสถานกงสุลไทย ณ นครแฟรงค์เฟิร์ต อัม ไมน์ ( am Main ) ใหม่ อีกครั้งหนึ่ง..........

หากติดต่อกับเจ้าหน้าที่ระดับล่างไม่รู้เรื่อง ( ส่วนใหญ่ผู้ที่ทำหน้าที่ติดต่อกับประชาชนตามสถานทูตฯ ต่างๆ เขาไม่ใช่ข้าราชการ แต่เป็นลูกจ้างท้องถิ่น ( Local Staff ) ...............ก็ให้ท่านแจ้ง หรือสอบถามโดยตรงไปยังเจ้านายของเขา คือท่านกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงค์เฟิร์ต นายชโลทร เผ่าวิบูล ( คนมีเคราสวย ) e-mail : [email protected]

ขอให้โชคดี

ตอบกลับความเห็นที่ 7
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 8
ขอบคุณคุณ Detente มากๆค่ะ ที่ให้ข้อมูลอย่างละเอียด
ดิฉันคงไม่เอาชื่อลูกชายเข้าทะเบียนบ้านตอนนี้ คงรอให้ลูกโตก่อน
ให้เค้าตัดสินใจเองว่าโตแล้วอยากได้บัตรประชาชนไทย
หรือเค้าอยากทำงานที่ไทยหรือเปล่า

คิดว่าตอนนี้ทำแค่พาสปอร์ตไว้กลับเมืองไทยก็พอแล้ว


ตอบกลับความเห็นที่ 8
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 9
ขอบคุณคุณ Detente ด้วยค่ะที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้

ดิฉันอยู่ที่เยอรมนีเช่นกันค่ะ และเพิ่งแจ้งเกิดลูกชายทั้ง 2 คนที่สถานฑูตไทยที่เบอร์ลินเมื่อตอนต้นปี

ยืนยันอีกเสียงค่ะว่าสามารถทำหนังสือเดินทางให้เด็กๆได้เลยถ้าต้องการ เพราะจนท.ได้ถามมา

ว่าต้องการจะทำหนังสือเดินทางด้วยหรือเปล่า แต่ดิฉันไม่ได้ทำเพราะไปธุระและเด็กๆไม่ได้เดินทางไปด้วย




ตอบกลับความเห็นที่ 9
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 10
ตัวเองแจ้งเกิดลูกชายที่กงศุลไทยในซิดนี่ย์ ตอนกรอกแบบฟอร์ม ก็ลงที่อยู่ในทะเบียนบ้านนะคะ แต่ทำไมในใบเกิดเจ้าหน้าที่ไม่ได้ลงให้เลย อันนี้ก็แปลกใจเหมือนกัน ไม่ได้ตั้งใจที่จะไม่ให้ลูกเข้าทะเบียนบ้านแต่ในใบเกิดไม่มีที่อยู่(ทะเบียนบ้านในไทย) ซึ่งดิฉันก็กรอกข้อมูลไปด้วย


ตอบกลับความเห็นที่ 10
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 11
แงๆๆๆ แล้วทำไมเราถึงทำไม่ได้อยู่คนเดียว
ไปเองเลยแท้ ๆ เอาพ่อเด็กไปทำสูติบัตรด้วยกัน
อยากจะทำให้จบๆ เพราะสามีลางานบ่อยไม่ได้
ยังไงๆ จนท. ก้อบอกไม่ได้อย่างเดียว ขาดทะเบียน
บ้าน แถมไปรอบที่2กับคนไทยแถวบ้าน 2 คน คนนึง
ลูกชายเค้าโตแล้วแต่เพิ่งไปขอสูติบัตร กับอีกคนลูก
สาวก้อไม่ยอมทำพาสให้ เพื่อนเราไปปีที่แล้วก้อไม่ได้

ถ้าที่ berlin ทำได้ งั้นที่ frankfurt ต้องผิดที่จนท.


ตอบกลับความเห็นที่ 11