จีนส่งผลศึกษารถไฟความเร็วสูง 2 สายแรก "กรุงเทพ-หนองคาย,กรุงเทพ-เชียงใหม่"

แหล่งข่าวกระทรวงคมนาคมเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เมื่อวันที่ 19 ตุลาคมที่ผ่านมา
กระทรวงคมนาคมได้รับมอบผลการศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่
และกรุงเทพฯ-หนองคาย จากประเทศจีนที่ศึกษาให้ โดยทางจีนให้ทางกระทรวงคมนาคมพิจารณาว่า
ข้อมูลจากผลการศึกษานั้นมีอะไรที่ผิดพลาดและต้องเพิ่มเติมอะไรอีกหรือไม่

ในข้อสรุปของผลการศึกษา ทางจีนเสนอให้รัฐบาลไทยลงทุนก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่
ระยะทาง 679 กิโลเมตร เงินลงทุนก่อสร้าง 229,809 ล้านบาท เป็นลำดับแรก โดยมีผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจอยู่ที่ 13%

จากนั้นถึงจะดำเนินการก่อสร้างเฟสต่อไปจนถึงจังหวัดพิษณุโลก ระยะทาง 328 กิโลเมตร เงินลงทุนประมาณ 121,014 ล้านบาท
และสายอีสาน เส้นทางจากกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะทาง 615 กิโลเมตร เงินลงทุนก่อสร้าง 180,000 ล้านบาท
ให้สร้างถึงแค่โคราชก่อน ระยะทาง 256 กิโลเมตร เงินลงทุน 96,826 ล้านบาท

แหล่งข่าวกล่าวว่า สำหรับแนวเส้นทางช่วงกรุงเทพฯ-บ้านภาชีนั้น เนื่องจากสถานีอยุธยาเป็นสถานีเก่า
และเป็นพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ ทางจีนได้เสนอการสร้างสถานีรถไฟความเร็งสูงที่สถานีอยุธยา
โดยแนะเส้นทางเลือกเพื่อหลีกเลี่ยง 3 เส้นทางคือ 1.ตั้งสถานีไว้จุดเดิม 2.เลื่อนสถานีลงมาทางด้านใต้สถานีเดิม
อีกประมาณ 2.3 กิโลเมตรและ 3.เบี่ยงมาทางด้านตะวันออกของสถานีเดิมอีกประมาณ 4.7 กิโลเมตร

"การลงทุนยังไม่ชัดเจน เนื่องจากทางกระทรวงการคลังไม่ต้องการใช้เงินกู้จากรัฐบาลจีนที่จะให้กู้ แต่จะใช้เงินกู้ในประเทศแทน
รูปแบบการลงทุนไม่น่าจะแตกต่างจากเดิม ๆ คือให้เอกชนมาร่วมลงทุนรูปแบบ PPP
โดยรัฐจ่ายค่าก่อสร้างงานโยธาและให้เอกชนมาลงทุนระบบอาณัติสัญญาณ
ส่วนใครจะมาบริหารโครงการนั้น ตอนนี้ทางรัฐบาลเองยังไม่ชัดเจนเช่นกันว่าจะตั้งบริษัทลูกหรือองค์กรขึ้นมาต่างหากหรือไม่"
แหล่งข่าวกล่าวและว่า

สำหรับประเด็นเรื่องการลงทุนหรือแหล่งเงินนั้นยังพอมีเวลาบริหารจัดการ เนื่องจากปัจจุบันยังเป็นแค่การศึกษาความเหมาะสม
เบื้องต้น ตามกรอบของแผนยังต้องศึกษารายละเอียดอีกในปี 2556 เพื่อเปิดประมูลก่อสร้าง และเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2557
ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปี

เครดิต ประชาชาติธุรกิจ http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1351517915&grpid=02&catid=00&subcatid=0000

ไปเจอข่าวนี้มาค่ะ ไม่รู้ว่ามีคนเอามาลงรึยัง เพื่อนๆพี่ๆมีความเห็นยังไงกันบ้างคะ

ความคิดเห็นที่ 1
เท่าที่ได้ข้อมูลมาคร่าวๆ จากการเดินทางไปเมืองจีนมา
ได้ยินว่า ทางจีนเค้าเตรียมทุกอย่างมาจ่อไว้รอฝั่งชายแดนหมดแล้ว
เหลือแต่บ้านเรานั่นแหละ ที่จะอนุมัติหรือไม่อนุมัติ มีแต่เรื่องการเมืองบ้านเราล้วนๆ
เฮ้อ


ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
ถ้าทำได้จริงจะเป็นทางเลือกที่ดีและสะดวกมากกว่าการนั่งเครื่องบินครับ ในขณะที่ใช้เวลาเดินทางทั้งหมดน้อยกว่าหรืออาจจะเท่ากับการนั่งเครื่องบิน นั่นคือประมาณ 2.5 ชั่วโมง

เพราะการนั่งเครื่องบินจะต้องมีขั้นตอนยุ่งยากอย่างเช่น ต้องไปเช็คอินก่อนเวลาเครื่องขึ้น 1.5-2 ชั่วโมง ใช้เวลาเครื่องบินอีกประมาณ 1 ชั่วโมง เสียเวลาในการลงจากเครื่องและในอาคารผู้โดยสารอีกประมาณ 10-15 นาที เบ็ดเสร็จแล้วใช้เวลาเดินทางประมาณ 2.5-3 ชั่วโมง

ในขณะที่การโดยสารรถไฟ แค่ไปให้ทันเวลารถไฟออกก็เพียงพอ


ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
คิดว่าสร้างเสร็จจะขาดทุน เพราะคนรายได้น้อย ที่เป็นผู้โดยสารรถไฟส่วนใหญ่ในปัจจุบัน คงไม่มีปัญญาจ่ายค่าโดยสารแบบแพง ๆ ได้ครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
เชื่อได้เลย ว่าจะมีพวก ค้าน ค้าน ค้าน

ประเทศนี้มันซวยครับ ทำเลดีที่สุดในภูมิภาค
แต่ดันมีคนไทย มันถึงไม่ไปไหนซักที


ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
เป็นทางเลือกที่ดี สำหรับผู้มีอันจะกิน..(ราคาคงใกล้เคียงกับตั๋วเครื่องบิน)

เป็นทางเลือกที่เลว สำหรับผู้มีรายได้น้อย...

ใช้งบประมาณหลายแสนล้าน แต่ตอบสนองแค่คนกลุ่มบนของสังคม..

ถ้าคิดในแง่ธุรกิจ ขาดทุนยับแน่นอน เพราะกลุ่มคนที่มีรายได้เพียงพอที่จะใช้บริการมีน้อยมากและกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ชอบบรรยากาศขับรถส่วนตัวมากกว่า

ถ้าคิดในแง่ยอมขาดทุน เพื่อสร้างคมนาคมพื้นฐานที่ดีให้แก่คนในประเทศชาติ ก็ต้องกลับไปตอบคำถามว่า คนกลุ่มใหน ส่วนใหญ่หรือส่วนน้อยกันแน่

งบประมาณขนาดนี้ทำไมไม่พัฒนาระบบรถไฟเดิมที่มีอยู่ให้ดีขึ้น เปลี่ยนรุ่นรถไฟ เลิกใช้ระบบดีเซลหันมาใช้ระบบไฟฟ้า พัฒนาเป็นรางคู่ สะอาด ตรงเวลา ไม่ต้องเร็วมาก เน้นราคาที่คนส่วนใหญ่ของประเทศเข้าถึงได้

ประเทศญี่ปุ่น เป็นตัวอย่างที่ดีมากในรถไฟระบบไฟฟ้าทั่วประเทศ ทำไมไม่ไปเปิดโลกทัศน์ดู อยู่ๆ เขาไม่ได้ เอาชินคันเซ็น มาวิ่งเลย แต่เขาค่อยๆพัฒนาระบบรถไฟให้มันดีขึ้นเรื่อยๆ ไปพร้อมกับรายได้ของประชาชนในประเทศ จนสมดุลกันและพร้อมในทุกๆด้าน เขาถึงเอารถไฟความเร็วสูงมาใช้

คุณไม่สามารถสร้างตึกที่สูงหลายร้อยชั้นได้ หากปราศจากเสาเข็มที่แข็งแรง....


ตอบกลับความเห็นที่ 5
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 6
คนที่จะนั่งรถไฟความเร็วสูง
ก็คือคนนั่งรถไฟบางส่วน กับคนนั่งเครื่องบินบางส่วน

นอกจากนี้ยังมีผู้โดยสารที่เดินทาง
ระหว่าง กทม กับเชียงใหม่อีก


ตอบกลับความเห็นที่ 6
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 7
ลูกค้าที่ขึ้น high speed train น่าจะเป็นกลุ่มที่เคยขึ้นเครื่องบิน


ตอบกลับความเห็นที่ 7
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 8
ผมเห็นของจีนก็ถูกได้นิครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 8
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 9
คห 4 วิเคราะห์ข้อมูลก่อนก็ได้ ไม่ต้องรีบโชว์หรอกครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 9
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 10
ประเทศถ้าไม่รวยจิง ทำยากรถไฟความเร็วสูง เพราะลงทุนมาก ไม่คุ้มทุน ขนาดอเมริกา

ออสเตรเลียยังไม่มีเลย ดูๆแล้วมีไม่กี่ประเทศในโลกที่มี ลองนับดู ที่นึกได้ในเอเซียก็มี

แค่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน เท่านั้น แล้วก็ยุโรปกลุ่ม จี 7 มองดูแล้วไทยยากที่จะทำ

เพราะไม่คุ้มทุน ไหนจะต้องทำราคาแข่งกะพวกโลวโคสอีก ขายแพงกว่าเครื่องก็ไม่มีคน

ขึ้น


ตอบกลับความเห็นที่ 10
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 11
ทำไปแล้ว จัดการแบบ รฟท. มันไปไม่รอดหรอกครับ

เหมือนเอางบไปละลาย .. โดยที่ไม่ได้มองว่าตัวเองมีศักยภาพแค่ไหน

ตัวรถ ตัวราง ..
เสียยังซ่อมเองก็ไม่ได้
ต้องไปเชิญคนขายมาช่วยซ่อมบำรุงให้อีก

ของพวกนี้ "การดูงาน" แบบจริงๆ แล้วคิดบริหาร มันให้ประโยชน์มากมาย
แต่คนที่ไปดูงานของไทย มันคือการไป"ดู" แต่ไม่ได้อะไรกลับมา ...

ยังไม่ได้มองถึงว่า คนจะขึ้นหรือไม่ ... เพราะ "ถ้าของดีมีคุณภาพ คนยอมจ่ายแน่นอน "
บ้านเมืองอื่นรถไฟสะอาดสะอ้าน เพราะคนเค้า ไม่ทิ้งขยะบนรถ ...
แต่บ้านเมืองเรา ขยะเต็ม เพราะคนเก็บขยะเก็บไม่ทันคนทิ้ง ...

ไม่ต้องมองว่า ถ้าไม่เริ่มแล้วจะก้าวได้ยังไง ...
แต่ดูรูปการณ์แล้วมันไปไม่รอด มันไม่เหมือนประมูล3G
ที่เอกชนมารับสัมปทาน มีการแข่งขัน

แต่นี่ถ้าตกอยู่ในมือ การรถไฟ ... การบริหารแบบราชการไทย
คิดว่าจะไหวไหมล่ะครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 11
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 12
อย่าได้กังวลไปว่าเราจะล้าหลัง ถ้าไม่ยอมสร้างรถไฟความเร็วสูง เพราะทั่วโลกมีเกือบ200ประเทศ มีแค่ไม่ถึง20ประเทศที่มีรถไฟความเร็วสูงใช้งาน...

อย่างที่บางความเห็นว่าล่ะครับ ถ้าเงินไม่ถึง คนไม่พร้อม นโยบายไม่ชัดเจน ก็ดับฝันไปได้เลย

บ้านเราพูดเรื่องรถไฟความเร็วสูงกันปาวๆๆว่าจะสร้างแล้วนะ สร้างแล้วนะ แต่ก็ยังไม่รู้เลยว่ารายละเอียดโครงการที่แท้จริงเป็นอย่างไร? ความเร็วสูงสุดเท่าไหร่? มีกี่เส้นทางกี่สถานีกันแน่? เรื่องพวกนี้ต้องรู้และประชาสัมพันธ์ก่อนที่จะสร้างกันจริงๆ เพราะทุกวันนี้มีแค่บอกว่าจะสร้างสายนั้น โน่น นี้ เปลี่ยนแปลงข่าวไปมามั่วไปหมด

ในเมื่อมันไม่ชัดเจนจริงๆ ก็ยากที่ให้เริ่มลงเสาเข็มสร้างกันสามวันเจ็ดวันแน่ๆ

และที่อยากจะฝากและให้จำไว้มี3อย่าง
1.รถไฟความเร็วสูงไม่ใช่ทางออกของทุกปัญหาของเรื่องรถไฟ
2.รถไฟความเร็วสูงไม่สามารถมาใช้ทดแทนรถไฟธรรมดาได้ทุกรูปแบบทุกขบวน
3.รถไฟความเร็วสูงเป็นแค่ทางเลือกทางหนึ่งเท่านั้น

ไม่มีสิ่งไหนที่ดีที่สุดครับ...

ตอบกลับความเห็นที่ 12
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 13
งงว่ามันยังไง

เฟส 1 ถึงเชียงใหม่

เฟส 2 ถึงพิษณุโลก


รถไฟมันไม่ใช่ต้องถึงพิษณุโลกก่อนเชียงใหม่เหรอ นักข่าวเขียนสลับกันรึเปล่า?


ตอบกลับความเห็นที่ 13
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 14
ในข่าวไม่ได้บอกว่ารถไฟความเร็วสูงที่ว่า ความเร็วสูงระดับไหน

ถ้าความเร็วสูงแบบที่จีน เค้าจะไม่เอารถขนสินค้าไปวิ่ง

ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้นขาดทุนแน่ๆตั้งแต่เริ่มคิด ไม่ว่าจะทางการเิงิน หรือเศรษฐกิจโดยรวม

ที่น่าจะคุ้มค่าที่สุดทั้งการเงินและเศรษฐกิจ น่าจะเป็นรถที่วิ่งระดับไม่เกิน 200 กม/ชม ที่สามารถเอารถขนสินค้าวิ่งได้

ซึ่งแบบนี้เค้าไม่เรียกรถไฟความเร็วสูงครับ เรียกไปก็สร้างความสับสนเหมือนโฆษณาเ้กินจริง


ตอบกลับความเห็นที่ 14