แบงก์วิ่งขาขวิด-หวั่นสูญหมื่นล้าน ปล่อยกู้โรงแรม-รีสอร์ทรุกป่าภูเก็ต นายกฯสั่งไม่จับ-อ้างช่วยชาวบ้าน

แบงก์วิ่งขาขวิด-หวั่นสูญหมื่นล้าน ปล่อยกู้โรงแรม-รีสอร์ทรุกป่าภูเก็ต นายกฯสั่งไม่จับ-อ้างช่วยชาวบ้าน

โดย ทีมข่าวศูนย์ข่าว TCIJ


แฉธนาคารพาณิชย์เต้น หลังกรมอุทยานฯ ระดมเอาผิดผู้ถือโฉนดที่ดินรุกอุทยานฯ ผุดโรงแรม รีสอร์ท โดยเฉพาะที่ภูเก็ต หวั่นสูญเงินนับหมื่นล้าน หลายรายวิ่งเต้นขาขวิดให้กลุ่มการเมืองช่วย ไม่ให้ถูกดำเนินคดี ขณะที่นายกฯ ยิ่งลักษณ์ หวั่นกระทบฐานเสียง สั่งกรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติฯ ชะลอจับกุม-ดำเนินคดี เอาไว้ก่อน อ้างต้องการช่วยเหลือเรื่องที่ทำกินของประชาชน

เป็นกระแสคึกโครมมาตลอดช่วงระยะเวลากว่า 1 ปีที่ผ่านมา กับปฏิบัติการ “ทวงคืนผืนป่า” ของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำโดย นายดำรงค์ พิเดช อดีตอธิบดีกรมอุทยานฯ นับตั้งแต่การยึดคืนพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมาและ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด จ.ระยอง เรื่อยมาจนถึงอุทยานแห่งชาติสิรินาถ หรือหาดในยาง จ.ภูเก็ต ซึ่งทุกพื้นที่ถือเป็นทำเลทองของบรรดารีสอร์ท โรงแรม และบ้านพักตากอากาศหรู ที่ผุดขึ้นมา อย่างเหนือการควบคุมของเจ้าหน้าที่บ้านเมืองในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะพื้นที่หลังสุดคืออุทยานฯ สิรินาถ ที่มีมูลค่าการลงทุนเป็นตัวเลขสูงลิบลิ่วถึงหลายหมื่นล้านบาท


ย้อนอดีตโฉนดที่ดินในอุทยานแห่งชาติสิรินารถ


ความเป็นเมืองท่องเที่ยวที่ครองความนิยมของ จ.ภูเก็ต ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาเยือนอย่างไม่ขาดสาย แต่หลังเหตุการณ์สึนามิ เมื่อปี 2547 ทำเลในการลงทุนก่อสร้างโรงแรมหรู ในพื้นที่ จ.ภูเก็ต ได้ขยับจากหน้าหาดขึ้นมาอยู่บนเนินเขา หรือบริเวณหน้าผาที่มองเห็นวิวทิวทัศน์สวยงามชัดเจน ที่สำคัญปลอดภัยจากคลื่นยักษ์ที่เป็นฝันร้ายของคนในพื้นที่ และนักท่องเที่ยวที่เคยมาเยือน ทำให้การบุกรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติสิรินาถ ที่มีสภาพเป็นชายหาดต่อเนื่องกับภูเขาเกิดขึ้นอย่างมโหฬารในช่วงไม่ถึง 10 ปีที่ผ่านมา มีการนำที่ดินไปอ้างเอกสารสิทธิ สค.1 เพื่อออกโฉนดกันเป็นจำนวนมาก ทั้ง ๆ ที่ไม่สามารถดำเนินการได้ตั้งแต่หลังช่วงปี 2507 เป็นต้นมา เพราะรัฐบาลโดยกรมป่าไม้ในขณะนั้น ได้ประกาศเวนคืนพื้นที่ดังกล่าว เพื่อประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติเขารวก-เขาเมือง ก่อนจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติสิรินาถ ในปี 2524 พร้อมทั้งจ่ายค่าชดเชยให้ชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่มาก่อนไปแล้ว ซึ่งมีอยู่เพียง 5 ราย จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะหลงเหลือเอกสาร สค.1 ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ให้สามารถนำมาขอออกโฉนดหได้อีก ซึ่งอุทยานแห่งชาติสิรินาถ มีพื้นที่บนบกราว 13,000 ไร่ จากพื้นที่ทั้งหมดกว่า 50,000 ไร่ และคาดว่าจะถูกไปออกโฉนดแล้ว 3,000-5,000 ไร่


อุทยานฯ ลุยจับรีสอร์ทหรูได้แค่ 14 แห่ง


จึงเป็นที่มาในการเข้าไปดำเนินการแก้ปัญหาการบุกรุกพื้นที่ของกรมอุทยานฯ โดยในช่วงที่ผ่านมากรมอุทยานแห่งชาติ ฯ จับกุมดำเนินคดีกับโรงแรมหรูและบ้านพักตากอากาศ ที่บุกรุกและยึดครองที่ดินอุทยานแล้ว 14 แห่ง เนื้อที่ 640 ไร่ แต่ละแห่งมีมูลค่าการลงทุน 1,000-1,500 ล้านบาทขึ้นไป ประกอบด้วย 1.โรงแรมภูเก็ต อคาเดียร์ ในทอนบีช 2.โรงแรมเพนนิลซูล่า สปา แอนด์ รีสอร์ต จำกัด 3.บริษัทลาคอลลีน จำกัด 4.บ้านฝรั่ง 5.บริษัท แลนด์ สเตรท จำกัด 6.โรงแรมตรีสรา 7.บริษัท สุรีสัมฤทธิ์ จำกัด และมาลัยวนา 8.นางสุชาดา สังข์สุวรรณ 9.บริษัท อันดามัน ไวท์ บีช จำกัด 10.บริษัท ลายัน ภูเก็ต จำกัด 11.บริษัท เซ็นทรัล แอนด์ ซิตี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด 12.โครงการมาลัยวนา 13.โครงการมาลัยวนา และโครงการอีสทา และ14.บริษัท พาวิลเลี่ยน บีช รีสอร์ท จำกัด ที่ได้ส่งเรื่องให้กรมป่าไม้ดำเนินการ ในพื้นพิพาทต่อเนื่องจากอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ในความรับผิดชอบของกรมป่าไม้


เจ้าของที่ดินไม่เดือดร้อนเท่าธนาคารที่ปล่อยกู้เงิน


รายงานข่าวจากกรมอุทยานแห่งชาติฯ ระบุว่า ตั้งแต่จับกุมดำเนินคดีพื้นที่บุกรุกในอุทยานแห่งชาติสิรินาถมา ยังไม่มีผู้ประกอบการหรือเจ้าของโรงแรม เข้ามาเจรจาในลักษณะต่อรองกับกรมอุทยานแห่งชาติฯ แต่ที่เข้ามาคุยและวิ่งเต้นเคลียร์ปัญหา ส่วนมากจะเป็นกลุ่มธนาคารที่ปล่อยเงินกู้ให้กับโครงการขนาดใหญ่เหล่านี้ เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหานี้ เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีว่า ธนาคารแต่ละแห่งต่างอนุมัติวงเงินกู้ให้กับเจ้าของกิจการเหล่านี้ เป็นเงินจำนวนหลายพันล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมธนาคารหลายแห่งแล้ว เป็นจำนวนเงินหลายหมื่นล้านบาท


“ที่ผ่านมาเราพยายามดำเนินการอย่างเคร่งครัด แต่ไม่พบว่ามีเจ้าของที่ดิน หรือเจ้าของโฉนด ซึ่งได้มาอย่างผิดกฎหมายเหล่านี้ เข้ามาพูดคุยเจรจาอะไรกับเรา เพราะเขาไม่ได้รับผลกระทบอะไรมาก คนที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่จะเป็นนายทุนเจ้าของโครงการ และกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ที่อนุมัติเงินกู้ให้กับโครงการต่าง ๆ ไปแล้ว เพราะส่วนใหญ่ธนาคารมักจะยึดโฉนด เอกสารสิทธิ์ที่ดิน และแผนการลงทุนระยะยาวเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาอนุมัติเงินกู้และค้ำประกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นกลุ่มโครงการโรงแรม ที่พบว่ามีนักลงทุนทำสัญญาเช่าช่วง เพื่อดำเนินธุรกิจต่อจากผู้ลงทุนหรือเจ้าของเดิมที่ขออนุญาตก่อสร้าง หรือเครือโรงแรมดังจากต่างประเทศ จะทำให้ได้รับการพิจารณาอนุมัติเงินกู้ในหลักพันล้านได้ไม่ยากนัก” แหล่งข่าวระบุ


นักการเมืองเจ้าของธนาคารวิ่งเต้นช่วยนายทุน


รายงานข่าวกล่าวต่อว่า ธนาคารพาณิชย์ที่อนุมัติเงินกู้ให้กับโครงการก่อสร้างโรงแรม รีสอร์ท ต่างๆ ในพื้นที่จ.ภูเก็ต ที่มีปัญหาเรื่องเอกสารสิทธิและการบุกรุกที่ดินอุทยานแห่งชาติเหล่านี้ มีหลายธนาคาร โดยธนาคารที่ปล่อยเงินกู้ออกไปมากที่สุดเป็นวงเงินสูงถึงหลายหมื่นล้านบาท ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ นอกจากนี้ยังมี ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารอิสลาม เป็นต้น ในสัดส่วนที่แตกต่างกันออกไป เฉลี่ยอยู่ในวงเงินหลักพันล้านบาทขึ้นไป

ซึ่งธนาคารจะพิจารณาจากแผนธุรกิจ การลงทุนระยะยาว รวมถึงโฉนดที่ดิน ในการปล่อยเงินกู้ดังกล่าว ดังนั้นหลังจากการเดินหน้าดำเนินคดีกับโครงการก่อสร้างโรงแรม รีสอร์ท ต่าง ๆ ที่บุกรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติสิรินารถ จ.ภูเก็ต ของกรมอุทยานแห่งชาติฯ ครั้งนี้ ผู้ที่ได้รับผลกระทบนอกจากกลุ่มนักธุรกิจ และผู้ประกอบการโดยตรงแล้ว ธนาคารเหล่านี้จึงเป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่ได้รับผลกระทบตามไปด้วย เนื่องจากหากทั้งเจ้าของที่ดิน นักลงทุนทิ้งโครงการนั่นก็เท่ากับว่าหนี้ทั้งหมดกลายเป็นหนี้สูญไปในทันที และธนาคารก็ไม่สามารถเข้าไปยึดสิ่งก่อสร้างเหล่านั้นมาแทนเงินกู้ได้ เนื่องจากอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ


ซึ่งแหล่งข่าวในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ ระบุว่า หลังเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้กลุ่มธนาคารที่ได้รับผลกระทบเหล่านี้ พยายามขอเข้าพูดคุยเจรจากับนักการเมืองในรัฐบาล และข้าราชการกรมอุทยานฯที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ เพื่อหาทางแก้ไขปัญหา ที่จะทำให้ไม่กระทบต่อธนาคาร และบุคคลของธนาคารที่ให้ความช่วยเหลือในการปล่อยเงินกู้ดังกล่าวด้วย


“ธนาคารบางแห่งมีผู้หลักผู้ใหญ่ในแวดวงการเมือง ซึ่งทราบกันดีว่าเป็นธุรกิจของครอบครัว พยายามจะเรียกขอข้อมูลของโครงการต่าง ๆ ที่มีปัญหา จากกรมอุทยานแห่งชาติฯ เข้าไปดู และพยายามแทรกแซงแสดงความเห็นว่าพื้นที่นั่นพื้นที่นี้ไม่น่าจะมีปัญหา และน่าจะปล่อยไปได้ เพื่อให้โครงการรอดพ้นจากการถูกดำเนินการคดี ทั้งที่เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และให้โครงการเดินหน้าต่อไป เพราะหากโครงการสะดุดนั่นหมายถึงว่า เจ้าของโครงการต้องเสียดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น การก่อสร้างล่าช้าออกไป หรือหากถูกดำเดนินคดี ธนาคารแห่งนั้นจะได้รับผลกระทบรุนแรงตามไปด้วย” แหล่งข่าวกล่าว


นายกฯเบรกหัวทิ่มคดีรุกป่า อ้างช่วยเรื่องที่ทำกินชาวบ้าน


อย่างไรก็ตามการดำเนินการของกรมอุทยานแห่งชาติฯ ต่อกรณีนี้ มีแนวโน้มไปทางที่ดี แต่ในทางการเมืองแล้วความพยายามของการวิ่งเต้น เพื่อให้รอดพ้นจากการถูกดำเนินคดีบุกรุกอุทยานแห่งชาติ ออกเอกสารสิทธิ์ปลอม ก็ได้ผลเสียด้วย เมื่อคล้อยหลังการเกษียณอายุราชการของอธิบดีกรมอุทยานฯ เพียงไม่กี่วัน มีสัญญาณจากรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ผ่านทาง นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ยังรักษาเก้าอี้รัฐมนตรีใน ครม.ยิ่งลักษณ์ 3 ไว้อย่างเหนียวแน่น

โดยเรียกนายเริงชัย ประยูรเวช รักษาการอธิบดีกรมอุทยานฯ และนายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ อธิบดีกรมป่าไม้เข้าพบ เพื่อรับทราบนโยบายของนายกรัฐมนตรี ให้ชะลอการจับกุมคดีบุกรุกพื้นที่ป่าอนุรักษ์ออกไปก่อน โดยอ้างว่า เพื่อเป็นการช่วยเหลือประชาชนในเรื่องที่ทำกิน โดยเฉพาะในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม ที่แนวเขตยังไม่ชัดเจน

ท่าทีของนายกรัฐมนตรี และ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติฯ ต่อกรณีดังกล่าว ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ เพราะที่ผ่านมามีความพยายามหลายครั้ง ในการยุติการปฏิบัติงานของกรมอุทยานฯ และกรมป่าไม้ โดยมีผู้บริหารและส.ส. ในรัฐบาล ฝ่ายค้าน และผู้ประกอบการรีสอร์ท โรงแรม บ้านพักตากอากาศ ร่วมแรงกันสนับสนุน โดยเฉพาะในช่วงการรื้อถอนบ้านทะเลหมอกรีสอร์ท ที่บุกรุกอุทยานแห่งชาติทับลาน ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา มีการต่อสายถึงอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ ให้ยุติการรื้อถอน ซึ่งเกือบทำให้นายดำรงค์ต้องกระเด็นจากเก้าอี้อธิบดีกรมอุทยานฯ ไปก่อนเวลาอันควร เพราะไม่ฟังเสียงคัดค้านของฝ่ายการเมือง



ทีมรื้อของกรมอุทยานฯรอเก้อไม่มีกำหนด


“จะอนุรักษ์อย่างเดียวไม่ได้ ต้องทำเป็นแหล่งท่องเที่ยวสร้างรายได้ด้วย” เป็นคำกล่าวที่ออกมาจากปากของ น.ส.ยิ่งลักษณ์กับแกนนำพรรคเพื่อไทย เพื่อส่งต่อมาถึงกรมอุทยานแห่งชาติฯ ซึ่งดูจะเป็นการสะท้อนความรู้ความเข้าใจในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของนายกรัฐมนตรีได้เป็นอย่างดี

เมื่อมีคำสั่งเบรกมาจากเบื้องบนเช่นนี้ ทางฟากเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานก็ได้แต่อึ้งไปตาม ๆ กัน โดยเฉพาะกรมอุทยานแห่งชาติฯ ที่เตรียมกำลังเจ้าหน้าที่ไว้กว่า 2,000 นาย เพื่อยึดคืนพื้นที่อุทยานแห่งชาติสิรินาถ ในส่วนที่เหลืออีก 372 แปลง เนื้อที่กว่า 3,000 ไร่ เบื้องต้นมีข้อมูลว่าเป็นที่ดินของผู้มีอิทธิพล และนักการเมืองทั้งในส่วนทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาลเข้าไปเกี่ยวข้อง โดยเตรียมดีเดย์ลงพื้นที่ในวันที่ 29 ตุลาคมที่ผ่านมา แต่กลับต้องเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด ประกอบกับการข่าวของทางกรมอุทยานแห่งชาติฯ เอง ที่มีข้อมูลว่านักการเมืองและผู้ประกอบการโรงแรมในพื้นที่จ.ภูเก็ต จะมีการการปลุกระดมมวลชน ออกมาต่อต้านการทำงาน ด้วยการปิดสะพานสารสินและสนามบินภูเก็ต หากเจ้าหน้าที่เข้าไปดำเนินการจับกุมคดีบุกรุกพื้นที่สิรินาถ โดยอ้างว่าจะมีชาวบ้าน และประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการของกรมอุทยานแห่งชาติฯ ด้วย


ที่มา http://www.tcijthai.com/tcijthai/view.php?ids=1450

--------------------

ผมพอเห็นอนาคตของป่าไม้บ้านเราแล้วล่ะครับ วังเวงยิ่งนัก
ถ้าพลังสังคมของคนไทยไม่เข้มแข็งพอ หวังแค่จะมี superhero มาช่วย
เราคงจะเหลือแต่ตอไม้กับรีสอร์ทหรูให้ดูเท่านั้น

ความคิดเห็นที่ 1
อนาถใจนัก ขนาดผู้นำประเทศยังเป็นไปกะเค้าด้วย


ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
ตอนเด็กๆ มีประโยคคลาสสิกในวิชาภูมิศาสตร์ให้ท่องจำขึ้นใจว่า...
"ประเทศไทย มีป่าไม้ 70%"

แต่อีกไม่นาน ลูกหลานของเราคงได้ท่องจำกันใหม่ว่า...
"ประเทศไทย มีตอไม้ 70%"


ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
อ่านแล้วกลุ้ม ไม่เริ่มต้นวันนี้ จะรอจนถึงเมื่อไหร่
เมื่อเราไม่มีแผ่นดินสาธารณะให้เหยี่ยบย่ำหรือไง
จะก้าวไปทางไหน ตรงไหนก็เป็นของภาคเอกชน


ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
ผลประโยชน์กับอำนาจ =___=




ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
ในเมื่อเราฝากความหวังกับผู้นำประเทศไม่ได้ พวกเราก็แสดงพลังไม่ไปอุดหนุนและบอกต่อเพื่อนๆหรือญาติๆไม่ให้ไปพักรีสอร์ทที่บุกรุกป่าสิครับ ผมเชื่อพลังเงียบห้องนี้ครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 5
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 6
นักอนุรักษ์หายไปไหนกันหมด
หรือเลือกจะอนุรักษ์กันเพียงบางกระทู้



บ้านเราเดี๋ยวนี้ มันไม่ได้อยู่ที่กฏหมายแล้ว
อยู่ที่ยุคใคร พวกใคร รักใครชอบใคร
ผิดถูก มาทีหลัง
เตือนไม่ได้ ติไม่ได้ โดนข้อหาต่างสี
หากพวกกัน เท่าภูเขาก็ไม่เห็น
หากไม่ใช่ เพียงเส้นผม ก็เอาแว่นมาขยายจนหาเจอ

ส่วนเรื่องธรรมชาติ ก็มีแต่นักอนุรักษ์แหละที่จะออกมาเรียกร้องช่วยเหลือกัน ให้คงอยู่ต่อไป


ตอบกลับความเห็นที่ 6
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 7
ยกคำพูดท่านายกมา “จะอนุรักษ์อย่างเดียวไม่ได้ ต้องทำเป็นแหล่งท่องเที่ยวสร้างรายได้ด้วย”

ไม่ทราบว่าท่านรู้จักคำว่า "ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ไหมครับ"

ไม่ใช่ว่าต้องทำแต่รีสอร์ทหรูๆ เท่านั้น จึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้


ตอบกลับความเห็นที่ 7
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 8
ถ้าจริงตามข่าวนาย ก ก็เหี้ยมม้าหายแล้วละครับ สันดอนธาตุแท้ที่คำนึงถึงผลประโยชน์ของตัวเองมากกว่าประเทศชาติโผล่ออกมาแล้ว


ตอบกลับความเห็นที่ 8
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 9
พูดจริง หรือ พวก เต้าข่าว จากฝ่าย ......


ตอบกลับความเห็นที่ 9
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 10
ทำไม???? ไม่ถามนายกตรงๆๆวะ....ถามว่าเขตนั้นเขตใคร

ใครจะปวดตด ปวดขี้ ....ก็เรื่องของนายก

เมื่อก่อนหน้านี้....อะไรๆๆๆ ก็แกสโซฮอล

ต้องไปถามคนอนุมัติ.....ทั้งแบงค์ ทั้ง อบต ทั้ง สส. ในพื้นที่ + ทั้งคนที่เกี่ยวข้อง........ ถึงจะถูกต้อง.....อนุมมัติได้อย่างไร??????

แบงค์จะเจ้งก็ปล่อยให้มันเจ้ง......อนุมัติไม่ดูตาม้า..ตาเรือ.....กลัวชาวบ้านสูญเสียเงินฝาก ...ก็ต้องรีบไปถอนออกไปฝากธนาคาร...ที่บริหารอย่างถูกต้อง



ตอบกลับความเห็นที่ 10
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 11
ก็...ลำบากนะครับ??? จะจัดการให้เด็ดขาด ก็ทำได้ แต่ผลกระทบเป็นลูกโซ่ ตามมาอีกมาก ...ก็เข้าใจ...แต่ถ้าไม่จัดการ...พวกนี้ก็ได้ใจ ต่อไป พวกรุกป่า แอบอิงนักการเมืองก็ รุกป่าต่อ ทำความเสียหายอีกมากมาย...พวกนักการเมืองที่ไปร่วมรุกที่นั้น ก็รู้ดีว่า โครงการระดับ หมื่นล้าน ถึงผิดกฎหมาย แต่ถ้าหักกันออกมา ก็จะกระทบการเงิน การเศรฐกิจอีกมาก พวกนี้ถึงกล้าทำ.....ถ้าให้ดี ชลอได้ แต่ต้องจัดการตัดหัวขบวนให้เด็ดขาด ไม่ต้องเกรงใจ.เอาตัวมาลงโทษตามกฎหมาย ให้เป็นตัวอย่าง...ส่วนพวกลงทุนที่ทำผิด ก็วางแผนระยะยาว ให้เขามีทางถอยอย่างนุ่มนวล..ไม่ถึงกับเจ๊งระนาว...แต่ถ้าชลอ แล้วไม่ทำอะไรเลย ก็อย่าเป็นนายกดีกว่า


ตอบกลับความเห็นที่ 11
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 12
ไม่อยากให้เป็นเรื่องการเมือง แต่เกลียดนักการเมืองมากมาย

นายกพูดอย่างนี้จริงหรือเปล่า ถ้าจริง แสดงวิสัยทัศน์ได้แย่มากนะคะ เพราะพูดออกมา
แล้วผลลบมากกว่าผลดีนะคะ มีใครยืนยันได้หรือเปล่าคะ

ส่วนนักการเมืองวิ่งเต้น เราเชื่อว่ามีจริงค่ะ ถึงได้เกลียดนักการเมืองพวกนี้มากกกกกก
อนาคตประเทศไทยจะฝากไว้กับใครได้ เศร้า


ตอบกลับความเห็นที่ 12
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 13
ที่จริงมันก็มีส่วนที่ต้องรับผิดกันทุกคนนั่นแหละ ตั้งแต่ประชาชนจนถึงนายก คนในพื้นที่ไม่เดือดร้อนอะไรหรือ เพราะสุดท้ายถ้าเกิดอะไรขึ้นมาก็ชาวบ้านนั่นแหละที่โดนก่อนเพราะบ้านอยู่ที่นั่น ถ้ามัวแต่กลัวสุดท้ายก็ประชาชนธรรมดานี่แหละที่รับกรรม ปัญหาของชาติเราคือมีคนเห็นแก่เงินเยอะมาก เอาวันนี้ให้รวยก่อนอนาคตลูกหลานช่างมัน เพราะพอมีเงินแล้วทำอะไรก็ได้ ทำผิดให้เป็นถูกก็ได้ ผู้คนก็นับหน้าถือตาไม่เห็นมีใครสนใจนี่ว่ารวยมาอย่างไร ก็เราๆนี่แหละที่ยอมรับเขา คงมีคนไทยอีกไม่น้อยที่ถ้ามีโอกาสก็คงทำไม่ต่างจากเขา มันจึงทุจริตกันทุกระดับ นักการเมืองก็มาจากประชาชนนี่แหละที่เลือกเขาเข้าไป ถ้าจะโทษใครก็ลองไปส่องกระจกดู ไม่ต้องโทษคนอื่น อาจจะไม่ใช่คุณหรือผมโดยตรง แต่ก็เพื่อนร่วมชาติของเรานี่แหละ ก็เลยต้องรับกรรมด้วยกัน


ตอบกลับความเห็นที่ 13
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 14
เรื่องนี้มันเหมื่อนปัญหาโลกแตก รู้ว่าไม่ไช่ของเราก็ยังไม่ทำเรื่องบุกรุกเอามาเป็นเของเราทำเรื่องไม่จริงให้เป็นเรื่องจริง ทางกรมป่าไม้หรืออุทยานก็ดี ตอนที่เขากำลังก่อสร้างหรือจะลงมือ
ก่อสร้างไปทำอะไรอยู่ปล่อยไห้มันเกิดอะไรขึ้นมาใหญ่โตแล้วก็มาว่าอย่างนั้นอย่างนี้ บุกรุกต้องรื้อ ไอ้ตอนเขากำลังจะทำทำไม่ไม่เห็นกันบ้าง และที่สำคัญ ทำไมไม่ทำแนวเขตให้มันชัดเจนไปเลย อุทยานก็อุทยานทำแนวเป็นถนนกั้น เห็นเด่นชัดไปเลย จะได้ไม่มีไอ้พวกหัวหมอมันมา
ปลอมแปลงเอกสารได้ ถ้าทำแนวเขตชัดเจนนะ คนที่เขาสตินิสัยดี มีจิตสำนึกเขาไม่ไปบุกรุกหรอก แต่เชือเถอะชาวบ้านจริงๆเขาไม่ไปบุกรุกป่าหรอก อย่างมากก็แต่เข้าไปเก็บของป่าอาหารป่าตามฤดูกาลเท่านันแหละ มีแต่พวกคนรวยเท่านั้นแหละที่มันไม่รู้จักพอแถมไม่รู้จักแบ่งบัน คิดแต่จะเอาอย่างเดียว(แต่คนรวยนิสัยดีก็มีอยู่บ้างนะค่ะ)คนที่เดือนร้อนก็คือประชาชนคนจนอย่างเรานี้แหละ อยากจะขอว่านักการเมืองทั้งหลาย คนรวยที่ไม่รู้จักพอทั้งหลาย ขอให้คุณหยุดรังแกประชาชนคนจนเถอะค่ะ คุณรู้ตัวไหมค่ะว่าคุณทำให้คนอืนเขาเดือดร้อน


ตอบกลับความเห็นที่ 14