จบ ม.6 แล้วไปเรียนต่อที่เยอรมัน รบกวนสอบถามเรื่องที่อยู่อาศัยด้วยค่ะ

รบกวนว่า ถ้าจบ ม.6 แล้ว จะไปเรียนต่อเยอรมัน (ยังไม่ทราบเมืองค่ะ) สาวๆ ที่เดินทางไปเรียนต่อที่เยอรมันคนเดียว ส่วนใหญ่อยู่กันยังไงบ้างคะ เป็นอยู่กับโฮส หรือเช่าอพาร์ตเมนต์เอง หรือ อยู่หอพักของมหาวิทยาลัย คือกรณีเดินทางคนเดียวไม่มีเพื่อนค่ะ

ความคิดเห็นที่ 1
ขอโทษนะครับ ขอนอกเรื่องนิดนึง ผมสงสัยนิดนึงว่า ทำไมถึงอยากส่งน้องมาตั้งแต่จบ ม.6 ไม่รอให้จบปริญญาตรีเสียก่อนล่ะครับ? เรียนปริญญาตรีที่เยอรมันยากกว่าที่ไทยเยอะนะครับ ง่ายมาหน่อยถึงเป็นการเรียนต่อปริญญาโท ให้น้องจบตรีที่ไทยก่อนไม่ดีกว่าเหรอครับ? ไม่กลัวน้องเครียด เหมือนเด็กทุนหวยรุ่นก่อนๆที่เป็นข่าวเหรอครับ? เด็ก ม.6 บ้านเรานิติภาวะยังไม่เท่าเด็กอายุ 15 ของเยอรมันเลยนะครับ แล้วเรียนมหาวิทยาลัยที่นี่ก็ไม่เหมือนที่ไทยโดยสิ้นเชิง เว้นแต่จะไปเรียน Fachhochschule ซึ่งนักเรียนน้อยลงหน่อย แล้ว Professor รู้จักเด็กดี และใส่ใจเด็กหน่อย แต่ก็ยังไม่เหมือนที่ไทยอยู่ดีอ่ะครับ แต่หากคิดจะเรียนที่ Universität ก็ทำใจได้เลยว่า เด็กเครียดมากแน่นอนครับ แม้แต่เด็กเยอรมันกันเองยังเรียนกันไม่ค่อยจะรอดเลย ถ้าพูดถึงสายที่เรียกว่ายากๆ เช่น หมอ กฏหมาย หรือวิศวะ เรียนกันทุกปี จบไม่ถึงครึ่งอ่ะครับ ขอโทษทีที่ไม่ได้ตอบตรงคำถามกระทู้ และอาจจะทำให้เจ้าของกระทู้ไม่พอใจ ผมตอบจากประสบการณ์ที่เห็นเด็กทุนมาเรียนหลายๆคน แล้วก็เรียนไม่ผ่านต้องกลับเมืองไทยกันไปเป็นแถวน่ะครับ สงสารเด็ก


ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
ลองเช้าห้องนักเรียนไทยในเยอรมันถามในนั้นดีกว่านะ


ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
ไม่ทราบเหมือนกันค่ะว่าเด็กนักเรียนไทยที่มาเรียนที่นี่เขาพักกันยังไง ^__^

แต่คิดว่า ทางที่ดีที่สุดลองเลือกมหาลัยที่มีเด็กต่างชาติมาเรียนเยอะๆก็ดีนะคะ โดยเฉพาะที่ๆเด็กไทยมาเรียนกันเยอะ จะได้มีรุ่นพี่คอยช่วยและให้คำปรึกษา เท่าที่รู้ เช่น มหาลัยที่ Göttingen, Heidelberg หรือ Aachen เป็นต้น

หากมาช่วงแรกยังไม่รู้จักใคร ก็คงต้องติดต่อสอบถามทางมหาลัยค่ะ คิดว่ามหาลัยที่เปิดรับเด็กต่างชาติ คงมีสำนักงานที่ให้คำแนะนำเด็กต่างชาติอยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม เห็นด้วยกับ คห.1 นะคะ การมาเรียนปริญญาตรีที่นี่ ด้วยวุฒิมัธยมศึกษาปีที่หก อาจไม่ง่ายเท่าไหร่ อันดับแรก ที่เยอรมันไม่ได้ใช้ระบบสอบเข้า แต่ใช้ระบบยื่นเกรด เพราะฉะนั้น ทางมหาลัยอาจขอให้เรายื่นเอกสารอื่นๆเพิ่มเติม ซึ่งนั่นอาจหมายความว่า เราต้องเรียนเพื่อเทียบเกรดที่ Studienkolleg เสียก่อน จึงจะสามารถสมัครเข้ามหาลัยที่นี่ได้(อันนี้เท่าที่ทราบมาผ่านๆนะคะ) โดยมหาลัยแต่ละมหาลัยก็จะมีเงื่อนไขการรับนักเรียนที่แตกต่างกัน ต้องเขียนอีเมลล์ไปสอบถามมหาลัยเองค่ะ

ส่วนสิ่งที่ยากอันดับต่อมา ก็คือเรื่องการใช้ชีวิตอยู่ที่เยอรมันนี่แหล่ะค่ะ มาคนเดียว อยู่คนเดียว ก็คงต้องอึดพอสมควร หากไม่มีคนช่วยในช่วงแรกๆ ก็ยากอยู่เหมือนกันนะคะ (ต่างถิ่น ต่างภาษา ต่างระบบ)

แต่ถ้าสนใจจะมาเรียนจริงๆ ก็ต้องลองดูค่ะ เพราะอย่างน้อยค่าเรียนที่เยอรมันเมื่อเทียบกับต่างประเทศที่อื่นๆ (อังกฤษ อเมริกา ฯลฯ) ก็นับว่า ประหยัดได้เยอะมากทีเดียว ^___^

ถ้าไม่แน่ใจ ก็เรียนตรีที่ไทยไปก่อน เอาไว้โตเป็นผู้ใหญ่ขึ้นอีกหน่อย ค่อยมาต่อโทเอาก็ได้นะคะ


ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
เดียวก็มีผู้รู้มาตอบละกันคับ ว่าจบ ม. 6 แล้วทำอย่างไงถึงจะเข้าเรียนที่เยอรมันได้ ส่วนเรื่องที่พัก ก็อยู่หลายแบบ ขึ้นอยู่ว่าเมืองไหนจะสู้ค่าห้องได้มากน้อยไหน


ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
จริงๆตอนแรกผมว่าจะไม่ตอบกระทู้นี้แล้ว เพราะเห็นเจ้าของกระทู้เงียบหายไปเลย ไม่ทราบเหมือนกันว่า ยังเข้ามาอ่านหรือเปล่า แต่อ่านมาเจอ คห. คุณ Dearz เจ้าประจำที่คุ้นๆกันดีอยู่ในกระทู้เกี่ยวกับประเทศเยอรมัน เลยเข้ามาตอบซะหน่อยครับ

อันดับแรกผมขอไล่ไปเป็นเรื่องๆ รวมถึงเรื่องที่ คห. 1 ว่ามาด้วยนะครับ เพราะเด็กทุนต่างๆในเยอรมันนั้นก็มีให้ได้พอเจอประปรายกันหลายคน เอาเรื่องการเข้าเรียนก่อนแล้วกันนะครับ

ผมพอจะรู้ค่านิยมคนไทย เรื่องการอยากจะให้ลูกหลานเรียนจบกันไวๆตามเกณฑ์อยู่ ผมบอกไว้ตรงจุดนี้เลยนะครับว่า การเรียนตามเวลาที่กำหนดไว้ของเยอรมัน แทบไม่มีคนทำได้เลย (มีเหมือนกันครับ แต่น้อยมาก นับหัวกันได้เลยทีเดียว) ในกรณีของลูก จขกท. ที่เป็นเด็กพึ่งจบ ม.6 นั้น นับว่าวุฒิภาวะเด็กเมื่อเทียบกับเด็กเยอรมัน หรือเด็กที่เรียนในมหาวิทยาลัยนั้น ต่างกันค่อนข้างมากทีเดียว เด็กเยอรมันมักจะอยากย้ายออกจากบ้านพ่อแม่ตนเองเมื่อมีโอกาส และมักจะทำงานเลี้ยงตัวเองระหว่างการเรียนในระดับมหาวิทยาลัยไปด้วย เพื่อหาเงินเลี้ยงตน และหาประสบการณ์ เรามาว่าเรื่องที่จะต่อกันยังไงก่อนนะครับ จริงๆการเข้ามหาวิทยาลัยนั้น มีอยู่ 2 แบบ ขึ้นอยู่กับว่า คือ เด็กสามารถสอบผ่านระดับภาษาเยอรมันตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด เช่น TestDaF, DSH, C1 หรือจะไปเรียนที่ Studienkolleg เป็นเวลาประมาณ 1 ปี โดยส่วยตัวผมสนับสนุนให้เด็กไปเรียน Studienkolleg ครับ เพราะการเรียน Studienkolleg นี้จะช่วยปูพี้นฐานเด็กทั้งทางด้านภาษาทั่วๆไป และภาษา technical terms ของสายนั้นๆ ซึ่งก็คือจุดประสงค์ Studienkolleg อยู่แล้ว ในการเตรียมตัวเด็กเข้าเรียนมหาลัยนั้นๆ (แล้วแต่ที่ว่าจะเรียนที่ไหน แถวนั้นก็จะมี Studienkolleg ของเค้าครับ ความยากง่ายก็แตกต่างกันไปตามมหาลัยนั่นล่ะครับ ถ้ามหาลัย Topๆ หน่อยก็จะเรียนยากกว่าหน่อย) เป็นที่รู้กันว่า ภาษาเยอรมันนั้นโดยส่วนใหญ่จะไม่ค่อยใช้ภาษาอังกฤษทับศัพท์ แต่จะมีภาษาหรือคำต่างๆเป็นของตัวเอง สูตรฟิสิกส์อะไรต่างๆก็จะแตกต่างจากของไทยครับ เพราะฉะนั้นตรงจุดนี้การเรียนภาษาทั่วๆไป จะไม่ได้ประโยชน์เท่า Studienkolleg ครับ ถ้าคิดจะประหยัดเวลา แล้วจะเอาให้สอบภาษาคอร์สธรรมดาๆให้ผ่าน พอเข้าไปเรียนก็จะมีปัญหาในตัวที่เรียน ที่ต้องมานั่งเรียน technical terms ของสายนั้นๆอีกเยอะมากครับ ยิ่งภาษาที่ Professor ใช้สอนในมหาวิทยาลัยนั้น จะเป็น technical terms ล้วนๆ (ซึ่งก็แน่นอนอยู่แล้ว เพราะเป็นการเรียนการสอนระดับมหาวิทยาลัย)

คราวนี้มาที่การเรียนใน Studienkolleg จะมีแบ่งแยกสายโดยชัดเจน หลักๆก็จะแบ่งเป็น Wirtschaftskurs (course of the economy) และ Technikkurs (course of the engineering) ซึ่งในคอร์สนั้นๆก็จะมีตัวเรียนเตรียมตัวเด็กเพื่อเข้ามหาลัยแตกต่างกันไป เช่น คอร์ส engineering ก็มีเน้นด้านเลข ฟิสิกส์ etc. เรียนก็ไม่ได้หนักอะไรมากหรอกครับ หากเทียบกับไทย แล้วเรียนก็ไม่ได้เยอะทุกวันด้วย นอกจากนี้หากเด็กเรียนเก่งมาก ก็จะได้รับการย่นเวลาจากปีนึง อาจจะเป็นแค่ครึ่งปีเท่านั้น เป็นต้นครับ ตรงนี้เด็กไทยหากมาจากโรงเรียนคุณภาพดีในไทย ก็จะได้เปรียบเรื่องพื้นฐานความรู้ แต่ก็ต้องเรียนด้านภาษาเยอะอยู่ดีครับ

คราวนี้มาที่กรณีที่มีคนแนะนำให้ไปอยู่เมืองที่มีรุ่นพี่ดูแลนั้น ผมแนะนำตรงกันข้ามเลยครับ ผมแนะนำให้เด็กพยายามอยู่ห่างจากคนไทยให้มากที่สุด อย่างน้อยก็ในช่วงแรกๆ (ผมเข้าใจว่า คนไทยยังไงก็อยากจะหาคนพูดภาษาเดียวกัน แต่ถ้าคิดแบบนั้นก็ไม่ต่างกันหรอกครับ อยู่เยอรมันหรือไทย ในเมื่อภาษาเค้าไม่ได้ใช้) ผมแนะนำให้หาเพื่อนเป็นคนเยอรมันให้เยอะที่สุด เพื่อฝึกภาษา และเรียนรู้ culture ต่างๆครับ พยายามเข้ากิจกรรมกับเพิ่อนที่โรงเรียนภาษา หรือ Studienkolleg แม้แต่ไม่ใช่เด็กเยอรมัน แต่เป็นเด็กเรียนภาษาด้วยกันก็ยังดี อย่างน้อยจะได้ฝึกภาษาเยอรมันบ้าง (ต่อให้งูๆปลาๆแต่ก็ได้ใช้ ถ้าอยู่กับคนไทยก็ใช้แต่ภาษาไทย ไม่ไปไหนหรอกครับภาษาเยอรมันน่ะ) จริงๆช่วงแรกๆสิ่งที่ดีที่สุด คือ ให้เด็กหัดอยู่คนเดียว independent ให้ได้มากที่สุด โดยไม่ต้องมีคนดูแลมาก แม้ภาษาจะไม่แข็งแรง แต่หากได้ภาษาอังกฤษก็ไม่ใช่ปัญหาในการเอาตัวรอดซะทีเดียว หากมีแต่คนคอยดูแล หรือหาความช่วยเหลือแต่จากคนไทยนั้น ก็ไม่ต่างจากอยู่เมืองไทยหรอกครับ ภาษาไม่ก้าวหน้า ไม่ได้เรียนรู้อะไรเลย แล้วก็จะช่วยเหลืออะไรตัวเองไม่เป็น ก็จะไม่โตซะทีเหมือนเด็กไทยทั่วๆไปนั่นล่ะครับ (แล้วจะให้มาเรียนที่นี่ทำไมถ้างั้น? เรียนเมืองไทยเหมือนเดิมไม่สบายกว่าเหรอ?) อาจจะฟังดูโหด แต่นั่นคือสิ่งที่จะทำให้เด็กเรียนรู้ และโตเร็วที่สุด นอกจากนี้เยอรมันก็ไม่ใช่บ้านป่าเมืองเถื่อน การจะอยู่เอาตัวรอดนั้น ก็ไม่ใช่เรืองยากหรอกครับ ถ้าหวังพึ่งการดูแลจากคนอื่น เด็กก็จะคาดหวังการดูแลจากคนอื่นตลอดเวลา ก็จะไม่โตซะที แล้วถ้าบุคลิกไม่โตซะทีจะเข้ากับคนเยอรมันในวัยเดียวกันลำบากครับ เพราะเด็ก 18-19 ของเยอรมัน มีความคิดความอ่านเป็นผู้ใหญ่ รู้จักรับผิดชอบชีวิตตัวเอง รู้จักหางานเลี้ยงตัวเองแล้วครับ ซึ่งตรงนี้ของเด็กไทยเราไม่มีเลย เพราะสังคมโดนเลี้ยงมาต่างกัน


ตอบกลับความเห็นที่ 5
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 6
คราวนี้มาเรื่องการเรียนระดับปริญญาตรีของที่นี่กัน ผมไม่แน่ใจว่า ลูก จขกท. จะมาเรียนสายไหน ผมจะพยายามพูดรวมๆแล้วกันนะครับ

จริงๆแล้ว คห. 1 ที่ว่ามานั้นล้วนมาจากความจริงทั้งนั้นครับ แม้แต่เด็กทุน กพ. เอง ที่หลายคนเองก็ไม่ไหวต้องกลับไทยก็มี ใช่แต่ทุนหวย และเป็นที่รู้กันว่า เด็กทุน กพ. นั้นผ่านการคัดเลือกมาแล้ว แต่แน่นอนว่า จำนวนเด็กทุน กพ. ที่ต้องกลับไทยนั้น น้อยกว่าเด็กทุนหวย แต่กระนั้นผมไม่โทษเด็กซักนิดเลยครับ แต่โทษผู้จัดการ ผู้ดูแลเป็นหลัก มักจะคิดกันว่า เด็กหวยนั้นไม่ได้รับการเตรียมตัวมาหลายๆด้าน คือ ผมจะบอกว่า เค้ามีการจับเด็กเข้าข่ายเตรียมตัวเหมือนกันแหละครับ และเด็กทุนนี้รุ่นหลังๆก็มีการคัดกันมากขึ้น โดยเอาพื้นฐานความรู้เด็กเป็นหลัก ถึงกระนั้นเด็กหวนรุ่น 2 นั้นก็ยังต้องกลับไทยกันไปไม่น้อย (ผมคิดว่าเกินครึ่งนะ แต่อันนี้ไม่มั่นใจเหมือนกัน) การเรียนภาษาเยอรมันในไทย ถ้าเทียบกับที่เยอรมันนั้น คนละเรื่องกันเลยครับ A1 ที่ไทยกับ A1 ที่นี่ก็คนละเรื่องแล้วครับ เพราะคนที่สอน A1 ที่นี่มักจะพูดภาษาเยอรมันตลอดเวลา และหากไม่เข้าใจจริงๆก็อาจจะมีอธิบายภาษาอังกฤษให้บ้าง ซึ่งต่างกับที่ไทยโดยสิ้นเชิง ผมมักจะแนะนำหลายๆคนว่า เรียนภาษาที่เยอรมันมาแล้ว แต่มาเรียนที่เยอรมันซ้ำคลาสเดียวกันครับ เพราะ standard มันต่างกัน แม้จะเปลืองเงินมากขึ้น แต่จะช่วยให้เด็กมีปัญหาน้อยลงหน่อย

ความแตกต่างของการเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่ไทยกับเยอรมันนั้นหลักๆก็ คือ เรื่องความรับผิดชอบตัวเองครับ โดยทั่วไปการเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่เมืองไทย ถ้าไม่ทำตัวที่เรียกกันว่า "เหลวแหลก" เลยนั้น ก็มักจะจบกันทุกคน จะเกรดดีไม่ดียังไงก็อีกเรื่องนั้น ซึ่งแตกต่างกับที่เยอรมันโดยสิ้นเชิง ผมยกตัวอย่างให้ง่ายๆว่า ที่ไทยนั้นการสอบแต่ละครั้ง ส่วนใหญ่มักจะมีคะแนนช่วย แต่ของเยอรมันนั้น สอบครั้งเดียว 100% (มีบ้าง บางวิชาให้ทำ project ช่วย แต่น้อยครับ จาก 30 วิชา อาจจะซัก 2 วิชา) เมืองไทยบังคับการไปเรียน หรือที่เรียกว่า compulsory attendance นั้น Lecture ของเยอรมันไม่บังคับครับ เพราะฉะนั้นขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของเด็กเองว่าจะไปหรือไม่ไป หรือต่อให้ไปบางครั้งอาจจะค่าเท่ากับไม่ไปก็มีครับ เพราะบางครั้ง Professor บางคนก็สอนไม่ได้เรื่องเลย บางคนก็สอนดีมากจนน่านับถือ อยู่ที่มหาลัย อยู่ที่ความรู้สึกของผู้เรียนด้วยครับ แล้วภาษาเยอรมันเองก็นับเป็น 1 ในภาษาที่เรียนยากที่สุด ก็จะมีปัญหาด้านภาษามาอีก ตัวอย่างเช่น สาย economy ซึ่งต้องเน้นการอ่าน เขียน และอธิบายโดยละเอียด คนจะเรียนด้านนี้ได้นั้นควรจะต้องมี basic ภาษาเยอรมันดีถึงดีมาก นอกจากนี้ยังเรียนเลขมากกว่าที่ไทยอีกด้วย แถมดีไม่ดีบางมหาลัยบางครั้งมีสอบ oral ด้วยครับ ซึ่งเด็กต่างชาติจะมีปัญหากับการสอบ oral มากๆ เพราะภาษาอ่อน ฟังคำถามไม่รู้เรื่องบ้าง ตอบไม่รู้เรื่องบ้างก็ว่าไป นอกจากนี้เยอรมันจะเน้นการสอนในมหาลัยให้เด็กหัดรู้จักคิด รู้จักวิเคราะห์เอง การจะหวังท่องจำไปสอบนั้น ยากครับที่จะผ่าน เพราะท่องไปแต่เจอคำถาม ใช้ไม่เป็น พลิกผันไม่ได้ก็จบ นอกจากนี้ทุกมหาวิทยาลัยไม่ว่าจะ Fachhochschule หรือ Universität นั้น อนุญาตให้ตกได้แค่ 3 ครั้ง หลังตกครั้งที่ 3 ก็เป็นอันว่าต้องเปลี่ยนสายเรียนนั่นล่ะครับ ไม่ใช่สอบซ้ำแล้วซ้ำอีกได้

สุดท้ายขึ้นอยู่กับเด็กว่ามาจากโรงเรียนไหน และเรียนมาดีแค่ไหน ความสามารถในการเรียนภาษาใหม่นั้นเร็วช้าแค่ไหน หากเด็กสามารถสอบเข้า Studienkolleg ได้ ก็แนะนำให้น้องลองเรียน Studienkolleg ดูครับ แล้วก็จะรู้เองในเวลา 1 ปีนั้นแหละว่า เรียนไหวหรือไม่ไหว เพราะอันนั้นมันแค่ pre ก่อนเข้ามหาลัย ถ้าเทียบกับมหาลัยก็ยังคนละเรื่องกันครับ แต่ก็ได้พอชิมลางว่า การเรียนในมหาวิทยาลัยจะเป็นประมาณไหน เพราะเค้าจะพยายามให้คล้ายคลึงกัน ไม่ต้องห่วงเรื่องอายุครับ เพราะคนเยอรมันไม่ค่านิยมเหมือนไทย ที่จะให้จบเป๊ะๆตามเวลาเรียน เค้าเน้นที่เด็กต้องมีความ mature โตเป็นผู้ใหญ่ พูดจาฉะฉาน มีประสบการณ์การทำงาน part time ระหว่างเรียน หรือมีการฝึก internship จากบริษัทต่างๆเพื่อหาประสบการณ์เป็นหลักครับ เด็กที่จบเร็วจากมหาวิทยาลัย แต่ไม่มีประสบการณ์การทำงานเลย หางานทำยากครับ คนเยอรมันอายุ 30 เรียนมหาวิทยาลัยเป็นเรื่องปกติมากครับ

แต่จริงครับที่เด็กเรียนจบตรีมาจากไทย มาต่อโทที่เยอรมัน จะสบายตัวกว่าเยอะครับ เพราะไม่ต้องมานั่งเรียนกับเด็กเป็นจำนวนมากใน class และไม่ต้องมานั่งเขี้ยวเข็ญสอบวิชาพื้นฐานให้ผ่าน ซึ่งคือส่วนที่ยากที่สุด จริงๆการเรียนโทสบายกว่าตรีเยอะครับ หากผ่านตรีมาได้ จะรู้สึกการเรียนโทมีอิสระ และมีตัวเรียนน่าสนใจกว่าเยอะครับ ตรีเยอรมันตอนนี้เน้นเรียนเยอะ เรียนครอบทุกอย่างให้มีพื้นฐานให้หมด ให้เด็กไปพลิกแพลงเอาเอง เรียนหนักจริงครับ แล้วก็เรียนยากกว่าที่ไทยในทุกๆสายนั่นล่ะครับ ไม่ว่าจะหมอ วิศวะ กฏหมาย เศรษฐศาสตร์ หรืออะไรก็แล้วแต่ครับ

ตอบกลับความเห็นที่ 6