*** สงสัยเรื่องคนลี้ภัยที่ออสเตรเลียค่ะ ***

จริงๆเราเองไม่แน่ใจว่าเขาเป็นผู้ลี้ภัยหรือเปล่า เพราะไม่แน่ใจว่าเข้าประเทศมาด้วยวิธีไหน แต่ที่จั่วหัวกระทู้แบบนั้นก็เพราะไม่รู้จะใช้คำอะไรให้มันดูเข้าแก๊ปอะค่ะ เอาเป็นว่าเริ่มเลยแล้วกัน

คือเราเองเรียนจบจากออสฯ อยู่โฮบาร์ทมาก่อน มันจะมีกลุ่มคนที่หน้าตาออกแนวประเทศเพื่อนบ้านเรานี่ละค่ะ แต่งตัวเหมือนคนตามบ้านนอกของไทยเรานี่ละ มาขายผักที่ตลาด salamanca อะค่ะ เราพยายามฟังเขาคุยกันก็ไม่รู้ว่าภาษาอะไร แล้ววันปกติก็ไม่เคยเจอตามที่ต่างๆเลย เจอแต่ที่ตลาดอย่างเดียว ก็แค่วันเสาร์ นอกนั้นไม่เคยเห็นเลย อยู่มาสามปี เจอนอกตลาดไม่ถึง 10 หน เราเองเรียกพวกนี้ว่าม้งขายผัก มีประมาณ 4-5 แผงได้ในตลาดเสาร์ที่ว่า กับอีกชาตินึงผู้หญิงจะคลุมฮิญาบ หน้าเป็นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบบแถวบ้านเราอะนะ แต่ก็ไม่เหมือนคนมาเลย์ บรูไน อินโด เห็นเป็นมุสลิมแต่ว่าหน้าตาก็ไม่ใกล้พวกตะวันออกกลาง หรือชาติหลักๆที่เป็นมุสลิมเลย เราเลยเดาเอาว่าน่าจะเป็นมุสลิมเขมร เดาเอาจากหน้าตาบวกกับที่ได้ยินเรื่องมุสลิมเขมรอตามข่าวอะนะ

แต่ที่เรารู้สึกแปลกอีกอย่างในเรื่องม้งขายผักกับมุสลิมเขมร ก็คือเราเห็นมีแต่ผู้หญิงทุกวัยเลยนะ เด็กหญิง วัยรุ่น วัยทำงาน คนแก่ ถ้าจะเป็นผู้ชาย จะมีแต่พวกเด็กถึงวัยรุ่นเท่านั้น วัยกลางคนไม่เจอเลย น่าแปลกมากนะ ในความคิดเรากับพวกเพื่อนๆคนไทยที่เราเคยถามและตั้งข้อสังเกต ก็รู้สึกคล้ายๆกัน เลยอยากจะรู้ว่าคนพวกนี้จริงๆคือชาติไหนแน่ และเข้ามาด้วยสาเหตุอะไรอะค่ะ ใครรู้ก็ช่วยบอกด้วยนะคะ

ความคิดเห็นที่ 1
การขอลี้ภัยเพื่อเข้ามาพำนักพักพิงอยู่ที่ออสเตรเลีย ผู้ที่ขอลี้ภัยจะต้องมาจากประเทศที่ต้องเผชิญกับภัยทางการเมือง สงครามกลางเมือง และภัยธรรมชาติ(รับพิจารณาในบางเคส) เท่านั้น

ไม่ใช่ภัยทางเศรษฐกิจ !!!!!!

ที่เจ้าของกระทู้เห็นคนลักษณะคล้ายๆม้ง นั้น อาจจะไม่ใช่ม้งที่มาจากประเทศไทยก็ได้ เพราะชนเผ่าที่คล้ายๆกับม้งนั้น สามารถพบเจอได้ทางพม่าตอนเหนือ จีนตอนใต้ ลาวและเวียดนามตอนเหนือ ซึ่งพวกเขาอาจจะลี้ภัยเข้ามาอยู่ในออสเตรเลียมานาน ยกตัวอย่างเช่น สมัยที่พม่ายังมีสงครามกับชนกลุ่มน้อย หรือไม่ปัญหาความไม่สงบสุขในรัฐฉาน ก็มีผู้คนอพยพเข้ามาที่ศูนย์อพยพตามตะเข็บชายแดนมากมาย จากนั้นบรรดากลุ่มประเทศแถบตะวันตกทั้งหลาย ก็จะจัดโควต้าให้บรรดาผู้อพยพลี้ภัยเข้ามาเริ่มต้นชีวิตใหม่ในประเทศของตนไม่ว่าจะเป็น อเมริกา แคนาดา อังกฤษ ออสเตรเลีย(ซึ่งเป็นหนึ่งในนั้น) และอีกหลายประเทศ

ส่วนชาวเขมร ก็ในกรณีเดียวกัน พวกเขาอาจจะอพยพเข้ามาในสมัยเขมรแดงยังเรืองอำนาจ

ที่เห็นมีทุกเพศทุกวัยนั้น อาจจะเป็นบรรดาลูกหลานผลผลิตของผู้อพยพที่เข้ามาเริ่มต้นชีวิตใหม่ในประเทศที่สาม


ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
ที่ Hobart, Tasmania ไม่รู้เป็นพวกไหน
แต่ที่ Darvin, Northern Territory, Australia
เมื่อเกือบสามสิบปีก่อน มีพวกลี้ภัยจากเวียดนาม
และติมอร์ตะวันออกเข้ามา

เช่นเดียวกับอเมริกาในยุคนั้น ถ้าท่านไปนั่งทานอาหาร
จะพบพนักงานเสิร์ฟบางราย แนะนำตัวเอง ว่า
ตัวเขาแค่หนึ่งปีที่ผ่านมา อดีตเป็นนายร้อยนายพัน
ของกองทัพเวียดนามเชียวนะ แต่บ้านเมืองแตก จึงกลายมาเป็นอย่างนี้
ขณะเดียวกัน คนอื่นก็มองว่าเรา เป็นผู้ลี้ภัยไปด้วย เช่นกัน


ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
ที่ออสเตรเลียก็รับผู้ลี้ภัยชาวกะเหรี่ยง (Karen) ที่หนีการสู้รบจากพม่า แล้วมาอยู่ค่ายผู้ลี้ภัยในไทย ไปอยู่หลายพันคนเหมือนกันค่ะ แถวๆเมล์เบิร์นมีเยอะ ที่โฮบาร์ทก็น่าจะมีเหมือนกัน


ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
เมื่อสองปีก่อนผมก้อเคยมีเพื่อนเรียนหนังสือเป็นคนพม่าที่Sydneyเขาเคยอยู่ค่ายผู้ลี้ภัยในไทยเมื่อประมาณ15-16ปีก่อนเคยอยู่ที่กรุงเทพฯแถวถนนสุทธิสาร เขาได้วีซ่าผู้ลี้ภัยมาอยู่ที่ออสเตรเลียตอนนี้เป็นcitizenของออสเตรเลียแล้ว เห็นพวกผู้ลี้ภัยได้วีซ่าเข้าออสฯง่ายๆแล้ว รู้สึกไม่แฟร์สำหรับตัวเองที่ต้องลงทุนทั้งเงินและเวลาและความอดทนที่ต้องมาอยู่ในสังคมนี้ตั้งหลายปีกว่าจะสมัครcitizenของออสฯได้ ได้เป็นพลเมืองออสฯแล้วก้อยังไม่รู้จะมีประโยชน์อะไรในชีวิตหากตัดสินใจย้ายไปUSAหรือกลับBkk


ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
ขอบคุณทุกคนมากค่ะ เมื่อวานเราลองหาข้อมูลเพิ่มเติมดู เจอว่าผู้หญิงและเด็กอาจจะเยอะ เพราะเหมือนได้สิทธิ์มาก่อน หรือเพราะเป็นพวกที่โดนทรมานมามากกว่าอะไรทำนองนี้น่ะค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 5
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 6
ผมอยากรู้ว่ามีวิธีติดต่อศูนย์ลี้ภัย ออสเตรเลีย ไมคับ
ตอบกลับความเห็นที่ 6