สอบถามเกี่ยวกับประโยค ที่ชาวต่างชาติบอกเป็นเพื่อน

เช่นตอนคุยกันไปคุยมันมาในระยะหนึ่งมีการทักทายว่า

Hello my friend

or

Thank you my friend

แบบนี้แสดงว่ามีความสนิทสนมกัน หรือว่า เป็นการทักทายตามมารยาทเฉยๆ ครับ

ความคิดเห็นที่ 1
อันนีัก็ต้องแล้วแต่ผู้ใช้ประโยคนี้เองนะคะ ว่าเขาหมายความว่าอย่างไร ให้ความสนิทสนมแค่ไหน
หลายๆ คนหมายถึงอย่างนั้นจริงๆ แต่สำหรับหลายๆ คนเป็นแค่คำธรรมดาๆ ค่ะ

และต้องขึ้นอยู่กับสัญชาติของผู้ใช้ด้วยค่ะ ว่าใช้ภาษาอังกฤษได้ลึกซึ้งแค่ไหน และใช้ด้วยเมนทาลิตี้ไหน
ความคุ้นเคยในการใช้ภาษาอังกฤษของชนชาติที่ไม่ได้พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแรก หรือ ใช้โดยคน
ที่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแรกเป็นเจัาของภาษานะคะ

ส่วนใหญ่แล้วคนต่างชาติที่ชอบใช้ประโยคแนวๆ นี้ มักจะไม่ใช่คนที่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแรกค่ะ
แต่เป็นคนต่างชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง เช่นคนจากยุโรปทางใต้ เช่นคนอิตาเลี่ยน
คนอินเดียบางส่วน คนกัมพูชา หรือคนอาฟริกันบางสัญชาตินะคะ ใช้คำว่าเฟรนด์สร้างความสนิทสนม
ในการพูดคุยและสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจค่ะ

หรือดิฉันมีเพื่อนคนอังกฤษแต่เป็นคนรุ่นเก่า และใช้ชีวิตส่วนใหญ่นอกประเทศอังกฤษ เช่นในอินเดีย
และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ ฮ่องกง เพื่นอาวุโสชาวอังกฤษของดิฉันท่านนี ชอบเรียกคน
แปลกหน้าว่า มาย เฟรนด์ แต่เรียกในลักษณะเอ็นดู และสร้างความรีแล็กซ์ความเป็นกันเองใน
การสนทนาค่ะ

//แวะมาตอบคุณ จขกท.คนเดียว และตอบจากประสบการณ์ในการที่ดีลกับคนต่างชาติหลากหลายสัญชาติ
มาเป็นเวลานานหลายสิบปีค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
ขอบคุณมากเลยครับคุณ Been there, done that! พอได้ Get idea เยอะทีเดียวครับ

สำหรับท่านอื่นๆ ที่เคยผ่านประสบการณ์แบบนี้มา รบกวนแชร์กันได้นะครับ อยากทราบว่า สรุปแล้วแนวไหน

เจอ 2 เคส ครับ

กรณีแรก คือ กับชาวบราซิล ซึ่งเคยคุยกันประมาณ 2-3 ครั้ง

กรณีที่สอง ชาวอเมริกัน คุยกันประมาณ 4-5 ครั้ง ครับ

เจอสองคนพูดประโยคทำนองเดียวกันก็เลยงง ไม่แน่ใจว่า วัฒนธรรมเค้าเป็นอย่างไร ครับ ก็เลยมาขอแชร์เอาจากเพื่อนๆ ในนี้ครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
เพื่อนเราเคยพูด Hello my friend. เป็นเจ้าของภาษาเลย แล้วเราก็ค่อนข้างสนิทกับคนๆนั้นน่ะค่ะ

ปล. แต่เขาพูดแค่ไม่กี่ครั้ง ไม่ใช่ประโยคที่เขาใช้บ่อยค่ะ เหมือนแค่แบบเล่นด้วยเฉยๆ

ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
ยินดีค่ะ คุณ Matterhorn ดิฉันแวะมาคุยต่อนะคะ เพราะตอนท่่มาตอบ คห. 1 ดิฉันรีบๆ พิมพ์ค่ะ
คืองี้นะคะ จากประสบการณ์ของดิฉันในการติดต่อกะบคนต่างชาติ หรือพบคนต่างชาติในประเทศของเขา
หรือในการทำงานกับคนต่างชาติ

คนที่ชอบใช้ประโยคแนวๆ นี้ คือ

1. คนที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแรก และเป็นคนของประเทศที่มีแฟมิลี่ ยูนิท เหนียวแน่น
เช่คนอิตาเลี่ยน อย่างที่เล่าให้ฟังแล้ว หรือใช่ค่ะ คนละตินอเมริกันก็แนวๆ นี้เหมือนกัน
รวมทั้งคนเอเชียในหลายๆ ประเทศ คือคนจากประเทศที่ชอบทำอะไรกันเป็นกลุ่มๆ ไม่ชอบแยกเดี่ยว
แล้วเขาจะต้องนับญาติสร้างความสนิทสนม สร้างความไว้ใจแบบ้ป็นหมู่คณะ หรือบางครั้ง
เขาไม่ทราบว่าจะใช้คำอื่นแบบไหนมาแทนดี ด้วยความที่รู้ศัพท์จำกัด ก็ใช้แบบนั้น หรือใช้ตามความนิยม
ของการใช้ภาษาอังกฤษแบบที่เข้าใจกันในประเทศนั้นๆ หน่ะค่ะ

2. คนจากประเทศเจ้าของภาษา ที่คุ้นเคยกับคนต่างชาติตามที่กล่าวมาในข้อ 1

3. คนจากประเทศ ตามที่กล่าวในข้อ 1 ที่อยู่ในวงการค้าขาย พวกพ่อค้า ชอบเรียกลูกค้าว่า
มาย เฟรนด์ ดิฉันเคยเจอมาในหลายประเทศค่ะ เช่นตุรกี โมร็อคโค อินเดีย พม่า กัมพูชา อินโดนีเซีย
เวียตนาม เปรู เป็นต้น ใช้เรียกเพื่อสร้างความสนิทสนมในการขายสินค้าให้บูกค้าเชื่อใจ หรือพวกไกด์
ใช้กับลูกทัวร์

4. หรือคนจากประเทศเจ้าของภาษา ใช้ในการเขียนอีเมล หรือคำโฆษนาในเชิงการค้า เพื่อสร้างความสนิท
สนมและความไว้เนื้อเชื่อใจจากผู้บริโภคค่ะ

ถ้ามีอะไรที่นึกออกแล้วดิฉันจะมาเพิ่มเติมอีกนะคะ ไปก่อนค่ะ พอดียุ่งๆ แต่อยากตอบกระทู้ค่ะ อิอิ



ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
นึกออกอีกนิด คนต่างชาติบางคนที่ใช้ภาษาอังกฤษแบบไม่รู้ลึกซึ้ง เขาก็พูดได้แบบนกแก้ว นกขุนทองนะคะ
การใช้คำว่า มาย เฟรนด์ เนี่ย บางครั้งคนต่างชาติที่ใช้ ก็ใช้แนวๆ เดียวกับที่คนไทยที่ไม่รู้ภาษาอังกฤษ
ลึกซึ้งพอ แล้วชอบทักฝรั่งว่า "เฮ้ ยู" นั่นแหละค่ะ

//ปอลอ เรื่อง Hey, you! เนี่ย คุณแอนดรูว บิ๊กส์ เคยเขียนเอาไว้หลายปีแล้ว ขำมากๆ ค่ะ
คุณ Matterhorn อยู่ยุโรปเหรอคะ แล้วรู้จักคุณแอนดรูว บิ๊กส์นะคะ อิอิอิ


ตอบกลับความเห็นที่ 5
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 6
ขอบคุณ คุณBeen there, done that! มากมายเลยนะครับที่ได้มาแชร์ประสบการณ์

ผมอยู่ที่เมืองไทยครับ เพียงแต่ได้มีโอกาสคุยกับชาวต่างชาติบ้าง เจอรูปแบบนี้ก็เลยงง และที่สำคัญมากันสองชาติเลยทีเดียวในคนละคราวกัน ก็เลยอยากถามผู้มีประสบการณ์ครับว่าเค้าใช้กันแบบไหน (เผื่อว่าจะแอบเอาไปใช้บ้างครับ)

ขอบคุณ คุณCalotropis ที่มาแชร์นะครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 6
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 7
คุณ Matterhorn กรุณาอย่าเชื่อเราทั้งหมดนะคะ เรามาตอบจากประสบการณ์และความคิดเห็นส่วนตัว
และเราไม่ใช่นักภาษาศาสตร์ค่ะ อ่านของเราแล้ว ต้องฟังหูไว้หู และต้องเอาไปสังเกตเองค่ะ ต้องคิดเอง
หรือหาข้อมูลเพิ่มเติมเองด้วยนะคะ

ถ้าคุณสนใจภาษาอังกฤษ ต้องอ่านคอลัมน์ของคุณ Andrew Biggs ในเล่ม Brunch ของ
Bangkok Post ค่ะ คุณ Andrew เขีบนคอลัมน์ Sanook สนุกจริงๆ ค่ะ

หรือไปเสิร์ชหาเว็บไซท์ของคุณแอนดรูว นะคะ คุณต้องค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยค่ะ แค่คุยกับฝรั่งอย่างเดียว
ไม่พอค่ะ


//ปอลอ เห็นชื่อล็อกอิน แม็ทเท่อร์ฮอร์น นึกว่าอยู่ยุโรป อยู่สวิทเซอร์แลนด์ หรืออิตาลี่ จึงมาถาม
ภาษาอังกฤษนะคะ


ตอบกลับความเห็นที่ 7
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 8
ได้ความเห็นของคุณ Been there, done that! ให้เป็น Guide ได้เยอะเลยครับ

ที่มาของ Matterhorn ก็คือจากความสงสัยว่าภูเขาที่อยู่บน Toblerone มันคือภูเขาอะไรค้นไปค้นมาจนเกิดความประทับใจ จนได้มีโอกาสลุยเดี่ยวไปสัมผัส กับ Matterhorn ด้วยตัวเองมาครับ ไปใช้ชีวิตอยู่ ตั้งสองคืน ได้เห็นในหลายๆ มุม รู้สึกประทับใจ สุดๆ (ทั้ง Matterhorn และการก้าว ข้าม ผ่านตัวเอง) ครับ ก็เลยเป็นที่มาของชื่อ Log in นี้

ขอบคุณอีกครั้งสำหรับคำแนะนำมากมายนะครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 8
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 9
ยินดีค่ะคุณ Matterhorn และขอบคุณที่กรุณามาเล่าถึงที่มาของชื่อล็อกอินของคุณให้ดิฉันฟังค่ะ
เจ้าของกระทู้แบบนี้น่ารักมากค่ะ เข้ามาพูดคุยกับคนตอบกระทู้ อย่างน้อยคนตอบจะได้ทราบว่า
ที่เข้ามาสละเวลาพิมพ์ให้เนี่ย ไม่สูญเปล่า ขอบคุณค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 9
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 10
แบบนี้ก็เขินแย่เลยทีเดียว

ยังไงก็ขอบคุณทีแชร์ประสบการณ์นะครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 10