ขอความคิดเห็น ถ้าจะสร้างหนัง Documentary เกี่ยวกับชีวิตคนไทยในอเมริกาคะ

พอดีตอนนี้มีโปรเจคจะทำหนังสารคดี Documentary เกี่ยวกับชีวิตคนไทนในอเมริกาคะ เลยอยากขอความคิดเห็นจากหลายๆท่านว่าถ้าโปรเจคนี้เกิดขึ้นมาจริงๆ ไม่ทราบว่าคนส่วนใหญ่อยากจะนำเสนอเรื่องอะไรมากที่สุดคะ ร่วมแสดงความคิดเห็นกันเข้ามาได้เลยนะคะ หรือถ้าใครมีข้อมูลอะไรที่เป็นประโยชน์ รบกวนช่วยส่งข้อมูลเข้ามาได้ที่ [email protected] คะ ขอบคุณทุกท่านๆที่ให้ความร่วมมือนะคะ ขอบคุณคะ

โดยส่วนตัวเราอยากจะนำเสนอเกี่ยวกับชีวิตของคนไทยที่เดินทางเข้ามาด้วยความฝัน หลายๆคนคิดว่าการเดินทางมาอยู่ที่ต่างประเทศเป็นชีวิตที่สวยหรู เราคนหนึ่งเป็นนักเรียน ตอนนี้ก็ใช้ชีวิตอยู่ที่อเมริกา เห็นชีวิตหลายๆด้าน อย่างเพื่อนักเรียนด้วยกันเองหลายๆคนก็พพากความฝันมาด้วยการตั้งเป้ามหายว่าจะมาเรียนต่อแล้วกลับไปรับใช้ประทเศชาติ แต่ด้วยความหลายหลากของสิ่งแวดล้อมทำให้ความคิด ความตั้งใจต่างๆลดลง ทำให้ความฝันที่เคยมีอยู่หายไปในที่สุด ในขณะที่หลายๆคนก็ประสบความสำเร็จอย่างที่ตั้งใจไว้ ในฐานะที่เราเป็นนักเรียนเราก็เลยอยากจะนำเสนอในด้านนี้ และในด้านของการทำงานเป็นอาชีพเสริมเพื่อเลี้ยงตัวเองให้อยู่รอดไปวันๆและให้พอจ่ายค่าเ่ทอมในแต่ละครั้ง อันนี้เป็นเพียงทัศนะคติของเรานะคะ

ถ้าใครมีความคิดเห็นเพิ่มเติมและยากร่วมแชร์ประสบการณ์ ยินดีมากๆ หรือใครมีบุคคลตัวอย่างที่ให้เราไปสัมภาษณ์หรือพูดคุยเราก็ยินดีเช่นกันคะ ขอบคุณคะ

ความคิดเห็นที่ 1
เรื่องอย่างนี้ ตามกระทู้ที่ท่านเจ้าของกระทู้ตั้งคำถามมา.....สรุปคำถามได้ว่า


" คุณเจ้าของกระทู้ต้องการทำหนังสารคดี Documentary เกี่ยวกับชีวิตคนไทยในอเมริกา เลยอยากขอความคิดเห็นจากหลายๆท่านว่า คนไทยส่วนใหญ่ในสหรัฐ ฯ อยากจะนำเสนอเรื่องอะไรมากที่สุด ? ? ? ? ? "

คำตอบที่จะให้ได้....คือ

ทำอย่างไรจะให้ทางการสหรัฐ ฯ ยอมรับคนไทยที่เข้ามาทำมาหากินในสหรัฐ ฯ อยู่อย่างผิดกฎหมาย เป็น Illegal Immigrant หรือพวกที่คนไทยเรียกกันเองว่า "โรบินฮู๊ด " ที่ปัจจุบัน มีเป็นจำนวนมากมีตัวเลขไม่เป็นทางการถึงแสนๆ คน ( แต่ก็ยังน้อยกว่าพวก Hispanic คือผู้คนจากอเมริกากลาง อเมริกาใต้พูดภาษาเสปน ปอร์ตุกีส ที่ทะลักเข้ามาหากินในสหรัฐ ฯ อย่างผิดกฎหมายเข้าเมืองจำนวนมหาศาล )


นั้น...........ทำอย่างไรจะให้คนไทยเหล่านี้สามารถอยู่ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายเข้าเมือง โดยเริ่มต้นนิรโทษกรรม หรือ Amnasty ให้ได้เป็น permanent resident หรือได้รับใบเขียว ในฐานะเป็นคนต่างด้าวที่มีถิ่นที่อยู่ถาวรในสหรัฐ ฯ .......................

นี่คือความฝันอันสูงสุดของคนไทยเป็นแสนๆ คนที่อยู่อย่าง โรบินฮู๊ด ในสหรัฐ ฯ ที่อยู่ในอเมริกาโดยวีซ่าขาด แต่หางานทำแบบหลบ ๆ ซ่อน ๆ สามารถหาส่งเงินกลับบ้านในไทยแลนด์ได้ทุกเดือน.........

นี่แหละ สิ่งที่คนไทยต้องการมากที่สุด


คนไทยเหล่านี้แหละ....ที่เป็นตัวจริง เสียงจริง ในสหรัฐ ฯ ที่มาสหรัฐ ฯ ติดใจ ไม่ยอมกลับไทย มีมาทุกยุกทุกสมัย ตั้งแต่เมื่อสมัย 60 ปีก่อน ๆ ....ปัจจุบัน รุ่นนั้น ส่วนใหญ่สบายไปแล้ว เพราะมีกฎหมายออกมาให้ได้รับใบเขียว ปัจจุบันเป็นพลเมืองสหรัฐ ฯ โก้หรู ไม่เดือดร้อนแล้ว

แต่คนไทยรุ่นหลัง ๆ ก็ยังทะยอยตามกันมาเป็นรุ่น ๆ ต่อๆ กันมาถึงปัจจุบันเพื่อหาโอกาสที่ดีกว่าอยู่ในเมืองไทย....เขายังเป็นผู้ลักลอบเข้าเมือง ( เพราะวีซ่าขาด ) หลบซ่อนหางานทำ พบได้ทั่วไปในเมืองใหญ่ๆ โดยเฉพาะในซีกตะวันตก เช่นที่ในแซนดิเอโก้ แอลเอ แซนแฟรนซิสโก ....ฯลฯ พวกนี้ส่วนใหญ่จะเป็นพวกถือวีซ่านักเรียน หรือท่องเที่ยว เข้ามาในตอนแรก .....แล้วติดใจไม่กลับไทย โดดเลย....นั่นแหละ แล้วฝังตัว หลบๆ ซ่อนๆ ตามเมืองต่างๆ จำนวนตร่าวๆ ที่สถานทูต สถานกงสุลไทยเคยประมาณการไว้จากการทำกงสุลสัญจรไปบริการตามวัดไทยต่างๆ ทั่วสหรัฐ ฯ ว่ามีจำนวนเป็นแสน ๆ คน

แต่หลังจากเหตุการณ์ 9-11 ผู้ก่อการร้ายขับเครื่องบินชนตึก เมื่อ 10 กว่าปีก่อน....สหรัฐ ฯ เลยยังอั้นการพิจารณาปล่อยผู้หลบหนีเข้าเมืองให้เป็นผู้ถูกกฎหมาย

เรื่องนี้แหละ เห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญของคนไทยที่ผจญอยู่ในสหรัฐอเมริกา

ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
ความจริงประเด็นที่เป็นปัญหามีเยอะ นอกเหนือจากเรื่องสถานะ ก็ยังมีเรื่องอื่นอีกมากมาย เช่นการเอารัดเอาเปรียบระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างที่เป็นคนไทยด้วยกัน ปัญหาในการปรับตัว หางานทำ ฯลฯ

ที่เห็นว่ายากคือ ถ้ารู้ว่าจะเอาไปทำหนัง จะมีคนกล้าเปิดเผยตัว และให้ข้อมูลหรือ เพราะทุกวันนี้ดิฉันเจอแต่ประเภทที่บอกว่า พี่อย่าเอาเรื่องหนูไปเล่าที่ไหนนะคะ


ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
สนับสนุนโครงการ ที่จะทำสารคดีชีวิตไทยในสหรัฐอเมริกาค่ะ

จากทัศนคติของคุณ Yao_NiKoLo มองในด้านความฝันที่หลุดลอยไป
ของกลุ่มนักเรียน นักศึกษา ที่เข้ามาพบกับความผันแปร โยนเข็มทิศทิ้ง

แต่ในขณะเดียวกัน คนที่เรียนจนสำเร็จ ได้พัฒนาตนเองที่นี่ หรือกลับไทย
ไปต่อยอดอุดมการณ์ของแต่ละคน อะไรคือเหตุผลที่ทำให้เขาสมหวังได้


แต่ในการถ่ายทำสารคดี ออกมาเป็นภาพเรื่องราว ต้องมีองค์ประกอบ
หลายอย่างที่สำคัญมาก คือ งบประมาณ ทีมงาน ขอบเขต และเครือข่าย


ตามหลักของการสร้างสารคดี แน่นอนคือนำเสนอข้อเท็จจริงล้วนๆ
มีตัวบุคคลจริง สถานที่จริง เหตุการณ์จริง ประกอบกับการสัมภาษณ์บุคคล

ในกรณีนี้ คุณ Yao ซึ่งมีความคล่องตัวในพื้นที่แอลเอ แคลิฟอร์เนียใต้
ควรจะกำหนดแนวทางให้ชัดเจน ดังนี้นะคะ

๑. คุณจะนำเสนอโครงการสารคดีภาพชีวิตนักศึกษาไทยให้กับใครชม
ให้กับกลุ่มแก้ปัญหา ผู้มีอำนาจของภาครัฐในวงการบริหารการศึกษา
หรือว่า นำเสนอข้อคิดให้กับกลุ่มเยาวชน ที่กำลังหาข้อมูลมาศึกษาต่อ

ถ้าคุณทำภาพสารคดีให้คนที่เด็กกว่า มีประสบการณ์น้อยกว่า ในมุมนี้
บทบรรยาย จะสามารถใช้ประสบการณ์ของคุณ ได้อย่างกว้าง ไม่จำกัด

แต่ ถ้าเป้าหมาย ต้องการให้หน่วยเหนือ จัดการปัญหาของแรงงานไทย
หรือตรงๆ อยากให้สารคดีนี้ไปกระตุ้นให้มีการช่วยเหลือด้านการเงิน
จากองค์กร หรือผู้มีอำนาจระดับกลางถึงสูง คุณต้องสร้างเนื้อหาเน้นให้
เห็นความต่างเชิงลึก ของคนที่ประสบความสำเร็จ มาเส้นทางชีวิตเช่นไร

และนำภาพของผู้ที่ความฝันเปลี่ยนแปร มาเทียบ ให้เห็นว่าเพราะอะไร
ซึ่งในส่วนการนำเสนอแนวนี้ จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้อยู่ในภาพ

๒. คุณจะทำคนเดียว หรือมีผู้ช่วย ทั้งในการทำภาพรวมๆ กับบทบรรยาย

ดิฉันได้เห็นแนวทางการพรีเซ้นท์ผลงานของคุณน้องแล้ว งดงามมีฝีมือดี
ทั้งการหามุมกล้อง เงา แสง เวลา สถานที่ โดยเฉพาะภาพศิลปะธรรมชาติ

คุณมีจุดเด่นในการโฟกัสแสงเงา ให้ภาพมีเอกลักษณ์ ดึงดูดอารมณ์ได้สูง

ตรงนี้มีประโยชน์ ในการนำภาพของชีวิตนักศึกษา ที่ต้องมาทำงานตกระกำ
(ถ้าเขาอนุญาต) และการเล่นเงาแสง ของภาพที่เน้นความหวังในแต่ละวัน

แปลว่า การทำงานครั้งนี้ คุณต้องมีตัวช่วยอย่างน้อย ๕ คน จึงจะสำเร็จได้
และนั่นก็หมายถึงกำลังทรัพย์ที่จะลงทุน และระยะเวลาของการนำเสนอค่ะ

๓.การกำหนดชื่อเรื่อง หลังจากที่คุณได้แนวแล้ว ว่าจะเน้นภาพที่ต่างกัน
ของชีวิตนร.ที่ประสบความสำเร็จ กับชีวิตอีกมากมาย ที่ความฝันขาดหาย

หัวเรื่อง ควรจะกระจ่าง เช่น มุมมืดมิดของชีวิตนักเรียนไทยในอเมริกา
หรือทำอย่างไรให้อยู่ในมุมใสๆ ของชีวิตไทยต่างแดน นำมาประสานกัน

เรื่องการตั้งชื่อเรื่อง จะเป็นการกำหนดทิศทาง ของบุคคลที่จะสัมภาษณ์

๔.กลุ่มบุคคลที่จะให้ความอนุเคราะห์ ข้อมูลและเปิดทางให้การทำงานได้
บรรลุตามเป้าหมายของสารคดีนี้ จัดจำแนกได้อย่างน้อยๆ ๕ กลุ่มดังนี้

๔.๑ กลุ่มเป้าหมาย คือนักเรียนไทย ในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงท้องถิ่น
และกลุ่มนักเรียนภาษา ทั้งกลุ่มย่อยที่เรียนเพื่อต่อโท และกลุ่มโดดวีซ่า

๔.๒ หน่วยงานราชการ สถานกงสุลใหญ่ของแอลเอ
๔.๓ ศาสนสถาน วัดไทยแอลเอ และเครือข่ายวัดของสมัชชาสงฆ์อเมริกา
๔.๔ องค์กรเอกชน ทั้งของไทยและสากล ในท้องที่ เช่นศูนย์ส่งเสริมคนไทย และหน่วยงานช่วยเหลืออเมริกันเอเซี่ยน ซึ่งมีคนไทยทำงานอยู่ด้วย
นอกจากนี้ สมาคมไทย สมาคมประจำภาค ชมรมศิษย์เก่ายูต่างๆของไทย
ที่มารวมตัวในการสร้างรากฐานชุมชนไทยในสหรัฐฯ

๔.๕ สื่อมวลชน สำนักพิมพ์ นักเขียน คอลัมนิสต์ท้องที่ หรือใกล้เคียง


เหตุผล ที่คุณต้องเข้าสู่กลุ่มบุคคลเหล่านี้ ในการนำเสนอแง่ข้อเท็จจริง

กลุ่มนักศึกษา จะให้ข้อมูลดิบแก่คุณได้ ช่วยในการถ่ายภาพชีวิตจริงที่พบ
กลุ่มองค์กร วัด สมาคม ชมรมฯ ผู้ใหญ่หรือแกนนำสังคม คือผู้รู้ลึกตัวจริง

ฉะนั้นการติดต่อเข้าไปยังหน่วยงานกลุ่มต่างๆ คุณต้องมีขั้นตอนทำหนังสือ แจ้งจุดประสงค์ นโยบายเข้าไปเป็นกิจจะลักษณะยังองค์กรนั้นๆ

เช่น จดหมายขอสัมภาษณ์ เจ้าหน้าที่กงสุลสัญจร ซึ่งจะบอกเล่าได้ดี
และมีทัศนคติที่เป็นกลาง จากทางราชการ ตรงนี้จะทำให้สารคดีมีคุณค่า

จดหมายไปยังพระคุณเจ้า ของวัดไทย และหรือวัดอื่นๆที่เป็นศูนย์ชุมชน
ตรงนี้ คุณจะได้รับความกรุณา ในการขอถ่ายทำ ภาพชีวิตในงานประเพณี
เป็นส่วนประกอบได้ดี ว่า นักศึกษาจำนวนหนึ่ง เข้ามาช่วยงานของวัดด้วย

จดหมายไปยังประธานหรือนายกสมาคมไทย ฯ ขอการประสานงานในการ
เข้าสู่ผู้ใหญ่หรือบุคคลในท้องที่ จัดวันเวลาสัมภาษณ์เจ้าของกิจการต่างๆ

เพราะอะไรต้องเข้าไปที่กลุ่มนี้ เพราะพวกเขาคือนายจ้างผู้ให้โอกาสงาน
และคือกลุ่มคน ที่กำหนดทิศทางของธุรกิจไทย มีความรอบรู้ในวิถีไทยดี

และสุดท้าย กลุ่มสื่อ คุณจะได้ทัศนคติที่มีการวิเคราะห์อย่างมีระบบคิด
พร้อมทั้งประมวลภาพเหตุการณ์ครอบคลุมทั้งประวัติศาสตร์ของชุมชน
และอื่นๆ ที่คนทั่วไปอาจไม่ได้สัมผัส อย่างลึกเท่า เช่นเรื่องที่เขียนไม่ได้

กลุ่มนี้ คุณต้องเลือกให้ดี และเลือกให้หลายสำนัก เพราะมีทิศทางต่างกัน
อย่างไรก็ตาม ความคิดเห็นและประสบการณ์ของสื่อ จะช่วยให้สารคดีมี
ข้อเท็จจริง ซึ่งน่าสนใจแน่ๆ ถ้าอยากจะได้ประเด็นแรงงานผิดกฎหมาย


ในอีกด้านหนึ่ง สื่อโซเชี่ยล หรือกระดานสนทนาสาธารณะ ก็เป็นสื่อได้
แต่จะมีจรรยาบรรณ หรือความรับผืดชอบมากน้อยแค่ไหน ต้องกลั่นกรอง

จากประมวลแหล่งข้อมูลที่กล่าวมา คุณคงทำงานนี้คนเดียวยาก
และต้องมีขั้นตอนไม่ใช่น้อยเลยนะคะ ขึ้นกับงบประมาณและเวลาของคุณ


ความยาวของสารคดีนี้ คือเท่าไรแน่ ๓๐ นาที หรือ ๒ ชั่วโมง
จะเป็นโครงการต่อเนื่อง หรือม้วนเดียวจบ อันนี้คุณน้องต้องระบุมานะคะ

ถ้าคุณทำสารคดีชีวิตนักเรียนไทย เป็นตอนๆ จะแบ่งได้เป็นมุมใส มุมสว่าง
กับมุมมืด แล้วแต่ว่า คุณต้องการให้ใครเป็นคนดู และนำเสนอที่สื่อไหน

ทำเป็นรายการที่มีสัญญาของการแพร่ภาพ ผลงานของสื่อหลักสำนักไหน
หรือว่าเป็นงานของกลุ่มอิสระ ที่จัดมาเฉพาะเพื่อการแพร่ภาพในสหรัฐฯ

สรุปแล้ว คำถามสั้นๆ ก่อนที่คุณจะลงมือผลิตงานใหญ่ชิ้นนี้ มีทุนเท่าไหร่
มีเวลาไหม ที่จะเดินทางขึ้นมาทางแคลิฟอร์เนียเหนือ ในช่วงไหนได้บ้าง

เพราะการประสานงานกับบุคลากรที่จะให้ข้อมูล มาทำการสัมภาษณ์ต่างๆ
จะต้องเตรียมความพร้อมของทุกฝ่าย ซานฟรานซิสโก เป็นจุดเจาะที่ดี
และจะเสริมกับภาพชีวิตของเด็กไทยในแอลเอ เพราะว่าทางนี้ มีสถาบัน
ที่นร.มาศึกษาอย่างถูกกฎหมาย และประสบความสำเร็จ อย่างอนกอนันต์

และมีศูนย์วัฒนธรรมไทย มีองค์กรที่สามารถให้ข้อเท็จจริงครอบคลุมได้
ว่าภาพชีวิตทั้งหมด มีลักษณะต่างกัน ตรงการเริ่มเข้ามา สถานภาพต่างๆ

ถ้า คุณทำเรื่องขอไปทางเจ้าอาวาสและคณะกรรมการบริหารของวัดได้
ต่อจากนั้น ออกภาคสนาม บันทึกภาพในงานประเพณีของไทย โดยมี
กลุ่มเป้าหมาย มาร่วมในงาน ให้เห็นว่า คนๆหนึ่ง มาอยู่ในชุมชนอย่างไร

แล้วเจาะภาพออกไป ที่ชีวืตส่วนตัวของคนๆนั้น เช่น นายเพอร์เฟค กลับ
จากวัด ไปยังมหาวิทยาลัยยูซีในท้องที่ แล้วทำงานวิจัย ไปหาโปรเฟสเซอร์
ตัดภาพที่ นางสาวพริตตี้ กลับจากวัดแล้ว ไปทำงานที่ร้านไทย หั่นผักหรือ
ว่ามีเพื่อนๆที่อยู่ผิดกฎหมาย ต้องทำงานแบบไหน ที่พักเป็นอย่างไรบ้าง

ส่วนนี้ คุณต้องขอความยินยอมจากทั้งพนักงานและเจ้าของกิจการด้วยนะ
แล้วเขาจะยอมหรือเปล่า เพราะว่าถ้าแพร่ออกไป ก็ล่อแหลมโดนจับตัว

เรื่องที่จะนำเสนอในสารคดี ถ้าไปเจาะความล้มเหลว ผิดพลาดของใคร
อันนั้น จะมีผลอย่างไรกับสังคมในวงกว้าง จุดนี้ต้องระมัดระวังอย่างที่สุด
จึงจำเป็น ต้องผ่านขั้นตอนความเห็นชอบและการประสานงานของผู้ใหญ่

โดยรวมๆแล้ว ถ้าคุณกะจะทำสคริปต์ เรื่องยาวตอนเดียวจบ ควรเรียงภาพ
ให้เห็นความงดงามอลังการของมลรัฐ เป็นฉากๆจากภาพที่คุณมีอยู่แล้ว

ต่อจากนั้น เกริ่นเข้าสูประเด็น ความฝันที่ขาดหายไปของนร.ไทยในยูเอส
นำภาพของกลุ่มเป้าหมาย ที่เขาอนุญาต หรือพร้อมจะมาเป็นผู้แสดงนำ
และเริ่มจากบทสัมภาษณ์สั้นๆ ของเจ้าหน้าที่กงสุล พระคุณเจ้าที่วัดไทย
ต่อด้วย ความรู้ที่ได้จากฝ่ายช่วยเหลือคนไทยที่ประสบปัญหาผู้ใช้แรงงาน

และนำเสนอไอเดียที่คุณอยากจะโฟกัสให้ชัดเจนที่สุด คือทำอย่างไร
จะประสบความสำเร็จ สิ่งที่จะต้องพบอย่างไม่คาดฝัน เช่นเด็กเวิร์คทราเวล
(อันนี้เคยมีคนทำวิทยานิพนธ์แล้ว เรียกศัพท์ว่า การท่องเที่ยวเชิงกรรมกร)

กลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยสำคัญๆ ที่จะผลิตบุคลากรที่ทำงานให้สังคมได้
ข้าราชการลาศึกษา นักเรียนทุน ฯ กลุ่มนี้ คุณต้องไปขอความช่วยเหลือ
จากสำนักงานผู้ดูแลนร.ไทย และปรึกษากับเจ้าหน้าที่ของราชการนะคะ

และสำหรับข้อมูลของคนไทยที่ใช้ชีวิตมานานมากๆ ประมาณ ๓๕ ถึง ๔๕
ปี ส่วนนี้ ถ้าคุณเดินทางมาทางซานฟรานฯ พร้อมกับทีมงานที่จะสัมภาษณ์
เป็นขั้นตอนหลังจากการติดต่อกลุ่มองค์กรแล้ว ถ้าต้องการเอกชนรายอื่นๆ
ให้แจ้งความจำนงมาให้ชัดเจน หลังจากที่คุณกำหนดหัวเรื่องและทิศทาง
อย่างละเอียด ว่าจะนำภาพและข้อมูล ไปให้ใครชม เพื่อวัตถุประสงค์ใดแน่

ดิฉันสามารถติดต่อให้พบกับบุคคลที่ประสบความสำเร็จ ๔ เจเนเรชั่นได้ค่ะ หรืออย่างน้อยให้ข้อมูลสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ แต่มีข้อแม้นิดหนึ่งว่า
ต้องเป็นการติดต่อหลังจากคุณได้ทำโครงสร้างของสารคดีออกมาแล้ว

เพราะผู้ให้สัมภาษณ์ จำเป็นต้องมีสิทธิ์พิจารณา ว่าข้อมูลจะไปแพร่ที่ไหน
และที่สำคัญกว่านั้น การทำงานของคุณน้อง จะต้องโปร่งใสในทุกๆทาง
หมายความว่า ต้องรักษาวาจา รักษาเวลา และทำงานอย่างไม่ย่อไม่ท้อ

แม้แต่แค่จะตามภาพชีวิตของเด็กไทยทั้งในแง่สำเร็จและล้มเหลวก็ยาก
มากแล้วค่ะ ยังไม่นับรวมว่า จะต้องตั้งกล้องให้เห็นความเป็นจริงของพื้นที่

สิ่งเหล่านี้ ขึ้นกับการเขียนแนวทางของบท สำนวนภาษาและข้อคิดรวมๆ

คุณน้องต้องการจะทิ้งท้าย ให้มีการแก้ไขอย่างไร ที่จะช่วยให้นักศึกษา
มาอเมริกาแล้วประสบความสำเร็จ หรืออย่างน้อย ก็มีอนาคตที่สมหวังได้

ประการสำคัญที่สุด กลุ่มบุคคลต่างๆที่จะให้ข้อมูลนั้น เป็นผู้มีชื่อเสียง
ด้วยเหตุนี้ การติดต่อตั้งแต่เริ่มและจบ คุณต้องมีทุนในการดำเนินการค่ะ
ไม่ใช่สัมภาษณ์แล้วนำไปเก็บไว้ ยังไม่ตัดต่อ ไม่มีระยะเวลาที่จะทำเสร็จ
นี่ก็เป็นเรื่องที่ฝ่ายให้ข้อมูล ต้องคัดกรองด้วย ขอให้ประสบความสำเร็จค่ะ


ดาว ถ้าโครงการนี้ สำเร็จได้จริง ภาพชีวิตของนักศึกษาไทยในสหรัฐฯ
จะเป็นที่ยอมรับมากขึ้น อย่างน้อยก็มีผู้เห็นทิศทางว่าทำไมคนที่สำเร็จ
จึงต่างจากที่มาเรียนแล้วความฝันได้หลุดหายไป จนไม่อาจฝันได้อีกเลย

คุณจะเน้นว่า เป็นที่คนๆนั้นเอง หรือเป็นเพราะสภาพแวดล้อมของชุมชน
ถ้าคุณอยากให้เห็นภาพของนักเรียนท็อปยู คุณต้องไปติดต่อที่สถาบัน
และนำทีมงานไปที่นัดหมาย ให้เห็นสภาพโรงเรียน นศ.นานาชาติ สากล
การใช้ชีวิตอย่างเด็กฝรั่ง ในวัฒนธรรรมของอเมริกา ไม่ใช่ในร้านอาหาร

เปรียบกับชีวิตอีกด้าน ที่มากับความฝันว่าจะต่อสู้ แต่ต้นทุนน้อยนิดเดียว
ต้องฝ่าฟันอะไรบ้าง ปัญหาคือ สารคดีไม่ใช่ภาพยนตร์สมมุติ ไม่ใช่บท
ที่จะเขียนจากจินตนาการ แต่ต้องเป็นเรื่องจริง เป็นคนจริง มีตัวตนสืบได้

มิฉะนั้นก็จะไม่อาจเรียกว่าสารคดีชีวิต สิ่งที่คุณต้องไตร่ตรองให้ครบถ้วน
นอกจากการหาเครือข่าย สร้างแผน เตรียมพล จัดทริปเจาะสัมภาษณ์พี่ๆ

นั่นคือ ทำลงไปแล้ว ผลงานนี้ จะให้ประโยชน์ได้มากกว่าข้อถกเถียงเก่าๆ
ได้หรือไม่ คือมีแนวทางปรับแก้ใหม่ๆหรือช่วยอะไรให้นักเรียนมีพลังใจ

หากจะทิ้งท้าย ให้สังคมรับผิดชอบต่อไป ก็คงเป็นการลงทุนที่ไม่ได้ผล
เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุด คือตัวคนเดินทางเข้ามา พร้อมจะเปลี่ยนใหม่ให้ดี
หรือว่า แค่ต้องการจะมาอยู่ในวงจร ที่ยังไม่สามารถแก้ไขชะตากรรมได้

ประเด็นที่จะไปสัมภาษณ์ผู้ที่ทำงานองค์กร หรือสื่อ จะต้องเป็นเอกภาพ
หากคุณสัมภาษณ์ไม่มีจุดยืน คำตอบก็จะผสมปนเป ฉีกออกนอกเนื้อหา
เพราะแต่ละท่านจะมีบุคลิกภาพไม่เหมือนกัน คุณต้องมีหลักการชัดเจน

และสำหรับสื่อฝ่ายนร. อันนี้คงขึ้นกับบุคคล
ว่าพร้อมจะส่งเสริม ให้ข้อมูลได้แค่ไหน แล้วแต่คุณวางทิศทางครอบคลุม
จะใช้ กรุ๊ปปิ้ง อิเมจ หรือว่า ยูนีค ถ้ากำหนดหัวข้อ ขอบเขต ทีมงานได้แล้ว
มาบอกพี่ๆอีกครั้งนะคะ จะได้ช่วยให้โครงการสารคดีนี้บรรลุเป้าหมายค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
ส่วนตัวเห็นด้วยกับคห.ข้างบน

แบบนี้มันกว้างไปไหม เอาจำกัดวงแคบเข้ามาหน่อย ตัวอย่างเช่น "วัดไทยในอเมริกา" หรือ "พุธศาสนิคชนในอเมริกา" หรือ นักเรียนไทยในอเมริกา และ/หรือ "นักเรียนไทยในอเมริกากับงานเสริฟที่ขึ้นชื่อ"


ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
เป็น project ที่ดีอันหนึ่งครับ สนับสนับสนุนให้มีครับ
ว่าจะเอาทุนมาจากใหนครับ
อย่าลืมนะครับ ใช้กล้องดีๆ ไปเลยจะได้เก็บภาพคุณภาพ สีและความคมชัด ไม่เสียเที่ยวถ่ายทำไว้ 1080p hdtv เป็นอย่างน้อย


ตอบกลับความเห็นที่ 5
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 6
หากว่ายังอยู่ที่อเมริกา ผมขอแนะนำให้ออกไป interview ตามร้านอาหารทั่วๆไปในอเมริกา ด้วยการพยายามทำความรู้จักกับพวกคนที่ดูแล้วมีอายุ แต่ยังทำตามร้านอาหารไทย คุณอาจจะได้รับข้อมูลมากมาย

ไม่ก็พยายามติดตามพวกสาวๆหรือหนุ่มๆและแก่ๆที่อยู่กับสามีต่างชาติ อาจจะออกไปหาได้ตามวัดไทยทั่วๆไป

สุดท้ายก็พวกนักเรียนที่ไปเรียนตามโรงเรียนภาษาหรือน้องๆที่ไปโรงเรียนภาษาและเก็บเงินด้วยการไปทำงานตามร้านอาหารไทย หรือความเห็นจากนักท่องเที่ยว จาก W & T และตามสถานทูตต่างๆประจำตามรัฐนั้นๆ

การสร้างหนังสาระคดี ต้องมีหลักจิตวิทยาในการถามการคุย ขออนุญาตจากเจ้าตัว ให้เขาเซ็นรับว่าอนุญาต ผมคิดว่าเป็นการ approach ที่น่าจะได้ข้อมูลสนุกๆ ไปทำหนังครับ

เรื่องเช่นนีัอาจจะใช้เวลาเป็นปีในการติดตามเก็บข้อมูล แต่เอาไปทำเป็นหนังให้คนดู อาจจะมีคนสนใจก็ได้

หรือว่าต้องการทำแบบง่ายๆ ก็จดข้อมูลต่างๆ คนที่เข้ามาวุ่นวายบ่อยๆ (เช่นตัวผม)
หลายคนก็น่าจะอ่านออกว่าใครเป็นเช่นใด (หากว่าติดตามบ่อยๆ) คุณก็จะทราบเองว่าใครกำลังเล่นบทไหนอยู่ขณะนี้......

ตัวผมเองชอบเล่นบทเป็นเด็กๆ.....เพราะอายุยังน้อยยยย
ส่วนคนอื่นๆ หากว่าเข้ามาเล่นพอประมาณ คุณจะทราบได้เองว่าแต่ละท่าน น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง

ขอให้โชคดีในการสร้าง หนัง


ตอบกลับความเห็นที่ 6
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 7
^

Comment # 6

หรือว่าต้องการทำแบบง่ายๆ ก็จดข้อมูลต่างๆ คนที่เข้ามาวุ่นวายบ่อยๆ (เช่นตัวผม)
หลายคนก็น่าจะอ่านออกว่าใครเป็นเช่นใด (หากว่าติดตามบ่อยๆ)

posted by hollywop 18-08-55
---------------------------------------------

ถ้าจะใช้วิธีนี้ ขอความระมัดระวังให้มากนะคะ เพราะการทำสารคดี
ต้องมีการยืนยันที่มาของแหล่งข้อมูล และจำเป็นต้องได้รับความยินยอม

หากว่านำข้อมูลท่เป็นประวัติส่วนตัว หรือภาพที่ใครโพสต์เอาไว้ในบอร์ด
ไปใช้ หรือมีการอ้างถึงที่มา ของกระทู้ ให้ไปปรากฎในการแพร่สู่พื้นที่อื่น

ถ้าเจ้าของประวัติ เจ้าของชื่อ เจ้าของภาพ ไปทราบทีหลัง อาจเป็นเรื่องได้
ทางที่ดี ต้องได้รับอนุญาต และดีกว่านั้น ถ้าจะใช้วิธีรวมข้อมูลจากบอร์ด

คุณควรลิสต์รายชื่อ และรายการข้อมูลที่จะนำไปใช้ มาลงให้เจ้าของเขารู้
และอนุญาต หรือไม่อนุญาต อย่างชัดเจน ก่อนที่จะนำไปผสมในสารคดี

นอกซะจากว่า การนำไปใช้นั้น จะเกิดคุณค่าอย่างปราศจากผลเสียหายใด

แต่หากการนำข้อมูลไปใช้ และอ้างแหล่งที่มาจากเว็บบอร์ดนี้ ไปทางลบ
หรือไม่ลบก็เถิด หากว่าเจ้าของประวัติไม่พอใจ อาจนำไปสู่คดีฟ้องร้องได้
ซึ่งนั่นก็จะกลายเป็นเรื่องที่ทำให้เสียชื่อ เสียประโยชน์ของผู้สร้างสารคดี

ดิฉันขอให้คำแนะนำว่า ทำในสิ่งที่ไม่มีผลเป็นภาระในศาลจะง่ายกว่านะคะ

แต่ก็เห็นด้วยค่ะ ว่าบุคคลที่มีประสบการณ์ด้านสังคมและการใช้ชีวิตตปท.
มีหลายกลุ่มในบอร์ดนี้ ทั้งฝ่ายนักเรียน ฝ่ายสร้างครอบครัวดูแลเยาวชน
ฝ่ายทำงาน ในสาขาอาชีพต่างๆกัน และฝ่ายให้ข้อมูลการเดินทางทุกทวีป

ถ้าหากจะนำมาเป็นส่วนประกอบของบทสารคดี เสริมกับภาคบทสัมภาษณ์
ก็ควรต้องให้มีประชามติ หรืออย่างน้อยที่สุด มีลายลักษณ์อนุมัติจากบอร์ด
ป้องกันปัญหาที่จะเกิดภายหลัง ว่าด้วยเรื่องของบุคคล ถ้าคนๆนั้นมีชีวิตอยู่
ทุกคนจะมีสิทธิมนุษยชน อย่างเสมอภาค ไม่มีใครยอมเป็นขี้ปากใครแน่
ยิ่งออกไปในหนังที่เป็นสารคดี ต้องเพิ่มความระมัดระวังไม่ให้ใครเสียหาย

เคยเห็นบางรายการที่เขาสร้างมาแล้ว เกี่ยวกับคนทำงานที่โดนเอาเปรียบ
จากนายจ้าง เขาจะฉายให้เห็นแค่เงาบนกำแพงนะคะ ใช้เทคนิคถ่ายทำค่ะ
และหรือ ใช้บุคคลที่ผ่านช่วงวิกฤตไปแล้ว ไม่ให้มีการพาดพิงองค์กรว่าจ้าง
หรือถ้ามีการพาดพิง ก็ต้องเป็นเรื่องจริงอย่างที่สุด ขึ้นกับวิธีการนำเสนอค่ะ


ยังสนใจประเด็นนี้และรอให้ จขกท. กลับมาสรุปขอบเขตนะคะ


ตอบกลับความเห็นที่ 7
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 8
ขอบคุณความคิดเห็ฯจากทุกๆท่านนะคะ จากที่ศึกษาข้อมูลมาหลายๆทาง และถามผู้มีประสบการณ์ในด้านการทำหนังมาก่อนทุกคนก็ให้ึความคิดเห็นคล้ายๆกันที่ว่าการทำหนังสารคดีต้องใช้เวลาติดตามตัวบุคคลนานถึงนานมาก ซึ่งอาจจะลำบากไม่น้อยสำหรับตัวข้าพเจ้าเอง แต่โดยความคิดเห็นส่วนตัวแล้วความคิดแรกเริ่มคืออยากจะทำหนังเกี่ยวกับชีวิตคนไทยในอเมริกา ซึ่งมีคิดไว้หลายวิธีในการนำเสนอเช่นกันคะ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของหนังสั้น หนังยาว หนังสารคดีแล้วชิทคอม แต่ด้วยส่วนตัวมีความชอบในด้านหนังสารคดีเลยอยากจำนำเสนอออกมาในรูปแบบสารคดี แต่ด้วยเวลาและงบประมาณที่จำกัดทำให้ข้าพเจ้าอาจจะต้งหาวิธีการนำเสนอในรูปแบบอื่นแทน ขอบคุณทุกๆท่านทีช่วยชี้แนะและแสดงความคิดเห็นนะคะ ยินดีรับคำแนะนำทุกอย่างคะ


ตอบกลับความเห็นที่ 8
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 9
ขอบคุณที่กลับมาแจ้งการตัดสินใจใหม่ นะคะ

คือ หาวิธีการนำเสนอในรูปแบบอื่นแทน การทำสารคดีเพราะงบจำกัด

และเวลาน้อย แต่อย่าเพิ่งพับโครงการนะคะ เรียนสำเร็จแล้วยังมีโอกาส




น้องน่ารักมากค่ะ ที่ไม่ทิ้งกระทู้ ว่างๆโพสต์รูปภาพสวยๆในห้องนี้นะคะ




ตอบกลับความเห็นที่ 9
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 10
ขอบคุณคะ ถ้ามีอะไรคืบหน้าจะมาแจ้งให้ทราบนะคะ :)


ตอบกลับความเห็นที่ 10