ติวเตอร์ตู่แบ่งปัน --- ตัวอย่างการคำนวณการกดเงินด้วยบัตร ATM ของไทยที่ประเทศญี่ปุ่นในช่วงเงินเยนขาลง

ตอนนี้เงินเยนวิ่งลงทีละนิด เพื่อนๆ ที่แลกเงินไปล่วงหน้าแล้ว แล้วถึงญีปุ่นแล้ว แต่ค่าเงินเยนลดลงจากที่แลกไปมาก ..... ก็ลองคำนวณดูเองนะครับว่าคุ้มหรือไม่คุ้มในการกด ATM นี้ .....

************ กรณีอยู่ที่ญี่ปุ่นแล้ว **************

ติวเตอร์ได้ขอข้อมูลกับธนาคารไทยพาณิชย์มาให้เพื่อนๆ ทราบเกี่ยวกับการกด ATM (บัตรในกลุ่มที่สามารถกดเงินในต่างประเทศได้ )ที่ญี่ปุ่นมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

มาดูตัวอย่างกันครับ .... สมมติว่าเรากดเงินเยน 50,000 เยน ที่ตู้ 7-11 ในโตเกียว ณ นาทีนั้นอัตราแลกเปลี่ยนคือ .37

1. ดังนั้นเงินในบัญชีเราจะถูกตัดเป็นเงินบาทคือ 50,000 * .37 = 18,500 บาท

2. ค่าบริการ 100 บาท / ครั้ง

3. ค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงินไม่เกินร้อยละ 2.5 .... โดยเก็บเป็นเงินไทย

เราก็จะโดนเก็บดังต่อไปนี้ 18,500 บาท * 2.5 % = 462.50 บาท

4. รวมเงินทั้งหมดที่เราต้องโดนตัดบัญชีเงินฝากในการกด ATM ที่ประเทศญี่ปุ่นในครั้งนี้ก็คือ

18,500 + 100 + 462.50 = 19,062.5 บาท

เรามาคำนวณต่อว่า ถ้าเราแลกเงินไทยไปจากเมืองไทยในเรท .39 ไปแล้ว เกิดเสียดายเรทที่เราแลกไปแพงกว่า ... แล้วอยากไปกด ATM ที่ญี่ปุ่นคุ้มไหม

1. เรานำตัวเลขด้านบนมาเลย .... ไปแลกเงินเยนที่ซุปเปอร์ริช 19,062.5 บาท

2. สมมติว่าอัตราแลกเปลี่ยนที่เราแลกเปลี่ยนไปก่อนหน้านี้อยู่ที่ .39

3. เราจะได้เงินเยนมาคือ 19,062.5 บาท/ .39 = 48,878.2 เยน .....

เรามาดูการคำนวณว่า ถ้าเรากดเงินเยนที่ญี่ปุ่นในเรท .37 รวมอัตราค่าบริการทั้งหมดแล้ว เมื่อเทียบกับเรทที่แลกไปจากเมืองไทยที่เรท .39 ในเงินต้นที่เท่ากันคือ 19,062.5 บาท

- กด ATM ที่ญี่ปุ่นช่วงเงินเยนลง ในเรท .37 + ค่าบริการแล้ว ได้เงิน 50,000 เยน

- แลกเงินก่อนหน้านี้ที่เมืองไทยในเรท .39 ได้เงิน 48,878.2 เยน

แสดงว่ากด ATM ในช่วงเงินเยนตกคุ้มกว่าครับ .... ก็ให้เก็บเงินเยนที่แลกไว้ แล้วกด ATM ที่่ญี่ปุ่นแทน


หมายเหตุ : ไม่ได้หมายความว่ากด ATM แล้วจะคุ้มเสมอไปนะครับ ต้องดูอัตราแลกเปลี่ยนเป็นหลัก แล้วเทียบกับเงินที่เราแลกไปทุกครั้งก่อนตัดสินใจว่าจะกด ATM หรือไม่

ผิดถูกอย่างไร ชี้แนะด้วยนะครับ

ไปเก็งเงินเยนต่อแหละ .... บะบาย


Edit : แก้ไข+เพิ่มเติมข้อมูลว่า *** ข้อมูลที่แนะนำนี้เหมาะกับกรณีที่ถึงญี่ปุ่นแล้ว



ความคิดเห็นที่ 1
แล้วเราจะรู้ได้อย่างว่า Reference rate ที่ Bank ช่วงเวลานั้นใช้เท่าไร แล้วเราจะดูได้จาก Web ไหน


ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
อันนี้แลกเปลี่ยนความเห็นนะคะ
การกด ATM ก็คือจ่ายเงินสดของเรา
งั้นทำไมช่วงใกล้ๆไป ตอนเงินเยนลด ไม่ไปแลกเพิ่ม แล้วเก็บเงินเยนที่แลกแพงไว้
เผื่อเงินเยนขึ้น จะได้ไม่ขาดทุนมาก ไม่ต้องเสียค่าความเสียง 2.5 กับบริการ 100

ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
ปัญหาคือ มันมีเงินแลก แต่ที่จะแลกไม่มีเงินเยน นะสิ


ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
แล้วทำไมเราไม่แลกที่ไทยไปก่อนละครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
เคยแลก 50000 เยน ตอน.39
แลกอีก 50000 เยน ตอน.37

เพราะฉะนั้นเฉลี่ยแล้วแสนเยนเราได้เรต .38


ตอบกลับความเห็นที่ 5
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 6
ขอบคุณที่ให้ข้อมูลนะคะ

แต่เราเคยกดครั้งเดียว ตอนไปเรียนที่นั่น นานมาแล้ว มันมีความกังวลไปหมดเลยค่ะ ถึงจะเป็นเงินของพ่อเราเองต้องหวั่นใจว่าอัตราที่ธนาคารเรียกเก็บจะเท่าไรกันแน่ เพราะมันไม่ใช่แค่อัตราแลกเปลี่ยนแล้วจบ มันมีอื่นๆตามมาที่เราไม่สามารถรู้ได้ก่อนกด ไม่ก็ต้องใช้เวลาหาข้อมูล ณ เวลานั้น

สรุปว่า ไม่เคยคิดจะกดเงินในตปท.เพราะไม่ชอบเสี่ยงน่ะค่ะ ชอบแลกเงินเยนเก็บๆไว้เวลาที่เรทมันคุ้มพอที่เราจะรับได้ เพราะนานๆไปที ตอนนี้ก็ยังมีเยนที่แลกไว้ตอนเรท 35 บาทอยู่เลย


ตอบกลับความเห็นที่ 6
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 7
ใครแลกตอนนี้ก็ยิ้มเลย
เยนกำลังลง


ตอบกลับความเห็นที่ 7
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 8
ไปเพิ่งกลับมา ใช้บัตรเครดิตคุ้มมาก เพราะราคามันลงทุกวัน และไม่เสียค่าธรรมเนียม แถม JVC KTC มีคะแนนพิเศษอีกต่างหาก


ตอบกลับความเห็นที่ 8
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 9
วันนี้ 0.3740
โหดมั้ก


ตอบกลับความเห็นที่ 9