scuba diving กับ โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน

อยากสอบถามว่าคนเป็นโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน สามารถที่จะ scuba diving ได้มั๊ยครับ

จากรายงานของต่างประเทศที่มีคนเคยถามเกี่ยวกับเรื่องนี้ครับ เค้าบอกว่าต้องหลีกเลี่ยงยกของหนัก กับเคลื่อนไหวในท่าที่ฝืนจนเกินไป และระวังกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดในน้ำอ่ะครับ

อยากสอบถามผู้รู้ และมีเจอประสบการณ์ทางด้านนี้ครับ

ขอบคุณครับ

ความคิดเห็นที่ 1
อันนี้เป็นลิงค์รายงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ครับ
http://home.vicnet.net.au/~dandoc/pdfdoc/questions/questdisk.pdf


ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
ดำน้ำ..ไม่ต้องยกของหนักก็ได้นะผมว่า..

เวลาลงน้ำ.. ก็ให้จนท.บนเรือเค้าโยนชุดลงน้ำ..ไปแต่งตัวในน้ำ
พอเวลาขึ้นจากน้ำ..ก็ถอดชุดก่อน แล้วให้คนยกขึ้นไป.. ผมว่าไม่มีปัญหา

เมื่อก่อนผมผ่าตัดลำไส้..หมอก็ห้ามยกของหนัก.. สั่งนักสั่งหนาเลยว่า..ต้องให้ 45 วันก่อนนะ รอให้แผลหายสนิทก่อน ค่อยลงน้ำ..
วันที่ 46 ผมไปดำน้ำเลย.. 555
ให้เพื่อนโยนชุดลงน้ำ..ตอนลง
แล้วก็ให้เพื่อนยกชุดขึ้น..ตอนขึ้นจากน้ำ
ไม่มีปัญหาครับ..


ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
tank มันหนักบนบก ในน้ำไม่หนักหรอก ลองปรึกษาหมอดูก่อนเรียนก็ได้ครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
ใส่-ถอดชุดในน้ำได้นะ
ไม่ต้องแบกน้ำหนักแทงค์

อีกเรื่องหนึ่ง คือ ไม่อยากให้ใช้เข็มขัดตะกั่ว
มันจะถ่วงน้ำหนักที่กระดูกสันหลังส่วนเอว และค้างอยู่ในตำแหน่งเดียวเป็นชั่วโมง
มันทำให้ปวดได้นิดๆ
(ไม่รู้ว่า คนอื่นรู้สึกเหมือนเราหรือเปล่านะ)
ให้ใช้กระเป๋าใส่น้ำหนักที่ติดอยู่กับ bc


ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
มันอยู่ที่ความพร้อมของร่างกายครับ ไม่ได้อยู่ที่โรคหมอนรองกระดูกทับเส้น
ถ้าหมอนฯมันเข้าที่เรียบร้อยแล้วก็ถือว่าปกติแล้ว คราวนี้อยู่ที่ว่ากล้ามเนื้อรอบเอวนั้นแข็งแรงพอที่จะป้องกันกระดูกเคลื่อนอีกหรือเปล่า ถ้าแข็งแรงพอกับงานที่ทำก็ไม่มีปัญหาครับ
ฉะนั้นเพื่อความมั่นใจ เราต้องออกกำลังกล้ามเนื้อให้มากขึ้น มันจะรับงานหนักได้มากขึ้น
สิ่งที่หมอห้ามยกของหนักหรืออะไรต่างๆนั้น ควรเป็นระยะแรกที่มีอาการมาก ไม่ใช่ห้ามตลอดชีวิต คนไข้หลายคนนึกว่าห้ามตลอดไป ซึ่งไม่จริง
โรคนี้ไม่ได้ร้ายแรงมากและไม่ได้ติดตัวเราไปตลอดชีวิต อย่าให้มันมาเป็นจุดอ่อนของชีวิต
ผมว่าถ้าอยากดำน้ำก็ดำได้ แต่ต้องเตรียมกล้ามเนื้อให้ดีก่อนครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 5
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 6
ขอบคุณมากครับ ตอนนี้ก้อว่ายน้ำทุกวันเพื่อช่วยสร้างกล้ามเนื้อหลัง ให้ช่วยพยุงและรับน้ำหนักร่างกายครับ กีฬาที่ชอบตอนนี้ก้องดเล่นไปโดยปริยาย ตอนนี้สนใจเรื่องดำน้ำเป็นพิเศษครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 6
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 7
เห็นด้วยกับคุณนพครับ ผมก็เป็นคนหนึ่งที่เคยมีอาการหมอนรองกระดูกเคลื่อน อาการที่เกิดขึ้นคือปวดแปล๊บที่หลัง จนถึงขึ้นยืนตัวตรงไม่ได้ ในเวลานั้นก็ต้องอาศัยยา 2 ตัวคือ ไดโคฟีแน็ค กับ นิจิซิส(ยาคลายกล้ามเนื้อ) ซึ่งก็ต้องทานหลังอาหารทันที

ทางที่ดีคือออกกำลังกายกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรงก่อนแล้วค่อยไปดำน้ำจะดีกว่า เพราะในการดำน้ำ ร่างกายเราจะมีการใช้แรงกล้ามเนื้อในลักษณะที่ไม่ปกติในบางเวลา หากเกิดขณะที่เราดำน้ำ หรือ ในขณะที่ต้องขึ้นเรือแล้วคลื่นแรง ก็ไม่คุ้มเสี่ยงครับ เอาใจสู้ครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 7
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 8
ขอบคุณมากครับ

ตอนนี้ผมไม่ได้ทานยาอะไรครับ มีก็วิตามิน b1612 ครับ บำรุงปลายประสาทครับ เพราะโรคนี้หมอจะรักษาตามอาการ เป็นอะไรก็รักษาตรงนั้น อาการของผมจะเป็นเฉพาะตอนเดินกับยืนนานๆ แล้วจะชากับเจ็บตรงสะโพกเล็กน้อยครับ หมอก็ให้ว่ายน้ำเพื่อสร้างกล้ามเนื้อหลังครับ หมอก็บอกไม่ได้หรอกครับว่าอาการจะหายเมื่อไหร่ เมื่อถึงจุดนึงส่วนที่ปลิ้นออกมาที่เป็นเยลลี่มันมีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่มาก เมื่อน้ำในตัวเยลลี่มันถูกดูดซึมไป ตัวเยลลี่มันจะฝ่อลง อาการกดทับก็จะดีขึ้น และอีกส่วนนึงคือเมื่อเส้นประสาทมันปรับตัวกับสภาพของมันได้อาการก็จะดีขึ้นครับ หมอนรองกระดูกส่วนนอกที่ฉีกขาดแล้วทำให้ให้เยลลี่ไหลออกมานั้น หมอบอกว่ามันจะสร้างผังผืดขึ้นมาก็จะมีลักษณะเหมือนแผลเป็นครับ ความแข็งแรงก็สู้ของปกติไม่ได้อยู่แล้วครับ

ผมก็ถามหมอว่าดำน้ำได้มั๊ย เค้าก็บอกว่าน่าจะได้นะ เพราะมันยังต้องใช้เข็มขัดตะกั่วถ่วงลงไป แต่ไม่ว่ายังไงหมอเค้าก็ไม่เคยดำน้ำนี่ครับ

มะวานไปถามสถาบันที่สอนว่ายน้ำมา เค้าบอกว่าต้องขอใบรับรองแพทย์ และให้ดีต้องเป็นหมอที่ดำน้ำอยู่ด้วย แล้วกระผมจะหาจากไหนเนี่ยครับ ที่เป้นหมอนกระดูกและดำน้ำด้วยเนี่ย


ตอบกลับความเห็นที่ 8
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 9
เพราะตอนนี้ผมก็ว่ายน้ำอยู่วันละ 1500 เมตร ทุกวันอ่ะครับ ช่วงเมื่อหลายเดือนก่อนว่ายเสร็จจะมีอาการเจ็บตรงสะโพกครับ แต่ตอนนี้ไม่เจ็บแล้วครับ สบายๆ


ตอบกลับความเห็นที่ 9
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 10
การว่ายน้ำให้ผลเป็นกล้ามเนื้ออึดทนทานมากกว่าความแข็งแรงครับ

ถ้าอยากให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ควรมีแรงต้านกับกล้ามเนื้อนั้นๆ ผมแนะนำให้ออกกำลังกล้ามเนื้อลำตัวทั้งหมด ทั้งกล้ามเนื้อหลัง ท้อง และลำตัว กล้ามเนื้อชุดนี้จะคุ้มกันปกป้องกระดูกสันหลังส่วนเอวนี้ให้ดีกว่าว่ายน้ำมากมายนัก

"เมื่อน้ำในตัวเยลลี่มันถูกดูดซึมไป ตัวเยลลี่มันจะฝ่อลง อาการกดทับก็จะดีขึ้น" ถ้าให้เยลมันฝ่อก็แย่สิ ต้องให้หมอนรองนี้มันเคลื่อนกลับเข้าที่ ไม่ใช่ปล่อยให้เยลฝ่อ ถึงมันฝ่อจริงจะทำให้ช่องว่างข้างกระดูกสันหลังแคบลง ยิ่งกดทับเส้นประสาทมากขึ้น ไม่ใช่ดีขึ้นครับ

"เมื่อเส้นประสาทมันปรับตัวกับสภาพของมันได้อาการก็จะดีขึ้น" อันนี้ก็ไม่จริง ตราบใดที่มันโดนทับ มันจะเสื่อมสภาพไปเรื่อยๆ ไม่ใช่ปรับตัว มันอาจจะเสื่อมมากจนเสียหน้าที่รับรู้การปวดไป เลยนึกว่าดีขึ้น

การรักษาอาการเท่านั้นไม่ใช่วิธีรักษาที่ถูกต้อง ต้องรักษาที่ต้นเหตุครับ
ตอนนี้ต้นเหตุคือ หมอนรองกระดูกเคลื่อนออกไป ต้องทำให้มันกลับเข้าที่เดิม
ต้นเหตุที่ใหญ่กว่านั้นคือ การมีแรงกระทำต่อกระดูกสันหลังมากเกินไปอย่างกะทันหัน ทำให้กระดูกเคลื่อนออกมาใหม่ ต้องระมัดระวัง ต้องใช้ท่าทางให้ถูกต้อง

อีกอย่าง คุณไม่ได้เป็นที่หลังเท่านั้น แต่เป็นทั้งตัวเลยล่ะ (คนส่วนใหญ่ไม่เชื่ออย่างนั้น) จะต้องมีการบริหารร่างกายให้ยืดหยุ่นทั้งตัวด้วย ไม่ใช่เฉพาะหลังเท่านั้นนะครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 10