Participant Information Sheet มีใครเคยทำมั้ยคะ + เข้ากับซุปฯไม่ได้ค่ะ โปรดแนะนำ

สวัสดีค่ะ เราเรียนป.เอกอยู่อังกฤษนะคะตอนนี้ สาย linguistics, sociolinguistics ค่ะ

อยากรบกวนถามว่าเพื่อนๆ พี่ๆ ท่านใดที่เรียนป.โท ป.เอกอยู่ มีใครเคยได้ทำ participant information sheet ที่คู่กับ consent form สำหรับให้คนเซ็นยินยอมช่วยเหลืองานวิจัยบ้างไหมคะ เราอยากถามในส่วนที่เป็น risk and benefits ว่าเขียนอะไรไปกันบ้าง เราส่งไปให้อ.ที่ปรึกษาหลายรอบมากแล้ว เค้าก็บอกว่าไม่ดีพอ ไม่กระจ่างพอ ต้องให้ชัดกว่านี้ว่าคนเค้ายอมให้สัมภาษณ์แล้วจะได้ประโยชน์อะไรจากงานของเธอ

ประเด็นคือ เราศึกษาเรื่องการพูดคุยกันของคนไทยในอังกฤษ โดยจะขออัดเสียงสนทนาแล้วเอาไปวิเคราะห์ ผลที่ได้จากวิจัยก็คือสรุปลักษณะการพูดคุยของคน ซึ่งมันไม่มีประโยชน์โดยตรงต่อคนที่ให้เราอัดเสียงและสัมภาษณ์ นอกจากในอนาคตเราจะเอาข้อมูลนี้ไปใช้ในห้องเรียนหรืออบรม มันก็เป็นประโยชน์ต่อคนอื่นที่ไม่ใช่คนให้ข้อมูล เราบอกเค้าไปตรงๆแล้วว่า เอาจริงๆประโยชน์มันไม่มีมากหรอก นอกจากได้เจอกันคุยกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เค้าก็บอกว่ามันไม่ convincing พอ ถ้าไม่มีประโยชน์แล้วคนเค้าจะมาช่วยเธอทำไม เราก็ถามกลับไปว่า แล้วทำไมเค้าต้องได้ประโยชน์ถึงจะยอมช่วย ที่เค้ามาช่วยก็เพราะเป็นเพื่อนกัน ไม่ใช่เพราะจะได้ประโยชน์อย่างเดียว เค้าก็ไม่ตอบแต่พูดย้ำอยู่นั่นว่าต้องมีมากกว่านี้ คือของมันไม่มีอ.ที่ปรึกษาก็จะเอาให้มันมี ก็ไม่รู้จะทำไงอะค่ะ เหมือนสื่อกันไม่เข้าใจ

ตอนนี้สถานการณ์ตึงเครียด เราเป็นคนทำงานช้า ค่อยๆทำแล้วก็ค่อยๆเขียน มีข้อมูลใหม่หรืออะไรก็ค่อยมาแก้เป็นตอนๆไป แต่อ.ที่ปรึกษาคนนี้ทำงานเหมือนคนบ้าพลัง เป็น extremist เป็น perfectionist ไอ้กดดันอะเราทนได้ ไม่ใช่คนไม่สู้หรือเจอคนโหดเข้าหน่อยก็ถอย แต่ที่ทนไม่ได้คือถามไปแล้วไม่ตอบ เอาแต่บอกว่าให้แก้ๆอย่างเดียว มีใครเคยเจอที่ปรึกษาแนวนี้มั้ยคะ แล้วทำยังไงกันบ้าง ไม่ไหวแล้วปวดหัวสุดๆ เรียนเอกมาปีครึ่งยังไม่เคยเครียดเท่าเจอที่ปรึกษาคนนี้ได้สองสัปดาห์เลยค่ะ

ความคิดเห็นที่ 1
กรณีประเทศไทย:
เพียงอธิบายประโยชน์จากการการวิจัย
ให้แก่หน่วยวิเคราะห์ หรือ Unit of Analysis ไม่พอ

ยุคหนึ่งที่สุพรรณบุรี เมื่อประมาณสี่สิบกว่าปีแล้ว
น่าจะเป็นสมัยที่ World Bank สนับสนุนให้ก่อตั้งศูนย์วิจัยข้าวที่นั้น

พื้นที่ละแวกนั้นฮ๊อทสำหรับนักวิจัยจากกรุงเทพมาก
ชาวนาถูกสัมภาษณ์โดยนักวิจัยกลุ่มต่างๆ
ที่ผลัดเปลี่ยนเวียนกันมาตลอดทั้งปี ติดต่อกันหลายปี
สรุป ชาวนาในพื้นที่ เสียเวลา น่าเบื่อ เซ็งซ้ำซาก และรำคาญ

ชาวนาแก้ปัญหาโดย เอาไม้ไผ่ปักไว้หน้าบ้าน ใครมีแบบสอบถามให้เอามาแขวนไว้
รุ่งเช้า เจ้าหน้าที่ค่อยมาเก็บแบบสอบถาม ที่ชาวนากรอกไว้ให้เรียบร้อยแล้วและแขวนไว้ที่เดิม

แต่ต่อมานักวิจัยหรือจ้าหน้าที่ เอาแบบสอบถามมาแขวนไว้ อย่างเดียวไม่พอ
ต้องมีแบงค์ยี่สิบแนบมาด้วย จึงจะได้แบบสอบถามคืน
อย่างนี้ จะเอามาแขวนไว้วันละกี่ชุดเขาก็รับ…….เข้าใจได้
สรุป ไม่ได้ชี้แนะว่า คุณต้องจ่ายเงิน จะทำอย่างไร คิดเองครับ

กรณีคุณยิ้มหวานของพิทลอร์ด:
……..ในอนาคตเราจะเอาข้อมูลนี้ ไปใช้ในห้องเรียนหรืออบรม มันก็เป็นประโยชน์ต่อคนอื่นที่ไม่ใช่คนให้ข้อมูล........

แนวทางในการเขียน Participant Information Sheet
มีให้อย่างชัดเจนอยู่แล้วและหาดูเป็นตัวอย่างไม่ยาก

คุณน่าจะเขียนข้างบน…...”ใช้ในห้องเรียนหรืออบรม”….
ให้เป็นรูปธรรมที่สามารถจับต้องได้มากกว่านี้
และต้องตอบคำถามนี้ให้ได้
คือระบุ ให้ชัดเจนว่า มีประโยชน์ อะไร กับใครที่ไหน จำนวนเท่าไร ระดับไหน เมื่อไร อย่างไร

คุณคิดว่า เข้ากับอาจารย์ที่ปรึกษาไม่ได้ ผมว่าอันตรายยังน้อยกว่า
การที่อาจารย์ที่ปรึกษาคิดว่า ทำงาน หรือเข้ากับคุณไม่ได้นะครับ

ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
Participant information sheet ของเราก็ไม่ได้เขียนประโยชน์ต่อตัวผู้ให้สัมภาษณ์นะคะ แต่เขียนประโยชน์ต่อเรื่องที่เราจะศึกษา เราว่าคุณก็ไม่จำเป็นต้องเขียนถึงประโยชน์ต่อตัวคนที่คุณจะไปอัดเสียงเขา แต่เขียนว่าแล้วการศึกษาแบบนี้มันจะมีประโยชน์อะไรต่องานวิจัยด้านนี้ โดยเขียนเป็นภาษาง่ายๆ ที่ทำให้คนที่จะมาเข้าร่วมการวิจัยรู้สึกว่าสิ่งที่เขาจะช่วยกันจะก่อประโยชน์ต่อสังคมได้บ้าง

ส่วนเรื่องอาจารย์ที่ปรึกษานั้นไม่มีคำแนะนำ (ของเราได้อาจารย์ที่ปรึกษาดีมากกกก) เพิ่งทำงานด้วยกันสองสัปดาห์ ลองเปิดใจพยายามปรับตัวดูนะคะ อาจารย์เราก็ไม่ชอบบอกว่าต้องทำอะไรยังไง (ยกเว้นบางครั้งจริงๆ) เพราะอยากให้คิดเองมากกว่า ถ้ามี comment อะไรก็จะเป็นแบบกว้างๆ หรือเป็นแบบตั้งคำถามกลับมาน่ะค่ะ แล้วถ้าเขาจะมาบอกเราว่าต้องทำอะไรในรายละเอียดบ้างเราก็คงไม่ชอบเหมือนกัน


ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
ปกติมหาวิทยาลัยจะมีตัวอย่างนะคะ อย่างเราเรียนที่ King's College London เค้าก็มีตัวอย่างให้

เราก็ใช้ทั้งสองฟอร์มนี้เหมือนกัน เรียนสาขาเดียวกันเลยค่ะ คิดว่าของคุณคงเป็นแบบ Low Risk เหมือนกัน แต่ชักไม่แน่ใจแล้วเพราะคุณเรียนป.เอก แฮะๆๆ

อ.ที่ปรึกษาแก้ให้สองรอบก็ผ่านค่ะ เพราะยาวแค่หน้าครึ่งเอง ส่วน consent form มหาวิทยาลัยควรจะมีให้นะคะ

ยังไงลองไปดูตย.ของมหาวิทยาลัยที่เรียนอยู่ก็ได้ค่ะ

http://www.kcl.ac.uk/innovation/research/support/ethics/about/index.aspx

ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
ขอบคุณสำหรับทุกความเห็นค่ะ

จะพยายามนำไปปรับแก้ให้ได้มากขึ้นค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
Dear K.ยิ้มหวานของพิทลอร์ด

I have done something similar, though in different field.

For the risk and benefit, you must consider what risk might occur to the participants if they were to participate in your study. All possible rink even if it has low possibility. In term of benefit, you need to think what are the benefits of conducting your study. It doesn't have to be directly to the participant, but to the academic, practicality, theory, world, etc. I am sure you have very good reasons why you want to do this study so you need to really emphasises them ka.

About the problem you have with your supervisor, I can tell you a majority of PhD students do have some kind of problems with their supervisors na ka. So don't worry. I think your supervisor is good and good research standard will help you in your future. So be patient and learn from him. PhD level is different from others, no one will tell you what to do so you need to try yourself and I think if you show your supervisor you try your best I think he would help you na ka. Su su!

Wish you all the best


ตอบกลับความเห็นที่ 5