รื้อถอนโฮมสเตย์เกาะยอ จ.สงขลา

เจ้าหน้าที่หารืออัยการเตรียมรื้อถอนโฮมสเตย์เกาะยอ 20 หลัง เผยศาลมีคำสั่งให้ผู้กระทำผิดและบริวารออกจากพื้นที่ตั้งแต่ 22 ส.ค. อ้างศาลไม่ได้สั่งให้รื้อถอนแต่สั่งให้ออกจากพื้นที่ ตอนนี้ก็เดินออกมาแล้ว จับตามสร้างใหม่เพิ่มอีก 30 หลัง ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาทั้งคณะกรรมการฯจัดระเบียบใหม่ทั้งเกาะ หวั่นกระทบจุดขายด้านการท่องเที่ยว-อาชีพ

นางจินตวดี ทิพยเมธากุล ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสงขลา เปิดเผย "ผู้สื่อข่าว" ว่า เร็วๆนี้จะมีการบังคับใช้กฎหมายรื้อสิ่งปลูกสร้างในทะเล (โฮมสเตย์)จำนวน 20 หลัง เนื่องจากว่ากระบวนการทางกฎหมายถึงที่สุดแล้ว โดยศาลมีคำสั่งว่าให้ผู้กระทำผิดพร้อมบริวารออกจากพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคมที่ผ่านมา และจนถึงวันนี้ทางผู้กระทำผิดยังไม่มีการออกจากพื้นที่

"ตอนนี้เรากำลังหารือกับทางท่านอัยการว่าจะทำอย่างไร จะทำการรื้อถอนได้อย่างไร เพราะถือว่าทุกอย่างสิ้นสุดแล้ว"

ล่าสุดมีการก่อสร้างอีกจำนวน 30 หลัง เนื่องจากว่าเขาเห็นว่าผู้กระทำเดิมที่ศาลมีคำสั่งให้ออกจากพื้นที่ๆมีการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างรุกน่านน้ำยังไม่ยอมออกจากพื้นที่ ทำให้รายใหม่ตัดสินใจก่อสร้างเพิ่ม ฉะนั้นเราก็จะต้องจัดการกับ 20 หลังที่ศาลสั่งให้ออกจากำพื้นที่ตามกฎหมาย เพื่อให้เห็นว่าคนที่สร้างใหม่นั้นมีความผิดและคนที่คิดกำลังจะสร้างจะได้ล้มเลิกความตั้งใจ เพราะถือว่าผิดกฎหมาย

"เราจะทำให้เห็นว่าเราจะรื้อจริง แต่เขาเล่นวิธีการว่า ศาลไม่ได้สั่งเข้ารื้อถอน เขาก็ไม่รื้อถอน เขาอ้างว่าศาลสั่งให้ออกจากพื้นที่ ซึ่งเขาเดินออกจากพื้นที่ไปแล้ว เล่นการตีความแบบศรีธนชัย ออกไปแต่ตัว แต่ไม่ได้รื้อของออกไป เพราะฉะนั้นเราก็ต้องจัดการตามกฎหมาย เพราะกฎหมายมีอยู่แล้ว"

สำหรับการดำเนินการนั้นสามารถดำเนินการได้เลย เนื่องจากท่านผู้ว่าราชการจังหวัดมีการตั้งคณะกรรมการแล้ว โดยคณะกรรมการชุดนี้จะเข้าไปดูแลและจัดระเบียบใหม่เกาะยอทั้งหมด ทุกมิติ ทั้งการก่อสร้างรุกล้ำในทะเล การปล่อยของเสียลงทะเล ทั้งจากร้านอาหาร และที่พัก เนื่องจากที่ผ่านมาพบว่าไม่ได้มีการทำบ่อดักเก็บไขมันหรือเศษอาหาร แต่ปล่อยลงทิ้งทะเล หรือแม้แต่การเลี้ยงปลาในกระชัง


ที่ผ่านมาเรามักได้ยินข่าวอยู่เสมอว่าปลาในกระชังตายโดยไม่ทราบสาเหตุ แต่ความจริงที่ปลาในกระชังตาย เกิดจากน้ำเน่าเสียจากการปล่อยของเสียลงทะเลโดยไม่มีการบำบัด และเกิดขึ้นของกระชังเพิ่มมากขึ้น ทำให้อ๊อกซิเจนในน้ำลดลง มีน้อย ทำให้เกิดผลตามมาทั้งน้ำเน่าเสีย ซึ่งหากไม่มีการจัดระเบียบอนาคตเกาะยอที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวก็จะไม่สามารถเป็นได้

"อยากให้มองอนาคตไกล ว่าทำอย่างไรที่จะให้เกาะยอ มีนักท่องเที่ยวมาเที่ยว เพราะหากนักท่องเที่ยวเขามาเห็นสภาพน้ำเน่าเขาก็คงไม่มา และที่สำคัญผลกระทบต่ออาชีพการเลี้ยงปลาของคนเกาะยอเองก็จะมีปัญหาหากน้ำเน่าเสียก็จะเลี้ยงไม่ได้ มันมีผลกระทบกันเป็นลูกโซ่ เชื่อมโยงกันหมด" ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสงลา กล่าว

ความคิดเห็นที่ 1
วันนี้ไปสัมภาษณ์กรมเจ้าท่าเพื่อประกอบการทำวิจัย บอกว่าไม่ทราบจะเอางบประมาณจากส่วนไหนมาทำการรื้อถอน และหลังจากมีคำสั่งศาลให้รื้อถอน 20 หลัง ก็ปลูกสร้างเพิ่มอีก 30 หลัง นี่คือประเทศไทย


ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
ในรูปนี่ใช่เหรอครับ สวยมาก แต่ไอ้พวกนายทุนบุกรุกนี่มันน่ามีติดคุกมั่งนะ เห็นแก่ได้ ไม่สนใจอะไรเลย


ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
ในรูปไม่ใช่ครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
รูปสวยเกินของจริงไปหลายเท่าครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
จังหวัดอื่น โดยเฉพาะวังน้ำเขียว ดูที่สงขลาเป็นตัวอย่างนะครับ
พอท่านอธิบดีดำรงค์เกษียณไปแล้ว ทุกอย่างก็ดูเหมือนกลับเข้าสู่วังวนเดิมๆ
รู้สึกวังเวงใจจริงๆ อนาคตป่าไม้เมืองไทย


ตอบกลับความเห็นที่ 5