เมืองนอกเค้ามีมูลนิธิที่เป็นแบบปอเต็กตึ้ง,ร่วมกตัญญูหรือเเบบอปพร.ไหมคะ

เมืองไทยมีมูลนิธิต่างๆที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามท้องถนนหรืออุบัติภัยต่างๆ มีอปพร. กู้ภัย ที่มีอาสาสมัครมาช่วย ทำงานแบบมูลนิธิเอกชนเลย
แล้วเมืองนอกมีมูลนิธิที่เป็นแบบนี้บ้างไหมคะ

ความคิดเห็นที่ 1
ในเมกา ที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามท้องถนน ไม่มี
แต่ อุบัติภัยต่างๆ มี Red Cross


ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
ที่อังกฤษ คิดว่าไม่มีนะ
เพราะถ้าเป็นอุบัติเหตุ หรือไม่สบาย จะมีรถพยาบาลมารับ
ส่วนถ้าเป็นไฟไหม้ หรือเรื่องอื่นๆ ก็โทรเรียกรถดับเพลิง


ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
ที่สวิสมีตำรวจมาก่อนเบอร์เดียวทั่วสวิส
พร้อมกับหมอกู้ชีพ
บาดเจ็บไม่หนักมีหมอกับรถหวอมาประฐมพยาบาลขั้นต้น
ถ้าร้ายแรงจะต้องเอาฮอมารับไปโรงพยาบาลใหญ่ๆ
เช่นเกิดกับเด็กจะนำไปโรงพยาบาลเด็ก
ผู้ใหญ่จะนำไปโรงพยาบาลใหญ่ๆที่ใกล้ที่สุด

ถ้าตาย
จะมีหน่วยงานมานำศพไปที่นิติเวช
เพื่อตรวจสอบด้วยว่าตายเพราะอะไร


ไม่มีปอเต๊กตึ้ง

หัวใจวายล้มลงบนถนนจะมีหมอกู้ชีพมาไม่เกิน10นาทีถ้าอยู่ในเมือง


ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
ถ้าที่ NY มักเห็นแต่ FDNY ก่อน เคยโทรแจ้ง 911 หลายครั้ง เพราะลิฟท์ที่พักจะค้างและส่วนใหญ่จะเป็นคนแก่คนจีนและคนที่พูดสเปนนิช พวกเขานี่ถือว่ามาเร็วมากทั้งที่ใช้รถดับเพลิงขนาดใหญ่ และน่าจะมีทีมที่เรียกว่า ทีมกู้ชีวิตฉุกเฉินจะใช้รถกิ่งรถพยาบาล ที่เน้นช่วยชีวิตผู้ป่วยครับ
ตอนอยู่เมืองไทยเคยติดต่อกับพวกมูลนิธิต่างๆพวกนี้บ้างเพราะทำงานกับบริษัทที่เกี่ยวกับอุปกรณ์การแพทย์และรถพยายาบาล เรียกว่าหากเป็นสมัยก่อน รถพยาบาลแทบทุกคันจะซื้อจากบริษัทที่ผมเคยอยู่นี้ครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
ออสเตรเลียไม่มีครับ มีแต่หน่วยงานรัฐบาลรถพยาบาลฉุกเฉิน


ตอบกลับความเห็นที่ 5
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 6
ในยุโรปมีครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่พูดภาษาเยอรมันเป็นหลัก 3 แห่ง คือ เยอรมนี ออสเตรีย และ South Tirol (อิตาลี) องค์กรช่วยเหลืออาสาสมัครนี้มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อชีวิตประชาชน การจัดการระบบขององค์กรจึงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพสูง โดยบังเอิญที่ผมอยู่ในแวดวงของเจ้าหน้าที่เหล่านี้ แล้วจะมาขยายความต่อพร้อมรูปประกอบเมื่อมีเวลาครับ

ตอบกลับความเห็นที่ 6
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 7
อเมริกาในแถว east coast ใช้ volunteer มากมายเป็นปกติครับ volunteer พวกนี้รัฐซื้อรถให้ ซื้ออุปกรณ์ให้ แต่ไม่มีค่าแรง ของไทยอาสาสมัครจ่ายเองเป็นส่วนใหญ่

อังกฤษมี BASICS doctor ครับ เป็นแพทย์ที่เป็นอาสาสมัคร อาจว่าง นอกเวลางาน หรือเกษียณ BASICS doctor จะไปที่เกิดเหตุก่อนหรือพร้อมๆรถพยาบาลไปถึง

อปพร. และอาสาสมัครกู้ภัยไทย ปัจจุบันก็ทำงานร่วมกับหน่วยงานรัฐ คือ ศูนย์ 1669 ของแต่ละจังหวัด มีเหตุอะไรที่ไหน หัวใจวาย อุบัติเหตุ ศูนย์ 1669 รับแจ้งก็จะให้อาสาสมัครไปที่เกิดเหตุ ถ้ารับแจ้งมาอาการหนัก ก็จะให้ไปช่วยรอก่อนที่รถพยาบาลจาก รพ.จะออกเดินทางไปถึง ส่วนถ้าอาสาสมัครรู้ข่าวก่อน ก็มักจะแจ้งศูนย์ 1669 ของรัฐเช่นเดียวกันครับ ไม่เหมือนสมัยก่อน แต่ในกทม.มีปัญหานิดหน่อย เพราะหน่วยงานท้องถิ่น (กทม.) ในเรื่องนี้ยังมือไม่ถึง วุ่นวายน่าดู


ตอบกลับความเห็นที่ 7
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 8
กลับมาต่อครับ หน่วยกู้ภัยอาสาสมัครที่ก่อตั้งขึ้นในประเทศยุโรปที่ผมเอ่ยชื่อไว้ก่อนหน้านี้นั้นก็คือ fire brigade หรือ fire and rescue service เรียกชื่อเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในเยอรมนีคือ Die Feuerwehr (ฟอยเออแวร์) แปลตรงตัวคือ หน่วยดับเพลิงตามจุดประสงค์ดั้งเดิมที่มีมาแต่สมัยยุคกลาง ซึ่งสมัยนั้นบ้านเรือนในยุโรปก่อสร้างด้วยไม้ซุงและหลังคามุงแฝก จึงเกิดไฟไหม้บ่อยมากๆ จากการก่อไฟเพื่อใช้ในครัวเรือนเพื่อทำครัว ความสว่าง และ ความอบอุ่นในหน้าหนาว และแม้แต่จากสาเหตุฟ้าผ่าในหน้าพายุฝนฟ้าคะนอง

เมื่อสมัยก่อนที่ยังไม่มีการก่อตั้งหน่วยดับเพลิงอย่างเป็นทางการ การดับเพลิงจะเป็นการช่วยเหลือจากเพื่อนบ้านหรือชาวหมู่บ้านเดียวกัน จนท้ายที่สุดเมื่อเกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ที่สุดขึ้นใน Hamburg ในปีคศ 1842 นานติดต่อกันถึง 5 วัน 5 คืน หลังจากนั้นจึงเกิดดำริก่อตั้งหน่วยดับเพลิงอาสาสมัครขึ้น เรียกว่า Die Freiwilligen Feuerwehr หน่วยงานนี้มีกฏหมายรองรับและอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของ District Municipalities หรือ City หรือที่บ้านเราเรียกว่าเขตหรืออำเภอซึ่งจะเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องงบประมาณค่าใช้จ่ายทั้งหมดได้แก่เครื่องมืออุปกรณ์ ยานพาหนะและการเรียนรู้ฝึกอบรม

ค่าใช้จ่ายที่มากและสำคัญที่สุดที่เขตไม่ต้องจ่ายคือ ค่าจ้างพนักงานดับเพลิง เนื่องจากเจ้าหน้าที่ดับเพลิงทั้งหมดจะเป็นอาสาสมัครที่ทำงานให้ฟรีโดยไม่ได้รับค่าจ้างแม้แต่เซนต์เดียว

ในขณะเดียวกันรัฐก็มีหน่วยงานดับเพลิงที่มีเจ้าหน้าที่ดับเพลิงอาชีพเต็มเวลาอยู่ด้วย แต่จะมีแต่ในเมืองใหญ่ๆ เท่านั้นและมีจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับหน่วยดับเพลิงและเจ้าหน้าที่อาสาสมัครที่รับผิดชอบครอบคลุมทุกตารางพื้นที่ทั่วประเทศโดยไม่มีข้อยกเว้น นั่นคือระบบเดียวกันทั่วประเทศต่างกันที่เขตที่รับผิดชอบเท่านั้น


ตอบกลับความเห็นที่ 8
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 9
ตั้งแต่การก่อตั้งหน่วยงานนี้มากว่า 150 ปี ความรับผิดชอบในเรื่องหลักซึ่งเริ่มต้นมาแต่เดิมคือ การดับเพลิง สถานะการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมายในปัจจุบัน เนื่องจากเหตุไฟไหม้ได้ลดลงไปอย่างมากมายด้วยระเบียบมาตรการอุปกรณ์ป้องกันที่ทันสมัยในอาคารบ้านเรือน ความรับผิดชอบของอาสาสมัครดับเพลิงจึงถูกเพิ่มขึ้นและปรับเปลี่ยนตามสถานะการณ์เหตุด่วนประจำวันไปด้วย

ปัจจุบันนี้หน่วยอาสาสมัครรับผิดชอบหลักๆ ด้านการกู้ภัยอุบัติเหตุการจารจรบนท้องถนนทุกชนิด ช่วยเหลือโยกย้ายคนเจ็บหรือผู้เสียชีวิต รวมทั้งการจำกัดสารเคมีที่เป็นอันตรายจากการรั่วไหลสู่สาธารณะ กู้ภัยสัตว์ที่ตกอยู่ในอันตราย กู้ภัยจากพายุหรือน้ำท่วม หรือแม้แต่จำกัดรังต่อ รังแตน ฯลฯ Logo ของหน่วยกู้ภัยสามารถแสดงถึงบทบาทการช่วยเหลือได้เป็นอย่างดีตามรูปประกอบ

หมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้คือ 112 ทั่วประเทศและในสมาชิกอียูด้วย เนื่องจากเจ้าหน้าที่เป็นผู้อาสาสมัครที่มีงานประจำส่วนตัวทุกคน กฏหมายจึงออกกฏว่าหากเกิดเหตุด่วนเรียกตัว ทุกคนสามารถทิ้งงานประจำได้ทันทีโดยให้สิทธิ์งานกู้ภัยเป็นความสำคัญอันดับแรก และนายจ้ายต้องอนุญาตให้เข้าเรียนและฝึกอบรมของหน่วยดับเพลิงได้ทุกเมื่อโดยได้รับค่าจ้างปกติ แต่โดยทั่วไปแล้วพนักงานมักจะใช้สิทธิพักร้อนแทนเพื่อไม่ต้องการให้กระทบกับงานประจำมากเกินไป

แสดงตัวเลขเปรียบเทียบจำนวนเจ้าหน้าทีดับเพลิงอาชีพเต็มเวลากับจำนวนอาสาสมัคร

เยอรมนี เจ้าหน้าที่ดับเพลิงอาชีพ 27,902 คน อาสาสมัคร 1,035,941 คน อาสาสมัครคิดเป็น 95,59%
ออสเตรีย 2,447 252,902 99.0%
South Tirol 150 11,350 98.8%

ตอบกลับความเห็นที่ 9
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 10
เพิ่มเติมนิดครับว่าหน่วยงาน Red Cross ก็มีอยู่ทั่วไปเช่นเดียวกันซึ่งจะรับผิดชอบหลักๆ เหตุด่วนเกี่ยวกับสุขภาพร่างกายเป็นหลัก แม้แต่อุบัติเหตุบนท้องถนนหรือการเจ็บป่วยกระทันหัน หน่วยงานของ Red Cross จะปฏิบัติงานควบคู่ไปกับเจ้าหน้าที่ของ Feuerwehr ด้วยเสมอ


ตอบกลับความเห็นที่ 10