เรียนป.โทอังกฤษ ถ้าตกวิทยานิพนธ์ ต้องส่งใหม่ ทำให้จบช้าไปปีนึง แบบนี้แย่ไหม

ถือเป็นชนส่วนน้อยของโลกไหม ถ้าเรียนโทอังกฤษแล้วอาจารย์ไม่ยอมปล่อย ให้เราแก้และส่งใหม่ปีหน้า ไม่ว่าสายวิทย์หรือศิลป์ ทำให้จบช้าไปปีนึง

ปล.เราไม่รู้ระบบอเมริกาเพราะไม่ได้เรียนที่นั่น

ความคิดเห็นที่ 1
อย่าคิดอะไรมากเลยครับ ระหว่างนี้ก็หางานการทำไปก่อนก็คงยังได้ครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
หลักคิดของอาจารย์ไทยหรือฝรั่ง เหมือนกันนั้นแหละ คือ
ทำคนจากไม่รู้ให้รู้ ทำไม่เป็นคิดไม่เป็น ให้คิดเป็นทำเป็น
สร้างคนหรือพัฒนาคนนั่นเอง

ไม่คิดหรือตั้งใจ เอาลูกศิษย์ มาทำลาย หรือฆ่าแกงอะไร
เมื่องานของคุณยังไม่เข้าท่า หรือได้มาตรฐาน
ต้องเคี่ยวกันต่อไป จนได้ที่เท่านั้นเอง

ทุกอย่างจะดีเลว ขึ้นกับตัวคุณ
ว่าไปอาจารย์ เหมือนเครื่องจักร ใช้ประเมินผลงาน
งานที่ส่งเข้ามา ถ้าได้มาตรฐานไม่มีตำหนิ ก็ปล่อยผ่าน
อันไหนไม่เรียบร้อย ต้องเอาไว้แก้ไขให้ดี จนได้มาตรฐาน
อย่าคิดมาก


ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
แย่ครับ
แต่ไม่ถึงกลับต้องตายหรอก
สุดท้ายคุณพยายามจนจบก็ถือว่าดีมากแล้ว
จบช้าจบเร็วก็จบเหมือนกัน
ดูยังรามซิเขายังให้ตั้งแปดปี
สู้ๆนะครับอย่าท้อไปก่อนละ


ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
เข้ามาให้กำลังใจค่ะ. สู้ๆนะคะ


ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
หางานทำรอเหมือนข้างบนบอกค่ะ

แก้งานเราไปเรื่อยๆ ปรึกษาอาจารย์เรื่อยๆ

ไม่แย่หรอกค่ะ แล้วเมื่อคุณจบคุณจะภูมิใจมากกับความยากลำบากที่คุณเจอมา

ยกตัวอย่างนะคะ โดนส่งคืนตั้งแต่ชื่อเรื่อง - พรอพเพอร์ซอลก็คืนทั้งที่อ่านของเราดีรึยัง ยังสงสัย แอดไวเซอร์นัดเราแล้วไม่ว่างเองซะงั้น ฯลฯ

เมื่อจบมาแล้วคุณจะรู้สึกว่างานที่ผ่านมานั้นมีคุณค่า ยิ่งเห็นใครเอางานเราไปอ้างอิง ต่อยอด .....

เอางานให้ลูกๆดู ให้เป็นกำลังใจของลูกให้อดทนพยายาม ปริ้นท์เอาไปเข้าเล่มอีกรอบ.....

ไม่รู้จะบรรยายยังไงดี เอาเป็นว่างานจบออกมาเมื่อไหร่คุณอาจจะจะรู้สึกว่า งานคุณดีกว่างานเพื่อนอิตาเลี่ยนคนนั้น ดีกว่างานเพื่อนญ๊่ปุ่นที่ดูเขาไม่ได้เอาจริงเท่าคุณ ที่เขาจบไปก่อน...

ตอบกลับความเห็นที่ 5
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 6
ถ้างานไม่ได้แย่จนเกินไปผมว่าน่าจะให้ผ่านทุกคนนะครับ
ทำตามที่ sup แนะนำ ก็น่าจะผ่านเหมือนกันครับ

ถามว่าแย่ไหมผมว่าไม่หรอกครับ
แต่มันจะมีผลต่อเกรดโดยรวมนะสิครับ
อย่างที่รู้ว่าเมืองไทยมองเกรดเป็นอย่างแรก
เขาไม่สนว่าทำไมคุณถึงไม่ผ่าน ก็อาจเป็น effect อย่างที่ในการสมัครงานครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 6
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 7
เข้าใจสถานการณ์คุณเพราะเป็นคนเรียนจบช้ากว่าเกณฑ์ทั้งป.โทและ(ว่าที่)ป.เอก

การเรียนระดับ postgrad ที่มีการเขียนงานในความควบคุมของอาจารย์ที่ปรึกษา นอกจากจะอาศัยมันสมองพอควรแล้วยังต้องอาศัย "โชค" อย่างมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นการเลือกอ.ที่ปรึกษา หัวข้องาน มหาวิทยาลัย ช่วงเวลาที่เรียน ฯลฯ ทั้งหมดล้วนเป็นปัจจัยที่ช่วย "ผลัก" ให้งานก้าวหน้าหรือ "ฉุด" ให้งานถอยหลังหรือจมดิ่งได้อย่างเหลือเชื่อ

คนเรียนแนวเดียวกัน หัวข้องานคล้ายกัน ภาควิชาเดียวกัน แต่อ.ที่ปรึกษาคนละคน อาจทำให้ชีวิตนักเรียนสองคนต่างกันเป็นหน้ามือหลังมือ ในทางกลับกัน อาจารย์ที่ปรึกษาคนเดียวกันคุมงานหัวข้อแนวเดียวกัน แต่ต่างช่วงเวลา ก็อาจทำให้ชีวิตของเด็กในที่ปรึกษาช่วงเวลานั้นต่างกันได้เช่น ช่วงปีที่ว่างมาก ก็คุมงานและให้คำปรึกษางานได้รวดเร็วฉับไว ปีที่รับตำแหน่งบริหารหรือมีปัญหาสุขภาพ ก็แทบจะหายไปจากชีวิตนักเรียน ยังไม่นับกรณีที่อ.ที่ปรึกษาถูก"ด้านมืด"ครอบงำ กล่าวคือเห็นนักเรียนมีฝีมือทำวิจัยก็เก็บไว้ใช้งานตัวเอง ถ่วงเวลาไว้จนเลยกรอบเวลาที่ควรจะจบ

หลายคนพยายามบอกเรา่ว่า "เรียน postgrad อย่าเปรียบเทียบกับคนอื่นเพราะโปรเจคใครโปรเจคมัน ต่างกรรมต่างวาระ จบเร็วจบช้าเปรียบกันไม่ได้" แต่เมื่อเราเห็นคนที่ไม่ได้เก่งกว่าเราแต่ "โชคดี"กว่าเรามากๆ (อ.ที่ปรึกษาเข้าใจเนื้องาน เข้าใจกรอบเวลารับทุน เข้าใจความรีบของเรา ลดสโคปงานให้แคบและซับซ้อนน้อยลง ฯลฯ) จบเร็วไปก่อน ก็ทำให้คิดท้อใจไม่ได้

จบช้าไปปีีหนึ่งก็ไม่ได้น่าเกลียดอะไรนักหนาถ้าคุณไม่มีปัญหาเรื่องแหล่งทุน

ขอ "ตบบ่า" เป็นกำลังใจให้ อยากบอกคุณว่า "อย่าเปรียบเทียบกับคนอื่น" แต่พูดไม่ออกเพราะตัวเองก็ทำใจกับเรื่อง "โชคเข้าข้าง" (กรณีของคนใกล้ๆตัว) ไม่ค่อยได้เหมือนกัน

ป.ล. ความเห็นเรามาจากประสบการณ์ส่วนตัว ไม่รู้ที่มาที่ไปคุณว่าตกวิทยานิพนธ์เพราะคุณพลาดหรือเพราะอาจารย์คุณไม่ตั้งใจคุมคุณตั้งแต่แรก แต่คุณต้องเดินหน้าอย่างเดียวเท่านั้น Chin up!


ตอบกลับความเห็นที่ 7
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 8
เรียนโท สาขาภาษาอังกฤษ หรือ ว่าเรียนโทที่uk คับน่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 8
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 9
แวะมาอ่าน ต้องขอบคุณความเห็นที่ 2 ที่เป็นเสมือนตัวแทนอาจารย์มาอธิบาย
และ คห 7 ที่โดนใจจริงๆ เป็นหนึ่งในชนกลุ่มน้อยที่จบช้า และต้องต่อเวลาเหมือนกัน


ตอบกลับความเห็นที่ 9
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 10
เรียนอยู่ในเมืองไทย ยังจบช้าเลยค่ะ T_T


ตอบกลับความเห็นที่ 10