นำ พระพุทธรูป เข้าประเทศออสเตรเลียได้หรือไม่ครับ

คือจะนำพระพุทธรูปองค์เล็กๆประมาณเท่าฝ่ามือ จะเชิญไปบูชาไว้ที่ห้องครับ ( เป็นโลหะไม่ใช่ของโบราณ)
ต้อง declare ก่อน หรือนำเข้าได้เลยครับ
ขอบพระคุณครับ

ความคิดเห็นที่ 1
เราเคยอัญเชิญพระพุทธรูปองค์เล็กๆ มาบูชา ไม่ได้ดีแคลร์นะคะ เพราะเป็นโลหะ (ถ้าทำจากไม้ ต้องดีแคลร์) ก็ผ่านตลอดนะคะ


ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
หลายปีก่อน เคยนำเข้าออสเตรเลีย
พระบูชาใหม่ เนิ้อโลหะ ขนาดหน้าตักสิบสองนิ้ว
น้ำหนักถ้าจำไม่ผิด ประมาณห้าหกกิโล
ไม่มีปัญหา
ปัจจุบัน กฎเกณฑ์จะเปลี่ยนไปอย่างไร ไม่ทราบ


ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
ว่าแต่จะเอาออกจากประเทศไทยได้หรือครับ คุ้น ๆ ว่าเป็นของต้องห้ามนำออกนอกประเทศ


ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
ขอบพระคุณทุกท่านครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
ได้ค่ะ ที่บ้านมีอยู่หลายองค์เลย ไปเมืองไทยทีไรก็เชิญท่านมาค่ะ สามีชอบมีพระที่บ้าน ที่รถก็มี มีหิ้งพระให้ท่านด้วยค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 5
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 6
ขอบคุณมากๆเลยครับ ^_^


ตอบกลับความเห็นที่ 6
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 7
แนะนำเก็บใบเสร็จไว้แสดงด้วย เมื่อเจ้าหน้าที่ต้องการดู


ตอบกลับความเห็นที่ 7
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 8
รายละเอียดประมาณนี้ครับ

ข้อแนะนำการส่งหรือนำพระพุทธรูปออกนอกราชอาณาจักร

บุคคลทั่วไป

๑. กรอกแบบฟอร์มการขออนุญาตที่ทางราชการจัดให้ (ศก.๖)

๒. ทำหนังสือถึงอธิบดีกรมศิลปากร ให้เหตุผลส่งหรือนำไปเพื่ออะไร ไว้ที่ใดโดยละเอียด

๓. ในกรณีที่นำติดตัวไปเอง ถ่ายสำเนาหนังสือเดินทางของผู้ขออนุญาต ๑ ชุด ในกรณีที่ส่งไปถ่ายสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรข้าราชการ

๔. ให้แสดงหลักฐานเป็นเอกสารรับรองจากองค์กร องค์การ (องค์กร, องค์การที่เป็นที่เชื่อถือ และยอมรับจากทางราชการ)


ขั้นตอนและวิธีการ

การขอรับใบอนุญาตส่งหรือนำโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุออกนอกราชอาณาจักร

๑. ผู้ขออนุญาต ต้องกรอกในคำขอรับใบอนุญาตส่งหรือนำโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุออกนอกราชอาณาจักร(ศก.๖) พร้อมแนบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในคำขอรับใบอนุญาต ณ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เลขที่ ๘๑/๑ ถนนศรีอยุธยา เทเวศร์ แขวงวชิระ เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐

๒. ผู้ขออนุญาต จะต้องนำโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุที่ขออนุญาตส่งออกทุกชิ้นไปให้คณะกรรมการตรวจพิสูจน์ ณ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หากไม่สามารถนำไปให้ตรวจพิสูจน์ ณ สถานที่ดังกล่าวได้ ผู้ขออนุญาตสามารถทำหนังสือพร้อมทั้งแสดงเหตุผลต่ออธิบดีขอให้มีการตรวจพิสูจน์ ณ สถานที่ที่เก็บรักษาโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการนี้ทั้งหมด

๓. เจ้าหน้าที่จะผูกตะกั่วประทับตราที่โบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุทุกชิ้น ที่คณะกรรมการตรวจพิสูจน์ สรุปความ เห็นอนุญาตให้ส่งหรือนำออกนอกราชอาณาจักรได้

๔. ภายใน ๑ - ๒ วันทำการ ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตไปรับใบอนุญาต พร้อมชำระค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ณ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

ค่าธรรมเนียมศิลปวัตถุประเภทพระพุทธรูป สมัยรัตนโกสินทร์ ช่วงระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ถึงปัจจุบัน

- ขนาดยาวหรือสูงเกิน ๑๐๐ เซนติเมตร ชิ้นละ ๓๐๐ บาท

- ขนาดยาวหรือสูงเกิน ๕๐ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๑๐๐ เซนติเมตร ชิ้นละ ๒๐๐ บาท

- ขนาดยาวหรือสูงไม่เกิน ๕๐ เซนติเมตร ชิ้นละ ๑๐๐ บาท


ค่าธรรมเนียมศิลปวัตถุ สมัยรัตนโกสินทร์ ช่วงระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ถึงปัจจุบัน

- ขนาดยาวหรือสูงเกิน ๑๐๐ เซนติเมตร ชิ้นละ ๒๐๐ บาท

- ขนาดยาวหรือสูงเกิน ๕๐ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๑๐๐ เซนติเมตร ชิ้นละ ๑๐๐ บาท

- ขนาดยาวหรือสูงไม่เกิน ๕๐ เซนติเมตร ชิ้นละ ๕๐ บาท

๕. เจ้าหน้าที่จะออกบัตรประจำวัตถุ (บัตรสีชมพู) เพื่อให้ผู้ขอรับใบอนุญาตนำไปผูกกับปลายเชือกที่ประทับตราตะกั่วที่โบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุทุกชิ้น

๖. ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องลงชื่อรับรองว่าจะนำบัตรประจำวัตถุไปผูกติดกับปลายเชือกตราตะกั่วที่ประทับวัตถุให้ถูกต้องตรงกับเลขหมายรายการในใบอนุญาต


http://www.finearts.go.th/


ตอบกลับความเห็นที่ 8