ถ้าจะไปหางาน White Collar ทำที่ต่างประเทศ ควรจะทำอย่างไรดีครับ

ผมอยากไปทำงานที่ต่างประเทศครับ มองจากปัจจัยหลายต่างๆรอบตัวแล้วเห็นว่าน่าจะมีโอกาสก้าวหน้าในชีวิตของตัวเองมากกว่า

ส่วนตัว ผมเองมีประสบการณ์ไปอยู่ต่างประเทศแล้ว 1 ปี และเคยไปประชุมงานที่ต่างประเทศประปราย นอกจากนี้ ผมยังมีปมประหลาดๆตรงที่รู้สึกมั่นใจเวลาพูดภาษาต่างประเทศกับคนต่างชาติ มากกว่าเวลาพูดภาษาไทยกับคนไทย(ที่ไม่รู้จักหรือผู้บังคับบัญชา) ภาษาอังกฤษผมอยู่ในระดับที่ฟัง พูด อ่าน เขียน แบบทางการได้ ส่วนภาษาญี่ปุ่นอยู่ในระดับที่พูดคุยกันในชีวิตประจำวันได้

เท่าที่ผมเห็นมา บริษัทจัดหาคนไปทำงานต่างประเทศมักจะเน้นงานเฉพาะทาง (ช่างเทคนิค นวดแผนไทย เชฟทำอาหาร)หรือใช้แรงงาน ส่วนคนที่อยากทำงานบริษัทหรือองค์การอื่นๆในต่างประเทศ มักจะไปเรียนต่อก่อน แล้วค่อยหางานต่อ

ปัญหามีอยู่ว่า ผมกำลังทำปริญญาโทปีสุดท้ายอยู่ที่ไทย หลังจบแล้ว ถ้าจะหาทุนไปเรียนต่อ คนให้ทุนก็มักจะอยากให้ไปต่อเอกมากกว่าให้ไปทำโทใบที่สอง
ซึ่งผมเห็นว่าตัวเองคงไปไม่รอดกับการวิจัยระดับปริญญาเอก แค่ปริญญาโทก็แทบทำเอากระอักเลือดแล้ว (ที่จริง แค่ให้ไปทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโทใบที่สอง ผมเองก็ยังลังเลอยู่เลยว่าจะไหวไหม)

นึกแล้วก็เสียดายจริงๆ ที่ผมตัดสินใจไปลงเรียนปริญญาโทในไทย เวลาก็ยาวกว่า (4 ปีจบ) ถึงจะเป็นหลักสูตรภาคค่ำ ทำงานไปเรียนไปได้ แต่ปีท้ายๆก็ต้องลาออกจากงานมาทำ thesis เต็มเวลาอยู่ดี หากไปเรียน full time แบบ 2 ปี น่าจะคุ้มค่ากว่าเยอะ มีเพื่อนคนหนึ่งเรียนหลักสูตรปริญญาโทเดียวกัน แต่ตัดสินใจลาออกไปตั้งแต่เทอมต้นๆ เพื่อมาทำงานอย่างเดียว ปัจจุบันได้ทุนไปเรียนและทำงานต่อในประเทศยุโรปรวยๆแล้ว

เห็นเพื่อนๆหลายคนที่ได้ไปอนู่เมืองนอก ทำงานเมืองนอก แล้วยิ่งเศร้าครับ เพราะหลายๆคนในกลุ่มนี้ตอนสมัย ป.ตรี เกรดก็พอๆกัน บางคนก็น้อยกว่า เวลาใช้ภาษาอังกฤษก็ยังต้องมาปรึกษาผม แต่ตอนนี้ ชีวิตของเพื่อนเหล่านี้กลับก้าวหน้าแซงผมไปหมด

ไม่ทราบว่าพอมีช่องทางที่จะทำให้ได้งาน White Collar ที่ต่างประเทศไหมครับ

ความคิดเห็นที่ 1
ถ้าคิดว่าภาษาไม่ขี้เหล่ ทำไมไม่ลองส่ง Resume สมัครงานในต่างประเทศหล่ะครับ แจงไปให้หมดว่ามีประสบการณ์ทำงานอะไรมาบ้างที่เด่นๆ หาบริษัทที่รับ Sponsor ด้วยนะครับ เพราะบางที่ For US Citizens or Permanent Resident only ครับ


ปล. รอผู้รู้มาเสริมครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
เรียนโทภาคพิเศษ สามารถโอนย้ายไปภาคปกติได้ ไม่ใชหรือ
ถ้ามีเหตุผลและความจำเป็นที่อธิบายได้
มีผลการเรียนราบรื่นเป็นปกติ
ถ้าผู้เรียนต้องการโอนย้ายจริง ไม่น่ามีปัญหา

ผ่านโทมาได้ การเรียนเอกไม่น่ามีปัญหา
ความรู้เกี่ยวกับ วิธีวิทยาการวิจัย หรือ Research Methodology
และ สถิติวิเคราะห์ขั้นสูง ถ้าต้องใช้ในการวิจัย
มาเรียนเพิ่มได้ ไม่ใช่เรื่องใหญ่

แต่มิใช่ว่าทุกคน จะต้องใช้วิธีการหรือสถิติอะไร
ที่มันยุ่งยากซับซ้อนเสมอไป
ยิ่งปัจจุบัน มีโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
เพื่อการวิเคราะห์มากมาย
ยิ่งสะดวกขึ้นอีก
ไม่น่าต้องกังวล จนอ๊วก


ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
ช่องทางน่ะมีแน่ แต่ขั้นตอน จังหวะชีวิตและเครือข่าย เป็นกลไกที่สำคัญ

ภาษาดี มีประสบการณ์อยู่ต่างประเทศ ใจรัก สามอย่างนี้ผลักดัน เป็นแรงบันดาลใจ


แต่ ระบบการรับคนงานระดับไต่ไปสู่ผู้บริหาร งานองค์กรหลักที่มั่นคง มีสวัสดิการ
กำหนดคุณสมบัติทั้งวุฒิการศึกษา และหรือประสบการณ์ทำงาน ๓ ปีแทบทุกสาขา

กว่าจะผ่านการคัดเลือกจากผู้แข่งขันคนอื่นๆ ไปสู่การสัมภาษณ์ ไหนยังต้องฝึกงาน
แม้แต่คนที่เป็นพลเมือง อยู่ในระบบมานานหลายปี คนเกิดเมืองนอก เรียนจบสูงมาก
เขายังต้องย้ายงานหรือเปลี่ยนเมืองกันอยู่หลายรอบ กว่าจะไปถึงตำแหน่งผู้บริหาร

คุณเก่งกว่าเพื่อนหลายคนหรือคนไทยจำนวนหนึ่งก็จริงอยู่หละ แต่พอมาต่างประเทศ
ทักษะในการใช้ภาษานั้น จะเอามาเป็นข้อต่อรองไม่ได้ เพราะที่นี่เขามาตรฐานทุกคน

สายงานก็มีความสำคัญ อาชีพหลักอันเป็นที่ต้องการ คนที่มีวุฒิและโพรไฟล์เหนือกว่า
และเป็นเจ้าของภาษา เขาก็ได้รับพิจารณาก่อน ที่ว่ามานี้ ไม่ได้จะมาทำให้หมดแรงนะ

แค่จะบอกว่า ต้องคูณสิบกำลังม้า สำหรับการไปทำงานแบบออฟฟิซที่มีสังคมหรูหรา
คุณจะมีรายได้สูงมาก มีการเลื่อนขั้น สวัสดิการรัฐ นั่นต้องหลังจากเป็นพลเมืองแล้ว

เพราะฉะนั้น ระยะเวลากว่าจะไปถึงจุดนั้น หลายคนต้องทำงานหลายอย่างไปพลางๆ
ต้องอาศัยประสบการณ์และการเข้าไปอยู่ในระบบ อย่างน้อยก็สามปี หรือนานกว่านั้น

ถ้าจะมีใครสักคนที่สมัครหนแรก หลังจากเรียนจบก็ได้งานที่ต้องการ ไปได้สูงทันที
คงมีแบ็คแข็งแกร่งมาก เท่าที่เห็นมา เรียนจบตรีต้องมีประสบการณ์ทำงานก่อนต่อ
โท และพอเข้าทำงาน คนเอเซี่ยนจะต้องแข่งกับอีกหลายชาติ กว่าจะไปแข่งกับฝรั่ง

เด็กๆที่จบมาจากไทย แบบสุดขั้ว ก็จะต้องมาสูสีกับเด็กที่เขาเกิดในวัฒนธรรมนี้แล้ว
ความมั่น ความคล่อง ความพร้อม รวมๆเรียกว่าศักยภาพจะไม่ถึงจุดที่จะสู้กับคนที่นี่ได้
ในทันที ต้องอาศัยตัวช่วยคือเวลาและการเลือกสาขางาน ผนวกกับศึกษาเพิ่มเติม

ยังไงก็ต้องมีใบรับรองคุณวุฒิของสถาบันในต่างประเทศ ที่รัฐบาลเขาให้เครดิตด้วย
เพราะแต่ละบริษัทองค์กร เขาต้องเฟ้นคนที่จะไปทำงานบริหารให้หมู่คณะก้าวหน้าได้
เขาไม่รับเด็กฝึกงานที่ท่าทางจะไม่รอด ดูแล้วไม่มีความอดทนพอ หรือว่ามีวีคพ้อยท์

ด้วยเหตุนั้น เด็กไทยจบใหม่ ถึงมาได้แค่ระดับกรรมกร หรือเป็นฟันเฟืองในระบบล่าง
อีกนาน....กว่าจะได้รับการยอมรับทัดเทียมต่างชาติ ตราบใดที่การศึกษาในสังคม
บ้านเราเองนั้น ก็ยังไม่ทั่วถึงเลย และกว่าจะเข้ามาอยู่ในระบบเมืองนอกจนมีกิจการ
นั่นต้องทุ่มเททั้งชีวิต อาศัยความอดกลั้นต่อสภาวะแวดล้อมอย่างชนิดฝ่าพายุหิมะได้

สรุปแล้ว คุณเรียนมาสาขาไหน ก็ต้องดูว่าประเทศไหนเขาพร้อมจะแบ่งที่ให้กับ
คนเก่งจากเอเซียได้มาช่วยบำรุง ไม่ถึงกับหมดหวังหรอก แต่ถ้าคิดว่าจะมาเลยได้เลย
อันนั้นจะผิดหวัง ต้องเตรียมใจมาว่า โอเค เปลี่ยนงาน ๓ รอบ อยู่ไม่ต่ำกว่า ๕ ปีขึ้น
อันนี้มีช่องทางแน่ๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า อันนี้เป็นกฎตายตัว มีอยู่ไม่น้อยหละ
ที่เขาส่งใบสมัครมาจนได้ใบรับรอง ได้งานก่อนแล้วค่อยบินมา ปรับตัวเอาภายหลัง
แต่ก็เชื่อเถอะว่า การแข่งขันกับเพื่อนร่วมงานนั้นไม่ธรรมดา ไม่ใช่ว่าจะแฮ้ปปี้ทันที
กว่าจะไปถึงฝั่งฝัน รวมเวลาก็พอกับคนที่เข้ามาเรียนต่อหรือเปลี่ยนงาน ๓ รอบอยู่ดี

คุณบอกมาสิ เล็งประเทศไหนแน่ จะต่อยอดสาขาไหน อยากไปองค์กรไหนบ้าง
เดี๋ยวมีคำตอบ คนในนี้รู้ทุกอย่าง ถึงจะมีไม่กี่คนที่ได้ไปทำงานเป็นผู้บริหารระดับสูง
แต่ก็มีคำตอบที่ถูกต้องและนำไปใช้การได้ ไม่ผิดพลาดแน่นอน ชัวร์ๆ ที่นี่มีคำตอบ


ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
ไม่ทราบว่าคุณ จขกท มองประเทศไหนไว้

ที่เรารู้จักอยู่สามคนที่ได้ทำงานระดับ white collar ที่ออสเตรเลียนี่ ทั้งสามคนมาเรียนต่อระดับปริญญาโทเพื่อให้ได้คุณวุฒิของที่นี่ค่ะ คนแรกเป็นวิศวะ คนที่สองเป็นพยาบาล คนที่สามทำงานด้านการเงิน เรียนจบก็ได้งานทำที่นี่ มีนายจ้างสปอนเซอร์ให้เรียบร้อย

เท่าที่เข้าใจ ต้องจบสาขาขาดแคลน ถึงจะมีสิทธิ์นะ ยังไงลองเข้าไปดูเว็บอิมมิเกรชั่นของประเทศที่ จขกท อยากไป แล้วดูว่าสาขาที่คุณจบคือสาขาขาดแคลนของที่โน่นหรือเปล่า ถ้าใช่ และคุณสมบัติของคุณตรงตามที่กำหนด ก็เดินหน้าสมัครงาน หานายจ้างสปอนเซอร์

อีกวิธีคือพยายามหางานในบริษัทข้ามชาติใหญ่ทำ อย่างน้องเพื่อนเรา บริษัทที่เมืองไทยส่งไปทำงานที่ต่างประเทศ ให้น้องเขาเลือกด้วยว่าจะไปอังกฤษ หรือไปญี่ปุ่น น้องเขาเลือกไปญี่ปุ่นน่ะ ไปแบบ expat เงินดี อยู่หรู พาลูกไปเรียนหนังสือในโรงเรียนนานาชาติที่โน่นได้ฟรี บริษัทออกให้หมด


ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
อยากทำงานพวกองค์การระหว่างประเทศครับ ส่วนประเทศที่อยากไปทำก็มี ญี่ปุ่น หรือไม่ก็พวกประเทศที่พูดอังกฤษอย่าง US UK New Zealand หรือ Australia ครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 5
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 6
การเข้าสู่ระบบทำงานในองค์กรระหว่างประเทศ จำเป็นต้องมีใบคุณวุฒิประกอบ
กับประสบการณ์ทำงานในสาขาวิชาชีพนั้น และศักยภาพในการพัฒนาระบบด้วย

คุณลักษณะพิเศษของบุคลากรที่ผ่านการคัดเลือก โดยมากจะมีดังนี้คือ

๑. พื้นฐานการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า จากสถาบันที่มีชื่อเสียง

เป็นที่ยอมรับของภาครัฐ และหรือผ่านประสบการณ์ทำงาน อาสาสมัครของ
โครงการเพื่อพัฒนาชุมชน หรือโครงการแก้ปัญหาระดับประเทศหรือภูมิภาค

ดีที่สุดคืออาสาสมัครรร่วมของโครงการนานาชาติ หรือผ่านงานฝึกหัดมาแล้ว


๒. ประสบการณ์ทำงานอาสาสมัครโครงการนานาชาติที่กล่าวในข้อหนึ่งนั้น

ต้องแสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำ เป็นผู้มีความคิดวิเคราะห์เป็นระบบได้ด้วย

ตั้งแต่การเริ่มวางแผนงาน สร้างลำดับขั้นตอนในการแบ่งหน้าที่ให้บุคคล

บริหารบุคคล จัดแบ่งแผนก กำหนดทิศทาง เป้าหมาย แก้ไขปัญหาได้

รับผิดชอบสูงมาก และมีกำหนดระยะเวลาทำงานให้บรรลุเป้าหมายที่แน่ชัด
ตามงบประมาณ มีความสามารถในการนำเสนอผลงานในรูปแบบวิจัยวิชาการ




๓. ความพร้อมทางสุขภาพกาย และจิตใจ โดยเฉพาะพลังใจในการทำงาน

กับกลุ่มบุคคลที่มาหลายประเภทจากหลายประเทศ เข้าใจวัฒนธรรมสากล

และมีอัธยาศัยดี มีมนุษยสัมพันธ์กับผู้คนทั้งกลุ่มทำงานและกลุ่มอุปสรรค

๔.ทักษะในการใช้ภาษาสื่อสาร เชี่ยวจัดทั้งภาษาแม่ ภาษาสากล ภาษาที่สาม

ที่มิใช่แค่สนทนารู้เรื่องแต่ต้องใช้สื่อสารได้ในระดับวิชาการ ควรมีดีกรีภาษาเสริมด้วย

และหรือมีบทพิสูจน์ความคล่องในระหว่างการสัมภาษณ์หรือในการเขียนประวัติผลงาน



๕. หลักทรัพย์ เป็นตัวช่วยเสริมให้กับหน้าที่ได้ดียิ่งขึ้น เพราะงานอินเตอร์ต้องการ

บุคลากรที่ประสานงานเครือข่ายได้อย่างต่อเนื่อง ต้องรู้ทิศทางของการเชื่อมจุด

ระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งวาระการทำงานและบรรยากาศอินเตอร์ต้องมีค่าใช้จ่ายสูง



๖. คอนแท็ค หรือเครือข่าย จากการสั่งสมประสบการณ์ เป็นการแสดงออกถึง

เจตนารมณ์ในการทำงานกับองค์กรใหญ่ การมีส่วนร่วมกับกิจกรรมทั่วไปสม่ำเสมอ

สิ่งนี้จะช่วยให้โครงการต่างๆหรือหน้าที่ในความรับผิดชอบ สะดวกราบรื่นรวดเร็วกว่า


ตามที่ได้เขียนไว้ในคคห. ๓ เกี่ยวกับการทำงานหน่วยรัฐในต่างประเทศ

ต้องใช้ทั้งช่วงเวลา การศึกษาเพิ่มเติม และใบรับรองการศึกษาตรงสาขาในระดับสูง
ทั้งประสบการณ์ในการเข้าถึงวัฒนธรรมของประเทศนั้น หรือในท้องถิ่นนั้นอย่างลึกซึ้ง

มาถึงขั้นอินเตอร์ ประสบการณ์นอกระบบการศึกษา หรืองานอาสาในพื้นที่มีปัญหา

นั่นคือผลงานที่จะช่วยให้เห็นชัดว่า เป็นบุคลากรที่หน่วยงานนั้นต้องการอยู่หรือไม่

อนึ่ง ในการศึกษาระดับสูงของมหาวิทยาลัยที่มีเครดิตสูงเป็นที่ยอมรับในสากล

จะมีศูนย์นานาชาติ สำหรับการฝึกงานก็ดี หรือสำหรับองค์กรจัดโปรแกรมฝึกหัด

เรียกว่า องค์กรจะออกมาคัดเลือกบุคลากรที่มีความสามารถไปเข้าร่วมทีมงานด้วย
เป้นต้นว่า โครงการเยาวชนนานาชาติ หรือหน่วยอาสาพัฒนาเคลื่อนที่ยังทวีปต่างๆ

ให้นักศึกษาได้ปฏิบัติหน้าที่ มีส่วนร่วมทัศนศึกษา มีประสบการณ์ภาคสนามระยะสั้นๆ



ต่อจากนั้น ก็เป็นขั้นการนำเสนอผลงาน ต้องอาศัยเทคนิคทางคอมพิวเตอร์ประกอบ

กับการเขียนโครงร่างของผลงาน หรือประสบการณ์จากการออกฝึกหัดภาคสนาม
นับตั้งแต่การเข้าสู่โครงการ บุคคลที่เกี่ยวข้อง ภาพประกอบพื้นที่จริง และปัญหา

การแก้ปัญหา ผลการทำงานทีละขั้น และรวมตลอดจนถึงประโยชน์ต่อชุมชนนั้น

บุคลากรที่ทำงานสาขาสำคัญๆขององค์กรระหว่างประเทศ และประสบความสำเร็จจริง

มีตัวอย่างเช่นผู้นำกลุ่มประเทศมหาอำนาจที่ได้รับการยกย่องได้รับรางวัลนานาชาติ
หรือแม้แต่ผู้นำประเทศยังพัฒนา ที่สามารถสร้างงานโครงการพัฒนาได้สำเร็จผลแล้ว

ความรู้ทางประวัติศาสตร์ สังคมวิเคราะห์ มีส่วนเสริมให้เข้าใจวัฒนธรรมต่างชาติดีขึ้น

เรียกว่าจะเข้าประเทศไหน ต้องทำให้ได้เสมือนเกิดและโตจากตรงนั้นแบบสมบูรณ์

มิฉะนั้น ก็ต้องเป็นคนที่รู้เรื่องประเทศของตนเองอย่างชนิดที่สื่อสารกับต่างชาติให้

เข้าใจระบบของไทยได้อย่างปราศจากข้อสงสัย เพราะรากฐานของชีวิตมาจากที่นี่



สรุปว่าความรู้ ความคิดอ่าน พลังปัญญา สถานภาพสังคม ความพร้อมจะพัฒนาตน
และความแน่วแน่ในการอุทิศตนเพื่อประโยชน์ของประชาคมโลก ต้องกระจ่างชัด
ไม่ใช่แค่ความปรารถนาจะไปทำงานเมืองนอก แต่ต้องพร้อมจะไปช่วยระบบพัฒนา
มีความหยังรู้ว่าจะวางโครงการอย่างไร ไดเร็ค แมเนช ออร์กาไนซ์ อนาไลซ์ทั้งระบบ
คุณต้องทำได้ด้วยลีดเดอร์ชิป และมีการยอมรับจากคนที่ร่วมงานอาสาโครงการต่างๆ
เริ่มจากการรู้ตนเองว่ามีขีดความสามารถแค่ไหน ควรจะเพิ่มส่วนไหนให้ตรงทางขึ้น

ทั้งนี้ ถ้าคุณสามารถแปลคำตอบนี้ กลับเป็นภาษาอังกฤษ และภาษาญี่ปุ่นได้เอง
ภายในระยะเวลาเท่ากับที่คิดว่าต้นฉบับภาษาไทยทำได้ คุณก็มีโอกาสก้าวเข้า
ไปทำงานในองค์กรอินเตอร์ หรืออย่างน้อยเป็นอินเทิร์น เข้ามหาวิทยาลัยท็อปได้
ในชั้นต้นนี้ ลองไตร่ตรองดูว่า ลำดับช่วงเวลาและทุนให้พอกับแผนการอนาคตด้วย
การจัดการบริหารชีวิตตนเองได้ดี ก็จะเป็นบทพิสูจน์อย่างแรกในการทำงานข้างหน้า

ระยะเวลากว่าที่จะเป็นผู้ประสบความสำเร็จในองค์กรระหว่างประเทศ ขั้นอธิบดีนั้น
ทราบมาอย่างแน่ชัดว่า ใช้เวลาไม่ต่ำกว่า ๒๐ ปี นับจากวันแรกที่เริ่มทำงานภาครัฐ
โดยวุฒิที่เริ่มเป็นดุษฏีบัณฑิต และมีประสบการณ์ศึกษายูท็อปเฉพาะทาง ๘ ปีเต็ม
ในต่างประเทศ ผนวกกับการสร้างเครือข่ายและเก็บเกี่ยวความรู้นอกระบบทุกทิศ

ขอให้แนวทางไว้เพียงสังเขป และเน้นย้ำว่า การทำงานบริหารในองค์กรนานาชาติ

ไม่ใช่หนทางของคนที่คิดถึงตนเอง หรือชอบแข่งขันเอาชนะคนอื่นเพื่อความโดดเด่น
แต่เป็นหนทางของคนที่มีจิตอุทิศ พร้อมจะให้ความสำคัญของหมู่คณะก่อนตนเองได้

ไม่ม้ข้ออ้างว่าลูกป่วย เมียเจ็บ แม่ยายหกล้ม ในการรับผิดชอบงานในหน้าที่ให้บรรลุ

ต้องคำนึงถึงสภาวะและผลกระทบต่อหมู่คณะเป็นลำดับต้น เรื่องส่วนตัวไว้ทีหลัง
กล่าวคือต้องรับเอาปัญหาของโลกมาเป็นเรื่องส่วนตัว และมีความยืดหยุ่นในการ
แก้ปัญหาให้เป็นผลดีกับองค์กรหรือกับโครงการที่รับผิดชอบมากกว่าเรื่องบุคคล

ในกรณีของคุณ ควรจะเรียนต่อเพิ่มในต่างประเทศ และทำงานอาสาสมัครไปด้วย
เพื่อจะได้มีเครดิตและคอนแท็คกับบุคคลในแวดวง เพิ่มมากกว่าที่อยู่ในเมืองไทย

ที่สำคัญกว่านั้น คือ การออกเก็บประสบการณ์ให้มีความรอบรู้เกี่ยวกับสังคมไทย

ให้มากที่สุดก่อนอื่น ภาษาไทย ภาษาถิ่น และความสัมพันธ์กับชาติเพือนบ้าน

สิ่งเหล่านี้ทั้งหมดจะอยู่ในการพิจารณาขององค์กร อย่าลืมว่าคู่แข่งเป็นใครบ้าง

ไม่ใช่มีแค่คุณคนเดียวที่มีความปรารถนาจะก้าวหน้าไปกับการพัฒนาประชาคมโลก



ขอให้ประสบความสมหวัง และถ้าจะให้ดี ควรเริ่มคิดเองด้วยทักษะภาษาอังกฤษ

ว่าจะหาข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานในองค์กรระหว่างประเทศ จากแหล่งไหนได้บ้าง

ควรจะไปติดต่อกับบุคลากรระดับไหน ที่จะส่งเสริมให้มีอนาคตเส้นทางสายนี้ดีขึ้น

ข้อมูลจากบอร์ดสาธารณะ ยังไม่ใช่ทั้งหมดหรือทุกประเด็น เป็นแค่เบื้องต้นเท่านั้น



ควรเริ่มค้นคว้า จากแหล่งข้อมูลตรง เช่นที่นี่

How to Pursue a Career with the United Nations
or Other International Humanitarian or Development Organizations.

and Visas for Employees of International Organizations


ตอบกลับความเห็นที่ 6
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 7
หลัก ๆ คือประสบการณ์ทำงานของคุณเองจะช่วยได้เยอะครับ เวลาหางาน ไม่ว่าจะที่ไหนในโลก

คือ คุณต้องเริ่มจากจุดใดจุดหนึ่งก่อนเพื่อให้ตัวคุณเองได้ก้าวเข้าไป อย่างกรณีนี้ผมมองว่าคุณอาจจะต้องเริ่มหางานในไทยกับองค์กรระหว่างประเทศทั้งหลายที่มี โครงการในไทย หรือประเทศเพื่อนบ้าน

พอคุณเริ่มมีประสบการณ์ ฯลฯ แล้ว สิ่งที่จะได้ตามมาคือ networking ของคุณเอง คนเหล่านี้จะสามารถแนะนำคุณได้ว่าที่นู้นที่นี่ มีงานให้ทำ ถ้าคุณมีฝีมือ อยู่ไหนก็ได้ครับ เดี๋ยวเขาก็มาหาคุณเอง


ตอบกลับความเห็นที่ 7