ขอคำปรึกษาเรื่องสมัครเรียนต่อปริญญาเอกที่เยอรมันหรือยุโรปครับ

ผมสนใจอยากจะเรียนต่อเอกที่เยอรมันหรือยุโรปครับ ที่ประเทศเยอรมัน เท่าที่ผมหาข้อมูลมาได้คือผมจะต้องส่งอีเมล์ติดต่อกับโปรเฟสเซอร์ก่อนเป็นอันดับแรก ผมได้ส่งอีเมล์ติดต่อกับโปรเฟสเซอร์ 2 ท่าน 2 มหาลัย (cover letter+CV) ตั้งแต่สองเดือนที่แล้ว แต่ไม่ได้รับการตอบกลับจากทั้ง 2 ท่านเลย

อย่างนี้แสดงว่าท่านทั้งสองไม่ได้สนใจในตัวผมใช่ไหมครับ เพื่อนๆเคยมีประสบการณ์อย่างนี้กันบ้างไหมครับ

งานวิจัยที่ผมสนใจเกี่ยวกับ biomaterials (biopolymer) for biomedical applications (tissue engineering, drug delivery)

โปรไฟล์ผม
ปริญญาตรี 2.70 ปริญญาโท 3.72 วิศวกรรมวัสดุครับ
คะแนนภาษาอังกฤษ IELTS 6.5
Publications
2 international conferences
2 international symposiums
1 international journal (รอฟังผลอีก 1 เปเปอร์ครับ)

ผมอยากเป็นนักวิจัยครับ รูปแบบการทำวิจัย(เพื่อให้ได้ปริญญาเอก) ที่เยอรมัน เท่าที่ผมได้สืบค้นมา ผมคิดว่าค่อนข้างเหมาะสมกับบุคลิกผม (และคิดว่าที่ประเทศอื่นๆในยุโรปแผ่นดินใหญ่ก็น่าจะไม่ต่างกันมาก) ตอนนี้ที่ทำอยู่คือพยายามสืบค้น PhD vacancies or positions ตามห้องปฎิบัติการต่างๆที่ตรงกับงานวิจัยที่ผมสนใจครับ แต่ก็หายากอยู่เหมือนกันครับ มีเพื่อนๆ(คนที่รู้จัก) ที่ทำงานวิจัยด้านนี้กันบ้างหรือเปล่าครับ

ความคิดเห็นที่ 1
ยากสุดก็ตอนติดต่อหาอาจารย์ที่ปรึกษาล่ะครับ
คิดดู วันๆ แกได้รับอีเมลกี่สิบฉบับ ที่มาขอทำปริญญาเอกกับแก
อาจารย์บางท่านแกก็จะรับพวกเด็กในคาถา ที่เคยเรียน ป.โท เห็นหน้าเห็นตา รู้นิสัยใจคอกันมาก่อน

แต่ก็ไม่ใช่ไม่มีโอกาส เด็กนอกคาถาที่ได้ตอบรับก็มากอยู่ แต่ต้องมีดวงด้วย
ประมาณว่าส่งไปเจออาจารย์ที่ว่างพอดี แล้วเค้าสนใจเรา
หรืออาจารย์กำลังเปิดรับนักวิจัย หรือมีโปรเจ็คพอดี แล้วคุณสมบัติคุณได้

วิธีลัดก็คือ
ถ้าคุณมีคนรู้จักที่ทำปริญญาเอกอยู่ในเยอรมัน เครดิตดีพอควร
คุณสามารถขอให้เขาช่วยทาบทาม มองหาอาจารย์ที่ว่างเป็นที่ปรึกษา ป.เอกได้
หลังจากนั้นอาจารย์อาจจะนัดคุย สัมภาษณ์เกี่ยวกับโปรเจ็คที่จะทำ
โดยอาจบินไปพบตัวๆ หรือทาง skype ก็แล้วแต่


ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
อย่าได้ท้อคับ ส่งไปเรื่อยๆ หาดูหลายๆ มหาวิยาลัยคับ คุณต้องเจออาราย์สักท่านที่ตอบเมล กลับมา


ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
สนใจทางสวีเดน เดนมาร์กมั้ยคะ แต่ก็แนะนำ Prof ไม่ได้เหมือนกัน เพราะงานที่คุณทำมันไม่ใช่ด้านที่เราทำ

คุณ จขกท ไม่ได้มีทุนมาใช่ไหมคะ จะรับทุนจากมหาลัยที่จะมาเรียนใช่ไหมคะ


ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
ผมจบสาขาใกล้เคียงกับ จขกท มากๆครับ

แล้วก็เพิ่งได้มาต่อที่นี่ด้วยวิธีลัดตาม คห 1

ยังไงลองหาดูตามลิงค์นี้ดูน่ะครับ เยอะอยู่

http://www.daad.de/deutschland/studienangebote/international-programmes/07535.en.html


ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
คุณ Varalbastra, Crystalpolytea2ten ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ

คุณ Dearz ขอบคุณสำหรับกำลังใจดีดีครับ

คุณ แลนซ์ลอท ใช่ครับผม ผมมีความตั้งใจที่จะขอทุนจากมหาลัยที่จะเรียนครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 5
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 6
ที่ทำงานผม
พวกที่จบเอกจากเยอรมัน
ส่วนใหญ่ได้ทุนจาก
The German Academic Exchange Service (DAAD)
ศึกษาดูครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 6
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 7
ถ้าส่ง e-mail ไปโดยที่เค้าไม่รู้จักไม่เคยร่วมงานกันมาก่อน ยากที่เค้าจะตอบรับค่ะ
เพราะ Prof.ส่วนใหญ่จะเลือกเด็กที่เรียนป.โทในยุโรปหรือที่ทำงานร่วมกันมาก่อน
คือนักเรียนต่างชาติที่เรียนปริญญาเอกในยุโรปส่วนใหญ่มาเรียนกันตั้งแต่ป.โทเลยค่ะ
แต่ถ้าจบโทมาจากที่อื่นก็ต้องมี connection คือมีคนที่อยู่ยุโรปแนะนำคุณให้ Prof. อีกทีนึง
คือพูดง่ายๆเค้าต้องรู้จักคุณก่อนค่ะ จะด้วยตัวคุณเองหรือคนอื่นแนะนำก็แล้วแต่

เคยคุยกับ Prof.สาขานึงของ Leiden University ที่ฮอลแลนด์ค่ะ เค้าบอกว่ามีอีเมลวันนึงหลายฉบับ
แต่เค้าไม่เคยเลือกจากอีเมลเลยเพราะดูแค่ประวัติและผลงานทางอีเมลอย่างเดียวไม่พอจริงๆ
เพราะไม่รู้ระบบการทำงานกันมาก่อนหรือไม่รู้ว่าเก่งจริงรึเปล่า ไม่อยากส่งกลับภายหลัง
(อันนี้เป็นความเห็นของ Prof.แค่คนเดียวนะคะ คือ Prof.คนนี้เก่งและมีชื่อเสียงเลยค่อนข้างเคี่ยวและมากเรื่อง)

คุณมีทั้ง journal และ conference อย่างนี้น่าจะช่วยได้มากนะ ถ้ามี connection อยู่ในมหาวิทยาลัยหรือสาขาที่คุณทำอยู่
คือผลงานขนาดนี้ต้องรู้จักคนในวงกว้างอยู่แล้ว ลองติดต่อดูอาจจะช่วยได้ไม่มากก็น้อย

เราว่าคุณเก่งและผลงานดีถ้ามีคนที่ช่วยแนะนำ/นำเสนอคุณ อะไรๆมันจะง่ายขึ้นเยอะเลย ขอให้โชคดีค่ะ....


ตอบกลับความเห็นที่ 7
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 8
คุณ newcomer (gpvtu2009) ขอบคุณครับ

คุณ save the lance dance for me ขอบคุณครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 8
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 9
จริงๆแล้วเรื่องแนวนี้ผมเคยตอบไปแล้วครั้งนึง แต่กระทู้รู้สึกจะไม่อยู่แล้ว เลยก๊อบมาให้ไม่ได้แล้ว ยังไงผมตอบอีกทีแล้วกันครับ

การทำปริญญาเอกที่เยอรมันมีหลักๆ 2 แบบครับ คือ แบบที่ได้เงินเดือนปกติจากทางมหาวิทยาลัย และแบบที่ได้ทุน เอาเป็นว่า ผมพูดถึงแบบแรกก่อนแล้วกันนะครับ

การศึกษาต่อปริญญาเอกในเยอรมันนั้น จะต่างกับหลายๆที่ เช่น ใน us คือ จะไม่มีคอร์สเรียน (ตอนนี้ยังไม่มี แต่มีแนวโน้มว่า ต่อไปอาจจะเป็นระบบเดียวกับที่ us นะครับ) และคำว่า แม้จะใช้คำว่า "เรียนต่อระดับปริญญาเอกนั้น" แท้จริงแล้วจะไม่มีการเรียนแล้ว เพราะเยอรมันถือว่า การเรียนต่อถึงระดับปริญญาโทนั้น คือ "การศึกษา" ขั้นสูงสุดแล้ว การทำปริญญาเอกที่เยอรมันนั้น ว่าง่ายๆ คือ การทำงาน หรือการทำวิจัย ภาษาเยอรมันจะเรียกว่า Wissenschaftlicher Mitarbeiter (Wimi)ซึ่งผู้เป็น WiMi นี้ปกติแล้วจะได้สัญญาจำกัดเวลา เช่น 3 ปี เป็นต้น แล้วก็ต่อไปเรื่อยๆจนจบ ระยะเวลาเฉลี่ยนในการทำ Phd ของเยอรมัน คือ 5-6 ปี ก็ต่อกันอีกสัญญาว่าง่ายๆครับ ซึ่ง Wimi จะได้เงินเดือนจากทางมหาลัย เพราะถือว่าเป็นผู้ทำงาน เนื่องจากจะต้องมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนในมหาลัยด้วย ว่าง่ายๆว่าเป็น Employee หรือ officer ของมหาลัยน่ะครับ เงินเดือนแต่ละรัฐจะมีกำหนดไว้ตาม TV-L 13 หรือ TV-H ในรัฐ Hessen ว่าง่ายๆว่า เป็นข้าราชการชั่วคราวนั่นล่ะครับ เงินเดือนที่ได้ก็สามารถเช็คได้ในเนตเลยครับ เพราะไม่ได้เป็นความลับอะไร แต่ละรัฐก็จะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับว่าทำเอกที่ไหน และด้วยเหตุที่มหาวิทยาลัยหรือรัฐจะต้องเป็นผู้จ่ายเงินเดือนนั้น เค้าก็ถึงใช้คนทำเอกในการเรียนการสอนด้วย ซึ่งตรงนี้จะแตกต่างกับคนได้ทุน (ซึ่งผมขออธิบายทีหลัง) ปกติการเลือกนักเรียนทำเอกนั้น ขึ้นอยู่กับ Professor ล้วนๆครับ บางคนที่เป็นคนดี ใจกว้างให้โอกาสคน ก็จะดูเกรดแต่ไม่ใช่เป็นตัวตัดสิน ปกติแล้วการทำเอกในเยอรมัน เกรดควรจะต้องดีกว่า 2,5 ครับ (ผมไม่แน่ใจว่า เทียบกับเกรดไทยได้เท่าไหร่ อันนี้คงต้องหาข้อมูลเอกครับ) และแม้แต่ 2,5 ก็มี % ว่าจะได้ทำเอกต่ำ ตีกันง่ายๆเอาซัก 1,0-2,0 แล้วกันครับถึงมีโอกาสจริงๆ Professor บางคนอยากจะได้เด็กที่จบแบบ 1,0 เท่านั้น บางคนก็มองว่าไม่จำเป็นแค่ 2,0 แต่ถ้าถูกชะตาเพราะดูท่าทางมี Potential เค้าก็จะ Offer โอกาสตรงนี้ให้ โดยทั่วๆไปทุกมหาลัยในเยอรมันมักจะ prefer เด็กจบโทของตัวเองก่อนแน่นอนอยู่แล้วครับ เพราะถือว่าเห็นกันมา รู้ว่าความสามารถมีไม่มีแค่ไหน แต่ก็ใช่ว่าคนจากข้างนอกจะไม่มีโอกาสเลย แต่อันนี้อยู่ที่วิจารณญาณของ Professor ล้วนๆจริงๆครับ แต่โดยส่วนใหญ่ถ้ามาจากประเทศอื่นโดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาแบบไทยเรา คุณภาพด้านเรียนการศึกษา ก็แตกต่างจากที่นี่พอสมควร ประสบการณ์ต่างๆหรือ Paper ที่คุณทำก็น่าจะช่วยตรงนี้ได้มากขึ้น แต่ก็ไม่เสมอไปครับ แถม Wimi ทำงานหนักไม่น้อยครับ ไหนจะงานวิจัยตัวเอง ไหนจะต้องรับผิดชอบสอนหรือช่วยสอนเด็กอีก หลายๆมหาลัยก็จะให้ดูแลเด็กทำ Thesis จบด้วย ก็จะมีเวลาทำงานตัวเองไม่มากครับ จะแตกต่างกับเด็กที่ได้ทุน

คราวนี้ผมจะมาที่เรื่องทุน ทุนเองก็สามารถหาได้จากแหล่งที่แตกต่างกัน มีแยกหลักๆก็ คือ ทุนจากมหาวิทยาลัย (ทุนนะครับ ไม่ใช่เงินเดือน) เช่น Uni Hamburg, Uni Kassel ,TU Chemnitz หรือทุนจาก foundation ต่างๆ เช่น Deutsche Forschungsgemeinschaft , DAAD ,die Bundesstiftung Umwelt etc. สามรถเช็คได้ว่ามีทุนอะไรในขณะนี้ที่ available บ้างที่

http://www.e-fellows.net/extranet/stipendien-datenbank

ซึ่งแบบทุนแบบนี้ก็ว่าง่ายๆ คือ คุณไม่ขึ้นอยู่กับมหาลัย เพราะมีเงินเดือนมาอยู่แล้ว ก็จะหา Professor เป็น Doktorvater / Adviser ได้ง่ายกว่า เพราะเค้าถือว่า เค้าไม่ต้องให้เงินเดือนคุณ ให้ที่ทำแลป เป็นที่ปรึกษาในการทำเอก แต่ไม่ใช่ Employee ของมหาลัย โดยปกติก็ไม่ต้องมีส่วนร่วมในการสอน ทำแต่งานของตัวเองไปนั่นล่ะครับ ว่าง่ายๆ ถ้าหาทุนตรงนี้ได้ ก็จะหาที่ทำเอกได้ง่ายขึ้นมากทีเดียว

คราวนี้มากรณีสุดท้าย คือ กรณีที่ไม่ได้ทำกับมหาลัย แต่ทำกับ Institute ต่างๆ เช่น Fraunhofer Institute, Leibniz Institute อันนี้ก็จะไปอีกเรื่องหนึ่ง ตาม Institute พวกนี้ปกติเค้าจะให้คุณเลือกสัญญาได้ว่า จะเป็นสัญญาแบบรับทุน (ซึ่งไม่ต้องเสียภาษี แต่ก็ไม่ได้จ่ายเงินบำนาญ หรือที่เรียกว่า Rente ในภาษาเยอรมันต่างๆ) หรือสัญญาแบบทำงานที่ต้องเสียภาษี ซึ่งมีข้อดีข้อเสียไม่เหมือนกัน ขอไม่พูดถึงนะครับ เพราะนอกกระทู้ แต่สำหรับ Institute พวกนี้ ผู้ทำเอกไม่ต้องมีส่วนร่วมในการสอนทั้งสิ้น ทำแต่งานวิจัย แต่ก็เลือกเด็กมากเลยล่ะครับ เพราะใครๆก็อยากเข้า สมัครทีเป็น 10-20 คน ทีเดียว ขนาดประวัติผ่านก็ยังต้องไปแข่งขันสัมภาษณ์อีกครับ

ตอบกลับความเห็นที่ 9