สอบถามเรื่องเกรดถ้าจะเรียนต่อป.โทที่เยอรมัน

ถ้าเกิดว่า เกรดผมแค่ 2.00 พอดี ได้ Aเยอะๆแค่วิชาเอก มีความสามารถพิเศษและใบประกาศอย่างอื่นประกอบติดไปด้วยแต่ไม่มากเท่าไหร่
อยากทราบว่ามีแนวโน้มที่เค้าจะรับเข้าศึกษามั้ยครับ ท่านใดมีประสบการณ์ในการส่งเอกสารเรียนต่อที่เยอรมันด้วยตนเอง
อยากให้พี่ๆช่วยเล่าให้ฟังหน่อยครับ ขอบคุณครับ

ปล.ไม่เอาแบบที่มาโปรโมทเว็บตามให้ไปดูเว็บ DAAD นะครับผมไม่ชอบ อยากได้ประสบการณ์จากผู้เรียนโดยตรง ขอบคุณครับ

ความคิดเห็นที่ 1
ตอบได้เท่านี้นะคับ
ปกติ เด็กที่เยอรมันเอง เวลาสมัครโท เกรด ต้อง ต่ำกว่า 2.5 (1 คือ 4 ของไทย)
แล้วเกรด นี้เกรด รวม ทั้งหมด นะคับ


ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
ไม่ได้เรียน ป โท ที่เยอรมันนะคะ เพิ่งสมัครไปจะเรียนเทอมนี้ แต่โดนรีเจคทั้งสองมหาลัยเลยค่ะ เราส่งไปสองนะ
เราจบเกรด 2.8 จาก ม.เกษตรศาสตร์ บางเขน วิศวคอมฯ ประสบการณ์ทำงานในบริษัทไอทีในไทย สองปีครึ่ง
สมัครคณะเกี่ยวกับ computer science ค่ะ ป โท

ที่แรก TU dresden อันนี้เค้าให้เหตุผลมาว่ามีวิชานึงเกรดเราได้ C เลยไม่ผ่านอ่ะค่ะ คือใน requirement เค้าก็บอกไว้น่ะแหละ ว่า สามวิชาที่กำหนดมาต่อไปนี้ต้องได้ เอหรือ บี เท่านั้น

ส่วนอีกที่คือ paderborn U. เค้าบอกมาว่า หลักสูตร ป ตรีที่เราเรียน ไม่เท่ากับหลักสูตรของเค้า ค่ะ

มาบอกเพื่อให้ข้อมูลนะคะ แต่คือทั้งสองยู ที่เราสมัครไปนี้ อันดับต้นๆ ทั้งคู่ paderborn ดังเรื่อง com science ด้วยค่ะ เราไม่แน่ใจเหมือนกันว่าถ้าเราสมัคร FH หรือ สมัครยูอื่นๆ ไปเยอะกว่านี้จะมีสิทธิ์หรือเปล่า


ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
คคห 2 เป็นไปได้ว่า วิชาที่ท่านสมัครเรียนนั้น เป็นวิชาที่มีผู้ต้องการเรียนมาก ทำห้ต้องคัดเลือกเกรดจากผู้สมัครเรียน


ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
คหใ 2
เขากำกัด จำนวนนักศึกษา ที่ไม่ได้อยู่ใน อียู ด้วยนะคับ
สองสมัคร มหาสัยอื่นๆดูสิคับเผื่อได้ อย่าไปติดกับ อันดับ มหาลัย มากนัก


ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
คุณ Dearz
เรื่องเกรดเด็กเยอรมันจบปริญญาตรีต้องได้อย่างต่ำที่ 2.5 ไม่เสมอไปครับ
แต่ละสถาบัญมีสิทธิกำหนดกฏเกณฑ์คุณสมบัติของผู้สมัครเรียน
ปริญญาโทของตนเอง บางมหาลัยถึงแม้ว่าเกรดเกิน 2.5 ก็เข้าเรียนได้
แต่ต้องสอบบางวิชาหรือหลายวิชาเพิ่ม
มหาลัยเป็นจำนวนมากกำหนดกฏเกณฑ์ของผู้ที่จะเข้าเรียนปริญญาโทไว้
ซึ่งหมายถึงว่า คนจบตรีไม่สามารถจะเข้าเรียนโทได้ทุกคน

สำหรับ จขกท ที่ได้เกรด 2 ปริญญาตรีจากไทยแต่ไม่ได้บอกว่าจบ
สาขาไหนและจะเรียนต่อสาขาอะไร แล้วจะตอบได้ยังไงครับ?
โดยทั่วไปแล้วเกรดเฉลี่ยรวม 2 คงยากที่จะหาที่เรียนต่อโทได้ และคงยากที่
จะเรียนได้ตลอดรอดฝั่ง

เรื่องความสามารถพิเศษหรือใบประกอบอย่างอื่นนั้น ตัดออกไปได้เลยครับ
ไม่มีส่วนในการพิจารณาใดๆ ทั้งสิ้น

สำหรับ คห 2 ไม่แปลกนะครับถ้าคุณจะพลาดไม่ได้รับการตอบรับเลย
เพราะคุณสมัครเรียนไปเพียง 2 แห่ง
TU Dresden นั้นถือเป็น TU หนึ่งที่ใหญ่ที่สุดของเยอรมนี
และเป็น TU ที่ได้ชื่อว่าเรียนยากที่สุดแห่งหนึ่งมาแต่ไหนแต่ไร
ยิ่งตอนนี้ติด Ranking ด้วยยิ่งจะดูคะแนนปริญญาตรีเป็นหลัก
ทั้งๆ ที่ไม่ได้กำหนด NC ไว้

Paderborn นั้นดังทางด้าน IT ตั้งแต่ปี 2007 เท่านั้นหลังจากนั้นก็ไม่ติดอันดับอีก
เป็นมหาลัยขนาดเล็กรับจำนวนนักศึกษาได้เพียง 17,500 คน
เมื่อจำนวนคนสมัครมากเกินที่นั่งเรียนก็จำเป็นต้องกำหนด NC

การกำหนดรับจำนวนนักศึกษาต่างชาติที่ไม่ใช่ EU นั้น
ใครเห็นกฏนี้ก็ช่วยส่ง link กันให้อ่านหน่อย
ก็จะขอบคุณมาก เท่าที่ผมเห็น ผอ DAAD
ให้สัมภาษณ์นั้น ประเทศในยุโรปแข่งขันกันรับนักศึกษาต่างชาติด้วยซ้ำไป
ซึ่งแน่นอนว่าต้องการรับเฉพาะคนที่มีคุณภาพเท่านั้น

แม้แต่นักศึกษาจากชาติ EU ด้วยกันก็มีคำสั่งศาล EU ออกมาแล้ว
ให้แต่ละประเทศสามารถกำหนดโควต้าจำนวนนักศึกษาต่างชาติใน
ประเทศสมาชิกได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือสาขาแพทย์

แต่ถ้าจำนวนนักศึกษาต่างชาติเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้
หากมหาลัยแต่ละแห่งจะกำหนดโควต้ากันเองก็ไม่น่าแปลกใจ

ตอบกลับความเห็นที่ 5
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 6
ขออาศัยส่วนบุญ จขกท พอดีสนใจเรียนต่อเหมือนกันครับ

เห็นคุณ Dearz ตอบหลายกระทู้ที่เกี่ยวกับการเรียนในเยอรมัน

ขอแอบถามนิดนึงสิครับว่า คุณ Dearz ไม่ทราบว่า เรียนอะไรอยู่เหรอครับ? เรียนต่อปริญญาโทเหรอครับ?

ถ้าเรียนต่อปริญญาโท ไม่ทราบว่า สายไหนครับ? หรือว่าที่ไหนอ่ะครับ?

แหะๆ ขอโทษที่ละลาบละล้วงนะครับ

พอดีเผื่อผมอยากจะสอบถามข้อมูล จะได้สอบถามได้ถูกทาง ถูกคนน่ะครับ

ขอบคุณครับ ^^


ตอบกลับความเห็นที่ 6
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 7
"Nicht-EU-Ausländer ohne deutsche Hochschulzugangsberechtigung
Für Studieninteressierte aus Nicht-EU-Ländern ohne deutsche Hochschulzugangsberechtigung ist eine Vorabquote von zurzeit 5% der Studienplätze reserviert. Die Teilnahme an einem Studierfähigkeitstest ist Pflicht, der Besuch eines darauf vorbereitenden Propädeutikums wird dringend empfohlen."

ที่มา http://www.med.uni-frankfurt.de/bewerbung/anfaenger/auslaender/index.html


ตอบกลับความเห็นที่ 7
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 8
คห. 5

คุณ Bagheera
"เรื่องเกรดเด็กเยอรมันจบปริญญาตรีต้องได้อย่างต่ำที่ 2.5 ไม่เสมอไปครับ
แต่ละสถาบัญมีสิทธิกำหนดกฏเกณฑ์คุณสมบัติของผู้สมัครเรียน
ปริญญาโทของตนเอง บางมหาลัยถึงแม้ว่าเกรดเกิน 2.5 ก็เข้าเรียนได้
แต่ต้องสอบบางวิชาหรือหลายวิชาเพิ่ม"

อย่าว่าผมอย่างงี้อย่างนั้นเลยนะคับ คุณจะมาบอกผมทำไม ในความเห็นที่สอง ผมก็พิมพ็ไว้ชัดเจนแล้วว่า "ปกติ" ส่วนมหาลัยเขาจะรับใครไม่รับใครอันนั้นก็เรื่องของเขานะคับ
ตอบกลับความเห็นที่ 8
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 9
คุณ Dearz

ผมนึกอยู่แล้วว่าคุณต้องเข้าใจผิดแน่ แต่ยังไม่อยากฟันธง ถึงได้ถามหา link และที่คุณส่งมาให้นั่นก็ยืนยันว่าคุณเข้าใจผิดจริงๆ

เพราะนั่นเป็นเรื่องของนักศึกษาคณะแพทย์เท่านั้น ซึ่งต้องจำกัดโควต้าเพราะมีสาเหตุการลงทุนศึกษาที่สูง และต่างชาติเรียนจบก็กลับไปทำงานที่อื่นกันหมด ทำให้เจ้าของประเทศเองกลับขาดแพทย์เท่ากับลงทุนไปเสียเปล่า การจำกัดโควต้าจึงสามารถทำได้ทั้งต่างชาติที่มาจากสมาชิกประเทศ EU และ นอก EU ตามคำตัดสินของศาล EU ล่าสุด

http://www.zeit.de/wissen/2010-04/ausgesperrte-studenten

แต่ไม่ใช่สำหรับการศึกษาสาขาวิชาทั่วไปครับ ไม่มีการกำหนดเรื่องโควต้านักศึกษาต่างชาติไว้ที่ไหนเลยทั้งสิ้น ไม่ว่าจากรัฐบาลหรือสถาบัญศึกษา ความเป็นจริงนั้นปัจจุบันนักศึกษาต่างชาติทั้งหมดในเยอรมนีคิดเป็นสัดส่วน 11% ของนักศึกษาทั้งหมด

เข้าใจเสียใหม่ให้ถูกต้องนะครับ

คห 8

ที่คุณเขียนมานั้น ผมอ่านแล้วเข้าใจว่าคำว่า ปกติ นั้นก็คือปฏิบัติกันอยู่โดยทั่วไปทุกแห่งสิครับ คุณจะรู้มาจากประสบการณ์จริงถ้าคุณเรียนปริญญาโทอยู่ (แต่ผมเดาว่าคุณไม่ได้เรียนโทอยู่ในเยอรมนี) และเขียนให้ได้เข้าใจชัดเจนว่ามีหลายแห่งที่ไม่ได้กำหนดเกรด 2.5 เช่นมหาลัยดัง Uni Darmstadt เป็นต้น

อย่าว่าผมอย่างงี้อย่างนั้นเลย เรื่องเกี่ยวกับการศึกษาของเยอรมันเราตอบการกันมาก็เยอะ คุณก็ช่วยตอบทุกครั้งและส่วนใหญ่ที่คุณตอบก็ผิดเสียด้วย แต่ผมก็ถือว่าดีที่คุณตอบ เพราะคุณจะได้รู้ในสิ่งที่ถูกต้องไปด้วย

ตอบกลับความเห็นที่ 9
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 10
คห. 6

เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์คับ มหาวิทยาลัยใกล้บ้าน ไม่ได้โด่งดังอะไร


ตอบกลับความเห็นที่ 10
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 11
คห. 9

เข้าใจอะไรผิดรึคับ ไล่มาให้ผมฟังหน่อย ว่าผมเข้าใจอะไรผิด

รึผิดที่คิดว่า คนที่จบ Ausbildung มีวุฒิไม่เที่ยว วิศวะ??


ตอบกลับความเห็นที่ 11
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 12
คุณไปไล่อ่านดูในทุกระทู้ที่เกี่ยวกับการศึกษาได้เลย เอาแค่เรื่องระบบการศึกษาระดับสามัญเรื่องเดียวก็พอ เรื่อง fachabitur คุณก็ถึงกับต้องขอโทษมาแล้ว หรือ เรื่องที่บอกว่ารัฐที่คุณอยู่มี Fachoberschule นั่นก็ผิดอีก

แถมกระทู้นี้ล่าสุดอีกด้วยยังได้

แม้แต่เรื่องที่่คุณบอกว่า เด็กไทยที่จะย้ายมาอยู่เยอรมันีได้เมื่ออายุไม่เกิน 12 นั่นก็ผิดอีก แต่ผมขี้เกียจออกมาแก้

เรื่องเทียบวุฒิของแต่ละประเทศ ผมขี้เกียจเถียงเหมือนกันเพราะว่าเป็นเรื่องของมหาลัยจะตัดสินเองไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัวที่เอามาอ้างกันได้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ที่แน่ๆ วุฒิปริญญาตรีเมืองไทยยังไม่ได้รับการยอมรับจากเยอรมนีมีให้เห็นบ่อย กรณีของ คห 2 นั่นก็แสดงให้เห็นอีก

แล้วตกลงคุณเรียนโทหรือปล่าว? ไม่เห็นตอบให้ชัดเจน เห็นบอกแต่ว่าเรียนคอม


ตอบกลับความเห็นที่ 12
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 13
ทุกครั้งที่ผมตอบ ผมจะตอบกระทู้ต่างๆด้วยความเข้าใจในขณะนั้น ถ้าผมเข้าใจผิด ผมยอมรับเสมอ และขอบคุณคนที่บอกด้วยซ้ำที่ทำให้ผมเข้าใจถูก เพราะคิดเสมอ เราไม่สามารถรู้อะไรได้หมด ละสิ่งที่เรารู้อาจจะถูกในช่วงๆหนึ่งเท่านั้น

ส่วนเรื่องเด็ก อายุ 12 โทษทีนะคับ จำไม่ได้ละว่าตอบไปตอนไหน แต่ผมรู้ว่าเขากำหมดอายุ เด็กใหม่ที่ติดตามผู้ปกครองมาอยู่ที่เยอรมัน สมัยก่อน สีกว่าปีที่แล้ว ห้ามเกิน 16 แล้วก็มาเป็น 12 ตอนนี้อาจจะต่ำกว่านั้นแล้วก็ได้ เพราะผมก็ไม่ได้ติดตามอะไรขนาดนั้น
ถ้าคุณสนใจ ก็ http://www.aufenthaltstitel.de/rl_2003_86_eg.html

ส่วนเรื่อง วุฒิของ ausbildung ที่เราเคยแปลเปลี่ยนความคิดกันนั้น ที่ผมตอบไป เพราะผมรุ้ว่าเขาสอนอะไรมากน้อยแค่ไหน เมื่อเทียบระดับมหาวิทยาลัย

ส่วนเรื่องเรียนอะไรอยู่นั้น ผมขอใข้คำพูดคุณละกัน ตอนที่ผมถาม คุณตอบว่า "ถ้าบอกหมดก็ไม่สนุกสิครับ"

แถมเรื่อง Vorabquote สำหรับนักศึกษาที่ไม่ได้สัญชาติใน อียู
http://www.hs-furtwangen.de/willkommen/die-hochschule/zentrale-services/studentische-abteilung/zulassungsamt/bachelorstudiengaenge/vergabeverfahren.html


ตอบกลับความเห็นที่ 13
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 14
แถมอีกหน่อย ตะกี้พิมพ์ไม่หมด

เรื่อง Vorabquote นั้นจะไม่มีผลต่อเมื่อ นักเรียนคนๆนั้น จบการศึกษาในประเทศ รึใน อียู แต่ไม่ได้ถือสัญชาติใน อียู

ตัวอย่าง เด็กไทยโตที่เยอรมัน ถือสัญชาติไทย แล้วเรียนจบ abitur ในเยอรมัน ก็ เมื่อไปสมัครกับทางมหาสัย ก็จจะไม่ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Vorabquote 10 เปอร์เซ็น


ตอบกลับความเห็นที่ 14
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 15
เรียในไทยแล้วไปต่อเอกก็ได้หุๆๆๆๆ


ตอบกลับความเห็นที่ 15
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 16
"1. Zugangsvoraussetzung ist ein Abschluss als Bachelor
of Science bzw. Bachelor of Engineering in einem
der Studiengänge Wirtschaftswissenschaften (Economic
Sciences, Business Sciences), Bauingenieurwesen
(Civil Engineering) oder Maschinenbau
(Mechanical Engineering) oder ein vergleichbarer
Abschluss.
2. Die Gesamtdurchschnittsnote des als Zugangsberechtigung
angeführten Abschlusses soll mindestens die
Gesamtbeurteilung „gut“ (Note: 2,5) sein."

หน้า 157

link http://www.chemie.tu-darmstadt.de/studieren_3/studiengngea/biomolecularengineeringii/masterbme/bachelorbme.de.jsp

"Zugangsverfahren

Für den Zugang zum Masterstudiengang BME besteht ein Zugangsverfahren. Details hierzu finden Sie hier ab Seite 54."

pdf ลองไปหาอ่านเอานะคับ เขาเขียนขอบังคับ การเข้าสมัครเรียนไว้ หน้าเวปไม่เขียนบอกอะไรเลย แต่ข้อกำหนดมันดันอยู่ใน pdf


ตอบกลับความเห็นที่ 16
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 17
สวัสดีครับ คุณ Dearz & คุณ Bagheera

เราก็เจอกันมาหลายกระทู้แล้วนะครับ ก็มีผิดมีถูกกันเป็นปกติ ผมเข้าใจทั้งคู่นะครับ แล้วก็นับถือทุกท่านเสมอ เพราะแม้ความเห็นจะต่างกัน แต่ก็ยอมรับในความผิดพลาดของตนเสมอ ความเห็นของผม คุณ Dearz ใจเย็นๆเวลาอ่าน แล้วอย่า take it personally จนเป็นอารมณ์ดีกว่านะครับ เข้าใจว่า ที่ตอบก็ตอบตามที่เข้าใจมีถูกมีผิดครับ แล้วตัวหนังสือเองก็สื่อสารให้เข้าใจผิดกันได้บ่อยๆ แต่ก็อยากจะให้ใจเย็นๆ เอาเหตุเอาผลเข้าว่า อย่าเอาอารมณ์มาใส่เลยนะครับ จะถูกจะผิดก็แค่เอาหลักฐานเอาอะไรมาอ้าง ก็โอเคแล้วครับ เกรงใจ จขกท และสมาชิกผู้อ่านท่านอื่นๆด้วย เราตอบกระทู้ ก็ตอบเอาเนื้อหาเป็นกระทู้ๆไปเถอะครับ อย่าหลุดประเด็น อย่ายกเอาเรื่องกระทู้อื่นที่จบไปแล้ว มานั่งขุดคุ้ยเถียงให้นอกเรื่องกันอีก เข้าใจครับว่า มีข้อมูล แต่สำหรับบางคนก็มีข้อมูลมากกว่าเหมือนกันครับ เป็นเรื่องปกติที่เหนือฟ้ายังมีฟ้าล่ะครับ

เอาเป็นข้อๆนะครับ ข้อแรกเรื่องการสมัครเรียนเนื่องจากเกรด 2,5 นั้น ที่ว่ากำหนดเรื่องเกรด ก็อย่างที่คุณ Bagheera บอกจริงๆว่า มันไม่ใช่ทุกมหาลัย และแม้บางมหาลัยจะเขียนไว้ แต่ก็มีการหย่อนยานกันบ้าง แล้วแต่ความเห็นของมหาลัยนั้นๆ บางมหาลัยแม้คนสมัครจะเกรดดีเกิน 2,5 ก็ยังมีที่ต้องโดนนั่งสัมภาษณ์โดนนั่งพิจารณาเป็นรายๆไปด้วยซ้ำ แม้แต่ที่คุณ Dearz ก๊อปมาให้อ่านใน คห ที่ 16 นั้นก็เห็นแล้วว่า มีการเขียนว่า "soll" ไม่ใช่ "muss" อย่างที่บอกว่าในหลายกรณีนักเรียนปริญญาโทจะพิจารณาเป็นรายๆไปครับ แล้วก็เป็นเพียงบางมหาลัย และบางคณะที่คุณยกมานั้น คือ คณะ Biomolecular Engineering ของ TU-Dresden ซึ่งไม่ใช่คณะที่ คห. 2 สมัครไป กฏในการสมัครจึงแตกต่างไปอีก อย่างที่เห็นครับ แม้แต่มหาลัยเดียวกัน คนละคณะกฏยังไม่เหมือนกันเลยครับ คณะที่ คห. 2 สมัครไปนั้น คือ Informatik และ ZUGANGSVORAUSSETZUNGEN ก็คนละแบบกันเลยนะครับ กับที่คุณยกมา อย่างที่คุณ Bagheera บอกไปแล้วว่า แล้วแต่มหาลัย และคณะ อันนี้ถูกจริงๆครับ ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติครับ เพราะคณะแต่ละคณะเรียนไม่เหมือนกัน จะให้ใช้กฏเดียวสำหรับบางมหาลัยก็ไม่เหมาะสมนัก

http://www.inf.tu-dresden.de/index.php?node_id=2680

http://www.inf.tu-dresden.de/content/study/prospective/gfx/EFO_INF.pdf

2 ลิงค์นี้ โชว์ให้ดูนะครับว่า จริงๆแล้วไม่ได้มีการกำหนด Vorabquote เรื่องต่างชาติ หรือเรื่องเกรด อ่านดูก็จะเห็นว่าไม่ได้ระบุเรื่องเกรดซักนิดในการสมัครเรียนต่อปริญญาโทที่นี่นะครับ ( 2
Zugangsvoraussetzungen) เพราะฉะนั้นเรื่องเกรด 2,5 หรือไม่นั้น ตัดไปได้เลยสำหรับคณะนี้ของมหาลัยนี้ แต่เค้ามีอย่างอื่นที่ต้องการ ทั้งนี้ทั้งนั้น TU-Dresden ค่อนข้างเรื่องมากในจุดนี้ เพราะแม้จะผ่านทุกข้อที่กำหนดไว้ใน  2 ก็ยังมีการสัมภาษณ์ส่วนตัวอีก ซึ่งหลายๆมหาลัยก็ไม่มีตรงจุดนี้

ตอบกลับความเห็นที่ 17
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 18
คราวนี้มาเรื่อง Vorabquote ผมเข้าใจว่า ที่คุณ Bagheera บอกว่า ไม่มีเรื่อง Vorabquote นั้น คือ หมายถึงนักศึกษาปริญญาโทเท่านั้นนะครับ เพราะนั้นคือที่ จขกท ถาม (หากไม่ใช่ คุณ Bagheera ก็ช่วยออกมาแก้ผมด้วยนะครับ) ซึ่งถ้าพูดถึงแค่ปริญญาโทนั้น จริงครับที่ไม่มี ที่มีจริงๆก็ของปริญญาตรี ซึ่งที่คุณ Dearz ยกมาเป็นตัวอย่างนั้นก็ล้วนเป็นของปริญญาตรีทั้งสิ้น นอกจากนั้นนั้นแม้มีก็มีแค่บางมหาลัย ไม่ใช่ทุกที่ทุกมหาลัยครับ สืบเนื่องมาจากเด็กจบ Abitur ปีนี้และอีกหลายๆปีข้างหน้า จำนวนเด็กจะเพิ่มมากกว่าเมื่อก่อนเป็นจำนวนมาก รวมถึงการเอา Wehrdienst ออกไป จึงทำให้จำนอนเด็กเยอะขึ้นไปอีก จึงจำเป็นจะต้องมีการจองที่ไว้ให้เด็กเยอรมันตรงนี้ แต่ของปริญญาโทนั้นไม่มีนะครับ เพราะหนึ่งในจุดประสงค์หลักของการเปลี่ยนระบบเป็น Bachelor, Master นั้น คือ นอกจากจะสามารถเทียบกันได้ทั่วโลกแล้ว คือ อยากจะดึงเด็กต่างชาติที่ไม่ได้จบจากมหาลัยเยอรมันมาเรียนที่นี่ด้วย หลักๆก็คือ ชาติจีน และอินเดียที่มีจำนวนเข้ามาเรียนเพิ่มขึ้นทุกปีๆ (ต่างจากระบบ Diplom เมื่อก่อน) ยิ่งถ้าเป็นหลักสูตรภาษาอังกฤษแล้ว นักศึกษาอินเดียวมีจำนวนมากทีเดียวครับ ด้วยเหตุตรงนี้จึงไม่ได้มีการจำกัด % ตรงนี้เหมือนการเรียนต่อปริญญาตรี หลายๆมหาลัยใหญ่ที่ผมรู้จัก มีจำนวนเด็กต่างชาติในบางคณะบาง Major (Vertiefung) มากกว่าเด็กเยอรมันด้วยกันเองอีกครับ นอกจากนี้ Vorabquote ที่เห็นได้ชัดและบ่อยที่สุด คือ ในการเรียนสายแพทย์ สาย pharmacy ไปทางนั้นน่ะครับ ส่วนเรื่อง Bildungsinländer หรือเด็กที่จบในเยอรมันนั้น คนละเรื่อง กฏเดียวกับเด็กเยอรมันปกติ ขอไม่พูดถึงนะครับ หรือหากคุณ Dearz มั่นใจว่า Vorabquote นั้นมีสำหรับนักศึกษาต่อปริญญาโทด้วย ก็รบกวนยกมาเป็นตัวอย่างให้ผมดูหน่อยนะครับ

เอาตัวอย่างง่ายๆของ คห.2 แล้วกันนะครับ ตะกี๊ยกของ TU-Dresden ไปแล้ว คราวนี้เรามาที่ Uni Paderborn กันบ้าง ที่นี่กำหนดให้เห็นชัดเจนเลยครับว่า เกรดอย่างน้อย 3,0 ไม่ใช่ 2,5 อย่าง Uni Paderborn ไม่มีการกำหนดเรื่อง Vorabquote เลยครับ ทั้งตรีและโท นี่ก็ตัวอย่างให้เห็นชัดเจนนะครับว่า เรื่อง Vorabquote เองก็ขึ้นอยู่กับมหาลัย ไม่ใช่ทุกที่ เช่นเดียวกับเรื่องเกรด หรือ Zugangsvoraussetzungen ต่างๆครับ

http://www.cs.uni-paderborn.de/studieninteressierte/zulassung-zum-studium.html

-Zulassung zum Masterstudiengang




ตอบกลับความเห็นที่ 18
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 19
สวัสดีคับ คุณ Prudence
เรื่องเกรด ไม่ได้คิดอะไรมากหรอกคับ เพราะไม่รู้จะเถียบกันไปแล้วชนะไปเพื่ออะไร เพราะถืง เกรดต่ำกว่า 2.5 ก็ไม่ได้ความว่าจะเรียนเสมอไป เพราะมหาลัยที่ผม รู้จัก ก็รับจำนวน ป.โทจำกัดกันอยู่แล้ว เพื่อนผมๆ ได้เข้าเรียน ด้วยเกรด 1.5 แถมที่ได้เข้าเพราะมีคน สละสิทธ์อีกตางหาก ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับมหาลัยที่เราไปสมัคร

ส่วนเรื่อง Vorabquote ที่เอาลิงค์มาลงนั้น ก็เพราะคุณBagheera บอกไม่เคยเห็น ก็เลยเอามาลงให้ดูนะคับ
"การกำหนดรับจำนวนนักศึกษาต่างชาติที่ไม่ใช่ EU นั้น ใครเห็นกฏนี้ก็ช่วยส่ง link กันให้อ่านหน่อย ก็จะขอบคุณมาก เท่าที่ผมเห็น ผอ DAAD ให้สัมภาษณ์นั้น ประเทศในยุโรปแข่งขันกันรับนักศึกษาต่างชาติด้วยซ้ำไป ซึ่งแน่นอนว่าต้องการรับเฉพาะคนที่มีคุณภาพเท่านั้น "

เพราะส่วนมาก คนจะไม่รู้ว่าเรื่องแบบนี้มันมีจริง เลยคิดไปว่าที่ คห. สอง ไม่ได้รับเขาเรียน เพราะโดนเรื่องตรงนี้เลยรึเปล่า ก็เท่านั้น เพราะตอนที่ผมสมัครเรียนเอง ยังคิดว่าตัวเองอยู่ใน 10 เปอร์เซ็นนั้นเลย จนมีเจ้าหน้าทีมาแนะนำ ว่าคนที่จบในเยอรมัน ถือแม้ว่าไม่ได้ถือสัญญาเยอรมัน ก็จะไม่โดนจัดเขากลุ่ม 10 เปอร์เซ็น แต่เท่าที่เห็น มหาลัยคงไม่เอาเรื่องแบบนี้มาเปิดเผยมากนัก มันจะเป็นเรื่องติดลบมากว่า เป็นข้อดีของมหาลัยเสียอีก ที่มีการจำกัดจำนวนนักศึกษาที่ ไม่ได้มีสัญชาติใน อียู

ปล. ผมคงต้องพิมพ์ให้หวานกว่านี้เสียหน่อย เพราะพิมพ์ห้วนไปจริงๆ อย่างไงก็ขออภัยไว้ในที่นี้ด้วยนะคับ และคงต้องใช้ภาษาอีกแบบ อย่างคำว่า "ปกติ" ผมควรจะเปลี่ยนเป็น "เท่าที่ผมเห็นมา" น่าจะดีกว่าจริงไหมคับ เพราะปกติของผม มันไม่ ปกติของคนอื่นเสียด้วยสิเนี้ย


ตอบกลับความเห็นที่ 19
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 20
ผมขอเอา http://www.wiwo.de/ranking-die-besten-unis-und-fachhochschulen/6482762.html Ranking อันนี้เป็นหลักนะครับ (แม้ผมจะไม่ใส่ใจมันเลยก็เถอะ เรื่อง Ranking เนี่ย) ขอยกตัวอย่างหลักๆ 3 มหาลัยดังที่ติดอันดับด้าน Informatik ใน Top 10 นะครับ

- TU-München: http://www.in.tum.de/en/for-prospective-students/application/master-informatics/online-application-and-documents.html

- Tu Ilmenau: http://www.tu-ilmenau.de/studierende/studium/studienangebot/master/master-informatik/#c11070

http://www.tu-ilmenau.de/fileadmin/public/universitaet/media/Satzungen/6_Pruefungs-_und_Studienordnung/MPO-AB/MPO-AB.pdf

- Tu-Berlin: keine Zulassungsbeschränkung, Voraussetzung ด้วยซ้ำ แต่มีอย่างอื่นที่ต้องทำตาม http://www.eecs.tu-berlin.de/menue/studium_und_lehre/studiengaenge/informatik/bewerbung/

อย่างที่ยกตัวอย่างมานะครับ 3 มหาลัยดังจาก Top 10 ไม่ได้มีการกำหนดเรื่องเกรดอย่างชัดเจนด้วยซ้ำ สรุปง่ายๆว่า บางที่ต้องสอบเข้า Eignungstest หลายวิชาข้อเขียนเพื่อให้ได้เข้า บางที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการ (ส่วนคณะกรรมการอะไรนี่จะดูอะไรนั้น ผมคงไม่สามารถให้รายละเอียดได้) แต่ต้องสอบสัมภาษณ์ และบางที่เช่น TU-Berlin ไม่มีกำหนดเกรดเลย แต่ไปกำหนดเรื่อง CP หรือเรื่องภาษาแทน สรุปถ้าจะเรียนต่อโทจริงๆ มหาลัยดังๆเยอะแยะไม่สนใจที่จบตรีมา แต่ให้มาสอบของเค้าให้ผ่าน (ซึ่งนั่นยากกว่า) หรือให้เข้าได้เลย แต่ไปเอาตัวรอดดิ้นรนเอาเอง จะไปตีว่า 2,5 เสมอไปไม่ได้หรอกครับ แน่นอนว่ามีบางมหาลัยกำหนดตามที่เค้าต้องการ แต่ที่ผมยกมาเป็นตัวอย่างนั้น ก็เรียกว่าเป็นมหาลัยชื่อดังและมีขนาดใหญ่ที่มีคนหมายปองอยากจะเรียนเป็นจำนวนไม่น้อย แถมเรื่อง Vorabquote ไม่ต้องพูดถึง ไม่มีกล่าวถึงเลยด้วยซ้ำ จะต่างก็แค่ว่าต่างชาติอาจจะต้องสอบเรื่องภาษามากกว่าน้อย ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติ แต่ถามว่า ถ้าคิดจะเรียนต่อโทที่เยอรมันนั้น เกรดมาไม่ดีจากไทยจะยิ่งลำบากอยู่แล้วครับ เพราะการเรียนต่อโทที่นี่เน้นความเข้าใจ และการอธิบายได้เป็นหลัก เรียนตรีที่นี่ยากกว่าที่ไทยหลายเท่าครับ ทั้งเนื่อหาการเรียนการสอน แนวความคิด และอื่นๆอีก ถ้าพื้นฐานมาแน่นไม่พอจากไทย + กับเจอเรื่องปัญหาการเรียน เสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา เสียทั้งความรู้สึกเปล่าๆครับ

ทั้งนี้ทั้งนั้นผมขอฝากถึง จขกท และ คห.2 ว่า Ranking ในเยอรมันไม่ได้มีความหมายเหมือนที่อังกฤษ หรืออเมริกานะครับ ต่อให้จบมาจากมหาลัย No-Name ก็สามารถหางานทำได้ ถ้าคุณเก่งจริง และจบออกมาเกรดดีในระดับหนึ่ง (แน่นอนว่าเกรดสำคัญในการเรียน หรือการทำงานในอนาคต อย่างน้อยก็งานแรก) ผมรู้จักคนเยอะแยะครับ จบจากมหาลัย No-Name แต่ทำงานในบริษัทใหญ่ๆ อาศัยฝีมือล้วนๆครับ ไม่ใช่ชื่อเสียงมหาลัย สำคัญที่ตัวเรียนต้องน่าสนใจที่ทำให้ตัวเราอยากเรียน แล้วเราสามารถทำได้ดีจริงๆครับ แต่หากสามารถจบจากมหาลัยชื่อดังได้ ก็มีแต่ดีนั่นล่ะครับ ไม่มีข้อเสียอะไร แต่ฝากไว้พิจารณาในการเลือกเรียน ใช่แต่จะเลือกเอาเฉพาะมหาลัย Top 10 ครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 20
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 21
ไม่ต้องถึงขนาดหวานหรอกครับ ผมเข้าใจว่า คุณ Dearz เองก็มีข้อมูลด้านการศึกษาไม่น้อย และบางทีอาจจะรู้สึกไม่พอใจบ้างเวลาโดนโต้แย้ง บางทีนโต้แย้งก็เขียนเป็นกลาง แต่เราแปลเจตนารมณ์กันผิด หรือบางทีคนแย้งก็อาจจะห้วนเหมือนกันก็มีทั้งคู่ล่ะครับ ซึ่งก็ปกติสำหรับทุกคนแหละครับที่จะมีบ้างที่เก็บเป็นอารมณ์ แต่กลายเป็นว่า หลายๆครั้งการแลกเปลี่ยน คห ของเราหลายๆคนแถวๆนี้ อาจจะเป็นที่น่ากลัวสำหรับคนอื่นไป เพราะรู้สึกจะถึงพริกถึงขิง ไม่ยอมกันเอาเสียเลย แต่ผมก็นับถือคุณ Dearz กับคุณ Bagheera นะครับที่ลูกผู้ชายพอทุกครั้ง ถ้าเข้าใจอะไรผิด ก็ยอมรับและปรับความเข้าใจเสียใหม่ ไม่ได้ทำกันได้ทุกคนครับตรงนี้ หรืออย่างน้อยก็มีให้เห็นทั่วไปในบอร์ดเราว่า บางคนไม่คิดจะทำด้วยซ้ำ ยังไงเราก็มีกันอยู่แค่นี้ครับในเรื่องแนวๆนี้ เลยไม่อยากให้ต้องขัดใจกันเปล่าๆครับ

เท่าที่ผมทราบนั้น การปรับระบบเป็น Bachelor, Master ทำความเดือดร้อนให้หลายๆมหาลัยเป็นอันมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการรับเด็กนักเรียนในประเทศตนเอง หรือต่างชาติเข้ามานั้น ก็กลายเป็นยุ่งยากซะหมด ส่วนเรื่อง Vorabquote นั้น ผมไม่มั่นใจว่า แต่ละมหาลัยเอาอะไรเป็นตัวพิจารณา และไม่มั่นใจว่า พึ่งเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยปีไหนกันแน่ เพราะเมื่อก่อนนั้นจำนวนนักเรียนต่างชาติ ไม่ได้เยอะเหมือนทุกวันนี้ จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องจำกัดที่เรียน แต่อย่างที่บอกครับตอนนี้เด็กเยอรมันเองจบเยอะ มหาลัยเองก็รับกันไม่หวั่นไม่ไหว ไหนจะเรื่อง G8-Abi อีก กลายเป็นเด็กล้นมหาลัยไปหมด แล้วยังเรียนฟรีเกือบทุกรัฐอีก ถ้าจะไม่ให้จำกัด % ของต่างชาติเลย ก็เอาเปรียบชาติเค้าไปหน่อยครับ ถ้าขนาดเด็กในชาติตัวเองยังไม่มีที่เรียน ก็ไม่ควรจะรับต่างชาติจริงๆล่ะครับ เพราะเงินที่เอามาให้มหาลัยทั้งหลายก็มาจากภาษีของคนในชาติ ก็เข้าใจเค้าในส่วนที่ว่า ตอนนี้ทั้งจีนทั้งอินเดียเข้ามาเยอะมาก มหาลัยไหนเก็บเงินก็รวยไป ที่ไหนไม่ได้เก็บ ก็ดูเหมือนจะโดนต่างชาติมาเอาเปรียบเรื่องสวัสดิการการเรียนฟรีตรงนี้ทั้งๆที่ตัวเองก็ไม่ได้จ่ายอะไรกลับไป ดีไม่ดีมาดึง standard การศึกษาเค้าลงเสียด้วยซ้ำไป เสียชื่อเสียงมหาลัยอีก แต่ยังดีที่มหาลัยในเยอรมันมีเยอะ และคุณภาพไม่ได้แตกต่างกันมากนัก โอกาสจะเรียนที่เยอรมันจึงมีเยอะสำหรับต่างชาติครับ ถ้าไม่ได้ติดค่านิยม Ranking เหมือนที่อเมกาหรืออังกฤษ สมัครหลายๆมหาลัย ยังไงก็ได้ครับ แต่จะได้ที่ไหนอีกเรื่องนึงก็เท่านั้นล่ะครับ

ส่วนเรื่องเกรดนี่ผมมองว่า เกรดที่มาจากไทย หลายๆครั้งก็ยังเทียบกับที่นี่ลำบากครับ เรียนมาไม่เหมือนกัน ตัวเรียน วิธีเรียนแตกต่างกัน ความสามารถก็แตกต่างกัน ต่อให้เรียนเก่งมาจากชาติตัวเอง แต่บางทีอาจจะไม่ได้เสี้ยงของเด็กที่นี่บางคนก็มีครับ จึงเอามาเป็นตัววัดลำบาก แต่ถ้าเกรดจากเด็กที่จบจากเยอรมันตั้งแต่ Abitur ขึ้นมานั้นอีกเรื่องละครับ

ผมเคยเจอ Professor ท่านนึงเป็นหัวหน้าคณะ FH เล็กๆที่นึง เคยเอ่ยกับผมด้วยตัวเองว่า หากสนใจเรียนคณะเค้า ก็ให้สมัครมา ยังไงก็ต้องผ่านโต๊ะเค้า ถ้าเค้าเห็น จำหน้าได้ ยังไงก็ได้เรียน กลายเป็นว่า สุดท้ายแล้วจะได้เรียนหรือไม่ Zulassung แต่ละที่กำหนดไม่เหมือนกันหรอกครับ แต่ละมหาลัย โดยเฉพาะมหาลัยในเครือ T9 (Die führenden Technischen Universitäten in Deutschland) มักจะมองว่า ตนเองเป็นมหาลัย Elite เสมอ บางที่จะเคี่ยวในการคัดเด็กตั้งแต่เริ่มอยู่แล้ว และบางที่เช่น TU-Berlin, TU-Darmstadt ก็ดูเหมือนจะปล่อยเด็กเข้ามาเรียนง่าย แต่สุดท้ายพอเข้ามาเรียนแล้ว เด็กอาจจะต้องสอบอะไรเพิ่มเติม (ซึ่งนั่นล่ะที่หินจริงๆ ไม่ใช่ตัวเรียนหรอกครับ) หรืออาจจะต้องเจออะไรที่ไม่คาดคิด อันนี้เป็นเรื่องปกติ(ที่ไม่ปกติ)ครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 21
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 22
เท่าที่ผมทราบมาเรื่อง Vorabquote มีมาก่อนปี 2000 นะคับ รัฐเป็นคนกำหนดในปัจจุบัน ผมมองว่าไม่เกียวกับ abi หรือ การที่ไม่ต้องเป็นทหารของเด็กผู้ชาย เพราะอย่างที่ว่า ให้ชาติอื่นมาเรียนในชาติตัวเองใช้เงินภาษีคนในประเทศตัวเองเพื่อสร้าง นักคิดนักวิจัย และอื่นๆ พอเรียนจบ ก็จากไป รึไม่ก็ทำงานได้ในเวลาที่จำกัด ด้วยเหตุนั้นจึงมีการแก้กฎหมายแรงงานต่างชาติกันอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ละคับ

และอีกเรื่องที่ผมประสบการณ์ตรง มีมหาลัยหนึ่งรับเด็ก แบบไม่คัดเกรด รับมาเพื่อเอา studiengebühr พอ เรียนไปได้สองทอม เด็กที่เข้ามาเรียน เหลืออยู่ประมาณครึ่งหนึ่ง เท่านั้น สุดยอดจริงๆ ผุ้บริหารเขาคิดได้...

ปล. ต่างชาติในที่นี้หมายถึง บุคคลนอก อียู ยกเว้นสวิท


ตอบกลับความเห็นที่ 22
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 23
โทษทีครับ ขาดตอนไปช่วงหนึ่งเพราะมีธุระต้องทำ

อย่างที่บอกครับ Vorabquote ที่จำกัดจำนวนนักศึกษาต่างชาติสำหรับสาขาวิชาทั่วไปไม่มี และไม่เคยมี ยกเว้นคณะแพทย์เท่านั้นที่กระทำอยู่ และมีสาเหตุที่มาที่เกิดขึ้นกับบางประเทศในยุโรปได้แก่ นักศึกษาของฝรั่งเศสเฮโลกันเข้าไปเรียนแพทย์ในเบลเยี่ยม หรือนักศึกษาเยอรมันเฮโลกันเข้าไปเรียนในออสเตรีย ซึ่งคนที่ออกไปเรียนนอกประเทศกลุ่มนี้คือคนที่ไม่สามารถเข้าเรียนแพทย์ได้ในประเทศตนเอง สองประเทศนี้จึงจำกัดโควต้านักศึกษาต่างชาติเฉพาะสาขาแพทย์เท่านั้น จึงมีการร้องเรียนต่อศาล EU จนออกเป็นคำตัดสินในปี 2010 ว่าให้กระทำได้และเฉพาะในกรณีที่พิสูจน์ได้ว่าส่งผลเสียหายให้กับประเทศจริง

และที่คุณ Dearz กล่าวหาว่ามหาลัยหนึ่ง รับนักศึกษาเข้ามาเพื่อเอา Studiengebühren ผมมองว่าเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ประการแรกคุณไม่สามารถระบุชื่อมหาลัย แสดงว่ายังไม่มีหลักฐานพิสูจน์ได้ว่ามหาลัยกระทำการดังกล่าวจริง เป็นเรื่องที่คุณคิดไปเอง ประการที่สอง หากมหาลัยอยากได้ Studiengebühren จริงก็ต้องให้นักศึกษาอยู่สิครับไม่ใช่ให้ออกไปครึ่งหนึ่ง เพราะนักศึกษาออกไปมหาลัยก็หมดรายได้โดยปริยาย

เรื่องนักศึกษาต่างชาติที่เรียนไม่ผ่านและต้องออกไปครึ่งหนึ่งนั้นเป็นสถิติที่รับรู้กันอยู่โดยทั่วไปอยู่แล้วว่า ระดับการศึกษาของเยอรมันนั้นยากยิ่งสำหรับต่างชาติที่จะสามารถเรียนได้จนจบ การที่มหาลัยไม่คัดเกรดก็สามารถมองได้ในทางบวกว่า ต้องการให้ทุกคนมีโอกาสเข้าไปเรียน แต่มหาลัยยังคงรักษาระดับการศึกษาของตนไว้ เมื่อเข้าไปแล้วเป็นความรับผิดชอบของผู้เรียนเองว่าจะสามารถสอบให้ผ่านได้หรือไม่ การไปกล่าวโทษมหาลัยว่าต้องการ Studiengebühren จึงเป็นเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้นแต่อย่างใด

ตอบกลับความเห็นที่ 23
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 24
คห. 23

อืม ไม่เอยชื่อมหาลัยละดีแล้วนะคับ คำพูดผมคงไม่น่าเชื่อถือเลย คุณถึงต้องการรู้ชื่อมหาลัย

ส่วนเรื่อง Studiengebühren ก็อย่างที่บอกเป็นเรื่องที่เจอมากับตัวเอง เพราะทางมาหาลัยรู้ว่าอีก กี่เทอม นักศึกษาจะไม่ต้องเสีย Studiengebühren ก็เลยรับ เพื่อที่จะได้เงินตรงนั้นเสีย เพราะถ้านักศึกษาไม่ต้องจ่ายเอง รัฐ ก็จะต้องนำเงินมาจ่ายชดเชยให้กับทางมหาลัยที่เสียรายได้จากตรงนั้นไป แล้วเงินที่ได้รับเป็นการชดเชย ถ้าเฉลี่ยต่อหัวแล้ว ก็น้อยกว่าเงินที่นักศึกษาต้องจ่ายเอง นักศึกษาในที่นี้รวมหมดนะคับ ไม่ใช่เฉพาะนักศึกษาต่างชาติ

อธิบายเท่านี้คงน่าจะเข้าใจนะคับ

ส่วนเรื่อง Vorabquote ถ้าคุณยืนยันว่าไม่มี ผมก็คงไม่สามารถเปลี่ยนความคิดคุณได้ ถือแม้ผมจะ มีลิงห์ให้ดูใน คห. 13 แล้ว

ตอบกลับความเห็นที่ 24
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 25
อ้อ เรื่อง Vorabquote ผมเข้าไปอ่านแล้ว เป็นจริงอย่างที่คุณว่าในระดับปริญญาตรีในบางมหาลัย

ส่วนเรื่อง Studiengebühren ที่ว่ามหาลัยรู้ว่าอีกกี่เทอมนักศึกษาไม่ต้องจ่ายเอง ไม่เข้าใจครับ ต้องบอกชื่อมหาลัยมาผมถึงจะเข้าไปทำการตรวจสอบข้อมูลได้

เรื่องคำพูดของใครจะน่าเชื่อถือหรือไม่ต้องมีสิ่งที่มีหลักฐานแน่นอน เป็นสิ่งจำเป็นครับในการที่จะเชื่อถือคำพูดใครได้หรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการโต้ตอบกันโดยไม่รู้จักตัวตน

ตอบกลับความเห็นที่ 25
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 26
เอาอย่างนี้ละกัน รัฐที่ผมอยู่ ก่อนนี้ cdu เป็นรัฐบาล แล้วเลือกตั้งใหม่ cdu แพ้
รัฐบาลใหม่ ก็ประกาศกว่าจะยกเลิก Studiengebühren ตามนโยบายที่ได้หาเสียงไว้

เมื่อรัฐบาลใหม่ ขึ้นบริหารรัฐ ก็สั่งยกเลิก กฎหมาย Studiengebühren ด้วยที่จะแจ้งไปที่ มหาวิยาลัยว่า เทอมไหนเมื่อไหรจะยกเลิก และได้บอกจำนวนเงินที่ทางมหาลัยจะได้รับเพื่อเป็นการชดเชยต่อนักศึกษา

ส่วนทาง มหาวิทยาลัย เมื่อรู้ถึงเวลาที่กฎหมายโดนยกเลิก และก็รู้ว่ามหาลัยเองได้เงินน้อยลงจากเดิม ก็จะรับนักศึกษาให้มากขึ้น
จากเดิม เทอมแรก รับ 30 คน ก็เพิ่ม เป็น 60 คน เป็นต้น
ก่อนที่กฎหมาย Studiengebühren จะถูกยกเลิกไป

ส่วนเรื่องที่คุณจะหาข้อมูล คงไม่มีข้อมูลใน internet ให้คุณหานะคับ เพราะคงไม่มีใครอยากจะนำเรื่องนี้มาเปิดเผยมากนัก ส่วนที่ผมรู้เรื่องนี้ เพราะขณะที่เรียนขณะนั้น ได้ถามอาจารย์ผู้สอน ผู้ที่เป็น Dekan ของคณะในขณะนั้น ว่าทำไมมีนักเรียนปีหน๊่งมากผิดปกติ ท่านก็ได้ชีแจ้มาคราวๆแบบนี้

หวังว่าคงจะเข้าใจมากขึ้นนะคับ

ตอบกลับความเห็นที่ 26
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 27
เอาล่ะ สมมุตินะครับว่า นี่เป็นเรื่องจริง นั่นแสดงว่าทางมหาลัยสามารถจะหาเงินได้ด้วยวิธีนี้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นแล้วก็จบไป ไม่ได้หมายความว่ามหาลัยสามารถทำได้เป็นเรื่องปกติ หรือมีเจตนาที่จะไม่ให้นักศึกษาสอบผ่าน เพราะกฏเกณฑ์ที่จะไม่คัดเกรดนักศึกษานั้นต้องมีอยู่ก่อนแล้วเป็นปกติไม่ใช่ตั้งขึ้นมาใหม่อย่างกระทันหันเฉพาะกาลเพื่อจะรับนักศึกษาเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า หาเหตุจะเอาเงินชดเชย

นอกจากนั้น การกระทำนี้ทางมหาลัยย่อมต้องพิจารณาแล้วว่าสามารถทำได้โดยไม่ผิดกฏเกณฑ์ Dekan ถึงกับออกปากบอกเล่าให้นักศึกษาทราบอย่างเปิดเผย ถ้าเป็นเรื่องที่ผิดกฏระเบียบแล้วคุณคิดหรือครับว่า Dekan จะบอกให้คุณรับทราบ?

ตอบกลับความเห็นที่ 27
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 28
เปล่าคับไม่ได้มีเจตนาทำให้นักศึกษาตก อาจารย์ก็สอนตามปกติ ข้อสอบก็แนวเดิม แต่นักศึกษาเรียนตกกันเอาเอง

เพราะเมื่อก่อน ถ้าคัดเกรด จะรับอยู่ที่ประมาณ 30-40 คนต่อเทอม ส่วนนักศึกษาที่ศึกษาสำเร็จ ก็จะอยู่ที่ 55-70 เปอร์เซ็นของนักศึกษาที่เริ่มเรียนในเทอมนั้นนๆ การเรียนในที่นี้หมายถึง ป ตรี นะคับ

ปกติในมาหาลัย สิ่งที่นักศึกษามันจะไม่ผ่าน คือ Grundstudium เสียเป็นส่วนใหญ่ จากประสบการณ์ที่ได้เห็นมา

มันไม่ได้ผิดกฎอะไรนิคับ แค่เพิ่มจำนวนนักศึกษา เฉพาะเทอมเฉยๆ ทั้งๆที่รู้อยู่แล้ว ว่าประมาณครึ่งหนึ่งจะเรียนไม่รอด เป็นการคาดการไว้นะคับ แล้วมันก็เป็นจริงอย่างที่เขาคาดกานไว้เสียด้วย

จริงๆท่านก็ไม่ค่อยจะพูดเท่าไร พวกผมจี้ถามเอาตอนเรียนกับท่าน เพราะมันเป็นเรื่องผิดปกติที่ รับนักศึกษามากกว่าปกติมาก


ตอบกลับความเห็นที่ 28
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 29
ก็เป็นเช่นนั้นแหละครับที่ผมเข้าใจ เรื่องของเรื่องก็ไม่มีอะไรในกอไผ่หรอกครับ จบเพียงเท่านี้ครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 29
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 30
อ่อ ดูจากที่ตอบ ผมก็พอจะรู้ละคับ ว่าคุณ Dearz เรียนอะไรที่ไหน

(น่าจะเป็นระดับปริญญาตรี สาย Com ที่ FH แห่งหนึ่งในรัฐ Baden)

ok คับ ไว้รอบหน้า ถ้ามีคำถามอะไร ผมค่อยมาถามอีกทีในกระทู้ต่างๆคับ


ตอบกลับความเห็นที่ 30
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 31
สวัสดีค่ะ
ใสใจต่อโท และมาเรียนภาษาที่เยอรมันนี เมลล์มาถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ [email protected]
ตอบกลับความเห็นที่ 31