ที่ต่างประเทศ นักศึกษาเขาเคารพครู อาจารย์มากเหมือนอย่างคนไทยไหมครับ

แอบสงสัยมานาน อย่างคนไทยเราจะยกครู อาจารย์ ขึ้นหิ้งเสียเลยทีเดียว

ทั้งๆที่เราจ่ายเงิน เสียค่าเรียน ส่วนผู้สอนได้เงิน

อยากรู้ว่าที่ต่างประเทศ อย่างในยุโรป อเมริกา ความเคารพมากมายเหมือยสังคมไทยไหม

ความคิดเห็นที่ 1
เคารพ มีลงโทษ ดุด่า คล้ายๆเมืองไทยนี่หละ ผมไปเรียนเข้าชั้นตั้งแต่ปีสุดท้ายมัธยมเลย ครูแก่กว่า เด็กมันเด็กกว่าหัวอ่อนถมเถไป ไอ้เด็กร้ายๆมันก็มี แต่อย่าลืมฝรั่งที่เป็นครูมันก็เป็นเด็กมาก่อนมันรู้วิธีจัดการกับฝรั่งด้วยกันร้ายมาก็ร้ายกลับ เอาชอร์คขว้างหัวนี่ปกติ เรื่องพักการเรียนตามพ่อแม่มาผมก็เคยเห็นกลัวกันจะตาย อย่าไปฟังพวกเข้าเรียนปริญญาโทมาก ว่าเด็กมันไม่กลัวครู ไอ้ที่เขาไปเจอมามันเป็นฝรั่งมีอายุแล้วพวกนี้มันแน่แล้วจบปริญญาตรี บางคนมีเมียมีครอบครัวแล้วก็มีทำงานแล้วก็มี เงินกู้เขามา ทุนที่ทำงานก็มีอย่างนี้มันก็ไม่กลัวกันหละครับ เถียงกันฉอดๆ แต่ก็อยู่ที่คุณภาพของอาจารย์ด้วย อาจารย์มหาวิทยลัยดีๆจ้างมาแพงๆมีหนังสือเขียนอันนั้นเขาก็บูชาอย่างกับพระเจ้า หรือถ้าอยู่วิทยาลัยโบราณมีชื่อนั่นก็ระดับกินดินเนอร์มีห้องทานอาหารมีคนคอยเสริฟน่ะครับมีห้อง มีบ้านให้อยู่กันประจำเลย ส่วนอาจารย์สัญญาจ้างถ้าไม่ดี เด็กไม่ลงทะเบียนเรียน หมดสัญญาก็ต้องระเหเร่ร่อนหางานสอนก็มี อันนี้จากที่เห็นมากับตานะครับ สรุปแล้วจากที่เห็นเด็กมันก็เด็กเรื่องกลัวครู เคารพครู นี่ปกติครับ ไอ้ขึ้นหิ้งนี่ถ้าระดับไปรเฟสเซอรือย่างที่ว่านี่ถ้าได้รางวัลหรูๆ ดังๆ นี่ยิ่งกว่าขึ้นหิ้งก็มีครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
ในยุโรป แม้ระดับมหาวิทยาลัย มีเส้นแบ่งแน่นอน ป ตรี เคารพอาจารย์นะ และที่เด็กโทรหาอาจารย์ได้เหมือนในไทย แทบไม่เห็น คือ ไม่อนุญาต อาจารย์ไม่เรียกชื่อหน้าเด็ก เพราะไม่คุ้นเคย ให้เกียรติกันและกัน

ป เอก ส่วนใหญ่จะสนิทกับอาจารย์ เป็นผู้ช่วยอาจารย์ ความสัมพันธ์อีกแบบหนึ่ง


ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
เคยดูหนังเรื่องนี้ไหมเอ่ย
To Sir, with Love
นำแสดงโดย Sidney Poitier และ Judy Geeson

แม้จะเป็นภาพยนต์เก่าหลายสิบปีแล้ว
น่าจะให้คำตอบ และช่วยให้เห็นภาพความสัมพันธ์
รวมถึงความเคารพระหว่างนักเรียนกับครูได้
อย่าพลาดชม เพลงเพราะ ดาราสวยครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
เราว่าเคารพ แต่ไม่ได้ยกขึ้นหิ้งปะ แบบไม่ต้องคอยไปช่วยอาจารย์ถือของอะไรแบบนี้ ของไทยนี่บางทีครูเอาเรื่องส่วนตัวมาใช้ให้เด็กทำให้ด้วย เด็กก็รีบทำด้วยความอยากประจบ

และถ้าครูสอนผิดหรือสอนไม่ดี เด็กก็กล้าโวยกว่าคนไทย


ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
ที่ออสเตรเลีย เคารพแต่ไม่ได้บูชา


ตอบกลับความเห็นที่ 5
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 6
เคารพ แบบ กล้าเถียง กล้าถาม ไม่ได้เชื่อทุกอย่าง...
ละเหมือนท่านอื่นๆ ไม่บูชา


ตอบกลับความเห็นที่ 6
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 7
อืม ที่ห้องเรียนของเราเป็นเหมือนอย่างที่คุณ Dearz ว่า เคารพ กล้าเถียง กล้าถาม แต่ไม่บูชา

ส่วนเรื่องความเคารพมากน้อยแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับอาจารย์แต่ละคนว่ามีวิธีจัดการกับปัญหายังไง

อาจารย์บางคนสอนดี มีเหตุผล นักศึกษาก็ชอบ

อาจารย์บางคนสอนไม่ดี แถมวิธีการสอนไม่มีเหตุผล นักศึกษาก็เถียง ส่งเสียงประท้วง

ยกตัวอย่าง มีครั้งหนึ่งในห้องเรียนของเรา เสียงพูดของอาจารย์ไม่ค่อยเข้าไมค์ เพราะอาจารย์ถือไมค์ห่างจากปากมาก
นักศึกษายกมือขึ้นแล้วตะโกนมาจากด้านหลัง

"อาจารย์ครับ อาจารย์ช่วยพูดให้เข้าไมค์สักทีจะได้ไหมครับ"

จะโทษนักศึกษาก็ไม่ได้นะคะ... เขาก็ต้องรักษาสิทธิของเขา


ตอบกลับความเห็นที่ 7
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 8
ผมเรียนที่อังกฤ​ษ แต่มันคงขึ้นอยู่กับ professor ด้วยเหมือนกันเพราะของผมท่าน nice มาก แกบอกว่าไม่ต้องพูด sir กับท่าน และไม่ต้องพูด professor นำหน้า เรียกชื่อ เฉยๆ ก็พอ

เวลานัดหมายอะไร ท่านก็เดินมาหาถึงห้องเพราะห้องไม่ไกลกันมาก เวลาท่านเกิดไม่ว่างมาเข้าประชุมกับเรา ท่านก็สาธารยายว่ามีเหตุผลแบบนั้นนี้ ขอโทษครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 8
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 9
เราว่าเมืองนอกเจาเคารพสิทธิ์ซึ่งกันและกัน แม้แต่ Prof เขาก็ให้เกียรติ นศ บ้านเราอาจารย์บางคนที่ไม่ได้ให้เกียรติ นศ เลย ขนาด นศ ป เอกนะ จิกหัวใช้งานส่วนตัว พอเด็กไม่ทำ ไม่พอใจ เอามามั่วเรื่องานอีก

แต่ Prof ที่เราทำงานด้วย แกก็ชอบให้เรียกชื่อแกไปเลย ไม่ต้อง sir ไม่ต้อง Prof เวลาต้องการอะไรจะเดินมาหา ถ้าเราไม่ว่าง แกก็กลับไปแล้วมาใหม่ อยากได้อะไรแกจะบอก ไม่เที่ยวมาชิงไหวชิงพริบ

เราเคยเจออาจารย์ไทย แกบอกว่าเราทำผิด เราบอกว่าเราไม่ทราบ ครั้งหน้าขอให้อาจารย์บอกได้มั้ยคะ เพราะว่าหนูไม่ทราบจริงๆ ดีกว่าที่มันจะผิดไปแล้ว อาจารย์ตอบว่า ครูไม่บอก เธอต้องรู้เอง...กรรม แล้วเวลาอยากได้อะไรไม่บอก ชอบแสดงเลี่ยงๆ แล้วถ้าเด็กไม่เก็ทซะที ก็จะด่า เหมือนเธอควรจะรู้ ทำไมต้องให้บอก เฮ้อ

แล้ว Prof เค้าจะสนใจแต่เรื่องงาน เรื่องส่วนตัวเค้าจะไม่เอามาเกี่ยว เรามีอิสระในเรื่องส่วนตัวเต็มที่ แต่อาจารย์ไทยบางท่านไม่สามารถแยกงานกับเรื่องส่วนตัวของเด็กออกจากกันได้

แล้วอาจารย์ไทยบางท่านก็เหมือนจะบังคับเด็กให้รู้คุณ กตัญญู ซึ่งของแบบนี้ไม่ต้องบังคับ ถ้าท่านทำดี ยังไงเด็กก็รัก ก็รู้คุณ เพราะโดยธรรมชาติของคนไทย เราเคารพอาวุโส รู้คุณคน

ดูเหมือนจะยังไม่ได้ตอบคำถาม...ซึ่งก็เหมือนกับที่หลาย คห ตอบ เคารพแต่ไม่บูชาค่ะ โต้แย้งได้ด้วยความเคารพ


ตอบกลับความเห็นที่ 9
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 10
" ทั้งๆที่เราจ่ายเงิน เสียค่าเรียน ส่วนผู้สอนได้เงิน"
ผมไม่เคยคิดแบบนั้นนะ หรืออาจเพราะผมมันจะห้าสิบแล้วมะรอมมะร่อ ผมโตมากับโรงเรียนที่ นักเรียน เคารพและรักครูมาก เรียนทั้ง รร วัด หรือเอกชน ทั้งจากต่างจังหวัดและในกรุงเทพ ยุคผมไม่มีการโอ๋ แบบหลายโรงเรียนในยุคสมัยนี้ที่กลัวต้นตะกูล นามสกุลดังๆมีเกียรติของนักเรียน ทาง รร กลัวไม่ได้เงินจากผู้ปกครองและห้ามแตะต้อง กระทรวงออกกฎห้ามตีเด็ก
สักยี่สิบกว่าปีมาแล้วผมเคยไปฝึกสอนที่ รร ชายล้วน ชื่อดัง แถวสีลม ครูบางคนเกรงเด็กมาก เด็กบางคนชกต่อยกันไม่สนใจครู ก็ถือว่าบ้านรวย มีปัญหาก็โทรคุยกับพ่อแม่ไป บางทีพวกเด็กๆก็แอบด่าครูให้ผมได้ยิน สมัยผมกลัวครูและเกรงครูมาก โดยเฉพาะครูปกครอง ท่านตีด้วยไม้หวาย แต่ในยามที่ไม่มีกิน ครูก็ให้กิน มีปัญหากับเด็ก รร อื่น ครูเป็นคนออกตัวไปประกันที่โรงพัก เด็กสมัยนี้กลายเป็น ก็ฉันจ่ายเงินแล้ว ครูมีหน้าที่สอน เท่านั้น
ขออภัยที่ตอบแบบนี้ ส่วนลูกสาวผม เรียนที่ นิวยอร์ค สังเกตุดูเด็กบางคนมีพฤติกรรมกร้าวร้าวแบบเงียบ ไม่ยอมครู ไม่แคร์ ครูเองก็ไม่สามารถกดดันอะไรมากไปกว่าการห้ามเข้าห้อง การห้ามใช้สนาม การห้ามเล่น และการเรียกผู้ปกครองมาคุย ทำได้เท่านั้น เด็กบางคนก็แก่น ลูกผมเองยังอยู่ในระดับ 6 grade ยังไม่รู้ว่าต่อไปจะเป็นอย่างไร แต่เราก็สอนให้เคารพผู้ใหญ่ และมีเหตุผลครับ

ตอบกลับความเห็นที่ 10
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 11
ที่ญี่ปุ่น นักเรียนต้องประพฤติต่ออาจารย์อย่างกับอาจารย์เป็นเทวดาผู้ชี้เป็นชี้ตาย

โดยเฉพาะอาจารย์ที่ดิฉันเคยเรียนด้วย สุดยอดแห่งความเจ้ายศเจ้าอย่าง

อาจารย์มหาวิทยาลัยที่เมืองไทยที่ดิฉันเคยเรียน แต่ละท่านใจดีและเป็นกันเองกับนักเรียนมากและเป็นแบบนั้นจริงๆตลอดเวลา

ส่วนอาจารย์ในญี่ปุ่นที่ดิฉันเจอ ท่านคล้ายๆจะใจดีและเป็นกันเอง แต่เมื่อได้รู้จักมากขึ้นก็รู้ถึงความเจ้ายศเจ้าอย่างและ

ความต้องการให้นักเรียนอยู่ใต้บังคับบัญชาแบบหมอบราบคาบแก้ว ใครมีหือมีอือเป็นได้โดนตอกกลับแบบเนียนๆแต่เจ็บแสบสุดๆ

(แถมดิฉันยังโดนอาจารย์ให้ช่วยลูกศิษย์ญี่ปุ่นหลายๆคนของแกทำงานอีกต่างหาก แต่พอดิฉันต้องการความช่วยเหลือบ้าง ทุกคนทำไม่รู้ไม่ชี้ซะงั้น)

เจอแบบนี้ทำให้ดิฉันรักคณาจารย์ที่มหาวิทยาลัยที่เมืองไทยมากและคิดว่าไม่มีครูที่ไหนใจดีเท่าครูไทยอีกแล้ว


ตอบกลับความเห็นที่ 11
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 12
ตัดเรื่องเงินค่าจ้างออกไปนะคะ เพราะถ้าเราวัดเขาแค่ "ลูกจ้าง" แสดงว่าเราก็ไม่เคารพวิชาชีพของเลย

ไม่ว่าอาจารย์ไทย อาจารย์ฝรั่ง
ถ้าเราเคารพเขาแล้ว เขาเอาไปการเคารพ หรือการยก ของเรา
ไปสนองกิเลสส่วนตัวของเขาเอง เขาก็วิบัติของเขาเอง

ส่วนเรา มีแต่ได้กับได้ค่ะ คือได้เคารพไง เพราะงั้นเคารพไปเถอะ

เคารพที่ผลงานของเขา เคารพที่เกียรติของเขา เคารพที่ความเป็นคนของเขา (อาจารย์บางคนไม่เก่งแต่เป็นคนดี) ส่วนที่หาดีไม่ได้เลย ก็เคารพที่เขาเป็นเขา ที่เขาต้องเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง
________________________________________
ส่วนว่าแบบไหนดีกว่า อยู่ที่จริตของแต่ละคนค่ะ
พวกนักเรียนสายปัญญาแบบเด็กไทยที่กระแดะอยากเป็นแบบฝรั่ง ก็เถียงไม่เลิกไม่รา เถียงไปเถียงมา เถียงเพราะแค่อยากเอาชนะ ด่าครูลับหลังก็มี สรุป ไม่ได้ประโยชน์เข้าตัวเองเลย

เด็กฝรั่ง เถียงได้ แต่ถ้าเข้าใจกันไม่ได้ ที่สุดก็ทางใครทางมันได้ ไม่โกรธกัน

พวกสายศรัทธา แบบเด็กไทยส่วนใหญ่ก็ยกครูไว้ ไม่กล้าถามไม่กล้าเถียงเล้ยยย ทั้งที่ยังไม่เข้าใจ ก็แกล้งว่าเข้าใจ ก็โง่ ดักดาน ต่อไป

มีอาจารย์แบบไหน ไม่สำคัญ เพราะถ้าเราอยู่ในฐานะศิษย์ เราต้องคิดเอาประโยชน์จากครูเป็น และกระทำด้วยความเคารพค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 12
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 13
เพื่อนนักเรียนร่วมชั้นชาวเมกันที่นี้ จะไม่ค่อยเถียงครูนัก เค้าจะเงียบต่อหน้า แต่จะเอาเรื่องไปฟ้องดีนหรือคนในระดับสูงต่อไปอีก เพราะเค้าจะพยายามไม่ให้ขัดใจกับครูผู้สอน เค้ากลัวว่าจะมีผลต่อการเรียนของเค้า
ตอบกลับความเห็นที่ 13