เหตุใดสังคมเอเชียถึงไม่สามารถเป็น "ปัจเจกนิยม" แบบตะวันตกได้ครับ

เคยสังเกตกันไหมครับ

สังคมตะวันตกจะให้ความสำคัญกับ "เรื่องส่วนตัว" เป็นอย่างมาก คือตราบใดที่ไม่อไปละเมิดสิทธิ์คนอื่น หรือเสียหายต่อหน้าที่ (กรณีเป็นข้าราชการ) จะทำอะไรก็ทำไป ไม่ถือสา นินทา ไปจนถึง Ban กัน ดังนั้นเราจึงเห็นฝรั่งทำตัวแรงๆ ได้เต็มที่

ตรงข้ามกับสังคมเอเชีย ที่ใครจะทำอะไรต้องดูกระแสสังคม แม้บางครั้งไม่ผิดกฏหมาย หรือไม่เกี่ยวกับหน้าที่การงาน แต่ถ้ากระแสสังคมมองว่าไม่เหมาะสม คนๆ นั้นก็อยู่ไม่ได้

แม้กระทั่งประเทศที่เจริญแล้ว เป็นประชาธิปไตย และ ปชช. ตื่นตัวทางการเมืองสูงอย่างญี่ปุ่น เกาหลีใต้ หรือไต้หวัน คนแต่ละคนจะคาดหวังกับภาพลักษณ์ที่ดี มีศีลธรรมของคนรอบข้าง โดยเฉพาะคนดัง จะถูกคาดหวังเป็นพิเศษ

จึงสงสัยว่า ทำไมสังคมเอเชียจึงไม่สามารถหลุดกรอบที่ว่านี้ได้ครับ

ความคิดเห็นที่ 1
ความเห็นส่วนตัวเรานะ คิดว่าเป็นเพราะหลายๆ อย่างที่หยั่งรากลึกมานาน เช่น ความเชื่อทางศาสนา, ประวัติศาสตร์,
สังคม, โครงสร้างของเครือญาติ, โครงสร้างของครอบครัว, โครงสร้างทางด้านการเมือง, ปัญหาการคอรัปชั่น,
สภาพภูมิอากาศ

พื้นฐานที่เป็นสังคมเกษตรกรรมก็มีส่วนอย่างมาก

หรือสิ่งปัจจุบันเช่น สวัสดิการสังคม, การกระจายการศึกษาที่ไม่ทั่วถึง มีส่วนทั้งหมด

ความเชื่อ ความศรัทธา มีส่วนทั้งหมด ระบบการศึกษา ระบบการเรียนการสอน

การใส่ใจในเรื่องของการพัฒนาระดับจิตใจ, การติดตามข่าวสาร, การถูกสอนให้รู้จักคิดเองทำอะไรด้วยตนเองก็มีส่วน,
ความสนใจในสิ่งรอบตัว, ความสนใจในความเป็นไปของประเทศของตนเอง ความสนใจในความเป็นไปของโลกมีส่วนทั้งหมด

คนเราเมื่อถูกสอนให้คิดเองเป็น ตัดสินใจเองเป็น ก็ไม่ต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลทางความคิดของผู้อื่นหรือของกลุ่ม
จึงมีความเป็นปัจเจก

คนเราเมื่อรู้จักการอ่าน รู้จักการติดตามข่าวสาร ก็ทำให้หูตากว้างไกล ทำให้มีความรู้เพิ่มขึ้น มีความเข้าใจผู้อื่นเพิ่มมากขึ้น
การเข้าใจผู้อื่นมากขึ้น การรู้จักวัฒนธรรมอื่นมากขึ้น ทำให้รู้ว่ามีสิ่งอื่นๆ ที่แตกต่างจากตัวเอง แตกต่างจากสังคมของตนเอง
แตกต่างจากวัฒนธรรมของตนเอง ทำให้รู้ว่าโลกไม่ได้หมุนรอบตนเอง ทำให้เกิดการยอมรับความแตกต่าง ลดอัตตาลง

อันนี้ตอบรวมๆ นะคะ แต่ยังไม่ได้ขยายความให้ว่าในแต่ละส่วนมีผลอย่างไร


ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
และที่ไม่สามรถหลุดกรอบที่คุณ จขกท. ถามมาได้ คงเป็นเพราะคนเอเชียบางส่วนอาจจะขี้อาย เมื่อขี้อายจึงไม่กล้า
แสดงออก หรือถ้าจะแสดงออกต้องมีคนอื่นออกหน้าก่อน หรือ ต้องแสดงออกทั้งกลุ่มแบบคล้อยตามกัน เพราะคนเอเชีย
กลัวถูกโดดเดี่ยว คนเอเชียบางคนจะขี้เหงา ไม่สามารถทำอะไรด้วยตนเองได้ เพราะถูกเลี้ยงดูมาแบบให้พึ่งพาผู้อื่น
ทั้งทางด้านความคิด จิตใจ และ ปัจจัยภายนอก เช่นความอยู่รอด (เพราะสวัสดิการสังคมไม่ดี สวัสดิการสังคมไม่ดี
ก็มาจากการคอรัปชั่น เมื่อคอรัปชั่นแล้ว จะไม่มีการส่งเสริมการศึกษา จะมีระบบพวกพ้อง และอีกมากมาย
ทุกๆ อย่างที่เกิดขี้นในประเทศหนึ่ง มาจากเหตุใดเหตุหนึ่งเสมอ และ จะมีผลกระทบเป็นลูกโซ่ ไปสู่อีกปัญหาหนึ่ง
หรืออีกหลายๆ ปัญหาเสมอ)

หรือ อย่างเช่นความเชื่อของคนไทยหัวโบราณ ที่มาจากธรรมเนียมจีน หรือธรรมเนียมอินเดีย ประเภทที่เชื่อว่า ยึดถือว่า
ผู้ชายดีกว่าผู้หญิง ผู้ชายมีอำนาจกว่าผู้หญิง ผู้ชายเกนือกว่าผู้หญิงทุกประการ ทำให้สังคมไม่เท่าเทียมกัน
หรือการทำอะไรเหมือนๆ กัน มีผลแบบเดียวกัน แต่คนที่ถูกประนามคือฝ่ายหญิง ฝ่ายชายไม่โดนประนาม ก็มีให้เห็นอยู่
ตามข่าวเช่นข่าวดารา ข่าวก็อซซิพ อยู่เสมอ เป็นต้น

หรือคนเอเชียบางคนไม่เป็นปัจเจก เพราะบางครั้งไม่หลุดกรอบเพราะศาสนา เพราะความเชื่อ ห้ามโน่น ห้ามนี่
จะทำอะไรแต่ละทีก็กลัวไปหมด กลัวโน่นกลัวนี่ จนทำให้ไม่กล้า (ไม่ได้ว่าศาสนาไหนไม่ดี ปกติแล้ว้ป็นคนที่นับถือ
คำสอนดีๆ ของทุกศาสนา และเลือกเชื่อในข้อดีๆ ที่ไม่สอนให้งมงาย แต่สอนเรื่องสัจธรรมจริงๆ เรื่องปรัชญาที่มีพื้นฐาน
มาจากความจริง โดยตั้งอยู่บนเหตุผล)


ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
ใน คห. 1, 2 เราเน้นแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสังคมไทยนะคะ และรีบๆ พิมพ์ด้วย ประโยคอาจจะไม่สละสลวยนัก
แต่หวังว่าจะอ่านแล้วไม่ทำให้ งง นะคะ ว่างๆ แล้วจะมาคุยใหม่ค่ะ เผอิญตอนนี้ทำงานอย่างอื่นไปด้วย แต่เข้ามาเห็น
กระทู้นี้พอดี แล้วอยากเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นในเว็บบอร์ดสาธารณะด้วยค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
แวะมาคุยต่อค่ะ นึกขึ้นได้ว่าสิ่งที่เคยได้พบเห็นจากการที่เคยอาศัยอยู่ในประเทศตะวันตก หรือการเดินทางไปยังประเทศ
ตะวันตกเพื่อการท่องเที่ยวมาหลายประเทศมาเป็นเวลาพอสมควร พบว่า สังคมของคนเอเชียในประเทศตะวันตก
ก็ไม่มีความเป็นปัจเจกนิยมค่ะ ถึงแม้ว่าคนเอเชียบางส่วนที่อาศัยอยู่ในประเทศตะวันตกนั้นจะถือสัญชาติของประเทศตะวันตกแล้วด้วยก็ตาม แต่ยังมีความคิดแบบเอเชียเหนียวแน่น โดยเฉพาะคนรุ่นแรก แต่ก็จะมีบางส่วนที่ปรับตัวเข้ากับสังคม
ตะวันตกได้ ส่วนคนเอเชียที่มีพ่อแม่เป็นคนเอเชี่ยนแต่เกิดในประเทศตะวันตก ใช้ชีวิตในประเทศตะวันตก หลายๆ คน
สามารถปรับตัวได้เขเากับวัฒนธรรมทั้งสองแบบ หรือบางคนก็รู้จักแต่วัฒนธรรมตะวันตก

หรือคนเอเชียบางส่วน ที่อาศัยอยู่ในประเทศตะวันตกที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิเสรีภาพ เรื่องส่วนบุคคล เรื่องการไม่ก้าว
ก่าย เรื่องการไม่ล้ำเส้น ถึงจะแปลงสัญชาติแล้ว หรือถืออีกสัญชาติหนึ่งแล้ว แต่ไม่สามารถทิ้งดั้งเดิมในการชอบก้าวก่าย
สิทธิเสรีภาพของผู้อื่นก็มีให้พบเห็นมากมายค่ะ

และที่น่าตกใจ คือเราเคยพบคนเอเชียมากมาย ที่อาศัยอยู่ในประเทศตะวันตก บางคนอาศัยอยู่มา 20, 30, 40 ปี
แต่ยังมีนิสัยเหมือนเดิมที่ติดมาจากประเทศบ้านเกิดครบถ้วน หรือไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษาท้องถิ่นของประเทศนั้นๆ ได้
และใช้ชีวิตเหมือนตอนที่อยู่ประเทศบ้านเกิดทุกประการ เพียงแต่เปลี่ยนประเทศที่อยู่เท่านั้นเอง

ที่เล่ามานี้ เล่ามาจากประสบการณ์ที่เคยพบทั้งคนอินเดีย คนจีนแผ่นดินใหญ่ คนฮ่องกง คนเวียตนาม คนจากอาฟริกา
คนจากพม่า คนจากเมืองไทย คนจากกัมพูชา คนจากลาว คนจากศรีลังกา คนจากญี่ปุ่น ที่อาศัยอยู่ในประเทศโลกตะวันตก
ค่ะ

หรือในขณะเดียวกัน มีคนเอเชียมากมาย ที่อาศัยอยู่ในประเทศของตนเองมาตั้งแต่เกิด หรือใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในเอเชีย
แต่มีความเป็นปัจเจกนิยมไม่แตกต่างจากชาวตะวันตก แต่ก็มีคุณสมบัติดีๆ ของชาวเอเชียอยู่ครบถ้วนค่ะ

หรือชาวตะวันตกบางส่วน แต่เป็นส่วนน้อยที่เคยพบ ที่ไม่มีความเป็นปัจเจกนิยมก็มีค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
ผมก็เคยไปอยู่ประเทศแถบยุโรปมาครับ แต่แค่ปีเดียว ก็มองในมุมของผมเองนะครับ

เขตที่ผมอยู่นี่ไม่มีคนไทยเลยนะครับ คือผมได้ใช้ชีวิตกับคนยุโรปพวกผิวขาวจริงๆ ในห้องเรียนมีผมเป็นเอเชียคนเดียว

ในโรงเรียนตอนที่ผมอยู่มีเด็กเวียดนามอีกคนอยู่ห่างจากผมสองชั้นปี เกิดและโตที่เยอรมันครับ แต่ก็ไม่เคยคุยกันเลย เพราะอยู่คนละห้อง แล้วอายุก็ห่างกันเยอะ

เอาแค่ในห้องผมห้องเดียว เรื่องเม้าหรืออะไรมีปกติครับ เช่นไปเมามาหรือใส่เสื้อกับรองเท้าไม่เข้ากันก็โดนเม้า แต่คนโดนก็รู้ตัวนะ ก็เฉยๆไม่สนใจอะไร เพราะไอ้คนที่พูดก็โดนเม้าเหมือนกัน ก็เป็นเรื่องปกติอะครับ คนไทยอาจจะมองว่ามันเป็นนกสองหัวก็ได้ 5555555 แต่ที่นี่จะเฉยๆมาก

จากที่ไปสัมผัสมาเลยคิดว่า มันเป็นที่วัฒนธรรม หรือสังคมนั้นอะครับ ใครจะทำอะไรก็ทำไปเลยให้เต็มที่ แต่จะต้องทำให้คนรอบข้างไม่เดือดร้อน นี่แหละถึงจะเรียกว่าปัจเจกบุคคล อย่างคนที่ใส่เสื้อกับรองเท้าไม่เข้ากัน โดนเม้าก็จริง แต่เจ้าตัวไม่สนเพราะไม่ได้ไปทำให้ใครเดือดร้อน มันอยากจะเม้าหรือหรือทำให้ตัวเองหนักหัวเองก็ปล่อยมัน เราก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไร อันนี้จากที่สัมผัสมาจริงๆ หรืออย่างจูบปากกัน ผมไปเที่ยวซูริกมาเมื่อสองวันก่อน เห็นคนสวิตจูบกันดูดดื่มมาก ไม่เคยเห็นดูดดื่มขนาดนี้มาก่อนในชีวิต ก็ได้แต่คิดในใจ เออมันเรื่องของเค้าเนอะ อยากจะจูบก็จูบไปไม่เห็นเกี่ยวกับเราเลย -_- หลังๆเลยได้รับอิทธิพลตะวันตกมา ไม่ค่อยอยากจะเ-ือกเรื่องชาวบ้านเท่าไหร่ ถ้ามันไม่เดือดร้อนเรา

ส่วนในไทยก็อย่างที่รู้กันนะครับ ไม่รู้ถูกสอนหรือปลูกฝังกันมายังไง

เอาจากที่เรียนมาประยุกต์ใช้ อุดมการณ์ทางการเมือง
1.เสรีนิยม ในประเทศตะวันตกในปัจจุบัน เชื่อว่า มนุษย์เกิดมาเริ่มแรกมีอิสรภาพ 100% สมัยยุคหิน ต่างคนต่างอยู่ อยากทำอะไรก็ทำ แต่การที่จะทำให้คนอยู่ร่วมกันได้ ต้องเสียสละอิสรภาพไปให้รัฐใช้ในการปกครอง 20-30% เหลืออิสรภาพไม่ถึง 100% แล้ว ซึ่งอิสรภาพที่ว่านี้คือ การทำอะไรตามใจอย่างก็ได้ที่ไม่ทำให้คนรอบข้างหรือสังคมเดือดร้อน ซึ่งการที่ไม่ทำให้คนรอบข้างเดิอดร้อนนี่แหละครับ เรียกว่าการนำอิสรภาพไปให้รัฐ นั่นก็คือการออกกฏหมายเพื่อจำกัดอิสรภาพตน เพราะบางอย่างเช่นฆ่าคน ถ้าไม่จำกัดสังคมคงอยู่กันไม่ได้ ฝรั่งในปัจจุบันจึงเป็นพวกเสรีนิยมส่วนใหญ่ เช่น จูบกันไม่ผิดกฏหมาย จึงเห็นคนจูบกันเยอะมาก และแนวคิดนี้เชื่อว่ามนุษย์เกิดมาเท่าเทียมกันทางโอกาส

2.อนุรักษ์นิยม เชื่อเรื่องชนชั้นวรรณะ เชื่อว่ามนุษย์เกิดไม่เท่าเทียมกัน อันนี้ขี้เกียจอธิบายครับ แต่ไทยและประเทศเอเชียส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มนี้ มีความเชื่อเยอะแยะ ถือว่าเป็นอนุรักษ์นิยมครับ ซึ่งอันนี้แหละครับ ผมเชื่อว่ามันเป็นตัวขัดขวางที่ทำให้เกิดปัจเจกบุคคลในสังคมไทย

อังกฤษเป็นอนุรักษ์นิยมก็จริงแต่มีการผสมผสานของเสรีนิยม ซึ่งทำให้อังกฤษสามารถอยู่ได้อย่างในปัจจุบัน

3.สังคมนิยม อันนี้ประเทศแถบแสกนดิเนเวียนำมาประยุกต์ใช้ครับ นั่นคือรัฐสวัสดิการ แต่ประเทศแถบนั้นก็เป็นเสรินิยมด้วย พูดง่ายๆคือนำส่วนดีของสังคมนิยมมาใช้ ทำให้เกิดความเท่าเทียมกันทางวัตถุครับ เช่นโอกาสทางการศึกษา การรักษาพยาบาล การเสียภาษี ฯลฯ แต่ประเทศกลุ่มนี้ก็เป็นเสรีนิยมด้วย ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีนะครับ ส่วนข้อเสียของสังคมนิยมก็นำไปสู่การเป็นคอมมิวนิสต์ครับ

อันนี้คงเห็นภาพมากขึ้นนะครับ ว่าการที่มีความเป็นปัจเจกบุคคล อาจเกิดจากอุดมการณ์ทางการเมืองของคนในประเทศก็เป็นได้

ปล.ทั้งหมดที่พิมพ์นี่ มองในมุมผมนะครับ

ขอเพิ่มเติมหน่อยครับ เรื่องปัจเจกบุคคล ลองดูสังคมในนี้ ดูก็ได้ครับ พวกมือถือสาก ปากถือศีลมีเยอะครับ พบได้ทั่วไปลองสุ่มกดกระทู้ก็อาจจะเจอครับ แล้ว จขกท จะเปรียบเทียบถูกครับ ว่าเมืองไทยยังไม่มีความเป็นปัจเจกบุคคลจริงๆ

ตอบกลับความเห็นที่ 5
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 6
และก็เท่าที่อ่านๆมาในห้องนี้ก็มีพวกยกตนข่มท่าน ยกหางตัวเอง แบกความเกลียดชังไม่มีที่สิ้นสุด ก็ไม่ทราบว่ามีอดีตอะไรที่ขมขื่นมา จึงได้จงเกลียดจงชัง ข้นแขวะผู้ที่ถือสัญชาติอีกสัญชาติหนึ่ง คนไทยส่วนใหญ่ที่ใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศนานๆ ส่วนใหญ่ (ส่วนมาก) ไม่มีใครเขาลืมกำพืดตนเองหรอก ไม่เหมือนคนที่ไปอยู่ประเดี๋ยวประด๋าวแล้วอุปโหลกตนเองว่า เป็นคนของประเทศนั้นประเทศนี้ พูดจาสำเนียงไม่มีเค้าของชาติกำเหนิดตนเองแม้แต่น้อย น่าสมเพชเนอะ


ตอบกลับความเห็นที่ 6
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 7
อนุรักษ์นิยม มนุษย์เกิดมาไม่เท่าเทียม ตัวอย่างมีให้เห็นมากมาย
รู้ไหมพ่อเค้าเป็นใคร เค้าฆ่าใครตาย กฏหมายก็ทำไรไม่ได้ ข่าวออกโครมๆ รู้กันทั้งประเทศแต่ก็ยังทำอะไรไม่ได้ ทุกคนคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา เพราะเค้าโชคดีเกิดมามีพ่อใหญ่

เสรีนิยม ไม่ว่าคุณจะมีคอนเนคชั่นแค่ไหนก็ต้องทำตามกฏหมาย ผิดว่าตามผิด ถ้าเรื่องยังไม่มีคนรู้อาจช่วยกันกลบใช้เงินยัด แต่ถ้าข่าวออกมา ประชาชนไม่ยอมแน่ๆ ยิ่งถ้าเป็นคนดังอยู่เหนือกฏหมาย ข่าวยิ่งดัง คนรู้เยอะเค้าก็ไม่ยอมกัน
ถ้าเค้ามีเงินเค้าก็ต้องจ้างทนายเก่งๆไปสู้ในศาล แต่ทนายก็ไม่อยู่เหนือกฏหมายอยู่ดี


ตอบกลับความเห็นที่ 7
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 8
น่าจะเป็นที่วัฒนธรรมมากกว่า

- สังคมตะวันตกสอนหรือสนับสนุนให้คนมีความเป็นเอกลักษณ์ ความเป็นส่วนตัวสูง (Individualisum) คุณก็คือเสียงๆหนึ่ง ถ้าคุณเห็นต่างจากสังคม ก็ไม่ได้แปลว่าคุณผิด คุณมีสิทธิ์ มีเสียงที่จะเห็นแตกต่างได้ แล้วสังคมก็ยินดีและเปิดใจที่จะรับฟังความเห็นที่แตกต่างออกไป

- สังคมตะวันออกหรือเอเชียสนับสนุนให้คนมีความเห็นสอดคล้องกัน (Collectivism) ถ้าคุณเห็นต่างออกไปอาจจะทำให้เกิดความแตกแยกได้ เพราะฉะนั้นคนส่วนมากก็จะไม่ค่อยมีใครกล้าที่จะเสนอแนวคิดใหม่ๆเพราะไม่อยากก่อให้เกิดความแตกต่างทางความคิด พูดง่ายๆไม่อยากเป็นแกะดำ


ตอบกลับความเห็นที่ 8
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 9
คหส่วนตัว
เริ่มต้นจาก คนไทยมีนิสัยชอบนินทา----->ความกลัวโดนนินทา,ความกลัวเสียหน้า------>
ความกลัวการถูกวิพากวิจารณ์ ถูกตัดสิน------>ความพยายามทำตัวตามกระแสสังคม ไม่เป็นตัวของตัวเอง
----->ขาดความคิดสร้างสรรค์------>การลอกเลียนแบบ


ตอบกลับความเห็นที่ 9
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 10
ที่รู้สึกได้เต็มๆ คือ คนเอเซียเอาแต่ใจตัวเองค่ะ
เอาตัวเองเป็นที่ตั้ง และ ศูนย์กลาง แต่จะว่ากันตรงๆ
หรืออ้อมๆ อันนั้นแล้วแต่ ที่ด่าว่าคนอื่น (ทั้งต่อหน้า
และลับหลัง ) เมาท์กันกระจาย พอโดนบ้าง มีเคือง !!!

ฝรั่งนี่ง่ายกว่า ต่อว่าได้ต่อหน้า ว่าเสร็จจบ ไม่ติดค้าง เห็นด้วย
ก้อโอไป ไม่เห็นด้วยก็เถียงกันไป แต่จบ จบจริงๆ

แต่คนเอเซียไม่จบนิ เอาไปเม้าท์มอยต่ออีกแหน่ะ โดนเม้าท์
ก้ออาย ยิ่งเถียงยิ่งแก้ตัว ยิ่งโหมกระแส เพราะความกลัวอับอาย
มันเลยไม่พ้นวงจร้ดิมๆซักที


ตอบกลับความเห็นที่ 10