The Avifauna of Taiwan



วันนี้ได้หนังสือใหม่มาเลยอยากมาบอกกล่าวให้เพื่อนสมาชิกทราบ
เป็นเวลาเกือบจะสามปี(หย่อนแค่ห้าเดือน)แล้วที่ติดตามไล่ล่าหนังสือชุดนี้
ทราบข่าวครั้งแรกของหนังสือจากนิตยสาร Birding Asia เมื่อสองปีก่อน
ลงมือสั่งซื้อทางอินเตอร์เน็ททันที
แต่เจ้ากรรมบัตรเครดิตไม่เป็นที่ยอมรับจากประเทศไต้หวัน
ระบบ VVS อะไรสักอย่างไม่ตอบรับ เลยทำรายการต่อไม่ได้

เวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว
จนได้ทราบว่าคุณ อมร นายกสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติฯ
จะเดินทางไปไต้หวันในงาน Bird Fair
จึงลองให้คุณอมรติดต่อเพื่อนที่ไต้หวันตามซื้อหนังสือชุดนี้ให้เมื่อเดือนที่ผ่านมา
แรกๆนั้นคำตอบคือหนังสือจำหน่ายหมดไปแล้ว
ต้องเข้าคิวสั่งจองพิมพ์ครั้งใหม่ และยังไม่มีกำหนดที่แน่นอน
"เป็นงัยเป็นกัน" ผมคิดอยู่ว่าขอให้เขาพิมพ์ออกมาเถอะ
หากถึงต้องวางเงินมัดจำล่วงหน้าก็ยินดีั

เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมาคุณอมรแจ้งกลับมาว่าทางนั้นหาได้1ชุดขอให้ผมยืนยัน
ใจผมลิงโลดอย่างเป็นสุขที่ไม่ต้องรออย่างไม่มีกำหนด
แทบจะยืนยันความต้องการไม่ถูก

ความคิดเห็นที่ 1
The Avifauna of Taiwan

เป็นหนังสือสามเล่มชุดที่เกี่ยวข้องกับนกโดยเฉพาะ
ออกเผยแพร่โดยกระทรวงพัฒนาเกษตรและกรมป่า
จัดทำสองภาษาแยกออกจากกันต่างหาก
โดยแต่งตั้ง ดอกเตอร์ลูเซีย หลิว เป็นประธานบรรณาธิการดำเนินการ
(พอเห็นชื่อผู้เป็นประธานฯ ก็ตั้งใจว่าจะครอบครองสักชุดแล้ว ด้วยเหตุผลส่วนตัว)
ดอกเตอร์ลูเซีย หลิว ศิษย์เก่า THU รุ่น12 อักษรศาตร์เอกอังกฤษ
ปริญญาเอก Environment Resorce Cornell University
ทำงานที่สภาวิจัยแห่งชาติของไต้หวัน
งานวิจัยหลายเรื่องเกี่ยวข้องกับสัตว์ปีก
โดยเฉพาะเรื่องนกเค้าแมวหูยาวแห่งหมู่เกาะ Lan Yu
บทความมากมายตีพิมพ์ใน RRGT

ผู้แต่งท่านที่สอง ดอกเตอร์ Yen Zhong Wei
อดีตผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
(ชื่นชอบ ด้วยเหตุผลส่วนตัวอีกเช่นกัน) ศิษย์เก่า THU รุ่น8
เคยร่วมกับคณะบรรณาธิการจีนแผ่นดินใหญ่แต่งหนังสือคู่มือนกของจีน
และแต่งหนังสือเกี่ยวกับนกอีกหลายเล่ม

Lin Wen Horn จบจาก มหาลัยคมนาคมแห่งชาติสาขา Information Enginer
อดีตเจ้าหน้าที่สมาคมนกแห่งไต้หวัน
รับผิดชอบสำรวจ เก็บข้อมูลทางกายภาพและสถิติของนก
มีความชื่นชอบนกนักล่าเป็นพิเศษ
จนสามารถแต่งหนังสือนกนักล่าของไต้หวัน
ทั้งยังเป็นบรรณาธิการหลักใน Taiwan Raptor Research Group
(รู้จักกันโดยส่วนตัว)

Tsai Mu Chi จบจาก Taiwan National University
(ชื่นชอบ ด้วยเหตุผลส่วนตัวอีกเช่นกัน)
ทำงานวิจัยให้ TNU สาขาเหมยซาน คณะเกษตร บนที่ราบสูง2000ฟุตกว่า 27ปี
ชื่นชอบธรรมชาติ โดยเฉพาะส่องนก ท่องเที่ยวไปกว่า 30ประเทศเพื่อดูนกโดยเฉพาะ
ทำสถิติไว้กว่า4500ชนิด

Ding Tsong Su ปริญาตรีโท จาก Taiwan National University สาขาสัตววิทยา
ปริญาเอกEcology ที่ Univeristy of California Davis ปัจจุบันเป็น ผศ คณะวนศาสตร์สิ่งแวดล้อม ที่ Taiwan National University ชื่นชอบปักษาจนเข้ามาศึกษาเรียนรู้ปักษาและสิ่งแวดล้อม

Fang Wei Hong ปริญาเอกเคมีจากมหาวิทยาลัย ดุกค์สหรัฐอเมริกา
ปัจจุบัน ทำงานที่Taiwan National University สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
เชี่ยวชาญด้านสัตว์โมเลกุล เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในด้านปักษีและปกป้องทางด้านนี้โดยเฉพาะ
มีผลงานและบทความปรากฏมากมายในนิตยสารที่เกี่ยวกับนก

ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
ลืมวางรูป
*ภาพประกอบโดยคณะผู้แต่ง
แถวแรกจากซ้ายไปขวา W.H.Fang, LL Liu, T.S.Ding
แถวสองM.C.Tsai, C.W. Yen,S.F.Zhan คือผู้เรียบเรียง
แถวที่สาม H.W. Lin

ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
ในหนังสือชุดนี้ยึดอนุกรมภิธานตาม Dickinson เป็นหลัก
การเขียนตำราเกี่ยวกับปักษีของจีนให้ครบถ้วนบริบูรณ์
เป็นเรื่องยากในหลายด้าน โดยเฉพาะการเรียกขานชื่อของนกแต่ละชนิด
บางชนิดมีชื่อเรียกแตกต่างกันทั้งสองฝั่งของจีน
หน้าที่ 34-63 จึงให้ข้อมูลอย่างละเอียด ที่มาที่ไปของการเรียกขานเปรียบเทียบให้เห็น


ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
เนื่องจากผู้แต่งมีหกท่าน
จึงแบ่งหัวข้อไปตามแต่ละท่านถนัด

ในหน้าสารบัญ ทุกหัวข้อจะทำชื่อผู้แต่งหรือผู้แต่งร่วมไว้
ลักษณะการทำสารบัญที่เห็นต่างจากตำราอื่นๆ


ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
แน่นอนว่า Lin Wen Horn รับผิดชอบเรื่องนกนักล่าและหัวข้ออื่นๆ


ตอบกลับความเห็นที่ 5
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 6
การจะเขียนให้ละเอียดถี่ถ้วนครบหมด
หนังสือออกมาสามเล่มชุดก็คงไม่พอ
จึงต้องกระชับแต่เนื้อหาต้องไม่ขาดรายละเอียด
และสิ่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ

หลักการใหญ่จึงเน้นนกที่พบในไต้หวัน ประจำถิ่น อพยพ และนกผลัดหลง
แต่ไม่รวมนกที่พบบนเกาะKinmen และเกาะMatsuที่ใกล้แผ่นดินใหญ๋
โดยผู้แต่งให้เหตุผลว่าดินแดนทั้งสองนั้นมีความหลากหลายพิเศษ
เป็นหัวข้อใหญ่จนสามารถออกเป็นเล่มโดดโดยเฉพาะ
*ภาพถ่ายฝีมือ R.W.Lee ต้องขออภัยท่านเจ้าของภาพที่นำมาใช้เพียงบางส่วน

ตอบกลับความเห็นที่ 6
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 7
บิดาแห่งปักษีของไต้หวันต้องยกให้สวินโฮ
ที่เข้าไปสำรวจนกบนเกาะไต้หวันตั้งแต่ปี1856
จนเรียบเรียงและตีพิมพ์รายชื่อนกกว่า201ชนิด
"The ornithology of formosa" ในนิตยสารIbisเมื่อปี1863
ถือเป็นรายชื่อนกเล่มแรกของไต้หวันก็ว่าได้
สวินโฮพบนกทั้งหมด226 ชนิด เป็นนกถิ่นเดียว5ชนิด
มีนกไต้หวัน11ชนิดที่ตั้งเป็นเกียรติให้สวินโฮ
หลังจากสวินโฮกลับอังกฤษในปี1866
ก็ไม่มีใครได้เข้าศึกษานกในไต้หวันอีก
*ภาพถ่ายโดย W.S. Wang จากหนังสือ

ตอบกลับความเห็นที่ 7
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 8
ประวัติการศึกษาปักษาในไต้หวันแบ่งเป็น3ช่วง ก่อนปี1951หนึ่ง ระหว่างช่วงปี1952ถึง1991หนึ่ง ช่วงปี1992ถึงปัจจุบันหนึ่ง

1873 Joseph Beal Steere เข้าไปเก็บตัวอย่าง พบนกใหม่ถิ่นเดียว Steere's Liocichla
1893 Frederick William Styan ซื้อตัวอบ่างนก พบนกถิ่นเดียว
ในปีเดียวกัน A.P. Holst พบ นกติ๊ดไต้หวัน
1893-1895 John David Digues La Touche เขียนบทความ Notes on south Formosa and its birds
1898 เขียนบทความ notes on the birds of northern Formosa
1895 ไต้หวันตกอยู่ภายใต้อาณัติของญี่ปุ่น
1905 ได้มีบทความเกี่ยวกับนกทะเลเป็นภาษาญี่ปุ่น
1906 Walter Goodfellow ท่องไปเทือกเขา Yushan ได้ตัวอย่างใหม่มา6 ชนิด
และเป็นสาเหตุให้พ่อค้านก Alan Owston มีใบสั่งจับไก่ฟ้า ส่งไปต่างประเทศ
1907 William Robert Ogilvie-Grant ร่วมกับ La Toucheรวบรวมข้อมูลของสวินโฮและ กู๊ดเฟลโล่ เขียน On the birds of the Island of Formosa รวมนก 260 ชนิด
1912 ญี่ปุ่นตีพิมพ์ check list birds of Formosa 290 ชนิด
1921 Kuroda Nagamichi เขียน The Complete Checklist of Formosa birds บันทึกนก 338 ชนิด
1930-1941 มีการค้าตัวอย่างสัตว์ปีกเป็นจำนวนมาก และก็พบนกใหม่อีก
1950-1951 Hachisuka Masa และ Tamada Udagawa's Contributions to the Ornithology of Formosa รวมบันทึกนกไว้ทั้งหมด 394 ชนิด

ตอบกลับความเห็นที่ 8
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 9
สวยงาม ขอบคุณครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 9
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 10
ช่วงทีสองตั้งแต่ปี1952ถึง1991

1956 "A Synopsis of the vertebrates of Taiwan" โดย ศจ.Johnson T.F. Chen ตีพิมพ์เป็นครั้งแรก ถือเป็นตำราทรงคุณค่าทางสัตวศาสตร์ที่ศึกษาอ้างอิง วิจัย รวบรวมข้อมูลแต่งโดยคนจีน จากการพยายามค้นคว้านานกว่า5ปี ได้ตีพิมพ์แก้ไขครั้งแรกในปี 1969 แต่หัวข้อซึ่งเกี่ยวข้องกับปักษียังมีขีดจำกัด จนกระทั่งฉบับพิมพ์แก้ไขครั้งที่สองในปี1984 ร่วมกับ ศจ. Yu Ming Zhen (อาจารย์สอนมีนวิทยาของผมเองแหละ)แห่ง Tunghai University(THU) ปรับเปลี่ยนอนุกรมภิธานนก และมุมมองวิวัฒนาการ ประเอกสารอ้างอิง170กว่าหัวข้อ

เพื่อไม่ให้เป็นการเบื่อหน่ายกับข้อมูลทางประวัติศาสตร์วงการปักษี ตั้งแต่1960จนสิ้นสุดยุคที่สอง THU ถือเป็นศูนย์กลางเรียนรู้ จัดพิมพ์ตำราทางวิชาการเกี่ยวกับปักษี นำโดย คณะบดี Paul Alexander, S.R.Severinghaus, K.T. Balckshaw คู่มือดูนกเล่มแรกของไต้หวันก็เกิดขึ้นในลักษณะพ๊อคเก๊ดบุ๊ค
1963 ศจ.Johnson T.F. Chen ร่วมมือกับ Elliott McClure จัดทำMigratory Animal Pathological Survey (MAPS)ตีพิมพ์ลงในหนังสือ Migration And Survival of the Birds of Asia โดยใช้ THU เป็นศูนย์กลาง จนสิ้นสุดโครงการในปี 1972
1973 แม้โครงการจะสิ้นสุดลง แต่การสำรวจไม่เคยจบทั้ง S.R.Severinghausและ K.T. Balckshaw ยังคงเดินหน้าโครงการสำรวจประชากรนก ที่หลูซาน ร่วมกับอาสาสมัครนักดูนก ซึ่งเป็นนิสิตจากTHU สาขาชีววิทยาเป็นหลัก (โชคดีที่ผมได้เข้าร่วมในปี1975และถือเป็นภาคสนามครั้งแรกในชีวิตกับคณะดูนก) ชมรมดูนกไทจงถือกำเนิด แล้วชมรมดูนกก็เกิดสาขาใหม่ขึ้นอย่างรวดเร็วตามเมืองใหญ่ เช่นชมรมดูนกไทเป ซึ่งภายหลังก่อตั้งเป็นสมาคมนกไต้หวันในที่สุด ชมรมดูนกเกาสงเป็นต้น
1980 การดูนกเป็นที่นิยมสูงขึ้นเมื่อมีคู่มือภาพนกแต่งโดย W.F. Chang สมาชิกเพิ่มเติมข้อมูลเข้าคลัง ส่วนตัว
1986 ลูเซีย หลิว รวบรวมบรรดาข้อมูลเหล่านี้เข้าอยู่ในคลังเดียวกันเพื่อผู้สนใจจะได้เข้าศึกษา
1987 หลินเหวินหง ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่สมาคมได้ใช้ dBase จัดเก็บข้อมูล ทำให้สาขาของสมาคม ทยอยส่งข้อมูลเข้าคลังอย่างคับคั่ง กิจกรรมดูนกก็เติบโตก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว
1990 ปลายยุค ชมรมนกจงหัว รวบรวมและผลักดันให้เกิดชมรมดูนกท้องถิ่นจนครบทั่วประเทศ ทำกิจกรรมงานอาสาสมัคร และ มีโครงการสำรวจเกิดมากมาย อีกทั้งแต่ละชมรมสามารถเลี้ยงดูตัวเองได้เป็นผลสำเร็จ โดยเฉพาะคลังข้อมูลมหาศาลของเกาะKinmen และเกาะMatsu
*ภาพประกอบถ่ายโดย C.W.Yen จากหนังสือเล่มนี้

ตอบกลับความเห็นที่ 10
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 11
รัฐบาลกับงานอนุรักษ์

1970 กระแสอนุรักษ์แบ่งบานไปทั่วโลก การค้าสัตว์ปีกในไต้หวันกระทำกันป็นล่ำเป็นสันมีการส่งออกตัวอย่างไปยังที่ต่างๆตามใบสั่งซื้อ เหล่าโภชนาการก็มีเมนูสัตว์ป่ามากมายให้ลูกค้า ท่านประธาธิบดีเจียงพบเห็นตัวอย่างสัตว์ปีกจำนวนมากเมื่อครั้งไปพักผ่อนต่างอากาศที่ทะเลสาปสุริยันจันทราในปี1972 กระทรวงการคลังจึงได้มีคำสั่งดำเนินการขึ้นทะเบียนสัตว์ป่ากับร้านค้าทั้งหลาย และให้กรมตำรวจสอดส่งจับกุมผู้ละเมิดและล่าสัตว์อย่างผิดกฏหมาย ไม่ให้มีตัวอย่างสัตว์ป่าเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากที่ได้ลงทะเบียนไว้ กระทรวงมหาดไทยออกคำสั่งห้ามการล่่า ห้ามจับ ห้ามค้า ยึดปืนจากทุกแหล่ง ไม่ยินยอมเปิดโอกาสให้แม้แต่จะคิดจะล่า กระทรวงเศรษฐกิจการเกษตรและป่า ยกเครื่องกฏระเบียบใหม่เกี่ยวกับการจัดการล่าสัตว์และเพิ่มบทลงโทษรุนแรง จัดกฏระเบียบใหม่ต่อการจับล่านก ยกเลิกมุมมองความคิดแบ่งแยกเรื่องนกที่มีคุณประโยขน์และนกให้โทษ
1974 กรมป่าไม้ เวรคืนที่ดิน 6248.74 เอเคอร์ บริเวณเทือกเขาหยูซานเป็นเขตคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณไม้ อีกทั้งยังสนับสนุนส่งเสริมการสำรวจประชากรนกในปี1973-1976
1970 กระทรวงคมนาคมโดยกองการท่องเที่ยว สนับสนุนการดูนกและยังให้ทุนวิจัยสำรวจนกในปากแม่น้ำหลานหยางและโครงการสำรวจประชากรนกยางทั่วประเทศ

1980 มีความสำคัญต่อการอนุรักษ์นกเป็นอย่างยิ่ง นำโดยกรมส่งเสริมกระทรวงมหาดไทยก่อตั้ง กรมอุทยานแห่งชาติในปี1981 เข้ามาดูแลบริหารจัดการงานอุทยาน ตลอดเวลา20ปี เพิ่มเขตอุทยานแห่งชาติ7แห่ง เขตพื้นที่อนุรักษ์ชายฝั่งทะเล 12เขต

1982 เมื่อประกาศใช้ กฏหมายทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ ทำให้สัตว์ป่าพันธุ์ไม้ทุกชนิดได้รับผลพวงและเป็นที่จับตาจากนานาประเทศถึงการอนุรักษ์ที่ยั่งยืน และการดูแลจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษ
1983 เข้าร่วมเป็นสมาชิก ICBP ปัจจุบันคือ Bird Life International
1985 ICBP ทำจดหมายเปิดผนึกถึงคณะกรรมาธิการเกษตรเข้าดูแลบรรดานกทั้งหลายที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีแดงของICBP
1989 การประชุมICBP จัดขึ้นที่กรุงเทพ เชิญ ลูเซีย หลิวรายงานนก12ชนิดที่ถูกคุกคามในไต้หวัน ซึ่งส่งผลให้เกิดกองทุนหลายด้านเกี่ยวข้องกับนกปากช้อนหน้าดำและนกอื่นๆตามมาจนถึงปัจจุบัน
*ภาพประกอบปากช้อนหน้าดำถ่ายโดย X.Z.Zheng

ตอบกลับความเห็นที่ 11
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 12
อารัมบทไปเสียยืดเยื้อสามบท
จึงเข้าเนื้อหาของหนังสือ
แม้ในภาษาอังกฤษจะใช้ "The Avifauna of Taiwan"
แต่ในภาษาจีนกลับเจาะจงลงไปกว่านั้นมาก

ถ้าให้แปลตรงตัวตามอักษรแล้วจะถอดความว่า
"บันทึกปักษาของไต้หวัน"
ผมยังนึกศัพย์เฉพาะของคำว่า"บันทึก"ในที่นี้ไม่ออก
เพื่อนสมาชิกท่านใดมีความเห็นที่ดีกว่า
ช่วยกรุณาแนะนำด้วยครับจะเป็นพระคุณ
ศัพย์"บันทึก"คำนี้ปรากฏในหนังสือ"สามก๊ก"ต้นฉบับบางเล่ม
ดังนั้นหนังสือเล่มนี้จะแปลว่า
"พงศาวดารวิหคไต้หวัน"ก็ใกล้เคียงความจริงเช่นกัน

ผมขออนุญาตกระโดดข้ามไปถึงหัวข้อโปรดนะครับ
ผู้แต่งจะถูกใส่ชื่อไว้หลังหัวข้อ
ซึ่งในตัวอย่างที่ยกมาคือ หลินเหวินหง
เหยี่ยวปีกแหลมกลุ่ม Accipitridae
1.ฐานะการจำแนก
2.สถานะภาพการจำแนก
3.ลักษณะทางกายภาพ
4.ถิ่นอาศัย
5.อุปนิสัย
6.อาหาร
7.การผสมพันธุ์
8.การกระจายพันธุ์
9.สถานะภาพแวดล้อมและผลกระทบ
10.แหล่งอ้างอิงข้อมูล

ตอบกลับความเห็นที่ 12
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 13
หลังจากร่ายหัวข้อจบ
ก็จะนำเสนออนุกรรมภิธานจากต้นฉบับ ศจ.Johnson T.F. Chenและศจ. Yu Ming Zhenปรับปรุงครั้งที่2 1984
(ตรงนี้ทำให้หวนระลึกวันคืนที่ใช้ตำราเล่มนี้ในสมัยศึกษาวิชานี้ ซึ่งแก้ไขไปด้วยศึกษาไปด้วย เพราะยังเป็นตำราฉบับพิมพ์แก้ไขครั้งแรก 1969)
นี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หนังสือ"พงศาวดารวิหคไต้หวัน"ทรงคุณค่ายิ่ง เพราะเท่ากับได้ตำราอนุกรมภิธานฉบับย่อส่วนของศจ.Johnson T.F. Chenและศจ. Yu Ming Zhenไว้ครอบครองด้วย (ขืนใส่ทุกรายละเอียดจากฉบับเต็ม คงต้องเพิ่มหน้ากระดาษไม่ต่ำกว่าสี่เล่ม หนังสือ เพราะศจ.Johnson T.F. Chenและศจ. Yu Ming Zhen เขียนรายละเอียดไว้อย่างมาก ดูเปรียบเทียบได้จากตำราพิมพ์แก้ไขครั้งแรก)

ตอบกลับความเห็นที่ 13
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 14
ยกตำราของศจ.Johnson T.F. Chen ฉบับพิมพ์แก้ไขครั้งแรก 1969
หัวข้อการจำแนกเหยี่ยวทุ่ง ซึ่งอยู่ในหน้า224 ของเล่มที่สองบางส่วนมาให้ชม
จะชัดเจนว่าฉบับย่อส่วนใน"พงศาวดารวิหคไต้หวัน"ขาดส่วนบรรยายนี้ไป เพื่อกระชับพื้นที่ ดังที่ได้กล่าวไปแล้วในตอนก่อน


ตอบกลับความเห็นที่ 14
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 15
จากนี้ขอเชิญชมฝีมือภาพถ่ายของ ศจ.Tsai ซึ่งดั้นด้นไปถ่ายถึงทิเบต
เป็นเหยี่ยวทะเลทรายที่ราบสูง Upland Buzzard


ตอบกลับความเห็นที่ 15
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 16
ฝีมือภาพถ่ายของ ศจ.Tsai
ท่าร่อนของเหยี่ยวทะเลทรายที่ราบสูง Upland Buzzard


ตอบกลับความเห็นที่ 16
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 17
ภาพถ่ายฝีมือ X.M. Chen
หากจำไม่ผิดเจ้าตัวบอกว่าเดินทางไปถ่ายจากมองโกล
หากผิดประการใด ให้เจ้าตัวเข้ามาแก้ไขเองก็แล้วกัน

ตอบกลับความเห็นที่ 17
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 18
ว้าวๆๆ อ่านไม่ออก 55


ตอบกลับความเห็นที่ 18
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 19
>>เล็กทาโร่ อะไำรสวยงามครับ
>>อินทวารี ขอโทษที่ใช้ภาษาไทยเท่าหางอึ่ง ทำให้อ่านไม่ออก อิอิ


ตอบกลับความเห็นที่ 19
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 20
หนังสือที่ครอบคุมทุกเนื้อหา มักมีบทส่งท้าย
เพื่อต่อยอดให้กับสิ่งใหม่ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

ภาคผนวกของหนังสือชุดนี้ลงไว้4หัวข้อ

ภาคผนวก1 นก13ชนิดที่ตรวจสอบแล้วข้อมูลยังเป็นที่กังขา
1. Red-throated Diver, 2.Black-throated Diver, 3.Leach's Storm Petrel, 4.Satsudariae' Storm Petrel, 5.Great White Pelican, 6.Spot-billed Pelican, 7.Lesser Kestrel, 8.Purple Swamphen, 9.American Golden-Plover, 10.Rock Dove, 11.Lesser Whitehroat, 12.Jungle Myna, 13.Chestnut-tailed Starling

ภาคผนวก2 บัญชีรายชื่อนกถิ่นเดียว 17ชนิด ชนิดย่อย60ชนิด

ภาคผนวก3 บัญชีรายชื่อนกคุ้มครอง 3ประเภท
ประเภทที่1 ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง 10ชนิด
ประเภทที่2 มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ 62 ชนิด
ประเภทที่3 ถูกคุกคาม 18 ชนิด

ภาคผนวก4 บัญชีรายชื่อพื้นที่สำคัญเพื่อการอนุรักษ์นกของไต้หวัน 53พื้นที่
A1 25 พื้นที่ ซึ่งมี1 พื้นที่ที่ซ้ำกับ A2 และ 12พื้นที่ที่ซ้ำกับA4
A2 15 พื้นที่ มี1พื้นที่ที่ทับซ้อนกับA1
A4 18 พื้นที่ มี12พื้นที่ ที่ทับซ้อนกับA1
A4i 6 พื้นที่

ตอบกลับความเห็นที่ 20
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 21
ไอ๊ย่า
อ่านไม่ออกเลย แต่ยังอยากได้อยู่ดี


ตอบกลับความเห็นที่ 21