มหาเศรษฐีทั่วโลกแอบซุกเงินนอกประเทศเพื่อเลี่ยงภาษี

ข่าวจาก breaking news Nation channel



16:32 น.

มหาเศรษฐีทั่วโลกแอบซุกเงินนอกประเทศเพื่อเลี่ยงภาษี


รายงานชิ้นหนึ่งระบุว่า อภิมหาเศรษฐีทั่วโลกได้ซุกซ่อนเงินมากถึง 651 ล้านล้านบาทในประเทศปลอดภาษี ที่เป็นเหมือนสวรรค์ของพวกหลบเลี่ยงภาษีในช่วงหลายสิบปีนี้
เจมส์ เฮนรี อดีตหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของบริษัทที่ให้คำปรึกษา แมคคินซีย์ ได้เผยแพร่รายงานการศึกษาที่จัดทำให้กับเครือข่ายความยุติธรรมทางภาษีระบุว่า มีทรัพย์สินของบรรดามหาเศรษฐีที่ต้องการหลีกเลี่ยงภาษี ซุกซ่อนอยู่ในดินแดนปลอดภาษีนอกประเทศทั่วโลกรวมอย่างน้อย 21 ล้านล้านดอลลาร์หรือราว 651 ล้านล้านบาทช่วงระหว่างปี 2504-2553 มากกว่ามูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของสหรัฐและญี่ปุ่นรวมกันเสียอีก แต่จริงๆแล้วเขามองว่าตัวเลขที่แท้จริงอาจสูงถึง 32 ล้านล้านบาทหรือ 992 ล้านล้านบาท
เขารวบรวมตัวเลขเหล่านี้จากธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารโลกและธนาคารรัฐบาลชาติต่างๆ และเขาศึกษาเฉพาะสินทรัพย์ทางการเงินที่ฝากในบัญชีธนาคารและการลงทุนต่างๆ ไม่รวมสินทรัพย์อื่น เช่น อสังหาริมทรัพย์ หรือ เรือยอชต์ เป็นต้น
เขาบอกว่า จำนวนเงินที่ซุกซ่อนในดินแดนปลอดภาษีประกอบด้วยเงินลงทุนของลูกค้าเอกชนที่บริหารโดยธนาคารเอกชนชั้นนำ 50 แห่งรวมกว่า 12.1 ล้านล้านดอลลาร์ และธนาคารที่บริหารสินทรัพย์ที่อยู่นอกประเทศมากที่สุด คือ ยูบีเอส, เครดิต สวิส และโกลด์แมน แซคส์ ส่วนเงินที่เหลือ 9.8 ล้านล้านดอลลาร์เป็นของมหาเศรษฐีพียงแค่ราว 92,000 คนจาก 139 ประเทศเท่านั้น หรือคิดเป็น 0.0001 เปอร์เซนต์ของประชากรทั้งโลก
นอกจากนี้เครือข่ายความยุติธรรมทางภาษีระบุว่า ในแต่ละปีรัฐบาลทั่วโลกสูญเสียรายได้จากภาษีรวมเกือบ 250,000 ล้านดอลลาร์ และนายเฮนรี บอกว่า เงินภาษีที่สูญเสียไปนั้นมากพอที่จะสร้างความแตกต่างให้กับเศรษฐกิจของหลายประเทศได้ และมากพอที่หลายประเทศซึ่งกำลังประสบวิกฤติหนี้ในขณะนี้สามารถนำไปชำระหนี้ได้

ความคิดเห็นที่ 1
แม่นแล้วครับ เศรษฐีอเมริกันบางคนถึงกับเปลี่ยนสัญชาติไป(เป็นอังกฤษ)เลยก็มี คนอเมริกันที่รายได้น้อยๆตอนนี้ก็พยายามอพยพไปอยู่ต่างประเทศก็มี (ข่าวNPRเมื่อวาน)


ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
คนที่รวย ไม่ได้มาจากการที่เค้าหาเงินมาได้เท่าไหร่
หากมาจากการที่หนีภาษีได้แค่ไหนต่างหาก


...ไม่ใช่แล้วมั้ง !


ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
อะนะ


ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
เหมือนผมเลย เมื่อวานเพิ่งเอาไปฝากอีก 2 พันกว่าล้าน


ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
ไม่เชื่อหรอก

จะให้เชื่อ

ต้องบอก รายชื่อเศรษฐีเหล่านี้ มาด้วย


ตอบกลับความเห็นที่ 5
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 6
มันกลลายเป็น วัฒนธรรม ของคน มีเงินมากไปแล้ว


ตอบกลับความเห็นที่ 6
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 7
น่าจะจริงครับ
อาจารย์ท่านหนึ่งเล่าให้ฟังว่า
ฝรั่ง 1 คน ปีที่แล้วเสียภาษี 1.5 ล้าน
ปีต่อมาจ้างโคตรทนายให้ทำบัญชีให้
ทนายทำงานแค่ 3 เดือนได้ค่าจ้างไป 2 แสน
แต่ฝรั่งจ่ายภาษีปีต่อมาแค่ 7.7 แสน


ตอบกลับความเห็นที่ 7
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 8
มีคนไทยด้วยหรือเปล่าเนี่ยะ


ตอบกลับความเห็นที่ 8
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 9
เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน
คนเสียภาษีเกือบจะทุกคนพยายามหาช่องทางหลีกค่าใช้จ่ายกันทั้งนั้น ภาษีก็เป็นค่าใช้จ่ายอย่างหนึ่ง บางคนก็หนีภาษีเอาดื้อๆ ถ้าจับได้ก็ต้องติดคุกหรือถูกปรับ ถ้ามีอำนาจก็แก้กฏหมายเสียเลย ส่วนที่ทำอย่างนั้นไม่ได้หรือไม่ยอมทำก็ต้องหาลู่ทางหรือช่องโหว่ของกฏหมายเพื่อที่จะเลียง


ตอบกลับความเห็นที่ 9
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 10
ปัญหาเรื่องการหลีกเลี่ยงภาษีโดยการแอบนำเงินไปฝากนอกประเทศนี้เป็นปัญหาการเมืองและความสัมพันธ์ระดับประเทศเพราะเกี่ยวข้องกับจำนวนเงินมหาศาล มีอยู่ 3 ประเทศที่รัฐบาลลงมือดำเนินการต่อสู้ทุกมาตรการอย่างจริงจัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจที่เงินคงคลังของประเทศเกิดขาดแคลน รัฐบาลจีงพยายามทุกวิถีทางที่จะอุดรูรั่วรายได้หลักของประเทศคือภาษี 3 ประเทศนั้นคือ อเมริกา เยอรมนี และฝรั่งเศส

อเมริกานั้นประกาศสงครามกับธนาคารสวิสโดยตรงเมื่อ 3 ปีที่แล้ว เนื่องจากการเลี่ยงภาษีนั้นเป็นที่รู้กันดีว่า ประเทศที่เป็นแหล่งกบดานเงินผิดกฏหมายนี้ประเทศหลักๆ คือ สวิตเซอร์แลนด์ และ ลิคเท่นชไตน์ อันดอร่า, โมนาโค, ซาน มาริโน แต่สวิสจะเป็นแหล่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก และข้อตกลงสำคัญที่สุดที่ลูกค้าไว้วางใจธนาคารสวิสคือ การจะไม่เปิดเผยรายละเอียดข้อมูลของเจ้าของบัญชีใดๆ ทั้งสิ้น เป็นกฏที่ได้รับการคุ้มครองจากรัฐธรรมนูญของสวิส รัฐบาลอเมริกันโดย IRS จึงขู่ที่จะฟ้องร้องธนาคารสวิส Wegelin ในอเมริกาหากไม่ยอมให้ความร่วมมือในการเปิดเผยข้อมูลหลังจากการค้นพบเบาะแสการหลีกเลี่ยงภาษีของทนายความอายุ 81 ปีคนหนึ่ง เมื่อเป็นข่าวจึงมีการถ่ายถอนบัญชีของลูกค้าเกิดขึ้นอย่างมโหฬารถึงกับขนาดที่ทำให้ธนาคารนี้ซึ่งนับว่าเป็นธนาคารที่เก่าแก่ที่สุดของสวิสก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1741 ต้องขายกิจการให้กับธนาคารสวิส UBS ไป ปัญหาการไล่ล่ายังคงต่อเนื่องมาจนทุกวันนี้ กับธนาคารใหญ่ของสวิสอีก 11 ธนาคารซึ่งรวมทั้งธนาคารใหญ่ระดับ Credit-Suisse, UBS
เป็นการเมืองระดับประเทศที่ทั้งสองประเทศพยายามหาข้อยุติโดยการทำสัญญา Tax treaty กันขึ้น ซึ่งแม้จะมีมาก่อนแล้วแต่จะต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้เข้มงวดมากขึ้น

สำหรับเยอรมนีนั้นปัญหานี้เป็นหัวข้อพาดหัวข่าวประจำวันของสัปดาห์นี้หลังจากที่รัฐ Nordrhein-Westfalen ได้ตกลงยอมซื้อ CD ซึ่งมีพนักงานของธนาคารสวิส Coutts ได้ลักลอบบันทึกรายชื่อของลูกค้าชาวเยอรมันแล้วนำมาเสนอขายให้รัฐบาล คราวนี้รัฐบาลยอมจ่ายเงินค่า CD ไป 3.5 ล้านยูโร แต่ผลตอบแทนได้รับมานั้นเกินคุ้มเนื่องจากตามกฏหมายแล้วคนที่หลีกเลี่ยงภาษีสามารถเข้าแจ้งความต่อทางการได้ด้วยตนเองเพื่อจะได้รับการยกเว้นโทษจำคุก เพียงแต่จะต้องเสียภาษีย้อนหลังเสียให้ถูกต้องเท่านั้น ทันที่ที่ข่าวออกไปว่ารัฐบาลซื้อ CD ก็มีคนเข้าแจ้งความตนเองแล้วกว่า 1000 คนภายในระยะเวลาเพียง 1 สัปดาห์ เหตุการณ์เดียวกันนี้เคยเกิดมาแล้วในปี 2010 ที่มีการซื้อ CD เหมือนกัน ผลปรากฏว่ามีคนแจ้งความตนเองรวมแล้วถึง 6370 คน และรัฐบาลได้เงินภาษีคืนมาถึง 300 ล้านยูโร บวกกับเงินที่ธนาคาร 2 ธนาคารยอมจ่ายกลับคืนมาให้ด้วยอีก 200 ล้านยูโร รวมแล้วเป็น 500 ล้านยูโร ประมาณตัวเลขกันว่ามีชาวเยอรมันแอบนำเงินฝากนอกประเทศเพื่อเลี่ยงภาษีทั้งหมดราว 2-3 หมื่นคน คิดเป็นเงินภาษีที่สูญเสียไปราว 1800 ล้านยูโร นับว่าเป็นเงินจำนวนไม่น้อย

รัฐบาลสวิสแสดงความโกรธเกรี้ยวทุกครั้งที่มีการซื้อ CD เพราะถือว่าเป็นเรื่องผิดกฏหมายและเป็นการสนับสนุนให้คนกระทำผิด แต่อีกด้านหนึ่งที่ธนาคารสวิสเองยอมรับเงินฝากที่ได้มาอย่างผิดกฏหมายจากทุกคนทั่วโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักการเมืองเผด็จการคอรัปชั่นทั้งหลายและแม้แต่จะปกป้องคุ้มครองคนเหล่านี้มิให้ถูกการตามล่า ธนาคารสวิสกลับไม่ยักมองเห็นว่าเป็นการสนับสนุนการกระทำชั่วเหมือนกัน เรื่องแปลกแต่จริง

ประเทศที่มีการหลีกเลี่ยงภาษีจนทำให้ประเทศล่มจมไปแล้วก็ได้แก่ กรีซ ซึ่งแต่เดิมนั้นเป็นเพียงรู้กันโดยไม่สามารถจะหาตัวเลขได้แน่นอนว่ากรีซได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่ระบบการบริหารประเทศเต็มไปด้วยคอรัปชั่น จนเมื่อเกิดวิกฤตหนี้สินเกินตัวขึ้นและจำต้องยอมให้เจ้าหน้าที่จาก 3 หน่วยงานเข้าตรวจสอบอันเป็นเงื่อนไขในการได้รับเงินช่วยเหลือ หน่วยงานตรวจสอบนี้เรียกว่า Troika ซึ่งเป็นตัวแทนจาก IWF, European Central Bank และ EU หลักฐานจึงปรากฏชัดเป็นตัวเลขว่า กรีซสูญเสียรายได้จากการหลีกเลี่ยงหรือโกงภาษีของนักธุรกิจและประชาชนชาวกรีซเองไปราวปีละ 30 ร้อยล้านยูโร คิดเป็นอัตราส่วนถึง 12.7% ของ GDP ประเทศ และจนบัดนี้ก็ยังแก้ปัญหานี้ไม่ได้

ระบบการจัดเก็บภาษีเป็นดัชนีบ่งชี้อย่างหนึ่งว่าประเทศใดพัฒนาแล้วหรือไม่ เพราะการจัดเก็บภาษีจะมาควบคู่กับการคอรัปชั่นของเจ้าหน้าที่รัฐเสมอ

ตอบกลับความเห็นที่ 10
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 11
คุณ : Bagheera
ขอบคุณครับ มาต่ออีกหน่อยซิครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 11
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 12
คุณอิสวาสุคงหมายถึงให้ผมต่อเรื่องฝรั่งเศสที่ผมเอ่ยชื่อถึงไว้

ฝรั่งเศสเป็นประเทศล่าสุดที่ดำเนินมาตรการเรื่องหลีกเลี่ยงภาษี นั่นคือตั้งแต่มีการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีที่ผ่านซึ่ง ฟรังซัวร์ โอลอนด์ ผู้สมัครพรรคสังคมนิยมประกาศในการหาเสียงว่าจะเก็บภาษีผู้มีรายได้สูงเพิ่มขึ้นเป็น 70% จึงทำให้ชาวฝรั่งเศสที่มีรายได้สูงเริ่มมีการถ่ายเทเงินไปสู่ธนาคารในสวิสอย่างผิดปกติจากเดิมที่เคยมีมาอยู่แล้ว แต่มาตรการของรัฐบาลฝรั่งเศสเกี่ยวกับเรื่องนี้ยังไม่คืบหน้าให้เห็นเป็นเรื่องราว นอกจากล่าสุดรัฐมนตรีการคลังออกมาให้ข่าวว่าได้มีเบาะแสรายชื่อบัญชีผู้หลีกเลี่ยงภาษีชาวฝรั่งเศสอยู่ในมือราว 4000 คน ซึ่งธนาคารสวิสจะให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูล แต่ธนาคารสวิสได้ออกมาปฏิเสธข่าวว่าไม่เป็นความจริง จึงเป็นที่คาดกันว่า ฝรั่งเศสออกข่าวเพื่อบลั๊ฟให้ผู้หลีกเลี่ยงภาษีตื่นตกใจและออกมาแจ้งความตนเองเพื่อจะได้รับนิรโทษกรรม แต่จนกระทั่งบัดนี้ก็ไม่มีอะไรคืบหน้า

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลสวิสก็พยายามที่จะลบภาพพจน์การเป็นประเทศ Tax haven โดยการทำสัญญา Tax treaty กับฝรั่งเศสเป็นประเทศที่ 3 ตามหลังอเมริกา และ เยอรมนี ซึ่งจะให้ความร่วมมือในการเปิดเผยข้อมูลลูกค้าที่ต้องสงสัยมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งหมายถึงไม่เปิดเผยเสียทั้งหมด
ปัญหาของการทำสัญญา Tax treaty คือ กว่าสัญญาจะมีกำหนดบังคับใช้อีก 1 ปี คือในปี 2013 เท่ากับเป็นการให้เวลาผู้หนีภาษีทำการยักย้ายถ่ายเทเงินออกไปสู่ที่ปลอดภัยที่ประเทศอื่นเรียบร้อยแล้ว

อีกประเทศหนึ่งที่ลงมือกระทำการต่อสู้เรื่องการหนีภาษีอย่างจริงจังในขณะนี้คือ อิตาลี ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่ประชาชนหนีหรือโกงภาษีมากและรัฐสูญเสียเงินรายได้ของประเทศเป็นอันดับ 3 ของโลก ไม่เคยมีใครเคยนึกภาพออกว่าจะเป็นไปได้ที่ อิตาลีซึ่งได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มากไปด้วยมาเฟียและการคอรัปชั่น จะมีใครกล้าออกมาจัดการเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้จริง เพราะผู้นำของประเทศที่ผ่านมาก็เป็นมาเฟียเสียเอง อย่างเช่น แบร์ลุสโคนี่

ถ้าไม่ใช่เพราะพิษเศรษฐกิจที่อิตาลีเข้าตาจนมีหนี้สินท่วมตัวอย่างที่ประสบอยู่นี้ และมีผู้นำเฉพาะกาล นายมาริโอ มอนติ คนปัจจุบันนี้แล้ว คงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการดำเนินการจัดการกับปัญหาหนีภาษีอย่างจริงจัง ก่อนที่จะสายเกินแก้เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นกับ กรีซ ตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นมารัฐบาลจึงได้ส่งเจ้าหน้าที่จำนวนหลายร้อยออกจู่โจมค้นหาหลักฐานของผู้ต้องสงสัยในหลายพื่้นที่พร้อมเพรียงกันเพื่อไม่ให้เกิดการไหวตัว และแม้แต่จะออกปฏิบัติการไปนอกประเทศเช่น เกาะมายอรก้าซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของสเปญ

โดยเจาะเป้าหมายบริษัทหรือบุคคลที่เป็นเจ้าของรถหรูแพงยี่ห้อดังๆ เช่น เฟอรารี่ ซึ่งคนเหล่านี่จะเลี่ยงภาษีโดยแจ้งว่าเป็นรถยนต์ของบริษัทซึ่งแจ้งงบดุลประจำปีด้วยตัวเลขขาดทุนทุกปี ตัวเลขคาดการณ์ที่รัฐบาลอิตาลีสูญเสียภาษีคือราว 120 พันล้านยูโรต่อปี ซึ่งเท่าเกับ 30% ของรายได้ภาษีทั้งหมดของประเทศ

อันดับประเทศที่มีการหนีภาษีที่สุดในโลก โดยใช้จำนวนเงินที่หนีภาษีเป็นหลัก ตัวเลขข้างหลังหมายถึงจำนวนเงินประเมินที่หนีภาษี การศึกษาวิจัยจัดทำโดย Tax Justice Network
1. USA 338 พันล้านดอลล่าร์
2. บราซิล 280
3. อิตาลี 238
4. รัสเซีย 221
5. เยอรมนี 215
6. ฝรั่งเศส 171
7. ญี่ปุ่น 171
8. จีน 134
9. อังกฤษ 109
10. สเปญ 107

ตอบกลับความเห็นที่ 12
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 13
ใช่ครับ ขอบคุณครับ
เหลือเชื่อว่าญี่ปุ่นอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย

ขอฟังเรื่อง Off Shore investment แถว Caribbean หน่อยได้ไหมครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 13
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 14
เรื่องนี้ก็เพิ่งเกิดสดๆ ร้อนๆ เป็นคดีดังเหมือนกันเกี่ยวกับคนทำธุรกิจรถแข่ง Formula One ร่วมมือกับระดับบริหารธนาคาร ขอผมมีเวลาแล้วจะมาขยายความต่อครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 14
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 15
ขอบคุณครับ
ถ้านาน มาตั้งเป็กระทู้ใหม่เลยครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 15
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 16
มาแล้วครับ แหะ แหะ ตั้งกระทู้ใหม่? ผมตั้งกับเขาไม่เป็นน่ะครับ คอยตอบอย่างเดียว

Offshore investment นี่มีอยู่ราวกว่า 15 ประเทศในหมู่เกาะคาริบเบียน สร้างเศรษฐกิจให้กับประเทศยากจนเหล่านี้ได้เป็นกอบเป็นกำกลายเป็นประเทศร่ำรวยไปในชั่วข้ามปี ตัวเลขคาดการณ์เมื่อราว 8 ปีมาแล้วมีจำนวนเงินรวมอยู่ทั้งหมดราว 9 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ ประเทศที่โด่งดังและมีชื่อเสียงเป็นฐาน Offshore investment ได้แก่ ปานามา, Cayman, Jersey และ British Virgin Islands

เฉพาะเกาะ Cayman นั้นมีการจดทะเบียน Investmentfonds เฉลี่ยปีละ 1 พันบริษัท และปัจจุบันมีอยู่รวมทั้งสิ้นราว 7500 บริษัท แทบจะทุก Hedgefonds จะไปจดทะเบียนบริษัทสาขาที่ประเทศหมู่เกาะคาริบเบียน Britisch Virgin มีจำนวนประชากรอยู่แค่ 23,000 คน แต่มีบริษัทจดทะเบียนใหม่ๆ เฉลี่ยปีละ 6 หมื่นบริษัท

ทุนทรัพย์ของธุรกิจธนาคารบนเกาะ Jersey เพิ่มขึ้นจาก 160 เป็น 190 พันล้านปอนด์ภายในระยะเวลา 2 ปี เกาะ Bermuda ได้ชื่อว่ามีบริษัทประกันภัยไปตั้งรกรากอยู่มากที่สุดถูกจัดอันดับว่าเป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวประชากรมากที่สุดคือ 69,900 ดอลล่าร์ต่อปี มากกว่ารายได้ต่อหัวของประเทศลักซัมบวรก์เสียอีก

ประเทศแหล่งหนีภาษีเหล่านี้จะเสนอผลประโยชน์ในการลงทุนหลักๆ คือ
- อัตราภาษีเงินได้เป็นศูนย์สำหรับบริษัทต่างชาติที่เข้าไปเปิดกิจการ
- ข้อมูลทุกอย่างของบริษัทจะทุกเก็บเป็นความลับสุดยอด
- ไม่มีข้อจำกัดเรื่องสัญชาติของกิจการ หรือ เจ้าของ
- ไม่จำเป็นต้องมีการแจ้งรายการเสียภาษีประจำปี

ในช่วงระยะ 5 ปีที่ผ่านมาในการประชุมประเทศ G-20 ได้มีการตกลงร่วมกันที่จะต่อสู้กับการหนีภาษีในประเทศต่างๆ เหล่านี้ ซึ่งรวมทั้ง ฮ่องกง และ สิงค์โปร์ ด้วย โดยองค์กรนานาชาติ OECD จะจัดทำบัญชีรายชื่อประเทศเหล่านี้และจะแจ้งให้ดำเนินการแก้ไขตามมาตรการที่กำหนด โดยจัดเป็นกลุ่ม grey zone ถ้ามีการแก้ไขดีขึ้นก็จะถูกย้ายไปอยู่กลุ่ม white zone ถ้าไม่มีการแก้ไขตามที่ต้องการก็จะถูกมาตรการแซงชั่นทางเศรษฐกิจ จึงปรากฏว่าประเทศเหล่านี้ประสบการยุ่งยากในการทำธุรกิจมากขึ้น และหลายประเทศส่วนใหญ่ยอมให้ความร่วมมือดีขึ้นยอมทำสัญญา Tax treaty ยอมเปิดเผยข้อมูลของลูกค้าบ้าง ส่งผลให้ธุรกิจบนเกาะบางเกาะถึงกับซบเซาไปอย่างสิ้นเชิง แต่ที่แน่ๆ คือถึงแม้จะเกิดอุปสรรคทำให้หายหน้าไปจากที่หนึ่งก็จะไปโผล่ที่อื่นๆ อีก

ที่เกิดขึ้นแล้วคือผู้นำของสหรับอาหรับอามิเรตส์ Ras al-Cheimah และสุลต่านแห่งบรูไนได้เสนอเงื่อนไขการลงทุนของบริษัทต่างชาติตามแบบอย่างของประเทศกลุ่มคาริบเบียนในประเทศทั้งสอง

สรุปได้ว่ามาตรการการต่อสู้เรื่องการหนีหรือการหลีกเลี่ยงภาษีนั้น สามารถทำได้แค่ทำความยุ่งยากในการที่ต้องทำการกฏระเบียบที่ตกลงแลกเปลี่ยนที่ตั้งกันขึ้นมาใหม่ในการทำ Tax treaty แต่แท้จริงแล้วจะไม่สามารถแก้ปัญหานี้ให้หมดไปได้อย่างแน่นอน

สำหรับคดีที่เป็นเรื่องกันล่าสุดในยุโรปนั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประเทศออสเตรียช่วงปี 2000-2007 นาย Karl-Heinz Grassers ซึ่งถือว่าเป็นรัฐมนตรีหนุ่มที่สุดและหล่อเนื้อหอมที่สุดของยุโรปแถมโสดอีกด้วย เมื่อพ้นจากตำแหน่งได้แต่งงานกับอภิมหาเศรษฐีนีเจ้าของธุรกิจ Swarovski จนเมื่อราว 1 ปีที่ผ่านมานี่เองที่หน่วยงานภาษีได้เบาะแสการหนีภาษีโดย Grassers นำเงินที่ได้จากการลงทุนไปเข้าบัญชีไว้ในบริษัทส่วนตัวที่จดทะเบียนไว้ที่เกาะ British Virgin ขั้นตอนการยักย้ายถ่ายเงินนั้นเป็นไปอย่างซับซ้อนระดับฝีมืออดีตรัฐมนตรีการคลังจริงๆ เจ้าหน้าที่ต้องใช้เวลาสืบสาวกันเป็นปีเพื่อปะติดปะต่อเรื่องราว คาดว่าจะถูกยื่นฟ้องศาลในเร็วๆ นี้และถ้าถูกตัดสินว่าผิดจริงจะต้องโทษจำคุกไม่ต่ำกว่า 8 ปี

ส่วนอีกคดีหนึ่งในเยอรมนี คดีนี้เพิ่งตัดสินไปเมื่อเดือนที่แล้วเป็นการติดสินบนของ Bernie Ecclestone ชาวอังกฤษซึ่งเป็นเจ้าของธุรกิจ Formula One ได้ให้เงินแก่ผู้บริหารธนาคารในเมืองมิวนิค Bayern LB คือ นาย Gerhard Gribkowsky จำนวน 44 ล้านยูโรเพื่อให้ธนาคารขายส่วนที่เป็นเจ้าของ Formula One ให้แก่ตน Gribkowsky นำเงินทั้งหมดเข้าในบัญชีมูลนิธิที่ตนเปิดไว้บนเกาะ Mauritius ในคาริบเบียนอีกเหมือนกัน จากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารมีหน้าที่การงานมีเกียรติมีรายได้เป็นล้านยูโรต่อปี สุดท้ายต้องรับโทษจำคุก 8 ปีครึ่ง คดีที่เหลือก็จะเป็นการเอาผิดเรื่องให้สินบนของ Bernie Eccleston ต่อไป

อาชญากรรมการหนีและหลีกเลี่ยงภาษีเป็นอาชญากรรมระดับสูงระดับโลกจริงๆ และเกี่ยวข้องกับวงเงินที่ประเมินล่าสุดจากองค์กร Tax Justice Network คิดเป็นมูลค่ารวมถึง 3.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่า 5.1% ของ GDP โลกรวมกัน จึงมีเรื่องให้ต้องติดตามกันไม่รู้จบสิ้นครับ

ตอบกลับความเห็นที่ 16
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 17
อ้อ อีกเรื่องหนึ่งครับที่คุณอิสวาสุบอกว่า ไม่คิดว่าญี่ปุ่นจะติดอยู่ในรายการประเทศที่สูญเสียรายได้จากภาษีนั้น ผมมีเรื่องเล่า (อีกแล้วครับ)

เคยเป็นข่าวอีกเหมือนกันเมื่อ 3-4 ปีที่แล้วที่พี่น้องสองชาวญี่ปุ่นอาศัยอยู่ทางใต้ของเมืองโอซาก้าอายุ 65 และ 55 ปีเอาเงินสดที่ได้รับเป็นมรดกจากบิดาที่เสียชีวิตและเป็นเจ้าของกิจการเรียลเอสเตท จำนวนเงินทั้งหมด 7.5 ร้อยล้านเยน แต่ที่ซุกไว้ในกล่องกระดาษและต้องการหนีภาษีนั้นมีจำนวน 5.9 ร้อยล้านเยน หรือเท่ากับ 37 ล้านยูโร ไปบรรจุใส่กล่องกระดาษไว้จำนวน 50 กล่องเก็บเอาไว้ในบ้าน จนเจ้าหน้าที่จัดเก็บภาษีไปค้นบ้านจึงพบเข้า

นอกจากนั้นนะครับ รัฐบาลญี่ปุ่นเพิ่งเซ็นสัญญา Tax Treaty กับรัฐลิคเท่นชไตน์ไปเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ที่ผ่านมานี่เองครับ แสดงว่าต้องมีชาวญี่ปุ่นชักดาบซามูไรอยู่เหมือนกัน มิฉะนั้นแล้วคงจะไม่มีการเซ็นสัญญากันขึ้น

ตอบกลับความเห็นที่ 17
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 18
ผมเคยตั้งข้อสงสัยซึ่งอาจคิดเหมือนกับหลายคนอื่นๆ ว่า แล้วทำไมประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายถึงไม่มีการทำคู่สัญญา Tax treaty กับประเทศ Tax haven ทั้งหลายแหล่บ้าง? ซึ่งโดยความเป็นจริงแล้ว ประเทศกำลังพัฒนาได้รับความเสียหายมากมายกว่าประเทศพัฒนาแล้วเสียอีกจากการสูญเสียการลักลอบเงินหนีภาษีออกไปเก็บไว้นอกประเทศ โดยเฉพาะพวกนักการเมืองฉ้อฉลและเศรษฐีที่อาศัยช่องทางความอ่อนแอของกฏหมายบ้านเมือง และเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนาทั่วทุกทวีปทั้งเอเชีย อัฟริกา และอเมริกาใต้ และเงินเหล่านี้สมควรที่จะใช้ในการพัฒนาประเทศ

สรุปได้ว่า การหนีภาษีนี้เป็นสาเหตุหนึ่งของความยากจนในประเทศก็ว่าได้

ยกตัวอย่างใกล้ตัวในประเทศไทยซึ่งมีการดำเนินคดีเรื่องการหนีภาษีของทักษิณ ชินวัตร (เข้าใจว่าคดียกเลิกไปแล้ว) และรู้กันโดยทั่วไปว่าทักษิณมีเงินฝากไว้ในสวิสเช่นกัน แต่ทางรัฐบาลไทยไม่สามารถขอร้องหรือบังคับให้ธนาคารสวิสเปิดเผยข้อมูลใดๆ ของบัญชีทักษิณได้เลย หรือแม้แต่การจะคืนเงินในบัญชีของเผด็จการให้กับประเทศนั้นๆ ไปก็ต้องอาศัยกระบวนการและเวลาที่ใช้เวลาเนิ่นนานเป็นสิบๆ ปีจนกว่ากระบวนการยุติธรรมจะสิ้นสุดแล้วเท่านั้น ธนาคารสวิสจึงจะคืนเงินให้อย่างเช่นที่เกิดกับกรณีของ มาร์คอส ประเทศฟิลิปินส์

เมื่อผมมาอ่านรายงานวิเคราะห์ขององค์กร Tax Justice Network ฉบับเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมานี้ จึงทราบคำอธิบายว่า การทำสัญญา Tax treaty นั้น ประเทศกำลังพัฒนาจะเสียเปรียบและสูญเสียรายได้ทางภาษีไปเป็นมูลค่ามหาศาล ประเทศคู่สัญญาต้องยอมรับเงื่อนไขที่จะต้องลดภาษีรายได้แก่ผู้เสียภาษีต่างชาติลงไม่ว่าจะเป็นต่างชาติบุคคลธรรมดาหรือบริษัท รายได้ภาษีที่ว่านั้นมาจากเงินลงทุนในทุกรูปแบบ เช่น ดอกเบี้ย, เงินปันผล, รายได้จาก license ทุกประเภท เป็นต้น ซึ่งแหล่งรายได้เหล่านี้นับว่าสำคัญอย่างยิ่งต่อประเทศกำลังพัฒนาที่ต้องอาศัยการลงทุนจากต่างประเทศเพื่อการเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศ

ตัวอย่างที่ประเทศกำลังพัฒนาประสบปัญหาจาก Tax treaty ได้แก่ประเทศอาร์เจนตินา ซึ่งได้ทำสัญญากับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในปี 1997 และท้ายที่สุดเมื่อเร็วๆ นี้เป็นฝ่ายยกเลิกสัญญาไปเองข้างเดียวโดยไม่รอการตกลงจากฝ่ายสวิส และทำการประกาศขึ้นภาษีโดยอิสระในทันที

ฉะนั้นแล้วมาตรการที่เป็นที่คาดหวังกันที่สุดนั้นคือ การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างรัฐบาลหรือธนาคารโดยอัตโนมัติคือปราศจากเงื่อนไขการเรียกร้องแลกเปลี่ยน จึงจะเกิดความยุติธรรมแก่ทุกฝ่ายอย่างแท้จริง แต่จนถึงบัดนี้ OECD ก็ยังคงยึดนโยบาย Tax treaty อยู่เหมือนเดิมและนั่นเป็นสาเหตุให้ประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายจึงหมดโอกาสที่จะเรียกร้องข้อมูลใดๆ จากประเทศที่ทำธุรกิจหากินกับเงินหนีภาษีอยู่ต่อไป

ท้ายที่สุดนั้น แหล่งฟอกเงินหรือกบดานเงินผิดกฏหมายที่สำคัญที่สุดนั้นจะอยู่ในประเทศหลักๆ คือ สวิส, ลักซัมบวร์ก, ลอนดอน, สิงค์โปร์ และแม้แต่ USA นั่นหมายถึงประเทศที่เป็นศูนย์กลางการเงินของโลกนั่นเอง ไม่ใช่ประเทศเล็กประเทศน้อยในหมู่เกาะแคริบเบียน

ตอบกลับความเห็นที่ 18
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 19
ขอบคุณนะครับ
คุณพูดถึง Tax Treaty ทำให้ผมนึกถึง Tax Treaty ระหว่างไทยกับอเมริกาประมาณสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในTreatyนั้นโดยละเอียดผมไม่ทราบว่ามีอะไร แต่มีอยู่ข้อหนึ่งที่ว่านักเรียนไทยทำงานในอเมริกาไม่ต้องเสียภาษี (เสียภาษีแต่เวลาเคลมจะคืนได้ทั้งหมด) ไม่รู้ว่าเขาเอาอะไรไปแลกกับของไทยมาบ้าง มีนักเรียนไทยกี่คนที่รู้เรื่องนี้และได้ประโยชน์ แต่ผมโชคดีมีคนส่ง Information มาให้ พอเคลมแทกซ์ผมก็อ้างกฏหมายนั้นลงในฟอร์มที่เสียภาษี ทำอยู่สามปีผมก็หมดสิทธิ์เพราะไม่ได้เป็นนักเรียน


ตอบกลับความเห็นที่ 19