ฝอยทองโปรตุเกส

ทำไมเรียก ทีมโปรตุเกส ว่าฝอยทอง อยากรู้

ความคิดเห็นที่ 1
ขนมนั้นมีต้นกำเนิดมาจากโปรตุเกส

แท้จริงแล้วไม่ใช่ขนมไทยแท้หรอก

เป็นเพราะไทยรับมาจากโปรตุเกสอีกที

แล้วก็เอามาเป็นขนมไทยซะงั้น


ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
ก็สมัยกรุงศรีอยุธยา ... สมเด็จพระนารายณ์มหาราช........ยุโรปชาติแรก ๆ ที่เข้ามาติดต่อราชสำนักไทยคือ โปรตุเกส........ฝรั่งเศส ซึ่งยุโรปเหล่านี้ได้เอาวัฒนธรรมการกินของ ชาติตนมาด้วย เช่น.....

1. โปรตุเกส เอาขนมหวาน ไข่แดงผสมแป้ง น้ำตาล โรยผ่านตะแกรงลงในกระทะน้ำมันมะพร้าว ..... ก็ได้เรียกเป็นแบบไทยว่า ฝอยทอง

และยังมี ทองหยิบ ทองหยอด........ อีก ตำราจากโปรตุเกสเหมือนกัน

2. ส่วนฝรั่งเศส ....นำเอาวัฒนธรรมการกินขนมปังประจำวัน มาทำในเมืองไทย ภาษาฝรั่งเศสเรียกขนมปังว่า du Pain แปง แปง.....แปง

คนไทยกรุงศรีอยุธยา หูฟังเป็น ปัง....ปัง ..... ปัง

เอามากินเล่นแบบขนม ........ ก็เลยกลายเป็น " ขนมปัง "

3. คำว่า " ข น ม " ขนม หวาน ๆ ที่คนไทยชอบกินเล่น หวานๆ ก็มาจากฝรั่งต่างชาติที่เข้ามาสมัยกรุงศรีอยุธยาเหมือนกัน โปรตุเกส ฝรั่งเศส กรีก..............................ต่างกินขนมหวานของชาติตนด้วยการปรุง ข้าวป่น คือแป้งสาลี หรือแป้งข้าวจ้าว แล้วผสมกับนม น้ำตาล.....สมัยนั้นคนไทยไม่เคยเห็น ไม่เคยทำ

เมื่อสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ก็ได้มาเห็นฝรั่งกินของหวาน ด้วยการนำเอาข้าว ผสม นม ก็เลยเรียก ข้าว + นม ชนิดนี้ว่า.... ข้าวนม ข้าวนม.........จนกร่อนมาเป็น ขนม........ยังไงล่ะ ท่านที่เคารพ


ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
ตาม คห. 1 ค่ะ และ พวกเราคนไทยเรียนเกี่ยวกับเรื่องเจ้าพระยาวิชเยนทร์ หรือ คอนสแตนติน ฟอลค่อน
และท้าวทองกีบม้า สาวลูกครึ่งญี่ปุ่น-โปรตุเกส กันมาตั้งแต่เด็กๆ แล้วนะคะ

พูดแล้วอยากินขนมไทยจังเลยค่ะ ตอนนี้อยากกินลูกชุบ กับ ขนมชั้นใบเตย


ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
สวัสดีค่ะ คุณ Detente กระทู้นีเอบอุ่นดีจัง คุณ จขกท. โชคดีนะคะ ที่มีคุณ Detente มาช่วยตอบให้


ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
ประวัติท้าวทองกลีบม้า-ต้นตำรับขนมฝอยทองจากโปรตุเกส

th.wikipedia.org/wiki/ท้าวทองกีบม้า_(มารี_กีมาร์_เดอ_ปีนา)


ตอบกลับความเห็นที่ 5
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 6
"ท้าวทองกีบม้า_(มารี_กีมาร์_เดอ_ปีนา)"
อันนี้ เพิ่งทราบครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 6
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 7
ผมเคยเขียนประวัติ "ท้าวทองกีบม้า" ราชินีขนมไทยไว้ที่นี่
http://topicstock.pantip.com/klaibann/topicstock/2011/12/H11522208/H11522208.html


ตอบกลับความเห็นที่ 7
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 8
แบบคร่าวๆ

ท้าวทองกีบม้า "ราชินีแห่งขนมไทย"

ท้าวทองกีบม้ามีเชื้อสายโปรตุเกสผสมญี่ปุ่น รับใช้แผ่นในสมัยอยุธยาถึง "สี่แผ่นดิน" คือสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระเพทราชา พระเจ้าเสื้อ พระเจ้าท้ายสระ ท้าวทองกีบม้ามีชื่อจริงว่า มารี กีมาร์ เดอปิน่า (ชื่อ "กีบม้า" น้าจะกร่อนมาจากคำว่า กีมาร์ กระมัง??) ได้ชื่อเป็น "ราชินีแห่งขนมไทย" เธอคือเจ้าตำรับขนมทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ฯลฯ ชีวิตเธอในรัชสมัยพระนารายณ์มหาราชนั้นโลดโผนและมีสีสันทีเดียว เธอเป็นภรรยาของ เจ้าพระยาวิชาเยนทร์(แสตนติน ฟอลคอล)ซึ่งเป็นชาวต่างชาติอีกคนหนึ่งที่ได้รับความไว้วางพระทัยจากสมเด็จพระนารายณ์ฯ มากให้ดำรงตำแหน่งสูงสุดคือ สมุหนายก(เทียบเท่านายกรัฐมนตรี)ในสมัยอยุธยา ดังนั้นตำแหน่งของ "ท้าว" ทองกีบม้าจึงเป็นเสมือนหนึ่ง "คุณหญิง" เลดี้นัมเบอร์วันในตอนนั้น ชีวิตเธอรุ่งโรจน์มีบ่าวไพร่คอยรับใช้มากมาย และช่วงปลายรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ฯ พระเพทราชาได้อาศัยช่วงที่สมเด็จพระนารายณ์ประชวรจับเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ประหารชีวิต และยึดอำนาจปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ต่อจากสมเด็จพระนารายณ์ฯ เมื่อสามีมาถูกประหารชีวิตเสียท้าวทองกีบม้าก็มารับใช้ในแผ่นดินของพระเพทราชาต่อ เกร็ดประวัติศาสตร์เล่าว่า ท้าวเธอมีหน้าตาที่สวย(ลูกผสมโปรตุเกสกับญี่ปุ่นก็น่าจะสวยนะ)จึงทำให้หลวงสรศักดิ์(เป็นอุปราชของพระเพทราชา)พยายามจะเกี้ยวพาราณาสีเธอ เธอไม่ยอมและขุนหลวงสรศักดิ์ก็ขู่เธอต่างๆ นานา เธอพยายามจะหลบหนีออกจากอยุธยา แต่ท้ายที่สุดก็ถูกจับคุมขังอยู่สองปี เมื่อเธอออกจากคุกมาก็มาทำงานเป็นต้นครัวให้กับราชสำนัก และตรงนั้นนั่นเองก็เป็นจุดกำเนิดของขนมหวานแบบไทยต่างๆ

อเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน ชาวตะวันตกอีกผู้หนึ่งที่บันทึกการเดินทางเกี่ยวกับเรื่องของ ท้าวทองกีบม้า ว่า

"ข้าพเจ้าได้เห็นท่านผู้หญิงของฟอลคอนในปี พ.ศ.2262 เวลานี้ท่านได้รับเกียรติเป็นต้นห้องเครื่องหวานาของพระเจ้าแผ่นดิน ท่านเกิดในกรุงสยามในตระกุลอันมีเกียรติ และในเวลานั้นท่านเป็นที่ยกย่องนับถือแก่คนทั่วไป...


ท่านท้าวทองกีบม้าผู้นี้ เป็นต้นการสั่งสอนให้ชาวสยามทำของหวาน คือ ขนมทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมทองโปร่ง ทองพลุ ขนมผิง ขนมฝรั่ง ขนมผิง ขนมไข่เต่า ขนมทองม้วน ขนมสัมปันนี ขนมหม้อแกง เป็นต้นเหตุเดิมที่ท้าวทองกีบม้าทำและสอนให้ชาวสยาม"


ตอบกลับความเห็นที่ 8
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 9
จัดเต็ม

ในจดหมายของเธอที่ส่งถึงสังฆราชฝรั่งเศสองค์หนึ่งซึ่งประจำอยู่ในประเทศจีน วันที่ 20 มิถุนายน คศ1706 เธอใช้ชื่อเต็มว่า ดอฌ่า มารี กีมาร์ เด ปินา (dona Marie Germard de Pina) ดอฌ่า เป็นภาษาสเปนซึ่งในสมัยนั้นเทียบกับคำไทยได้ว่า "คุณหญิง"

ด้วยเหตุที่เธอเป็นภรรยาของออกฌยาวิไชเยนทร์ ซึ่งเป็นอัครมหาเสนาบดีของอยุธยา(โปรดดูประวัติของท่านผู้นี้ตามลิงค์ข้างบนที่ผมเขียนประวัติเขาไว้เหมือนกัน)


จากคำบอกเล่าของ เซฌอร่า อิก เนซ มาร์แตงซ์ซึ่งเป็นยายของท้าวทองกีบม้าว่า ครอบครัวนางเป็นคาธอลิกที่เคร่งครัดมากและนางก็เป็นหลานสาวของคริสต์ศาสนิกชนคนรอกของญี่ปุ่น ซึ่งนักบุญฟรังซิส ซาเวียร์ประทานศีลล้างบาปและตั้งชื่อให้


พศ 2135 ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินญ๊ปุ่น (โชกุน) ฮิเดะโยชิ ได้ออกพระราชกฤษฏีกาในจับกุมชาวญี่ปุ่นที่นับถือศาสนาคริสต์และลงโทษรับราชบาตร พวกเข้ารีตหลายคนถูกประหารชีวิตที่เมืองนางาซากิ ยายของท้าวทองกีบม้าก็อยู่ในหมู่ของชาวคริสต์ที่ถูกขับไล่ด้วย นางถูกจับยัดใส่กระสอบนำมาลงเรือที่เมืองนางาซากิเพื่อเนรเทศให้ไปอยู่ที่เมืองไฟโฟประเทศเวียดนามซึ่งมีชาวคริสต์อยู่กันมาก


บนเรือลำนั้น นางได้พบกับตาของท้าวทองกีบม้าซึ่งเป็นเจ้าชายแห่งราชวงศ์ญี่ปุ่น ซึ่งเข้ารีตนบถือศาสนาคริสต์เช่นกันและทั้งสองได้แต่งงานกัน ร่วมชีวิตกันอย่างยากจนมาระยะหนึ่ง จึงเร่มมีกิจการค้าจนมีฐานะดีขึ้นสามารถตั้งหลักแหล่งทำมาหากินได้ ต่อมาได้มีชาวญี่ปุ่นเข้ารีตดกลุ่มหนึ่งเดินทางไปอาศัยอยู่กรุงศรีอยุธยาและได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี ตาและยายของท้าวทองกีบม้าจึงตัดสินใจอพยพมาตั้งถิ่นฐานที่อยุธยาและอาศัยอยู่เรื่อยมาจนเสียชีวิต


วันนี้เป็นวีคเอ็นด์ ขยันพิมพ์ มีต่อ


ตอบกลับความเห็นที่ 9
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 10
มารี กีมาร์ (ท้าวทองกีบม้า) เป็นสตรีที่มีรูปโฉมงดงามมาก เป็นที่ต้องตาต้องใจของชายหนุ่มๆ ทั่วไป นอกจากนั้นเธอยังเป็นผู้มีจิตใจงดงาม ซื่อสัตย์ ใจบุญสุนทาน ตลอดเวลา มารี กีมาร์ดำเนินชียิตอยู่ในกรอบแห่งความดีงามและถูกต้องเป็นคาธอลิกที่ได้ชื่อว่าเคร่งครัดมากที่สุดคนหนึ่ง


มารี กีมาร์ แต่งงานกับ คอนสแตนติน ฟอลคอน เชื้อสายกรีกที่เข้ามารัชราชการอยู่อยุธยาและได้รับความโปรดปรานจากพระเจ้าแผ่นดิน คือสมเด็จพระนาราย์มหาราชเป็นอย่างสูง (สูงชนิดที่เรียกได้ว่าแทบจะเป็นรองก็แค่สมเด็จพระนารายณ์ บางคนถึงกับตั้งข้อสังเกตุไปไกลขนาดว่าสาเหตุที่สมเด็จพระนารายณ์ไว้พระราชหฤทัยต่อชาวต่างชาติท่านนี้เป็นอย่างสูงให้รั้งตำแหน่งถึงระดับอัครมหาเสนาบดีนั้นเนื่องเพราะสมเด็จพระนารายณ์เป็นลักเพศหรือเปล่า?? อันนี้ก็ว่ากันไปนะ เอามาเล่าให้ฟังเฉยๆ) ชีวิตสมรสของเธอไม่สู้ราบรื่นนัก ด้วยคอนสแตนตินมีนิสัยเจ้าชู มักนอกใจเธออยู่เสมอจึงมีเหตุให้ขัดแย้งกันเรื่อยมา


อันที่จริงแล้ว ก่อนที่มารี กีมาร์จะตอบตกลงแต่งงานงานกับคอนสแตนตินนั้น เธอมิได้นึกรักหรือชอบพอบุคคลนี้มาก่อน นอกจากนั้น ฟานิก บิดาของเธอยังเกลียดชังสแตนตินด้วย หากแต่ได้รับคำขอร้องจากบาทหลวงฝรั่งเศสอันเป็นที่เคารพของครอบครัว และสแตนตินยินยอมที่จะเปลี่ยนศาสนามาเป็นคาธอลิก การแต่งงานจึงเกิดขึ้น

มารีกีมาร์และสแตนตินมีบุตรชายด้วยกันสองคน ชื่อ ยอร์ช ฟอลคอน และ ฮวน ฟอลคอน และต่อมาเมื่อพระเพทราชาและขุนหลวงสรศักดิ์(คือพระเจ้าเสือต่อมา)ทำการยึดอำนาจสมเด็จพระนารายณ์ ชีวิตที่รุ่งโรจนของสแตนตินก็พังลงในพริบตา มารี กีมาร์ บุตร ญาติพี่น้องคนใช้ภายในบ้านทุกคนถูกจับและโบยและนำตัวไปจองจำไว้ที่คอกม้า ส่วนเจ้าพระยาวิชาเยนต์(สแตนติน)ก็ถูกประหารชีวิต ฐานะของมารี กีมาร์จาก "คุณหญิง" ของอดีตอัครมหาเสนบดีแห่งอยุธยาในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ก็ถูกลดเป็น "ทาส" และถูกนำตัวลงมาที่กรุงศรีอยุธยา (สมัยนั้นเมืองหลวงอยู่ที่ลพบุรี)


เมื่อกลับมายังกรุงศรีอยุธยา มารี กีมาร์ถูกส่งตัวไปเป็นคนรับใช้ในพระราชวัง ทำให้ขุนหลวงสรศักดิ์ซึ่งมีความพอใจความงามของเธอยู่แล้วต้องการได้เอไปเป็นภรรยาน้อย แต่เธอไม่ยินยอม จึงทำให้ขุนหลวงสรศํกดิ์ไม่พอใจจะทำร้ายเธอต่างๆ นานา สร้างความหวาดกลัวให้แก่เธอเป็นอันมาก


ในที่สุดเธอก็ตัดสินใจพาบุตรชายลอบเดินทางจากกรุงศรีอยุธยาติดตามร้อยโทนเซนต์ มารี ลงมาที่ป้อมบางกอกอันเป็นที่ต้งของทหารฝรั่งเศส ภายใต้การบังคับบัญชาของพลเอกเดฟาช์จเพื่อของร้องให้ช่วยส่งเธอไปอยู่ประเทศฝรั่งเศส แต่ทางพลเอกเดฟาช์จเห็นว่า เธอเป็นตัวการสำคัญที่จะสร้างความเดือดร้อนให้แก่ทหารฝรั่งเศสและประเทศฝรั่งเศส จึงประชุมและลงความเห็นว่าควรส่งตัวเธอ(มารี กีมาร์)และบุตรคืนอยุธยา ซึ่งเจ้าพระยาโกษาธิบดี(ปาน)ได้รับตัวเธอเอาไว้ความความเมตตา


ตอบกลับความเห็นที่ 10
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 11
มารี กีมาร์ถูกนำต้วไปคุมขังไว้เป็นเวลานานถึงสองปี จึงได้รับการปลดปล่อยและให้ไปพักอาศัยอยู่ที่ค่ายโปรตุเกสแต่ยังต้องมีหน้าที่ทำอาหารคาวหวานส่งเข้าไปในพระราชวังตามกำหนด ด้วยเหตุนี้เองเธอจึงจำเป็นต้องประดิษฐ์คิดค้นตำรับการปรุงอาหารต่างๆ ขึ้นมาใหม่ตลอดเวลา


ช่วงชีวิตของเธอในขณะนั้นเต็มไปด้วยความยากลำบาก ต้องต่อสู้กับความทุกข์ยากอย่างอดทน ลูกชายคนแรกของเธอไม่สู้แข็งแรงนัก แต่ก็เป็นเด็กฉลาด เธอส่งไปให้เรียนหนังสือกับบาทหลวง และได้ทำหนังสือร้องทุกข์ต่อพระเจ้าหลุยส์ที่14 ขอพระราชทานความช่วยเหลือ ซึ่งพระเจ้าหลุยส์ที่14 ก็ทรงมีพระราชโองการให้บริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศสซึ่งคอนสแตนตินเป็นหุ้นส่วนอยู่จ่ายเงินให้แก่เธอปีละหนึ่งพันดูกาต์


ชีวิตของมารี กีมาร์ (ท้าวทองกีบม้า)กลับฟื้นคืนมาดีอีกครั้งหนึ่งด้วยฝีมือในการปรุงอาหารคาวหวานของเธอนั่นเอง โดยได้เข้าไปรับราชการในพระราชวังตำแหน่งหัวหน้าห้องเครื่องต้น ดูแลเครื่องเงินเครื่องทองของหลวง เป็นหัวหน้าเก็บพระภูษาฉลงพระองค์ และเก็บผลไม้ของเสวย มีพนักงานอยู่ใต้บังคับบัญชาเป็นหญิงล้วนจำนวนสองพันคน


ระหว่างรับราชการประจำห้องเครื่องต้นนี่เองที่ท้าวทองกีบม้าได้สอนการทำขนมหวานจำพวก ทองหยอด ทองหยิบ ฝอยทอง ทองพลุ ทองโปร่ง ขนมผิงและอื่นๆ ให้แก่ผู้ทำงานอยู่กับเธอและสาวๆ เหล่านั้นได้นำมาถ่ายทอดต่อมายังแต่ละครอบครัวกระจายไปในหมู่คนไทยมาจนปัจจุบัน


ท้าวทองกีบม้านับว่าเป็นผู้มีอายุยืนมากคนหนึ่ง เธอมีชีวิตอยู่ในถึงสี่แผ่นดิน คือสมเด็จพระนายรายณ์ สมเด็จพระเพทราชา สมเด็จพระเจ้าเสือ และสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ


ที่มา: ท้าวทองกีบม้า ราชินีขนมไทย โดย มานพ ถนอมศรี พศ 2542


ตอบกลับความเห็นที่ 11
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 12
ขอขอบคุณครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 12
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 13
ขอบคุณ คุณวัชรานนท์ มากนะคะ🙏


ตอบกลับความเห็นที่ 13
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 14
โห ได้ความรู้ไปเต็มๆเลย ขอบคุณครับ
ตอบกลับความเห็นที่ 14
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 15
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 15
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 16
อุตส่าห์ภูมิใจตั้งนาน


ตอบกลับความเห็นที่ 16
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 17
ที่ญี่ปุ่นเรียกขนมนี้ว่า เครันโซเม็ง แปลว่า ไข่เส้น

เป็นขนมที่คนโตเกียวและพวกที่อยู่เหนือๆขึ้นไปไม่รู้จัก (เว้นแต่เป็นคนอายุมากหรือความรู้รอบตัวเยอะจัด)

แต่พอเป็นที่รู้จักบ้างในหมู่คนญี่ปุ่นที่อยู่ใต้โตเกียวลงมา (พูดง่ายๆว่าคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ไม่รู้จักขนมชนิดนี้)

อย่างไรก็ตามดิฉันเคยเห็นวางขายอยู่ที่ห้างอิเซตันที่โตเกียว บรรจุกล่องสวยงาม

เขียนป้ายเป็นตัวคันจิบอกชื่อว่าขนมนี้คือ เครันโซเม็ง

ราคาแพงมากหลายพันเยน ก็เลยได้แต่ยืนดูเฉยๆ


ตอบกลับความเห็นที่ 17
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 18
ชอบกระทู้นี้ครับ ผมรู้จักท้าวทองกีบม้าครั้งแรกตอนผมอ่านนิยายเรื่อง "บุพเพสันนิวาส" ที่กำลังจะถ่ายทำละครช่อง3 เร็วๆ นี้...

หลงรักเธอในนิยายตอนนั้นล่ะครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 18
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 19
ขอบคุณมากๆค่ะ

ได้รับความรู้เพิ่มอีกมาก อ่านเพลินเลย


ตอบกลับความเห็นที่ 19
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 20
ฝอยทอง ทองหยิบ ที่กรุงลิสบอน ปอร์ตุเกส

ตอบกลับความเห็นที่ 20