(เกล็ดความรู้) เครื่องบิน นั่งตรงไหนปลอดภัยที่สุด

เหตุการณ์อุบัติเหตุเครื่องบินแต่ละครั้ง ไม่ว่าจะมีผู้รอดชีวิตมากน้อยแค่ไหน ก็ล้วนสะเทือนขวัญผู้คนไม่น้อย และทุกครั้งที่มีผู้รอดชีวิต ก็มักจะถามไถ่กันเสมอว่า นั่งตรงไหน รอดมาได้อย่างไร และส่วนไหนของเครื่องบินกันแน่ที่จะปลอดภัยที่สุด หากต้องเผชิญกับอุบัติภัยต่างๆ

“นั่งตรงไหนก็ไม่ปลอดภัยทั้งนั้น” หลายๆ ความเห็นอาจจะคิดเช่นนี้

หรือไม่ก็ “แล้วแต่ว่าอุบัติเหตุจะเกิดตรงไหน” นี่ก็พิจารณาตามสถานการณ์

นิตยสารป็อปปูลาร์ มาแคนนิกส์ (The Popular Mechanics) เคยวิจัยโดยการวิเคราะห์ทางสถิติไว้ว่า ที่นั่งบนเครื่องบิน...นั่งด้านท้ายปลอดภัยกว่า

ทั้งนี้ จากการศึกษาสถิติจากอุบัติเหตุต่างๆ ของสารพัดสายการบินที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาชี้ให้เห็นว่า ยิ่งอยู่ห่างจากหัวเครื่องบินเท่าใดก็ยิ่งปลอดภัยมากขึ้นเท่านั้น โดยสถิติผู้รอดชีวิตจากอุบัติเหตุบนเครื่องบินส่วนใหญ่ 40% มีที่นั่งบริเวณหางเครื่องบิน

นิตยสารดังกล่าวได้นำข้อมูลอุบัติเหตุของเครื่องบินในสหรัฐฯ จำนวน 20 ครั้ง จากสำนักงานความปลอดภัยด้านการขนส่งแห่งสหรัฐฯ (NTSB) ตั้งแต่ปี 2514 จนถึง ส.ค. 2550 อย่างละเอียด ที่มีทั้งผู้รอดชีวิตและเสียชีวิต พร้อมทั้งข้อมูลแผนผังที่นั่งของผู้โดยสารมาวิเคราะห์ว่าอุบัติเหตุแต่ละครั้ง ผู้โดยสารในแต่ละที่นั่งมีสภาพเป็นอย่างไร

ทีมงานได้เปรียบเทียบอัตราการรอดชีวิต โดยแบ่งเครื่องบินออกเป็น 4 ส่วน โดยได้ข้อสรุปว่า “ยิ่งใกล้หางยิ่งปลอดภัยกว่า”

อุบัติเหตุ 11 ใน 20 ครั้ง ผู้โดยสารที่นั่งแถวท้ายๆ ส่วนใหญ่ปลอดภัย หรือประสบเหตุเบากว่า โดยใน 7 กรณีของกลุ่มนี้ผู้โดยสารที่ปลอดภัยนั่งอยู่ในแถวท้ายๆ อีกทั้งได้ยกตัวอย่างอุบัติเหตุในปี 2525 กับสายการบินฟลอริดา (Air Florida) ที่เกิดขึ้นในวอชิงตันดีซี และปี 2515 กับอีสเทิร์น 727 (Eastern 727) ที่ท่าอากาศยานเคนนาดี ในนิวยอร์ก ซึ่งผู้โดยสารของทั้ง 2 กรณีที่รอดชีวิตล้วนนั่งอยู่บริเวณหางของเครื่องบิน

อีกทั้งยังมีกรณี ดีซี-8 ของสายการบินยูไนเต็ด (United DC-8) เกิดน้ำมันหมดกลางอากาศใกล้กับพอร์ตแลนด์ ในปี 2519 มีผู้เสียชีวิต 7 ราย ทั้งหมดล้วนนั่งอยู่ใน 4 แถวแรก

นอกจากนี้ มีอุบัติเหตุเพียง 5 ครั้งเท่านั้นที่ผู้โดยสารบริเวณด้านหน้าประสบเหตุเบากว่า ซึ่งเหตุการณ์ทั้ง 5 เกิดระหว่างปี 2531-2535 ส่วนใหญ่เพราะเหตุเกิดที่บริเวณปีก อย่างอุบัติเหตุในปี 2532 ที่ไอโอวากับสายการบินยูไนเต็ด มีผู้โดยสารรอดชีวิต 175 คน โดยส่วนใหญ่อยู่ที่ห้องผู้โดยสารส่วนหน้าปีกและส่วนหัว

และอีก 3 ครั้งที่ทั้งผู้นั่งส่วนหัวและท้ายเครื่องมีโอกาสรอดชีวิตพอๆ กัน

ส่วนผู้ที่นั่งบริเวณหัวลำปลอดภัยนั้น มีเพียง 1 กรณีเท่านั้น ในปี 2532 เครื่องโบอิ้ง 737-400 ของสายการบินยูเอสแอร์ (USAir) เกิดอุบัติเหตุบนทางวิ่ง (รันเวย์) มีผู้โดยสารเสียชีวิตเพียง 2 รายคือ ผู้ที่นั่งในแถวที่ 21 และ 25

เมื่อคำณวนตามอัตราการรอดชีวิตแล้ว นิตยสารป็อปปูลาร์ มาแคนนิกส์ สรุปว่า ผู้ที่นั่งเคบินท้ายมีอัตราการรอดชีวิตถึง 69% หากเกิดอุบัติเหตุ และไล่ขึ้นมาในเคบินส่วนปีกโอกาสรอด 56% เสมอกับเคบินส่วนหน้าปีก


อย่างไรก็ดี เคบินที่มีอัตราการรอดชีวิตต่ำสุดคือเคบินแรก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชั้นหนึ่งและชั้นธุรกิจ โดยมีอัตราการรอดชีวิตหากเกิดอุบัติเหตุเพียง 49%

แม้จะเห็นว่า อัตราการรอดชีวิตหากเกิดอุบัติเหตุบนเครื่องบินไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ที่สำคัญ ไม่ว่าจะนั่งตรงไหนของเครื่องก็ตาม เมื่อแน่ใจว่ารัดเข็มขัดแน่นแล้ว ก็ทำใจให้สบาย ตั้งใจฟังลูกเรือแนะนำกรณีฉุกเฉินต่างๆ และประคองสติให้มั่นขณะเกิดเหตุ

ความคิดเห็นที่ 1
วิธีนั่งเครื่องบินให้ปลอดภัย

1. ก่อนขึ้นเครื่องบินโปรดตรวจสอบสัมภาระของท่านให้ดี เอาของตัวติดตัวเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น การเสียค่าน้ำหนักเพิ่มไม่ทำให้เราต้องเสียเงินมากเท่าไหร่นะครับเพราะฉะนั้น อะไรที่ไม่จำเป็นโหลดเถอะครับ

2. บางคนอาจเห็นว่าไม่สำคัญแต่ความรู้สึกผมการแต่งกายขึ้นเครื่องบินควรจะแต่งการให้เราคล่องตัว เพราะบางครั้งหากเราใส่กระโปรงยาว ส้นสูง หมวก หรืออุปกรณ์อะไรมากๆ หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นอาจเป็นอุปสรรคกับตัวเราเองก็ได้

3. ช่างสังเกตุ การเป็นคนช่างสังเกตุทำให้เราสามารถเห็นความผิดพลาดอะไรได้มากมาย ถึงแม้ทางสายการบินต่างๆจะมีมาตรฐานความปลอดภัยที่สูงสุดแต่ก็ไม่เสียหายหาก ท่านจะสงสัยว่าทำไมตรงนี้มีรอยแตก ได้กลิ่นอะไรมั๊ย ทำไมเสียงแปลกๆ ทำไมที่นั่งแบ่งไม่เท่ากัน เมื่อกี้เห็นควันตรงปีก ท่านถามลูกเรือได้ จะได้เช็คอีกครั้งเพื่อความปลอดภัย

4. เมื่อขึ้นเครื่องมาแล้ว การมองว่าเครื่องนี้มีทางออกได้กี่ทาง ตรงไหนบ้าง เรานั่งตรงนี้ ทางออกฉุกเฉินอยู่ตรงไหน ห่างจากเรากี่แถว นับไว้ในใจ ถ้าเกิดอะไรขึ้นข้างในมีควันเราเอาเสื้อคลุมไว้ แต่มือเราก็นับแถวเก้าอี้ไปยังทางออกได้ ข้างหน้าเราเป็นใคร ข้างหลังเราเป็นใคร หากเกิดอะไรที่เราช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เราก็จะได้ขอให้เค้าช่วย

5. เมื่อลูกเรือประกาศปิดโทรศัพท์ ขอความร่วมปิดจริงๆ ถึงแม้จะไม่มีหลักฐานว่าสัญญาณโทรศัพท์จะทำให้เกิดอุบัติเหตุ แต่ก็ไม่อยากให้ใครต้องเป็นคนพิสูจน์ว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องจริง บางท่านบอกว่าเครื่องยังไม่ขึ้นทำไมต้องปิด ขอเรียนให้ท่านทราบว่า ถึงแม้เครื่องจอดอยู่ แต่ในห้องนักบิน นักบินกำลังติดต่อกับหอบังคับการบินเรื่องข้อมูลต่างๆ บางครั้งสัญญาณจากโทรศัพท์มือถืออาจทำให้นักบินได้รับข้อมูลที่ผิดพลาดมาก็ได้ครับ เพราะฉะนั้นอย่าว่าหรือทำสีหน้าไม่พอใจกันอีกเลยนะครับหากคราวหน้าลูกเรือแนะนำให้ปิดโทรศัพท์

6. ขณะสาธิตอุปกรณ์การช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน อยากให้ตั้งใจดูจริงๆนะครับ เพราะนี่คือสิ่งที่ช่วยชีวิตคุณได้ หนังสือพิมพ์รอก่อน โทรศัพท์ค่อยคุย ง่วงนอนแค่ไหนก็ขอให้ฝืนดู เพราะมันสำคัญที่สุด


6.1 เข็มขัดนิรภัย ถึงแม้จากเหตุการณ์ของสายการบิน จะมีผู้เสียชีวิตขณะนั่งรัดเข็มขัด ซึ่งบางท่านอาจคิดว่า ท้ายที่สุดมันก็ไม่ได้ช่วยอะไร แต่มองในแง่ของการพิสูจน์ศพ บางท่านในเที่ยวบินนั้นได้กระเด็นออกจากที่นั่งเนื่องจากไม่รัดเข็มขัด ทำให้ไม่ทราบว่านั่งที่ไหน กับท่านที่นั่งรัดเข็มขัดกับที่เราสามารถตรวจสอบกับสายการบินได้ว่าผู้โดยสาร 23A ชื่ออะไร เป็นใคร


ในกรณีอื่น หากเครื่องบินเกิดเสียหลัก ในเคบินจะเกิดแรงกระชากอย่างรุนแรง เข็มขัดนิรภัยเป็นสิ่งเดียวที่จะรั้งเราเอาไว้ ขอแนะนำว่าหากเกิดกรณีนั้นจริงให้ท่าน "ก้มหัวลงให้ต่ำที่สุด หรือจับข้อเท้าไว้ แล้วรอจนเครื่องจอดสนิท ถึงจะทำการอพยพ" เข็มขัดก็ไม่ใช่เรื่องน่าอายครับ จะทำให้เราชินมือ แล้วกรุณาปรับเข็มขัดให้อยู่ใต้สะดือและแน่นพอดีตัว เพราะหากท่านคาดหลวมๆเพื่อหลอกลูกเรือ(เหมือนเอาเข็มขัดนิรภัยรถมาทาบอกหลอกตำรวจ) มันก็ช่วยอะไรไม่ได้นะครับ

7. หน้ากากออกซิเจน จะอยู่เหนือที่นั่งของท่านนะครับ หากระบบความกดอากาศในเคบินเปลี่ยน ท่านสามารถใช้หายใจได้ อาจมีกลิ่นไหม้ แต่นั่นคือกลิ่นสารเคมีที่ทำปฏิกิริยากัน ไม่มีอันตรายแต่อย่างใดครับ อีกอย่างถ้าท่านมากับลูกหรือคนชราสิ่งที่ถูกต้องคือใส่ให้ตัวเองก่อนนะครับ แล้วค่อยใส่ให้กับคนอื่น เพราะหากเราใส่ให้ลูก เสร็จเราหมดสติ เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไรเราไม่รู้ อาจเลวร้ายกว่านี้ เด็กก็อาจเป็นอันตรายได้ครับ

8. เสื้อชูชีพอยู่ใต้ที่นั่งของท่าน การเอามือคลำดูก็เป็นการตรวจสอบความปลอดภัยอีกครั้งครับ หากไม่มีท่านจะได้บอกลูกเรือได้ เพราะหากเกิดเหตุฉุกเฉินท่านอาจไม่ทันการณ์ อย่าลืมว่าเมื่อเวลานั้น เสี้ยววินาทีมีค่าที่สุดครับ

9. ทางออกฉุกเฉิน ท่านสามารถสังเกตได้ตามที่พนักงานชี้ครับ และพนักงานจะชี้ไฟฉุกเฉินบริเวณทางเดินด้วย ขอให้ท่านสังเกตให้ดี เพราะสิ่งนี้จะพาคุณไปยังทางออกครับ


9.1 สำหรับท่านที่นั่งใกล้ทางออกฉุกเฉิน พึงตระหนักนะครับว่าท่านเป็นคนแรกที่หากเกิดเหตุฉุกเฉินท่านจะสามารถออกได้ก่อน ห้ามนำกระเป๋าหรือสัมภาระวางขวางบริเวณนั้นเด็ดขาดครับ เพราะอะไรเหรอครับ หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น ไฟลุกมาจากด้านหลัง พนักงานเปิดประตูให้ท่านหนี แต่ขาท่านไปเกี่ยวกับสายกระเป๋าเป้แล้วท่านล้มลง คนอื่นสะดุดท่านล้มลงอีกเหตุการณ์อลม่าน ผู้โดยสารมองล้มกองคาทางออก เพราะฉะนั้นหากท่านนั้นบริเวณนั้นพยายามทำให้ทางเดินโล่งที่สุด


9.2 การอธิบายวิธีการเปิดทางออกฉุกเฉิน ลูกเรือจะอธิบายวิธีการเปิดให้ท่านฟังพร้อมกับมีแผ่นให้ท่านอ่าน กรุณาศึกษาอย่างละเอียดครับ เมื่อก่อนที่ผมเคยเจอคือ "ผมขึ้นบ่อย ไม่ต้องพูดแล้ว" หรือ ไม่ยอมฟัง ไม่สนใจ ท่านจะเห็นหน้าต่างฉุกเฉินถูกเปิดออกที่บริเวณปีกครับ แล้วผู้โดยสารส่วนนึงก็สามารถออกมาได้ เพราะฉะนั้นขอร้องให้ตั้งใจฟังจริงๆครับ หากมีข้อสงสัยถามได้ครับ ทุกสิ่งทุกอย่างถึงแม้จะเล็กๆน้อยๆ แต่ก็เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเองทั้งสิ้นครับ

10. ทำไมเราถึงบอกให้ท่านเก็บโต๊ะหน้าที่นั่ง ปรับพนักพิงเก้าอี้ตรง และเปิดม่านหน้าต่าง เพราะทุกสิ่งที่กล่าวมานั้นหากท่านไม่ทำตามก็จะเป็นสิ่งกีดขวางในการหนีภัยทั้งสิ้นครับ การเปิดม่านหน้าต่าง ก็เพื่อให้ท่านได้เห็นว่าข้างนอกเกิดอะไรขึ้นมีไฟไหม้ มีควัน เป็นเนินดินหนีไปทางนั้นไม่ได้ เป็นแอ่งน้ำ สิ่งเหล่านี้ก็เพื่อให้เราสามารถใช้ประมวลความเป็นไปได้ในการหนีภัยครับ

ก่อนเครื่องจะทำการขึ้น ลูกเรือจะเดินตรวจความเรียบร้อยที่ผมได้กล่าวมาข้างต้น บางท่านพอเรามาตรวจก็ปรับพนักพิงเก้าอี้ตรง แต่พอเราไปก็ปรับเอนอีก(ผู้โดยสารด้านหลังสามารถแจ้งลูกเรือได้ มันเป็นสิทธิความปลอดภัยของเรา ไม่ต้องกลัวเค้าเขม่น)

11. ทำไมตอนเครื่องขึ้นและลง ถึงห้ามใส่หูฟัง ห้ามฟังเพลงห้ามเปิดเกมส์ ก็เพราะระหว่างการนำเครื่องขึ้นและลงเป็นช่วงที่เสี่ยงที่สุด เรียกว่า 11 นาทีวิกฤต อุบัติเหตุส่วนใหญ่จะเกิดตอนการนำเครื่องขึ้นและลง หากระหว่างนั้นเราใส่หูฟัง ฟังเพลง เราจะไม่ได้ยินลูกเรือสาธิตวิธีการใช้อุปกรณ์ฉุกเฉิน หรือหากเกิดเสียงผิดปกติเช่นระเบิด เสียงรั่วต่างๆเราก็จะไม่ได้ยิน หรือหากลูกเราcommand อะไรที่ฉุกเฉิน ท่านจะเป็นคนเดียวที่ไม่ได้ยิน ส่วนเกมส์หรือ mp3 นั้นก็เกรงว่าจะรบกวนระบบสื่อสารเช่นกัน

12. ถ้าปวดห้องน้ำระหว่างที่เข็มขัดยังเปิดอยู่ลุกไปได้มั๊ย แนะนำว่าให้อดทนรอก่อนครับ เพราะอย่างที่บอก 11 นาทีวิกฤตยังไม่ผ่านอะไรก็เกิดขึ้นได้ หรือแม้ตอนเจอหลุมอากาศ การที่สัญญาณแจ้งเตือนเพราะกัปตันได้ตรวจเจอก้อนเมฆ ซึ่งอ่านทำให้เครื่องส่าย สั่น ทำให้ท่านไม่ปลอดภัยได้ (ความปลอดภัยของท่านอีกแล้ว) แล้วทำไมลูกเรือเดินได้ล่ะ...ลูกเรือจะได้รับการเทรนมาอย่างดีวิธีการเดินตอนเครื่องสั่น หรืออะไรที่เซฟลูกเรือ

ในกรณีที่ท่านนั่งอยู่ในห้องน้ำแล้วเกิดสภาพอากาศแปรปรวนให้ท่านรีบออกมาจากห้องน้ำมานั่งที่และรัดเข็มขัดทันที แต่หากไม่ไหวจริงๆ ขอให้ท่านจับที่จับในห้องน้ำและนั่งลงให้ตัวอยู่ต่ำที่สุด แต่ในกรณีที่เกิดความผิดปกติในห้องโดยสารจนทำให้หน้ากากออกซิเจนตกลงมา ท่านสามารถใช้หน้ากากในห้องน้ำได้ทันที


ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
หากเกิดการ emergency landing

สิ่งแรกที่ท่านต้องทำคือ

1. มีสติ หากรู้ล่วงหน้าลูกเรือจะแนะนำท่าที่ปลอดภัยตอนเครื่องลง แต่หากเกิดไม่ทันตั้งตัว ลูกเรือจะตะโกนท่าที่ปลอดภัยให้ท่านทำตาม

2. ขอให้ท่านรอให้เครื่องจอดสนิทก่อน เพราะเราไม่รู้ว่าข้างนอกเป็นอย่างไร เมื่อเครื่องจอดแล้ว เราจะบอกให้ท่านปลดเข็มขัดแล้วทิ้งทุกอย่างไว้ ให้มาทางเรา ถ้ามีควันไฟขอให้ท่านใช้เสื้อผ้าปิดจมูก ปิดปาก แล้วกคลานให้ต่ำที่สุด

3. เมื่อท่านออกจากเครื่องได้แล้ว ขอให้ท่านอยู่ให้ห่างเครื่องมากที่สุด เพราะเราไม่รู้ว่ามันจะระเบิดตอนไหน

การปฏิบัติตามคำแนะนำของพนักงานต้อนรับอย่างเคร่งครัดเป็นสิ่งที่จะช่วยชีวิตผู้โดยสารมากกว่าการต้องคอยหาว่านั่งตรงไหนปลอดภัยที่สุด ไม่มีใครรู้หรอกครับว่าจะเกิดอะไรขึ้น

ถ้าล้อหลังไม่กาง เอาท้ายลง ด้านหลังก็เสี่ยง
ถ้าเกิดน้ำมันรั่วที่ปีก ตรงกลางเสี่ยง
ถ้าเกิดชนกระแทกด้านหน้า ด้านหน้าเสี่ยง

เพราะฉะนั้นการเตรียมตัวเอง มีสติ ไม่ประมาท ช่างสังเกต ขี้สงสัย และระแวดระวัง (แต่ไม่ใช่ระแวง) เป็นวิธีที่ทำให้เราปลอดภัยที่สุด


ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
เกร็ดความรู้


ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
ขอบคุณสำหรับข้อมูลและสาระประโยชน์ค่ะ ...

แต่ ก็นะ ... ดวงยังไม่ถึงเวลาต้องไป ก็ไม่วายชีวาวาตหรอก ไม่ว่าจะนั่งตรงไหน

ดังนั้น เวลาเข้าไปเช็คอิน ได้ที่นั่งตรงไหน ก็ตรงนั้นแร่ะ ไม่เคยเว้าวอน ขอทริก ขอเปลี่ยนเลยซักครั้ง ...


ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
เคยแต่ดูสาธิต และอ่านเอกสารเพื่อความปลอดภัยบนเครื่อง คิดว่าแค่นั้นน่าจะพอแล้ว
แต่พอมาอ่านของ จขกท มีข้อมูลที่เป็นประโยชน์เยอะเลยค่ะ
ขอบคุณมากนะคะ


ตอบกลับความเห็นที่ 5
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 6
เพิ่งอ่านกระทู้ที่พูดถึงเหตุการณ์เครื่องบินการบินไทยตกที่สุราษฎร์เมื่อปี 2541 พอดีเลย


ตอบกลับความเห็นที่ 6
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 7
ขอบคุณมากครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 7
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 8
เพื่อนฝรั่งผมมันเคยบอกว่า

In case of emergency, put your head between your legs and kiss your ass good bye ..


ตอบกลับความเห็นที่ 8
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 9
ขอบคุณครับ

อ่านแล้ว รู้สึกโชคดีที่เราไม่มีปัญญานั่ง First class และ business class


ตอบกลับความเห็นที่ 9
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 10
นั่งตรงไหน ไม่ต่างกันครับ ถ้าถึงคราวต้องตาย !!!

ผมรู้จักคนในเที่ยวบินสุราษฎร์ปี 41 นั่งติดๆ กันทั้งครอบครัว เหลือเค้าแค่คนเดียวที่รอดมาได้ และไม่เป็นอะไรเลย เจมส์ยังหนักกว่าคนนี้อีก


ดังนั้นจะนั่งตรงไหน สำหรับเครื่องบินที่มีน้ำหนักมากแบบในปัจจุบัน ไม่ต่างกันครับ



The Popular Mechanics Magazine เอาข้อมูลแค่เครื่องของอเมริกันตกเท่านั้นเอง ไม่ได้เอาข้อมูลจากทั่วโลกมาวิเคาระห์ ซึ่งผลมันต่างกันมากนะครับ


อยากรู้ต้องไปหาข้อมูลจากบริษัทประกันครับ อันนี้ชัวร์กว่าแยะ แต่หาข้อมูลยากมหันต์ >_<"

สรุปคร่าวๆ นั่งหัวเครื่อง first class ตายไวสุด ยังไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำ ก็ตายไปแล้ว
นั่งกลางเครื่อง ตายช้ากว่าหัวเครื่องระดับวินาที ส่วนใหญ่ไฟใหม้จากถังน้ำมัน
นั่งท้ายเครื่อง ตายช้าที่สุดเพราะกระเด็นออกจากเครื่องมาตายข้างนอกเครื่อง ต่อให้รัดเข็มขัดนิรภัยก็เถอะครับ เพราะว่ามันหลุดออกมาจากเครื่องทั้งเก้าอี้ มีเวลาหวาดเสียวมากที่สุด (แต่ก็ระดับวินาที) ก่อนกระทบของแข็ง !!!



กรณีเครื่องที่ภูเก็ต (อ่าวปอ) เครื่องสตรอ หมดแรงพยุง ร่วงลงทะเล ช่วงระยะเวลาที่ร่วงจากบนอากาศจนถึงพื้นน้ำทะเล คือประมาณ 8 วินาทีครับ เป็น 8 วินาทีที่น่ากลัวที่สุด เพราะตอนนั้นผู้โดยสารยังรู้ตัวทุกคน และเป็นตอนกลางวัน



ตอบกลับความเห็นที่ 10
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 11
กรณีสุราษฎร์ปี 41 เกิดตอนกลางคืน ผู้โดยสารรู้แค่ฝนตกและพยายามร่อนลงสนามบินสองรอบเท่านั้นเองครับ

ตอนเครื่องกระแทกพื้น ผู้โดยสารจะมีเวลาให้ตกใจในระดับวินาทีเท่านั้นเองครับ หลังจากนั้นก็มีแค่รอด กับ ไม่รอด -_-"


ตอบกลับความเห็นที่ 11
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 12
บางคนจะขึ้นเครื่องชอบจัดเต็ม เสื้อผ้าหน้าผม รองเท้า กระเป๋า เวลาเกิดเหตุฉุกเฉิน นอกจากจะตัวเองจะอพยพออกช้าแล้วยังกีดขวางคนอื่นด้วยนะครับท่าน


ตอบกลับความเห็นที่ 12
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 13
ขอบคุณมากๆค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 13
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 14
มีประโยชน์มากค่ะ ขอบคุณ โดยเฉพาะข้อให้ดูทางออกแล้วนับแถวไว้ ไม่เคยทำมาก่อน จะทำเดือนหน้านะคะ


ตอบกลับความเห็นที่ 14
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 15
ถ้าแอร์เอเชียเนี่ยให้นั่งแถวที่ 26-27 นะครับ เพราะแถวสุดท้ายข้างหลังผู้โดยมีออกซิเจนถังอยู่ หากมีประกายไฟระเบิดมันมากครับ หรือถ้าไม่มีประกายไฟแต่ถ้ากระทบแรงมากจนเกิดความร้อนก็ทำให้เกิดไฟได้เช่นกัน


ตอบกลับความเห็นที่ 15
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 16
มีประโยชน์มากค่ะ.

ขอบคุณค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 16
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 17
แฮ่ๆๆๆ ไอ้เราก็เล็งแต่ตรงไหนวิวดีสุด
ขอบคุณมากนะคะ ^^


ตอบกลับความเห็นที่ 17