อยากทราบความหมายของ "ผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่" ว่าหมายถึง Journal หรือ Proceeding

พอดีผมอ่านเจอประกาศที่เขียนว่า

"ผู้ได้รับเงินเพิ่มพิเศษ จะต้องมีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ หรือสิ่งประดิษฐ์ที่ได้จดอนุสิทธิบัตรหรือสิทธิบัตร ในลักษณะเดี่ยวหรือกลุ่มตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย ปีละอย่างน้อย 1 เรื่อง"

ผมสงสัยคำว่า "ผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่"
ผมเข้าใจว่า Journal ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดข้างต้นแน่นอน

แต่ไม่แน่ใจรวมถึง Conference หรือ Proceeding หรือไม่

มีท่านใดพอทราบไหมครับ

ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคำตอบครับ

ความคิดเห็นที่ 1
ตามความเข้าใจของเรานับแค่ Journal นะ
เพราะเทียบความสำคัญแล้ว Conference หรือ Proceeding จะน้อยกว่าเยอะ
ทั้งเนื้อหา ข้อมูล รายละเอียด รวมถึงคนที่พิจารณาตรวจเช็คผลงานด้วย Journal นี่ละเอียดและมีความสำคัญกว่ามาก..

ว่าแต่ที่คุณยกมานี่สาขาไหนคะ เพราะว่าแต่ละ Subject ก็พิจารณาไม่เหมือนกันนะ...


ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
สาขาวิศวกรรมศาสตร์ครับ

เป็นการให้เงินพิเศษเพิ่มสำหรับอาจารย์ใหม่ที่เป็นพนักงานมหาวิทยาลัยเดือนละ 7000 บาท

แต่มีเงื่อนไขว่า

"ผู้ได้รับเงินเพิ่มพิเศษ จะต้องมีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ หรือสิ่งประดิษฐ์ที่ได้จดอนุสิทธิบัตรหรือสิทธิบัตร ในลักษณะเดี่ยวหรือกลุ่มตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย ปีละอย่างน้อย 1 เรื่อง และต้องขอตำแหน่งทางวิชาการภายใน 3 ปี"

ตอนผมอ่านครั้งแรกก็เข้าใจเช่นเดียวกันกับคุณ save the last dance for me

แต่ผมคิดดูแล้ัว การได้ Journal paper ปีละฉบับ สำหรับสายวิศวกรรมศาสตร์ค่อนข้างโหดเกินไป เลยไม่ค่อยแน่ใจครับ

ขอบคุณ คุณ save the last dance for me สำหรับความเห็นครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
ผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ ตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย
ก็ต้องไปดู เกณฑ์ของมหาวิทยาลัย
แต่โดยทั่วไปคือ ต้องเป็นฉบับเต็มรูปแบบ ไม่ใช่ abstract หรือ extended abstract และต้องมี Peer Review


ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
ประกาศที่คุณอ่านเจอ
จากหน่วยงานไหน ลงนามโดยใคร
ตำแหน่งอะไร ของมหาวืทยาลัย หรือคณะทีคุณสังกัด

น่าจะเป็นแหล่งที่ให้รายละเอียด ได้ดีกว่าใครครับ

ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
ดูจากเกณฑ์มหาวิทยาลัยดีกว่าครับ หรือปรึกษาหน่วยงานภายในที่เป็นคนเขียนกฏนี้ขึ้นมาคงให้ความกระจ่างได้มากกว่าเยอะ เรื่อง conference เดี๋ยวนี้ปรับเกณฑ์ขึ้นเหมือนกันครับ ต้องมีสัดส่วนศาสตราจารย์เท่าไหร่ ดร.เท่าไหร่เป็นคนอ่านงาน บาง conference จะมีการคัดเลือกแล้วตีพิมพ์ในวารสารในฐานข้อมูลที่ได้รับการยอมรับ เช่น EBSCO ให้ ซึ่งผมลองส่งเมลไปถามตัวฐานข้อมูลก็พบว่าเป็นเรื่องจริง


ตอบกลับความเห็นที่ 5
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 6
พวกนี้เขาใช้ index factor ของฐานข้อมูลใดๆก็ตามที่เขาใช้เป็นเกณฑ์ประเมินอยู่ จะ scopus หรืออะไรก็ได้ ส่วนใหญ่ก็ตาม สกอ กำหนด

ถ้า proceeding ของ conference ไหนมีค่า index factor เขาก็นับค่ะ


ปล แก้ index เป็น impact factor ค่ะ วันก่อนตอบงงๆ ไปหน่อย

ตอบกลับความเห็นที่ 6
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 7
จะถามตั้งแต่เมื่อวานแล้ว ว่า index factor เป็นตัวชี้วัดตัวใหม่หรืออย่างไร

Impact Factor ทีใช้กัน ก็ยังมีปัญหานะ
หลายคนตำหนิว่า เป็นการวัดผลงานวิชาการ
หรือรายงานการวิจัย และคุณภาพของวารสารวิชาการ
เชิง Quantitatve มากกว่าเชิง Qualitative หรือ Subjective


ตอบกลับความเห็นที่ 7
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 8
ใช่ค่ะ ยังมีปัญหาจริง แต่กฎมันตั้งมาแล้วก็ต้องเล่นตามกันไปก่อน ทางวิศวะค่า impact factor ก็น้อยๆซะเป็นส่วนใหญ่


ตอบกลับความเห็นที่ 8