พนักงานมหาวิทยาลัย

เคนได้ยินมีนักเรียนทุนฯไทย บ่นว่า เงื่อนไขการรับทุนฯ ไม่ดี งานไม่ได้ใช้ความรู ฯลฯ ........
และก็มักจะมีคนตอบกลับมาว่า เขาไม่ได้บังคับ คุณฯ ไปเซ็นสัญญารับทุนฯ คุณเซ็นเองก็ต้องยอมรับเงื่อนไขเขา จะมาอ้างนั่น อ้างนี่ไม่ได้

ทีนี้ ช่วงนี้ เห็นข่าว พนักงานมหาวิทยาลัย ออกมาประท้วงว่า งานหนัก สวัสดิการไม่เท่าข้าราชการ เงินเดือนน้อย ฯลฯ
ถ้าหาก ใช้ ตรรกเดียวกัน ตอบกลับไปว่า เขาไม่ได้มาบังคับ คุณฯ มาทำงานที่นี่ คุณฯ มาเอง ก็ต้องรับเงื่อนไขเขา ไม่งั้นก็ไปทำงานอย่างอื่นที่ดีกว่า

ช่วยแสดงความเห็นด้วยว่า ตรรกแบบนี้ ถูกต้องไหม ไม่ได้ต้องการ ล่อเป้า แต่อยากฟังความเห็นจริงๆ เพราะปัญหาเรื่องรับทุนฯ ได้ยินมาเป็น 10 ปี แล้ว

ความคิดเห็นที่ 1
จำนวนน้อยนะครับ มีปัญหาอย่างที่ท่านว่า
ที่ผมอยู่ทั้งนักเรียนทุนและพนักงานของรัฐ เป็นอย่างว่าไม่กี่ราย

มีรายหนึ่งไปเรียนเยอรมันหลายปี
กลับมา ไม่อยากอยู่ที่เดิม
ต้นสังกัดเดิม จึงสนับสนุนให้ได้ไปอยู่ที่ชอบ
โดยยึดหลักว่า คนจะทำงานได้ดี มีประสิทธิภาพ
หากเขาได้อยู่ที่ซึ่งเขาชอบ และมีความสุข
ถ้าเขาไม่ชอบ ถึงตัวอยู่ แต่ใจเขา ไม่ได้อยู่กับเรา ไม่มีประโยชน์อะไร
หลายปีผ่านไป คือเกือบยี่สิบปีแล้ว คนนี้ ก็ยังไม่ลงตัว
คือ ยังหาที่ชอบๆไม่ได้

อีกรายไปเรียนออสเตรเลีย ไม่ทันกลับถึงไทย วางแผนจะเบี้ยวทุน
เพราะไปพบรักมีลูกเต้ากับสาวออสซี่
เห็นทุรนทุรายอยู่ไม่นาน ตอนนี้มีความสุขดี อยู่ใกล้ผมนี้แหละ
มีตำแหน่งเป็นอธิการบดีอยู่ทางใต้
หากรู้ ว่า ผมเอามาเล่าเป็นกรณีศึกษา คงหัวเราะจนงอหงาย
ส่วนตัวที่เห็นมา ไม่มากครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
แยกสองเคสนะ

เรื่องหนีทุน
ตอนเซ็นสัญญาก็อยากได้ทุนกันตัวสั่นอ่ะ ทุกคนแหละ
แต่พอออกไปข้างนอก เห็นโอกาส เห็นโลกกว้าง แล้วก็ไม่อยากกลับบ้านละ...
มันเป็นเรื่องเห็นแก่ตัวอ่ะ...ตอนจะไป ให้ทำอะไรทำหมดแหละ พอไปแล้วจะหนีซะงั้น

เรื่องค่าตอบแทน สวัสดิการพนักงาน
เงินเดือนไม่น้อยครับ ถึงจะเอาไปเทียบกับเอกชนไม่ได้เลยก็ตาม
สวัสดิการแย่จริง บางมหาวิทยาลัย ไม่ยอมจ่ายประกันสังคมพนักงาน ต้องไปตะเกียกตะกายทำประกันชีวิต ประกันสุขภาพกันเอง
แต่ก่อน คนทำงานราชการเพราะสวัสดิการดี มั่นใจว่าชีวิตตอนแก่สบายแน่ๆ
ตอนนี้ ออกนอกระบบ ถ้ายังจะดึงดูดให้คนเก่งๆ มาทำงานด้วย(พูดถึงทั่วๆ ไปด้วยนะ ไม่ใช่แค่เด็กทุน) มหาวิทยาลัยควรคิดค่าตอบแทนให้แข่งขันได้มากกว่านี้


ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
พนักงานมหาวิทยาลัยประเภทที่ไม่ได้รับทุนก็มีการประท้วงเรียกร้องสวัสดิการ และการขึ้นเงินเดือนเหมือนกันนี่ครับ

ทำไมถึงคิดว่าเป็นปัญหาเกี่ยวกับการรับทุนล่ะครับ?


ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
เอาอะไรมาพูด พนักงานมหาวิทยาลัยสบายที่สุดแล้ว เงินเดือนอย่างน้อย 1.5 เท่าของข้าราชการ แต่บางมหาวิทยาลัยปรับบัญชีเงินเดือนใหม่แล้ว เพิ่งใช้แต่ย้อนหลังไป มค 2555 ฐานเงินเดือนแข่งกับเอกชนได้เลย

พนักงานมหาวิทยาลัย ทำงานนอกมากกว่างานประจำ เวลาส่วนใหญ่ออกไปทำมาหากินส่วนตัว เช่น รับงานนอก หายไปก็ไม่ต้องลา โดยอ้างว่าไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบข้าราชการ บางคนเข้ามาเฉพาะชั่วโมงที่สอน

สวัสดิการแตกต่างตรงที่เบิกต่ารักษาพยาบาลของครอบครัวไม่ได้ ซึ่งปัจจุบันนี้ทุกคนก็สามารถได้รับสวัสดิการโดยตรงจากรัฐบาลอยู่แล้ว และไปโรงพยาบาลคนที่ใช้สิทธิของรัฐบาล(เรียกไม่ถูกว่าอะไรแน่) สามารถเลือกโรงพยาบาลเอกชนก็ได้ แต่สิทธิข้าราชการต้องโรงพยาบาลของรัฐเท่านั้น ยานอกบัญชีก็เบิกไม่ได้ แต่สิทธิของรัฐเบิกได้ งงมากจะทำงานไปทำไม ไม่สบายกลับเบิกไม่ได้ แต่คนไม่ทำงานอยู่บ้านเฉยๆใช้สิทธิเบิกได้ นี่คือความไม่เป็นธรรมที่ข้าราชการเรียกร้องอะไรไม่ได้เลย

และอีกอย่างลูกเบิกค่าเล่าเรียนปีละ 20000 บาท (ระดับมหาวิทยาลัย)

และอีกอย่าง การประเมินพนักงานฯ ประเมินยังไงก็ได้ขึ้นเงินเดือน เรื่องไม่ต่อสัญญายากมาก เพราะมหาวิทยาลัยกลัวถูกฟ้องศาลปกครอง


ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
ตอบจากประสบการณ์ของผมนะครับ ตอนนี้ผมเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยแห่งหนี่ง ได้รับทุนมาเรียนต่อ ซึ่งเงื่อนไขการรับทุนของผมนั้นอิงตามเกณฑ์ของ กพ ครับ ใช้มาตรฐานเดียวกันทั้งจำนวนเงินและระยะเวลา ที่ จขกท ถามว่า เงื่อนไขการรับทุนฯ ไม่ดี งานไม่ได้ใช้ความรู้ นั้นต้องถามว่าเป็น พนง สายอะไรครับ สายสนับสนุนหรือสายวิชาการ เรื่องทุนโดยเฉพาะของ ม นอกระบบ นั้น ส่วนมากจะดีกว่า กพ นะครับ เงินก็มากกว่า

ตอบ ท่านอื่นนะครับเรื่องเงินเดือน ตามหลักคือ1.5เท่าถูกต้องครับ แต่มีเพียงไม่กี่ที่เท่านั้นที่ปรับให้ครับ เช่นที่ ม แถวบางเขน ที่ต้องไปฟ้องศาลปกครองกัน

เรื่องเวลาทำงานอันนี้แล้วแต่ที่ครับ บางที่ก็ปล่อยบางที่ก็เคี่ยว ของผมต้องเซ็นชื่อเข้าทำงานทุกวันครับวันต่อวันไม่มีย้อนหลัง

สวัสดิการ ก็แล้วแต่ที่ครับ ของผมเป็นแค่ประกันสังคมครับ แล้วเรื่องค่าเทอมลูกอันนี้ไม่เคยได่ยินเลยนะครับเพราะเพื่อนร่วมงานผมก็ควักจ่ายกันเอง

จริงๆเงิยเดือน พนง นี่ก็ไม่ถือว่ามากแต่ก็ไม่น้อยเช่นกันครับ แต่หากไปเทียบกับ ขรก บางที่ก็อาจจะมีน้อยใขบ้างนะครับ เช่น ขรก ที่ทำงานแถว ท่าพระอาทิตย์ที่ประเมินผ่านก็เงินเดือน+ประจำตำแหน่งก็ 40000++ แล้วครับ

ปล ถ้ารุ้เงินเดือนอาจารย์ แถวสามย่านที่เป็น พนง แล้วจะตกใจครับ ป โท เริ่มที่ 14400 บาทเนทนะครับ น้อยกว่า ขรก ที่มีเงินช่วยต่างๆ top up จนประมาน15000 ตามนโยบายรัฐอีกครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 5
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 6
มันส่งผลเสียต่อระบบการศึกษาโดยรวมครับ เพราะเราสร้างระบบพนักงานมหาวิทยาลัยขึ้นเพื่อหวังว่าจะดึงคนเก่งๆ มาทำงานให้กับมหาลัยมากกว่าเดิม เมื่อเราได้คนเก่ง ผลงานที่ออกมาจากมหาลัยก็น่าจะดีไปด้วย สังคมก็หวังเพิ่งมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่จะมาช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ของประเทศชาติ วางแผนพัฒนาในระยะยาว รวมทั้งผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพออกมาสู่สังคม

แต่เท่าที่ผ่านมา มันเหมือนเล่นละครหลอกกัน แค่เอาเงินอนาคตมาให้ก่อน งบประมาณโดยรวมต่อหัวแล้วเท่าข้าราชการ สุดท้ายทางรัฐบาลก็ไม่ได้มีการสนับสนุนอะไรเพิ่มเติมจากที่เคยทำเลย ทำไปทำมาจะแย่กว่าเดิม เสียคนออกจากระบบมากกว่าตอนที่เป็นระบบราชการเสียอีก

ผลลัพธ์อย่างที่เห็นกันได้ชัดๆ ก็คือ การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก ที่จริงแล้ว มหาวิทยาลัยในไทยควรได้อันดับสูงกว่านี้ และมีจำนวนมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับมากกว่านี้ แต่ที่ผลลัพธ์มันเป็นแบบนี้ก็เพราะว่าเราขาดแรงจูงใจที่จะดึงคนเก่งๆ เข้ามาในระบบ ขาดแรงจูงใจที่จะให้บุคคลเหล่านี้สร้างผลงาน ขาดการลงทุนและสนับสนุน สิ่งต่างๆ ที่สำคัญและจำเป็น เพราะขนาดบุคคลทั่วไปยังมองว่า ถ้าอยากมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่านี้ควรไปประกอบอาชีพอืน ไม่มีใครบังคับ

ถ้าไปเทียบกับประเทศที่เจริญแล้วทั้งหลาย อาชีพอาจารย์มหาวิทยาลัยมีรายได้ไม่แพ้กับ อัยการ หรือผู้พิากษา เพราะถือว่าเป็นหน้าที่ที่สำคัญเป็นเสาหลักทางด้านความรู้สติปัญญาของคนในสังคม เป็นอาชีพที่สำคัญในสังคม ประเทศชาติจะเจริญไม่ได้ ถ้าการศึกษาของประเทศนั้นไม่ดี ประเทศเราจ่ายเงินเดือนผู้พิากษา อัยการ ได้เดือนละหลายๆ หมื่นหรือบางครั้งก็เป็นแสน พร้อมทั้งสวัสดิการต่างๆ เพียบพร้อม แต่กลับให้เงินเดือนและสวัสดิการอาจารย์มหาวิทยาลัยในเกณฑ์ขั้นต่ำสุดเท่าที่จะทำได้ ทั้งๆ ที่เราต้องการบุคลากรระดับที่มีความรู้ความสามารถ จบการศึกษาระดับปริญญาเอก

สุดท้ายก็มองอนาคตอุดมศึกษาไทยไม่ออกจริงๆ ครับ ว่าจะเดินไปในทางไหน จะแข่งขันกับนานาชาติเขาได้อย่างไร ตอนนี้ มาเลเซีย สิงค์โปร์ ให้เงินเดือนสูงกว่ามหาลัยไทยไปแล้ว อีกไม่นานก็คงไม่พ้นต้องเสียคนเก่งๆ ไปให้เวียดนาม พม่า กัมพูชา แน่นอนครับ ถ้าคนในสังคมยังไม่เห็นคุณค่าของคนที่ประกอบอาชีพนี้


ตอบกลับความเห็นที่ 6
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 7
รู้สึกว่าจะตอบไม่ตรงกับคำถามที่ตั้งไว้เลย
คำถาม คือ อยากให้เปรียบเทียบ "ตรรก" เวลานักเรียนทุนฯ โดนต่อว่า ประมาณว่า เขาไม่ได้บังคับ คุณฯ มารับทุนฯ คุณฯมาเซ็นสัญญาเอง ก็ต้องยอมรับ
VS
เขาไม่ได้บังคับคุณฯ มาทำงานเป้น พนักงานมหาวิทยาลัย คุณฯมาเอง ก็ต้องยอมรับเงื่อนไขเขา ไม่งั้นก็ไปทำอย่างอื่น
รบกวน comments เรื่อง "ตรรก" นี้ด้วย


ตอบกลับความเห็นที่ 7
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 8
ถ้าถามคำถามไม่ชัดเจนจะหวังให้คำตอบชัดเจนได้อย่างไร หรือต้องการคำตอบแค่ ถูกกับผิด? ถ้าต้องการแค่นั้นก็ตอบได้ว่า ตรรกะของสองกรณีนี้มันคล้ายๆ กันแต่ไม่เหมือนกันหมดทุกอย่าง นักเรียนทุนถ้ารับทุนไปแล้วจะลาออกจากทุนต้องถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย และนักเรียนทุนก็ไม่จำเป็นต้องที่จะต้องมาใช้ทุนเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยทุกคน บางคนก็กลับมารับราชการหรือองค์กรอื่นๆ พนักงานมหาลัยจะเข้าไปทำเมื่อไรก็ได้ จะเลิกทำไปประกอบอาชีพอื่นเมื่อไรก็ได้ ซึ่งตอนนี้ก็เป็นปัญหาอยู่คือประกาศรับสมัครไปก็ไม่ใครมาสมัคร ต้องรอนักเรียนทุนเรียนจบกลับมาใช้ทุนอย่างเดียวเท่านั้น ส่วนนักเรียนทุนก็ใช้ทุนกันแบบซังกะตาย ทำงานไปวันๆ พอใช้ทุนหมดก็ลาออกไปทำอย่างอื่นที่ดีกว่า เข้าใจว่าไม่ได้ล่อเป้า แต่ประเด็นของคุณที่อยากจะทราบคืออะไรครับ อยากทราบว่าทำไมพนักงานมหาลัยถึงออกมาเรียกร้องสิทธิทำไมไม่ยอมรับเงื่อนไขพวกนี้ตั้งแต่แรกอย่างนั้นหรือ ก็ขนาดพนักงานโรงงานยังรวมตัวกันหยุดงานประท้วงได้ เกษตรกรรวมตัวกันปิดถนนได้ ตอนวิกฤษเศรษฐกิจ 2540 พนักงานสถาบันการเงินแถวสีลม สาธรก็ออกมารวมตัวกันประท้วงครับ ทำไมพนักงานมหาลัยจะทำบ้างไม่ได้ล่ะครับ มันก็เรื่้องปกติ


ตอบกลับความเห็นที่ 8
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 9
คำว่าพนักงานมหาวิทยาลัย กับ ข้าราชการ ในที่นี้จะพูดถึงเฉพาะที่อยู่ในมหาวิทยาลัยด้วยกัน เงินเดือนต่างกันมากค่ะ เพราะพนักงานทำงานไม่กี่ปีก็ได้เงินเดือนเกินข้าราชการที่รับราชการมาสักสิบปีแล้ว แถมทีโบนัส ที่แยกจากเงินเดือนขึ้นแต่ละปีต่างหาก ที่เขาให้มากกว่าข้าราชก็เพราะพูดตรง ๆคือ ข้าราชการควรจะหมดไปจากระบบราชการ ที่รัฐต้องอุ้มมากมาย ซึ่งตอนนี้ข้าราชหลาย ๆที่เริ่มจะหมดไปแล้ว รอรุ่นเก่าเกษียณให้หมด พนักงานเขาให้เงินเดือนสูงเพราะถือว่ารวมทุกอย่างให้แล้ว ก็เป็นเรื่องของแต่ละคนจะต้องจัดสรรเงินด้วยตัวเอง ก็เหมือนเอกชน หรือระบบรัฐวิสาหกิจเมื่อก่อน ตั้งกองทุนต่าง ๆให้ การรัีกษาพยาบาลก็อาจจะซื้อประกัน ซื้อมากก็รักษาโรงพยาบาลแพง ๆได้ หรืออยากประหยัดเราก็ใช้บัตรทอง 30 บาท ได้สบาย ถ้าไม่คิดว่าจะต้องเข้า รพ.เอกชนแพง ๆ ข้าราชการดีตรงสวัสดิการเรื่องนี้เท่านั้น แต่ตอนนี้อาจจะต่างกับบัตรทองไม่มาก คนรับราชการทั่วไปเขารับราชการเพราะต้องการตรงนี้เท่านั้นเอง ส่วนที่่ว่าข้าราชการได้เงินเดือน + ค่าตอบแทน เกือบ 40000 นั้นน่ะ ต้องดูอายุราชการเขา ซึ่งคงจะอายุเกิน 45 หรือ 50 แล้วล่ะ และพนักงานมหาวิทยาลัยเอง ต้องยอมรับเงื่อนไขนี้ตั้งแต่แรกเข้าทำงานว่าไม่ใช่ข้าราชการ ไม่มีสวัสดิการเหมือนข้าราชการ ไม่อย่างนั้นก็น่าจะไปสอบรับราชการตั้งแต่แรก ตอนหลังก็เรียกร้องมากมาย เช่น อยากไ้ด้เครื่องแบบ ยศ อะไรต่อมิอะไร ตอนหลังก็ได้ต่อสัญญาจนเกษียณ และต่อไปคงอยากได้เงินบำนาญ ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้น รัฐควรจะปรับให้เป็นข้าราชการเไปเลยดีกว่า แต่ต้องเรียกเงินคืนนะจากที่เคยรับเกินไป


ตอบกลับความเห็นที่ 9
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 10
ความเห็น 9 น่าจะทราบอยู่แล้วนะครับว่าตั้งแต่ช่วงหลังๆ มานี่รัฐบาลมีนโยบาลไม่ให้รับข้าราชการในมหาวิทยาลัยเพิ่มทุกตำแหน่งที่รับใหม่มาแทนข้าราชการที่เกษียรอายุบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยหมดครับ มันไม่ใช่สิ่งที่จะเลือกได้นะครับ ถ้าเขาจะไปสอบเป็นข้าราชการก็คงทำได้อยู่แล้ว สำหรับคนที่มีศักยภาพขนาดจะเป็นอาจารย์มหาลัยได้ แต่ปัญหาคือถ้าจะทำงานเป็นอาจารย์ก็ต้องเป็นพนักงานมหาลัยเท่านั้น

ถึงจะได้เงินเดือนมากกว่าก็จริง แต่สวัสดิการค่ารักษาพยาบาลอะไรพวกนี้มันเบิกไม่ได้ จริงอยู่ถ้าอายุน้อยๆ ค่าใช้จ่ายส่วนนี้มันก็ไม่เยอะ แต่ถ้าอายุมากๆ ค่าฟอกไต ค่าผ่าตัด ค่ายาเบาหวาน ฯลฯ ค่าใช่จ่ายพวกนี้เดือนๆ นึงหลายหมื่นนะครับ ข้าราชการเบิกได้ทุกอย่าง พ่อแม่ลูกภรรยา ใช้ยาแบบดีๆ แพงๆ ได้ รับรองว่ายาดีกว่าประกันสังคมแน่นอน โรงพยาบาลของรัฐที่ดีๆ ก็เยอะครับ เพราะหมอเก่งกว่าโรงพยาบาลเอกชนอยู่แล้ว

แถมพนักงานมหาวิทยาลัยไม่ถือว่าเป็นพนักงานประจำแบบพนักงานบริษัทนะครับ มีระยะเวลาในสัญญาจ้าง 3 ปี 5 ปี หมดสัญญาเมื่อไรก็มาพิจารณากันอีกทีว่าจะต่อให้หรือไม่ ต่างจากพนักงานบริษัทที่ถ้าบริษัทไม่ไล่ออกก็ทำได้จนถึงเกษียร แค่จะเอาตำแหน่งไปขอกู้ธนาคารซื้อบ้านยังไม่ได้เลยครับ เพราะว่ารายได้เขาประเมินจากระยะเวลาในสัญญาจ้าง ยังไม่รวมเรื่องบำนาญ หรือการปรับเงินเดือนตามนโยบายรัฐบาลอีกซึ่งถ้าข้าราชการได้ปรับ แต่พนักงานมหาวิทยาลัยจะไม่ได้ เพราะการปรับเงินเดือนขึ้นอยู่กับสถานะทางการเงินของแต่ละมหาลัย

ตอนนี้ ถ้าเขาเลือกได้พนักงานมหาลัยหลายคนคงอยากให้ปรับสถานะกลับไปเป็นข้าราชการแหละครับ แต่ทางรัฐบาลคงไม่ยอมเพราะว่า อุตสาห์ลดภาระไปได้แล้วคงไม่อยากกลับมาแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในอนาคตพวกนี้ัอีก

สุดท้ายผลกรรมก็ตกมาอยู่ที่อุดมศึกษาไทยในอนาคตครับ เพราะดึงดูดคนดีคนเก่งเอาไว้ไม่ได้


ตอบกลับความเห็นที่ 10
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 11
คนดี คนเก่ง ที่ตั้งใจทำงาน และสามารถอยู่อย่างมีความสุข กับเงินเดือนที่ไม่มาก
ทั้งชีวิตส่วนตัว และครอบครัวประสบความสำเร็จ มีอยู่ไม่น้อยเข่นกันครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 11
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 12
OK อาจจะถามกว้างเกินไป หรือ ไม่ clear อย่างที่ คุณ 127 ตอบนั้นแหละ แต่ประเด้นที่อยากจะให้เปรียบเทียบ คือ ตรรก ที่นำมาใช้ เพราะผมเคยได้ยินคนต่อว่า นักเรียนทุนฯ ไม่ว่าของหมาวิทยาลัย หรือ หน่วยราชการอื่นๆ ประมาณว่า เขาไม่ได้บังคับคุณฯ มารับทุนฯ
ก็เลยอยากจะเปรียบเทียบว่า ถ้ามีคนมาบอกว่า เขาไม่ได้บังคับคุณมาทำงานเป็น พนักงาน (อาจารย์) คุณฯมาเอง (ถ้าไม่ได้ติดเงื่อนไขรับทุนฯนะ ถ้าติดรับทุนฯมันก็เข้า case แรก อยู่ดี)
สรุป คือ ไม่มีใครไปบังคับใครมารับทุนฯ หรือ บังคับใครไปเป้นพนักงานมหาวิทยาลัย
ทีนี้ เวลาทั้ง 2 กลุ่ม ว่าพูดบอก ของตัวเองไม่ดีอย่างนั้น ไม่ดีอย่างนี้ แล้วคนตอบเกิดตอบกลับมาว่า เขาไม่ได้บังคับคุณมา คุณเลือกมาเองก็ต้องรับผล (กรรม) ที่ทำกันเอง
ที่อยากถาม หรือ เปรียบเทียบ ตรรก มีแค่นี้ ไม่ได้อยากจะชวนทะเลาะด้วย


ตอบกลับความเห็นที่ 12
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 13
คห 5

ปล ถ้ารุ้เงินเดือนอาจารย์ แถวสามย่านที่เป็น พนง แล้วจะตกใจครับ ป โท เริ่มที่ 14400 บาทเนทนะครับ น้อยกว่า ขรก ที่มีเงินช่วยต่างๆ top up จนประมาน15000 ตามนโยบายรัฐอีกครับ


อันนี้ข้อมูลเก่ามากแล้ว เขาปรับฐานเงินเดือนแล้ว และใช้แล้วตั้งแต่ 1 ตค 2555 และย้อนหลังไปถึงเดือน มค 2555 และบัญชีเงินเดือนใหม่ก็สวยมากด้วย ป ตรีขั้นต่ำ 20400 บาท ป โท ขั้นต่ำ 25100 บาท ป เอก ขั้นต่ำ 35450 บาท ผศ ขั้นต่ำ 41110 + เงินประจำตำแหน่ง 11200 บาท

และถ้าเงินเดือนน้อยจริง ทำไมไม่ใครยอมออกหรือย้ายไปอยู่ที่อื่น บางคนก็ใช้ทุนหมดแล้ว บางคนก็ไม่ติดทุนอะไรเลย

และเงินเดือนเป็นของตาย ได้แน่ๆทุกเดือน แต่เงินพิเศษอื่นๆมากกว่าเยอะแยะ เช่น ขอเงินวิจัยก็ตั้งเงินเดือนผู้วิจัยได้อีก ที่ปรึกษาบริษัท .......

ตอบกลับความเห็นที่ 13
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 14
เห็นด้วยกับ คห 13

ถ้าอาชีพหรืองานที่ทำอยู่ มันแย่มากๆ ก็คงออกไปทำอย่างอื่นกันหมดแล้ว โดยเฉพาะ อาจารย์ (พนักงาน) ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถทั้งนั้น คงออกไปหางานที่ดีกว่าเป็นอาจารย์ได้อยู่แล้ว

ประเด็นมันอยู่แค่ว่า
1. การที่เราไปรับเงื่อนไขอะไรก็ตาม เช่น การรับทุนฯ ถ้ามันไม่ดี แล้วไปรับทำไม หรือ ถ้ารับมาแล้ว เพิ่งมารู้ทีหลังว่ามันไม่ดี ก็หาทางออกอย่างอื่นได้ เช่น หาเงินมาคืนเขา แล้วลาออกไปทำอย่างอื่น

2. พนักงาน (อาจารย์) ก็เหมือนกัน ถ้าเห็นว่างานที่ตัวเองทำอยู่ไม่ดีก็ลาออกไปทำอย่างที่ดีกว่า เรื่องก็จบ จะมามัวเสียเวลามาต่อว่าระบบทำไม
อีกอย่าง บอกว่า สวัสดิการสู้ข้าราชการไม่ได้ ถ้างั้นทำไมไม่ลาออกไปสอบเป็นข้าราชการเสียเล่า หรือ ถ้ายังอยากเป็นครูอยู่ ก็ไปสอบสอบรับราชการเป็นครูของกระทรวงศึกษาก็ได้ ก็ยังเป็นครูกับเป็นข้าราชการด้วย

คือ หลายครั้ง เวลาเห็นข่าว พนักงานออกมาเรียกร้อง ฯลฯ ก็รู้สึกเหมือนกันว่า จริงๆเรียกร้องเพื่ออะไร ถ้ามีสิ่งทีดีกว่า ก็เลือกไปที่นั่น ไม่ง่ายกว่าหรือ


ตอบกลับความเห็นที่ 14
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 15
13 ผมไม่ได้บอกว่าได้ทุกที่นี่ครับผมบอกว่าบางที่ แล้วจุฬาเองก็มีรายได้มากมายแต่มหาลัยอื่นล่ะครับใช้เกณฑ์เดียวกันไหม ไอ้รายได้เสริทน่ะครับมันไม่ได้ ได้กันทุกคนบางคนเวริคโหลดการสอนก็มหาศาลแล้วจนไม่มีเวลาไปรับงานนอกหรอกครับ ที่สำคัญผมได้บอกไปแล้วว่าเงินเดือน พนง นี่ก็ไม่ถือว่ามากแต่ก็ไม่น้อยเช่นกันครับ ไม่ได้บอกว่าน้อยหรือมาก ส่วนที่ถามว่า ขรก เงินเดือน40000++นี่ต้องอายุ40-45 นี่ผมจะบอกว่าเพื่อนผมที่ได้นี่อายุ31 ครับ

คนที่ถามว่าถ้าเห็นว่ามันไม่ดีก็ออกไป ผมตอบ2มุมนะครับ ใช่มันมีคนรอออกครับรอหาที่อื่นได้ก่อน กับอีกกลุ่มคือ รักงานประเภทนี้จริงๆ คือทนๆทำไปเพราะใจรักนะครับ ส่วนที่คิดว่างานสบายลองมาประจำ ตจว ดูใหมครับ จริงๆทุกตำแหน่งมันไม่มีใครสบายกว่าใครหรือรับงานนอกได้มากกว่าใครหรอกครับ มันอยู่ที่การขวนขวาย ผมเห็นทัั้ง ขรก พนง และเอกชนก็รับงานนอกได้ทั้งนั้นเห็นรับขายตรงกันให้เกลื่อนเลยนี่ครับ

ที่ จขกท ถามเรื่องตรรกผมเห็นด้วยตอนรับทุน:-)ไม่อ่าน แล้วจะมาหนีทุน มี2ประเภทคือ เอาทุนจากมหาลัย ตจว ไป แต่ไปอาศัยเทคนิทางกฎหมายย้ายไปใช้ทุนในกทมได้ กับ พวกที่หนีทุนไปเลยครับ คือเช้าใจนะว่าอยาไปเมืองนอกแบบไม่ต้องออกเงิน แต่ควรคิดให้ยาวๆครับ อย่างผมตอนนี้ติดทุน อีก8ปี++ ก็ยังไม่คิดจะย้ายนะครับไม่ใช่ว่างานเงินดีหรืออะไร แต่เอาเงินเค้ามาแล้วก็ต้องทำงานคืนให้น่ะครับ
อ่อ เรื่องเงินเดือน ผม ใช้อัตรา ป โท แรกเข้า16680 ครับ ทำงานมา6ปี ได้ขึ้นเงินเดือน3ครั้งเพราะลาเรียนมาแล้วสามปี ได้2ขั้น1ที ตอนนี้เงินเดือนผม 20700ครับ ยังไม่หัก ประกันสังคม


ตอบกลับความเห็นที่ 15
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 16
คห 15

paragraph 2 ของคุณตอบมีเหตุผลดีครับ เห็นด้วย จริงๆมันไม่มีอะไรดีกว่าอะไรหรอก มันอยู่ที่เรายอมรับสภาพที่เกิดขึ้นได้หรือเปล่า ถ้าไม่ได้ ก็ออกไปทำอย่างอื่นๆ เพราะคนที่ต้องทนทำอะไรแบบไม่ happy มันไม่มีทางทำได้ดีอยู่แล้ว และตัวเองก็จะไม่มีความสุขด้วย

ตามหน่วยงานราชการต่างๆ ปัจจุบันก็มีคนจบ ป.เอก จากต่างประเทศทำงานมากมาย ก้ไม่ใช่ว่าจะไม่มีปัญหาอะไรนะครับ มันก็มีกันทุกที่แหละ อยู่ที่ว่าจะยอมรับได้หรือเปล่า

แต่ที่ไม่เห็นด้วย คือ การที่มาบอกว่า ระบบไม่ดี โน้นไม่ นี่มีปัญหา ฯลฯ จริงๆวิธีแก้มันง่ายนิด คนที่พูดก็ออกไปที่ๆตัวเองอยากได้ซะ ก็จบเรื่อง การที่ออกมาเรียกร้องอะไรแบบ .... ที่หน่วยงานอื่นๆ เขาก็ต้องอดทนเมือนกัน เผลอๆ ยิ่งกว่า อาจารย์ (พนักงาน)อีกด้วย


ตอบกลับความเห็นที่ 16
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 17
ผมไม่ทราบเหมือนกันนะว่าคุณเจ้าของกระทู้มีประสบการณ์ทำงานมาบ้างหรือยัง แต่การรวมตัวกันเพื่อเรียกร้องผลประโยชน์นั้น เป็นเรื่องธรรมดามาก เป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานเสียด้วย แค่พนักงานโรงงานได้โบนัสน้อยกว่าที่ควรจะเป็นเขาก็รวมตัวกันประท้วงแล้ว เพราะพนักงานที่ทำบัญชีเห็นงบการเงิน เห็นผลกำไรของผลกระกอบการในปีนั้นๆ แต่พอผู้บริหารตัดสินใจจ่ายโบนัสให้น้อยกว่าที่พวกเขาคาดหวัง ทางสหภาพก็ต้องออกมาประท้วงเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตัวเอง ส่วนจะได้หรือไม่ได้นั้นอันนี้เป็นอีกเรื่อง แต่สิทธิในการเรียกร้องนั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ ไม่ใช่เรื่องที่ผิดอะไร การรวมตัวกันเรียกร้องก็เป็นไปอย่างสันติ ผลมองไม่ออกว่าพวกเขาทำอะไรผิดกฏหมาย

ในฐานะประชาชนในสังคม ผมอยากจะให้คนพวกนี้ได้รับค่าตอบแทนที่ดีกว่านี้ด้วยซ้่ำ เพราะคนพวกนี้มีหน้าที่สอนลูกหลานของผมให้มีความรู้ในการประกอบอาชีพ สำหรับคนที่ทำหน้าที่แบบนี้ผมอยากได้คนที่เก่งที่สุดและมีคุณภาพมากที่สุด ถ้าประเทศเราจ่ายเงินเดือนผู้พิากษา อัยการ แพทย์ ได้เท่าไร เราก็ควรจะจ่ายเงินเดือนอาจารย์มหาลัยได้เท่านั้น เพราะมีความสำคัญเทียบเท่ากันในสังคม

ในกรณีคำถามของคุณ ตรรกะ ทีคุณว่าอะไรนั้น จริงๆ แล้วมันก็แค่ "ข้ออ้าง" ที่จะทำเรื่องที่มัน "ผิดๆ" ให้มันถูกต้องขึ้นเท่านั้นเอง ประมาณว่า ก็รู้อยู่นะว่าที่เป็นอยู่ตอนนี้มันแย่ แต่ทำไงได้ก็คุณหลงเข้ามาเอง เอาไว้ตอกกลับบุคคลเหล่านี้เพื่อให้จนมุมมากกว่า หรือไม่ก็เอาไว้ปลอบใจให้รับสภาพ แต่ถามว่ามันถูกต้องตามจริยธรรมไหมอันนั้นต้องมาว่ากันอีกที ทั้งๆ ที่เรื่องนี้มันแก้ไขได้ไม่ยากเลย แก้ง่ายกว่าคอรัปชั่นในระบบราชการเยอะ

ปัญหาเรื่องระบบพนักงานมหาวิทยาลัยก็เป็นแค่ส่วนเล็กๆ ของปัญหาระบบราชการไทย ซึ่งจริงๆ มันก็มีปัญหามานานแล้ว เรื่องนักเรียนทุนที่มารับราชการก็ยังเป็นปัญหาอยู่ว่า ส่งคนไปเรียนมีความรู้มากมาย แต่พอกลับมากลับไม่ได้ดูแลบุคคลเหล่านี้ให้เหมาะสมกับศักยภาพ ถ้ามองว่าคนเหล่านี้เป็นคนพิเศษก็ต้องปฏิบัติกับเขาเป็นคนพิเศษ

สุดท้ายคนที่เสียผลประโยชน์จริงๆ ก็คือ ประเทศชาติ กับ ประชาชน เพราะว่า เสียเงินภาษีส่งคนพวกนี้ไปเรียน หัวละ 20-30 ล้าน เท่าที่ผ่านมาประเทศไทยก็ใช้เงินตรงนี้หลายพันล้าน มาแล้วแต่ผลลัพธ์ที่ได้ไม่คุ้มค่า สู้เอาเงินที่จะส่งคนพวกนี้ไปเรียนไปทำอย่างอื่นดีกว่า

ส่วนระบบอาจารย์มหาลัยก็มีแต่จะรั้งคนดีๆ เอาไว้ไม่ได้ คนที่อยู่ได้ตอนนี้คืออยู่มานานแล้ว มีเงินก้อนอยู่ในระดับนึงแล้ว ก็อยู่เกาะองค์กรไปเรื่อย ไม่ได้คิดจะสร้างผลงานอะไร ดูจากอันดับมหาวิทยาลัยโลกก็พอจะคาดการณ์ได้ว่าอันดับลดลงๆ ไม่ก็หลุดจากโผไปเลย


ตอบกลับความเห็นที่ 17
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 18
17ผมเห็นด้วยนะครับกับการเรียกร้องสิทธิที่ควรจะได้ เช่นเมื่อเดือนที่แล้วเพื่นผมคนนึงแถวมหาลัยภาคใต้เป็นตัวแทน พนง เข้าพบอธิการเพื่อขอให้ปรับเงินเดือนตาม มติ ครม ตรงนี้ผมเห็นด้วย
ส่วนตัวผมผมก็ยังเห็นว่าหากอยากได้อาจารย์ที่มีความรู้ดีๆมาสอนมันก็ต้องเอาเงินมาจูงใจแหละครับ ดูจากสาขาที่ผมสอน สายอาชีพอื่นเงินเดือนทิ้งอาจารย์มหาลัยไปมากโข แต่ถามว่าเงินเกือนผม 20000นิดๆต่อเดือนผมโอเคไหมผมโอเคครับกับการทำงานจริงอยู่ว่าอาจจะมีช่วงงานหนักบ้างเช่นช่วงออกเกรดเป็นต้น แต่ก็ไม่ได้หนักทุกช่วงและพอมีอิสระมากกว่าอาชีพอื่นพอสมควรครับ

ปัญหาของเราคือฐานเงินเดือนแต่ละอาชีพในสายราชการเราห่างกันเกินไปครับเลยดูว่าน้อยอย่างในฝรั่งเศสเงินเดือนศาสตราจารย์ ประมาน3000ยูโร คนกวาดขยะ 1400-1500 ยูโรครับซึ่งผมมองวา่ไม่ได้ห่างกันจนน่าเกลียด


ตอบกลับความเห็นที่ 18
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 19
บางคนที่เขามาเป็นพนักงานมหาลัย เขาก็ไม่ได้รับทุนไปนี่คะ เข้ามาเป็นเพราะเขารักอาชีพนี้ อยากทำ คนไทยส่วนมากที่บากบั่นจนจบ ป เอก ก็เพราะอยากมาเป็นอาจารย์แหละค่ะ เพราะแหล่งงานเอกชนบ้านเรายังรองรับ ป เอก น้อยเมื่อเทียบกับเมืองนอก

ทีนี้เมื่อเข้ามาทำแล้ว และถ้ารัฐต้องการให้เขาทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ก็ควรจะจ่ายค่าตอบแทนให้เหมาะสมด้วย เพราะถ้าเขามีพอกิน เขาก็ไม่รับงานนอก หนึ่งเพราะใจรักในงานสอนอยู่แล้ว และสองก็คือเงินพอกินแล้วจะไปรับงานนอกให้เหนื่อยอีกทำไม แต่ทุกวันนี้โหลดงานอาจารย์เยอะมาก เหมือนทำการกุศลนะเมื่อเทียบกับเงินเดือน เราว่าเขาก็มีสิทธิประท้วงนะ ทำงานแล้วไม่ได้เงิน ก็ดูงงๆ นะคะ

บางครั้งการจะถามอะไรมันต้องดูพื้นฐานโลกความเป็นจริงด้วย ถ้าเข้ามาเป็นอาจารย์มหาลัยแล้วบ่นว่าไม่ชอบสอน หรือว่าไม่ชอบทำวิจัย อันนั้นควรจะมีคำถามว่า ถ้าไม่ชอบสิ่งเหล่านี้ จะเข้ามาเป็นอาจารย์มหาลัยทำไม เพราะตอนเซ็นสัญญาก็รู้อยู่ว่าอาจารย์มหาลัยต้องทำอะไร แต่ถ้าเขามาเรียกร้องค่าตอบแทนให้สมน้ำสมเนื้อ เราว่าเขามีสิทธิทำนะคะ


ตอบกลับความเห็นที่ 19
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 20
กลับมองว่า ตั้งแต่มีเรื่อง KPI หรือ Key Performance Index
เข้ามาเพื่อเป็นตัวชี้วัด ว่า ใครทำงานมากน้อยอย่างไร และส่งผลต่อขั้นเงินเดือน
พนักงานมหาวิทยาลัยสายอาจารย์ ไม่ปฎิเสธภาระงานที่มากหรือเพิ่มขึ้น
ในทางตรงข้ามพยายามหางานเข้ามาทำ ไม่ว่าในรูปการสอนและวิจัย
โดยเฉพาะการควบคุมวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก
ที่มีภาระงานอาจารย์ หรือ Load Unit มากหรือสูงกว่า
เมื่อเปรียบเทียบกับภาระงานอย่างอื่น
กลายเป็นที่ประสงค์ของอาจารย์ส่วนใหญ่
ที่มีคุณวุฒิเพียงพอที่จะเป็นที่ปรึกษา ป. เอกได้

สรุป ณ ปัจจุบัน ในสายตาผม การบ่น การปฎิเสธภาระงาน
ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง อย่างที่เข้าใจกัน
เป็นเพียงคำรำพึงรำพัน ขอความเข้าอกเข้าใจ
หรือประกาสให้โลกรู้ ว่า ฉันกำลังทำงานหนักนะ
โดยอาจารย์หรือพนักงานมหาวิทยาลัย
ชึ่งก็ คือ มนุษย์.ขี..เหม็น .ธรรมดาๆ เท่านั้น ครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 20
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 21
อยากถามคุณ คห 17, 18, 19 หน่อย ไม่คิดจะชวนทะเลาะนะ

กรณี 1
ผมเห็นคนจบ ป.เอก จาก U ดังๆ รับราชการ พวกนั้น เขาก้ต้องทนเหมือนกัน เผลอๆแย่กว่า อาจารย์มหาวิทยาลัยอีก อาจจะไม่ได้ทำงานที่ตัวเองเรียนมาเสียด้วยซำ พวกคุณฯ ยังดีกว่าเท่าไรแล้ว ยังไม่เห็นพวกเขาออกมาเรียกร้องจะเอานั่น เอานี่เลย

กรณี 2
พูดไปหลายครั้งใน กระทู้นี้แล้ว
"กรรมเป็นผลของการกระทำ" คุณฯคิดว่า "คำสอนแบบนี้ จริงไหม"
ไม่ว่า เราเลือกที่จะทำอะไร เช่น รับทุนฯไปเรียน รับราชการ สมัครเป็นอาจารย์ ฯลฯ โดยทั่วไป เราตัดสินใจเลือกเองทั้งนั้น ทีนี้ ถ้ามีอะไรเกิดขึ้น เช่น งานไม่ดี ฯลฯ ผมว่าคนเราก็ควรจะยอมรับว่าเป็น "การกระทำของเราเอง ไม่ใช่ไปโทษคนอื่น" อีกอย่าง ทุกอย่างก้มีทางออก เช่น ถ้างานมันแย่มาก ก็ลาออกไปทำงานที่ดีกว่า หรือ กรณีรับทุนฯมา ก็หาเงินมาใช้คืนเขา แล้วลาออกไปทำที่ดีกว่า ผมว่าดีกว่าไปโทษนั่น โทษนี้

ถ้ามีความเห็นที่ประเด็น ก็ยินดี share คนที่เป็นอาจารย์ฯ ถ้าเห้นกระดาษคำถาม ที่ตอบไม่ตรงกับคำถาม พวกคุณฯ จะให้คะแนนยังไง อันนี้ คำถามแถมนะ


ตอบกลับความเห็นที่ 21
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 22
ตอบนะครับ กรณีแรก มันต้องดูว่าเงื่อนไขที่ ขรก รับทุนนั้นว่าเงื่อนไขของทุนเป็นอย่างไร เช่นผมเคยรู้จักผู้ใหญ่ท่านหนึ่งรับทุนของศาลปกครองมาทำ ป เอกที่เยอรมัน สุดท้ายกลับไปรับราชการที่ศาลปกครองได้ประมานหนึ่งหรือสองปี ก็ขอย้ายมาเป็นอาจารย์ประจำที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง อันนี่้เข้าเกณฑ์เรียกร้องไหมครับ? แล้วที่สำคัญคุณรู้ได้อย่างไรว่าเขาเหล่านั้นไม่ได้เรียกร้อง เมื่อสองสามปีที่แล้วผมเคยอ่านบลอคส่วนตัวจอง ขรก รายหนึ่งที่รับทุนของกระทรวงพาณิชย์ไปก็เป็นดังที่คุณว่าว่างานไม่ตรงบ้างเอาไปเป็นเลขาผู้ใหญ่บ้างแต่สุดท้ายก็มาจบที่ยอมใช้ทุน คือก่อนอื่นคุณต้องเข้าใจระบบข้าราชการก่อนว่ามันมีระดับขั้นของการทำงาน อีกอย่างมันไม่ได้มีความจำเป็นเลยว่าเมื่อคุณบรรจุคุณจะต้องตรงกับสายงานที่คุณจบมันขึ้นอยู่กับว่าเมื่อตอนคุณสอบบรรจุนั้นคุณได้เลือกสอบบรรจุในตำแหน่งใด นอกจากนั้นในระบบราชการหากสายงานที่คุณเห็นว่าอยากทำมากนั้นมันไม่มีตำแหน่งว่างคุณก็ไม่สามารถโอนย้ายไปได้อันนี้ก็ต้องยอมรับซึ่งระบบนี้ก็ใช้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐในทุกหน่วยงานไม่ว่าจะเป็น ขรก หรือ พนง แต่ในทางกลับกันหากตำแหน่งที่คุณคิดว่าตรงสายงานมันมีอัตราว่างคุณก็สามารถทำเรื่องขอย้ายไปได้ตามระบบราชการ ที่คุณเห็นว่า พนก ออกมาเรียกร้องนั้นผมเข้าใจว่าเขาออกมาเรียกร้องตามสิทธิที่เขาควรจะได้เพราะเมื่อตอนก่อนที่จะมาทำงานทุกคนทราบดีว่าเงินเดือนนั้นจะต้องมากกว่า ขรก 1.5เท่า แต่เมื่อความเป็นจริงมหาวิทยาลัยยังไม่ปรับให้ผมว่ามันก็เป็นสิทธิที่จะเรียกร้องได้ไม่ใช่เหรอครับ มองในแง่ข้าราชการหากคุณทราบว่า ครม อนุมัติขึ้นเงินเดือนให้20เปอร์เซนต์แต่หน่วยงานหรือกระทรวงของคุณไม่ยอมปรับให้คุณจะทำอย่างไรครับ ผมยอมรับนะว่าตัวผมเองคนนึงยังพอใจกับเงินเดือนที่ได้รับอยู่ปัจจุบันแม้ว่ามหาวิทยาลัยของผมจะยังไม่มีการปรับให้ตามมติ ครมก็ตาม ผมก็ยังไม่ได้เรียกร้องอะไร ส่วนเรื่องสวัสดิการผมใช้ระบบประกันสังคม แน่นอนว่ามันต้องมีการเปรียบเทียบระหว่าง ขรก กับ พนง ในมหาวิทยาลัย แต่โดยส่วนตัวตั้งแต่ส่งเบี้ยประกันสังคมผมกล้าพูดเลยว่าผมยังไม่เคยใช้สิทธิเลยสักบาทเพราะผมใช้ประกันนอกที่ผมทำเองครับ

กรณีที่สอง กรรมเป็นผลของการกระทำ คำนี้ผมไม่เคยได้ยินครับ ในสายที่ผมเรียนผมเคยได้ยินแต่กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา แต่หากที่คุณนำมาอ้างเป็นแนวทางของทางพุทธ ผมก็เห็นด้วยว่าคุณเลือกแล้วก็ต้องยอมรับ แต่ผมยังหากรณีที่ พนง รับทุนมาแล้วบ่นว่าไม่น่ารับมามันเกี่ยวอะไรกับการเรียกร้องสิทธิที่ควรจะได้ตามกฎหมายเลยนะครับ คุณลองยกตัวอย่างมาได้ไหมครับ

คำถามที่สุดท้ายคือกระดาษคำถามที่ตอบที่ไม่ตรงคำถามอันนี้ผมให้คะแนนไม่ได้ครับ เพราะผมเคยเห็นแต่กระดาษคำตอบที่ตอบไม่ตรงคำถาม กรณีกระดาษคำตอบผมอ่านนะครับหากมีจุดเกาะเกี่ยวผมอาจจะให้บ้าง ครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 22
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 23
ขอบคุณ คห 22

คำถามสุดท้าย หมายถึง ถ้านักเรียนตอบคำถามไม่ตรงกับประเด็นคำถามที่ตั้งไว้ คุณฯจะให้คะแนนอย่างไร ถ้าเป้นวิชาคำนวณอย่าง engineeing หรือ mathematics มันมีคำตอบที่ชัดเจนอยู่แล้ว เช่น คำตอบ 5 ถ้าเป็นวิชาทางสังคมศาสตร์ มันอาจจะพยายามหาทางคิดให้มันเกี่ยวข้องได้

ถูกอย่างที่คุณฯพูด ข้าราชการตามหน่วยงานอื่นก็มีปัญหาเหมือนกัน เช่น ต้องไปอยู่หน้าห้องผู้ใหญ่ ไม่ได้ใช้ความรู้ที่เรียนมา และก้มียอมใช้เงินคืน และ ลาออกไปอย่างที่คุณฯพูดนั่นแหละ แต่ในความเห็นส่วนตัว ก้ยังเห็นว่า อาจารย์ flexible กว่า เป้นข้าราชการตามหน่วยงานราชการอื่นๆค่อนข้างมาก ถ้าคิดว่า จบ ป.เอก มาเหมือนกัน

อาจจะใช้ คำพูดผิดไป แต่ต้องการหมายถึงว่า "ไม่ว่าเราตัดสินใจทำอะไรลงไป ก็ต้องยอมรับกับผลที่เกิดขึ้น และก็ไม่ควรไปโทษคนอื่น หรือ สิ่งแวดล้อม" นักเรียนทุนฯก่อนรับทุนฯก้น่าจะทราบเงื่อนไขมาก่อนแล้ว ก็ไม่ควรมาบ่น ในทำนองเดียวกัน พนักงานก็น่าจะทราบเงื่อนไขการทำงานก่อนแล้ว เหมือนกัน

สุดท้าย ก็ต้องยอมรับว่า ระบบต่างของเมืองไทยมีปัญหามาก ล้าหลังประเทสที่เจริญแล้ว เช่น อเมริกา ไม่ตำกว่า 30-50 ปี ก็คงได้แต่ทำใจ ในฐานะประชาชนคนหนึ่ง


ตอบกลับความเห็นที่ 23
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 24
คุณเจ้าของกระทู้บอกว่าอยากฟังความเห็น แต่พอคนมาตอบตรงข้ามที่เจ้าของกระทู้ต้องการ คุณก็ออกมาแย้งเขาตลอด แล้วอย่างนี้คุณจะอยากฟังความเห็นไปทำไมคะ คนเราไม่มีใครเห็นเหมือนกันหมดหรอกค่ะ แต่เราก็ไม่จำเป็นต้องบังคับใครให้มาเห็นเหมือนเรา

กรณีที่ 1 "ผมเห็นคนจบ ป.เอก จาก U ดังๆ รับราชการ พวกนั้น เขาก้ต้องทนเหมือนกัน เผลอๆแย่กว่า อาจารย์มหาวิทยาลัยอีก อาจจะไม่ได้ทำงานที่ตัวเองเรียนมาเสียด้วยซำ พวกคุณฯ ยังดีกว่าเท่าไรแล้ว ยังไม่เห็นพวกเขาออกมาเรียกร้องจะเอานั่น เอานี่เลย" ...... อันนี้ก็ไม่เข้าใจเขาเหมือนกันว่าเขาทนทำไม เขาอาจจะไม่มีสิทธิ์เรียกร้อง เขาอาจจะไม่กล้าเรียกร้อง หรือเขาอาจจะเรียกร้องไปแล้วแต่ไม่สำเร็จ หลายเหตุผลค่ะ คงต้องถามเขาว่าทนทำไม แต่ถ้าเขามีความสุขที่จะทน ก็ไม่น่าจะไปว่าอะไรเขานี่คะ

กรณีที่ 2 "พูดไปหลายครั้งใน กระทู้นี้แล้ว
"กรรมเป็นผลของการกระทำ" คุณฯคิดว่า "คำสอนแบบนี้ จริงไหม"
ไม่ว่า เราเลือกที่จะทำอะไร เช่น รับทุนฯไปเรียน รับราชการ สมัครเป็นอาจารย์ ฯลฯ โดยทั่วไป เราตัดสินใจเลือกเองทั้งนั้น ทีนี้ ถ้ามีอะไรเกิดขึ้น เช่น งานไม่ดี ฯลฯ ผมว่าคนเราก็ควรจะยอมรับว่าเป็น "การกระทำของเราเอง ไม่ใช่ไปโทษคนอื่น" อีกอย่าง ทุกอย่างก้มีทางออก เช่น ถ้างานมันแย่มาก ก็ลาออกไปทำงานที่ดีกว่า หรือ กรณีรับทุนฯมา ก็หาเงินมาใช้คืนเขา แล้วลาออกไปทำที่ดีกว่า ผมว่าดีกว่าไปโทษนั่น โทษนี้" ...... ใช่ค่ะที่คนเราตัดสินใจทำอะไรลงไปแล้วก็ต้องยอมรับผลที่จะตามมา แต่ถามว่าแล้วเขาเหล่านั้นไม่มีสิทธิ์ที่จะเรียกร้องสิ่งที่ตัวเองพึงมีพึงได้เหรอคะ ถ้าเรียนจบมาขนาดนั้นแล้วมานั่งยอมรับชะตากรรมทุกอย่างโดยไม่คิดทำอะไรเลยเราว่ามันก็ดูอนาถไป และสิ่งที่เขาคิดและทำนั้นมันไม่ได้เกินขอบเขตความเป็นจริงจนเกินไป เขาก็ทำได้นี่คะ

ถ้าวันหนึ่งอาจารย์มหาลัยออกมาประท้วงว่าพวกเขาขอไม่ทำวิจัย เพราะเหนื่อย งานมากเกิน อันนี้ไม่ถูกต้องแน่นอน สมควรจะถูกต่อว่า ว่าหากไม่รักจะทำวิจัย ก็ไม่ควรเลือกอาชีพนี้มาตั้งแต่แรก อย่ามาเปลี่ยนกฏให้เข้ากับตัวเอง แทนที่ตัวเองจะเดินตามกฏ

บางมหาลัยผู้บริหารระดับสูงไม่ใส่ใจจะปรับเงินเดือน พนง เพราะผู้บริหารเป็นข้าราชการซีสูงซึ่งเงินเดือนบานตะไทแล้ว เขาเหล่านั้นไม่เดือดร้อน และไม่ได้เหลียวมองคนที่เดือดร้อน คิดดูว่า ป เอก สตาร์ทที่หมื่นเก้าถึงสองหมื่นสอง ค่าหอก็สี่พันแล้ว ไหนจะค่าน้ำมันรถ ค่ากินค่าอยู่ เงินไม่ต้องเก็บค่ะ หมด ถ้าอยู่ต่างจังหวัดอาจจะพอทนๆ แต่ กทม นี่อาจจะแย่ แล้วอย่างนี้ทำไมเขาจะเรียกร้องไม่ได้ ถ้าสอนแบบไม่รับเงินก็ไปเป็นครูดอยท่าจะดีกว่าค่ะ

ตามที่คุณพูดว่าอาจารย์ flexible กว่าคนจบ ป เอก ที่ทำงานหน่วยงานอื่น อันนี้เอาอะไรมาวัดละคะ อาจจะมีนะคะ อาจารย์บางคนที่อยู่รอเกษียณไปวันๆ แต่อันนั้นก็สัก 10% เห็นจะได้ แต่ที่เหลือที่เค้าทำงานกันจริงจังละคะ

"คนที่เป็นอาจารย์ฯ ถ้าเห้นกระดาษคำถาม ที่ตอบไม่ตรงกับคำถาม พวกคุณฯ จะให้คะแนนยังไง อันนี้ คำถามแถมนะ"...... ไม่ได้เป็นอาจารย์นะคะ แต่อยากจะบอกว่า เพราะที่นี่ไม่ใช่ห้องสอบ ไม่มีใครต้องการคะแนน แต่ต้องการแชร์ความคิดเห็นกัน เพราะฉะนั้นมันจึงมีทั้งที่ตรงและใกล้เคียงค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 24
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 25
มาตอบคุณแลนซ์ลอทนะครับ จริงๆต่างจังหวัดตอนนี้บางทีสองหมื่นก็ไม่อยู่ครับ ก่อนผมลามาเรียนผมได้ย้ายไปอยู่หอพักของมหาวิทยาลัยซึ่งผมรอคิวมาประมานสองปี แต่ก่อนหน้านั้นผมอยู่หอนอกค่าใช้จ่ายก็ประมานนั้นแหละครับที่คุณบอกแต่ต้นทุนอย่างอื่นมันก็มากเช่นกันครับ เช่นค่าหนังสือหรือตำราที่ห้องสมุดไม่มี จำได้ว่าผมเสียค่าตำราที่สั่งมาใช้ในการสอนเดือนนึงไม่ต่ำกว่าสองถึงสามพันบาทยิ่งช่วงที่ต้องเข้ามาสั่งหนังสือใน กทม นี่ไม่อยากจะนึกครับ ขนาดนั่งรถทัวร์แล้วยังหนักเลยครับ แต่ก็ต้องยอมรับว่า การเป็นอาจารย์บางที่นะครับย้ำว่าบางที่นั้นก็ยืดหยุ่นกว่า ขรก ประเภทอื่นจริงๆบางที่ไม่ต้องเซ็นชื่อหรือสแกนนิ้วแต่บางที่ก็ต้องทำนะครับ

ส่วนเรื่องวิจัย ที่ว่าขอไม่ทำวิจัย ผมเคยขอครับเพราะตอนนั้นผมมีภาระงานสอน ยี่สิบกว่าชั่วโมงต่อสัปดาห์ เฉพาะภาระงานสอนนะครับยังไม่รวมภาระงานด้านธุรการหรือด้านอื่นๆอีก ยิ่งคุณไปอยุ่ในคณะเล็กๆที่มีเจ้าหน้าที่สายสนับสนุนน้อยด้วยแล้วจะรู้ว่า อาจารย์บางคนยังต้องมานั่งทำรายงานประชุม เตรียมการประชุมเองเลยครับ

สุดท้ายก็นานาจิตตังครับเรื่องเรียกร้องสิทธิถ้ามันอยุ่ในขอบเขตหรือเป็นสิทธิตามกฎหมายผมว่าถ้าจะออกมาเรียกร้องก็ไม่ผิดนะครับ และตอนนี้หาก จขกท ไปดูบัญชีเงินเดือนพนักงานมหาวิทยาลัยจะรุ้เลยครับว่ามีไม่กี่มหาวิทยาลัยเท่านั้นที่ปรับตามมติ ครม แล้ว การที่เขาจะมาเรียกร้องก็คงไม่ผิดนี่ครับ เพราะคนเรามันก็ต้องสร้างเนื้อสร้างตัวจริงไหมครับ โดยเฉพาะสายงานของผมนี่ หากไม่รั้งกันไว้ดีๆมีปิดคณะกันได้เลยนะครับเพราะทางเลือกมันมากมายเช่นไปสอบ ผู้พิพากษา หรืออัยการกันหมด อาจารย์ผู้ใหญ่หลายท่านเค้าบอกผมมาตอนผมเป็นนิสิตว่าคนจะมาเป็นอาจารย์สายกฎหมายเนี่ย มันต้องมีองค์ประกอบสามอย่างคือ บ้านรวย ใจรัก และไม่อยากไปทำอาชีพอื่นครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 25
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 26
ความคิดเห็นที่ 25
.......งานของผมนี่ หากไม่รั้งกันไว้ดีๆ
มีปิดคณะกันได้เลยนะครับ เพราะทางเลือกมันมากมาย
เช่น ไปสอบ ผู้พิพากษา หรืออัยการกันหมด......

ขออนุญาตขัดคอนะครับ

ที่ท่านว่ามาไม่ง่ายเลย
แม้แต่อาจารย์คณะแพทย์
จะลาออกจากราชการ ไปเปิดคลินิคส่วนตัว
ยังต้องพิจารณา ชั่งน้ำหนักข้อดีข้อเสีย
ของการลาออกจากราชการกันหลายตลบ

จาการสังเกตส่วนตัว
ไม่ถึงสิบเปอร์เซ็นของแพทย์ที่ลาออกไป
จะมีความสำเร็จในการประกอบอาชีพส่วนตัว
คือการเปืคคลินิคเต็มเวลา
ดังนั้นหลายคนยังคงอยู่ในระบบราชการ เพื่อเหตุผลอีกหลายอย่าง
แต่นอกเหนือประเด็นที่กำลังพูดถึง
ขออภัยที่เห็นแย้งครับ

ตอบกลับความเห็นที่ 26
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 27
ขอเพิ่มเติม โดยใช้หลักเศรษฐศาสตร์แรงงานเบื้องต้นนะครับ

ค่าตอบแทนโดยทั่วไปมี 2 รูปแบบ คือ ที่เป้นตัวเงิน กับ ที่ไม่เป้นตัวเงิน อย่างหลังก้เช่น ได้ทำงานที่ชอบ สิ่งแวดล้อมดี ดังนั้น แม้ว่า ค่าตอบแทนที่เป้นตัวเงินจะตำ แต่ถ้า ค่าตอบแทนที่ไม่เป้นตัวเงินสูงจนสามารถชดเชยกันได้ ก้ยังมีคนอยากทำงานนั้นอยู่ เพราะไม่งั้นนะ ที่นั้นๆ ก้คงไม่มีคนอยุ่ทำงานแล้วละครับ อันนี้ ตอบตอบทฤษฏีเบื้องต้นให้เข้าใจง่ายๆก่อนนะครับ ตัวอย่างเช่น ได้เงินเดือนใกล้เคียงกัน แต่ได้ไปทำงานในมหาวิทยาลัยมีชื่อเสียง ผมก้ยังเชื่อว่า ก้มีคยแย่งกันไปทำอยุ่ดี

กรณีนี้ ก็เหมือนราชการ ถามว่า เงินเดือนตำ แต่ทำไม คนก้ยังทำงานอยู่ แต่แน่นอน มันขึ้นกับปัจจัยอื่นด้วย เช่น ตลาดแรงงาน competitive แข่งขันไม่ได้ ไม่สะดวกไปทำงานไกล งานกดดันน้อยกว่าเอกชน ฯลฯ

ครั้งนี้ ขอตอบแบบวิชาการหน่อยนะครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 27
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 28
^
^
ที่คุณว่านั้นก็จริงอยู่ ที่ว่าเพราะมีค่าตอบแทนที่ไม่เป็นตัวเงินด้วย ทำให้"ยังมี"คนทำงานอยู่ ไม่ลาออกกันไปหมด แต่เช่นกัน ถ้าค่าตอบแทนในแง่ที่เป็นตัวเงินเพิ่มขึ้นด้วย ก็ย่อมเพิ่มแรงดึงดูดในการดึงคนที่มีความสามารถเข้ามาได้มากขึ้นด้วยใช่ไหมครับ เมื่อแรงดึงดูดเพิ่มขึ้น การแข่งขันมากขึ้น ก็ย่อมเพิ่มโอกาสที่จะได้คนที่มีความสามารถมากขึ้นเข้ามาเป็นธรรมดา นี่ผมตอบแบบวิชาการนะครับ

มันขึ้นกับวิสัยทัศน์ของผู้บริหารประเทศ ว่าเห็นว่าการศึกษาสำคัญต่อการพัฒนาประเทศหรือไม่ ถ้าท่านเหล่านั้นเห็นว่าการศึกษาเป็นรากฐานของการบริหารประเทศในระยะยาวอย่างยั่งยืนจริงแล้ว ก็ควรจะปรับอัตราค่าตอบแทนให้อยู่ในระดับที่จะดึงดูดคนที่มีความสามารถจริงๆเข้ามาในระบบครับ

แต่ถ้าผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ระดับที่มองว่างานอุดมศึกษาก็เป็นแค่อาชีพธรรมดาอาชีพหนึ่ง ก็ตั้งผลตอบแทนต่ำๆเอาให้พออยู่ได้ ไม่เป็นภาระรัฐ เพราะยังไงก็คงมีคนที่ใจรักอุทิศตนมาสมัครอยู่ดี ถ้าไม่พอใจก็ลาออกไปอยู่ที่อื่นสิ ผมไม่ได้บังคับคุณมาทำงาน ถ้าอาศัยตรรกแบบนี้ ผมว่าประเทศเราก็ไม่ล่มสลายหรอกครับ แต่ก็คงพัฒนาไปได้ไม่มากเท่าไร หรือยิ่งผู้บริหารมหาวิทยาลัยบางท่าน ที่มีทัศนคติว่าตนเองเป็นข้าราชการ ก็เลยมองพนง.ม.เป็นพวกแปลกแยกที่ต่างจากตน เลยไม่มีความจริงใจที่จะช่วยเหลือ แทนที่จะมองทั้งข้าราชการทั้งพนง.ม.รวมกันว่าต่างก็เป็นผู้ที่ทำหน้าที่พัฒนาประเทศทางด้านการศึกษาเหมือนกัน ผมถึงว่ามันขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ของผู้บริหารจริงๆ ว่าจะยึดผลประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก หรือจะยกทัศนคติของตัวเป็นหลัก

จากประสบการณ์ของผม ผมรู้จักคนไทยที่เก่งๆจำนวนมาก คนที่"เก่งจริงๆ""ส่วนใหญ่"ไม่มีใครอยากกลับมาทำงานมหาวิทยาลัยที่ไทยหรอกครับ แม้ว่าจะชอบงานสอนงานวิจัย แต่ก็ไปสมัครงานในมหาวิทยาลัยต่างประเทศ หรือเอกชนที่มีชื่อเสียงของต่างชาติ เช่น ซิลิคอนวัลเลย์กันหมด ทั้งที่จริงๆแล้วหลายคนอยากลับมาใช้ชีวิตในประเทศไทย สาเหตุก็เป็นเพราะผลตอบแทนของการเป็นพนง.ม.ในไทยมันน้อยมากนี่แหละครับ ถึงจะใจรักแต่ไหนจะต้องเลี้ยงเมีย ลูก พ่อแม่ รวมตัวเองอีก 4 ชีวิต ถ้าอยู้ได้ก็คงอยู่แบบยากลำบาก ไม่สมกับความสามารถหละครับ นี่คือคนเก่งจริงๆที่ผมเห็นมานะครับ ส่วนคนที่กลับไปเป็นอ.มหาวิทยาลัยในไทยจะเป็นคนที่เก่งรองๆลงไป + ใจรัก เสียสละยอมอุทิศตัวจริงๆ คล้ายๆจะเป็นสังคมสงเคราะห์

ส่วนเรื่องเรียกร้องสิทธิ์นั้นก็ตามที่หลายๆท่านว่ามาว่าเป็นเรื่องธรรมดาในประเทศประชาธิปไตยนี่ครับ เพราะตามมติครม.พนง.ม.ควรจะได้ผลตอบแทนมากกว่าข้าราชการไม่ต่ำกว่า 1.7 แต่ในความเป็นจริงแล้วม. 60 กว่าแห่ง ณ ปัจจุบัน กลับมีเพียง 7 แห่งที่ให้ตามมติครม. แล้วการบอกว่าถ้าไม่พอใจก็ลาออกไปที่อื่นสิ นั่นผมว่าไม่ถูกต้องครับ เพราะมหาวิทยาลัยต่างกับบ.เอกชน ที่มีตัวเลือกหลายที่และมีตำแหน่งว่างเยอะ ในขณะที่มหาวิทยาลัยที่ปฏิบัติตามมติครม.นั้นกลับมีแค่ 7 แห่งใน 60 แห่ง อีกประการคือนี่ไม่ใช่การเรียกร้องผลตอบแทนเกินควร แต่เป็นแค่การเรียกร้องใน"สิ่งที่สมควรจะได้"คือการผลตอบแทนตามมติครม.เท่านั้นเองครับ

ยกตัวอย่างเช่น สมมติว่าจขกท.เป็นข้าราชการ ยอมทำราชการทั้งที่เงินเดือนน้อยเพราะใจรักและมีเจตนารมย์อยากจะทำงานเพื่อพัฒนาประเทศชาติ โดยไม่สนเอกชนที่เสนอเงินมาซื้อตัวจขกท.เยอะๆเลย แต่หัวหน้าจขกท.ก็ยังหักเงินจขกท.ทุกเดือน จากที่ควรจะได้เดือนละ 32500 แต่จ่ายให้จขกท.แค่เดือนละ 21000 ที่เหลือเอาไปเป็นค่าสร้างตึกสำนักงาน ทั้งๆที่นั่นเป็นเงินส่วนที่จขกท.ควรจะได้ และไม่ยอมให้จขกท.ย้ายไปส่วนงานอื่น นอกจากออกจากราชการไปเลย พอจขกท.ไปทวงหรือไปร้องเรียนศาลปกครอง ก็มีคนอื่นมาตั้งกระทู้ว่า "ถ้าไม่พอใจก็ลาออกไปสิ ไปทำงานเอกชน เพราะคนอื่นที่โดนหักเหมือนกันยังยอมรับได้ เขาไม่ได้บังคับคุณมาทำงานนี่นา" ใจเขาใจเรานะครับ

เห็นจขกท.ยกธรรมะมาว่า กรรมเป็นผลจากการกระทำ เอามาเป็นข้ออ้างว่าพวกพนง.ม.อยากสมัครเข้าไปทำงานเอง ก็ควรรับกรรมทำงานไปซะ ในเรื่องนี้ผมมีตัวอย่างที่คล้ายกันจะขอเปรียบเทียบนะครับ คือสมัยหลวงพ่อชายังมีชีวิต ท่านมีพระลูกศิษย์รูปหนึ่ง ทีนี้กระท่อมของพระท่านรั่ว แต่ท่านก็ไม่ซ่อม เพราะท่านว่านี่เป็นกรรม ท่านต้องทนรับ พอหลวงพ่อชามาเห็นก็ด่าท่านว่า ทนแบบนี้เป็นขันติแบบวัวแบบควาย ถ้าเป็นคนต้องใช้สติปัญญาประกอบ และสั่งให้พระรูปนั้นซ่อมหลังคากระท่อมเสีย และการกระทำใหม่ (ซ่อมกระท่อม) นั้นก็ส่งผลใหม่ (ไม่ต้องตากฝน) ต่อไปครับ พระศาสดาทรงสอนเรื่องกรรมและผลของกรรมก็จริง แต่พระองค์ไม่เคยสอนว่าชาวพุทธต้องอยู่ไปวันๆแบบรับผลกรรมนะครับเพราะไม่เช่นนั้นสัตว์โลกคงอยู่ไปวันๆไม่สามารถพ้นทุกข์ได้ แต่สิ่งที่พระองค์สอนคือ "สัตว์โลกล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร" "ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก" ต่างหากหละครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 28
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 29
27ผมว่าสภาพการทำงานนนั้นไม่เรียกว่าเป็นค่าตอบแทนนะครับหากมองในแง่นิยามแล้วค่าตอบแทนน่าจะหมายถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการทำงานเช่นเงินเดือนหรือสวัสดิการเป็นต้นแต่สภาพการทำงานเช่นบรรยากาศหรือการได้ทำงานที่ตัวเองชอบผมว่ามันไม่เข้าในกรณีของค่าตอบแทนที่ไม่ใช่ตัวเงินนะครับ ตัวอย่างของค่าตอบแทนที่ไม่ใช่ตัวเงินก็เช่นชื่อเสียง การได้รับความเคารพหรือยอมรับจากสังคมมากกว่า อีกอย่างผมได้บอกไปในตอนต้นแล้วว่าคนเราทำงานมันก็มีวัตถุประสงค์ที่ต้องการสร้างตัวใช่ไหมครับ เพราะฉนั้นค่าตอบแทนที่เป็นรูปธรรมน่าจะตอบโจทย์นี้ได้ชัดเจนมากกว่า หากได้รับการยอมรับจากสังคมแต่ไม่สามารถเลี้ยงดูบุพการีและลูกเมียได้ใครจะมาทำครับ และที่บอกว่าเงินเดือนน้อยแต่ทำไมยังทำมันก็มีสองคำตอบแบบที่คุณ ผมรู้ ตอบไปแล้วนะครับ คือใจรักจริงๆและหรือต้องการใช้สวัสดิการจากรัฐ

ผมมาเสริมคุณผมรู้นิดนึงนะครับเรื่องการมาซื้อตัวอันนี้ประสปการณ์จากผมเองนะครับหลังจากสอนมาได้สองปีมีบริษัทใหญ่บริษัทนึงต้องการให้ผมไปร่วมงานด้วยเสนอเงินเดือนให้ผม หกหลัก ซึ่งมากกว่าเงินเดือนอาจารย์ผมห้าเท่า ทำงานใจกลางเมืองหลวง ที่สำคัญใกล้คอนโดผมเพียงไม่กี่นาที ผมก็ตอบปฏิเสธนะครับทั้งๆที่ผมทำงานที่ต่างจังหวัดและไม่มีบ้านเป็นของตัวเอง ที่บอกมาไม่ได้จะอวดว่าผมเก่งหรือเทพอะไรแต่ผมอยากจะบอกว่าการมาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยนั้นหากใจไม่รักจริงๆมันอยู่ได้ไม่นานหรอกครับความกดดันมันก็ไม่น้อยกว่าเอกชนเท่าไหร่ แน่นอนว่าเอกชนทำผิดครั้งนึงมีผลต่อการประเมิน อาจารย์ก็เช่นกันครับ ออกเกรดผิดคนนึงก็มีผลไม่ต่างกันดีไม่ดีถูกฟ้องเอาง่ายๆนะครับ ยิ่งต้องมารับภาระในการเป้นอาจารย์ที่ปรึกษาน้องๆนิสิตที่ค่อนข้างเฮี้ยวแล้วจะรู้ว่ามันเหนื่อยมากครับมีช่วงหนึ่งผมต้องวิ่งไปกราบขอโทษอาจารย์ผู้ใหญ่แทนลูกศิษย์ผมเพราะน้องๆเค้าไปก้าวร้าวใส่มันก็กดดันอีกเรื่องนะครับ

จขกท ลองเปิดใจกว้างๆนะครับคือผมไม่รุ้ว่า จขกท เป็นข้าราชการในมหาวิทยาลัยแล้วเห็นว่า พนก เงินเดือนดีกว่า แล้วยังออกมาเรียกร้องสิทธิอะไรอีกเลยหมั่นไส้หรือว่าอย่างไรนะครับ แต่ก็อย่างที่หลายท่นรวมถึงผมและคุณผมรู้ล่าสุดที่ได้ตอบไปน่าจะชัดเจนพอสมควรแล้วนะครับว่าเพราะอะไรเขาถึงมาเรียกร้อง เพราะมันเป็นสิทธิที่เขาพึงได้นะครับ

ตอบกลับความเห็นที่ 29
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 30
กลับมาตอบคำถาม จขกท อีกครั้ง เอาแบบตรงประเด็น
คนที่เซ็นรับทุนไปมีอยู่ 2 ประเภทใหญ่ๆ

1. เพราะอยากไปเรียนต่างประเทศ เรื่องอื่นไว้คิดแก้กันทีหลัง เอาทุนไปเรียนก่อน เผลอๆแต่ใครเผลอไม่รู้ อาจได้เรียนฟรี

2. อยากกลับมามีที่ทำงานแน่ๆ จะได้ไม่ต้องมาหางานอีกหลังจากจบมาแล้ว

ส่วนเรื่องที่กลับมาทำงานแล้วไม่ได้ทำงานที่ได้เรียนมา ก็เพราะ

ก่อนไปเรียน ควรอย่างยิ่งที่จะไปปรึกษากับหน่วยงานก่อนว่าต้องการให้เราเรียนอะไร ทำวิจัยเรื่องอะไร จะได้ตรงกับที่เขาต้องการ แต่ส่วนใหญ่ ไปเรียนโดยไม่เคยได้คุยกันเลย เลือกเรียนที่ตัวเองชอบ หรือ จบง่าย กลับมาก็แบบนี้ และหน่วยงานเองก็ไม่คิดจะกำกับให้เขาไปเรียนให้ตรงกับที่ต้องการ สรุปต้องการคนมีปริญญาโท เอก มาประดับหน่วยงาน แต่ไม่ใช่ การไปเรียนจนจบมา เนื้อหาใครก็เรียนกันได้ แต่กระบวนการเรียนรู้ การแก้ปัญหา การคิดเป็น ระบบ ต่างหากที่เราสามารถนำมาปรับใช้ได้ทุกกรณี

แต่ก็มีกว่าจะจบกลับมา นโยบายเปลี่ยนไปหมดแล้ว แบบนี้ก็โชคดีหรือร้ายกันแน่


ตอบกลับความเห็นที่ 30
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 31
ผมว่าเราต้องแยกคำ 3 คำนี้ออกจากันก่อน 1. Facts 2. Believes 3. Values

ผมเห็นว่า Facts มันชัดเจน เช่น เงินเดือน พนง สูงกว่า ข้าราชการ แต่ ข้าราชการ เบิกค่ารักษาพยาบาล ได้มากกว่า

ทีนี้ ปัญหามันอยู่ที่ 2 ตัวหลังคือ Beleives กับ Values ไม่อยากแปลเป้นไทย กลัวความหมายจะเพิ้ยนไป

ปัญหา คือ ผมว่า เรากำลังเถียงกันที่ 2 ตัวหลังมากกว่า เช่น พรง อาจารย์ ควรอยู่อย่างมีเกียรติ ได้รับสัญญาทำงานจนอายุ 60 ปี ฯลฯ ซึ่งถ้าเรากำลังเถียงกันที่ 2 ตัวหลังนี้นะ ให้นั่งคุยกันไปอีก 100 ปี ก้ไม่จบ เพราะมันขึนกับองค์ประกอบมากมาย ก้เอาเป้นว่า ใครเห้นอย่างไร มีสิทธิทำอะไรได้แค่ไหน โดยที่ไม่ผิดกฏหมาย ไม่สร้างความเดือดร้อนให้คนอื่น สิ่งที่ทำดีกับตัวเองและดีกับสังคม ก็ทำไปเถอะครับ แต่อย่าหาเหตุผลแบบเข้าข้างตัวเองก็พอแล้ว


ตอบกลับความเห็นที่ 31
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 32
ตั้งแต่อ่านมาผมยังไม่เห็นใครพูดสองปัจจัยที่ จขกท ว่ามาเลยนะครับ เห็นมีแต่คนพูดแต่เรื่องข้อเท็จจริง ว่าเพราะอะไรทำไมถึงมีการออกมาเรียกร้อง สองปัจจัยที่ว่ามามันเป็นอัตวิสัยครับส่วนเรื่องเกียรติ อะไรหรือสัญญา60ปีนี่ยังไม่มีใครพูดเเบบเป็นargumentเลยนะครับ มีแต่ผมที่บอกในข้อเท็จจริงว่าจริงอยู่ว่าการได้รับความเคารพอาจเป็นแค่อีกปัจจัยหนึ่ง ??? ประเด็นหลักคือ เรียกร้องสวัสดิการหรือสิทธิที่ควรจะได้ ได้หรือไม่ แต่หลักของมันคือการรับทุนซึ่งทุกคนก็ตอบไปแล้วนะครับ จขกท มักจะเอาประเด็นยิบย่อยในคำตอบของบางท่านมาขยายผลต่อมากกว่า ท้ายสุดครับ ลองไปเป็นดูครับ หรือหากเป็น ขรก ก็ทำเรื่องขอเปลี่ยนเป็น พนง ดูครับ ง่ายสุดหากคิดว่ามันดีกว่าก็ทำเลยครับ แต่หากคิดว่า ขรก ดีกว่า ก็ไม่ต้องทำเรื่องครับง่ายๆ


ตอบกลับความเห็นที่ 32
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 33
อ่านมาถึง คห 31 แล้วรู้สึกว่า จขกท กำลังหลงประเด็นตัวเอง เราว่าสิ่งที่ จขกท ถาม คนเขาก็ออกมาตอบชัดเจนแล้วว่าทำไมจึงเป็นอย่างนั้น ทีนี้มันก็ขึ้นกับ จขกท ว่าจะยอมรับสิ่งที่เขาตอบหรือไม่ ถ้ายอมรับก็จบ ถ้าไม่ยอมรับนั่นเป็นปัญหาของ จขกท เอง อย่าพยายามอ่านแล้วหยิบเอาอะไรเล็กๆ จากการตอบของคนอื่นมาเป็นประเด็นใหม่

เราก็ยังยืนยันว่าทำงานแล้วต้องได้ค่าตอบแทนที่เหมาะสม ค่าตอบแทนต้องจูงใจให้คนมาทำงานด้วย ไม่มีใครสามารถทำการกุศลได้ตลอดชีวิต


ตอบกลับความเห็นที่ 33
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 34
1. Facts 2. Believes 3. Values
??????????????


ตอบกลับความเห็นที่ 34
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 35
จุดประสงค์เดิมของ topic นี้ คือ ให้เปรียบเทียบ ตรรก ของ 2 เหตุการณ์ คือ

เวลา นักเรียนทุนฯ ออกมาบ่นว่า ไม่เป็นธรรม ไม่ได้ทำงานได้ใช้ความรู้ ฯลฯ ก็มักจะมีคนออกมาตอบกลับว่า เขาไม่ได้บังคับคุณฯมารับทุน คุณนมาเอง ก็ต้องยอมรับเงื่อนไขของเขา ถ้าไม่พอใจก็หาเงินมาใช้คืนเขา แล้วลาออกไปทำอย่างอื่นซะ

VS

เวลาอาจารย์ พนง ออกมาเรียกร้องว่า งานที่ทำเงินเดือนน้อย งานหนัก ฯลฯ แล้วเกิดมีคนออกมาตอบว่า เขาไม่ได้บังคับคุณฯมาทำงาน คุณฯมาเอง ถ้าไม่ชอบก็ลาออกไปทำอย่างอื่น

เนื่องจาก เป็นการเปรียบเทียบระกว่าง นักเรียนทุนฯ ซึ่งอาจจะมาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย หรือ ทำงานราชการอื่นๆ กับ อาจารย์ พนง ประเด็นมีแค่

"ต้องการให้เปรียบเทียบ ตรรก ของ 2 เหตุการณ์นี้ เท่านั้น"

แต่ปรากฏว่า แต่ละท่านตอบแต่สิ่งที่ตัวเองอยากจะตอบ (รวมทั้งผมก้ออกนอกประเด็นไปเหมือนกัน ตอนหลังๆ)

ตอนหลัง ถึงได้ถามว่า ถ้าคุณฯเป้นอาจารย์ เกิดนักเรียนตอบไม่ตรงคำถาม เช่น ประเทศไทยประครองด้วยระบบอะไร แต่นักเรียนกลับตอบว่า สหรัฐฯปกครองด้วยระบบประธานาธบดี OK คำตอบมันถูก แต่มันตอบไม่ตรงคำถาม คุณฯ ที่เป้นอาจารย์จะให้คะแนนอย่างไร

สำหรับ กระทู้ นี้ ถ้าจะ comments ขอให้ตรงกับประเด็นที่ถาม แค่ "ตรรก ในการเปรียบเทียบเท่านั้น"

คุณฯ newcomer คือ ผมรู้สึกว่า ท้ายๆมันจะออกไปทาง ความเชื่อ กับ การมออง values ที่แตกต่างกันมากกว่า


ตอบกลับความเห็นที่ 35
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 36
..." ถ้าคุณฯเป้นอาจารย์ เกิดนักเรียนตอบไม่ตรงคำถาม..."

เดี๋ยวนี้ คุณอาจโดนเด็กสวนกลับว่า
แล้วข้อสอบอาจารย์ มีคุณภาพ และมาตรฐานขนาดไหน
ผ่านกระบวนการตรวจสอบ คุณภาพเชิงวิชาการอย่างไร หรือไม่ ฮา


ตอบกลับความเห็นที่ 36
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 37
ถ้าคำถามมันชัดเจน ตรงไปตรงมา clear ทุกอย่าง no ambiguity ตรงตามเนื้อหาในหลักสูตทุกอย่าง

ถ้านักเรียนตอบไม่ตรงประเด็น สมมุติผมเป็นอาจารย์ เกิดนักเรียน ตอบ สหรัฐฯปกครองด้วยระบบ ประธานาธิบดี แต่คำถาม ถาม ไทยปกครองด้วยระบบอะไร ต่อให้คำตอบถูก (แต่ไม่ตรงกับที่ถาม) ถ้าใจดี ผมอาจะให้อย่างมาก 40-50%

อีกอย่าง ถ้ามีนักเรียนคนอื่น ตอบว่า ประเทศไทย ปกครองด้วยระบบ พ่อค้า (สมมุติเฉยๆ) ระหว่างคนที่ตอบผิดโดยสิ้นเชิงเลย กับ คนที่ตอบถูกในคำถามที่ไม่ได้ถาม

? คุณ newcomer จะให้คะแนนยังไง ถ้าคุณฯให้ คนตอบผิด ศูนย์ คนตอบถูกแต่ไม่ตรงคำถาม ให้เท่าไร คนที่ตอบคำถามถูกและตรงกับคำถามที่ตั้งไว้ และ คุณฯคิดว่าการให้คะแนนของคุณฯ fair ไหม กับทุกๆคน

นอกประเด้นแล้ว แต่อยากจะถามคนเป็นอาจารย์ที่ให้คะแนนลูกศิษย์ด้วย คิดว่าพวกคุณนน่าจะเจอเหตุการณ์นี้มา


ตอบกลับความเห็นที่ 37
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 38
ขอตอบกระทู้ที่ตั้งไว้เองแล้วกัน

ผมมองว่า จริงๆมัน "ตรรก" เดียวกัน และมันไม่ใช่แค่ 2 เรื่องนี้ด้วย จริงๆมันทุกเรื่อง สังคมมันต้องมี กฏระเบียบ กฏหมายอยุ่ ศีลธรรม ฯลฯ ถ้าเราคิดว่า ระเบียบพวกนั้นไม่ดี ฯลฯ ในประเทศประชาธิปไตย ก้คงเรียกร้องเพื่อให้แก้ไขได้ แต่จะสำเร้จหรือเปล่ามันอีกเรื่องนึง

ถ้าการแก้ไขมันไม่สำเร้จ ซึ่งก้น่าจะมาจาก 2 เหตุผล คือ 1) ผู้มีอำนาจ ไมอยากให้แก้ 2) คนส่วนใหญ่ในสังคมนั้น เขาไม่เอาด้วย ทีนี้ ถ้ามันเกิดเรื่องแบบนี้ ขึ้น เราก็มีอยุ่ 3 ทาง 1) เรียกร้องต่อไปจนกว่าจะได้ 2) ทนอยู่ในระบบนั้นไป 3) ไปหาที่ที่ เราคิดว่ามันดีกว่า


ตอบกลับความเห็นที่ 38
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 39
เรื่องทุน ผมว่ามันเอาตรรกนี้มาเทียบไม่ได้เลย คุณต้องดูปัจจัยด้วยเช่น ให้ทุนไปทำด้าน ไฟฟ้า เรียนด้านไฟฟ้าจบกลับมา แต่ให้ไปสอนเครื่องกลทั้งๆที่ในสัญญาทุนเขียนชัดว่าเพื่อกลับมาสอนด้านไฟฟ้า อย่างนี้ไม่พอใจลาออกดีไหมครับ เพราะไม่มีใครบังคับให้รับทุนนี่หว่า แต่บังเอิญผู้บริหารดันเปลี่ยนนโยบาย ถามว่าใครผิด คำตอบไม่มี คุณเข้าใจคำว่าข้อเท็จจริงเปลี่ยนไหมครับ จขกท แล้วผมแนะนำนะคุณลองไปหาหนังสือที่เกี่ยวกับสัญญาทางปกครองมาอ่านดูแล้วคุณจะเข้าใจเรื่องสัญญาการเป็นนักเรียนทุนมากขึ้น

กรณีที่2 ผมว่าทุกคนเค้าก็มาตอบไปหมดและหลายรอบแล้วนะครับว่าถ้าเค้ามีสิทธิที่จะเรียกร้องเพื่อปรับปรุงสภาพการทำงานทำไมจะไม่ทำล่ะครับ หรือไม่พอใจลาออกดีกว่าให้คนอื่นมารับภาระต่อ แปลกนะครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 39
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 40
ขอนอกเรื่อง นอกกระทู้อีกครั้ง

คุณฯ คิดว่าเราจะได้อะไรอย่างที่เราต้องการทั้งหมดไหม ไม่ว่าอยากได้เงินเท่านั้น อยากทำงานที่นั่นที่นี่ อยากได้ .... ฯลฯ รวมทั้งเรื่องที่มีคนตอบในกระทู้นี้ตั้งเยอะด้วย

ทีนี้ถ้ามันไม่ได้ขึ้นมาจะทำยังไง สมมุตอย่างกรณีนี้ เกิด สุดท้ายแล้ว เขาก็ไม่ขึ้นเงินเดือนให้ พนง มหาวิทยาลัย ฯลฯ ตามที่เรียกร้อง หรือ เขาขึ้นให้ แต่อีกหน่อยขึ้นเงินเดือนข้าราชการหนีไปอีก

? ถามว่า แล้วจะทำอย่างไร

อันนี้ ถามจริงๆ ไม่ได้ประชดใดๆทั้งสิ้น


ตอบกลับความเห็นที่ 40
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 41
ลองย้อนไปดูที่ผมเคยตอบนะครับเรื่องมหาวิทยาลัยแถวบางเขนน่าจะอ่านเข้าใจ และหลายท่านก็ตอบแล้วไงครับว่าเงินเดือน พนง น่ะมันต้องเป็นไปตามมติครม คือ *1.5หรือ1.7 เท่าของข้าราชการ ก็ใช้สิทธิเท่าที่มีไงครับ อย่าใช้สิทธิเกินส่วน คือคุณพยามจะถามไล่เพื่อให้คำตอบออกมาว่าไม่ไหวก็ออกไปไงครับ ที่ถามว่าจะได้หมดไหมที่ขอ มันเป็นไปไม่ได้หรอกครับปัจจัยมันเยอะเช่นเงินรายได้มีเท่าไหร่พอไหมยังไง ทุกอย่างมันอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจแต่ถ้าเกิดข้อเท็จจริงมาว่าเงินรายได้ก็มากแต่ไม่ขึ้นให้ก็ใช้สิทธิเท่าที่มีดำเนินการไป ส่วนอยากทำงานที่นั้นที่นี่ นั่นเลือกเองครับแล้วไม่ได้หมายความว่าคุณเลือกเขาแล้วเขาจะเลือกเรามันเป็นหลักพื้นฐานของความเสมอภาคในการเข้าทำบริการสาธารณะครับ ผมว่าที่ถามมาน่ะ หลายๆคนเค้าตอบไปละเอียดหมดแล้วนะครับขึ้นอยุ่กับว่าจะเข้าใจไหม

ไม่ก็ง่ายสุดครับ ถ้าตอนนี้คุณจบโทแล้ว เดินไปสมัครสักที่นึงเลยครับแนะนำ ม ต่างจังหวัด แล้วเลือก ม ที่ยังไม่ปรับฐานเงินเดือนตาม มติ ครม นะครับ แล้วจะเข้าใจ คือถ้า คุณถามเพื่อต้องการข้อมูลในการตัดสินใจสมัครผมก็ยินดีตอบนะ แต่พอดีคำถามมันวนในอ่างแล้วก็ซ้ำไปมาเหมือนถามโดยไม่อ่านคอมเม้นที่มาตอบผมว่ามันเสียเวลา ถ้าคุณต้องการคำตอบแบบง่ายๆแค่ว่าไม่ไหวก็ออกไป ผมก็ตอบให้ได้นะแต่บังเอิญหลายท่านก็มาให้ข้อมูลแล้วผมก็ยังไม่เข้าใจว่ามันมีอะไรน่าสงสัยอีก ทั้งเรื่อง เงิน เรื่องทุน เรื่องสวัสดิการต่างๆก็มีคนตอบไปหมดแล้วนะครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 41
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 42
ถ้าต้องการคำตอบแค่ว่า "เห็นด้วย ทนไม่ได้ก็ลาออกไปซะ" คุณ จขกท จะมาตั้งกระทู้ทำไมละคะ เพราะถ้าตั้งกระทู้แน่นอนมันต้องมีความเห็นหลากหลาย ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย หรือแม้แต่ความเห็นที่ไม่ตรงคำถามเสียทีเดียวแต่เขาอยากแสดงความเห็นเพื่อเป็นความรู้แก่ผู้อื่น

ขอถามว่าการที่ พนง ออกมาเรียกร้องให้ปรับเงินเดือน ตามมติ ครม ควรปรับ มันผิดตรงไหน และมันส่งผลกระทบในทางที่ไม่ดีอะไรกับใคร ในเมื่อคุณเองก็พูดว่าสังคมมีระเบียบ มีกฏหมาย มีศีลธรรม เขาก็ออกมาเรียกร้องให้สถาบันทำตามกฏระเบียบไงคะ แล้วที่สถาบันเอาเปรียบเขาอยู่นี่มันถูกต้องเหรอคะ

คิดนะคะว่าถ้าเงินเดือนไม่เหมาะสมกับงานที่ทำ พนง ก็ต้องทำงานเสริมเพื่อเลี้ยงปากท้องตัวเอง ซึ่งก็อาจจะเบียดบังงานหลัก กระทบการเรียนการสอน นศ อนาคตของชาติก็ด้อยประสิทธิภาพลงนะคะ จะเข้าทำนอง เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย ประเทศไทยดูเหมือนจะเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับเงินเดือนครูน้อยมาก

ตอบกลับความเห็นที่ 42
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 43
จริงๆ กระทู้นี้มันค่อนข้างจะยาวแลว และก็พายเรือในอ่างอย่างที่ข้างบนว่าจริงๆ เท่าที่อ่านมานะ รู้สึกว่า

ทุกคนตอบอย่างที่ตัวเองจะตอบ และมีลักษณะเอาตัวเองเป้นที่ตั้ง โดยเฉพาะเมื่อพูดถึงเงินเดือนหรือผลผระโยชน์ที่ตัวเองจะได้รับ

ได้เขียนไปข้างบนแล้วว่า ประเทศประชาธิปไตย ทุกคนมีสิทธิเรียกร้องได้ อาจจะเดินขบวน ฯลฯ ตราบเท่าที่ยังไม่ผิดกฏหมายหรือละเมิดสิทธิคนอื่น ส่วนจะได้หรือเปล่านั้นอีกเรื่อง คิดว่าตรงนี้ชัดเจนนะครับ ผมว่าถ้าสิ่งที่เรียกร้องเป็นสิ่งที่ดี สิ่งที่ถูก เป็นประโยชนืต่อส่วนรวม คนส่วนใหญ่เขาก็เห้นด้วยเองแหละ ไม่ต้องเสียเวลามาโต้เถียงกัน

ส่วนที่ให้ความคิดเห็นมาก็ดีครับจะได้เป็นความรู้มากขึ้น


ตอบกลับความเห็นที่ 43
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 44
ไหนๆก็นอกประเด็นไปไกลแล้ว

เมื่อก่อนผมเคยให้คนได้รับทุนฯจากบางหน่วยงานได้รับสิทธิฯ มากเป็นพิเศษ ซึ่งเกินขอบเขตปกติที่เขาให้กัน พอผมพูดไป ก็มีคนตอบกลับมาว่า ถ้าคิดว่า ที่นั่นให้เงื่อนไขที่ดีกว่า ก็ไปรับทุนฯที่นั่น ก็หมดเรื่อง ในเมื่อรับทุนฯที่นี่ ก้ต้องทำตามเงื่อนไขของเขา เขาไม่ได้บังคับคุณฯมารับทุนฯ

ในนี้ผมเห็นมีการอ้างอิง ม. บางเขน กับ สามย่าน หลายครั้ง ถ้าเกิดมีคนมาตอบกลับว่า ถ้าคุณฯคิดว่า ที่โน้น เงินเดือนดีกว่า สวัสดิการดีกว่า ฯลฯ คุณฯก็ไปอยู่ที่โน้น ก็หมดเรื่อง ฯลฯ

ก็ไม่รู้จะว่ายังไง เพราะก็เคยได้ยิน คนพูดย้อนกลับในทำนองนี้มาแล้ว

---------------------------------------

ถ้าในความคิดผมนะ 2 ที่นั้น เป็น องค์กรใหญ่ฯ เขาย่อมสามารถจ่ายค่าตอบแทน ฯลฯ ไดสูงกว่า องค์กร (มหาวิทยาลัยเล็กๆในต่างจังหวัด) แน่นอน มันคง competitive สูง แน่นอน ไม่ใช่ทุกคนจะเข้าไปทำงานที่นั่นได้ แน่นอน มันย่อมมีส่วนที่เกินออกมา ก็ต้องไปหาที่ๆมัน รองๆลงไป ซึ่งมันก็เป้นเรื่องปกติของทุกวงการ

ตัวอย่าง นักฟุตบอล ที่จะไป Man U ได้ โดย average ก็ต้องเก่งกว่า ที่อยู่ QPR สมมุตนะ แน่นอน ความจริง บางครั้งมันก็เจ็บปวด แต่ถ้าเราไม่ยอมรับความจริงๆ ก็จะมัวแต่ไปโทษนั่นโทษนี่ มันก็เสียเวลาเปล่า

อย่างผมเองเมื่อก่อน ก็อยากไป Harvard แต่ตอนหลังก็ต้องยอมรับความจริงๆว่า ศักยภาพเรามันไม่ถึง ก้ต้องไปที่ๆมัน รองๆลงไป เช่น Minesota เพราะโวยวายไปมันก็แก้ปัญหาอะไรไม่ได้ สู้มาพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น และอยู่กับความเป็นจริง เรากลับจะสบายใจมากกว่าด้วยซำ

ผมต้องขอโทษด้วย ถ้าหากสิ่งที่เขียนนี้ มันอาจจจะเป็นความจริงที่ตรงไปตรงมาเกินไป แต่ก็อยากให้มองอะไรแบบความเป็นจริงๆ


ตอบกลับความเห็นที่ 44
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 45
ผมว่าคุณอ่านที่ทุกคนเข้ามาตอบ ไม่เข้าใจและจับประเด็นไม่ได้เลยน่ะครับตัวอย่างง่ายๆเร่อง ม บางเขน มันคนละประเด็น ที่ผมยกมาคือกรณีเค้าใช้สิทธิในการเรียกร้องทางศาลปกครองและก็ได้สิทธิที่ควรจะได้มันไม่เกี่ยวอะไรกับว่าใครไม่พอใจก็หาวิธีออกไปอยู่บางเขนหรือสามย่านเลยนะครับ



ผมว่าคุณ ลองกลับไปค่อยๆอ่านแบบนิ่งๆดูนะครับ ทุกคนเค้าตอบมาย้ำว่าตอบมาในทางที่ว่าเมื่อมันมีสิทธิก็สามารถใช้ได้นะครับ ลองพยามทำความเข้าใจที่คนมาตอบและลองอ่านตั้งแต่คำถามและคำตอบของคุณว่าทำไมมันถึงนอกเรื่องและคนที่มาตอบเค้าไม่ได้มาตอบแบบเอาตัวเองเป็นที่ตั้งครับ เค้าเอาเกณฑ์หรือกฎเกณฑ์มาเป็นที่ตั้ง เช่นเรื่องเงินเดือนตาม มติครม นี่ เอาตัวเองเป็นที่ตั้งเหรอครับ ประสาทแล้ว

ผมเสนอให้เจ้าของกระทู้ไปพัฒนาตัวเองโดยการฝึกอ่านทำความเข้าใจนะครับและหัดอ่านจับประเด็นด้วยหากเป็นแบบนี้มาเรียนสายสังคมผมว่าคงไม่รอดครับเนื่องจากอ่านคำถามไม่เข้าใจสับสนในตัวเองและ ไม่สามารถนำเอาเนื้อหาที่ได้รับการถ่ายทอดไปถ่ายทอดต่อได้ เหนื่อยครับคุยกับคนที่ไม่อ่านอะไรให้เข้าใจและก็ว่าคนอื่นเอาตัวเองเป็นที่ตั้ง เพราะหากคุณอ่านดีดีจะพบว่าที่คนมาตอบมีแต่ข้อเท็จจริงและหลักเกณฑ์ทั้งนั้นไม่มีใครมาบอกเลยว่าชั้นว่าเงินเดือนต้องเท่าไหร่ๆๆๆๆ(ในกรณีที่นอกกรอบตามมติ ครม มีแต่คนมาตอบว่าก็ต้องเป็นไปตามมติ ครม)

ไม่ต้องขอโทษครับเพราะสิ่งที่คุณเขียนตอนนี้ผมมองว่ามันเพ้อเจ้อครับ จนผมสงสัยว่าคนที่ไม่มองว่าความจริงคืออะไรมันใครกันแน่เมื่อทุกคนเอาข้อเท็จจริงมาพูดแต่คุณกลับยึดติดกับสมมุติฐานหรือคำตอบของคุณอยู่ตลอดเวลา

และที่ผมสงสัยมากกว่านั้นคือ จขกท นั้นเคยผ่านการทำงานมาบ้างไหมครับทั้งภาคเอกชนหรือภาครัฐ ผมอ่านๆดูแล้วเหมือนว่าไม่เคยมีประสปการณ์ทำงานอะไรเลยเอะอะก็ไม่พอใจออก ทำงานนนะครับไม่ใช่เล่นเกมจะได้กดปุ่มรีเซ็ทได้ตลอดโตๆแล้อย่าเอาอะไรแบบเด็กมาใช้หัดยอมรับข้อเท็จจริงบ้างครับ(ความคิดเห็นไม่ต้องฟังก็ได้ครับถ้ามันไม่ถูกจริตคุณแต่เมื่อเป็นข้อเท็จจริงมันก็ต้องฟัง)


"เมื่อก่อนผมเคยให้คนได้รับทุนฯจากบางหน่วยงานได้รับสิทธิฯ มากเป็นพิเศษ ซึ่งเกินขอบเขตปกติที่เขาให้กัน พอผมพูดไป ก็มีคนตอบกลับมาว่า ถ้าคิดว่า ที่นั่นให้เงื่อนไขที่ดีกว่า ก็ไปรับทุนฯที่นั่น ก็หมดเรื่อง ในเมื่อรับทุนฯที่นี่ ก้ต้องทำตามเงื่อนไขของเขา เขาไม่ได้บังคับคุณฯมารับทุนฯ" ประโยคนี้ทำให้ผมพอจะอนุมานได้ว่าคุณอาจเป็นระดับหัวหน้างานสักแห่ง ถ้าเป็นผมมีหัวหน้างานแบบนี้ผมก็ออกครับอยู่ไม่ไหวคนเป็นหัวหน้างานพูดจาไม่รู้เรื่องเพราะอะไร คุณบอกเองว่าคุณให้สิทธิเอง ใช่ไหมครับ แต่มีคนตอบกลับมาว่ารับไม่ได้ก็ไปที่อ่ืน ประเด็นคือ แล้วมันเกี่ยวอะไรกับนักเรียนทุนครับ เค้ามาเรียกร้องเหรอ คุณ๊ให้เค้าเองคุณโดนตอกกลับเอง ประสาทแล้วแบบนี้

ปล เรื่องนักฟุตบอล คุณคิดว่านักบอลที่ไปแมนยูทุกคนเก่งกว่า ควีนปาร์คจริงเหรอครับ

ผมต้องขอโทษ จขกท ด้วย ที่ผมพูดความจริงแบบแรงๆ แต่ก็อยากให้เจ้าของกระทู้ได้รู้ตัวบ้างครับและมองอะไรแบบความจริงบ้าง


ตอบกลับความเห็นที่ 45