ฟ้องสายการบินละเมิดคนพิการ ปฏิเสธหญิงอ้วนขึ้นเครื่องจนเสียชีวิตต่างแดน

ที่มา: หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555




นิวยอร์ก - สามีหญิงอ้วนน้ำหนัก 192 กิโล ตั้งทนายยื่นฟ้อง 3 สายการบินที่ปฏิเสธไม่ให้ภรรยาขึ้นเครื่องบินกลับนิวยอร์ก จนต้องเสียชีวิตเพราะโรคไตกำเริบในต่างแดน

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันอังคาร (27 พ.ย.) ว่า มีนางวิลมา โซลเตสซ์ หญิงอเมริกันซึ่งมีน้ำหนักตัว 192 กิโลกรัม ถูกสายการบิน 3 แห่งปฏิเสธไม่ให้ขึ้นเครื่องบินกลับจากประเทศฮังการีมายังนิวยอร์ก โดยอ้างว่าผู้โดยสารมีน้ำหนักมากเกินไป ทำให้เสียชีวิตในต่างแดนเพราะกลับไปรักษาโรคไตที่โรงพยาบาลที่บ้านไม่ทัน

นางโซลเตสซ์เดินทางกับสามี นายจาโนส โซลเตสซ์ มาพักผ่อนที่บ้านพักตากอากาศของครอบครัวในชนบทของฮังการีเกือบทุกปี ซึ่งการเดินทางครั้งล่าสุดครอบครัวโซลเตสซ์ได้ใช้บริการสายการบินเดลต้า แอร์ไลน์ มายังฮังการีตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน โดยก่อนเดินทางตัวแทนขายตั๋วได้แจ้งให้สายการบินทราบถึงขนาดตัวและอาการเจ็บป่วยของนางโซลเตสซ์เพื่อซื้อตั๋วสองที่นั่งสำหรับผู้โดยสารไซส์พิเศษรายนี้

แต่ปัญหาเกิดขึ้นในเที่ยวบินขากลับไปยังนิวยอร์กในวันที่ 15 ตุลาคม เริ่มต้นจากสายการบินเคแอลเอ็มปฏิเสธที่จะรับนางโซลเตสซ์เดินทางไปกับเครื่องบินของบริษัท แม้นางโซลเตสซ์จะได้นั่งในเก้าอี้โดยสารเรียบร้อยแล้ว โดยทางสายการบินอ้างว่าไม่มีเข็มขัดรัดที่นั่งพิเศษให้นางโซลเตสซ์และเก้าอี้ไม่สามารถรับน้ำหนักตัวเกือบ 200 กิโลกรัมได้

ต่อมาสายการบินเคแอลเอ็มได้ติดต่อไปยังสายการบินเดลต้า แอร์ไลน์ ที่มีบริการสำหรับผู้โดยสารทุพพลภาพ แต่ก็ถูกปฏิเสธจากทางสายการบินอีกครั้ง โดยเจ้าหน้าที่อ้างว่ารถเข็นที่ให้บริการไม่สามารถรับน้ำหนักตัวของนางโซลเตสซ์ได้ ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนย้ายนางเข้าไปนั่งในเครื่องบินได้

ทั้งสองดิ้นรนหาตั๋วเดินทางกลับมายังนิวยอร์กเพื่อให้นางโซลเตสซ์กลับมาฟอกไตได้ทันตามกำหนด ก่อนที่จะได้รับข่าวดีว่าจะได้เดินทางกลับไปยังนิวยอร์กด้วยสายการบินลุฟท์ฮันซ่าในวันที่ 22 ตุลาคม แต่ก็เผชิญปัญหาการเคลื่อนย้ายนางโซลเตสซ์จากรถเข็นไปยังที่นั่งที่จองไว้ได้ แม้จะใช้เวลานานกว่า 30 นาที จนกัปตันเครื่องบินต้องขอให้นางโซลเตสซ์ออกจากเครื่องบินเพราะทำให้ผู้โดยสารอีก 140 คนเสียเวลา

นายโซลเตสซ์ไม่มั่นใจที่จะพาภรรยาไปหาหมอในฮังการี โดยให้เหตุผลว่าแพทย์อาจจะไมคุ้นเคยกับประวัติการรักษา จนในที่สุดนางโซลเตสซ์ก็มีอาการโรคไตกำเริบรุนแรงและเสียชีวิตในที่สุด

ล่าสุดนายโซลเตสซ์ได้ตั้งทนายยื่นฟ้องสายการบินในข้อหาละเมิดสิทธิคนพิการ และระบุว่าตนเองรู้สึกอ้างว้างและคิดถึงภรรยามาก จึงพยายามทำงานและไม่ยอมหยุดแม้แต่ในวันขอบคุณพระเจ้า เพื่อจะได้ไม่ต้องคิดถึงภรรยาที่ใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันถึง 33 ปี

ความคิดเห็นที่ 1
ดูเหมือนกัน ตัวใหญ่มาก แต่การแก้ปัญหาของสายการบินนี่สิ


ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
น่าเห็นใจจริง ทั้งผดส และสายการบิน


ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
มันก็น่าแปลก ทำไมขาไปถึงให้ไปได้ แต่ขากลับดันไม่ให้กลับ


ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
ทำไมปล่อยจนตาย ระหว่างดำเนินการน่าจะปรึกษาหมอด้วย
แปลกใจสายการบินเหมือนกัน ขามากับกลับทำไมไม่เหมือนกัน
หรือ ผดส. ไม่ได้ คอนเฟิร์มล่วงหน้าในเวลาเลยเตรียมอุปกรณ์พิเศษไม่ทัน?

นั่งโดยไม่มีเข็มขัดรัดก็เข้าใจสายการบินอยู่


ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
"โดยก่อนเดินทางตัวแทนขายตั๋วได้แจ้งให้สายการบินทราบถึงขนาดตัวและอาการเจ็บป่วยของนางโซลเตสซ์เพื่อซื้อตั๋วสองที่นั่งสำหรับผู้โดยสารไซส์พิเศษรายนี้"

เอเยนต์ก็แจ้งแล้วนี่สิ สายการบินก็ยอมขายตั๋วให้ และขาไปก็ไปได้ด้วย แต่ขากลับกลับไม่ให้กลับ
ซึ่งถ้าสายการบินคิดว่าผู้โดยสารไม่สามารถโดยสารไปได้ ก็ไม่ควรจะขายตั๋วให้แต่แรก
แล้วแถมยังเคยใช้บริการในปีก่อนๆ ก็ไม่มีปัญหา


ตอบกลับความเห็นที่ 5
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 6
ผดส มีขาข้างเดียว มีข่าวว่าทางสายการบิน เรียกใช้ บริการดับเพลิง ที่มีเครื่องมือมาช่วยยก ก็ยังเอาขึ้นไม่ได้
สงสัย ครอบครัวคงปลงตก ไม่ไปหาหมอ เลยเสียชีวิต ฟ้องกันก็ต้องรอฟังการตัดสิน


http://www.youtube.com/v/1nWQxc8fTaU
ตอบกลับความเห็นที่ 6
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 7
เขาอภิปรายว่า คงชนะยาก


http://www.youtube.com/v/IW92XMoaNxg
ตอบกลับความเห็นที่ 7
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 8
พูดยากนะของอย่างงี้ แต่ว่ายังไงดูแลสุขภาพกันนะครับ อย่าปล่อยให้อ้วนอะไรมากขนาดนั้น แต่ส่วนใหญ่จะเป็นฝรั่งครับ คนเอเชียโดยเฉพาะคนไทย ไม่ค่อยมีหรอกอ้วนมากอย่างนั้น


ตอบกลับความเห็นที่ 8
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 9
อ่านแล้วงง บินไปฮังการีด้วยสายการบินไหน แล้วทำไมกลับสายการบินเดิมไม่ได้

ก็รู้ว่าไม่สบาย มีปัญหากับสายการบินตลอดเวลา แล้วจะไปต่างประเทศทำไม

ถึงหมอฮังการีไม่เก่ง แต่ก็ดีกว่าไม่มีหมอนะ แบบนี้สามีส่อเจตนาหรือเปล่าเนี่ย...


ตอบกลับความเห็นที่ 9
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 10
เดินทางทุกปีก็ไม่มีปัญหาอะไร งงค่ะ????


ตอบกลับความเห็นที่ 10
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 11
แล้วขาไป ไปยังไงล่ะ ทำไมไปได้


ตอบกลับความเห็นที่ 11
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 12
#9

ขาไปไปด้วย Delta ขากลับตอนแรกตั้งใจจะกลับด้วย KLM แต่ถูกเชิญลงจากเครื่องเพราะรัดเข็มขัดไม่ได้ KLM ติดต่อ Delta ให้มารับไป แต่ Delta ก็ปฏิเสธเพราะรถเข็นรับน้ำหนักไม่ได้ สุดท้าย Lufthansa ก็ไม่ให้บินเพราะเสียเวลาไปกับการเข็นขึ้นเครื่องกว่า 30 นาทีจนกัปตันรอไม่ไหว ต้องเชิญลง


ตอบกลับความเห็นที่ 12
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 13
หมอฮังการีก็น่าจะพอรักษาได้น๊า


ตอบกลับความเห็นที่ 13
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 14
กต่มันไม่สมเหตุสมผลตอนที่ ขาไปทำไมให้ไป แต่ตอนกลับจะไม่ให้กลับ. อันนี้อะค่ะ แย่มากๆ


ตอบกลับความเห็นที่ 14
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 15
น่าเห็นใจจริงสำหรับ ผดส. แต่ผมไม่เห็นใจสายการบินครับ :(

เตรียมโดน sue จ่ายแหลกราญได้เลย จะได้เป็นบทเรียนครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 15
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 16
คงมีประเด็นที่ซ่อนอยู่แล้วเปิดเผยไม่หมด

ผู้โดยสารเจ็บป่วยเดินทางได้นะคะ แต่ต้องมีความเห็นของแพทย์ว่าสามารถเดินทางโดยเครื่องบินได้ และแสดงเอกสารนี้ก่อนขึ้นเครื่องบิน หากอาการไม่มาก ก็อาจไม่ต้องการอุปกรณ์พิเศษใดๆ สายการบินก็คงไม่ลำบากใจเท่าไหร่

ในรายที่เจ็บป่วยหนักจริงๆ แล้วหมอมีความเห็นว่าไม่ควรเดินทางเพียงลำพัง ก็ยังมีอีกวิธีการหนึ่ง คือ เดินทางโดยมีแพทย์หรือพยาบาลร่วมเดินทางด้วย (escort) ซึ่งแพทย์และพยาบาลจะเป็นผู้ช่วยเหลือหากผู้โดยสารอาการแย่ลงในระหว่างเดินทาง และพยาบาลผู้ป่วยตลอดการเดินทาง เนื่องจากลูกเรือไม่สามารถดูแลผู้โดยสารเจ็บป่วยได้เหมือนผู้โดยสารปกติทั่วไป เพราะรายละเอียดในแต่ละโรคมีความแตกต่างกัน

สำหรับเรื่องของ seat หากผู้โดยสารไม่สามารถนั่ง seat แบบปกติได้ อาจจะด้วยเหตุผลว่าน้ำหนักเกิน ไม่สามารถประคองตัวเองให้อยู่ในที่นั่งได้ หรือด้วยเหตุผลอื่นๆ ยังมีอีกวิธีหนึ่ง คือ stretcher เป็นวิธีการเดินทางแบบ "ตีตั๋วนอน" โดยสายการบินจะล้มเบาะที่นั่งในชั้น economy ประมาณ 6-9 seat แล้วแต่การจัดที่นั่งของเครื่องบินแต่ละแบบ แล้วติดเป็นเตียงนอนราบแทน ซึ่งนั่นหมายความว่าผู้โดยสารก็จะมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้นตาม (เทียบเท่ากับการซื้อ seat ตามจำนวนเบาะที่ล้มไป)
และผู้โดยสารที่ต้องใช้ stretcher ก็ต้องเคลื่อนย้ายโดยอาศัยอุปกรณ์พิเศษอีกนั่นแหละค่ะ ส่วนมากจะใช้ high lift ยกผู้โดยสารขึ้นไปยังตัวเครื่อง ถ้าหากผู้โดยสารนั่งบน wheelchair ไม่ได้ ก็ต้องใช้วิธี"หาม" เข้าเครื่องกันเลย ที่แต่ละสายการบินต้องปฏิเสธผู้โดยสาร สาเหตุส่วนหนึ่งก็คงเป็นเพราะไม่รู้จะจัดที่นั่งยังไง หรือไม่มีอุปกรณ์ในการเคลื่อนย้ายผู้โดยสารเข้าเครื่องนั่นแหละค่ะ เจอแบบนี้ก็ปวดใจเหมือนกัน ใครที่มาช่วยหามคงหลังหักแน่ๆ

ปล. เคยเจอผู้โดยสารบางคน เดินทางมาได้ น้ำหนักร้อยกว่า แต่ขากลับ น้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็น 200 เดินเองไม่ไหว ก็ต้องแบกกันขึ้นเครื่องกลับบ้านเลย


ตอบกลับความเห็นที่ 16
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 17
อีกหน่อยคงมีกฎว่า "คนอ้วน น้ำหนัก .... ขึ้นไป ห้ามใช้บริการสายการบิน"


ตอบกลับความเห็นที่ 17
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 18
อีกหน่อยแอร์อาเสี่ยคงจะชาร์จ add-ons ตามน้ำหนัก


ตอบกลับความเห็นที่ 18
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 19
มาได้ กลับไม่ได้ น่าสงสารจัง


ตอบกลับความเห็นที่ 19
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 20
ผมว่าความพร้อมของสนามบินแต่ละแห่งคงต่างกัน บางที่มีอุปกรณ์รองรับผู้พิการดีทำให้การขึ้นเครื่องทำได้สะดวกและไม่เสียเวลา บางที่ไม่มีทำให้เสียเวลามากจนต้องปฏิเสธการโดยสาร และอีกอย่างนึงเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยอย่างไรเสียก็ต้องส่งไปโรงพยาบาล ไม่ใช่ไม่เชื่อถือแล้วปล่อยให้ตายอยู่ที่บ้าน


ตอบกลับความเห็นที่ 20