ทำไมวิทยานิพนธ์ป.เอกบางเล่มของ Cornell ถึงเป็น discriptive research ได้อ่ะ

เคยโหลดจาก Proquest มาอ่านเล่มนึง เป็นแนวประวัติศาสตร์ไทย

บทแรกเป็นทฤษฎี แต่หลังจากนั้นเล่าเรื่องล้วนๆเลย ไม่มีบทไหนเลยที่เอาทฤษฎีมาเทียบกับสิ่งที่ได้พบ พอบท conclusion ถึงค่อยเอาทฤษฎีกลับเข้ามาใส่

คือเราเรียนโทที่สหราชอาณาจักร ทำแค่สารนิพนธ์ 30 กว่าหน้า แต่อาจารย์ยังให้มีทฤษฎีในทุกหน้าเลย แล้วป.เอกซึ่งต้องเข้มข้นกว่าสิบเท่า ทำไมถึงเล่าเรื่องล้วนๆทั้งแต่บทที่ 2 จนถึงบทก่อนสุดท้ายได้คะ

หรือเราเข้าใจอะไรผิด

ความคิดเห็นที่ 1
Qualitative Method?


ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
ส่วนตัว ไม่มั่นใจว่า จะเข้าใจถูกต้องหรือไม่
กับข้อสังเกตอย่างหยาบๆ และสิ่งที่คุณพยายามสื่อมา

ในการอ่านรายงานการวิจัย ถ้าอ่านข้ามไป
โดยไม่อ่านบางอย่างให้ละเอียด
อาจนำไปสู่การเข้าใจผิดบางอย่างได้

ส่วนใหญ่จะมุ่งเข้าไปอ่าน สิ่งที่ผู้วิจัยค้นพบ หรือที่เรียกว่า Research Findings
โดยไม่อ่านบทหรือตอนที่ว่าด้วย ระเบียบวิธีวิจัย หรือ Methodology
ที่ทำให้เข้าใจที่มาที่ไปของข้อมูล
เครื่องมือใช้ในการเก็บข้อมูล
การทดสอบสมมุติฐาน ที่จะนำไปสู่การสรุป คือ Findings

รายงานการวิจัยที่มีคุณภาพ ในบทต้นๆ มักจะบอกไว้อย่างละเอียด ว่า
รูปแบบของการนำเสนอข้อมูล จัดวางอย่างไร อะไรมาก่อนหรือหลัง
เช่นเริ่มด้วย บทนำ ที่มา หรือความสำคัญของปัญหา
วัตถุประสงค์การวิจัย ระเบียบวิธีวิจัย สิ่งที่ค้นพบ และการอภิปรายผล

รวมทั้งแนวทางการนำเสนอเนื้อหา ซึ่งในรายละเอียดจะแตกต่างกัน
ขึ้นกับสาขาวิชา แนวทางในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล
และการ Generalization สิ่งทีค้นพบ
ถ้ากลับไปอ่านสิ่งต่างๆดังกล่าว อย่างละเอียด
จะช่วยให้เข้าใจได้ว่า ทำไมเขาจึงทำอะไร อย่างที่เราได้เห็นและอ่าน

ถ้าเอารายงานการวิจัยสองฉบับมาวาง แล้วพิจารณาเปรียบเทียบกัน
มั่นใจว่า กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิส่วนใหญ่ จะชี้ได้โดยไม่ยาก
ว่า ฉบับไหนเป็นวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก ฉบับไหน เป็นเพียงสารนิพนธ์

การพิจารณา ต้องดู องค์ประกอบรวมทั้งหมดของรายงาน
โดยไม่คำนึงว่า มาจากมหาวิทยาลัยไหน สามารถบอกได้ไม่ยาก ว่า
ฉบับไหนเป็นวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก ฉบับไหน เป็นเพียงสารนิพนธ์
มันชัดเจนมากอยู่แล้วในรายงาน

ดังนั้น ถ้าหยิบเอาเพียงบางประเด็น
หรือข้อสังเกตเพียงหยาบๆมาพิจารณา
จะบอกหรือตัดสินอะไรไม่ได้
ขืนทำไป หน้าแตกครับ

ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
ชอบอ่าน comment คุณ newcomer จังเลยค่ะ ได้ความรู้ตลอด


ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
ไม่จริงอะ ไม่เชื่อ
จขกท อ่านละเอียดทุกหน้า ตั้งแต่ต้นจนจบรึเปล่า


ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
ความเห็น 4

มันไม่มีจริงๆค่ะ คนเขียนเขาก็บอกไว้ตั้งแต่บทนำเลยว่าเป็น document research และ personal interview เดี่ยวเราให้เพื่อนเราส่งไฟล์ไปให้คุณนะคะ เพราะเราก็อยากรู้เหมือนกันว่าทำไมมันไม่มี


ตอบกลับความเห็นที่ 5
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 6
หรือมีการวิเคราะห์ (ย้ำว่าวิเคราะห์ ไม่ใช่เล่าเรื่อง) โดยที่ไม่ต้องใช้ทฤษฎีคะ

คือไปเน้นที่โครง การเขียน และการยกตัวอย่างที่น่าเชื่อถือแทน


ตอบกลับความเห็นที่ 6
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 7
เป็นวิธีการแบบ Ethnography หรือเปล่าคะ ไม่ค่อยเชี่ยวชาญเรื่อง Qualitative Method แต่คร่าวๆ มันจะเหมือนการไปสัมภาษณ์ แล้วมาเล่าเรื่อง+ วิเคราะห์ อ้างอิงแนวๆ นั้นน่ะค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 7
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 8
เมลไปถาม อ ที่ปรึกษา/ อ ที่ตรวจ วิทยานิพนธ์เล่มนั้นเลย

ตอบกลับความเห็นที่ 8
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 9
ไม่เก่งเรื่องงานวิจัยนะครับ เคยทำตอนป.ตรีเป็นงานวิจัยทางมานุษยวิทยา วิจัยเชิงคุณภาพก็ทำแบบนี้ครับ
คร่าวๆบทแรกเป็นทฤษฎี บทต่อมาเป็นข้อมูล สุดท้ายก็เอาทฤษฎีมาจับวิเคราะห์ที่หลัง เล่มงานวิจัยจึงหนามากเพื่อนแต่ละคนมีงานวิจัยไม่ต่ำกว่า 150 หน้ากันทั้งนั้น เคยเห็นงานวิจัยบางเล่มมีเกือบพันหน้า


ตอบกลับความเห็นที่ 9
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 10
อยากลองอ่านบ้างค่ะ ขอชื่อหรือลิงค์ได้มั้ย เดี๋ยวหาโหลดเองก็ได้ ขอบคุณค่ะ

งานป.เอกไม่จำเป็นต้องเป็นงานทฤษฎีก็ได้นะคะ คือไม่จำเป็นต้องเป็นการจับเอาทฤษฎีมาเทียบกับสิ่งที่ได้ค้นพบ อย่างงานทางประวัติศาสตร์ก็อาจจะมีการค้นพบเอกสารใหม่ๆ ที่นำไปสู่การตีความอะไรใหม่ๆ โดยไม่ได้งานทฤษฎีก็ได้ บางคนใช้กรอบทฤษฎีในการมองประเด็นปัญหาหรือการทำความเข้าใจกับปรากฏการณ์ (เป็นกรอบในการวิจัย) และใช้เป็นแนวทางในการเขียน เคยอ่านงานบางคนที่ทฤษฎีมันแฝงอยู่ในการเล่าเรื่องน่ะค่ะ อ่านผ่านๆ ก็เหมือนเป็น discriptive เฉยๆ แต่พอกลับไปอ่านใหม่ปรากฏว่าเขาใช้กรอบทฤษฎีแฝงในการวิเคราะห์สิ่งที่เขาพบเห็นอยู่เต็มไปหมด

ขอชื่องานชิ้นที่ว่าหน่อยนะคะ เผื่อไว้อ่านเล่น :-)


ตอบกลับความเห็นที่ 10
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 11
คงบอกในนี้ไม่ได้ค่ะ เดี๋ยวโดนหาว่าหมิ่่นประมาท


คุณ Salin มีอีเมล์ไหมคะ เดี๋ยวเราส่งไฟล์นั้นให้เลย คุณจะได้ไม่ต้องเสียเวลาโหลดด้วย


ตอบกลับความเห็นที่ 11
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 12
เราอัศจรรย์ใจกับสารนิพนธ์ 30 หน้าของปริญญาโทมากกว่าค่ะ

แล้วลักษณะงานที่เจ้าของกระทู้ว่ามา เราไม่คิดว่ามีอะไรผิดปกตินะคะ

เคยอ่านวิทยานิพนธ์งานมนุษยวิทยาที่แม่ประธานาธิบดีโอบามาเขียน เธอบรรยายหมดว่า หมู่บ้านที่เป็นตัวอย่างในงานของเธอมีไก่กี่ตัว บ้านกี่หลัง ลักษณะบ้านเป็นอย่างไร ก็หลายร้อยหน้าอยู่นะ


ตอบกลับความเห็นที่ 12
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 13
ตอนนี้เราก็ทำสารนิพนธ์ ป.ตรีอยู่ค่ะ เป็นแนว Ethnography
บท1-2 เป็นที่มา+แนวคิดทฤษฎี
บท3เป็นประวัติสภาพชุมชน
บท4ก็เป็นเรื่องเล่าที่ไปสัมภาษณ์มาเลยค่ะ
ถอดความบทสัมภาษณ์ออกมาเลย
แม้แต่สีหน้า หรืออารมณ์ของคนที่เราไปสัมภาษณ์ ยังต้องบันทึกลงไปด้วย
บทนี้ประมาณ 20กว่าหน้า
บท5ค่อยมาสรุปกับทฤษฎีอีกที
ทำได้ทั้งเล่มประมาณ 60 หน้าอะค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 13