เผยชื่อ 70 รีสอร์ท-บ้านพักแบล็กลิสต์ อุทยานแห่งชาติทับลาน

ฝากไว้ให้ผู้รักการเดินทาง ท่องเที่ยว ใช้วิจารณญาณ และช่วยกันพิจารณาว่าควรจะเลือกใช้บริการหรือไม่
ผมคงไม่สามารถบังคับให้ใครทำตามได้ทั้งหมด เพราะความชอบเป็นเรื่องส่วนบุคคลครับ

เผยชื่อ 70 รีสอร์ท-บ้านพักแบล็กลิสต์

เมื่อวันที่ 1 ต.ค. นายเทวินทร์ มีทรัพย์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติทับลาน อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา และอ.นาดี จ.ปราจีนบุรี กล่าวว่า ในฤดูกาลท่องเที่ยวที่กำลังเริ่มต้นขึ้นตั้แต่เดือน ต.ค. เป็นต้นไป ซึ่งถือเป็นช่วงไฮซีซั่นของพื้นที่วังน้ำเขียว ที่ประชาชนและนักท่องเที่ยวนิยมเดินทางมาท่องเที่ยวสัมผัสธรรมชาติ อย่างไรก็ตามทางอุทยานฯ ทับลาน ขอประชาสัมพันธ์ไปยังนักท่องเที่ยวว่าขอให้ใช้วิจารณญาณในการเลือกพักรีสอร์ท และบ้านพักที่ถูกกฎหมาย เพราะขณะนี้ทางอุทยานฯ ทับลาน ได้จับกุมดำเนินคดีรีสอร์ทและบ้านพักที่บุกรุกพื้นที่ไปแล้ว 420 คดี หากนักท่องเที่ยวยังเข้าพักแม้ไม่ได้ทำผิดกฎหมายเอง แต่จะเป็นการส่งเสริมให้มีการบุกรุกพื้นที่ป่าทางอ้อมและปัญหาเหล่านี้จะวนเวียนกลับมาที่เดิมไม่จบไม่สิ้น

นายเทวินทร์ กล่าวว่า ทั้งนี้จากการจำแนกคดีที่ทางอุทยานฯ ได้แจ้งความดำเนินคดีกับบ้านพักและรีสอร์ทไปนั้น พบว่ามีพื้นที่ที่เป็นรีสอร์ทจำนวน 100 กว่าแห่ง ทั้งในส่วนที่คดีสิ้นสุดแล้วและที่เพิ่งจับกุมใหม่และขั้นตอนอยู่ที่พนักงานสอบสวน แต่ส่วนมากรีสอร์ทเหล่านี้ยังคงเปิดให้บริการอยู่

โดยสำหรับรีสอร์ทที่ยังเปิดให้บริการอยู่ที่ทางอุทยานฯ ทับลาน ได้แก่จำแนกออกมาเบื้องต้น จำนวน 70 แห่ง ได้แก่ เมืองในหมอก บ้านผางามรีสอร์ท ไร่หมูหวาน ไร่กฤษณวรรณ อิมภูฮิลล์ บ้านเล็กป่าใหญ่ บ้านสวนคุณยาย บ้านทอฝัน จังเกิลวิว บ้านไร่ภูวิว ภูไพรงาม ริมน้ำปลายภู บ้านไร่คุณผกา สวนสุขโข บ้านเทพพิทักษ์ ไร่แห่งขุนเขา ไร่รวิสรา บ้านกุ๋งกิ๋ง ละลานดาว บ้านคุณแอ๊ด บ้านหลานพระยา ไลฟ์สไตล์ โฮมสเตย์ ครัวขวัญลักษณ์ บ้านตามฝัน เลอคูลรีสอร์ท ภูผาวารี รีสอร์ท นุชนารถรีสอร์ท

บ้านสวนเทพารักษ์ ไร่ปารณีย์ อิงลมชมหมอก เกียรติ สรินทร์ ฮิลล์ ไร่พนาดาว เคียงหมอกชาเลห์ ต้นน้ำโฮมสเตย์ ทักษิณา การ์เดนท์ ชมจันทร์ฮัท รับลม-ชมดาว บ้านระเบียงลม เดือนกับตะวันไทยเยอรมัน เนินตะวัน บ้านสวนสงวนสุข บ้านสวนริมผา สวนอินทรา สวนผาสวรรค์ เนินดอกพุด ไร่กาแฟวังน้ำเขียว บ้านไม้ริมภู สวนเกตุฉาย 9 ตะวันพันดาว บ้านไร่คุณอนันต์ ตันตะวัน ศิริธาร นนทรีริมธาร ไร่ฟ้าเคียงดาว บ้านสวนไม้หอม ภูพฤกษา อิ่มอกอิ่มใจ ทรัพย์สุวรรณโฮมสเตย์ สวนทรัพย์รุ่งเรือง สวนหนึ่ง-นุช ไร่ภูพิมานหมอก โวคบัลลังก์เมฆ ภูผาแก้ว บ้านภูอารีย์รักษ์ ไร่ภูน้ำค้าง ร้านปิ่นแก้ว ไอโอโซน และ นนทรีสเต๊กฮัท

ทั้งนี้หากนักท่องเที่ยวไม่แน่ใจว่ารีสอร์ทแห่งใดอยู่ในพื้นที่อุทยานฯ บ้าง สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ที่ทำการอุทยานฯ ทับลาน อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี

ที่มา http://m.dailynews.co.th/thailand/158350

ความคิดเห็นที่ 1
เจ้าหน้าที่ทำงานอย่างเหน็ดเหนื่อยเพื่อทวงคืนผืนป่าของอุทยาน ส่วนเราๆท่านๆทั้งหลายก็สามารถช่วยกันได้โดยที่ไม่ไปพักรีสอร์ทที่ลุกล้ำผืนป่าอุทยาน ถือว่าเราได้ช่วยเหลืออุทยานในการทวงคืนผืนป่าของชาติ


ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
ขอไม่สนับสนุนรีสอร์ทใน Black list เพื่อร่วมทวงคืนผืนป่าอีกคนค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
ขอบคุณค่ะ ชิน
ป้าขอร่วม Black list ด้วยค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
(เพื่อจะได้อ่านง่ายๆ )
เมืองในหมอก
บ้านผางามรีสอร์ท
ไร่หมูหวาน
ไร่กฤษณวรรณ
อิมภูฮิลล์
บ้านเล็กป่าใหญ่
บ้านสวนคุณยาย
บ้านทอฝัน
จังเกิลวิว
บ้านไร่ภูวิว
ภูไพรงาม
ริมน้ำปลายภู
บ้านไร่คุณผกา
สวนสุขโข
บ้านเทพพิทักษ์ ไ
ร่แห่งขุนเขา
ไร่รวิสรา
บ้านกุ๋งกิ๋ง
ละลานดาว
บ้านคุณแอ๊ด
บ้านหลานพระยา
ไลฟ์สไตล์ โฮมสเตย์
ครัวขวัญลักษณ์
บ้านตามฝัน
เลอคูลรีสอร์ท
ภูผาวารี รีสอร์ท
นุชนารถรีสอร์ท


ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
บ้านสวนเทพารักษ์ ไ
ร่ปารณีย์
อิงลมชมหมอก
เกียรติสรินทร์ ฮิลล์
ไร่พนาดาว
เคียงหมอกชาเลห์
ต้นน้ำโฮมสเตย์
ทักษิณาการ์เดนท์
ชมจันทร์ฮัท
รับลม-ชมดาว
บ้านระเบียงลม
เดือนกับตะวันไทยเยอรมัน
เนินตะวัน
บ้านสวนสงวนสุข
บ้านสวนริมผา
สวนอินทรา
สวนผาสวรรค์
เนินดอกพุด
ไร่กาแฟวังน้ำเขียว
บ้านไม้ริมภู
สวนเกตุฉาย 9
ตะวันพันดาว
บ้านไร่คุณอนันต์
ตันตะวัน
ศิริธาร
นนทรีริมธาร
ไร่ฟ้าเคียงดาว
บ้านสวนไม้หอม
ภูพฤกษา
อิ่มอกอิ่มใจ
ทรัพย์สุวรรณโฮมสเตย์
สวนทรัพย์รุ่งเรือง
สวนหนึ่ง-นุช ไ
ร่ภูพิมานหมอก
โวคบัลลังก์เมฆ
ภูผาแก้ว
บ้านภูอารีย์รักษ์
ไร่ภูน้ำค้าง
ร้านปิ่นแก้ว
ไอโอโซน
และ นนทรีสเต๊กฮัท


ตอบกลับความเห็นที่ 5
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 6
แทบจะหมดวังน้ำเขียวอยู่แล้ว เหลือที่พักอะไรที่ไม่ผิดบ้างเนี่ย


ตอบกลับความเห็นที่ 6
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 7
ร่วมด้วยช่วยกัน คนที่ทำจะได้ไม่เกิด ไม่มีคนอุดหนุนก็ไม่มีกิจการพวกนี้ ผืนป่าก็จะมีให้เราเห็นอีกนาน


ตอบกลับความเห็นที่ 7
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 8

ชื่อที่พักดัง ๆ กันทั้งนั้นเลย เราก็สงสารเจ้าของเค้าน่ะ แต่เราอยากได้ป่าของเราคืนมามากกว่าค่ะ
ตอบกลับความเห็นที่ 8
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 9
ป่ากลายเป็นรีสอร์ท ภูเ่ขาทั้งลูก กลายเป็นรีสอร์ท

เพิ่งไปมา น้ำแดงๆ ไหลหลากท่วมถนน เพียงแค่ฝนตกนิดหน่อย

อีกหน่อยคงต้องรับกรรมที่ตัดไม้ทำลายป่ากัน


วังน้ำเขียวก็คงเหมือนกับอีกหลายที่ ที่ไม่มีวันเหมือนเดิมอีกต่อไป


ตอบกลับความเห็นที่ 9
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 10
หลายชื่อ คุ้นมาก


ตอบกลับความเห็นที่ 10
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 11
ช่วยๆๆกันนะ
อย่าไปพัก
อย่าสนับสนุนคนที่รุกที่อุทยานแห่งชาติ

เรียงตามลำดับอักษร

เกียรติสรินทร์ ฮิลล์
เคียงหมอกชาเลห์
เดือนกับตะวันไทยเยอรมัน
เนินดอกพุด
เนินตะวัน
เมืองในหมอก
เลอคูลรีสอร์ท
โวคบัลลังก์เมฆ
ไร่แห่งขุนเขา
ไร่กฤษณวรรณ
ไร่กาแฟวังน้ำเขียว
ไร่ปารณีย์
ไร่พนาดาว
ไร่ฟ้าเคียงดาว
ไร่ภูน้ำค้าง
ไร่ภูพิมานหมอก
ไร่รวิสรา
ไร่หมูหวาน
ไลฟ์สไตล์ โฮมสเตย์
ไอโอโซน
ครัวขวัญลักษณ์
จังเกิลวิว
ชมจันทร์ฮัท
ต้นน้ำโฮมสเตย์
ตะวันพันดาว
ตันตะวัน
ทรัพย์สุวรรณโฮมสเตย์
ทักษิณาการ์เดนท์
นนทรีริมธาร
นนทรีสเต๊กฮัท
นุชนารถรีสอร์ท
บ้านเทพพิทักษ์
บ้านเล็กป่าใหญ่
บ้านไม้ริมภู
บ้านไร่คุณผกา
บ้านไร่คุณอนันต์
บ้านไร่ภูวิว
บ้านกุ๋งกิ๋ง
บ้านคุณแอ๊ด
บ้านตามฝัน
บ้านทอฝัน
บ้านผางามรีสอร์ท
บ้านภูอารีย์รักษ์
บ้านระเบียงลม
บ้านสวนเทพารักษ์
บ้านสวนไม้หอม
บ้านสวนคุณยาย
บ้านสวนริมผา
บ้านสวนสงวนสุข
บ้านหลานพระยา
ภูไพรงาม
ภูผาแก้ว
ภูผาวารี รีสอร์ท
ภูพฤกษา
รับลม-ชมดาว
ร้านปิ่นแก้ว
ริมน้ำปลายภู
ละลานดาว
ศิริธาร
สวนเกตุฉาย
สวนทรัพย์รุ่งเรือง
สวนผาสวรรค์
สวนสุขโข
สวนหนึ่ง-นุช
สวนอินทรา
อิงลมชมหมอก
อิมภูฮิลล์
อิ่มอกอิ่มใจ


ตอบกลับความเห็นที่ 11
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 12
สงสัยต้องหาที่พักแถวๆ วังน้ำแดง แทนแหระ
หมดทั้งวังน้ำเขียว แบบนี้

ใครพอมีที่พักแถวๆวังน้ำแดง แนะนำบ้างครับ
นอกจาก แฟนต้า น้ำแดง รีสอร์ท แอนด์ สปา ?


ตอบกลับความเห็นที่ 12
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 13
^
^
วังน้ำแดง คงแนะนำไม่ได้ ... เพราะไม่รู้จัก
แต่ถ้าเป็น หลังคาแดง ... อันนี้พอแนะนำได้นะคะ เพราะไปบ่อย ๆ ค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 13
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 14
เสี่ยครับ น้ำแดง หมดแล้ว
ผมเหมาเอาไปไหว้ศาลพระภูมิ และกุมารทอง


ตอบกลับความเห็นที่ 14
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 15
ท่านนักเลงตะลอน งั้นผมขอ หนมถ้วยฟู แทนละกัน

nattynine แอบแรงส์ ง่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 15
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 16
"เวลาเวียน" หลุดโผแล้วเหรอครับ เห็นก่อนหน้านี้มีอยู่ 1 ในรายชื่อด้วย โดยส่วนตัวผมชอบเวลาเวียนมาก รีสอร์ทสวย บรรยากาศสงบ และการบริการดีและดีกว่าหลายๆที่ที่เคยไปพักในวังน้ำเขียวเลย พอได้ยินข่าวว่า"เวลาเวียน" มีอยู่ในรายชื่อ ก็นึกเสียดายเหมือนกัน เพราะสร้างไว้ซะดี ไม่น่าไปรุกที่อุทยานเลย

ตอบกลับความเห็นที่ 16
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 17
น่าจะบูรณาการการทำงานหน่อยนะครับ ส่งรายชื่อให้ทททและผู้จัดงานท่องเที่ยวทั้งหลาย ไม่ให้ไปร่วมงาน


ตอบกลับความเห็นที่ 17
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 18
สงสัยคงต้องไปกางเต๊นท์ที่อุทยานอย่างเดียว
(เยอะมาก)


ตอบกลับความเห็นที่ 18
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 19
"เวลาเวียน" อยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ เป็นอำนาจของกรมป่าไม้

ส่วนเรื่องที่จะห้ามให้รีสอร์ทเหล่านี้หยุดบริการ หรือไม่ให้ไปออกบูธขายที่พัก ตามงานท่องเที่ยวต่างๆนั้น คงจะห้ามไม่ได้ เรื่องนี้คงต้องขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของผู้บริโภคมากกว่านะครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 19
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 20
นายทุน ทำลายป่าสบายไป ขายให้พวกโลภหรือไม่รู้


ตอบกลับความเห็นที่ 20
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 21
ผมเชื่อว่า เจ้าของกิจการเหล่านี้รู้ว่ารุกล้ำที่อุทยาน แต่ด้วยความอยากได้และคิดว่าคงเคลียร์ทุกอย่างได้ หรือแม้แต่ว่าเส้นใหญ่พอคงไม่มีใครกล้ามายุ่ง ก็เลยไม่เกรงกลัว สุดท้ายพอเขาเอาจริงดิ้นไม่ได้ ไม่มีใครช่วย(ก็ใครจะไปช่วยล่ะเดี่ยวโดนด้วย) ก็ต้องออกมาปลุกระดมเจ้าของกิจการให้ลุกขึ้นมาต่อต้าน ช่างหน้าไม่ละอายอะไรเลย


ตอบกลับความเห็นที่ 21
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 22
...มาลงชื่อสนับสนุนการไม่สนับสนุนรีสอร์ทเหล่านี้ด้วยครับ...


ตอบกลับความเห็นที่ 22
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 23
จริงๆน่ามีรายชื่อที่พัก ที่เพื่อนๆเคยไปพักแล้วดีๆ แล้วไม่รุกที่ป่าสงวนด้วยก็ดีนะคะ

เราจะได้ไปช่วยใช้บริการให้มากขึ้น ^^


ตอบกลับความเห็นที่ 23
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 24
สรุปกางเต็นฑ์นอนดีก่า 55555555 สบายสุดๆ


ตอบกลับความเห็นที่ 24
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 25
เยอะมากๆ แต่ถ้ามีทริปไปวังน้ำเขียว-ทับลานจะเข้ามาเช็ครายชื่อกันอีกที เยอะแบบนี้ป่าหมดกันพอดี -"-


ตอบกลับความเห็นที่ 25
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 26
ผมว่า list รายชื้อที่สามารถเข้าพักได้ จะดีกว่านะ


ตอบกลับความเห็นที่ 26
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 27
เอาเท่าที่จำได้ว่าอยู่วังน้ำเขียว แล้วไม่อยู่ในลิสต์นี้...

เดินดินดูดาว (เพิ่งไปนอนมา ชอบค่ะ)
A Cup of Love
Living Hill
เวลาเวียน (จำได้มาเคยเห็นชื่อนี้ ติดลิสต์เมื่อปีที่แล้วด้วยนี่นา ??)
บ้านไร่คุณนาย (จำได้มาเคยเห็นชื่อนี้ ติดลิสต์เมื่อปีที่แล้วด้วยนี่นา ??)
Mahogany Hill
วิลล่าเขาแผงม้า

ปล. มิได้มีส่วนได้เสียแต่อย่างใดกับสถานที่ที่กล่าวถึง แต่เพิ่งไปมาเมื่อวันหยุด เลยจำได้ว่าผ่านตา ชื่ออื่นๆ รบกวนท่านอื่นๆช่วยกันเติมละกันค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 27
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 28
ตั้งแต่เกิดมายังไม่เคยไปนอนค้างวังน้ำเขียวเลยสักกะคืน ไปเที่ยวจริงๆจังๆก็ยังไม่

เคยไป พอคิดจะไปแล้วก็เห็นคนแห่ไป ถอดใจก่อนทุกที และก็คงเป็นแบบนี้ไปอีก

นาน ร่วมลงชื่อทวงคืนผืนป่าด้วยคน


ตอบกลับความเห็นที่ 28
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 29
นอนเล่นอยู่วังน้ำเมาบ้านเราต่อดีกว่า...เอิ๊ก


ตอบกลับความเห็นที่ 29
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 30
หลายแห่งตามที่ คุณ angelberry กล่าวถึงนั้น เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของกรมป่าไม้ครับ
ส่วน 70 แห่ง ตามข่าว เป็นพื้นที่ของกรมอุทยานฯครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 30
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 31
ดีใจที่ภูนรินทร์ยังไม่อยู่ในโผ ^^"


ตอบกลับความเห็นที่ 31
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 32
อ๊าก! ตกข่าว จองและจ่ายเงินไปแล้วด้วยสิ นึกว่าปัญหาเรื่องรีสอร์ทวังน้ำเขียวจบแล้วซะอีก แย่เลย


ตอบกลับความเห็นที่ 32
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 33
ขอบคุณคุณนักเลงตะลอน ตาม คห 30 ค่ะ เพิ่งรู้ว่า มันมีหน่วยงานแยกส่วนกันด้วย นึกว่า เค้าจะดูแลทั้งหมด ไม่ทราบว่าเค้าแบ่งโซนกันดูแล....

แล้วป่าสงวนนี่มันเป็นไงคะ ฟังดูแล้วหวงห้ามกว่าอุทยานอีกอ่ะค่ะ แล้วรีสอร์ทพวกนี้ถือว่าบุกรุกด้วยหรือเปล่าคะ ไม่อยากไปอุดหนุน คนที่บุกรุกป่าอ่ะค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 33
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 34
ขอสนับสนุนการแบนสถานประกอบการที่อยู่ในลิสต์ด้วยค่ะ

เพราะรายได้จากนักท่องเที่ยว เป็นน้ำเลี้ยงให้พวกเค้าอยู่ได้ และถ้ากลุ่มนักท่องเที่ยวที่รักธรรมชาติ ไม่แสดงพลัง ก็จะจูงใจให้รายอื่นๆ เข้ามาบุกรุกผืนป่า (ไม่ใช่แค่ที่วังน้ำเขียว) เพิ่มเติม ..

ปล. หลังจาก อธิบดีดำรงค์ เกษียณ แล้ว (ไม่รู้อนาคตจะเป็นไง) .. กระแสสังคมต้องช่วยกันจับตามอง และร่วมปกป้องเจ้าหน้าที่ที่กล้าปฏิบัติหน้าที่ ทำตามกฎหมายด้วยนะคะ


ตอบกลับความเห็นที่ 34
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 35
คคห 33

สำหรับประเทศไทย ป่าสงวนกลับมีกฎหมาย กฎระเบียบที่ถือว่าไม่เข้มข้นมากเท่าพื้นที่อุทยาน ค่ะ

รีสอร์ทที่อยู่ในเขตป่าสงวน ก็ถือว่าบุกรุกเช่นกันค่ะ แต่หัวข้อกระทู้นี้ แหล่งข่าวมาจากกรมอุทยานฯ จึงมีแต่รีสอร์ทที่อยู่ในเขตอุทยานฯ ค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 35
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 36
เข้ามาฟังค่ะ อยากให้มีการฟื้นฟูป่าที่ถูกบุกรุกจนหัวโกร๋นหมดแล้ว

ไม่สนับสนุนการรุกป่าสงวน รุกอุทยานแ่ห่งชาติค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 36
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 37
โหวตกระทู้นี้โลด !!!!!!!

วันก่อนเห็นข่าว เจ้าของรีสอร์ทที่กำลังถูกดำเนินคดี
เอาป้าย "เปิดบริการตามปกติ"
ไปปิดทับหมายศาลที่ จนท. เอาไปปิดไว้หน้ารีสอร์ทด้วยครับ
อหังการ์จริงๆ


ตอบกลับความเห็นที่ 37
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 38
ปีที่แล้วไปเที่ยววังน้ำเขียว แวะมาเช็คก่อนที่พักเรามีติดแบล็คลิสต์มั้ย
ปีที่แล้วไม่มี ปีนี้ก็ไม่มีเหมือนเดิม แอบดีใจ
ใครไปเที่ยวลองพักที่ ณริสาเพลสดูได้ค่ะ ไม่ได้เป็นม้านะ
จะบอกว่าเจ้าของใจดี ข้าวต้มตอนเช้าก็อร่อยมากๆเลยด้วย
ตอบกลับความเห็นที่ 38
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 39
กำลังจะตั้งกระทู้ ไม่ให้นักท่องเที่ยวไปอุดหนุนรีสอร์ทเหล่านี้อยู่เลย ดีจังที่เพื่อนมาโพสไว้แล้ว

สงสารคุณ ดำรงค์ พิเดช ที่ทำงานจนวันสุดท้ายก่อนอายุเกษียร ท่านเหนื่อยและต่อสู้กับคนที่รักแกธรรมชาติ ถ้าเรายังสนับสนุน ป่าไม้ก็คงหมด ไม่เหลือไว้ให้คนรุ่นหลัง

ขอร้องเถอะค่ะ ไม่ควรเข้าพัก ไม่ควรสนับสนุน เจ้าของรีสอร์ทคนพวกนี้เย้ยกฎหมายมากค่ะ ขนาดมีป้ายของกรมป่าไม้ปักอยู่ ก็ยังทำป้ายมาปิดทับ และบอกว่า ให้บริการตามปกติ แย่จังค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 39
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 40
อุทยานแห่งชาติเข้มงวด...ครับ แต่กรมป่าไม้หย่อนมาก ป่าดงมะไฟ แถว ต.มะเกลือใหม่ อ.สูงเนิน โคราช เห็นชาวบ้านบอกว่าป่าไม้เองเป็นคนชี้โพรงให้กระรอกบอกสามารถเข้าไปทำกินได้ จึงมีบ้านปลูกอยู่ริมผา ปลูกยางพารา กาแฟ มีรถไถไถที่แบ่งขายไร่ละเป็นแสนทั้งที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์เห็นแล้วเศร้าใจ...ขอให้กรมป่าไม้ช่วยตรวจสอบที...ครับ

ตอบกลับความเห็นที่ 40
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 41
ห้ามไม่ให้ออกบูทในงานที่จัดโดย ททท ทำไมจะทำไม่ได้ครับ
ในเมื่อคนมาออกทำผิดกฏหมาย ถ้าออกได้ผมออกบูทขายซอฟแวร์เถื่อน ออกบูทขายยาบ้า ก็ทำได้สิ....มันทำได้ถ้าจะทำครับ
ส่วนงานที่จัดโดยเอกชน ก็บอกไป ขอความร่วมมือ อันนี้จะบังคับไม่ได้แต่ขอความร่วมมือได้


ตอบกลับความเห็นที่ 41
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 42
อย่าแค่ลงชื่อ หรือทวงคืนผืนป่าบนหน้เวปกันอย่างเดียวนะคช่วยกันปลูกต้นไม้ด้วย แค่คนละต้นที่บ้าน และดูแลจนมันเติบใหญ่ แค่นี้ก็ถือว่าได้ช่วยอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว เหมือนอย่างชาน้ำเขียวที่เค้าช่วยกันปลูกป่าบนเขาแผงม้ามีหัวโล้นมีแต่หญ้าคา เพราะกรมป่าไม้ให้สัมปทานต้นไม้ใหญ่ถูกตัดจนหมดสิ้น แต่ไม่ปลูกคืน จนชาวบ้านและนักอนุรักษ์ท้องถิ่น นักเรียนจาก รร. วังพิทยาคม ช่วยกันปลูกจนได้ผืนป่าคืนมาให้กระทิงกลับมาอยู่ให้คนได้รู้จักวังน้ำเขียวขึ้นมา


ตอบกลับความเห็นที่ 42
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 43
ไปเที่ยววังน้ำเขียวมาเมื่อเดือนสิงหาพัก Casa pendio อยู่ซอย ต.ไทยสามัคคี เจ้าของอัธยาศัยดีมาก ^^


ตอบกลับความเห็นที่ 43
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 44
เหรียญมีสองด้านเสพสื่อควรพิจารณาผมสังเกตุสื่อนำเสนอข่าววังน้ำเขียวแต่ในทางลบ น่าจะลองถามคนพื้นที่ถึงความเป็นมาของที่ดินเค้าอยู่ ผู้ประกอบการลงทุนบ้านพักส่วนใหญ่ก็ถูกชักชวนจากภาครัฐทั้งนั้นเรื่องส่งเสริมการท่องเที่ยวชักชวนผู้คนมาลงทุนพอเกิดปัญหาไม่เห็นหน่วยงานไหนโผล่ศรีษะออกมาช่วยเหลือเลย แม้แต่คนในพื้นที่เองลงทุนประกอบการที่พักยังถูกกล่าวหาว่าเป็นนายทุนกรมอุทยานประกาศพื้นที่ทับที่อยู่อาศัยของชุมชนกว่า 80 ชุมชนทำไมไม่มีใครเสนอข่าว ปี43ภาครัฐและประชาชนได้ร่วมมือกันสำรวจและกำหนดแนวเขตพื้นที่อุทยานลงจุดพิกัด G.P.R.S อย่างชัดเจนมีเจ้าหน้าที่ของรัฐและภาคประชาชนเซ็นรับทราบอย่างชัดเจนและเสนอเรื่องเข้ารัฐบาลสมัยนั้นแต่ไม่ได้รับการแก้ไขเพราะบ้านเราเปลี่ยนรัฐบาลบ่อย ถ้ากรมอุทยานใช้กฎหมายปี24 ถ้าจะบอกว่าผิดก็ผิดกันทั้งอำเภอ โรงพยาบาลก็ผิด โรงพักก็ผิด สถานีอนามัยก็ผิด โรงเรียนก็ผิด อ.บ.ต.ก็ผิด เทศบาลก็ผิด 80 กว่าชุมชนก็ผิด ผิดทั้งหมดเพราะว่าสถานที่ทั้งหมดนี้ตั้งอยู่บนพื้นที่อุทยาน ลองคิดดูว่าวันใดวันหนึ่งบ้านที่ท่านอาศัยอยู่โดยชอบธรรมมีบ้านเลขที่มีน้ำมีไฟฟ้าใช้ตั้งแต่ปู่ย่าวันดีคืนดีกรมอุทยานมาประกาศบอกผิดเป็นท่านๆจะทำยังไงลองคิดดู


ตอบกลับความเห็นที่ 44
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 45
http://clip.thaipbs.or.th/home.php?vid=2288&ap=flase ข่าววัวน้ำเขียวครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 45
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 46
จำไม่ไหว ขอชื่อรีสอร์ท ที่เหลืออยู่หน่อยครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 46
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 47
จริงอย่างคุณคนเดินทางกล่าวมา สื่อก็เสนอข่าวกันไป บางช่องแทบไม่เคยได้ลงไปในพื้นที่จริงเลย ไม่เคยรู้ความเป็นมาในอดีตถึงปัจจุบันเลย แต่ประโคมข่าวเสียใหญ่โตอยู่เป็นเดือนๆ และนักข่าวบางคนก็กำลังโดนตรวจสอบและกดดันจากหลายฝ่ายอยู่ในขณะนี้ อย่างนี้กระมังที่เค้าเรียกว่ากรรมตามทันในชั่วพริบตา หรือจะเรียกว่า กรรมติดจรวดก็คงไม่ผิดนัก เป็นอุทาหรณ์ของการให้ทุกข์แก่คนอื่น โดยปราศจากความจริง


ตอบกลับความเห็นที่ 47
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 48
บริโภคข่าวกรุณาอย่ารับข่าวด้านเดียวที่กรมอุทยานให้ข่าว
โดยส่วนใหญ่ทั้งหมด ที่โดนกรมอุทยานแจ้งจับ 400-500 คดี นั้นทั้ง อ.วังน้ำเขียว แต่ทั้งรายชื่อที่กรมอุทยานประกาศอยู่ใน ต.ไทยสามัคคีเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจาก บริเวญนี้ มีประชากรอยู่ตั้งแต่ก่อนปี 2500 ก่อนตัดถนนสาย 304
และให้สัปทานตัดไม้จนเหลือแต่ป่าหญ้าคา แต่กรมป่าไม้ ประกาศป่าสงวนทับปี 2515 ทั้งหมดและประกาศอุทยานทับ 80 หมู่บ้านปี 2525 โดยได้มีการกันเขตชาวบ้านออกจากอุทยานต่อเนื่องถึงปี 2543 แต่กรมป่าไม้ไม่เอาเช้า ครม ภายหลังกระทรวงเกษตรยกที่ชุมชน และที่ ปฎิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร(สปก)ขึ้นเป็นมรดกโลกโดยยกรับเงื่อนไขกันเขต ชุมชลที่เกิดก่อนป่าเข้า แต่ไม่ทำจนปัจจุบัน ขอให้อ่านความจริง จากรายงานของ ผู้ตรวจการแผ่นดินเรื่องวังน้ำเขียว และรายงานคณะกรรมกฎหมาย ยุติธรรมและสิทธิมนุษย์ชน รัฐสภา จะพบความจริงที่ ถูกกรมอุทยานและ สปก ปกปิดมานาน


ตอบกลับความเห็นที่ 48
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 49
ภาพถ่ายทางอากาศกรมแผนที่ทหารปี 2513 เหนือเขาแผงม้า อ.ไทยสามัคคี เป็นป่าเสื่อมโทรม ป่าหญ้าคา หลังการให้สัมปทานตัดไม้โดยกรมป่าไม้ในพื้นที่ป่าดงพญาเย็นตั้งแต่ปี2500 หลังการตัดถนนสาย 304 ปี
2504 เริ่มมีเกษตรกร จากภาคกลางและภาคอีสานที่ไม่มีที่ทำกิน เข้ามาทำไร่ปลูกพืชเชิงเดียว เช่น ข้าวโพด มันสำปะลัง รวมกับชาวบ้านเดิมที่ อยู่มาก่อน ในสมัยสัมปทานทำไม้หมอนรถไฟและไม้ฟืนของกองทับภาคที่ 2
(2500-2510)ป่าเทือมโทรมจากการให้สัปทานตัดไม้ บางส่วนเป็นแหล่งทำฟืน เพราะยุคนั้นเรายังไม่มีแก็ซหุงข้าวแหล่งใหญ่ ในปี 2513 แทบจะหา ต้นไม้ใหญ่ที่วัดที่ความสูง 130 ซม จากโคนต้น ที่มีเส้นรอบวงมากกว่า 1 เมตร มากกว่าหนึ่งหนึงต้นในเนื้อที่ หนึ่งไร่ ในเนื้อที่ หลายหมื่นไร่ไม่ได้ อันนับว่าไม่ใช่ป่าอนุรักษ์ ที่สามารถประกาศอุทยานได้


ตอบกลับความเห็นที่ 49
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 50
ปี 2520 ด้วยปัญหาผู้ก่อการร้าย เนื่องจากดงพญาเย็นมีอาณาเขตติดต่อกับ ตาพระยาและประเทศ กัมพูชาโดยสามารถเดินทางทางเท้าถึงกันได้ แม่ทัพภาค 2 จึงย้าย ชาวบ้านที่อยู่เดิม บนเขาวัง มูลสามง่าม(เขาซับเต่า) ลงมาตั้งหมู่บ้านไทยสามัคคึ หมู่1 โดยเนื้อที่หมู่บ้านไทยสามัคคี( เนื้อที่ 2,500 ไร่)คร่อมสองจังหวัด (ก่อนปี2520)หมู่บ้านไทยสามัคคี ตอนเหนืออยู่ใน จ.นครราชสีมา เรียกว่า ป่าวังน้ำเขียว 1 ส่วนทางด้านทิศตะวันออก ตะวันตก(รวมทั้งถนนเข้าหมู่บ้านไทยสามัคคี ที่สร้างโดยกองทัพภาค2) ทิศใต้ อยู่ในเขต จ.ปราจีนบุรี ที่เราจะเรียกว่า ป่าวังน้ำเขียว2 บริเวณนี้ทั้งหมดบังคับโดยเขตธรรมชาติเป็นทุ่งหญ้าคา และหน้าฝาสูงไม่สามารถขยายเนื้อที่ได้พลโท เปรม ติงสูญญาณนท์(ยศขณะนั้น) โดยกรมป่าไม้และสำนักงานปฎิรูปที่ดิน(สปก) ให้ดำเนินการออก สปก ทั้งสองแปลงเป็น หมู่บ้านไทยสามัคคี กรมป่าไม้ส่งมอบที่ดินป่าวันน้ำเขียว 1 ให้ สปก ปี 2528 จนปัจจุบันยังไม่เสร็จ ส่วนป่าวังน้ำเขียวที่สอง สปก ไม่มีการทำการออก สปกใดๆไม่ทราบว่าด้วยเหตใด ปี 2525 กรมอุทยานออก เขตอุทยานทับที ป่าวังน้ำเขียว 2 ที่ชาวบ้านอยู่, และด้วยความตกลงปี 2538 ให้ที่ที่ สปกทำไม่เสร็จเป็นของ กรมป่าไม้และ กรมอุทยานทั้งหมด รายชื่อที่กรมอุทยานประกาศ 70 กว่ารีสอรต์อยู่ในเขต ป่าวังน้ำเขียว 2 ทั้งหมด นี้คือส่วนหนึ่งของปัญหาที่ กรมป่าไม้ (ภายหลังแยกเป็นกรม อุทยาน) และ สปก สร้างมา มีความจริงอีกเยอะ ครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 50
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 51
ผังการรังวัดเขต ที่ดำเนินการโดย กรมป่าไม้ กับ สปก เพื่อ ออก สปก ในส่วนของ เขตปฎิรูปที่ดิน ในเขตจังหวัด นครราชสีมา ที่ในส่วนของ ป่าวังน้ำเขียว 1 ที่สปก ดำเนินการ ปฎิรูปที่ดินไปเกือบหมดแล้ว แต่เนื่องจาก เมื่อตอนจัดตั้งหมู่บ้านไทยสามัคคี บางส่วนคร่อมเขต จ.ปราจีนบุรี และกรมป่าไม้ประกาศเขต อุทยานทับลานในปี 2525 แล้วจึงส่งมอบพื้นที่ในส่วนเขตป่าวังน้ำเขียว 1 ให้ สปก ดำเนินการในปี 2528 ทำให้ สปก ไม่สามารถออก สปก ในเขตป่าวังน้ำเขียว 2 ที่เป็นป่าเสือมโทรมหลังการให้สัมปทานตัดไม้ได้ และกรมป่าไม้ยึดคืนกลับ เป็นส่วนของอุทยานทับลานและชาวบ้านอื่นนอก หมู่บ้านไทยสามัคคี อีก 80 หมู่บ้าน


ตอบกลับความเห็นที่ 51
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 52
เขตสีน้ำตาลที่เรียกว่า ป่าวังน้ำเขียว 2 ละครับที่ กรมอุทยานแจ้งจับ มากกว่า300 รายทั้งชาวบ้านที่อยู่เดิม ชาวบ้านที่มาทำสวน และชาวบ้านที่มาอยู่ใหม่ ใครที่บ้านสวยหน่อยแม้ไม่เป้นรีสอรต์ ก็โดนแจ้งความจับไปด้วย

ตามรูปที่แนบนี้ รูปแรกที่เป็นสีฟ้าคือแนวเขตที่เป็นสี่เหลืองใน รุปที่สอง กรมอุุทยานก็แจ้งความจับ หลายร้อยครอบครัวที่มี บ้าน ถนน ประปา ไฟฟ้าที่หน่วยงานของรัฐ จัดการให้เป็น ชุมชน ตามการประกาศของกรมการปกครอง ก่อนการตั้งอุทยานทับลาน ความจริงข้อนี้ กรมอุทยานไม่ค่อย ประกาศให้บุคคลภายนอกทราบ


ตอบกลับความเห็นที่ 52
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 53
เพราะกรมอุทยาน ในสมัยเป็นกรมป่าไม้ได้วางแผนตั้งอุทยานแห่งชาต คร่อมเขตหมูบ้าน ทั้ง 80 หมู่บ้าน ทั้งแต่ปี 2520-2525
โปรดดู ผังการจัดตั้งอุทยานทับลานโดยไม่ได้ กล่าวถึงหมู่บ้านและชุมชนที่อยู่ก่อนแล้ว


ตอบกลับความเห็นที่ 53
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 54
ลองดูรูปนี้ซิ


ตอบกลับความเห็นที่ 54
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 55
ยุคนี้ การทำลายบุคคลหรือชื่อเสียงใช้สื่อเป็นหลัก
มันไม่ได้หมายความว่า สื่อที่เราได้รับทราบมาไม่ว่าจะจัดตั้งก็ดี ไม่ทราบก็ดีอาจจะถูกต้องเสมอไป จงอย่างเชื่อในสิ่งที่ผมพูดแต่ หาข้อมูลมาประกอบ การจัดตั้งอุทยาน ทำได้และเป็นสิ่งที่ดี และผมเห็นด้วยถ้าเป็นป่าสมบูรณ์และต้องอนุรักษ์ให้ อนุชนรุ่นหลัง


ตอบกลับความเห็นที่ 55
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 56
กรมป่าไม้โดยกระทรวงเกษตรก็ ได้ทำการยกอุทยานทับลาน (รวม เสิงสาง ครบุรี) อุทยานเขาใหญ่ เป็นอุทยานดงพญาเย็น ขึ้นเป็นมรดกโลก กับ
Unesco ทีเป็นสิ่งที่ดีและผมเห็นด้วย และในเอกสารของ Unescoที่ออกโดยรัฐบาลไทย ก็ยืนยันกับ คณะกรรมการมรดกโลกว่าจะกัน ชึมชนออกไป จากอุทยานทับลาน จนเดือนมีนาคม 2555 คณะกรรมการมรดกโลก เข้ามาเร่งรัด กรมอุทยานเรื่อง การลดความเร็วของรูในถนน 304 ทางสัตว์ป่าเดินข้าม กม 26-29 รวมถึงการกันชุมชนออกจากป่ามรดกโลก เพราะว่า
ชุมชนได้มีมาก่อนการตั้งอุทยานรวมทั้งหลายชุมชน ในอ.วังน้ำเขียวที่ กรมอุทยานกล่าวหาว่าบุกรุก กรุณาดูสีชมภู ที่แสดงว่า รัฐบาลไทยต้องกันออกจาก อุทยานทับลาน


ตอบกลับความเห็นที่ 56
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 57
รัฐบาลไทยยอมรับกับ Unesco ว่าการประกาศเขต ป่ามรดกโลกดงพญาเย็น ที่รวมอุทยานทับลานไป(โดยประกาศอุทยานคร่อมชุมชน 80 หมู่บ้านแต่ที่สหบาทามากที่สุดคือหมู่บ้านไทยสามัคคี โดยผมยังจนด้วยเกล้า )
ได้แจ้งกับ Unesco ว่าจะกันชุมชนและหมู่บ้านออก เมื่อไม่กีปี่นี้เอง แต่ผู้มีอำนาจบอกว่าประชาชน ที่อยู่มาก่อนรุก อุทยาน ดังนั้นต้องลื้อออกไปให้หมดโดยปราศจากคุณธรรมและความจริง ไม่ยังงั้น จะถูก สหประชาชาติ โดยคณะกรรมการมรดกโลก ของ Unesco ถอดไทย จากมรดกโลก ทั้งอาจจะกระทบกระเทือนปัญหา มรดกโลกเรื่อง เขาพระวิหารด้วยหรือเปล่าวไม่ทราบ ดูสีชมภูในเอกสารรัฐบาลไทยยื่นต่อ Unesco เอกสารฉบับนี้คนจำนวนมากที่เกี่ยวพันในเรื่องนี้ รวมท้้งในรัฐสภาทราบหมดแล้ว เพียงรอให้ความจริงปรากฏ


ตอบกลับความเห็นที่ 57
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 58
สีเหลือง ในส่วนของอุทยานทับลานที่จะต้องกันออก เนื่องจากเป็นชุมชน
และ อยู่มาก่อนการประกาศอุทยานทับลาน โดยส่วนใหญ่เป็น ที่ สปก มีจำนวนไม่มากที่เป็นส่วนที่ เป็น บภท5 ที่โชคร้ายไม่ได้ นส3ก ปี 2517 ประกอบกับการยกเลิกการให้ สค1 อันเป็นเหตุให้กรมอุทยานใช้เป็นเหตุผลรังแก ชาว อ.วังน้ำเขียว ขอยืนยันว่าป่าใน อ.วังน้ำเขียวได้หมดไปตั้งแต่กรมกรมแ่าไม้ให้ บ.ปราจีนบุรีทำไม้ และ บ. ราชสีมาค้าไม้ได้สัปทานตัดไม้ใน บริเวณนี้จนหมดสิ้น ก่อนปี 2510 เหลือแต่ป่าหญ้าคา คนวังน้ำเขียวต่างหากที่ช่วนปลูกต้นไม้จนผลิกฟื้นมาเขียวชอุ่มในวันนี้


ตอบกลับความเห็นที่ 58
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 59
ปัญหาใน อ.วัน้ำเขียวแยกเป็นสามส่วน
ส่วนแรก ฝั่งซ้ายของถนนไป เขาใหญ่ด้านเขาแผงม้า ที่รีสอรต์มีชื่อหลาย
แห่ง เช่น a Cup of Love ,เวลาเวียน วิลล่าเขาแผงม้าและอีกหลายสิบราย มีปัญหากับกรมป่าไม้ ที่มีการแจ้งความเหมือนกัน แต่ต้องต่อสู้ในเรื่องข้อกฎหมายต่อไป เพราะสามารถพิสูจน์ได้ว่ามีการอยู่อาศัยกันมานาน แต่การปล่อยปละละเลยของเจ้าหน้าทีทำให้ปัญหารุนแรงขึ้น ผู้ประกอบการไม่ได้ผิดเสียทั้งหมด คล้ายปัญหาของเขาใหญ่และรีสอรต์ขนาดยักษ์หลายอันที่กรมป่าไม้ไม่ค่อยอยากพูดถึงนัก ส่วนนี้ก็ถูกตัดไม้เหลือป่าหญ้าคาเหมือนกัน

ส่วนที่สอง ฝั่งขวาของถนนไปเขาใหญ่ในส่วนที่เป็นป่าเสื่อมโทรมจากสัปทานตัดไม้ สปก ไปปฏิรูปที่ดิน มีรีสอรต์ ที่พัก สวนเกษตรมากมายแต่ด้วยปัญหาความล้าสมัยของกฎหมาย สปก ที่ผู้ครอบครองต้องเป็นเกษตรเท่านั้น และต้องจน มีรายได้เกินปีละ สามหมื่นบาทไม่ได้ มีผู้ครอบครองส่วนนี้รายร้อยรายมีปัญหาและกรมอุทยานยัง ยกเขตปฏิรูปที่ดินกลับไปเป็นเขตอุทยานมรดกโลกอีก ส่วนนี้ก็สนุกมาก สปก กำลังดำเนินการถอนสิทธิ
ขอเป็นกำลังใจให้ผู้อาศัยส่วนนี้ จงเป็นเกษตรและจน จนตายต่อไป

ส่วนที่สามฝั่งขวาถนน 304 ที่ไปโคราช คือเขต อ.ไทยสามัคคี ที่ผมกล่าวละเอียดไปแล้ว รอให้ความจริงปรากฎจะรู้ว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐรังแกประชาชน หลายหมื่นครอบครัวอย่างไร ขณะนี้อากาศเย็นแล้วอยากไปที่ไหนก็ไปเถิด เพื่อให้เขามีการดำรงชีวิตอยู่ รอด เมื่อพวกเขาไม่ได้รุกป่า แต่อุทยานมารุกเขา กรุณาหาอ่านจาก รายงานของผู้ตรวจการแผ่นดินด้วยครับ ท่านศรีราชา ได้อธิบายปัญหาว่าหน่วยงานของรัฐบกพร่องชัดเจนมาก


ตอบกลับความเห็นที่ 59
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 60
ขอบคุณ คุณคนรักธรรมชาติ นะคะที่ลงข้อมูลโดยละเอียดให้อ่าน ได้ความรู้เพิ่มขึ้นเยอะเลยค่ะ พี่ แต่จะมีสักกี่คนหนอที่จะอ่านจนจบ เพื่อให้ทราบข้อเท็จจริง


ตอบกลับความเห็นที่ 60
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 61
ความจริงต้องเป็นความจริงมิฉนั้นแล้ว สังคมนี้ ประเทศนี้จะอยู่ไม่ได้
เป็นที่หน้าเสียดายที่สังคมเรา ปล่อยให้คนทุจริตบางพวกถือโอกาสใช้สื่อหรือ Social Media ผิดปกติ ปราศจากความยุติธรรมต่อ ชาวบ้านที่อยู่อาศัย อ.วังน้ำเขียวตั้งแต่ก่อนปี 2510โดยขาดเหตุผล สิ่งใดที่อยากให้สังคมทราบแม้ว่าบิดเบือน ปกปิด การแอบซ่อนความไม่จริงไม่ให้สังคมทราบ รวมทั้งพยายามกระพือ ความไม่ถูกต้องให้กระจายไปในสังคม สิ่งนี้เป็นสิ่งน่ากลัว โปรดช่วยกันรักษาบ้านนี้ให้คนไทยทุกคนด้วย จนผมคิดว่าต้องเอาความจริงทั้งสองด้านมาเปิดเผย ผมติดตามเรื่องนี้โดยละเอียดมากกว่าหนึ่งปี ศึกษาภาพถ่ายทางอากาศโครงการ VAP-61,โครงการ นส3ก,ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญแปลภาพถ่ายทางอากาศ และตรวจสอบแผนที่ถอยหลังถึงปี 2500(L708,L1707(ถูกยกเลิก),L1708 มติครม ตั้งแต่ปี 2515 หนังสือในห้องสมุดของกรมป่าไม้้ และกรมอุทยาน ความจริงอ.วังน้ำเขียวเนื้อที นอกเขต สปก มีนิดเดียว(แต่มีคดีความมากกว่า 400 คดี)ส่วนใหญ่เนื้อทีบังคับรุกป่าหญ้าคาไม่ได้ มันตกเหว หรือชนภูเขาสูง อันเป็นความฉลาดของ พลโทเปรม (แม่ทัพภาคสอง ปี 2520)ตอนจัดตั้งหมู่บ้านไทยสามัคคี มีที่ดินน้อยกว่า 5%ใน ต.ไทยสามัคคี ที่รุกอุทยาน(ตามแนวเขต 2543) ที่ต้องดำเนินการตามกฎหมายโดยเด็ดขาด โดยให้กรมป่าไม้(หลังยุบกรมอุทยาน)ดำเนินการโดยด่วนหลังสรุปแนวเขตอุทยานทับลานตามความจริงตามข้อเสนอแนะของ กรรมาธิการยุุติธรรมรัฐสภาและผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อรักษาอุทยานทับลานให้อนุชนรุ่นหลัง ในส่วนนี้กรมป่าไม้มีภาพถ่ายทางอากาศปี 2541อยู่แล้ว ส่วนเรื่องเขาแผงม้าเป็นส่วนของกรมป่าไม้ โดยจากภาพถ่ายทางอากาศปี 2513(VAP-61)และแผนที่ L708 และแนวเขตปี 2543 กรมป่าไม้ก็มีข้อมูลอยู่แล้ว ปัญหาด้านเขาแผงม้าจะทุเลาลงเยอะ ถ้าใครรุกป่าผิดหลักการก็ต้องว่ากันโดยกฏหมายอย่างเด็ดขาด จะต้องฟ้องเพื่อผลของกฎหมายที่จะลื้อก็ต้องฟ้อง ส่วนทีในเขต สปก ที่มีเนื้อที่มากที่สุด ถ้ายังไม่มีการแก้คำจำกัดความของ"กสิกร"ตามกฏหมายปฎิรูปที่ดิน ที่ล้าสมัยไปหน่อย ก็ต้องว่าไปตามกฏหมายต่อไป


ตอบกลับความเห็นที่ 61
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 62
ภาพถ่ายทางอากาศโดยรัฐบาลไทยให้ อเมริกา ทำให้โครงการ VAP-61 ปี 2513 จุดที่เป็น เนินภูเขาคือ บริเวณ ตลาด 79 อ.วังน้ำเขียวในปัจจุบัน ปี 2513 ยังไม่มีการประกาศป่าสงวนวังน้ำเขียว (ปี 2515)
และยังไม่มีการประกาศอุทยานทับลาน ธันวาคม 2524
หลังการให้สัปทานป่าไม้โดย กรมป่าไม้ ปี 2504 แก่ บ.ราชสีมาทำไม้ในเขต อ.ปักธงชัยทั้งหมด แสดงให้เห็นว่าป่าบริเวณนี้ เป็นป่าเสื่อมโทรม หลังการให้สัมปทานตัดไม้ มีชาวบ้านจำนวนมากทำไร่ด้วยมือ ทั้งในส่วนเขาแผงม้า บ้านสวนฮ้อม บ้านบุไผ่ บ้านบุไทร บ้านคลองไทร บ้านคลองกระทิง


ตอบกลับความเห็นที่ 62
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 63
ภาพถ่ายทางอากาศ VAP-61 ปี 2513


ตอบกลับความเห็นที่ 63
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 64
แผนที่ L708 ปี 2500 แสดงแนวเขต อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา ด้านบน และ อ.กบินทรบุรี จ.ปราจึนบุรี ด้านล่างของ เส้นแบ่งเขต ปี 2515 กรมป่าไม้ ประกาศเขตป่าสงวนทับลาน ทับเขตชุมชน ตามภาพถ่ายทางอากาศ VAP-61 (ปี 2513)บนขวาที่หลังปี 2520 บริเวณเดียวกัน ถูกกันเป็นเขต สปก กรมป่าไม้คืนให้ สปก ปฎิรูปที่ดินปี 2528 ด้านล่างของแผนที่ L708นี้ กองอุทยานโดย นายผ่อง เล่งอี่ ที่มีความหวังดีที่ไม่สามารถหยุดการตัดไม้ หลังจากการให้สัมปทานตัดไม้ ประกาศเขตอุทยานทับลานขื้นมาชน จนจรดแนวเขาสลัดไดเพื่อพยายามอนุรักษ์ไปไว้ โดยไม่การสำรวจพื้นที่จริง ผมขอบคุณผ่องเล่งอี้ที่ประกาศอุทยานรักษาป่า แต่ผมตำหนิที่ได้มีการสำรวจแนวเขตจริง และกันเขตที่ทับเขต 80 ชุมชนเป็นเวลา 30 ปี


ตอบกลับความเห็นที่ 64
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 65
แผนที่ L708 ปี 2500


ตอบกลับความเห็นที่ 65
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 66
ปี 2518 กรมที่ดิน บินสำรวจทำภาพถ่ายทางอากาศเนื่อที่ที่ชาวบ้านครอบครองที่ดินที่ไม่ได่เป็นป่าสงวนตามประกาศป่าสงวนทับลาน ปี 2515 ตามแผนที่สำรวจ นส3 ( NS-3 วันที่29 มกราคม 2518) แต่กรมป่าไม้ไม่ยอยให้ ออก นส3


ตอบกลับความเห็นที่ 66
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 67
ครึ่งบนของภาพถ่ายทางอากาศปี 2518 เป็นป่าเสื่อมโทรม จ.นครราชสีมา ตอนหลังเป็น เขตหมู่บ้าน ไทยสามัคคี หมู่ 1,11
ด้านล่างของภาพก่ายทางอากาศเป็น ป่าเสื่อมโทรม ในส่วน จ.ปราจีนบุรีเดิม ก่อนแนวเขตเลื่นลงเขตปัจจุบัน ที่กองอุทยานประกาศ เขตอุทยานทับลานทับชุมชมในเขตป่าเสื่อมโทรมที่ไม่สามารถประกาศเป็นป่าอนุรักษ์ได้ เดือนธันว่าคม 2524 แต่กองอุทยานปีนั้นประกาศอุทยานโดยการนินสำรวจไม่มีการรังวัดสำรวจติดหมุดจริง

ปึ 2554 กรมอุทยานใช้แผนที่ L7017 ปี 2520 สวมทับ L708 ไล่จับประชาชน


ตอบกลับความเห็นที่ 67
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 68
ภาพถ่ายทางอากาศ LRP1 ปี 2526ของหมูบ้านไทยสามัคคี ที่จัดตั้งโดย กอรมน และกองทัพภัพภาค 2 โดยจากภาพนี้ มุมบนด้านซ้ายของหมู่บ้านไทยสามัคคีหมู่ 1,11 ทีอยู่ในเขต จ.นครราชสีมาเดิมตามL708 และต่อมาปี 2520 พลโทเปรม ได้กันส่วนบนที่เรียกว่าป่าวังน้ำเขียว 1 และส่วนที่เหลือ 75% ของภาพนี้และรวมส่วนอื่น(โปรดไปดูภาพที่ผมโพสแรกๆ) เรียกว่า ป่าวันน้ำเขียว2 ให้ สปกไปปฎิรูปที่ดินทั้งหมด ปี 2528 กรมป่าไม้คืน 25% ให้สปกไป แต่อีก 75%ไม่ยอมให้ คืนและปี 2538 ด้วยความตกลง กรมป่าไม้ สปก เอาที่ไม่ได้ออก สปกคืนที่ทั้งหมด เขตที่เหลือทั้งหมดถูกประกาศเขตอุทยานทับลานทับธันวาคม 2524 เจ้ารีสอรต์ที่ กรมอุทยานเลือกประกาศห้ามเข้าพัก 70 แห่ง ก็อยู่ในเขตนี้จำนวนมาก ข้อมูลมีมากกว่านี้อีกเยอะ แค่นี้ก็อธิบายถึงการกระทำของกรมอุทยานในสองปีนี้ที่รู้ข้อมูลทั้งหมดแต่ใช้พวกท่านและ สื่อมวลชนทำร้ายประชาชน กว่าหมื่นครอบครัวใน อ.วังน้ำเขียว


ตอบกลับความเห็นที่ 68
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 69
แผนที่ L7018 ปี 2540 จุดสี่เหลี่ยมสีดำทีเห็นอยู่ทั่วไปเป็น บ้านคนกระจัดกระจายอยู่ในหมู่บ้านไทยสามัคคี ความจริงมีหลายร้อยครอบครัวไปตามถนนที่แม่ทัพภาค 2 และกรอมนสร้าง(ถนนสาย 3200)ถึงถนนสาย304 และต่อมาปรับปรุงโดยต่อเนื่องโดย กรมทางหลวงชนบท สงสัยว่าป่าสงวนทำไม รัฐมาทำถนนให้ในป่าสงวนให้คนรุกป่าตั้งแต่ปี 2520 คุณเทวินทน์ มีทรัพย์แห่งอุทยานทับลาน และคุณอนุวัฒน์ ที่ให้ข่าวกับพวกท่านไม่ได้เอาความจริงทั้งหมดมาพูด โดยความจริงแล้วชาวบ้านอยู่บริเวณนี้ก่อนป่าสงวนและอุทยาน ถ้าเป็นจริงตามกรมอุทยานตามกฎหมายอุทยาน ใครๆก็อยู่ไม่ได้ตั้งแต่ปี 2524 ถ้ารุกอุทยานทับลานจริงต้องทำทะเบียน ประวัติและควบคุมประชากร แต่กรมป่าไม้กับกรมอุทยานก็รู้ว่าตัวเองผิด จึงปล่อยมาสามสิบปี ไม่ทราบด้วยเหตุผลใดๆ ตอนนี้อยากได้ที่ดินที่ชาวบ้านปลูกต้นไม้จนสมบูรณ์กลับ อ้างว่าเป็นที่ของนายทุนรุกป่า เวลาพานักข่าวนั่ง ฮ.ดูสถานที่ก็พาไปดูบริเวณ สปก ทีปลูกได้แค่มันสำปหลัง ไม่ใช่เขตนี้ แต่ทั้งหมดบริเวณนี้ไม่ได้เป็นนายทุนรุกอุทยาน หลังเวลาหลายสิบปีคนเรามีความขยันก็ฐานะก็ดีขึ้น มีบ้านดีขึ้นก็ถูกจับ บางคนทำเกษตรทั้งชาติก็จนก็ขายที่ที่ไม่รุกป่าใช้หนี้ให้ผู้อาศัยใหม่ ผู้อาศัยถูกเลือกจับกุมเพื่อแยกปลาแยกน้ำให้เหลือแต่ชาวบ้านที่จะไม่มีกำลังสู้ในภายหลังข้าราชการจะทำอะไรต่อไปก็ได้ ฝากๆความจริงให้ทุกคนและขอความกรุณาเอาความจริงนี้ไปให้คนรู้จักทราบต่อไป ข้อมูลต่างๆสามาถรถดูได้เพิ่ม จากรายงานผู้ตรวจการแผ่นดินที่มีหน้าที่ตรวจสอบ การทำงานของรัฐและรายงานของ คณะกรรมการกฎหมายยุติธรรมและสิทธิมนุษญชน รัฐสภา


ตอบกลับความเห็นที่ 69
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 70
เขตที่ หัวหน้าอุทยานทับลาน คุณเทวินมีทรัพย์ และรองหัวหน้าอุทยานทับลาน แจ้งจับผู้อาศัยในหมู่บ้านไทยสามัคคีในรอบที่สอง ร้อยกว่าราย กลางปีนี้แต่ประกาศ ห้ามไม่ให้คนใช้บริการ 70 รายเลือกปฏิบัติโดยหาว่าเป็นนายทุน ทั้งที่จำนวนมากในรายการนี้ถือบัตรประชาชน อ.วังน้ำเขียวและอยู่อาศัยมามากกว่าสอบปี อยู่ในเขตที่เป็นหมู่บ้าน ถนนสร้างโดยกรมทางหลวงชนบท มีวัด มีโรงเรียนมี
อบต ให้ลองเปรียบเทียบกับแผนที่ปี 2520 ที่ พลโทเปรม(แม่ทัพภาค 2)จัดคั้งหมู่บ้านไทยสามัคคี มีทั้งสองส่วนที่อยู่ จ.นครราชสีมา (ป่าวังน้ำเขียว 1)และส่วนที่ อยู่ จ.ปราจีนบุรี (ป่าวังน้ำเขียว2) ที่ต้องปฏิรูปที่ดินทั้งสองส่วน อันหาเป็นป่าอนุรักษ์ที่เป็นอุทยานไม่


ตอบกลับความเห็นที่ 70
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 71
โดยกรมอุทยานอ้างแผนที L7017 (แผนที่ที่กรมแผนที่ทหารให้ยกเลิกการใช้เพราะผิดพลาด) อ้างว่าเขตป่าอนุรักษ์ของกรมอุทยานเป็นแนวพื้นที่สีเขียว ที่จะนำมาโพส์นี้ที่หามีหลักเขตปักให้ทราบไม่ มีแต่ในแผนที่ที่สร้างขี้นเอง (กลับไปดูระเบียบในการตั้อุทยานต้องมีการ สำรวจการรังวัดกับ ชุมชนมีการฝังหมุดและไม่มีปัญหากับชุมชน)

อนิจจา ข้าราชการของรัฐ รังแกประชาชนมากว่าสามสิบปี และยังพยายามสร้างความเท็จมารังแกประชาชนต่อไป เหตุการณ์แบบนี้ไม่ได้เกิดที่ อ.วังน้ำเขียวที่เดียวแต่ยังเกิดทั่วประเทศไทย


ตอบกลับความเห็นที่ 71
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 72
โดยคุณนุวัฒน์ รองหัวหน้าอุทยานทับลาน กางแผนที่ L7017 ทีกรมอุทยานไม่เคยมีการปักแนวเขต อุทยานทับลานเลย (สามารถ สอบ ถามอดึต อธิบดี กรมป่าไม้ นายผ่อง เล่งอี้ที่เป็นคนประกาศเขต อุทยานทับลานเมื่อ สมัยเป็น ผอ.กองอุทยาน กรมป่าไม้ ธันวาคม 2524 ที่ยังมีชีวิตอยู่) และเอาแนวเขต จ.นครราชสีมาปี 2500 (L-708)ที่มอบให้ สปกไป ออกเอกสาร สปก 4-01 เรื่มทำปี 2528 หลังประกาศเขตอุทยานทับลานปี 2524 ครอบเขตชุมชนมากกว่า 80 ชุมชน (ปัจจุบันเป็น สปกไปเกือบหมดแล้ว) เหลือ ต.ไทยสามัคคีและบางส่วนของ อ.วังน้ำเขียว (ส่วนที่อยู่ฝั่งขวา ถนน304 ไปโคราช)


ตอบกลับความเห็นที่ 72
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 73
ดร.ศรีราชา ผู้ตรวจการแผ่นดินได้ สรุปรายงานการตรวจสอบปัญหารุกอุทยานทับลาน ที่ชาวบ้านและผู้อยู่อาศัย อ.วังน้ำเขียว หลายพันครอบครัวที่ถูกรังแกโดย กรมป่าไม้ตั้งแต่ปี 2515 และกรมอุทยานตั้งแต่ปี 2554-55 ว่าเป็นผู้รุกป่า สรุปแจ้งกับนายกรัฐมนตรีว่าปัญหาเกิดจากหน่วยงานของรัฐ กรมป่าไม้ในอดีตละเลยการปฏิบัติหน้าทีในการการประกาศป่าสงวนทับลานในปี 2515 และ ประกาศอุทยานทับลานทับที่ทำกินของชุมชน ธันวาคม 2524 อันเป็นเหตุหนึ่งของการยุบกรมอุทยาน เมื่อไม่นานมานี้ ส่วนผลสรุปของ คณะกรรมมาธิการกฏหมายและยุติธรรมและสิทธิมนุษย์ชนที่ลงพื้นที่หาข้ิอมูลหลักฐานมาครี่งปี ผลสรุปแนบ อ่านเองก็แล้วกันครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 73
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 74
เอกสารของกรมอุทยานและสัตว์ป่าว่าด้วยการดำเนินงานตาม มติ ครม 30 มิย 2541 เราสามารถทราบว่าเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้ ยกเว้นการดำเนินงานตามมติ ค.ร.ม มากมาย รวมทั้งการตรวจสอบการครอบครอง ก่อนการประกาศเป้นป่าสงวนทับลาน ตามภาพถ่ายทางอากาศ โครงการ VAP-61 ปี 2513 ประชาชนซึ่งพลาดจากการได้เอกสารสิทธิ นส3 ในปี 2518 ก็ควรได้เอกสาร สทก (สิทธิทำกิน)ในส่วนที่ดิน วังน้ำเขียว 2,3 (ส่วนเขต วังน้ำเขียว1 ที่เป็นเขต อ.ปักธงชัย นครราชสีมาเดิมตามแผนที่ L-708 (ปี /2500) การประกาศป่าสงวนทับลาน 1 ก็ผิดพลาดประกาศป่าสงวนทับเขตชุมชนทั้งหมด ความล่าช้าของเจ้าหน้าที่ป่าไม้ทำให้ประชาชนเสียสิทธิ จนมีการยกเลิกการให้ สทก อันจะคุ้มครองมิให้เกิดปัญหาจากกรมอุทธยานภายหลังและอาจจะนำการได้เอกสารสิทธิที่ดีกว่านี้ เหมือนประชาชนที่อาศัยใน อุทยานเขาใหญ่ในปัจจุบัน สรุปว่าชาว อ.วังน้ำเขียวพลาดจากการได้ สทก ช่วงนี้ และภายหลังรัฐบาลยกเลิกการให้ สทก


ตอบกลับความเห็นที่ 74
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 75
ภาพถ่ายทางอากาศครั้งแรกโดยกรมแผนที่ทหารหลัง มติ ครม 30
มิย 2541 ถ่ายเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2542 อันแสดงว่าเขต ต.ไทยสามัคคี รวมทั้งห้วยใหญ่ใต้ บ้านสวนห้อม บ้านสุขสมบูรญ ถูกบังคับด้วยภูมืศาสตร์โดยธรรมชาติ ไม่สามรถรุกป่าต่อไปได้มีเขาสูงสองด้าน มีเหวทางทิศใด้ ด้านทิศตะวันตกเป็นถนนสาย 304

ภายหลังอาจจะใช้เส้นนี้เป็นต้นแบบแนวเขต 2543


ตอบกลับความเห็นที่ 75
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 76
ตัวผมเองและผู้รักความยุติธรรมหลายคน หลายอาชีพ หลายวัยวุฒิบางคนเป็นข้าราชการระดับสูงมากไม่สามารถอดทนต่อการกระทำของข้าราชการกรมอุทยาน บางกลุ่มโดยไม่สุจริตใจรังแกชาวบ้านที่ไม่มีทางสู้ได้ เราได้รวบรวมเอกสารชุดละหลายร้อยหน้า เก็บไว้หลายที่เพื่อความปลอดภัย มีผู้รู้ความหมายและข้อมูลทั้งหมดเหมือนกันหลายคน พร้อมทั้งชาวบ้านและผู้ทีอาศัยในที่เกิดเหตุเป็นเวลานานให้ข้อมูลเพิ่มโดย
เอกสารชุดต่อไปนี้เป็นเอกสารที่เราได้จาก UNESCO กรุงปารีสโดยตรงออกโดยอดีต อธิบดีกรมอุทยานวันที่ 1มีนาคม 2548 โดยรัฐบาลไทยยืนยันขอให้ คณะกรรมการมรดกโลกดำเนินการขึ้นอุทยาน ดงพญาเย็นเป็นมรดกโลก ไปก่อนทั้งที่มีประชาชนที่ได้อยู่อาศัย ก่อนประกาศเขตอุทยาน ค่อยๆอ่านไปเพราะว่ามีฉบับแปลแนบท้าย


ตอบกลับความเห็นที่ 76
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 77
หน้าที่สอง ของเอกสารจาก กรมอุทยานปี 2548 ถึงคณะกรรมการมรดกโลก (ขอท้าวความเดิมว่า หลังมีการตกลงขอกันเขตเดิมปี 2543กับชุมชน แต่กรมป่าไม้ไม่ยอมเอาแนวเขต ที่กันชาวบ้านที่ออกจาก ประกาศแนวเขตอุทยานทับลานออก ยื่นต่อครม เพื่อออกเป็นกฏหมาย อันจะแก้ปัญหานี้ตั้งแต่ปี 2543)
กรมป่าไม้ปฏิเสธเรื่องแนวกันออกปี 2543 แต่กลับมายืนยันในหนังสือปกปิดแก่ UNESCO ในปี 2548 อีกครั้งในเรื่องแนวเขตนี้


ตอบกลับความเห็นที่ 77
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 78
...นอนบนเขาใหญ่ ดีที่สุด..

...


ตอบกลับความเห็นที่ 78
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 79
แผนที่ท้ายจดหมายของอธิบดีกรมอุทยานในฐานะตัวแทนรัฐบาลไทย ถึงคณะกรรมการมรดกโลกปี 2548 ถ้าเปรียบเทียบแผนที่ท้ายจดหมายกรมอุทยานนี้กับ แผนที่ตามความเห็นกระทู้ที่ 58 จะพบว่าแนวที่ กรมอุทยานรับปากกับคณะกรรมการมรดกโลกปี 2548 เป็นแนวเดียวกันที่กรมป่าไม้ หน่วยราชการปกครองและชาวบ้านที่อาศัยตกลงกันรังวัด ปักหมุด ลงพิกัด GPS เมื่อปี 2543 ทุกประการ
แต่ตั้งแต่ปี 2548 ถึงปี 2553 เกือบห้าปี กรมอุทยาน ยังไม่ดำเนินการใดๆเกียวกับการกันเขต 80 ชุมชนออกเลย ทั้งนี้ยังเกียวเนื่องกับการฟ้องร้องในส่วนบ้านฝางาม บ้านทะเลหมอกและในบริเวณใก้ลเคียงกัน ทั้งตั้งแต่ปี 2554 เจ้าหน้าที่อุทยานทับลานยังเร่งมาตราการเด็ดขาดกับ ชาววังน้ำเขียว และชาว ต.นาดีจังหวัด ปราจีนบุรีต่อ

สิ่งที่น่าสังเกตว่าในส่วนของแนวเขตที่ยกเป็นมรดกโลกในส่วนเขาใหญ่ไม่ได้รวมแนวเขต สปกของ อ.วังน้ำเขียว เขตวังกระทะและเขตหมูสีของเขาใหญ่เพราะส่วนใหญ่เป็น สปก หรือกลายเป็นฉโนด ผลจากการตั้งนิคมสร้างตนเองลำตะคองในอดีต และอยู่ในมือผู้มีอำนาจหลายคนในเมืองไทยไปแล้ว การต่อเชื่อมของอุทยานเขาใหญ่ บริเวญเขากำแพงกับอุทยานทับลานมีนัยยะสำคัญสำหรับสัตว์ในป่ามรดกโลกดงพญาเย็นที่กรมอุทยานจัดตั้งขึ้นใหม่ ดังนั้นการบังคับการย้ายตัวออกจากป่าทับลานในตอนเหนือบริเวณ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี ที่กรมอุทยานฟ้องมาต่อเนื่องและบังคับลื้อถอนมาหลายรายจนเกือบหมดแล้วเป็นนัยยะสำคัญ จึงเริ่มมาแข้มข้นใน เขต อ.วังน้ำเขียวนี้เอง


ตอบกลับความเห็นที่ 79
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 80
แผนที่กรมอุทยาน รับปากคณะกรรมการมรดกโลกแนวกันเขต 80 ขุมชน ออกจากอุทยานทับลาน จากอธิบดีกรมอุทยานและสัตว์ป่า วันที่ 1 มีนาคม 2548


ตอบกลับความเห็นที่ 80
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 81
เอกสารฉบับแปลเป็นภาษาไทยจดหมายจาก อธิบดีกรมอุทยานและสัตว์ป่า ถึงคณะกรรมการมรดกโลก หน้าที่ื 1วันที่ 1 มีนาคม

กรมอุทยานและสัตว์ป่าจะกันแนวเขตชุมชนออกตามแผนที่แนบท้ายที่ดพสไปแล้ว


ตอบกลับความเห็นที่ 81
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 82
เอกสารฉบับแปลเป็นภาษาไทยจดหมายจาก อธิบดีกรมอุทยานและสัตว์ป่า ถึงคณะกรรมการมรดกโลก หน้าที่ื 2 วันที่ 1 มีนาคม

เนื้อที่ที่กรมอุทยานรับปากจะกันออก 43,729.63 เฮ็คเตอร์ เท่ากับเนื้อที่ต้องกันออกตามความตกลงระหว่างกรมอุทยานกับชุมชน ดังที่เรียกว่า แนวเขตอุทยานทับลานปี 3543 พอดี โดยกรมอุทยานรับปากกับคณะกรรมการมรดกโลกว่าหลังจากกันแนวชุมชนออกไป จะมีแนวกันชนตลอดแนวเขตที่ปรับปรุงใหม่นี้ รวมทั้งตามแนวบริเวณอิ่นๆที่มีความเสี่ยงอีกด้วย

แต่อนิจาถึงปัจจุบัน 12 ปี กรมอุทยานหาได้ดำเนินการจัดการไม่ กับเร่งรัดจับกุม ชาวบ้านและผู้อาศัยที่ อ.วังน้ำเขียว และ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี อยู่มาก่อนอย่างปราศจากเหตุผล ไม่ทราบว่ายังมีเบื้องหลังมากกว่านี้หรือไม่


ตอบกลับความเห็นที่ 82
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 83
เอกสารฉบับแปลเป็นภาษาไทยจดหมายจาก อธิบดีกรมอุทยานและสัตว์ป่า ถึงคณะกรรมการมรดกโลก หน้าที่ื 3 วันที่ 1 มีนาคม 2548

กรมอุทยานมักอ้างว่าไม่มีเจ้าหน้าที่ดูแล แต่พอครั้งใดที่จะดำเนินการใดๆกรมอุทยานกับประชาชนผู้บริสุทธิ์ จะมีเจ้าหน้าที่กรมอุทยานหลายสิบคน ถึงหลายพันคนพร้อมอาวุทครบมือดังกองทัพทุกครั้งไปออกไปรังแกประชาชนผู้บริสุทธิ ที่ตั้งแต่ต้นทำไร่ด้วยมือเปล่าวตั้งแต่ก่อนปี พศ 2500 ในบริเวณ อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา และ อ.นาดี จังหวัดปราจีนบุรี


ตอบกลับความเห็นที่ 83
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 84
ในส่วนบ้านห้วยใหญ่ใต้ บ้านสวนฮ้อม และบ้านกม80 บ้านสุขสมบูรณ์ บ้านคลองกระทิง บ้านบุไทร(บางส่วน) ของ อ.วังน้ำเขียวนั้น อยู่ในส่วนที่เรียกว่า ป่าวังน้ำเขียว3 ที่หลังจาก กอ.รมน. และแม่ทัพภาค3 จัดตั้งหมู่บ้านตัวอย่างไทยสามัคคี เพื่อแก้ปัญหาผู้ก่อการร้ายช่วงปี 2519-2520 บริเวณนี้รวมทั้ง ตลาด กม79 ยังถือว่าอยู่ใน จ.ปราจีนบุรีตามแผนที่ L-708 ด้วยสาเหตุทางภูมิศาสตร์ทั้งความจำเป็นที่หมู่บ้านตัวอย่างไทยสามัคคีต้องคร่อมสองจังหวัด(ต้องไปดูภาพสามมิติ DEM)และสาเหตุของความลำบากในแง่ของการปกครอง และงบประมาณของรัฐ(เมื่อประชากรหมู่บ้านเดียวกันคนละฝั่งถนนอยู่คนละจังหวัด) หน่วยงานของรัฐและผู้นำชุมชน(บางคนยังมีชีวิตอยู่)ได้แก้ปัญหานี้มาตลอดจนกระทั้งช่วงปี 2525-2526 หลังจากปํญหาด้านความปลอดภัยของชุมชนจากผู้ก่อการร้ายคลายตัวลงเพราะมีการวางอาวุธ และรัฐสร้างหมู่บ้านไทยสามัคคีขึ้น เขตจ.นครราชสีมาตามเดิมแผนที่ L-708ได้เลือนลงทางทิศใต้เข้าสู่แนวร่องลึกและสันเขาตามหลักภูมิศาสตร์อันเป็นแนวเขต อ.ปักธงชัย ใหม่ (จ.นครราชสีมาในปัจจุบันตามแผนที่ L7017, L7018S) หมู่บ้านทั้งหมดในแนวเขตนี้เรียกกันว่า ป่าวังน้ำเขียว3 อันเป็นป่าเสื่อมโทรมยืนยันได้ตามภาพถ่ายทางอากาศโครงการ VAP-61 (ปี 2513) ทำให้หลังประกาศปฎิรูปที่ดินป่าเสื่อมโทรม(ผลจากการให้สัมปทานตัดไม้โดยกรมป่าไม้ตั้งแต่ ปี 2504 )อ.ปักธงชัย ราวปี 2518-2520 เขต ป่าวังน้ำเขียว 1,2,3 ต้องเป็นเขต สปก ทั้งหมด ไม่ว่าด้วยสาเหตุใดก็ดี ชุมชนที่อยู่ในเขตป่าวังน้ำเขียว 2,3 ได้กลายเป็นจำเลยของสังคม เนื่องจากปัญหาการปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ จนปัจจุบัน ความจริงในเรื่องนี้ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของทั้ง สปก และ กรมอุทยาน(กรมป่าไม้เดิม)ทราบดี แต่ไม่ทราบว่าด้วยเหตุใด ไม่ได้มีความพยายามแก้ใขปัญหานี้อย่างจริงจังเป็นระบบมามากกว่า 35ปี ผมเองก็จนปัญญาที่จะทราบว่าด้วยเหตุใด จนวันนี้ชาวบ้านและชุมชนที อ.วังน้ำเขียว จึงถูกหน่วยงานของรัฐดำเนินการทางกฎหมายอย่างรุนแรง เหมือนอีกหลายที่ในประเทศไทย จึงขอเรียนความจริงบางส่วนให้สังคมและรัฐบาลทราบ และหวังว่ารัฐบาลที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นเสียงส่วนใหญ่ของประเทศจะได้ดูแลประชาชนต่อไป ขอบคุณครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 84
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 85
ณ วันที่ 29 /10/55
เจ้าหน้าที่อุทยานฯทับลาน ยังคงนำกำลังจับกุมชาวบ้าน ยัดเยียดข้อหาบุกรุก โดยใช้แผนที่แผ่นเดียวและนำกำลังเถื่อนหลายสิบนายเข้ามาจับชาวบ้านราษฎร มัดมือไพล่หลัง ยืดกล้องลบทำลายภาพทั้งหมด กระทำการดุจดั่งชาวบ้านเป็นโจร ใครกันแน่ที่เป็นโจรปล้นสะดมภ์ความสงบสุขของชาวบ้าน
ท่านเจ้าหน้าที่ทั้งหลาย ไม่คิดจะศึกษาและทำความเข้าใจในประวัติศาสตร์ที่ชาวบ้านเค้าอยู่มาก่อนเลยรึ??????


ตอบกลับความเห็นที่ 85