อบจ เอาคืนอุทยาน สั่งปิดท่าเรือเกาะเสม็ด

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง ประกาศปิดท่าเรือเสม็ด ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน เป็นต้นไป หวั่นประชาชนได้รับอันตราย เนื่องจากท่าเรือดังกล่าวอยู่ในสภาพทรุดโทรม และเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2555 นายปิยะ ปิตุเตชะ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบบริเวณสะพานเทียบเรือเกาะเสม็ด ตำบลเพ อำเภอเมืองระยอง พร้อมเจ้าหน้าที่ ยังพบว่ามีเรือต่าง ๆ วิ่งบริการระหว่างเกาะเสม็ดเทียบสะพานที่เก่าชำรุดทรุดโทรม ซึ่งหากปล่อยให้มีการใช้สะพานดังกล่าวต่อไปอาจเกิดอันตรายต่อชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนได้ ดังนั้น เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น จึงได้มีการออกประกาศห้ามใช้ท่าเรือเก่า รวมถึงท่าเรือใหม่ที่กำลังดำเนินการก่อสร้างค้างอยู่ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน เป็นต้นไป จนกว่าจะมีการก่อสร้างท่าเรือใหม่ให้แล้วเสร็จ

ความคิดเห็นที่ 1
เผื่อใครงง เพิ่มเติมข่าวจากข่าสด

"ดำรงค์"สั่งระงับสร้างท่าเรือเสม็ด-ชี้ยังไม่ผ่านการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 8 ก.ย. นายดำรงค์ พิเดช อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชฯ และนายอาคม น้ำคำ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้าหมู่เกาะเสม็ด จ.ระยอง พร้อมด้วยกำลังเจ้าหน้าที่อุทยานฯ เดินทางไปยังเกาะเสม็ด ต.เพ อ.เมือง ระยอง เพื่อตรวจสอบรีสอร์ตกลางทะเล ที่ศาลฎีกาได้พิพากษาให้รื้อถอน ได้ทำหนังสือแจ้งให้กับเจ้าของรีสอร์ตทั้ง 3 หลังทราบแล้ว และให้เวลาในการรื้อถอน แต่เจ้าของรีสอร์ตทั้ง 3 แห่ง ยังคงเปิดให้บริการนักท่องเที่ยวมาตลอด ทางอุทยานฯ เจ้าของพื้นที่จึงได้นำหมายศาลไปปิดซ้ำ ทางเจ้าของได้ทำหนังสือแจ้งไปยังกรมอุทยานฯ เพื่อขอเป็นผู้รื้อเอง ภายใน 31 ตุลาคม 2555

จากนั้นเดินทางไปตรวจสอบสถานที่ก่อสร้างท่าเทียบเรือแห่งใหม่ บริเวณหาดหน้าด่าน จึงขึ้นไปตรวจสอบและเรียกนายพัลลภ ขุมทอง วิศวกรคุมงาน บ.พระนครออกแบบและก่อสร้าง จำกัด มาสอบถามก่อนมีคำสั่งระงับการก่อสร้าง ทำให้คนงานต่างพากันหยุดทำงานและมายืนรวมตัวกันที่กลางสะพาน

นายดำรงค์กล่าวว่า ท่าเรือดังกล่าวซึ่งเป็นโครงการของอบจ.ระยอง ที่ยังไม่ผ่านการทำอีไอเอ หรือผลกระทบสิ่งแวดล้อม และทางกรมอุทยานฯ ยังได้ตรวจสอบอีกพบว่าอนุมัติให้ก่อสร้างโดยอดีตหัวหน้าอุทยานฯ เสม็ด ที่ต้องมีการดำเนินการตรวจสอบทางวินัย หากพบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องในการอนุมัติการก่อสร้างท่าเทียบเรือที่ผิดกฎหมาย อีกทั้งการก่อสร้างต่างๆ ที่อ้างว่าจะมอบให้กรมธนารักษ์ ถือว่าทำไม่ได้เพราะเป็นพื้นที่ของอุทยานฯ

ด้านนายพัลลภกล่าวว่า เป็นเพียงผู้ควบคุมงานเท่านั้น ซึ่งทางอบจ.ระยองเป็นผู้ว่าจ้างมา และไม่ทราบว่าการก่อสร้างมีปัญหาใดๆ หรือไม่ เพราะอบจ.เป็นผู้ดำเนินการขั้นตอนขออนุญาตต่างๆ ทั้งหมด และหลังจากทราบเรื่องในวันนี้ ได้รายงานบริษัทต้นสังกัด พร้อมทั้งสั่งให้คนงานหยุดงานแล้ว ซึ่งการก่อสร้างได้ดำเนินการมา 90% แล้ว จะเสร็จในสิ้นเดือนนี้


ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
แน่ใจเหรอว่า อบจ.เอาคืน อุทยานเสียหายตรงไหนเมื่อเทียบกับคนระยองโดยเฉพาะคนเกาะเสม็ด ใครเดือดร้อนถ้านักท่องเที่ยวน้อยลงในช่วงฤดูท่องเที่ยว เมื่อ อบจ.ประกาศแบบนี้เพื่อจะบีบอุทยานเหรอ สงสัยว่าต้องกลับไปคิดใหม่จะดีกว่ามั๊งเพราะอุทยานคงชอบมากกว่าเมื่อนักท่องเที่ยวน้อยลงสภาพธรรมชาติก็จะฟื้นฟูและฟื้นตัวเร็วขึ้น อุทยานมีหน้าที่หลักในการรักษาธรรมชาติไม่ใช่หารายได้จากนักท่องเที่ยวเข้าชมอุทยานโดยปล่อยให้ผู้ประกอบการหรือพวกเหลือบหารายได้จากการรุกอุทยาน หรือพยายามเปลี่ยนสิ่งที่ผิดให้ถูกโดยหลอกใช้มวลชนเพื่อบีบอุทยาน เดี๋ยวก็รู้ว่าใครจะถอยก่อนกัน


ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
ขำราชการ เอาประชาชนเป็นตัวประกันซะแล้ว


ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
เห็นด้วยกะ คห 2
ก็สมองอย่างนี่แหละ ทำให้เจริญก้าวหน้าได้เป็นถึงนายก....อบจ(เอางบไปไว้บ้านข้าเจ้าเอง)


ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
อบจ. จะสั่งปิดท่าเรือก็ทำไปเลยครับ ทางอุทยานเค้าไม่เดือดร้อนอะไรอยู่แล้ว


ตอบกลับความเห็นที่ 5
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 6
เอาประชาชนเป็นตัวประกัน....

เจริญล่ะเมิง....

คิดได้แค่นี้นะ...แม่ม


ตอบกลับความเห็นที่ 6
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 7
ก็ต้องดูต่อไปใครชิลกว่ากันระหว่าง อบจ ที่วันๆ กินแต่เงินหลวง นักท่องเที่ยวน้อยก็ไม่เกี่ยวกับ อบจ อยู่เเล้ว กับ อุทยาน ที่ก็ชิลไม่ต่างกัน มีแต่นักท่องเที่ยวกับ บริษัทเรือข้ามฟากที่ต้องหาทางดิ้นรนกันเอา


ตอบกลับความเห็นที่ 7
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 8
สนุกสนานจริง

กรมเจ้าท่า
น่าจะเข้ามาร่วมวงด้วยอีกหน่วยงาน

เอากันให้เคลียร์ตามกฎหมาย

ประชาชนที่ไหนจะมาเดือดร้อน
ไม่มี
มันยุ่งยากนักก็ยังไม่ต้องไป

ยกเว้น..ก็คนทำมาหารับประทานบนนั้น (ถูกมั่ง ผิดมั่ง)
ที่เป็นเดิอดเป็นร้อน

งานนี้
กางกฎเกณฑ์ดูกันเฉพาะเรื่องท่าเทียบเรือ..ผมว่าอดีตอธิบดีดำรงค์ เว่อร์ไปนิด..


ตอบกลับความเห็นที่ 8
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 9
ซวยเลย ว่าจะไป ทีนี้คงต้องเสี่ยงตกน้ำกับท่าเรือเก่าสินะ


ตอบกลับความเห็นที่ 9
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 10
ท่าเทียบเรือ มันกรมเจ้าท่า แต่อุทยานเกาะเสม็ด เขาแหลมหญ้า มันรวมอาณาเขตทะเลแถวนั้นด้วย แบบนี้ กรมเจ้าท่าไม่เกี่ยว เกี่ยวแค่ความปลอดภัยตามสเป๊ค ส่วน อบจ. ตัวก่อปัญหา ตามหลัก ควรสร้างมันบนท่าเทียบเรือเดิม ไม่ใช่ย้ายไปเรื่อยเปื่อย


ตอบกลับความเห็นที่ 10
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 11
องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองได้เริ่มดำเนินโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือเกาะเสม็ดตามขั้นตอนของกฎหมายตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยได้มีหนังสือขอความเห็นชอบในการใช้พื้นที่ต่ออุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า – หมู่เกาะเสม็ด, หนังสือขอใช้พื้นที่ต่อธนารักษ์พื้นที่ระยองและขออนุญาตก่อสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำต่อขนส่งทางน้ำที่ ๖ สาขาระยอง ซึ่งทั้งสามหน่วยงานเป็นผู้รับผิดชอบพื้นที่เกาะเสม็ด ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองได้รับอนุญาตให้ใช้พื้นที่จากธนารักษ์พื้นที่ระยอง เมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๒ และได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำจากขนส่งทางน้ำที่ ๖ สาขาระยอง ตามใบอนุญาตเลขที่ ๐๘/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๒ ในระหว่างที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองยังไม่ได้รับการอนุญาตจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช นั้น ได้มีประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและแนวทางการจัดทำรายงานการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ลงวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๒ ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๒ โดยกำหนดให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หรือเริ่มบังคับใช้ในวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๒ ซึ่งมีข้อกำหนดให้ท่าเทียบเรือที่รับเรือขนาด ตั้งแต่ ๕๐๐ ตันกรอส หรือความยาวหน้าท่า ตั้งแต่ ๑๐๐ เมตร หรือมีพื้นที่ท่าเทียบเรือรวม ตั้งแต่ ๑,๐๐๐ ตารางเมตร ขึ้นไป ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โดยกำหนดให้เสนอในขั้นขออนุมัติหรือขออนุญาตโครงการ น่าจะหมายความว่า ถ้าโครงการใดที่เข้าข่ายที่จะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) หากมีการยื่นขออนุญาตต่อกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช หรือหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาโครงการ ตั้งแต่วันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๒ ซึ่งเป็นวันที่ประกาศมีผลบังคับใช้เป็นต้นไป จะต้องมีการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ด้วย แต่โครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือเกาะเสม็ด ถึงแม้จะเป็นท่าเทียบเรือที่มีพื้นที่มากกว่า ๑,๐๐๐ ตารางเมตร ซึ่งตามข้อกำหนดจะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) แต่เนื่องจากได้รับการอนุญาตจากสำนักงานขนส่งทางน้ำ ที่ ๖ ก่อนที่ประกาศกระทรวงฯ ดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับ ทำให้ไม่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) แต่อย่างใด ทั้งนี้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีหนังสือที่ ทส ๑๐๐๙.๔/๕๒๗๔ ลงวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๓ (เอกสารแนบท้าย ๖) ยืนยันว่าองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองไม่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เนื่องจากได้รับอนุญาตจากสำนักงานขนส่งทางน้ำที่ ๖ สาขาระยอง ก่อนที่ประกาศกระทรวงฯ ดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับ


ตอบกลับความเห็นที่ 11
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 12
มติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๔๓ กำหนดให้อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า - หมู่เกาะเสม็ด เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติและระดับชาติของประเทศไทย ต่อมามี
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ กำหนดให้โครงการพัฒนาใดๆ ที่มีแนวโน้มจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศของพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติและระดับชาติ ให้มีจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) แต่เนื่องจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองได้มีการดำเนินโครงการตั้งแต่ปี ๒๕๕๑ ได้รับอนุญาตให้ใช้พื้นที่จากธนารักษ์พื้นที่ระยอง เมื่อเมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๒ และได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำจากขนส่งทางน้ำที่ ๖ สาขาระยองตามใบอนุญาตเลขที่ ๐๘/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๒ และขออนุญาตต่อกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ก่อนที่มติ ครม.เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ จะบังคับใช้ น่าจะหมายความว่า โครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือเกาะเสม็ด ได้มีการเริ่มดำเนินโครงการและได้รับอนุญาต ก่อนวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ ทั้งนี้ เมื่อมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ไม่ได้ระบุลงไว้ชัดเจนว่าให้มีผลย้อนหลัง ก็ต้องเป็นไป ตามหลักที่ว่า “กฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง” โดยเทียบเคียงกับความเห็นของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ดังนั้น โครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือเกาะเสม็ด จึงไม่เข้าข่ายที่จะต้องมีการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)
กรณีที่สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีข้อแนะนำให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองดำเนินการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) เพื่อศึกษาว่า การก่อสร้างท่าเทียบเรือเกาะเสม็ด มีแนวโน้มจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศของพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่ ซึ่งจะนำไปสู่การไม่ต้องจัดทำหรือจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวนั้น เป็นข้อเสนอแนะที่สร้างภาระให้กับองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองเกินสมควร ทำให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองต้องตั้งงบประมาณในการดำเนินการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) แต่อย่างไรก็ตาม องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองได้มีการตั้งงบประมาณและจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) แล้วและได้จัดส่งให้อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า – หมู่เกาะเสม็ดเพื่อประกอบการพิจารณาแล้ว ถ้ากรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพ้นธุ์พืช มีความจริงใจที่จะแก้ปัญหา ควรจะรีบพิจารณาตามระเบียบข้อกฎหมายโดยเร็ว


ตอบกลับความเห็นที่ 12
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 13
องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองได้มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า – หมู่เกาะเสม็ดและองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง ที่มีสาระสำคัญว่า โครงการดังกล่าวเป็นประโยชน์ในการเดินทางของนักท่องเที่ยว การขนส่งสินค้า การคุ้มครองและดูแลรักษาอุทยานแห่งชาติ อำนวยความสะดวกและแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและนักท่องเที่ยว ซึ่งเป็นความจำเป็นเร่งด่วนตามนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของรัฐบาล อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะดำเนินการ โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๙ แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ สำหรับสิ่งก่อสร้างในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองจะส่งแบบแปลนให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช พิจารณาให้ความเห็นชอบ ว่าการก่อสร้างท่าเทียบเรือเกาะเสม็ด เป็นการดำเนินการของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๙ หรือไม่ ทั้งนี้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้เคยมีหนังสือที่ ถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า กรมฯมีโครงการที่จะดำเนินการก่อสร้างสะพานท่าเทียบเรือเกาะเสม็ด ขนาดไม่เกิน ๕๐๐ ตันกรอส ในอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า – หมู่เกาะเสม็ด ท้องที่ ตำบลเพ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง โดยดำเนินการร่วมกันกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง บริเวณสะพานท่าเทียบเรือเดิม ที่มีสภาพเก่า ไม่เหมาะสมกับการใช้งานของท่าเรือ ที่มีทั้งการขนส่งสินค้าและการบริการนักท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐาน มีความปลอดภัยและเป็นภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยว ตามระเบียบกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ว่าด้วยการปฏิบัติการของพนักงานเจ้าหน้าที่ในเขตอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๙ ข้อ ๕(๕) ดังนั้น การดำเนินการก่อสร้างท่าเทียบเรือเกาะเสม็ด จึงเป็นการดำเนินการโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา ๑๙ แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ โดยอุทยานฯ ได้ออกระเบียบกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ว่าด้วยการปฏิบัติการของพนักงานเจ้าหน้าที่ในเขตอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๙ ลงวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ข้อ ๕(๕) กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจปฏิบัติการตามโครงการหรือแผนการใดๆ เพื่อให้มีสิ่งก่อสร้างตามแบบที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชเห็นชอบ ในเขตอุทยานแห่งชาติได้ โดยขอรับอนุมัติจากอธิบดีกรมอุทยานฯ เป็นการเฉพาะราย ทั้งนี้ อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชได้มอบอำนาจให้ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๒ ลงนามอนุญาตใช้ในแบบแปลนสิ่งก่อสร้างตามหนังสือกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ที่ ทส ๐๙๐๖.๖๐๓/๑๗๒๘๙ ลงวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๒ เรื่อง มอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนอธิบดี และผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๒ ได้พิจารณาและลงนามอนุญาตในแบบแปลนแล้ว จึงจะเห็นได้ว่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้ให้สัตยาบันกับการลงนามใน MOU ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองกับหัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า – หมู่เกาะเสม็ด อันเป็นผลให้การก่อสร้างท่าเทียบเรือดังกล่าวเป็นการดำเนินการโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๙ แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ แล้วอย่างนี้จะบอกว่า อบจ.ระยอง ก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาตได้อย่างไร


ตอบกลับความเห็นที่ 13
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 14
กรณีการดำเนินการก่อสร้างท่าเทียบเรือเกาะเสม็ดก่อนที่จะได้รับอนุญาตจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ซึ่งเป็นปัญหาข้อเดียวที่น่าจะเป็นประเด็น นั้น ถ้าท่านเคยไปเที่ยวที่เกาะเสม็ดก่อนปี ๒๕๕๑ จะเห็นว่า ท่าเทียบเรือเกาะเสม็ดเดิมที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองเป็นผู้รับผิดชอบ มีสภาพชำรุดทรุดโทรมอย่างมาก โครงสร้างได้รับความเสียหายจากการกัดกร่อนของน้ำทะเล เพราะมีอายุการใช้งานมาเป็นเวลานาน ทำให้ประชาชนและนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและต่างประเทศที่มาท่องเที่ยวเกาะเสม็ด ไม่ได้รับความสะดวก ขาดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินจากการใช้บริการที่ท่าเทียบเรือ แม้องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองจะได้จัดสรรงบประมาณไปดำเนินการซ่อมแซม แต่เป็นเพียงการซ่อมแซมได้เฉพาะสภาพภายนอกเท่านั้น เนื่องจากโครงสร้างภายในโดยเฉพาะส่วนที่จะต้องรับน้ำหนัก ไม่อยู่ในสภาพที่จะรับน้ำหนักได้อย่างเต็มที่ หากองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองไม่ตัดสินใจที่จะก่อสร้างโดยเร็ว เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้รับความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินแล้ว ย่อมส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน, นักท่องเที่ยวและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างแน่นอน ทั้งนี้ หากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวข้างต้นขึ้นแล้ว องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองจะนำเอาเหตุผลที่ยังไม่ได้รับการอนุญาตให้มีการก่อสร้างจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช มาอ้างเป็นเหตุในการหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบไม่ได้อย่างแน่นอน เนื่องจากเป็นหน่วยงานส่วนท้องถิ่นที่อยู่ใกล้ชิดประชาชน มีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ และสภาพความชำรุดบกพร่องของท่าเทียบเรือดังกล่าว องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองได้เล็งเห็นผลแล้วว่า หากไม่ตัดสินใจให้มีการดำเนินการก่อสร้างโดยเร็ว ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบในวงกว้างอย่างแน่นอน ดังนั้น การตัดสินใจในการดำเนินโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือเกาะเสม็ดก่อนที่จะได้รับการอนุญาตก่อสร้างจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช จึงตั้งอยู่บนหลักความรับผิดชอบ (Responsibility) ซึ่งเป็นการดำเนินการเพื่อประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง


ตอบกลับความเห็นที่ 14
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 15
โดยสรุปที่กล่าวมาอย่างยืดยาว เพราะเรื่องนี้มันยาว
ก. เรื่องนี้มีข้อมูลอยู่ว่า
๑. อบจ.ระยอง เริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่เดือนธันวาคม ๒๕๕๑
๒. อบจ.ระยอง ขออนุญาตต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง ๓ หน่วยงานตามระเบียบ โดย
๒.๑ ต่อกรมธนารักษ์ ได้รับอนุญาตแล้ว เมื่อ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๒
๒.๒ ต่อกรมเจ้าท่า โดยได้รับอนุญาตแล้ว เมื่อ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๒
๒.๓ ต่ออุทยานฯ โดยทำ MOU ว่าเป็นการดำเนินการของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๙ ซึ่งสามารถดำเนินการได้ (มีหนังสือจากกรมอุทยานฯ แสดงชัดเจนว่าเป็นโครงการที่เป็นความร่วมมือ) แต่ต้องเสนอให้อธิบดีอนุมัติแบบก่อสร้างก่อน โดยอธิบดีมอบอำนาจให้ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๒ พิจารณาแทน และผู้รับมอบอำนาจได้ลงนามอนุญาตใช้ในแบบแปลนสิ่งก่อสร้างแล้ว
๓. ประกาศกระทรวงทรัพย์ฯ ที่กำหนดให้จัดทำ EIA มีผลบังคับใช้ ๓๐ ธ.ค. ๕๒ ซึ่งโครงการได้เริ่มดำเนินโครงการ(เป็นการขออนุญาต แต่ยังไม่เริ่มก่อสร้าง) และได้รับอนุญาตก่อสร้างจาก กรมธนารักษ์และกรมเจ้าท่า ก่อนที่กฎหมายจะมีผลใช้บังคับ เรื่องนี้ สผ.ที่เป็นหน่วยงานหลักเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของกระทรวงทรัพย์ฯ ยืนยันชัดเจนว่า โครงการนี้เริ่มก่อนที่กฎหมายจะมีผลใช้บังคับ จึงไม่ต้องจัดทำ EIA
๔. มติ ครม. วันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ที่กำหนดให้จัดทำ EIA ก็ออกมาบังคับใช้หลังจากเริ่มโครงการเช่นกัน แล้วก็ไม่ได้ระบุว่าให้กฎหมายมีผลย้อนหลัง
๕. ถ้าใครเคยมาเที่ยวเกาะเสม็ด จะเห็นว่าท่าเรือเดิมชำรุดทรุดโทรมมาก เคยมีประกาศงดใช้ท่าเทียบเรือเพราะไม่มีความปลอดภัย

ประเด็นอยู่ว่า
๑. การก่อสร้างท่าเทียบเรือดังกล่าว ต้องจัดทำ EIA ตามประกาศกระทรวงทรัพย์ฯ หรือไม่
(ปัญหานี้ยุติแล้วเนื่องจาก สผ.แจ้งแล้วว่า มีการดำเนินโครงการและได้รับอนุญาตจากเจ้าท่า(อนุญาตก่อสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ) ก่อนที่กฎหมายจะมีผลใช้บังคับ
๒. การก่อสร้างท่าเทียบเรือดังกล่าว ต้องจัดทำ EIA ตามมติ ครม.เมื่อวันที่ ๓ พ.ย. ๕๒ ที่ื้ว่าโครงการที่มีแนวโน้มจะเกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศของพื้นที่ชุ่มน้ำต้องจัดทำ EIA (ขอย้ำว่า โครงการได้รับอนุญาตให้มีการก่อสร้างจากกรมเจ้าท่าเมื่อ ๒๙ ก.ย. ๕๒ ก่อนจะมีมติ ครม.)
๓. การจัดทำ MOU ระหว่าง อบจ.กับอุทยานฯ ที่อุทยานฯ บอกว่าเป็นเพียงข้อตกลงเบื้องต้นที่จะดำเนินการตามข้อระเบียบและกฎหมาย การจัดทำเพื่อแสดงว่าจะเป็นการดำเนินการภายใต้ระเบียบและข้อกฎหมายให้ถูกต้องโดยจะไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่อุทยานฯได้เคยมีหนังสือแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า เป็นโครงการที่อุทยานฯดำเนินการร่วมกับ อบจ.ระยอง ประเด็นนี้จะถือว่าเป็นการดำเนินการของเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือ เป็นการดำเนินการของ อบจ.ระยองฝ่ายเดียว
๔. ถ้า อบจ.ระยอง จะรอให้อุทยานฯ อนุญาตก่อสร้างแล้วค่อยดำเนินการ ในขณะที่ อบจ.ระยอง ซึ่งเป็นเจ้าของทราบดีว่าท่าเรือเดิมไม่มีความมั่นคงแข็งแรง ไม่ปลอดภัย เคยประกาศปิดใช้ท่าเทียบเรือด้วยซ้ำ ถ้าท่าเทียบเรือพังลง นักท่องเที่ยวต่างชาติตายซักราย ชาวบ้านบาดเจ็บสาหัส ถามว่า ถ้าเกิดการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ อบจ.ระยอง หรือ อุทยานฯ นี่ยังไม่นับถึงความเสียหายทางด้านการท่องเที่ยวที่ไม่อาจประมาณค่าได้


ตอบกลับความเห็นที่ 15
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 16
ท่าเรือเกาะเสม็ดไม่ปิดแล้วจ้า ไปเที่ยวได้ตามปกติ


ตอบกลับความเห็นที่ 16