## 116 ปีรถไฟไทย ทำไมยังย่ำอยู่กับที่ ##

ฟังแล้วน่าตกใจ ผ่านมา 116 ปี หลังจากล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ได้ริเริ่มขึ้น แต่รฟท.ยังไม่ไปไหนเลย หลักๆคือ การพัฒนาการเดินรถ ปัญหาความล่าช้าในการเดินทาง เป็นต้น

แก้ไข: คำผิด

ความคิดเห็นที่ 1
เฮ้อ ถ้าจำไม่ผิดเรามีรถไฟใช้ก่อนญี่ปุ่นอีกนา


ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
เห็นด้วยมากที่สุดในชีวิต 5555

แค่ ตู้รถไฟดีๆใหม่ๆ รถนอน ตู้นอนใหม่ๆ หัวรถจักรใหม่มันยังไม่มีปัญญาซื้อเลย ผมเคยนอนรถนอนแอร์ชั้นสองปรับอากาศบ่อยครั้งเมื่อสิบกว่าปีที่แล้วยังไง ปัจจุบันเก่าคร่ำคร่า ขาดการดูแล ดีแต่เอาตู้เก่าๆ มาทาสีใหม่ อย่าคิดฝันจะได้เจออะไรใหม่ๆจากองค์กรนี้


ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
จริงๆ คนไทยแทบทุกคนรู้คำตอบดีอยู่แล้วนะครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
หรือเค้าตั้งใจจะให้เป็นการเดินทางของคนระดับล่าง ๆ เลยไม่พัฒนามากเพื่อให้ต้นทุนมันถูกลง > <


ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
ประเทศเรายึดนโยบายอนุรักษ์นิยมค่ะ มีแบบไหนก็ใช้แบบนั้นไปตลอดถือว่าเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของประเทศ เวลาเพื่อนฝรั่งมาเที่ยวเมืองไทยจะชอบรถไฟของบ้านเรามากๆ เพราะที่บ้านเค้าไม่มีแบบนี้อ่ะค่ะ ก็เป็นunseen อีกอย่างหนึ่ง


ตอบกลับความเห็นที่ 5
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 6
^
จริงตาม คห 5 ครับ
เพื่อนออสซี่ เขาก็ตื่นเต้นที่ได้ย้อนสู่ยุคหิน

SRT ชื่อนี้รับประกันได้


ตอบกลับความเห็นที่ 6
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 7
รถยนต์โดยสาร รัฐบาลทำถนน
เครื่องบิน รัฐบาลสร้างสนามบิน
เรือ แม่น้ำลำคลอง ออกยันทะเล ล้วนแต่เป็นธรรมชาติ
รถไฟ สร้างรางเอง ซะงั้น


ตอบกลับความเห็นที่ 7
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 8
รฟท ขนาดบริหารแอร์พอร์ตลิ้งค์ ยังล่าช้ากำหนดเวลาเอาแน่เอานอนไม่ได้เลยค่ะ - -"


ตอบกลับความเห็นที่ 8
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 9
ตอบเอามัน ... เอาไว้รอขึ้นทะเบียนกับ Unesco ให้ได้ก่อนครับ

ตอบแบบมีสาระ ... ไม่ต้องดูรถไฟหรอกครับ นักการเมืองไทยเป็นอย่างไร รถไฟไทยก็เป็นอย่างนั้น
ระบบราชการไทย มันติดขัดไปหมด ทั้งบนโต๊ะ ใต้โต๊ะ การเมือง บลาๆๆๆ ....


ตอบกลับความเห็นที่ 9
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 10
แล้วเมื่อไหร่จะมี รถไฟความเร็วสูงนี่


ตอบกลับความเห็นที่ 10
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 11
จากที่เคยได้ยินมา น่าจะมาจาก 2 ส่วน ส่วนแรกคือ แต่ละโครงการของการรถไฟ ใช้งบประมาณระดับพันล้าน จึงทำให้ต้องทำเรื่องขออนุมัติผ่านครม. และรัฐบาลแทบจะทุกรัฐบาล ไม่ค่อยให้ความสำคัญในการผ่านงบประมาณ เพราะเอาเงินไปทำประชานิยมรูปแบบอื่นประชาชนเห็นได้ง่ายกว่า

ส่วนที่สองคือ สหภาพการรถไฟแข็งแกร่งเกินไป การบริหารและจัดการทรัพยากรบุคคลจึงไม่มีประสิทธิภาพ


ตอบกลับความเห็นที่ 11
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 12
ถ้าการรถไฟ บริหารสินทรัพย์ของตัวเอง แบบตรงไปตรงมา
แค่ที่ดินที่เป็นสิทธิการรถไฟตามกฏหมาย แค่นี้คนไทยก็นั่งรถไฟดีๆ ได้แล้ว
ทุกวันนี้ ที่จอดรถ airport link ที่เป็นทำเลดีๆ ยังไม่มีปัญญาหาคนมาเก็บค่าจอด
แต่มีวิน สองแถว มอเตอร์ไซด์ มารอรับเพียบ
แค่เก็บค่าจอดรถ แล้วมีคนดูแลก็มีเงินกลับมาทำอะไรได้ตั้งหลายอย่างแล้ว
แถม airpot link ยังมีโอกาสจะได้ลูกค้าประจำเพิ่ม และประหยัดค่าน้ำมันให้ประเทศชาติด้วย
เรื่องแค่นี้ ก็ไม่มีปัญญาคิด มัวแต่คิดหาผลประโยชน์เข้าตัวเอง เข้าพวกพ้อง กับรอจังหวะประท้วง


ตอบกลับความเห็นที่ 12
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 13
วันก่อนไปสถานีรถไฟกับพ่อ ถามพ่อว่าพ่อนั่งรถไฟชั้น 2 หน้าตาแบบนี้มาตั้งแต่เมื่อไหร่
พ่อบอกว่าตั้งแต่มาอยู่ต่างจังหวัดใหม่ๆ เอาเป็นว่าพ่ออยู่ ตจว มาแล้ว 40 ปี ตอนนั้นเป็นยังไง ตอนนี้ก็อย่างงั้น

สนามบินน่ะ พัฒนาไปเหอะ โม้เค้าไปเหอะ ทำไมไม่โม้รถไฟไทยบ้าง


ตอบกลับความเห็นที่ 13
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 14
ผมคิดว่าเหตุหลักน่าจะมาจากการขาดประสิทธิภาพมาอย่างยาวนานจนเป็นนิจ

ลำพังที่ทางของการรถไฟถ้าไม่รั่วไหล น่าจะนำมาทำนุบำรุงเลี้ยงตัวเองได้

อย่างน้อยก็เริ่มจากทำให้รถไฟตรงเวลา แล้วค่อยมาพัฒนาให้เร็วขึ้น จะทำให้คนกลับมาใช้รถไฟมากขึ้น

นอกเสียจากไม่อยากเปลียนแปลง เพราะทุกวันนี้สบายอยู่แล้ว ไม่เห็นต้องเปลียนอะไร


ตอบกลับความเห็นที่ 14
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 15
ให้เช่าที่กำไรมหาศาลแต่ไม่เคยพัฒนา บอกได้คำเดียวห่วยมากครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 15
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 16
รถไฟใช่ตลาดผูกขาดรึป่าว เคยท่องตอนสอบ ^^

ข้อเสียของตลาดผูกขาด
ทำให้การผลิตสินค้าเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ เพราะผู้ผูกขาดไม่มีคู่แข่งทางการค้า จึงไม่ค่อยให้ความสนใจ
ต่อประสิทธิภาพในการผลิตเท่าใดนัก การใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจจึงไม่มีความคุ้มค่ามากที่สุด


ตอบกลับความเห็นที่ 16
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 17
หลายอย่างครับ มีทั้งปัจจัยจากภายนอกและภายใน

ภายในเป็นตัวบ่อนทำลายความสามารถในการแข่งขันและบริการ ทำให้รถไฟกลายเป็นตัวเลือกลำดับท้ายๆของผู้มีกำลังซื้อ

ภายนอกเป็นตัวบ่อนทำลายความเจริญก้าวหน้าและเติบโตของระบบการขนส่งด้วยราง

ปัจจัยภายในผมว่ามาในแนวน่ารำคาญ เป็นมาต่อเนื่องยาวนาน แต่ปัจจัยภายนอกนี่แลที่เป็นตัวการหลักที่ตัดตอนการเจริญเติบโตของระบบรางอย่างแท้จริง


ตอบกลับความเห็นที่ 17
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 18
งบประมาณกี่รัฐบาล ๆ เอาไปทำอะไรหมด เห็นกู้กันทุกยุคทุกสมัย แล้วเงินมันหายไปไหน

จะสร้างนั่น นู้ นี่ ก็ไม่เห็นจะมีอะไรมันผุดขึ้นมาจากดินเลย

แม่เจ้าพระคุณรุนช่อง


ตอบกลับความเห็นที่ 18
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 19
ในช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมา รฟท ได้รับงบประมาณไม่เยอะเลยครับ น้อยกว่ารัฐวิสาหกิจอื่นๆหลายอันมากทีเดียว ส่วนใหญ่จะหมดไปกับเงินเดือน หรือการปรับปรุงทางเป็นส่วนใหญ่

เวลาสร้างทางใหม่ รฟท ก็เป็นผู้กู้เงินมาลงทุนเอง โดยมีรัฐบาลช่วยค้ำประกันครับ airportlink เป็นตัวอย่างที่ดีของการต้องเป็นหนี้ 3.5 หมื่นล้านบาท เพื่อสร้างระบบขึ้นมา

ล่าสุดนี่ก็โครงการก่อสร้างรถไฟสายสีแดง บางซื่อ-ตลิ่งชัน และโครงการต่อเนื่อง รังสิต-บางซื่อ ที่ทำให้หนี้สินการรถไฟทะลุ 1 แสนล้านบาทแล้วกับการลงทุนกู้เงินมาในโครงสร้างเหล่านี้

ตอบกลับความเห็นที่ 19
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 20
เห็นด้วยอย่างมากกกกก ค่ะ
ถ้าอยากอนุรักษ์ ก็เก็บไว้แค่บางขบวน
แบบนี้ เขาเรียกไม่พัฒนาค่ะ

จะงบน้อย งบมาก แต่ได้งบทุกปี ถ้าบริหารจัดการเป็น
มันก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นค่ะ
แต่กี่ปี กี่ปี กี่ปี กี่ปี กี่ปี กี่ปี กี่ปี กี่ปี กี่ปี กี่ปี มันก็เป็นแบบนี้ มาตลอด


ตอบกลับความเห็นที่ 20
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 21
ทีกระทู้อย่างงี้ แปลกใจทำไมคุณแฮมมีน ผู้ซึ่งรู้เรื่องเกี่ยวกับรถไฟไทยเป็นอย่างดีไม่ยักกะเข้ามาตอบแฮะ

ตอนตั้งกระทู้จนเป็นกระทู้แนะนำ ก็ไม่มีคำถามนี้อยู่ใน FAQ ทั้งๆ ที่เป็นคำถามที่คนส่วนใหญ่อยากรู้มาก


ตอบกลับความเห็นที่ 21
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 22
รถไฟไทย ไม่เคยอยู่ใน mode การเดินทางใดๆ ของผมเลยคับ


ตอบกลับความเห็นที่ 22
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 23
การบริหารงานของรถไฟข้อดีคือมี สหภาพแรงงานการรถไฟที่เข้มแข็งมาก แต่...ข้อเสียที่ตาม

มาคือการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดการพัฒนาองค์กรมีน้อยมากๆหรือแทบไม่เกิดขึ้นเลยเมื่อ

เทียบกับการบริหารงานในรูปแบบบริษัท หรือว่าการรถไฟรอ..เงินที่รัฐบาลให้อย่างเดียว

บริหารไปแล้วไม่บรรลุเป้าหมายก็คงจะบอกว่าเงินที่รัฐบาลให้มา

ไม่เพียงพอน้อยเกินไปต้องขออีก


ตอบกลับความเห็นที่ 23
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 24
^
มันเหมือนคำถามที่ถามกันบ่อย บ่อยมาก จนคนอื่นหลายคนที่เค้ารู้เรื่องรถไฟไม่อยากมาตอบแล้ว

แถมบางทีตอบแบบมีสาระไปแล้วก็ยังไม่เข้าใจ ยังจะมาแขวะอย่างนั้นอย่างนี้อีก จนพาลไม่อยากตอบ...

ถ้าจะให้ผมตอบคำถามข้อนี้ คุณต้องทำความเข้าใจกับสิ่งนี้ก่อน
1. การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เป็นหน่วยงาน สังกัดกระทรวงคมนาคม
2. การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เป็นผู้ให้บริการที่ต้องสร้างและซ่อมทาง/สะพาน/อุโมงค์เอง ต่างจากพวกล้อยางทั้งหลายที่ใช้ถนนหลวงแบบฟรี ไม่ต้องเสียเงินสร้างและซ่อมถนนเอง
3. โครงการมูลค่ามากกว่า1000ล้านบาท ต้องขอความเห็นชอบจากมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งโครงการที่เกี่ยวกับรถไฟ อย่างเช่น ทางคู่ รถไฟความเร็วสูง จัดซื้อรถจักรใหม่ มูลค่าเกิน1000ล้านบาทแน่นอน
4. การดำเนินงานต่างๆของหน่วยงานสังกัดราชการ ต้องส่งเรื่องขอความเห็นชอบจากรัฐบาล โดยปฏิบัติเป็นไปตามขั้นตอนทางราชการ
5. สมาชิกที่อยู่ในสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย(สร.รฟท.) เป็นแค่พนักงานระดับล่าง ที่เราๆเห็นเค้าทำงานกันตามสถานี โรงซ่อม หรือบนรถไฟนั่นแหล่ะ ไม่มีอำนาจไปตัดสินใจอะไรแทนฝ่ายบริหาร(พวกนั่งโต๊ะ)ได้ ทำได้อย่างมากสุดๆคือก่อวอดประท้วง (หลายคนคิดว่า สร.รฟท. ยิ่งใหญ่คับฟ้า จริงๆแล้วไม่ได้อะไรขนาดนั้น)

เอาไปตอบในใจของแต่ละคน และผมจะไม่ตอบคำถามแบบนี้อีกต่อไป...


ตอบกลับความเห็นที่ 24
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 25
ผมว่าให้ สหภาพ ทำบริษัทลูก แล้วให้บริหารการเดินรถไปเลยดีกว่า

กำไรคุณก็บริหาร ค่าสัมปทานก็จ่ายการรถไฟ คุณจะได้แข่งขันและพัฒนากันเอง

ให้การรถไฟตั้ง บริษัท มาบริหารที่ดินของการรถไฟ แล้วพัฒนาที่ดินให้เกิดประโยชน์
กำไร ก็นำมาพัฒนาระบบราง หัวจักร ทำทางยกระดับ

แล้วบุคคล ก็สำคัญครับ พัฒนาให้เขารักองค์กรและพัฒนาองค์กร
มิใช่รักองค์กรแต่ตนเองไม่พัฒนาองค์กร ก็ยำ่าอยู่กับที่

สงสัยชาตินี้ คงไม่ได้เห็นแล้วมั้ง หลังแอร์พอตร์ลิงค์ย่ำแย่
และจะมาบริหารรถไฟฟ้าสายสีแดงอีก เฮ้อ


ตอบกลับความเห็นที่ 25
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 26
ไม่อยากได้อะไรโก้หรู ใหญ่เวอร์ เร็วเวอร์ ..ขอแค่รางคู่ เส้นทางกระจายเยอะๆ มีตารางเดินรถ ..ก็พอแล้ว

กลัวจะล้าหลังกว่าอินเดียแล้วล่ะบอกตรงๆ =_=


ตอบกลับความเห็นที่ 26
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 27
ผมจำได้ว่ารถตู้นอนชั้น 2 ปรับอากาศรุ่นแรก ตอนนี้วิ่งมาน่าจะเกือบ 40 ปีแล้ว (ปี 2517-2518)
ขนาดแดวู ที่คิดว่าน่าจะดูเอี่ยมสุดของ รฟท. ก็รับมอบในช่วงปี 2539-2540 ผ่านไปถึง 15-16 ปี
ตอนสมัยผมเป็นเด็กน้อยเรียนมัธยม นั่งรถไฟเป็นว่าเล่น
จนยุคโลว์คอสต์เฟื่องฟู ผมกลับไปสถานีรถไฟอีก ก็เจอรถขบวนเดิมจอดอยู่ ทุกอย่างเหมือนเดิมไม่เปลี่ยน

องค์กรรัฐ ก็คงได้เท่านี้จริงๆ หล่ะครับ ... (ตาม คห.24 เลยเห็นภาพชัดเจนมาก)

ก็ได้แต่หวังว่า การปรับปรุงทางสายเหนือถ้าแล้วเสร็จในปีหน้า น่าจะทำให้อะไรๆ ดีขึ้น
ขอแค่เดินรถให้ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้ ก็น่าจะเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่สุดแล้วครับ
เพราะตอนนี้ใครหลายๆ คนก็สามารถนั่งรถไฟไปต่อเครื่องที่ดอนเมืองได้สะดวกมากขึ้น
แต่ใครจะกล้านั่งรถไฟไปต่อเครื่องบินหล่ะ ... เสียเวลาที 2-3 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อยกะเวลาไม่ได้เลย


ตอบกลับความเห็นที่ 27
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 28
คห 24 ตอบไปเกือบหมดละ

เหลือแค่ผู้บริหารเท่านั้นละเป็นแค่คนรับใช้ฝ่ายการเมืองและนักธุรกิจจนไม่สามารถพัฒนาองค์กรได้

ผมเองก็นั่งรถไฟมาทำงานทุกวันก็ยังเห็นการรถไฟแบบเดิมๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่มากขึ้นเลย


ตอบกลับความเห็นที่ 28
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 29
คห.27

-รถนอนปรับอากาศชั้น2รุ่นแรก เริ่มใช้งานเมื่อปี2526ครับ

-สมัยก่อนเคยมีรถด่วนดอนเมือง(หัวลำโพง-ดอนเมือง) ใช้รถดีเซลราง เพ้นท์ลายข้างรถว่าAirport Expressด้วยน่ะครับ แต่ตอนหลังก็ยกเลิกไป ถ้าหากจะรื้อฟื้นใหม่ คงต้องหารถใหม่ๆมาใช้และแก้ปัญหาจุดตัดทางรถไฟที่ทำวันนี้รถไฟต้องจอดรอรถยนต์จนเสียเวลาโดยใช่เหตุให้ได้ก่อนน่ะครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 29
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 30
ผมว่าอย่างน้อยเริ่มจากการทำให้ตรงเวลาก่อน เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ

ถ้า กท-ชม วิ่งจริง 15 ชม ก็อย่าไปใส่ว่า วื่ง 12 ชม. รับความจริงไปเลย

ถ้าเริ่มจากการตรงเวลา น่าจะเรียกความเชื่อถือกลับมาได้เยอะ ลูกค้ากำหนดแผนการได้ จะนัดใครมารับก็ไม่ต้องเผืือเหลือเผื้อขาดเป็นชั่วโมง

คนทำงานก็ต้องรับผิดชอบมากขึ้น ถ้ายังผิดพลาดก็ต้องโดนพิจารณา แต่ถ้าแก้ตารางเวลาแล้วยังช้าอีก ผมว่าแม้แต่พระเจ้าก็ช่วยไม่ได้แล้ว


ตอบกลับความเห็นที่ 30
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 31
คุณรู้หรือไม่ว่า รฟท. ไม่ได้ขึ้นค่าโดยสารมากี่ปีแล้วครับ

ผมจำได้ว่ามากกว่า 20ปี แน่นอนครับ เพราะตั้งแต่ผมอยู่มัธยม

จนปัจจุบันมันกว่า20ปีแล้วครับ ค่าตั๋ว จากสถานีใกล้บ้านผมไปกทม.

ก็ยังเท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลง แต่ราคาน้ำมันจากไม่ถึง 10 บาทต่อลิตร

มาที่30บาทต่อลิตรแล้ว ณ ปัจจุบัน

แล้วจะเอาเงินที่ไหนมาปรับปรุง พัฒนา นอกจากกินบุญเก่า


ตอบกลับความเห็นที่ 31
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 32
จริงๆชาวต่างชาติไม่รู้สึกซีเรียสครับ เพื่อนสนิทผมเป็นคนญี่ปุ่นมาเที่ยวเมืองไทย ขากลับเค้าบอกจะกลับทางสิงคโปร์ พาเค้าเที่ยวหัวหินแล้วส่งขึ้นรถไฟที่สถานีหัวหิน ผมห่วงเค้ามาก เพราะเป็นผู้หญิงเดินทางคนเดียว ต้องโทรถามตลอดทางพอเค้ากลับญี่ปุ่นผมถามเค้าว่า นั่งรถไฟไทยเป็นไงบ้างน่ากลัวไหม เค้าตอบว่าเฉยๆชอบด้วยซ้ำ ผมงงคำตอบเลย สรุปชางต่างชาติคงชอบรถไฟไทยจริงๆ แต่รถไฟไทยมันควรรับใช้คนไทย ก็ควรปรับปรุงอะไรให้มันดีหน่อย อย่างน้อยนั่งๆ ไม่ใช่เก้าอี้หลุดน๊อตยึดเก้าอี้หายแบบรถไฟชานเมือง วงเวียนใหญ่ - มหาชัย ฝนตกน้ำนองพื้นรถไฟแบบทุกวันนี้


ตอบกลับความเห็นที่ 32
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 33
จะบอกว่าค่าโดยสารไม่ขึ้นก็ไม่เชิงครับ

จริงครับค่าโดยสารไม่ได้ขึ้น แต่ขึ้นค่าธรรมเนียม กับพวกรถด่วน รถเร็ว -*-

จนตอนนี้ เหตุผลหนึ่งที่คนไม่นั่ง เพราะค่าธรรมเนียมรถด่วน + ค่าโดยสาร แล้วแพงกว่าค่ารถทัวร์มากครับ -*-

เช่น กรุงเทพฯ - พิษณุโลก รถด่วนสปินเตอร์ ราคาปัจจุบัน 449 บาท ส่วนตัวมองว่าราคานี้กับบริการที่ได้รับถ้าเปรียบเทียบเรื่องความแน่นอนในเวลาโดยเอาพิษณุโลกยายนต์ทัวร์มาเป็นตัวเปรียบเทียบถือว่าแพงมากครับ วิ่งตามกำหนดคือ 5 ชั่วโมง ตอนตอนนี้บวกเพิ่มเป็นปกติ 1 - 1.30 ชม. เป็นเดินทางจริงคือ 6 ถึง 6.30 ชั่วโมง

ในขณะที่ รถปรับอากาศชั้น 1 อย่าง พิษณุโลกยานยนต์ทัวร์ แค่ 304 บาท และ 416 บาท สำหรับรถ VIP 32 ที่นั่ง กลางวันวิ่ง 5 ชั่วโมง กลางคืนวิ่งแค่ 4.30 ชั่วโมง แถมตรงเวลา และ รอบรถเยอะมากตั้งแต่ 07.00 จนถึง 23.00 น.

แบบนี้ถ้าเพิ่มค่าโดยสารขึ้นไปอีกตั๋วจะแพงขึ้นไปอีกพอสมควรคนเลยหนีไปกันใหญ่ ถ้าหากว่าแก้โดยการเพิ่มค่าโดยสาร แต่ลดค่าธรรมเนียม หรือมีทางออกอื่น คิดว่าน่าจะโอเคกว่า


ตอบกลับความเห็นที่ 33
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 34
^^
ค่าธรรมเนียมมีเฉพาะ รถเร็ว รถด่วน ครับ ส่วนรถฟรีที่มีกว่าครึ่งหน่ะ ใช้ค่าโดยสารเก่านะครับ หักลบแล้วจะเอาเงินที่ให้มาพัฒนาครับ เงินที่รัฐให้แต่ละปี จ่ายค่าซ่อมราง ซ่อมรถ เงินเดือนพนักงาน ก็หมดแล้ว แต่ละโครงการกว่าจะผ่านครมนี้กี่ปีละครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 34
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 35
เรื่องเวลานี้. รถไฟกำหนดเวลาตอนทางสมบูรณ์ปกติครับ + เวลาหลีกเวลา เมื่อก่อนไปเชียงใหม่เสียเวลาไม่เคยเกินครึ่งชม. ปัจจุบัน ช่วง นครสวรรค์ มีการเปลี่ยนสะพาน ตั้งแต่ พิษณุโลก - เชียงใหม่ เปลี่ยนหมอน เปลี่ยนรางใหม่ ช่วงโครงการเบา20-40. รถไฟไม่ได้เผื่อเวลาตรงนี้ไว้ครับกว่าจะเสร็จตามสัญญาก็ 2 ปีนฺู้นเพราะทำไปเดินรถไปด้วยไม่ได้ปิดทาง. เลยช้า 1-2 ชม บางขบวน 3-4ชมก็มี


ตอบกลับความเห็นที่ 35
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 36
พึ่งกลับมาจากเชียงใหม่เสียเวลาไปรวมๆก็6 ชั่วโมงให้ตายเถอะเลิกกิจการได้แล้วนะ


ตอบกลับความเห็นที่ 36
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 37
มุนินทร์มาละ

เพิ่งได้โผล่มา ก็ไม่มีใครจุดธูปตาม อีกทั้งไม่ได้เข้า BP มาหลายวัน

โอเคครับ ผมรู้เรื่อง Faq เพราะผมเข้าใจในเรื่อง Faq และใช้มันเป็นข้อมูลในการเดินทางบ่อย
(ถ้าย้อนไปดูกระทู้ผม....ผมไม่เคยเอ่ยเกี่ยวกับเรื่ององค์กร และ การบริหารเลยแม้แต่คำเดียวครับ)

แต่ผมไม่ใช่ผู้บริหาร ไม่ใช่นักบริหาร ฉะนั้นเรื่องบริหาร ผมไม่เข้าใจแน่นอนครับ

มีเรื่องหลายๆเรื่องที่หลายคนเข้าใจ และอีกหลายคนไม่เข้าใจ แต่ละองค์กรมันก็เหียกในส่วนของมันกันทั้งนั้น เพียงแต่ว่าจะมองมันเป็นเรื่องใหญ่และเป็นโลโก้ขององค์กรนั้นหรือเปล่า ซึ่งแน่นอน ผมรู้ในเรื่อง FAQ ไม่ได้รู้ในเรื่องบริหาร

แต่ผมว่าคำตอบหลายๆคนในนี้ก็ตอบไปแล้ว
เพียงแต่ว่า จะเชื่อ หรือไม่ก็เท่านั้นเอง

ผมก็อยากจะบอกว่า รถไฟไทยอ่ะ มันก็ไม่ได้ดีที่สุด แต่ก็ไม่ได้แย่ที่สุดเหมือนกัน ผมชอบที่"ตัวรถไฟ" แต่ผมไม่ได้ "ชอบที่ตัวองค์กร" เสียหน่อยนี่...(ผมเคยบอกตอนไหนหว่าว่ารักการรถไฟมากกกกกกกกกกกกกกกกกก)

เรื่องเวลา - เวลารถไฟคำนวนจากสูตรดังต่อไปนี้ : ระยะห่างระหว่างสถานี x 60 หาร ความเร็ว ไม่ได้เป็นการคาดเดาเวลาว่า เชียงใหม่ 12 ชั่วโมง หาดใหญ่ 20 ชั่วโมง อะไรแบบนี้

เรื่องทาง - ถนน รัฐสร้าง เรือมีของธรรมชาติ แต่รถไฟ สร้างเอง จ่ายเอง ทำเอง

เรื่องทางตัด - ถามก่อนว่าวินัยน่ะมีกันมากแค่ไหน แค่ไอ้เส้นแทยงเหลืองยังจอดทับกันสนุกสนานเลย

เรื่องการย่ำอยู่กะที่ ไม่รู้ดิ เรื่องบริหาร เรื่องสหภาพ ผมไม่รู้จริงๆ แต่เมื่อก่อน เราต้องจองตั๋วเฉพาะสถานีที่ได้รับโควต้าเท่านั้น แต่ตอนนี้จองได้ทั่วประเทศ จองทางอินเตอร์เนทได้ เมื่อก่อนรถแอร์ไม่มีมีแต่รถพัดลม เมื่อก่อนสปรินเตอร์ไม่ได้ทำเบาะใหม่ ตอนนี้ทำใหม่ (มันก็เรื่อง FAQ ล้วนๆอยู่ดี)

แค่นี้คำตอบคงชัดแล้วอ่ะครับว่า ถามแฮมมึนไป ก็ไม่ได้คำตอบอะไรมามากหรอกครับนอกจากเรื่อง FAQ

สวัสดียาม 11.15 อากาศโคตรดี

ตอบกลับความเห็นที่ 37
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 38
ช่วงทางที่กำลังเปลี่ยนราง เปลีย่นสะพาน เปลี่ยนหมอน ทำทางตัดใหม่ ขุดดิน คุ้ยหิน และทำสะพาน

สายเหนือ
- นครสวรรค์ - เชียงใหม่ (เกิน 50% ของเส้นทาง)

สายใต้
- ทุ่งสง - กันตัง
- บ้านโป่ง - หัวหิน (เปลี่ยนแต่ราง)

สายอีสาน
- แก่งคอย - บัวใหญ่ (รื้อทางทำใหม่หมดทั้งเส้น)
- ถนนจิระ - หนองคาย (รื้อทางทำใหม่บางส่วน)

ในเขตกรุงเทพ - ปริมณฑล เปลี่ยนรางจากที่จมน้ำมาเป็นเดือน

ก็เนี่ยอ่ะ ที่ผมรู้ มันทำให้รถช้ามากมายมหาศาล
คงไม่ย่ำกับที่ใช่ไหมครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 38
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 39
และคำตอบสุดท้ายของกระทู้นี้ครับ ผมจะไม่เข้ามาตอบและ เพราะเริ่มขี้เกียจตอบ เพราะบางเม้นมาสักแต่ว่าเม้น แต่ไม่อ่านอะไรเล๊ยยยยย

1. ผมเคยคุยกับพนักงานคนนึงเลย แถมติไปด้วยว่า ทำไมถึงไม่ได้กำไรจากการเดินรถโดยสารซักที (แต่รถสินค้าได้กำไร)
คำตอบที่ได้้ เล่นเสียผมอยากจะกราบงามๆเบญจางคประดิษฐ์ไปที่ล้อรถไฟเลย

"รถไฟเป็นองค์กรที่ "ไม่แสวงหาผลกำไร" เป็นการบริการเชิงสังคมที่ให้ประชาชนทุกระดับสามารถใช้บริการได้ โดยมีค่าโดยสารถูกจนน่าใจหายคือ เริ่มต้นที่ 2 บาท แต่ไม่สามารถเก็บค่าโดยสารเพิ่มได้ จึงต้องมาหาเงินจากค่าธรรมเนียม ซึ่งการเก็บแพงไปก๋็ไม่ได้ เพราะรัฐบาล และกระทรวงคมนาคมคุมอยู่ รวมถึงเงินอุดหนุนจากรัฐ รวมถึงงบประมาณต่างๆ ซึ่งแม้บางครั้งทำเรื่องขอรถจักรใหม่ไปหลายสิบปีแล้ว แต่คำตอบที่ได้จากคณะรัฐบาลทุกชุดคือ

"ยังไม่จำเป็น"

โอเค ยังไม่จำเป็น แล้วเมื่อไหร่ "รัฐถึงจะเห็นว่ามันจำเป็นซะทีวะ"

จนผ่านมา ขอรถจักรไปล่าสุด 2538 นี่จะวนมา 2558 ครบ 20 ปีแล้ว
อีฮิตาชิ อัลสธอม ยีอี แดวู ยังถูกใช้งานเป็นวัน แต่พักแค่หน่วยนาที เครื่องก็ไม่ได้ดับวิ่งออกไปอีกแล้ว เพิ่งมาจากเชียงใหม่ กรูต้องไปสุไหงโกลกต่อ

ถึงเป็นรถเบนซ์ E Class หรือ Hybrid ดีขนาดไหนก็ตายสนิทกันหมด

แถมรถจักรสภาพดีดี ก็เริ่มพังกันมั่ง Loop ไม่ทันซ่อมมั่ง "แต่ก็ต้องออกวิ่งรับใช้คน"

แถมมิหนำซ้ำไม่พอวิ่งไปวิ่งมา เจอพวกมักง่ายตัดหน้าอีก
อยากได้เครื่องกั้นนนน
พอกั้นไป แล้วเป็นไง ชนหักอีก...
มีเครื่องกัน้ อย่าคิดว่าไม่ซิกแซกนะคร้าบ เห็นตำตามาหลายรอบแล้ว

ทุกอย่างถ้าอยากให้พัฒนา มันต้องเริ่มจากคนนี่เนอะ เออ จริง ใช่

แต่ผมว่ามันน่าแปลกนะ....

"คนเราอยากได้วัตถุที่เจริญ ที่ก้าวหน้า และตอบสนองความต้องการของตัวเอง
แต่ไม่มีใครอยากได้ความเจริญทางจิตใจ ความคิด และไม่เอาเปรียบคนอื่น"

มั่งเลย

ปล. ผมบอกชัดแล้วนะครับ
ผมรัก "Hardware มิใช่ Software

ปล.2 บางคนกดลิงค์มาแล้วเม้นอย่างเดียว โดยไม่อ่านที่เค้าตอบวนกันไป 3-4 รอบเนี่ย....อ่านหน่อยก็ดีนะครับ

ปล.3 ที่ตอบมาด้านบน ไม่ได้ตอบแบบใช้อารมณ์ วันนี้ยิ้มแย้มและอารมณ์ดีที่ซู้ดดดดดดด ควรฟังเสียงมากกว่าอ่าน แหะๆ

ตอบกลับความเห็นที่ 39
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 40
ผมว่าเราควรมองถึงรัฐบาลดีกว่าไหมแต่ถ้าพูดไป เดี๋ยวคงต้องมีคนบอกผมโพสผิดกลุ่ม

สรุป รถไฟไทย ไม่มีรัฐบาลยุคไหนๆให้การดูแล และสนับสนุนอย่างจริงจัง

ผมอยากให้เลิก นโยบายประชานิยมเสียที
ไอ้นู้นฟรี ไอ้นั้นฟรี ไอ้รถคันแรกเนี่ย มันก็ทำให้บริษัทผมมีรถป้ายแดงเพิ่มขึ้นอีก เป็นสิบคัน ถนนไม่พอวิ่ง รถติด หันมาสนันสนุน ระบบขนส่งมวลชนบ้างนะครับ รถเมล์ รถไฟ มันไม่ต่างกันครับ ย่ำแย่ เพราะใคร.....

ส่วนข้อคิดเห็นอื่นๆ ไม่มีแล้วครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 40
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 41
อัตราส่วนรถไฟฟรี : รถไฟเสียเงิน
70 : 30 ครับ

และล่าสุด รถไฟเสียเงิน ได้ยกเลิกวิ่งไปแล้วอีก 6 ขบวน (เป็นสปรินเตอร์ไป 2)

บางสถานีที่มีรถไฟฟรีจอดอย่างเดียว ไม่มีรายได้อะไรเลย แถวค่าไฟเดือนละเป็นหมื่น
ไม่ใช่แค่ไฟสถานีอย่างเดียว
สัญญาณไฟ
สัญญาณโคมตะเกียง
ระบบการเดินรถ
เครื่องระบบอาณัติสัญญาณจำลอง


ตอบกลับความเห็นที่ 41
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 42
ขอบคุณคุณแฮมมึนมากครับที่เข้ามาตอบ ผมก็เป็นคนรักรถไฟคนนึงเหมือนกัน รู้สึกเห็นใจการรถไฟเป็นอย่างยิ่งที่เวลาจะทำอะไรก็ต้องมีอุปสรรคและปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้องเต็มไปหมด ไม่รู้ว่าเมื่อไรคนอื่นๆ เขาจะเข้าใจและเห็นถึงความยากลำบากของรถไฟเหมือนคนที่รักรถไฟอย่างเราๆ สักทีนะครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 42
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 43
อ่าน คห.ที่ 39ของคุณ แฮมมึน แอบสงสารหัวรถจักรอยู่บ้างไม่น้อยเลย ถ้ามันมีชีวิต มันคงบอกว่า "ฉันเหนื่อยจะตายอยู่แล้ว ให้ฉันพักนาน ๆ หน่อย ดับเครื่องฉันบ้างก็ได้เวลาจอดที่สถานีปลายทางพักซับแปบหนึ่งก็ยังดี เธอใช้ฉันบางที่เกือบ 24 ชั่วโมง ฉันก็น็อค/แฮ้งเป็นนะ แต่ฉันไม่อยากเป็นอย่างนั้น ฉันอยากพาทุกท่านไปยังจุดหมายที่ต้องการและตรงเวลา"


ตอบกลับความเห็นที่ 43
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 44
คนไม่รู้ย่อมไม่ผิดครับ

แต่คนที่ได้คำตอบไปแล้วและยังทำเป็นไม่รู้อีก

อันนั้นค่อยว่ากันอีกทีครับ

เห็นโจทย์คณิตศาสตร์ ไม่เข้าใจ ก็ต้องเรียนรู้มัน
ฉันใด ก็ฉันนั้น


ตอบกลับความเห็นที่ 44