บูมจุดขาย "ทัวร์มรดกโลก" ดัน‘สุโขทัย’ศูนย์กลางอาเซียน

อพท.โหนกระแสท่องเที่ยววิถีชีวิตชุมชน ยก "สุโขทัย" ชิงศูนย์กลางท่องเที่ยวมรดกโลก หลังข้อมูลระบุ นักท่องเที่ยวต้องการเที่ยวมรดกโลกอาเซียน

พันเอก ดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. กล่าวว่า ได้เตรียมต่อยอดแนวทางการพัฒนาพื้นที่พิเศษ

จากข้อมูลองค์การการท่องเที่ยวโลก หรือ UNWTO ที่ระบุว่าในปี 2554 นักท่องเที่ยวต่างภูมิภาคกว่า 32% หรือคิดเป็น 25 ล้านคน จากจำนวนทั้งหมด 77.1 ล้านคนที่เข้ามาเยือนอาเซียน ต้องการเดินทางมาเยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นมรดกโลก ทำให้ อพท. เตรียมใช้โอกาสผลักดันให้พื้นที่จังหวัดสุโขทัย ซึ่งยูเนสโกรับรองให้เป็นมรดกโลก ให้เป็นศูนย์กลางเมืองมรดกโลกแห่งอาเซียน โดยกำหนดแผนงานระยะ 5 ปี (2556-2550) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น

ภายใต้แนวทางนี้ สุโขทัย จะเป็นจุดหลักสำหรับการท่องเที่ยวแหล่งมรดกโลก ก่อนที่จะเชื่อมโยงการเดินทางไปยังแหล่งมรดกโลกอื่นๆ ในอาเซียน โดยพื้นที่หลักที่วางไว้ ได้แก่ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร ในขั้นตอนการทำงานจากนี้ อพท. จะประสานงานกับรัฐบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อบูรณาการความร่วมมือด้านการจัดระบบเส้นทางคมนาคม ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้สุโขทัยเป็นศูนย์กลางได้อย่างแท้จริง

อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า ปัจจุบันการเดินทางเข้าถึงสุโขทัยยังมีช่องทางที่จำกัด เฉพาะทางรถยนต์และทางเครื่องบิน ดังนั้น จึงนำเสนอต่อกระทรวงคมนาคมให้พิจารณาขยายเส้นทางรถไฟความเร็วสูงให้ผ่านจังหวัดสุโขทัยด้วย จากเดิมที่จะตัดผ่านจังหวัดพิษณุโลกเท่านั้น

นอกจากนี้ ยังเตรียมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการบิน ให้ส่งเสริมเส้นทางการบินจากจังหวัดสุโขทัย เชื่อมไปยังเมืองมรดกโลกอื่นๆ ในอาเซียน เช่น เมืองเว้ เมืองฮอยอัน ในเวียดนาม นครวัด-นครธม ในกัมพูชา เมืองหลวงพระบาง และ ปราสาทหินวัดพู ในเมืองจำปาสัก ประเทศลาว ทะเลเจดีย์พุกาม ในพม่า กลุ่มวัดบรมพุทโธ และวัดพรัมบานัน ในอินโดนีเซีย เมืองมะละกา ในมาเลเซีย และเมืองวีกัน ในฟิลิปปินส์

ทั้งนี้ การพัฒนาสุโขทัยเป็นศูนย์กลางได้นั้น จะทำให้มีแม่เหล็กในการดึงดูดนักท่องเที่ยวคุณภาพ โดยเฉพาะจากกลุ่มท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ที่นับเป็นกลุ่มเป้าหมายคุณภาพ มีระยะพำนักเฉลี่ยนานวัน ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยสูงกว่านักท่องเที่ยวทั่วไป และชุมชนเองจะได้ประโยชน์ในการรักษาเอกลักษณ์ท้องถิ่น

UNWTO ยังระบุด้วยว่า จากนักท่องเที่ยวนอกภูมิภาค 77.1 ล้านคนที่เข้ามาอาเซียน ไทยยังครองส่วนแบ่งในระดับสูงที่ 19.23 ล้านคน จึงพิจารณาแล้วว่าการผลักดัน สุโขทัย ให้มีจุดยืนเข้มแข็งชัดเจนเป็นเรื่องที่ไม่ยากเกินไปนัก แต่ทั้งนี้ต้องมีเครือข่ายการคมนาคมที่ดีสนับสนุนให้เกิดการเชื่อมต่อ สู่เป้าหมายการเป็น Single Destination ของอาเซียนที่แท้จริงได้

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ความคิดเห็นที่ 1
ประเทศเรา มันจะเป็นศูนย์กลางทุกอย่างเลยหรือเปล่าครับ
ประกาศเป็นศูนย์กลางจักวาลไปเลยสิ.....
...
...
...
ทั้งๆที่จริงๆไม่พร้อมซักกะอย่าง


ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
เห็นด้วยกับ คห.ข้างบนค่ะ เฮ้อ...ขนาดรถไฟยังมาไม่ตรงเวลาเลย

ถ้าพัฒนาการคมนาคมได้ ทำให้การท่องเที่ยวสะดวกขึ้น จะดีกว่าไหมคะ ???

นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ จะได้มาเที่ยวกันเยอะๆ


ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
งงว่าทำไมเพิ่งมาทำตอนนี้ อืม..แต่ก็ยังดีกว่าไม่ทำเลยนะ


ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
แก้ปัญหาน้ำท่วมก่อนมั้ย
รึเที่ยวแบบใหม่ ล่องเรือชมวัด ผมว่าเก๋ดีนะ


ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
อย่าเลย เก็บป่าไม้ไว้สักจังหวัดหนึ่งเถอะ รอบ ๆ จะเหี้ยนหมดแล้ว


ตอบกลับความเห็นที่ 5