ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับประชาชนชาวกัมพูชา ในความสูญเสียอันยิ่งใหญ่นี้

จริงๆแล้ว ไม่ว่าเรื่องราวในอดีตจะเป็นอย่างไร ผมก็รู้สึกใจหาย และเสียใจต่อการ
เสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ อย่างมาก

ในฐานะกษัตริย์ของกัมพูชา ประเทศเพื่อนบ้าน และเป็นศุนย์รวมจิตใจของประชาชนกัมพูชา ที่ประเทศต้องฟันฝ่าวิกฤติของชาติ และความลำบากยากแค้นอย่างแสนสาหัสมาตั้งแต่อดีต

ผมยังจำภาพในทีวีขาว-ดำ สมัยผมยังเด็กมากๆได้อยู่เลยครับ ภาพที่เห็นพระองค์ท่านทรงพนมมือไหว้ประชาชนของพระองค์ทุกครั้งที่เสด็จพระราชดำเนินไปตามที่ต่างๆ
ภาพที่ประชานร้องไห้เรียกหาพระองค์ท่าน ยังจำได้มิลืมเลยครับ

ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับประชาชนชาวกัมพูชา ในความสูญเสียอันยิ่งใหญ่นี้ และขอให้เป็นกำลังใจในการดำเนินชีวิตต่อไปภาคหน้าครับ

ปล. ไม่ทราบว่าจะไปเขียนลงที่ไหนดี ขออนุญาตลงไว้ในนี้ก่อนแล้วกันนะครับ

ความคิดเห็นที่ 1
พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นโรดม สีหนุ (เขมร: នរោត្ដម សីហនុ; นโรตฺฎม สีหนุ ออกเสียง โนโรด็อม สีหนุ) (31 ตุลาคม พ.ศ. 2465 — 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555) อดีตพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรกัมพูชาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2484 - 2498 และ พ.ศ. 2536 - 2547 โดยการสละราชบัลลังก์ให้แก่พระราชโอรส นโรดม สีหมุนี โดยปัจจุบันพระองค์อยู่ในฐานะพระมหาวีรกษัตริย์ (พระวรราชบิดา)

ทรงเป็นกษัตริย์แห่งกัมพูชา ประมุขแห่งรัฐกัมพูชา และนายกรัฐมนตรีแห่งกัมพูชาหลายสมัย กระทั่งบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ได้บันทึกไว้ว่า พระองค์ทรงเป็นนักการเมือง ที่ทรงดำรงตำแหน่งทางการเมืองมากมายที่สุดในโลก (the world's greatest variety of political offices) กล่าวคือ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ 2 สมัย ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ (ดำรงตำแหน่งกษัตริย์โดยไม่ได้รับการบรมราชาภิเษก) 2 สมัย ประธานาธิบดี 1 สมัย นายกรัฐมนตรี 2 สมัย และประมุขแห่งรัฐของรัฐบาลพลัดถิ่นของพระองค์เองอีก 1 สมัย


ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
พระราชประวัติ

พระองค์เสด็จพระราชสมภพเมี่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2465 ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต และสมเด็จพระมหากษัตริยานีสีสุวัตถิ์ กุสุมะ นารีรัตน์ สิริวัฒนา เสด็จขึ้นครองราชสมบัติครั้งแรกเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2484 หลังจากพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ (พระอัยกา (ตา) เป็นพระราชบิดาของสมเด็จพระราชินีกุสุมะ พระราชมารดา) สวรรคต ทำให้การสืบราชสันตติวงศ์ของกัมพูชากลับมายังสายของสมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์ หรือนักองราชาวดีอีกครั้งหนึ่ง

แม้จะมีการกล่าวกันว่าฝรั่งเศสมีปัจจัยในการเลือกพระองค์ขึ้นครองราชย์ อันเนื่องมาจากพระองค์ได้สืบเชื้อสายจากสองราชสกุล คือ นโรดมจากพระบิดา และสีสุวัตถิ์จากพระมารดา เมื่อเลือกพระองค์เป็นกษัตริย์ก็ถือเป็นการประนีประนอมแก่ทั้งสองราชสกุล และพระองค์ก็ใช้เหตุผลนี้อ้างเช่นกัน แต่ข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง เพราะมีเชื้อพระวงศ์อีกหลายพระองค์ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากทั้งสองราชสกุล และอยู่ใกล้การสืบสันตติวงศ์มากกว่าพระองค์ด้วยซ้ำ นอกจากนี้ เมื่อนับพระญาติทางฝ่ายพระบิดานั้น พระองค์นับเป็นพระญาติชั้นที่ 3 ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวของสยาม

ต้นรัชกาล ผู้ที่ทรงอำนาจเหนือกว่าพระองค์กลับเป็น ออกญาวังวรเวียงชัย (จวน) เสนาบดีผู้ภักดีต่อการปกครองของฝรั่งเศส พระองค์เคยกล่าวถึงเขาว่า " ราชาองค์น้อย ๆ อย่างแท้จริง ทรงอำนาจดุจเรสิดังสุเปริเออร์ [Residents-Supérieur]" แต่เขาก็พ้นจากตำแหน่งหลังการครองราชย์ของพระองค์ ซึ่งเป็นเครื่องหมายที่ฝรั่งเศสเอาใจยุวกษัตริย์พระองค์ใหม่ แม้ฝรั่งเศสจะเหลือขุนนางที่ภักดีต่อตนบ้าง เช่น จวน ฮล บุตรของออกญาวังวรเวียงชัย แต่ก็ไม่ทรงอิทธิพลเท่าบิดา

ต่อมา ทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2498 ให้แก่พระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต พระราชบิดา เพื่อทรงดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็น นายกรัฐมนตรี ของประเทศกัมพูชา

หลังจากพระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต พระราชบิดาสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 2503 ทรงดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ ของกัมพูชา โดยไม่ได้ประกอบพิธีราชาภิเษก จนกระทั่งถูกปลดออกจากตำแหน่ง โดยนายพลลอน นอล

หลังจากความวุ่นวายทางการเมืองหลายปี เมื่อมีการสถาปนาราชอาณาจักรกัมพูชาขึ้นมาใหม่ ทรงครองราชสมบัติครั้งที่สองเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2536 ทรงสละราชสมบัติเมี่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ขณะทรงมีพระชนมพรรษา 82 พรรษา และทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็น "พระมหาวีรกษัตริย์ พระวรราชบิดา เอกราช บูรณภาพดินแดน และความเป็นเอกภาพแห่งชาติเขมร"

พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ด้วยพระโรคมะเร็งลำไส้, เบาหวาน และโรคเครียด พระชนมพรรษา 90 พรรษา


ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
จาก China Radio International.CRI

พระราชประวัติอันยิ่งใหญ่ของสมเด็จพระนโรดม สีหนุ อดีตพระมหากษัตริย์แห่งกัมพูชา

2012-10-15 12:31:38 cri

สมเด็จพระนโรดม สีหนุเป็นหนึ่งในพระมหากษัตริย์ที่ทรงครองราชย์เป็นเวลานานที่สุดในเอเชีย และเป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดแห่งประเทศโลกที่สาม พระองค์ทรงผ่านชีวิตมากมายทรงเป็นที่เคารพรักของประชาชนชาวกัมพูชาอย่างสุดซึ้ง
สมเด็จพระนโรดม สีหนุเสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 31 เดือนตุลาคมปี 1922 ที่กรุงพนมเปญ สืบเชื้อสายจากสองราชสกุล ได้แก่ พระวงศ์นโรม กับ พระวงศ์สีสุวัตถิ์ ทรงเป็นพระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต และสมเด็จพระมหากษัตริยานีสีสุวัตถิ์ กุสุมะ นารีรัตน์ สิริวัฒนา และทรงขึ้นครองราชสมบัติเมื่อเดือนเมษายนปี 1941

ช่วงระหว่างปี 1952-1953 สมเด็จพระนโรดม สีหนุในนามแห่งของกษัตริย์กัมพูชา ทรงเรียกร้องความเป็นเอกราชจากประเทศฝรั่งเศส ส่งผลให้กัมพูชาเป็นประเทศเอกราชอย่างสมบูรณ์ในวันที่ 9 พฤศจิกายนปี 1953

เมื่อเดือนมีนาคมปี 1970 กลุ่มนายพลลอน นอลก่อรัฐประหาร ทำให้สมเด็จพระนโรดม สีหนุต้องเสด็จไปพำนักที่กรุงปักกิ่ง และได้รับการปฏิบัติอย่างสมพระเกียรติจากนายเหมา เจ๋อตง นายเติ้ง เสี่ยวผิง และผู้นำคนอื่นๆ ของจีน จากนั้น พระองค์ทรงจัดตั้งแนวร่วมเพื่อเอกภาพแห่งชาติกัมพูชาและทรงเป็นผู้นำแนวร่วมฯ ต่อสู้เพื่อการปลดปล่อยกัมพูชาจนได้รับชัยชนะ ช่วงปี 1975-1979 สมัยเขมรแดงนั้น พระองค์ทรงเป็นประมุขแห่งชาติในนามเท่านั้น ทรงถูกกักบริเวณในพระมหาราชวังพร้อมกับพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์

หลังจากเวียดนามรุกรานกัมพูชาเมื่อปี 1979 สมเด็จพระนโรดม สีหนุทรงจัดตั้งแนวร่วมเพื่อความเป็นเอกราช เป็นกลาง สันติภาพ และความปรองดองแห่งชาติ และทรงเป็นผู้นำสงครามต่อต้านเวียดนาม จนกระทั่งเมื่อเดือนตุลาคมปี 1991 พระองค์ทรงนำคณะสภาสูงสุดแห่งชาติกัมพูชาเข้าร่วมการประชุมปารีส และทรงร่วมลงนามข้อตกลงต่างๆ ว่าด้วยการยุติสงครามกลางเมืองในกัมพูชาด้วยวิถีทางการเมืองทุกด้าน นั่นคือ "ข้อตกลงสันติภาพปารีส"

เมื่อเดือนกันยายนปี 1993 กัมพูชาประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งมีการบัญญัติให้ฟื้นฟูระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตรยิ์เป็นประมุข จากนั้น สมเด็จพระนโรดม สีหนุทรงได้รับการถวายตำแหน่งเป็นพระมหากษัตริย์และเป็นประมุขแห่งชาติตลอดชีพ ต่อมาเมื่อวันที่ 6 ตุลาคมปี 2004 พระองค์ทรงประกาศถึงพี่น้องร่วมชาติ โดยระบุว่า เนื่องด้วยวัยชราและโรคชราหลายอย่าง พระองค์ทรงตัดสินพระราชหฤทัยสละพระราชสมบัติ และเมื่อวันที่ 14 เดือนตุลาคมปี 2004 มีการถวายตำแหน่งแด่สมเด็จพระนโรดม สีหมุนี ให้เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ต่อไป

สมเด็จพระนโรดม สีหนุทรงมุ่งมั่นส่งเสริมมิตรภาพกัมพูชา-จีนเป็นเวลายาวนาน เคยพระราชทานทรัพย์สินส่วนพระองค์แก่พื้นที่ประสบภัยธรรมชาติของจีนหลายครั้ง


ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
ขอพระองค์เสด็จสู่สวรรค์คาลัย


ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
ขอแสดงความอาลัยครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 5