ถ้าสเปนเจอวิกฤตศก.ปีหน้า ค่าเงินยูโรจะลดหรือไม่

ถ้าลด จะแค่ไหน

ความคิดเห็นที่ 1
ทำไมใช้คำว่าถ้า? ทุกวันนี้สเปนกับกรีกก็วิกฤตที่สุดแล้วนะ เหอๆ


ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
ผมว่าไม่ลดลงกว่านี้หรอก เพราะฝรั่งเศส เยอรมัน และประเทศอื่นๆคงไม่ยอม
กับศก ไทยก้อไม่ไปไหนมาไหน เผลอ ลงไปพร้อมๆกันนั้นและ เค้าลด เราก้อลด เลยแพงเท่าเดิม อิอิ


ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
ไม่ต้องรอถึงปีหน้าแล้วค่ะ ตอนนี้ก็เหลือยูโรละ 38-39 บาทเอง :P


ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
ถ้ารู้ ก็รวยกันหมดล่ะครับ เอาไปทำกำไรกันสนุกเลย..

ไม่มีใครรู้ว่าประชาคมยุโรปจะทำอะไรกันมั่งหรอกครับ

คำถามเหมือนกับถามว่า หุ้นตัวไหนจะขึ้น ขึ้นเท่าไร


ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
ที่ คห 4 บอกนั้นถูกต้องอย่างยิ่งเลยครับ ในรายการสัมภาษณ์เกี่ยวกับเศรษฐกิจของช่อง Euronews เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นการสัมภาษณ์ที่ปรึกษาทางด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลอเมริกัน ชื่ออะไรผมไม่ได้ดูอย่างจดจำ เพียงแต่ดูหน้าที่ที่รับผิดชอบเป็นสำคัญ คุยกันเรื่องภาวะวิกฤตเศรษฐกิจในยุโรปโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยูโรโซน คำถามสุดท้ายถามคล้ายๆ จขกท คือ สภาวะวิกฤตนี้จะเป็นไปในทิศทางใดและจะแนะนำวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร? ผู้เชี่ยวชาญท่านนี้ตอบคล้ายๆ คห 4 คือ

ไม่มีใครสามารถรู้และบอกถึงอนาคตได้ว่าสถานะการณ์จะออกมาเป็นรูปใด ถ้าบุคคลนั้นสามารถทำนายได้ถูกต้องก็จะได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาตร์โดยทันที

แม้แต่ในกลุ่มประเทศยุโรปเองผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายแหล่ต่างก็ถกเถียงและนำเสนอทฤษฏีของแต่ละคน จนประชาชนเองก็สับสนกันไปหมดไม่รู้จะเชื่อใครดี เพราะไม่ว่าจะเป็นทฤษฏีไหนก็ตามไม่มีใครกล้าการันตีได้ว่า ผลลัพธ์ที่ออกมาจะเป็นไปตามนั้น มิฉะนั้นแล้วปัญหาก็คงจะแก้ได้ไปเสียนานแล้ว

ขณะนี้ทฤษฏีหลักๆ ก็มีตั้งแต่ กรีซจะต้องลาออกไปจากยูโรโซน ซึ่งถ้าเกิดขึ้นจริงความเสียหายต่อเศรษฐกิจโดยรวมไม่น่าจะเป็นปัญหาเพราะเศรษฐกิจกรีซเป็นเพียงส่วนแค่ 2% ของ GDP กลุ่มยูโรโซน ที่เสียหายโดยตรงคือธนาคารทั้งหลายที่ไปลงทุนซื้อพันธบัตรหนี้เพื่อเก็งกำไรดอกเบี้ยสูงลิ่วเอาไว้ มากที่สุดคือการลงทุนโดยธนาคารของฝรั่งเศส และตามมาด้วเยอรมนี ซึ่งธนาคารเหล่านี้เตรียมรับเมือสำหรับหนี้สูญไว้พร้อมเพรียงแล้ว

ทฤษฏีต่อไปคือ การแยกสกุลเงินออกเป็น 2 โซนตามกำลังเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ นั่นคือเงินยูโรสำหรับกลุ่มประเทศยุโรปเหนือที่เศรษฐกิจแข็งแรงนำโดย เยอรมนี ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ ออสเตรีย ฟินแลนด์ ลักซัมบวรก์ เบลเยี่ยม อีกโซนหนึ่งคือกลุ่มประเทศยุโรปใต้ได้แก่ อิตาลี สเปญ โปรตุเกส และ กรีซ ไซปรัส

และทฤษฏีที่เมื่อก่อนไม่เคยมีใครกล้าพูดถึงแต่ตอนนี้มีการกล่าวถึงต่อสาธารณะมากขึ้นเรื่อยๆ คือ เยอรมนีเป็นผู้ออกจากยูโรโซนเสียเอง ซึ่งผลตามมานั้นจะทำให้เงินยูโรตกฮวบฮาบสูญเสียความสำคัญในตลาดการเงินโลกทันที สำหรับเยอรมนีเองนั้นจะกลับไปใช้เงินสกุลมาร์คตามเดิมซึ่งเป็นสกลุลเงินที่มีค่าแข็งที่สุดสกุลเงินหนึ่งก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นเงินยูโร ทฤษฏีนี้ดูเหมือนเป็นทางเลือกที่เป็นไปได้น้อยที่สุดเพราะเท่ากับเป็นการสละเรือเอาตัวรอด ปล่อยให้คนอยู่ข้างหลังจมไปกับเรือพร้อมกันทั้งลำ แต่ใครจะรู้อนาคตได้ถ้าในทางกลับกันทางเลือกนี้ทำให้ประเทศอื่นรอดหายนะได้ ก็น่าจะทำ

ยังมีอีกหลายทฤษฏีแต่จะเป็นการลงรายละเอียดเชิงวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์เกินไป

ตอบกลับความเห็นที่ 5
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 6
จริงๆการพยากรณ์อัตราแลกเปลี่ยนนั้นมีทำกันทั่วไปนะคะ
องค์กรใหญ่ๆ, บริษัท forecast ทั้งหลาย, คนที่ทำ forecast GDP ของ eurozone ก็ต้องพยากรณ์แนวโน้มอัตราแลกเปลี่ยน
แต่คงไม่มีใครออกมาบอกว่าจะเป็นยังไง (ทิศทางพอไหว เท่าไหร่นี่ อืมมม ถ้าใครบอกเรา เราก็คงไม่เชื่ออ่ะ) เพราะ error ค่อนข้าง สูง
(แต่ที่ต้องมีเพราะเป็นตัวแปลนึงที่ต้องใส่เวลาพยากรณ์ GDP ในหลาย model)

ทำไมถึงพยากรณ์ยาก
เพราะอัตราแลกเปลี่ยนนั้นไม่ได้ขึ้นกับปัจจัย absolute (เช่นสภาวะเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ) เพียงอย่างเดียว
แต่ขึ้นกับ relative ด้วย
นั่นคือเทียบกับประเทศอื่นแล้วเป็นยังไง
ถึงยูโรจะแย่ แต่ถ้าอยู่ๆมีอะไรเกิดขึ้นกับอเมริกา หรือญี่ปุ่น เงินยูโรก็อาจจะแข็งขึ้นได้
และปัจจัยที่พยากรณ์ยากที่สุด คือการตอบสนองของนักลงทุน ต่อปัจจัยทั้งสองนั้น

จะพยากรณ์ได้ ก็ต้องพยากรณ์ทั้ง 3 อย่างนี้ได้
ซึ่งเป็นอะไรที่ยาก

ทั้งนี้ทั้งนั้น เงินตราหลักๆ เค้าไม่ค่อย manipulate กันแล้วนะคะ
เงินจะแข็ง/อ่อน ก็ขึ้นกับ demand/supply
แต่นโยบายการเงิน และการคลัง บางครั้งก็มีผลกับ อัตราแลกเปลี่ยน ก็ผ่าน demand/supply นี่แหละค่ะ

เรื่องปัญหายูโรคงแก้ไม่ได้ในเร็วๆนี้
เพราะเท่าที่เห็น ดูเหมือน eurozone ไม่มีระบบเตะออก
ถ้ากรีซจะออก นั่นคือกรีซออกไปเอง ซึ่งกรีซไม่ทำแน่ๆ
เพราะมีแต่เสียกับเสีย

ประเทศอื่นก็คงไม่อยาก
เพราะการที่กรีซออกจากยูโร จะมีผลกว้าง
กว้างยังไง

ถ้ากรีซออก แต่ประเทศอื่นยังอยู่ในยูโร
ปัญหาเรื่องธนาคารถือหนี้กรีซอยู่นั้นเป็นแค่ปัญหาเล็กๆ
เพราะถึงกรีซจะเป็นปัญหาหลัก แต่อย่างที่เคยตอบไปก่อนหน้านี้ ว่าขนาดเศรษฐกิจกรีซนั้นนิดเดียว
แล้วหนี้ที่มีอยู่ก็ได้ write down ไปแล้วครึ่งนึงเมื่อปี 2011
เพราะฉนั้นตอนนี้จริงๆหนี้กรีซเหลืออยู่ไม่เยอะมากแล้ว (แต่เธอยัง run deficit นั่นแปลว่าเธอต้องสร้างหนี้ต่อไป นั่นแหละคือปัญหา)

แต่ปัญหาใหญ่คือมันจะทำให้ความเชื่อมั่นในระบบยูโรหมดไป
ประเทศอื่นอย่าง Italy, Spain, Portugal อาจมีปัญหาในการกู้เงิน
เพราะนักลงทุนอาจหมดความเชื่อมั่น จนไม่อยากซื้อพันธบัตร Italy
ซึ่งตรงนี้แหละเป็นปัญหาใหญ่
เพราะ Italy คนเดียวก็มีหนี้เกือบๆ trillion euro แล้ว(ถ้าจำไม่ผิดกรีซเคยมีหนี้ประมาณ €400-500 billion, ตอนนี้น่าจะเหลือ ไม่ถึง €250 billion)
ถ้า Italy มีปัญหา Spain กับ Portugal ก็จะตามมา
แล้วก็อาจจะพาลโดนไปถึงประเทศที่พื้นฐานจริงๆแล้วโอเค แต่ต้องกู้

ถ้าเป็นแบบนี้ ยูโรอยู่ไม่ได้แน่ๆ เพราะไม่มีทรัพยากรพอที่จะอุดรูนี้แล้ว
ระบบการเงินก็จะตัน (อาจจะไม่ถึงกับล่ม เพราะยังมีแบงค์ที่มี capital พออยู่ แต่ปัญหาคือนักลงทุนอาจจะแยกแบงค์ดีออกจากไม่ดีไม่ได้)
เพราะธนาคารถือหนี้นี้ไว้
ในขณะเดียวกันยูโรก็ไม่มีความหมาย
แล้วจะ value หนี้พวกนี้ยังไง
(นึกถึงตอนที่ธนาคารอเมริกานั่งอยู่บนกอง mortgage back securities ที่ตัวเองก็ไม่แน่ใจว่ามันมีมูลค่าเท่าไหร่)
ระบบการเงินยุโรปก็จะคล้ายๆระบบการเงินอเมริกาช่วงเริ่ม crisis

ถ้ายูโรแตกก็จะยิ่งแย่
มองง่ายๆอาจจะดูเหมือนเยอรมันจะได้ประโยชน์
แต่จริงๆแล้วไม่ใช่ซะทีเดียว
เพราะถ้าทุกคนกลับไปใช้เงินตราตัวเอง
deutschmark จะ super strong
คือจะแข็งมากกกก ซึ่งจะเป็นผลเสียกับเศรษฐกิจเยอรมัน เพราะส่งออกก็คงลดฮวบฮาบ (แต่ระยะยาวน่าจะดีกว่ามั้ง)

เราว่ายูโรคงอยู่เหมือนเดิม
ไม่ใช่เพราะมันดี
แต่เพราะแยกแล้วมันเสียมากกว่า

ปล. เราไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญอะไรทั้งสิ้น
เขียนจากความรู้ที่พอมี จากการที่ต้องติดตามเรื่องนี้อยู่พอสมควร
ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ได้หมายความว่าสิ่งที่เราเขียนถูกหมดนะคะ


ตอบกลับความเห็นที่ 6
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 7
คุณ 2 Cent เขียนออกความเห็นมาก็ดีครับ ดีเสียอีกที่มีคนนอกยุโรปสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ ที่คุณวิเคราะห์เกี่ยวกับวิกฤตยูโรตามที่คุณเข้าใจนั้น เป็นเพราะคุณคงได้ข้อมูลมาจากทางอเมริกา ไว้ผมจะมาขยายความต่อพรุ่งนี้นะครับตามหัวข้อที่คุณตั้งประเด็นมาเลย เวลาของเรากลับกลางวันกลางคืนกันอยู่ผมเลยขี้กียจถ่างตา เอ้อ แล้วที่คุณบอกว่าพยากรณ์ค่าเงินไม่เห็นยาก ก็น่าจะกรุณาให้คำแนะนำ จขกท เขาเสียหน่อยว่ายูโรในอนาคตจะขึ้นจะลงเท่าไหร่ ผมเองก็จะได้รู้บ้าง ขอบคุณล่วงหน้านะครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 7
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 8
K. Bagheera

"แล้วที่คุณบอกว่าพยากรณ์ค่าเงินไม่เห็นยาก ก็น่าจะกรุณาให้คำแนะนำ จขกท เขาเสียหน่อยว่ายูโรในอนาคตจะขึ้นจะลงเท่าไหร่ ผมเองก็จะได้รู้บ้าง ขอบคุณล่วงหน้านะครับ"

เราว่าเราอธิบายว่าพยากรณ์ค่าเงินนั้นยากนะคะ
ตรงใหนที่บอกว่าไม่ยาก
เราคงเขียนไม่เข้าใจ

เราอยู่อเมริกาก็จริง แต่หาความรู้จากทุกแหล่งค่ะ (รวมทั้งจากคุณด้วย)
รออ่านนะคะ


ตอบกลับความเห็นที่ 8
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 9
เนี่ยะ ผมจะกลับมาขอโทษคุณอยุ่พอดีว่า ผมเข้าใจคำอธิบายคุณผิดหรือจะพูดให้ถูกต้องแล้วคือ ผมอ่านผิด!! เพิ่งมารู้อีกทีตอนที่ต้องอ่านข้อความคุณอีกครั้งเพื่อเอาประเด็นเพื่อจะตอบนี่แหละครับว่า ตอนแรกผมอ่านแบบลวกๆ ไปจริง

เอาเป็นว่าเราเข้าใจเรื่องการพยากรณ์ค่าเงินนั้นทำได้ยากเพราะปัจจัยหลากหลาย ลำพังเฉพาะแค่ปัญหาภาวะเศรษฐกิจของประเทศเจ้าของสกุลเงินก็เป็นปัจจัยหลักแล้วที่กำหนดค่าเงิน เพราะไปกระทบกับ demand-supply ในตลาดลงทุนการเงินโตยตรง

ทีนี้มาคุยกันเรื่องสภาพวิกฤตในยูโรโซน ผมไล่ตามที่คุณ 2 Cents ตั้งประเด็นมาเลยแล้วกันครับ

การออกไปของกรีซจากยูโรโซนนั้น ความเป็นได้สูงขึ้นเรื่อยๆ ตามระยะเวลาที่ผ่านไปพร้อมกับสภาวะวิกฤตหนี้ของกรีซยิ่งเขม็งเกลียวขึ้นเรื่อยๆ หนี้ของกรีซถูกลดลงจริงอย่างที่คุณบอกคือจากเดิม 355.6 พ้นล้านยูโร ณ จุดสูงสุดปี 2011 ลดลงเหลือ 280.4 ณ ปัจจุบันหลังจากที่สถาบันเจ้าหนี้ทั้งหมดพร้อมใจกันลดหนี้ให้กร๊ซลงราว 60%

การจะแก้ปัญหาหนี้ได้นั้นปัจจัยสำคัญคือ ประเทศต้องสร้างรายได้ที่วัดโดย GDP การใช้หนี้เก่าโดยการกู้เงินใหม่ด้วยดอกเบี้ยสูงยิ่งทำให้กรีซจมหนี้ลืกลงไปเรื่อย แม้แต่เงินช่วยเหลือ bail out จากสถาบันหลัก ในที่นี้คือ EU, IMF, และ ECB ก็เป็นหนี้ที่จะต้องจ่ายคืนเหมือนกันเพียงแต่ดอกเบี้ยต่ำสุดและระยะเวลาการใช้หนี้ยาวกว่าปกติเมื่อเทียบกับการต้องไปกู้จากสถาบันการเงินในตลาดเสรี ปัญหาของกรีซจริงๆ แล้วคือ ไม่สามารถทำให้ผลผลิตในประเทศเกิดขึ้นได้นั่นคือ GDP ยังคงติดลบหรืออยู่ในสภาวะถดถอยมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อกรีซต้องรับการ bail out จากสถาบันการเงินทั้ง 3 นั้นมีการคาดการณ์กันว่า GDP ของกร๊ซจะเติบโตได้อีกในปี 2014 และภายในปี 2020 กรีซจะสามารถลดหนี้สาธารณะที่สูงถึง 120% ขณะนี้ให้อยู่ภายใต้กฏอียูคือ 3% ได้

แต่ผลปรากฏว่าทุกครั้งที่คณะตัวแทนจากสถาบันการเงินทั้ง 3 หรือที่เรียกย่อๆ ว่า Troika เข้าไปตรวจสอบผลความก้าวหน้า พบว่าไม่มีความคืบหน้าใดๆ ในทางบวกเลย ตัวเลขที่กำหนดว่ากรีซจะต้องลดค่าใช้จ่ายลงไม่เคยเกิดขึ้นตามที่คาด ค่าใช้จ่ายของรัฐยิ่งเพิ่มตัวเลขสีแดงขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุเพราะกรีซไม่นำมาตรการปฏิรูปเศรษฐกิจไปลงมือปฏิบัติให้เกิดขึ้นจริง ที่รัฐบาลลงมือปฏิบัติการณ์จริงๆ ก็เป็นเรื่องง่ายๆ แต่ส่งผลกระทบกับประชาชนโดยตรงนั่นคือ การเลิกการจ้างงาน การลดเงินสวัสดิการเกษียณอายุ การตัดค่าใช้จ่ายด้านรักษาพยาบาล ประชาชนกรีซถึงออกมาเดินขบวนกันทุกวัน แต่มาตรการที่ควรทำที่สุดและยากที่สุดกลับทำไม่ได้ ได้แก่ การเรียกเก็บภาษีกิจการใหญ่ๆ เช่น การเดินเรือ หรือการรั่วไหลคดโกงการจ่ายภาษีคนรวย การโอนกิจการรัฐเป็นของเอกชน เช่น การกำจัดขยะ กิจการสนามบิน การบริการด้านพลังงาน รวมโรงเรียนและโรงพยาบาลเล็กๆ เข้าด้วยกัน สิ่งเหล่านี้กรีซยังทำไม่ได้จนทุกวันนี้

มีต่อครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 9
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 10
กรีซให้สัญญาทุกครั้งที่จะขอเงินช่วยเหลืองวดต่อไปว่า จะทำการปฏิรูประบบเศรษฐกิจของตนให้ได้ แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่ทำให้เกิดขึ้นจริง แน่นอนว่าการปฏิรูประบบการบริหารบ้านเมืองของกร๊ซเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยระยะเวลานาน ด้วยระบบเก่าที่ฝังรากลึกอยู่ในวัฒนธรรมของกรีซ ล่าสุดเมื่อนาง Merkel เดินทางไปเยี่ยมกรีซในวันอังคารที่ผ่านมานี่เองที่นายกฯ กรีซ Antonis Samaras ยอมรับเป็นทางการครั้งแรกว่า ปัญหาทั้งหลายทั้งปวงของกรีซนั้นมีสาเหตุมาจากการกระทำของชาวกรีซเอง ตัว Samaras นั้นก็เป็นคนหนึ่งที่มาจากระบบของปัญหานี้ เกิดมาในตระกูลร่ำรวยที่มีอภิสิทธิ์ในระบบภาษีเหนือชาวบ้านธรรมดา ได้รับการเลี้ยงดูและการศึกษาอย่างดีเลิศและเริ่มอาชีพนักการเมืองระดับประเทศได้ตั้งแต่อายุ 26 ปี และที่สำคัญที่สุดเมื่อตนเองยังอยู่ในฐานะฝ่ายค้านก็เป็นผู้ที่คัดค้านโปรแกรมการตัดทอนค่าใช้จ่ายของประเทศอย่างถึงที่สุดคนหนึ่งจนทำให้ให้รัฐบาลล้มไปในที่สุด พอตนเองได้ขึ้นมามีอำนาจเข้าจริงๆ ก็ต้องกระทำในสิ่งที่ตนเองคัดค้านมาตลอดนั่นเอง เป็นตัวอย่างนักการเมืองที่คิดถึงตนเองมากกว่าความอยู่รอดของบ้านเมือง

สาเหตุที่กรีซไม่สามารถสร้าง GDP ได้เพราะต้นทุนการผลิตของกร๊ซสูงเกินไปด้วยการใช้เงินยูโร ทำให้สินค้ากรีซไม่สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ สินค้ากรีซจึงขายไม่ออก

สัญญาที่ไม่เคยรักษาคำพูดของกร๊ซถึงที่สุดแล้วก็ขายไม่ได้อีกต่อไป ประเทศที่ให้เงินช่วยเหลือทั้งหมดจึงยื่นคำขาดเป็นครั้งสุดท้ายว่าถ้าไม่มีความคืบหน้าในมาตรการปฏิรูปต่างๆ ก็จะไม่มีการปล่อยเงินช่วยเหลืออีกและให้ deadline ถึงวันที่ 18 ตุลาคมนี้เอง และเมื่อไหร่ก็ตามที่ไม่มีการปล่อยเงินช่วยเหลืออีกต่อไปก็จะหมายถึง การล้มละลายอย่างเป็นทางการของกรีซนั่นเอง ฉะนั้นถึงกร๊ซจะไม่ออกจากยูโรโซนเองก็ต้องออกไปอยู่ดีโดยอัตโนมัติ จริงอยู่ที่โดยทางกฏหมายแล้วในสัญญาไม่มีระบุการขับไล่สมาชิกออกจากยูโรโซน ถ้าจะออกไปได้ก็หมายถึงการลาออกจากสมาชิก EU นั่นเอง ซึ่งจริงๆ แล้วทุกฝ่ายต้องการให้กรีซยังคงอยู่ในสหภาพ EU เพียงแต่ออกไปจากการใช้เงินยูโรเท่านั้นเพื่อกลับไปใช้สกุลเงิน Drachme ตามเดิมซึ่งค่าเงินจะถูกลงอย่างมากตามฐานะเศรษฐกิจจริงของกร๊ซ ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลงและขายสินค้าได้อีก การยังคงเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปจะทำให้กรีซยังมีสิทธิ์ได้รับเงินช่วยเหลือเหมือนกับสมาชิกประเทศอื่นๆ เช่นเดิม จะช่วยให้กรีซฟื้นตัวและอาจสามารถสมัครกลับเข้าเป็นสมาชิกของเงินยูโรได้อีก

ปัญหาที่คุณ 2 Cents บอกว่าถ้ากร๊ซออกไปจะทำให้ยุโรปหมดความน่าเชื่อถือนั้น เหตุผลต้องนำมาพิจารณาเปรียบเทียบทางเลือกของทางออก 2 ทาง ความเชื่อถือของตลาดอยู่ที่สภาวะความมั่นคงของเศรษฐกิจ ถ้ากรีซยังขืนคงอยู่ต่อไปก็ไม่ได้แก้ปัญหาของประเทศตนเอง ปัญหาก็คาราคาซังลากไปเรื่อยๆ เช่นนี้และสร้างความปั่นป่วนและเสียหายโดยรวมกับยูโรอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ความน่าเชื่อถือในทุกวันนี้จึงตกต่ำอย่างที่เห็นอยู่ ในทางกลับกันการออกไปของกร๊ซนั้นจะส่งผลกระทบให้เกิดความปั่นป่วนในวงกว้างอย่างแน่นอนในช่วงแรกๆ แต่อย่างน้อยที่สุดเนื้อร้ายจะถูกตัดออกไปและสุขภาพก็จะกลับมาฟื้นตัวใหม่ได้ เรียกได้ว่าจุดแก้ไขปัญหาสามารถมองเห็นได้ ทางออกอันหลังนี้เสียอีกที่จะเรียกความเขื่อมั่นของตลาดกลับมาได้ในที่สุด

ประเด็นการออกไปของกร๊ซนั้น ณ วันนี้ไม่มีใครเชื่อมั่นอีกว่ากรีซจะยังคงอยู่ต่อไปในยูโรโซนได้ ภายในปี 2013 หรือไม่เกินปี 2014 กรีซต้องออกไปจากยูโรโซนแน่นอน หรือกล่าวได้อย่างชัดเจนอีกนัยหนึ่งว่า กรีซนั้นเป็นประเทศที่ล้มละลายไปเรียบร้อยแล้วอย่างไม่มีทางที่จะเยียวยาได้อีก

จะมาต่อในประเด็นอื่นๆ คือ อิตาลี สเปญ โปรตุเกส และ ทางเลือกที่ว่า ถ้าเยอรมนีออกจากยูโรโซนจะส่งผลลัพธ์อย่างไร

ตอบกลับความเห็นที่ 10
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 11
คุณ Bagheera

ข้อมูลเรื่องกรีซที่คุณเขียนมาเราพอทราบค่ะ
เราเห็นด้วยว่าปัญหาคือกรีซไม่แก้ปัญหาตัวเอง และเคยตัวที่มีคนช่วย
เพราะถึงจะอุ้มไป ถ้ากรีซยัง run deficit เหมือนที่ทำอยู่ ก็ไม่ช่วยอะไร มีแต่จะคาราคาซัง

แล้วโดยส่วนตัว เราก็คิดว่ากรีซออก แต่ที่เหลือพยายามอุ้มกันให้อยู่ เป็นทางออกที่ดีที่สุด
อาจจะแย่กวาในตอนแรก แต่ระยะยาวจะดีกว่า
เพราะจริงๆปัญหาของ Italy กับ Spain นั้นต่างจากกรีซ
Spain นั้นไม่ใช่เค้าใช้จ่ายเกินตัว แต่เพราะ housing bubble ที่ทำให้แบงค์มีปัญหา ในขณะที่ Italy ก็เจอ lost decade แบบญี่ปุ่น โดยพื้นฐานแล้วปัญหาต่างกัน
แต่ที่ผ่านมา สิ่งที่เห็นเวลามี bond auction ก็คือ
หลายครั้งที่นักลงทุนมอง Italy กับ Spain เหมือนกับกรีซ

ตรงนี้คงจะเป็นอะไรที่เรามองต่างกัน
เพราะเรามองว่า ช่วงวิกฤต เวลาที่ความไม่แน่นอนสูง
นักลงทุนจะกลายเป็น (very) risk averse
นั่นคือเค้าไม่มองที่พื้นฐาน แต่เอาปลอดภัยไว้ก่อน
เค้าก็จะเลี่ยงความเสี่ยงทั้งหมด (ซึ่งอันนี้เราเห็นมาแล้วช่วงต้นๆของเศรษฐกิจถดถอยในอเมริกา แล้วนี่ก็คือปัจจัยที่ 3 ที่พยากรณ์ยากสุด ในการพยากรณ์ค่าเงิน)
ถ้า...ขอเน้นว่า ถ้า...ถ้า นักลงทุนไม่ซื้อ bonds Spain, Italy และประเทศอื่นๆ หรือซื้อที่ yields สูงมาก IMF กับ ECB คงอุ้มไม่ไหว ยูโรก็คงแยก

ทั้งนี้ทั้งนั้น เราอ่านแล้ว เราและคุณมี facts ที่ตรงกัน
แต่สิ่งที่เรา และคุณเขียน มองต่างกัน คือมุมมองที่ว่า ถ้า เป็นแบบนั้น จะเป็นยังไง
ซึ่งตรงนี้ เราว่าจะฟันธงว่าเป็นแบบไหนคงไม่ได้ ก็คงต้องรอดูต่อไป

เราตอบอันนี้ เพราะวันนี้อาจจะไม่ว่างมาตอบอีก
แต่เราจะมาอ่านต่อนะคะ ขอบคุณค่ะ
(เราอ่านถึง คห 10)


ตอบกลับความเห็นที่ 11
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 12
ขอถามอีกคำถามนึงนะคะ
ที่คุณบอกว่ากรีซออก นี่คือกรีซออกเอง หรือ eurozone มีกฎเกณฑ์อะไรที่สมาชิกอื่นสามารถโหวตให้ออกได้คะ?

เพราะตามที่เราอ่าน ดูเหมือนกรีซต้องออกไปเอง ซึ่งต้องออกจาก EU ไปด้วย
นั่นเท่ากับกรีซแก้ปัญหาตัวเอง
ซึ่งที่ผ่านมาเกือบ 3 ปี ดูแล้วไม่ใช่วิสัยกรีซ (ด้วยความเคารพชาวกรีกทุกคน แต่เขียนตามที่เห็น)

ขอบคุณสำหรับคำตอบค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 12
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 13
ผมว่าการตั้ง model หรือ สมมุติฐานนี่ขึ้นอยู่กับว่ามองมาจากใครด้วยครับ ปัญหาเดียวกัน นักการเมือง นักเศรษฐศาสตร์ และ นักการเงินก็เห็นจากมุมมองที่ต่างกันแล้ว ต่างคนต่างก็เสนอทฤษฏีจากมุมมองของตัวเองและท้ายที่สุดทำให้ประชาชนคนธรรมดาสับสนกันไม่หมด ไม่รู้จะเชื่อใครดีเพราะเอาเข้าจริงก้ไม่มีใครสามารถบอกอนาคตได้แน่นอนสักคนไม่ว่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญคนไหนก็ตาม

ระหว่างสเปญกับอิตาลีหรือแม้แต่รวมโปรตุเกสด้วย ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดใน 3 ประเทศนี้กลับมีความน่าเป็นห่วงที่สุด นั่นคืออิตาลี ด้วยเหตุผลความด้อยคุณภาพของรัฐบาลมากที่สุด เทียบกับระบบการเมืองในสเปญและโปรตุเกสแล้วนักการเมืองมีคุณภาพมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด มิฉะนั้นแล้ว Berlusconi คงไม่อยู่ในอำนาจมาได้เป็นสิบปีและทำความเสียหายแก่เศรษฐกิจประเทศอย่างที่เป็นอยู่ แต่โทษใครไม่ได้ครับต้องโทษชาวอิตาเลี่ยนเองที่เลือกเขาเข้าไป

สาเหตุปัญหาของสเปญก็เป็นอย่างที่คุณ 2 Cents ระบุถึงคือ housing bubble ผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก ไม่เพียงแต่เท่านั้น การบริหารประเทศผิดของพรรคสังคมนิยมโดยนายกคนก่อนหน้าที่ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจจึงมีการกู้เงินก้อนใหญ่มาจ่ายสวัสดิการเหมือนกัน ยิ่งทำให้วิกฤตหนี้ยิ่งขยายความรุนแรงจนสุดท้ายก็ไม่สามารถจัดการได้และไม่ลงรับสมัครเลือกตั้งอีก

ส่วนอิตาลีนี้นมีปัญหาเศรษฐกิจมาก่อนหน้าแล้วและมีหนี้สูงเป็นสิบปี นั่นคือตลอดระยะเวลาที่ Berlusconi อยู่ในตำแหน่งนั่นเอง การเติบโตทางเศรษฐกิจก็ต่ำไม่ถึง 1% เมื่อเทียบกระประเทศเพื่อนบ้านอย่างฝรั่งเศสและเยอรมนีแล้วยิ่งกลายเป็นประเทศที่ล้าหลังทิ้งระยะห่างไกล เพียงแต่ว่าปัญหาหนี้สูงไม่ส่งผลรุนแรงมากเนื่องจากหนี้สาธารณะที่มีนั้นอยู่ในมือของชาวอิตาเลี่ยนเสียเองถึง 42% เทียบกับกรีซที่เป็นหนี้ตลาดนอกถึง 77% อิตาลีจึงมีสภาพคล้ายๆ ญี่ปุ่่นซึ่งหนี้สูงมากแต่อยู่ในมือคนในชาติตนเอง เป็นลักษณะอัฐยายซื้อขนมยาย

ปัญหาที่ bonds ของสเปญาต้องเสียดอกเบี้ยสูงเพราะตลาดเห็นว่าปัญหาหนี้เสียของแบงค์จากการปล่อยกู้ซื้อบ้านนั้นรุนแรงเกินกำลังของรัฐบาลจะจัดการเองได้ แต่รัฐบาลสเปญก็ยื้อยุดไม่ยอมให้ EU เข้าไปช่วยแต่ในที่สุดก็ไปไม่รอดต้องขอเงินกู้ช่วยเหลืออยู่ดี ในส่วนของหนี้สาธารณะนั้นสเปญพยายามหาเงินกู้ในตลาดเองโดยไม่ยอมให้ EU มา bail out ส่วนหนึ่งด้วยความหยิ่งในศักดิ์ศรีที่ไม่ต้องการยอมรับเงื่อนไขของการ bail out ด้วยความกลัวที่จะต้องสูญเสีย sovereignty ในการบริหารประเทศไป ซึ่งยิ่งทำให้วิกฤตหนี้ยิ่งรุนแรงขี้นเรื่อยๆ ทั้ง ๆที่มีโปรแกรมการตัดค่าใช้จ่ายมากมายก็ตาม แต่ถ้าไม่มีรายได้จากการเติบโตเศรษฐกิจ การตัดค่าใช้จ่ายอย่างเดียวไม่ได้ผล ตลาดการเงินจึงไม่ให้ความเชื่อถือในการซื้อพันธบัตรหนี้ของทั้ง 2 ประเทศ แต่พันธบัตรของอิตาลีจะเสียดอกเบี้ยต่ำกว่า

ปัญหานี้ถูกแก้ไขโดยมาตรการล่าสุดที่ออกมาจาก ECB ที่ประกาศรับซื้อพันธบัตรของประเทศที่มีปัญหาหนี้อย่างไม่จำกัด ทำให้ดอกเบี้ยเงินกู้จากการขายพันธบัตรลดลงอย่างมาก แม้แต่ในวันนี้ที่มีการประกาศลดเกรดความน่าเชื่อถือของสเปญลงของ S&P ตลาดการเงินก็ไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองในทางลบแต่อย่างใด เฉยๆ กันอยู่

วันนี้มีข่าวดีด้านการเติบโตของเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ทั้งในฝรั่งเศส อิตาลี และสเปญ ทำให้พอมีความหวังกันต่อไปบ้างว่าปัญหาจะคลี่คลายไปในทางดีบ้างแม้จะเล็กน้อยก็ตาม


ตอบกลับความเห็นที่ 13
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 14
คำถามคุณ 2 Cents เรื่องกฏการออกจาก EU นั้น ตามกฏของ Treaty of Lisbon ประเทศสมาชิกสามารถลาออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรโดยความสมัครใจได้ครับ ไม่มีการกำหนดเรื่องโหวตบังคับให้ออก

แม้แต่การออกจากยูโรโซนก็เช่นกัน ไม่มีการบังคับให้ออก ต้องออกเองด้วยความสมัครใจ
แต่ถ้าสมาชิกงดให้เงินช่วยเหลือต่อไปก็เท่ากับบังคับให้กร๊ซต้องออกจากยูโรโซนนั่นเอง


ตอบกลับความเห็นที่ 14
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 15
เราไม่ค่อยอิงทฤษฎีหรือ model อะไรหรอกค่ะ
เราว่าทฤษฎีมีประโยชน์ก็ตรงอธิบายอะไรให้เข้าใจง่าย
อย่างที่บอก เราไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญอะไร
คุณอาจจะเบื่อ เพราะเราไม่มีทฤษฎีอะไรมาอ้างอิง
แต่เรารู้สึกว่าในชีวิตจริง ทฤษฎีหรือ model ส่วนมากก็ไม่เวิร์คเท่าใหร่
เพราะปัจจัยอื่นมันเยอะและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยเฉพาะปัจจัยทางพฤติกรรม สังคม และการเมือง
(นี่เรากำลังคิดว่าการที่หลายประเทศจะมีการเลือกตั้งในเร็วๆนี้จะมีผลกับการ 'ร่วม' แก้ปัญหานี้รึเปล่า ยังไง?)

bonds yields ที่เราพูดถึง มันไม่ใช่สูงตลอดนะคะ
แต่มันขึ้นลงตามข่าวอื่น (บาง auction ก็ yields สูง บางอันก็ต่ำ)
แสดงให้เห็นว่านักลงทุนนั้นไม่ได้มองที่พื้นฐานเท่านั้น
เมื่อใหร่ที่มีอะไรออกมา ถึงจะไม่เกี่ยวกับประเทศนั้นๆก็เธอ
แต่เค้ามองว่าความเสี่ยงสูงขึ้น ก็ต้องการผลตอบแทนสูงขึ้นทันที

ส่วนตัว เรามองว่าที่สเปนถูก downgrade rating ตลาดไม่ response มากนักเพราะเค้า factor in อันนี้ไปแล้ว
เพราะจริงๆตลาดลงมาหลายวัน ตั้งแต่ IMF downgrade GDP growth ของหลายประเทศ
บวกกับ U.K. GDP กับ Germany trade วันก่อนดีมาก
แล้ววันนี้ตัวเลข unemployment claim ขอ U.S. ดีเกินคาด ก็อาจจะเป็นปัจจัยบวก ที่พยุงตลาดไว้
(เรานึกว่าฝรั่งเศส 3rd qtr ติดลบซะอีกนะคะ หรือตลาดอาจจะคาดว่าติดลบมากกว่านี้
แต่ยุโรปตัวเลข 3rd qtr ออกเร็วมากอ่ะค่ะ อเมริกาปลายเดือนโน่นถึงจะออก
ไม่รู้ว่าปกติ revise ทีนึงเปลี่ยนเยอะมั้ยคะ)

ถ้าคนอื่นเลิกให้เงินช่วย กรีซก็อาจจะรอจน default ก่อน ออกจากยูโร
แต่จะออกก่อนหรือหลัง สัญญานหนึ่งที่สื่อก็คือระบบยูโรไม่เวิร์ค
เมื่อมี 1 ทำไมถึงจะมี 2, 3, 4 ไม่ได้
จะทำยังไงให้นักลงทุนเชื่อมั่น และไม่แตกตื่นได้
เราว่าตรงนี้จะเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะเป็นตัวกำหนดผลที่จะเกิด
ซึ่งทฤษฎีหรือ model ใหนก็พยากรณ์ไม่ได้ (ไม่อย่างงั้นเราคงไม่มี world recession หรือปัญหานี้แต่แรกแล้วมั้ง)

ตอนอเมริกาเข้าเศรษฐกิจถดถอย
นักลงทุนเค้าไม่สน ว่าเป็น GM ที่มีปัญหา หรือ GE ที่พื้นฐานดี
เค้าไม่สนว่าเป็น countrywide ที่ให้กู้ subprime มากที่สุด หรือ BAC ที่ไม่ได้เน้น subprime มากนัก
แต่โดนพอกันหมดทั้งกระดาน
เราจะไม่ให้เกิดแบบนี้ถ้ากรีซออกไปได้ยังไง?

โอเค สรุปก็คือเราสนใจปัญหานี้เหมือนกัน
แต่มองต่างกันไปบ้าง
ขอบคุณคุณ Bagheera มากนะคะ ที่มาแชร์ความคิดเห็นกัน
ทำให้เราได้รับรู้มุมมองที่ต่างไป


ตอบกลับความเห็นที่ 15