อยู่ที่ไหน ไม่สุขใจเหมือนบ้านเรา จริงทั้งหมดไหมคะ

ตอนเรียนจบ ก็พอดีแม่ป่วย พี่น้อง ไม่มีใครกล้าไปเรียนต่อ

เฝ้าแม่ไป เฝ้าแม่มา เลยแต่งงานกันหมด

ก็เลยสงสัย ตามประสาคนไม่เคยไปอยู่เมืองนอกเมืองนา ว่า

อยู่ที่ไหน ก็ไม่สุขใจเท่าอยู่เมืองไทยของเรา จริงหรือ

ถ้าอยู่ที่โน่น มีครอบครัวที่เรารักอยู่ แม้จะต่างชาติ ต่างภาษากันล่ะ

ถ้าอยู่ในประเทศที่สวัสดิการดี การเมืองสงบ ความปลอดภัยในชีวิตสูง

บ้านเมืองสะอาด มีระเบียบ วินัย กฏหมายศักดิ์สิทธิ์ ล่ะ

ก็ไม่สุขใจเหมือนบ้านเราหรือ


ถ้าที่เมืองไทย เราไม่มีใครแล้วล่ะ เรายังจะอยากกลับเมืองไทยอีกไหม

ยังอยากจะกลับมากินส้มตำเมืองไทยอีกไหม


สงเคราะห์คนไม่เคยเป็นพลเมืองชั้นสองหน่อยค่ะ

(เป็นแต่ชนชั้นกลางไร้อภิสิทธิ์)

อยากฟังประสบการณ์หลายๆแบบ

เพราะอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

ก็คิดว่าคงต้องส่งลูกไปเรียนเหมือนกัน

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ


ต้องขอโทษทุกท่านนะคะ

หากว่าคำว่าพลเมืองชั้นสอง ทำให้ทุกท่านรู้สึกไม่ดี


จริงๆ ตอนแรกกดส่งไปแล้ว ก็ขับรถออกไปธุระ

ตอนอยู่ในรถก็นึกอยู่เหมือนกัน ว่าคำนี้มันจะอ่อนไหวไปหรือเปล่า

เพราะตอนตั้งกระทู้ถาม ก็นึกถึงแต่ประเด็นที่ว่า

"อยู่ที่ไหน ไม่สุขใจเหมือนบ้านเรา" จริงหรือ



เหตุที่มาตั้งกระทู้ถาม

เพราะเราอยากให้ลูกไปเรียน แล้วไปหางานทำอยู่ที่โน่นเลย

เราก็เลยอยากฟังความรู้สึกของคนไกลบ้านเยอะๆ

เนื่องจากเราเองไม่มีประสบการณ์ตรง



รบกวนทุกท่านรับคำขอโทษอีกที แล้วข้ามมันไปได้ไหมคะ

เราอยากรู้แค่ว่า "อยู่ที่ไหน ไม่สุขใจเหมือนบ้านเรา" จริงๆหรือ

เท่านั้น



ความคิดเห็นที่ 1
"Home is where the heart is"

ขึ้นอยู่กับว่าคุณเรียกที่ไหนว่าบ้าน ดิฉันกลับเมืองไทยทุกปี โหยหาอยากไปหาพ่อแม่พี่น้อง อาหาร เที่ยวทะเล แต่ตอนนี้ก็ไม่เรียกว่าบ้านที่เมืองไทยว่าบ้านแล้ว พอกลับมาที่อเมริกาอีกครั้งรู้สึกเหมือนว่าได้กลับบ้าน ทั้งๆที่นี่ไม่มีญาติไม่มีใครเลย

ปล อยู่อเมริกามาสิบกว่าปี ตั้งแต่วันแรกที่มาเหยียบที่นี่ไม่เคยคิดว่าตัวเองเป็นพลเมืองชั้นสองเลยนะ ที่อื่นหนะไม่แน่แต่แถวที่ทำงานเจ้าของประเทศเองมีเปอร์เซ็นต์ไม่ถึง 50% เลยถือว่าเราคือพลเมืองส่วนใหญ่


ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
เวลากลับเมืองไทยสุขใจที่ได้เจอพ่อแม่พี่น้องค่ะ แล้วก็ไม่ต้องทำงาน..สุขสุดๆๆๆๆ
แต่พออยู่สักพักก็คิดถึงบ้านที่อเมริกา ที่ดิฉันเป็นอิสระไม่มีคนคอยเป็นห่วง(เยอะเกิน)


ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
ไม่รู้เป็นอะไร พอไปเที่ยวไหน ไปต่างประเทศ ไปไหนต่อไหน หรือแม้แต่ไปเมืองไทยเป็นเดือน ก็ยังคิดถึงบ้าน บ้านที่เราอยู ณ ปัจจุบัน พอกลับถึงบ้านแล้วรู้สึกอบอุ่น สบาย อย่างบอกไม่ถูก ถึงจะไปเที่ยว ไปพักผ่อน มันก็ยังเหนื่อย เหมือนไม่ได้ไปไหน แต่อยู่บ้าน จะให้ทำงานหนัก ทำอะไรต่อมิอะไร มันก็มีความสุข
บ้านที่ทำให้เรามีความอบอุ่น ทำให้เรานอนหลับสบาย ทำให้เราเป็นตัวของตัวเอง และมีความมั่นคงในชีวิต

คิดถึงเมืองไทยค่ะ อยากไปเยี่ยม อยากไปหาพ่อแม่ น้อง ญาติๆ เพื่อนๆ อยากไปกินอะไรที่ ที่เราอยู่มันหาไม่เจอ หรือทำไม่ได้(แต่จริงๆ ก็ได้กินทุกอย่างที่อยากนะ มีแต่ผลไม้บางประเภทเท่านั้นที่หาไม่ได้) แต่สมัยนี้อะไรๆมันก็พัฒนากันไปหมด โทรคุยกับที่บ้านบ่อยๆ กับเพื่อนก็เฟสบุ๊ค หรือสไกป์ อยากรู้เรื่องอะไร อยากคุยกับใครก็โทรไป แม่ก็มาเที่ยวปีละหน หนละสามเดือน เพื่อนๆ ที่เมืองไทยก็ผลัดกันมาเที่ยวหา แค่นี้แหละค่ะที่ทำให้มีความสุข



ดิฉันไม่คิดว่าตัวเองเป็นพลเมืองชั้นสองค่ะ คิดว่าเป็นคนๆหนึ่งที่มีสิทธิมีเสียงเหมือนคนอื่นทั่วๆไป และทำได้หลายๆอย่างที่คนอืนอีกหลายๆคนทำได้ และก็อีกหลายๆคนทำไม่ได้


ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
สงเคราะห์คนไม่เคยเป็นพลเมืองชั้นสองหน่อยค่ะ.........อิอิ
มาอยู่ที่นี่ยี่สิบกว่าปีแล้วค่ะ แต่ไม่เคยรู้สึกว่าตัวเองเป็นพลเมืองชั้นสองนะ
คือถ้าคุณมาอยู่อย่างถูกกฎหมายก็ค่อนข้างจะดีนะคะ

อยู่ที่ไหนก็ไม่สุขใจเท่าบ้านเรามั้ย ต้องแยกเป็นส่วนๆไปมั้ง บางทีกลับบ้าน
ก็ปวดหัวกับอะไรๆอยู่เหมือนกัน ต่างกรรมต่างวาระ ต่างวันและเวลา
บางที่ยุ่งเหยิงมากกับสาระพันปัญหาของคนรอบข้างที่เมืองไทย
พอกลับมาที่นี่ (ตปท.) ก็รู้สึกโล่งใจสบายกายเพราะอากาศดี รถไม่ติด
ที่จอดรถมากมายไม่ต้องจอดซ้อนคัน จะทำอะไร ไปไหน ยังไง หัวเป็นกระเซิง
แป้งไม่ทา หน้าไม่แต่ง จะอ้วน จะผอม จะกระดำกระด่าง ก็ไม่มีใครมาทัก
ให้รำคาญใจ
แต่ก็ยังคิดถึงเมืองไทยอยู่ดี อยากให้อยู่ใกล้กันอีกซักหน่อย นั่งเครื่อง
ซักสิบชม.ก็ยังดีรวดเดียวจบไม่ต้องไปต่อที่ไหน จะได้ไปเยี่ยมบ้านบ่อยๆ
อยู่เมืองไทยก็จะเป็นอีกอารมย์หนึ่ง หวานๆ ขมๆ ประมาณนั้นมั้ง
อยู่โน่นก็คิดถึงที่นี่ อยู่นี่ก็คิดถึงที่โน่น



ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
ต่างคนต่างใจค่ะ เรื่องแบบนี้

ที่รู้จักสองคน ตอนจะมาอยู่ต่างประเทศนี่ร้องไห้เป็นวรรคเป็นเวรทั้งคู่ ไม่อยากมา (คนนึงตามสามีมาเรียนต่อโทและเอก อีกคนตามสามีมาอยู่ถาวร) คนแรก พอสามีเรียนจบ ต้องกลับเมืองไทยก็เกิดอาการไม่อยากกลับแล้ว บ่นว่าเมืองไทยสารพัด ทั้งที่ก่อนมาอาการหนักจนป่วย หมอบอกว่าไม่ได้เป็นอะไร แต่เพราะป่วยใจน่ะ ส่วนคนหลัง ตอนนี้ไปถามว่าคิดจะกลับไปเกษียณที่เมืองไทยหรือเปล่า เธอตอบว่าไม่ เมืองไทยให้อยู่ประเดี๋ยวประด๋าวเอา แต่ให้อยู่ไปตลอดชีวิตไม่เอา

แต่น้องอีกคนที่มาเรียน และได้งานทำหลังเรียนจบ เขาทำงานได้สักห้าปี ก็กลับนะ บอกว่าทำงานอยู่ที่นี่แล้วไม่โต เล่นโปรโมทแต่ฝรั่งด้วยกัน ตัวเขาเข้ามาทำงานพร้อมกับฝรั่งสองคน ทั้งสองคนได้เลื่อนไปเป็นหัวหน้าทั้งคู่ แต่เขาก็ยังอยู่ตำแหน่งเดิมที่เข้ามานั่นแหละ เลยลาขาด กลับไปเมืองไทย ไปเปิดกิจการเอง ก็แฮปปี้ดีนะ

ของเราเคยคิดว่า ถ้าลูกเรียนจบ มีงานทำ รับผิดชอบตัวเองได้ ก็จะกลับไปอยู่ต่างจังหวัดนะ เคยไปดูที่ทางเหนือไว้ อยากอยู่จังหวัดที่อากาศไม่ร้อนจัดจนเกินไป ก็เกือบจะซื้อที่ปลูกบ้านแล้วนะ ดีว่าเจอข่าวเผาป่า แถมเผาเป็นธรรมเนียมทุกปีจนเกิดหมอกควันพิษไปทั่วเมือง เลยลาขาด เพราะคนใกล้ตัวเป็นโรคหอบน่ะ

บางทีก็ฝันว่ากลับเมืองไทยบ่อยๆ แต่น่าแปลก ในฝันนั้น จะต้องกลับมาที่ออสเตรเลียทุกครั้งเลย คงเพราะอยู่มานาน จนกลายเป็นบ้านอีกหลังไปแล้ว แถมยังชินกับบ้านหลังนี้แล้วด้วยสิ


ตอบกลับความเห็นที่ 5
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 6
ใช่ครับ อยู่ที่ไหนไม่สุขใจเท่าบ้านเรา
สำหรับผมตอนนี้บ้านเรา มีสองแห่งคือเมืองไทยกับอเมริกา เกิดเมืองไทยแต่อยู่อเมริกามากกว่า
แต่ลึกๆแล้วยังอยากอยู่เมืองไทย


ตอบกลับความเห็นที่ 6
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 7
"Home is where the heart is"

นั่นสินะ ลืมไปเลย

คุณๆบางคนในห้องนี้ บางที

อาจจะอยู่ที่อื่นนานกว่าอยู่เมืองไทยแล้วก็ได้ ใช่ไหมคะ

จนมีความรู้สึกว่าที่นั่นเป็นบ้าน แม้จะไม่ใช่บ้านเกิดก็ตาม


ตอบกลับความเห็นที่ 7
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 8
"อยู่ที่ไหน ไม่สุขใจเหมือนบ้านเรา จริงทั้งหมดไหมคะ"


ไม่จริงค่ะ

ไม่มีอคติกับเมืองไทย... กลับไปล่าสุดได้ทำประโยชน์ให้กับสังคมส่วนรวม จะผูกพันก็มีแต่กับหมาแมวข้างถนนในไทยที่อยู่กันลำบาก

จะกลับไปไทยอาทิตย์หน้า ๑ อาทิตย์ ซื้อขนมแมว Cat Treat จากเยอรมนีจะนำไปแจกให้แมวข้างถนนได้มีโอกาสกินขนมแมวจากเมืองนอกบ้าง


อยู่ต่างแดนมามากกว่าครึ่งหนึ่งของอายุ... ผูกพันกับการผจญภัยใช้ชีวิตในต่างแดน ไม่เคยมีความคิดจะกลับไปตายในไทย


ตอบกลับความเห็นที่ 8
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 9
เกิดเมืองไทย อยู่เมืองไทยมาครึ่งชีวิต แต่ยังไม่เคยมีบ้าน

ควารู้สึกจากคำพูดที่ว่า "ไม่มีที่ไหนสุขใจเท่าบ้านเรา" สำหรับฉันเลยไม่รู้จัก

ตอนนี้รู้จักแต่ว่า อยู่ที่ไหนก็มีความสุขใจ หากได้อยู่กับสิ่งที่เราปรารถนา


กรุณาอย่าเรียก คนที่มาอยู่ต่างประเทศอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ว่าเป็นพลเมืองชั้น2 ชั้น3 เลยค่ะ

โดยเฉพาะประเทศที่เขาได้ชื่อว่า เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว เขาไม่คิดแบ่งแยกชนชั้นหรอก


ตอบกลับความเห็นที่ 9
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 10
555 "พลเมืองชั้นสอง"

กะแล้วว่าต้องโดนตรงนี้จนได้ แต่ไม่อยากแก้ไขข้อความ

เราแค่เคยเห็นคนบ่นๆมาเยอะน่ะค่ะ

เราเองแค่ไปเที่ยวไม่กี่วัน ยังเคยโดนเหน็บว่าเป็น "ไกจิน"

รู้ล่ะ ว่ามันมีน้อยลงมากแล้ว

ชั้นหนึ่ง ชั้นสอง ในความเข้าใจของเรา ไม่ได้ตั้งใจจะหมายถึง

อยู่แบบถูก หรือผิด กฎหมายนะคะ

เราเน้นไปที่การปฏิบัติต่อกันในสังคมมากกว่า

เราอาจจะเข้าใจไม่ถูกต้อง

ไม่ซีเรียสค่ะ ข้ามไปนะคะ

ว่าแต่ ไม่รู้นะนี่ ว่ามีชั้นสามด้วย


ตอบกลับความเห็นที่ 10
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 11
ผมอยู่อเมริกาความรู้สึกว่าเป็น"พลเมืองชั้นสอง"ไม่มี ความรู้สึกแบบนั้นจะมีบ้างก็ต่อเมือกลับมาเมืองไทยเวลาจะไปเดินในสถานที่บางแห่งที่ดูแพงๆ แต่จริงๆผมไม่เคยเดินเข้าไปนะ ในเมืองนอกหลายๆประเทศไม่รู้สึกแบบนั้น เข้าใจว่าอาจจะไม่มีใครรู้สึกเช่นนั้นด้วย


ตอบกลับความเห็นที่ 11
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 12
ผมเอง ตอนไปเรียนแลกเปลี่ยนอยู่ญี่ปุ่นนี่ ทั้งๆที่ความเป็นอยู่ต้องประหยัดกว่าตอนอยู่ที่ไทยไม่น้อย แต่กลับรู้สึกชีวิตราบรื่น และจิตใจสงบกว่าตอนอยู่ที่ไทยแฮะ โดยไม่ต้องไปดูหนังหรือกินอาหารภัตตาคารบ่อยๆ ตลอดเวลาที่อยู่นั้นไม่รู้สึก homesick อะไรเลย ขนาดตอน 3/11 ก็ไม่ได้หนีไปไหน (ผมอนู่แถบตะวันตกที่ไม่ไ้ด้รับผลกระทบนัก)

ผมได้ผูกมิตรกับคนมากมาย และสามารถเป็นตัวของตัวเองได้ ถึงหลายๆคนจะบอกว่าคนญี่ปุ่นหลายๆคนที่พูดดีด้วยนั้น"แค่ทำตามหน้าที่" แต่อย่างน้อยผมคิดว่ามันก็ดีกว่า "ไม่ทำตามหน้าที่+หยาบคายอย่างเปิดเผย" นะ

แต่พอกลับมาที่ไทยแล้ว รู้สึกจังหวะชีวิตวุ่นวายกว่าเดิมมาก เรื่องเรียนเรื่องการงานก็เครียดกว่าเดิมเยอะ ตอนอยู่ต่างประเทศเวลาคุยกับคนที่บ้านผ่านทางไกลก็โอภาปราศรัยดี แต่พอกลับมาไทยแล้วนี่มีเรื่องกระทบกระทั่งบ่อยมากๆ จนเครียด ตอนอยู่ที่โน่น ผมทำสิ่งที่ "อยากทำและเป็นประโยชน์ต่อตัวเอง" แต่พอกลับมาแล้ว ผมทำสิ่งที่ "ต้องทำถึงแม้จะไม่ชอบ" จนเหลือเวลาแค่นิดๆหน่อยๆ สำหรับสิ่งที่อยากทำ เวลาทำอะไรๆ ก็ไม่ค่อยมีสมาธิ

ถ้าเป็นไปได้ อยากกลับไปที่โน่นอีกจริงๆ ที่ผ่านมาผมเองก็เตรียมตัวสอบทุนมงเพื่อกลับไปญี่ปุ่นอีกครั้ง แต่แล้วก็ไม่ผ่านรอบสัมภาษณ์จนได้ ตอนนี้ รู้สึกเคว้งมากจริงๆ

ตอบกลับความเห็นที่ 12
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 13
ตอบคคห. ๑๐ ขอบอกว่ายิ่งจะเน้นที่การปฏิบัติต่อกันในสังคม

คำว่า พลเมืองชั้นสอง เขายิ่งไม่ใช้ในพื้นที่สาธารณะเข้าไปใหญ่เลยค่ะ


อันที่จริง ดิฉันจะเข้ามาคุยด้วยแต่แรก เพราะตอบให้รายละเอียดได้ครบ

แต่พอเห็น คำนี้ที่ระบุสถานภาพของคนตอบไว้ล่วงหน้า ก็เลยปิดจอดีกว่า



คาดไม่ผิด ว่าจะไม่มีใครผ่านคำนี้ไป โดยเฉพาะคนที่อยู่ในสหรัฐฯมานาน
ประเด็นนี้ เคยถกกันมาแล้ว และได้ข้อสรุปไปแล้ว บนพื้นฐานข้อเท็จจริง


กล่าวคือ ในวันที่เขามอบบัตรพลเมืองอย่างเป็นทางการให้ผู้คนนับพันๆคน
เจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ว่าการรัฐ เขาพูดเลยค่ะ ว่าประเทศนี้คนเท่าเทียมกัน

เพราะพลเมืองทุกคน จะมีสิทธิในการโหวตเลือกประธานาธิบดีได้แน่นอน
และจะมีหน้าที่ต้องจ่ายภาษี ต้องเป็นลุกขุน และหน้าที่อื่นๆดูแลสังคมให้ดี

เราจะไม่ใช่แค่อยู่ถูกกฎหมาย แล้วต่างจากพวกที่เข้ามาอยู่อย่างหลบซ่อน
แต่สามารถใช้สิทธิได้ครบทุกอย่าง ยากดีมีจนไม่สำคัญ เสียงหนึ่งก็สำคัญ


คำว่า อยู่เมืองนอกไปเป็นพลเมืองชั้นสอง นั้น เป็นคำเหยียดหยันเย้ยย่ำยี

มาจากคนไทยในประเทศไทยกันเอง หรือคนไทยที่ไม่ได้มีสถานะนี้ที่นี่

เพราะว่า หาทางที่จะรับสวัสดิการของรัฐอย่างพลเมืองในประเทศนี้ไม่ได้

ก็เลยใช้วิธีเสียดสีเอา ประมาณว่าไม่อยากมาหรอก ไม่ใช่เจ้าของประเทศ


ที่จริง ความต่างระหว่างเผ่าพันธุ์นั้น ไม่ใช่จะไม่มีซะเลย แต่ในแง่สิทธิเสรี
จะเป็นชนชาติเดิมมาจากไหน นโยบายคือช่วยกันทำงานเสียภาษีบำรุงรัฐ

เป็นความคิดของคนที่มาไม่ได้ หรืออยากจะมา แต่ว่าวีซ่าไม่ผ่านซักที
นั่นแหละ ที่นำคำนี้ มาไว้ใช้ตราหน้า คนที่อยู่ต่างประเทศ อย่างไม่สมควร

เพราะในเวลาที่พวกคุณมาตั้งกระทู้ ก็กลุ่มที่โโนตราหน้านี่หละมาให้ข้อมูล

จริงๆแล้ว ดิฉันก็เข้าข่ายพลเมืองชั้นสองนะคะ เพราะแต่ก่อนบ้านอยู่ชั้น ๒
ยิ่งตอนเป็นนักเรียนนั่น อยู่ชั้นสี่เลยค่ะ เป็นพวกที่ได้รับการเหยียดพิเศษ

ไม่ซีเรียสนะคะ อธิบายให้ทราบ เพราะคำที่คุณเขียนมานี้ละเอียดอ่อนค่ะ



เหมือนว่า จะเป็นเทรนด์ ของคนที่อยู่ฝั่งอื่นๆ หรือเตรียมกลับเมืองไทย
พอตักตวงได้ความรู้ประสบการณ์ตามที่ต้องการแล้ว ก็หาข้อตำหนิสารพัด
ส่งท้ายให้กับประเทศที่ให้วิชาตนเอง และแถมฝากเหวี่ยงคนไทยที่ยังอยู่
เป็นการลาจากที่เต็มไปด้วยตราประทับ นำกลับไปเย้ยและหยันข้ามทวีป

ความจริงก็เป็นสิ่งที่ทำให้พวกเรา หมู่ชนที่ย้ายดินแดนต้องไม่นิยมคำๆนี้
แต่...ใครอยากจะเรียกก็ไม่มีปัญหาหรอกค่ะ เพราะเราได้รับสวัสดิการที่ดี
(แม้ว่าในบางช่วง เศรษฐกิจจะบีบรัดพลเมืองทั่วไป ต้องตั้งกระทู้ของแพง)

ทีนี้คงเข้าใจนะคะ ถ้าคุณไม่แปะคำนั้นเอาไว้ คงมีคนมาคุยอย่างสบายใจ
มากกว่านี้ และให้คำตอบได้เพลิดเพลิน จากหลายๆประเทศเลยทีเดียว


ประโยคที่ว่า อยู่ที่ไหน ก็ไม่สุขใจ เท่าเมืองไทยของเรา นั้น

เป็นจริง ในยุคที่คนๆแรกที่พูดคำนี้ขึ้นมา ได้รับความสำเร็จกลับไปค่ะ

เพราะว่า ในสมัยก่อนหน้าที่ ๓๕ ถึง ๕๐ ปี ก่อนที่จะมีการสร้างวัดไทยขึ้น
หรือสร้างวัดแห่งต้นๆแล้ว ช่วงที่ร้านอาหารเพิ่งจะมีไม่กี่แห่งในไม่กี่เมือง

สมัยที่คนไทยรุ่นอาจารย์เก่งๆในยุคนี้ ยังไม่ได้กลับไปทำงานบริหารสังคม
ยังไม่มีระบบไอทั้งหลาย หรือการสื่อสารยังคงต้องพึ่งพาไปรษณีย์ส่งของ

นั่นหละค่ะ มีความไม่สะดวกในการหาอาหารไทย หรือตลาดเอเซียนเล็กๆ
และคนที่มาเรียนก็ต้องลำบากในการใช้ชีวิตโดยทั่วไป เพื่อนไทยไม่มาก
ทำให้ต้องทานอาหารฝรั่งกันทุกวัน ตามหอพัก และไม่มีเครือข่ายเกื้อกูล

ไม่มีดนตรีนาฏศิลป์มาแสดง การบินไปมาหาสู่ญาติมิตร ไม่ได้ง่ายและเร็ว

ใครๆก็ต้องรู้สึกว่า มาแล้วต้องอยู่ให้นานไปเลย ทำให้คิดถึงบ้านสะสมสูง
พอได้กลับไป จึงเอ่ยว่า เห้อ...อยู่ที่ไหนก็ไม่สุขใจ อย่างเมืองไทยของเรา

เพราะพอกลับไป ก็มีอาหารไทยมากมาย ได้ไปทำบุญตักบาตรที่บ้านเรา
และอื่นๆ ซึ่งยากนักจะหาได้ เมืองนอกต้องพึ่งพาตนเอง ไม่มีใครช่วยดูแล

คนไทยมาจากระบบครอบครัวใกล้ชิด อะไรๆก็มีคนทำให้ ไม่ต้องไขว่คว้า
เพราะฉะนั้น ความสุขใจ เกิดจากความพอใจที่ได้รับความสะดวกสบายค่ะ


แตกต่างจากในยุคนี้มาก ชุมชนไทยเติบโตในเมืองใหญ่ เครือข่ายแน่นหนา อาหารไทยเครื่องปรุงอะไรก็มีหมด มีธุรกิจแบบครบวงจรรองรับแล้ว
คนไทยก็แทบจะเดินชนกัน ที่ไม่พูดกันไม่ทักทายกัน เพราะเหมือนที่ไทย
คือเวลาเราออกไปตามถนน เราก็ไม่ทักทายคนไม่รู้จัก ทุกวันนี้ก็แบบนั้น

ทำให้กลายเป็นว่า การสรรหาสิ่งต่างๆจากไทยมา พร้อมกับเพิ่มบุคลากร
สังคมจึงเห็นเป็นธรรมดากับหน้าตาไทยๆ เสียงไทย ไม่ต้องรู้จักไม่สำคัญ

อยู่ที่ไหนก็มีร้านไทย แต่งงานกับต่างชาติก็พามาวัดได้ มีโรงเรียนสอนให้
เด็กๆก็ได้เข้าโครงการที่รัฐบาลจัดทำสำหรับการกลับมาตุภูมิเพื่อเรียนรู้
ระบบเปิดกว้างและโอบล้อมทุกชนชั้น เข้ามาเป็นการพัฒนาหนึ่งเดียวกัน

ทำให้ไม่มีความรู้สึกว่าห่างไกลบ้านเกิดเมืองนอน แถมมีเสรีภาพมากกว่า

ตรงนี้แหละ ที่ทำให้คนที่มาในช่วง ๑๐ หรือ ๑๕ ปีที่ผ่านมา อยู่ที่นี่สุขขึ้น
หรือสุขกว่ามากมาย ที่จะกลับไปอยู่กับสภาพเมืองไทย ซึ่งเจริญไม่เท่ากัน

ต้องยอมรับหลายๆ ค่านิยมที่มีการขีด ระดับที่แบ่งแยก ชนชั้น นามสกุล
ถ้ามีโพรไฟล์เหมือนกันหมด สวยหล่อเท่ากัน การศึกษาสูงเสมอกันฉลาด
และจบจากสถาบันดังๆเหมือนกัน คำถามในเมืองไทย คือ นามสกุลอะไร
และคนที่จะไปเร็วกว่า โดยมาก ก็คือคนที่นามสกุลค้นหาบรรพบุรุษได้แน่

ยังมีมากกว่านี้ ที่ทำให้การอยู่เมืองไทยในยุคนี้ ไม่ได้สุขใจไปกว่าอยู่นอก
เพราะผ่านข้ามสงครามเผากรุงมาแล้ว ความแตกแยกที่ชัดเจนในทุกมิติ

ที่จะให้กลับไปหาความร่มเย็น เหมือนสมัยสี่สิบปีก่อน ขอจงอย่าได้ฝันค่ะ

นั่นคือคำตอบ ที่ทำให้รู้สึกว่า ไม่จริงไปทั้งหมด ที่อยู่เมืองไทยสุขใจกว่า

จะว่าตรงกันข้ามก็ได้ ในกรณีที่อาจเกิดการแบ่งแยกเรื่องศาสนาอาณาเขต
เกี่ยวกับประเด็นนี้ ของับไว้แค่นี้นะคะ คุณคงสานต่อ(ในใจ) ได้ว่าเหตุใด

ส่วนเรื่องว่า อยู่ในที่สงบงดงาม มีระเบียบวินัย มีกฎหมายคุ้มครองเท่าๆกัน
ก็แน่หละ ใครมามีชีวิตแบบนี้แล้ว ไม่มีสักกี่คนหรอกที่จะคิดกลับบ้านเกิด
เห็นแต่ยกขบวนมาเพิ่ม ไม่เว้นแต่ละวัน เพราะสังคมเมืองนอกเจริญทุกที่

หมายความว่า ประเทศเจริญทั้งระบบ แต่ละรัฐทำงานเดี่ยวๆ เพื่อยกระดับ
ให้เจริญเท่ากัน แต่ละเมืองดูแลท้องที่ให้เจริญเท่ากันทั้งเขต ย่อยๆลงไป
แต่ละบ้านก็ดูแลครอบครัว ให้เจริญเท่ากันในละแวก ส่งเสริมโยงใยกันได้

ต่างจากบ้านเกิดของเรา (อย่าขมวดคิ้วนะ) ที่เจริญอยู่เป็นกระจุกๆเท่านั้น

การศึกษาที่ไม่เท่ากัน หรือความต่างทางวัฒนธรรมท้องถิ่นซึ่งแบ่งแยก
ทำให้ความเจริญไม่กระจาย ไม่อุ้มชูกันสักเท่าไรนัก ปัญหาทุจริตทับถม
(ไม่ใช่เมืองนอกไม่มีนะ) แต่พอรวมออกมาแล้ว เหนื่อยกับความไม่มั่นคง
ไม่ปลอดภัยกับการรักษาชีวิตและทรัพย์สิน การเดินทางที่ไม่รู้จะได้กลับ
บ้านในสภาพไหนนั่นก็อีก หลายๆคนก็คงรู้แล้ว ถ้าอยู่ในสังคมไทยนานๆ

พอมาอยู่ต่างประเทศแล้ว ความปลอดภัยนี่ทำให้รู้สึกอบอุ่นกว่าก็อยู่นาน

ทำอย่างไรให้พลเมืองรู้สึกได้ ว่ามีเขตที่ปลอดภัย บ้านไม่ต้องกั้นรั้วก็ได้
แบบนั้นมีไหม ตลอดทั้งประเทศ ไม่มี จะมีแค่หมู่บ้านที่มียามรักษาการณ์
แต่เผลอๆ พี่ยามก็เป็นสายให้โจรซะงั้น ไปไหนมาไหน หวาดระแวง ๑๐๘
แล้วจะกลับไปทำไม พอพ่อแม่สิ้นบุญไปแล้ว พี่น้องก็อยู่อย่างสบายหมด
ไม่มีใครที่ต้องให้ห่วง เรื่องอาหาร ส้มตำอเมริกา อร่อยกว่าบ้านเราเยอะ
เพราะคนทำส้มตำจากภาคอีสาน ได้ย้ายมาเปิดครัวไทยระดับห้าดาวที่นี่

แมลงวันก็ไม่มีด้วย เพราะกฎเขาห้าม ต้องดูแลให้อาหารสะอาดถูกอนามัย
แบบนี้ จะยังไปฝันหาอาหารอะไรในเมืองไทย เพราะชุมชนทางนี้มีครบค่ะ

ไม่ใช่ว่าประเทศชาติหมดความหมาย อย่าคิดว่าคนที่นี่ไม่รักแผ่นดินเกิด

ประเด็นนี้ก็แทบจะฆ่ากันตายมาแล้ว ในบอร์ดเนี่ย พอคนจากไทยมาอ่าน
ก็มาเลยเหวี่ยงมาแล้ว คำว่าพลเมืองชั้นสองแหละ ลอยมาก่อนอันดับแรก

ที่นี่ปัญหามันก็วนเวียนอยู่แบบนี้ เดี๋ยวก็มีกระแสสะท้อน ทำไมคนไทย
บางพวกถึงไม่คิดกลับมารับใช้สังคม ก็จะมีออกมาต่อยอด เพราะนั้นนี้นู้น
ลงท้ายเข้าข่ายการเมืองการปกครอง จาบจ้วงหมิ่นเหม่แตกแยก ลบทู้ไป

สรุปแล้ว คำว่า พลเมืองชั้นสอง ของคุณนั้น คือชนวนให้เกิดวิวาทกรรม
และคำตอบนี้ก็จะทำให้ โจทก์เก่าออกมาอีก เขียนแบบเดิมวนไม่จบสิ้น

ความรู้สึกของคนไทยไกลบ้าน จะมาเข้าเป็นปี่เป็นขลุ่ย ก็ต่อเมื่อโดนด่า
มาเป็นกระแสหลัก ว่าคือกลุ่มคนที่ไม่คิดจะนำความรู้กลับไปทดแทนคืน

คุณที่ตั้งกระทู้นี้ อาจเพียงสงสัย ว่าไปแล้วมีบ้านที่สองในใจใช่หรือเปล่า
ก็ใช่แหละค่ะ คำตอบที่ชัดเจนก็คือ เมื่อเราเป็นประชากรโลกที่ดีได้แล้ว
ทำหน้าที่ของตนเองต่อครอบครัวอย่างดีที่สุด แบ่งปันให้สังคมตามควร
ทุกคนก็บรรลุจุดหมายของตนแล้ว ถ้าหากว่าจะมากัดแทะแขวะกันทุกวัน
ย่ำหยาม เปรียบเทียบ ทำให้เกิดการขัดแย้ง ว่าอยู่ที่ไหนดีกว่ามีคุณค่ากว่า
แบบนี้ ก็เกิดความรู้สึกในทางลบต่อกันมากขึ้น คำว่าพลเมืองไร้สังกัด
หรือพลเมืองไม่มีแผ่นดินอาศัย ยิ่งจะเพิ่มให้คนไทยไม่อยากมองหน้ากัน

สุดท้ายแล้ว ก็เป็นคำตอบ ว่า ทำไมไม่อยากจะกลับไป อยู่เมืองนอกสุข
กว่า คิดถึงบ้านเกิด เราก็ยกอัลบั้มภาพเก่าๆมาดู เก็บรักไว้ในความทรงจำ

กลับไปแล้วทำอะไรให้ดีขึ้นไม่ได้ ซ้ำยังไปพบสิ่งที่ทำให้รู้สึกหดหู่ยิ่งกว่า
เพราะสังคมไทยไล่ตามสากล ในขณะที่คนในต่างประเทศบุกเบิกให้ที่นี่
มีความเป็นไทย ไม่ต้องอะไรมาก แค่สงกรานต์ประเพณีไทยในสหรัฐที่วัด
ก็เรียกความชื่นชมจากนานาชาติมาได้หลายสิบปี แต่ในกลางเมืองหลวง
เกิดอะไรขึ้น ไปในทางตรงข้าม ต้องแก้ที่ไหน กระทรวงอะไร ก็คิดกันเอง

ยังไม่จบหรอกค่ะ ถ้าจะเขียนร้อยคอมเม้นท์ก็ทำได้ชัวร์เรื่องราวแบบนี้
ที่จะยืนยันว่า ไม่จริงอีกแล้ว กับคำกล่าวว่า อยู่ที่ไหนก็ไม่สุขใจเท่าอยู่ไทย


แต่คนไทยที่นี่ ยังจงรักภักดี ต่อพ่อหลวงราชินีราชวงศ์เสมอค่ะ
มีการจัดงานกาลาเทิดพระเกียรติทุกปี ให้คนไทยไปจุดเทียนถวายพระพร

และในการสอนหนังสือเด็กไทย ตามวัด ก็เน้นย้ำความกตัญญูต่อสถาบัน
การอนุรักษ์ภาษาไทย ดนตรีไทย และการทำบุญตักบาตร เป็นสิ่งยืนยัน
ว่าคนไทยไม่เคยลืมชาติศาสนา เราช่วยกันปลูกฝังความรักมาตุภูมิไว้แน่น

ฉะนั้น ไม่ว่าอนาคตของประเทศชาติไปไหนทิศทางไหน คำว่าไทยสำคัญ
เราเห็นธงไทยที่ไหนในต่างแดน เราก็ภูมิใจ อยากให้อะลุ้มอล่วยต่อกัน
ที่สำคัญกว่าอะไรทั้งหมด เวลานี้สองพระองค์พระพลานามัยไม่แข็งแรง
ขอให้ระลึกเสมอว่า ทรงเสียสละเพื่อลูกหลานมานานหลายสิบปีทั้งชาติ
เวลามาเมืองนอก คนไทยได้เข้าเฝ้าฯ ก็ปลื้มปิติ ไม่มีวันลืมรอยพระสรวล

ความเป็นพลเมืองชั้นไหนก็ตามในต่างประเทศ ไม่เคยทรงว่ากล่าวเลย
มีแต่ทรงให้กำลังใจ และพระราชทานพรให้พวกเรา ได้อยู่อย่างมีความสุข

ถ้าคุณจะส่งลูกมาเรียนหนังสือ สิ่งแรกที่คุณควรทำ คือบอกให้ลูกเข้าใจ
ว่าจะอยู่หรือจะกลับบ้าน อย่าดูหมิ่นเหยียดหยามคนไทยในต่างประเทศ

สักวันหนึ่ง คนไทยที่นี่ อาจเป็นกลุ่มที่ให้ความช่วยเหลือสิ่งที่คุณต้องการ
อย่างเวลาน้ำท่วม ก็พวกที่คุณย่ำยีด้วยคำประณามว่าลืมแผ่นดินเกิดนี่หละ
รวมตัวกันส่งของส่งผ้าห่มและของใช้กลับไป จากเงินที่เหนื่อยยากสะสม
แต่คนได้รับไม่เคยรู้ว่าใครบ้างที่ห่วงประเทศชาติและสังคมไทยอยู่เสมอ

อะไรที่จะทำให้คนไทยด้วยกันได้ เราเชื่อว่าคนที่อยู่สบายตัวสบายใจแล้ว
ในต่างประเทศ ต่างลงมือปฏิบัติกันทุกคน พลเมืองชั้น ๒ ทั้งมวลเหล่านี้
ที่พยายามจะแสดงความเห็น ให้คนที่กลับไป นำเอาระบบระเบียบไปใช้
หวังว่าในอีกมิติหนึ่ง แต่ละหน่วยจะเป็นพลังอาสาสำคัญในการเปลี่ยนใหม่
ของแบบนี้ อยู่ที่เวลา ไม่มีอะไรจะไม่เปลี่ยน สุขทุกข์ไม่ใช่ประเด็นหลัก
คุณอยากจะให้ลูกหลาน เป็นแค่คนๆหนึ่ง ที่มาแล้วก็กลับไปเหมือนเดิม
หรือว่าอยากให้เขาเปลี่ยนไปสู่การพัฒนาในระบบที่เจริญกว่า ก็เลือกเอา

เมื่อยละ เท่านี้ล่ะคะ


ตอบกลับความเห็นที่ 13
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 14
เป็นความรู้สึกและความผูกพันล้วน ๆ ค่ะ

ถ้าเป็นคนที่พึ่งจากถิ่นเดิมมาไม่กี่ปี ใจจะมีภาพที่อยากจะหวนกลับไป
ถ้าถามนักเรียนที่มาเรียนในต่างแดน ส่วนมากจะอยากกลับบ้านหลังจากศึกษาจบแล้ว
ยกเว้นว่าอยู่ต่างแดนแล้วถูกกับอุปนิสัย ก็จะพยายามหาหนทางเพื่ออยู่ต่อไป

ถ้าถามคนจีนในยุคปู่ย่าตายายที่มาตั้งรกรากในไทย
ช่วงแรก ๆ ก็อยากกลับไปหาพ่อแม่ญาติพี่น้องที่จีน
แต่พอนานไป หรือกลับไปเยี่ยมที่จีน ..
ถามว่าจะกลับไปจีนไหม ส่วนมากก็อยู่บ้านที่เมืองไทยนะคะ
บางคนก็กลับไปเยี่ยมทุกปี แต่ไม่กลับไปอยู่
หายากมากที่จะเจอคนจีนที่หลังจากอยู่เมืองไทยเป็นสิบ ๆ ปี
แล้วย้ายถิ่นกลับที่จีนอีก
(ในชีวิต เจอคนสูงอายุคนเดียว ที่ย้ายกลับบ้านที่ฮ่องกง
ทั้ง ๆ ที่มีครอบครัวและลูกที่ไทย แต่ไม่แน่ใจว่า
เป็นการแยกทางกันเดินกับครอบครัวหรือเปล่า
เพราะยังเห็นลูกเมียอาศัยอยู่ในไทย)

ถ้าย้ายไปอยู่ในที่สงบสุข มีช่องทางทำมาหากิน มีรายได้ ได้รับเกียรติตามสมควร
อยู่ที่ไหนก็เหมือนกันค่ะ ยุคนี้โลกมันแคบ เชื่อมต่อด้วยระบบสื่อสาร
ทำอะไรที่ไหนก็ได้ค่ะ ไม่เหมือนยุคก่อน (สัก 20 ปีที่แล้ว)
การติดต่อแบบ real time ทำได้ยาก หรือต้องใช้เงินทุนสูง
เดี๋ยวนี้กดปุ่มปั๊บ เห็นภาพคนอีกฝั่งของโลกปุ๊บ ใช้เงินในการติดต่อไม่กี่บาท
อุปกรณ์จากราคาเลขหกเจ็ดตัว หรือแค่เลขสี่ห้าตัว ต่อไปอาจจะฝังไมโครชิปกันเลย
หรือมองภาพได้โดยตรงจากดวงตา เพียงแค่คิดก็เห็นแล้วก็ได้

คำถามของคุณ คำตอบคือ ไม่จริง 100% ค่ะ
ทั้งนี้ทั้งนี้นก็ขึ้นอยู่กับช่วงอายุวัย
ระยะเวลาที่ได้มีโอกาสไปอยู่ต่างแดน
รวมไปถึงลักษณะของคนด้วยค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 14
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 15
เราเป็นคนนึงที่เห็นด้วยกับข้อความนี้ค่ะ
แต่ในแง่แค่ว่า สุขใจที่มีพ่อมีแม่มีสีตว์เลี้ยงคู่ใจอันเป็นที่รักอยู่กับเรา
มาอยู่ตปท.มีเซงบ้าง เบื่อบ้างอันนี้ถือว่าปกติเพราะอยู่ไหนก็เป็นได้หมด

ตัวเองอยู่กับพ่อกับแม่มาตลอดแต่เด็กๆ สต่พอมาเรียนต่อแล้วมามีครอบครัวที่ตปท.
เราก็รู้สึกว่าที่นี่ก็เป็นบ้านนะคะ เรารักบ้านที่อยู่รักสภาพความเป็นอยู่
เวลากลับไทยก็คิดถึงเป็นห่วงบ้าน ถ้าเรามีพ่อกับแม่มาอยู่ด้วยเราคงสบายใจกว่านี้

สภาพโดยรวมเรามีความสุขค่ะ การใช้ชีวิตทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ดีไม่ลำบากอะไร
อย่างที่บอกติดอย่างเดียว มีพ่อแม่อยู่ไกลเลยกังวล

อีกอย่างเรามาแบบสบายๆค่ะ มาเรียนอย่างเดียวไม่ได้ทำงานพาร์ทไทม์อะไร
แต่งงานถูกต้อง ใช้ชีวิตแบบคนทั่วๆไปในประเทศ
เราถือว่าไม่ได้เป็นชนชั้นไหนค่ะ มีกิน มีใช้ตลอด

สำหรับเรามามีครอบครัวเองที่นี่เราก็ไม่กลับค่ะ
กลับไปเยี่ยมพ่อแม่ปีละหน หรือถ้าท่านแก่คงกลับไปดูแลทีละหลายๆเดือนแต่ไม่ทิ้งครอบครัวตัวเองเช่นกัน

เรื่องส้มตำ อาหารไทยไม่ใช่เรื่องใหญ่ค่ะ
ปกติทานง่าย ส้มตำไม่ทานอยู่แล้ว แต่ถ้าอนากทานหาได้ง่ายๆค่ะเยอะแยะ


ตอบกลับความเห็นที่ 15
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 16
ขอปรบมือให้คุณ Idealist USA ดังๆค่ะ...ที่กล้าหาญมากในการขยายความแบบตรงกับใจของดิฉัน...
ก่อนอื่น..สาเหตุที่ต้องปรบมือให้นั้น ไม่ใช่เฉพาะข้อความที่โดนใจเท่านั้น แต่มาจากตัวตนที่แท้จริงของผู้เขียนด้วย...
น้อง Idealist USA คนนี้...ดิฉันรู้จักตั้งแต่เป็นแรกรุ่นดรุณี และเป็นคุณหนูแบบ "ใข่ในหิน" เพียบพร้อมไปหมดทั้งชาติตระกูล การศึกษา ฐานะทางสังคม..เป็นคนที่น่าจะอยู่เมืองไทยได้อย่างสบายๆเพราะโปรไฟล์ที่ว่ามา...

ตอนที่ดิฉันรู้จักเธอใหม่ๆ..ยังคิดว่าจะไหวมั๊ยเนี่ยยย...?
ที่ว่าไหวมั๊ยนั้น...เพราะคนที่จะอยู่อเมริกาได้ ต้องแกร่งพอสมควร ถึงแม้ว่าแค่จะมาเรียนเฉยๆ..งานการไม่ต้องทำก็เถอะ..
ดิฉันไม่แน่ใจว่า....เธอจะมีโอกาสได้เรียนรู้สังคมโลกภายนอกเหมือนอย่างเด็กคนอื่นๆ เพราะมีคุณแม่มาคุมอย่างใกล้ชิดอีกด้วย..
เลยจำกัดเธอไว้ในประเภท...คุณหนูจากรั้วจามจุรี..ที่อีกหน่อยก็คงกลับไปเมืองไทย ไปทำงานในองค์กรดังๆและกลืนไปกับพวกชนชั้นศักดินา..
จะเล่าให้ฟังว่า..ในอดีตนั้น เธอ spoiled ขนาดที่..คุณแม่เธอต้องใช้วิธีเช่ารถรายเดือนให้ใช้ ด้วยเหตุผลว่า..คุณหนูไม่ชอบอะไรที่จำเจ..รถเช่าใช้วันสองวันเบื่อแล้วก็ไปเปลี่ยนเอาคันใหม่ได้...(ก็เช่ารถกันเป็นปีละค่ะ แม่ลูกคู่นี้... )

ที่ไหนได้...เธอได้เติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่ง..ใช้ความรู้ความสามารถที่มีให้กับประโยชน์ของส่วนรวมในสังคมไทย ใส่ใจใกิจกรรมของวัด..มีชีวิตครอบครัวแบบสมถะ ทั้งกล้าพูดและโต้แย้งในสิ่งที่เธอคิดว่ายังไม่ถูกต้อง..

เรียกได้ว่า..ทัศนคติการใช้ชีวิตของน้องได้เปลี่ยนไปแบบหักมุม
อันนี้ต้องของคารวะด้วยใจจริง..

อีกทั้งเห็นด้วยว่า..บ้านเราเดี๋ยวนี้เปลี่ยนไป...มองไปทางไหน..น่ากลัวไปหมด..
ข้ามถนนไม่ได้..ก็ต้องเดินขึ้นไปบนสะพานลอยที่สูงชัน..คนเฒ่าคนแก่จะทำอย่างไร
จะเกาะราวก็กลัวไฟดูด เพราะสายไฟพาดพักไว้เป็นมัดๆ..
จะขึ้นแท๊กซี่...ก็น่ากลัว..เพราะไม่รู้ว่าจะเจอกับคนขับแบบไหน?
เรียกออกไปนอกเส้นทาง...ไม่รับ...
ถ้าเงอะงะ..บอกเส้นทางไม่ถูก...ก็จะพาวนเพื่อให้มิเตอร์ขึ้น..

ข้าวของแพงแบบมหาโหด...เริ่มต้นจากยี่สิบ..ขนมชิ้น น้ำขวด ก๊วยเตี๋ยวสองชามเล็กๆ ในร้านที่มีสภาพพอนั่งได้..ก็ร้อยนึงแล้ว..ไหนจะค่ารถ ค่าบ้าน จิปาถะอื่นๆ
มารวมกันแล้ว..น่าจะไม่อยู่ในงบของรายได้ในอัตราขั้นต่ำ สำหรับคนโสด

ความปลอดภัยไม่ว่าบนท้องถนนหรือในบ้านของตัวเอง..ต้องเสี่ยงดวงเอา..

หากแต่..เมื่อไหร่ที่สร้างฐานะได้แล้ว...พอมีเงินรองรังเอาไว้ใช้ในบั้นปลาย...กลับไปอยู่บ้านนอกที่ยังพอมีมิตรภาพของคนถิ่นเหลืออยู่...ทำตัวให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมเล็กๆได้ละก้อ....บ้านเราคงจะเป็นที่ให้ความสุขใจได้อย่างดีเลยค่ะ...


ตอบกลับความเห็นที่ 16
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 17
ต้องขอโทษทุกท่านนะคะ

หากว่าคำว่าพลเมืองชั้นสอง ทำให้ทุกท่านรู้สึกไม่ดี


จริงๆ ตอนแรกกดส่งไปแล้ว ก็ขับรถออกไปธุระ

ตอนอยู่ในรถก็นึกอยู่เหมือนกัน ว่าคำนี้มันจะอ่อนไหวไปหรือเปล่า

เพราะตอนตั้งกระทู้ถาม ก็นึกถึงแต่ประเด็นที่ว่า

"อยู่ที่ไหน ไม่สุขใจเหมือนบ้านเรา" จริงหรือ



เหตุที่มาตั้งกระทู้ถาม

เพราะเราอยากให้ลูกไปเรียน แล้วไปหางานทำอยู่ที่โน่นเลย

เราก็เลยอยากฟังความรู้สึกเยอะๆ

เนื่องจากเราเองไม่มีประสบการณ์ตรง



รบกวนทุกท่านรับคำขอโทษอีกที แล้วข้ามมันไปได้ไหมคะ

เราอยากรู้แค่ว่า "อยู่ที่ไหน ไม่สุขใจเหมือนบ้านเรา" จริงๆหรือ

เท่านั้น


ตอบกลับความเห็นที่ 17
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 18
ถาม: เราอยากรู้แค่ว่า "อยู่ที่ไหน ไม่สุขใจเหมือนบ้านเรา" จริงๆหรือ

ตอบ: ไม่จริงจ้าาาา...




ตอบกลับความเห็นที่ 18
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 19
เราเองอยู่ประเทศไทยตอนนี้แต่ก็เคยไปอยู่ไปเรียนมาหลายประเทศและมีครอบครัวอยู่ต่างประเทศด้วยเพราะลูกยังเรียนหนังสืออยู่ทางโน๊น
ถ้าจะนับว่าประเทศไทยคือบ้านเราคงเพียงรู้สึกสุขใจที่เห็นพ่อแม่พี่น้องพร้อมหน้ากันเท่านั้น เท่านั้นจริงๆนะ
เพราะฉะนั้นเราขอตอบว่าไม่จริงหรอกที่อยู่ที่ไหนไม่สุขใจเท่าบ้านเรา(ถ้าบ้านนั้นหมายถึงประเทศไทย)
เราเห็นด้วยกับความเห็นที่12 เพราะทุกวันนี้ประเทศไทยยังทำให้เรารู้สึกไม่สงบหลายอย่าง ไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินหลายทาง
ประเทศไทยสำหรับเหมาะสำหรับคนชอบกิน ชอบเที่ยว ชอบแหล่งบันเทิงสาระพัดตลอด24ชั่วโมง
แต่ไม่เหมาะที่จะอยู่อย่างสงบ เพราะหากชอบสงบจริงๆในประเทศไทยคงต้องหนีไปอยู่ในป่า


ตอบกลับความเห็นที่ 19
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 20
# 10 K. bejinpao


According to the word gaijin, for me I don`t think that it is always offensive. It depends on the situation. Actually, “gaijin” is not a bad word. It is an informal form of the word “gaikokujin”. It is the word that shows the difference between Japanese and non-Japanese. Then, all foreigners are gaijin. I have to accept that Japan is not multicultural country. This country has a long history and there are many interesting cultures here. To my knowledge, there is nothing to abuse you with the word “gaijin”. I have never been called gaijin since I have stayed in Japan. However, I always call myself as “gaijin” because I am gaijin.

Another point in the term of separation/difference between group or society, it happens everywhere even in our own country. You can see from the sentence you mentioned above: เป็นแต่ชนชั้นกลางไร้อภิสิทธิ์
I don`t see the point to think too much about it. It does not matter which level you are in the society. The important thing is that you know who you are, where you come from, and what you do. These are all things that I keep in mind with me in every place I have been so far.

To answer your question, อยู่ที่ไหน ไม่สุขใจเหมือนบ้านเรา จริงทั้งหมดไหมคะ

If the home in your case means "Thailand", the answer is not absolutely true.

ตอบกลับความเห็นที่ 20
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 21
ลืมให้ความหมายไปจริงๆ

บ้าน หมายถึงประเทศไทยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

@21 เราพอฟังญี่ปุ่นออกค่ะ

วันนั้นเท่าที่ได้ยิน ความหมายไม่ไปในทางดีเท่าไหร่ค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 21
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 22
คำตอบของผม คือ จริง ครับ

ตราบใดที่คุณรู้สึกว่าที่นั่นเป็น"บ้าน"แล้ว จะไม่มี ที่ไหน ไม่สุขใจเหมือนบ้านเรา

อย่างผมมีสองบ้านทั้งที่ไทยและอเมริกาก็สุขใจไปวันๆ จะสุขใจกว่าอยู่เมืองไทยไหม ไม่แน่ใจ อยู่เมืองไทยบางทีก็เสียวๆเพราะชอบพูดอะไรโพล่งๆ ถามว่ารักเมืองไทยไหม ตอบว่ารักมาก ถ้าถามว่าเมืองไทยความรู้สึกเป็นบ้านอยู่ไหน อยู่ต่างจังหวัดไม่ใช่กรุงเทพ


ตอบกลับความเห็นที่ 22
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 23
เราเข้าใจจขกท.ค่ะ เอาเป็นว่าขอให้โชคดีในการที่จะส่งลูกไปเรียนต่อ
ที่ตปท.นะคะ และที่จริงแล้วเรื่องอยู่อย่างถูกกฏหมายรึมั้ยนั้น ที่ปท.
ที่เราอยู่ส่วนมากเขาก็จะให้ความเท่าเทียมกันทั้งหมดโดยทั่วไป
แหละค่ะ
นอกจากว่าคนที่อยู่อย่างผิดกฏหมาย(บางครั้งต้องอยู่อย่างหลบๆซ่อนๆ)
จะไปทำอะไรให้ที่ไม่ชอบมาพากล
ให้เขาจับได้ เราไม่อยากให้มองว่าคนที่อยู่อย่างไม่ถูกกฏหมาย
เป็นอะไรที่ย่ำแย่มาก เพราะทุกคนย่อมอยากไขว่คว้าหาสิ่งที่ดีให้ชีวิต
ของตนเองและครอบครัวเหมือนกัน และถ้าเป็นไปได้คงไม่มีใครอยากอยู่
อย่างผิดกฎหมายแน่นอน

ที่นี่ให้โอกาสกับทุกคนจะมากหรือน้อยก็แล้วแต่จะขวนขวาย ไม่งั้นคง
ไม่มีเม็กซิกันเข้ามาอยู่กันเต็มพรึ่ดแถมผิดกฏหมายอีกมากมาย
และคำว่า อยู่ที่ไหนไม่สุขใจเหมือนบ้านเรา นั้นคุณก็คงได้คำตอบแล้ว
ว่าไม่ได้หมายถึงทุกคนที่อยู่ต่างแดนค่ะ อย่างเราถ้ากลับไปอยู่ไทย
ก็อยู่ได้ แต่คงต้องปรับตัวกันอีกซักพักเพราะจากมานานเหลือเกิน

ตอบกลับความเห็นที่ 23
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 24
แล้วแต่คนแล้วแต่ครอบครัวค่ะ

ความจริงจากคนๆหนึ่ง ไม่สามารถเป็นความจริงๆให้อีกคนหนึ่งได้

ถ้าอยากหาความจริงให้ตัวเองก็คงต้องหาด้วยตัวเองเพียงอย่างเดียว

และคนที่จะตอบคำถามนี้ให้คุณได้ ก็มีแต่ลูกของคุณคนเดียวเท่านั้น

ส่งๆไปเถอะค่ะ ถ้าเค้าแฮปปี้เค้าก็อยู่ของเค้าเอง ให้เทวดาลากกลับไทยเค้าก็ไม่กลับ

แต่ถ้าเค้าไม่สุขใจกับมัน ต่อให้เอาเทวดาทั้งสวรรค์มาดึงไว้ก็ดึงไม่อยู่ ของแบบนี้ต้องลองค่ะ มันเกี่ยวข้องกับรสนิยมและนิสัยส่วนตัวของคนที่ไปอยู่ด้วยไม่ใช่แต่สภาพแวดล้อมอย่างเดียว

(ของดิฉันอยู่ญี่ปุ่นมาสิบห้าปีแล้ว ผูกพันกับญี่ปุ่นมากแต่ไม่ชอบชีวิตที่นี่เลย มันเหนื่อยมันลำบาก นิสัยของคนญี่ปุ่นแท้ๆเราก็เข้ากับเค้าไม่ได้เลย

ขนาดมาเรียนมหาวิทยาลัยในญี่ปุ่นดิฉันยังไม่มีเพื่อนสนิทเป็นญี่ปุ่นเลย มีแต่เพื่อนต่างชาติ รู้แหละว่านอกเหนือจากญี่ปุ่นแล้วคงไม่มีประเทศไหนอยู่ง่ายปลอดภัยสะดวกสบายเท่านี้อีกแล้ว

แต่จะให้อยู่ต่อไปอีกยาวๆก็ไม่เอาแล้ว ไม่มีใครดูหมิ่นดูแคลนอะไรเรา คนญี่ปุ่นจำนวนมากชอบอาหารไทย ชอบเรียนภาษาไทยด้วยซ้ำ แต่ยังไงก็ไม่อยากอยู่อีกแล้ว มันเหนื่อยมันลำบาก

ไม่มีใครช่วยงานบ้านช่วยเลี้ยงลูกช่วยดูแลยามเจ็บไข้ได้ป่วย ผูกพันยังไงก็ไม่สามารถอดทนอยู่ต่อไปได้แล้วค่ะ อยากกลับเมืองไทยหรือไปอยู่ประเทศสามี

พูดง่ายๆก็คืออยากกลับไปอยู่ที่ๆมีญาติพี่น้องที่พอจะขอความช่วยเหลือได้บ้างเล็กๆน้อยๆยามจำเป็น อย่างเช่นยามป่วยไข้เข้าโรงพยาบาลเป็นต้น)


ตอบกลับความเห็นที่ 24
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 25
พาเจ้าตัวเล็กกลับบ้านไปหาพ่อใหญ่แม่ใหญ่เมื่อช่วง 11 ก.ค. - 7 ส.ค. เอาเป็นว่าตอนจะพาลูกกลับเข้า กทม. ลูกไม่อยากกลับค่ะ เพราะเธอคงจะรู้สึกว่าเป็นบ้านด้วย อาจจะเพราะหลาน ๆ เหลน ๆ ที่บ้านเยอะด้วย ได้เป็นเพื่อนเล่น ได้วิ่งเล่นกันแบบสนุกสนานตามประสาเด็ก ๆ ในขณะที่กลับมาบ้านที่อเมริกานั้นมันแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง บรรยากาศคนละแบบ ลูกต้องเล่นที่บ้าน จะไปวิ่งเล่นนอกบ้านแบบตามบ้านนอกนั้นไม่ได้ นอกจากเวลาที่แม่พาไปเล่นตามเพลย์กราวด์หรือช่วงเปิดเรียน แถมวันที่นั่งรอขึ้นเครื่องกลับอเมริกาที่เกท ลูกนั่งน้ำตาไหลบอกแม่ว่า "ยังไม่อยากกลับ อยากอยู่ต่ออักซักพัก" นี่คือความรู้สึกของเด็กอายุแค่หกขวบกว่า ๆ นะ ทั้ง ๆ ที่ตอนถึงเมืองไทยช่วงสองสามวันแรกเธอบ่นคิดถึงบ้านที่อเมริกา แต่พออยู่บ้านพ่อใหญ่แม่ใหญ่ที่เมืองไทยไปซักพักกลับไม่อยากกลับบ้านที่อเมริกา อาจจะด้วยความผูกพันทางสายเลือดที่เมืองไทย และบรรยากาศครอบครัวใหญ่แบบไทย ๆ เรานั้นมันแตกต่างจากบรรยากาศแบบครอบครัวเดี่ยวที่อเมริกามั๊ง อาจจะมีความเป็นส่วนตัวน้อยแต่ลึก ๆ แล้วก็จะมีความอบอุ่นอยู่เสมอน่ะ

ส่วนความรู้สึกของคนเป็นแม่อย่างดิฉันนั้นตอนจะมีสองความรู้สึก ช่วงถึงเมืองไทยแรก ๆ รู้สึกคิดถึงบ้านที่อเมริกา แต่พอได้กลับบ้านไปอยู่บ้านนอก ได้คุ้นเคยกับกิจวัตรประจำวันที่นั่น พอกลับเข้ามา กทม. ก็ได้เจอเพื่อนเก่าสมัยเรียน ถึงบางคนไม่มีโอกาสได้เจอกันแต่ได้โทรคุยกัน พอจะกลับบ้านที่อมเริกานั้นมันมีสองความรู้สึกคือทั้งคิดถึงเมืองไทยด้วยและคิดถึงบ้านที่อเมริกาด้วย

สรุปคือมันมีความสุขกันคนละแบบค่ะ ที่เมืองไทยเรามีครอบครัวใหญ่ มีพ่อแม่ พี่ ๆ มีน้อง หลาน ๆ เหลน ๆ มีเพื่อนฝูงที่จริงใจกันจริง ๆ เพื่อนหลาย ๆ คนถึงแม้จะไม่ได้เจอกันยาวนานพอเจอกันก็ยังรู้สึกเหมือนเดิม รู้สึกเหมือนยังกะตอนยังเป็นโสดตอนยังเรียนด้วยกันอยู่เลย ส่วนที่อเมริกานี่เป็นบ้านที่เป็นของเราจริง ๆ และความเป็นส่วนตัวจะมีมากกว่าเพราะเป็นแบบครอบครัวเดี่ยวน่ะ(ก็อยู่กันแบบสามคนพ่อแม่ลูก) แต่ก็ให้ความสุขกันทั้งสองที่แต่คนละแบบ


ตอบกลับความเห็นที่ 25
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 26
ขอขอบคุณทุกๆความคิดเห็นค่ะ

จริงอยู่ที่ว่าความรู้สึก ประสบการณ์ของคนๆหนึ่ง

ไม่อาจเป็นคำตอบของทุกๆคนได้

แต่ก็อยากฟังความรู้สึก ความคิด ประสบการณ์ของหลายๆคน

เราก็ไม่ได้คิดว่า ถ้าส่งลูกไปอยู่แล้ว

เค้าจะต้องเจอแบบ 1 2 3 หรือ 4

แต่มันเหมือนเป็นการเรียนรู้มากกว่า

ว่ามันมีอะไรบ้างที่เรา อาจจะ ต้องเจอ

และเราก็เตรียมรับมือกับมันได้


ตอบกลับความเห็นที่ 26