พี่ๆครับมีเรื่องเงินๆทองๆอยากรู้มาถามอีกแล้ว

ดูหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินทั้งหมด ของคนในประเทศไทยส่วนมาก ชนชั้นที่เยอะที่สุดคือ แรงงาน และส่วนใหญ่ประสบปัญหาหนี้สิน หนี้นอกระบบ ทำให้ ทรัพย์สิน แทบจะเรียกว่าศูนย์ มีหนี้และดอกเพิ่มพูนมากมาย



ที่นี้มาดูชนชั้นกลางกัน

ส่วนใหญ่เงินเดือน คงอยู่ในเกณ ไม่เกิน1แสน(คนทั่วๆไป) ทรัพย์สิน ก็มีบ้าน ราคากลางๆ ซักสามถึงห้าล้าน รถ ซึ่งส่วนใหญ่นิยมกู้จากธนาคาร และ ก็ผ่อนเอา ทำงานไปเรื่อยๆ (ในคนธรรมดาที่ไม่ได้ทำธุรกิจหรือไม่มีสมบัติมรดกเก่า) หลักทรัพย์ทั้งหมดคงตีราวๆ 10 ล้านต่อ 1 ชีวิต ใน คนธรรมดา
และคนรวยๆในไทยก็ มี ช่องว่างระหว่างชนชั้นเยอะ เพราะอิสระภาพในการลงทุน นั้นง่ายดาย ทำให้มีคนรวย หลักทรัพย์เกิน50 ล้าน 100ล้าน 1000 ล้าน และอื่นๆอีกมาก

??????????????????????

แล้วฝรั่งในประเทศที่พัฒนาแล้วเค้ามีกันเท่าไหร่ครับ
เช่นบ้านหลังนึง แพงกว่าเรา ราคาอาจซัก 8-15 ล้าน รถ และเงินเดือนที่สูงกว่า (ในคนธรรมดา)

เห็นว่าบ้านเมืองเค้า จะทำกิจการอะไรต้องขออนุญาตมากมาย เสียภาษี เยอะ เงินเข้ารัฐเยอะ ทุกคนต้องเสียภาษีเข้ารัฐเยอะมาก แลกกับสวัสดิการขั้นเทพของประเทศและรัฐบาลที่พัฒนาแล้ว

ถ้าเรามาคิดกันตามสัดส่วน ในคนไทยถือว่ามีคนรวยเยอะกว่าใช่ไหมครับ ถ้าคิดในจำนวนประชากรเท่ากัน

เช่น
ประมาณมั่วๆ
คนไทย 69 ล้านคน มีคนรวย 1 ล้านคน ชนชั้นกลาง 5ล้านคน ที่เหลือ ยังตั้งตัวไม่ได้ ฐานะยังไม่ดีเป็นหนี้ 50 ล้านคน
ฝรั่ง 200 ล้านคน มีคนรวย 1ล้านคน ชนชั้นกลาง150คน(ส่วนมาก) ที่เหลืออาจมีบ้างที่ เป็นแรงงานหรือยังตั้งตัวไม่ได้

คนไทยรวยเยอะกว่าเห็นๆ เพราะ ฝรั่งส่วนมาก เค้าเป็นชนชั้นกลางซะเยอะ เพราะต่อให้เป็นคนจนแบบบ้านเราก็มีสวัสดิการ เรียนฟรี รักษาฟรี ฐานเงินเดือนดีให้ดีดตัวขึ้นมาได้ ไม่เหมือนเมืองไทย ที่ คนจนแล้วส่วนใหญ่จนเลย ชนชั้นกลางก็โดนรังแก ทำให้ผลประโยชตกอยู่กับคนรวยซะมาก รวยไม่ต้องจ่ายภาษีเยอะๆหนีได้ คนจน
ฝรั่ง(ไม่ระบุประเทศแต่เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วรัฐและระบบปกครองมันเอื้อต่อการจ่ายภาษีให้คนเท่าเทียมกันซะมาก (เดาเอา))



ประเทศเราเอานิยาม มีบ้าน มีรถ ถือว่าตั้งตัวได้แล้ว แล้วฝรั่งเค้า นิยามแบบไหนครับ มีคนทำงานเช่าบ้านไหม พอมีบ้านมีรถแล้ว ถือว่าเป็นชนชั้นกลางได้แล้วรึยัง


อ่านปวดหัวหน่อยนะครับผมก็อธิบายไม่ถูก งงๆ แต่ไม่ค่อยเข้าใจ ขอบคุณมากครับถามบ่อยไปหน่อย

ความคิดเห็นที่ 1
เหตุผลที่เค้าเจริญกว่าเรา เพราะ คนส่วนมากเท่าเทียมกันและมีโอกาสเหมือนๆกัน ทุกคนรึเปล่าครับ เกี่ยวไหม เพราะในคนไทย ส่วนมาก คนฐานะยังไม่ดีไม่ค่อยมีสิทมีเสียงเท่าไหร่ ไม่การเมืองนะครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
การแบ่งชนชั้นของประเทศอังกฤษมันซับซ้อนมากกว่านั้นค่ะ
ถ้ามาในยุคใหม่ ๆ อาจจะเหลือแค่สาม
แต่ก็จะไม่มีใครมาพูดตรง ๆ ต่อหน้าใครว่า
คุณเป็นชนชั้นกลาง คุณเป็นชนชั้นสูง
หรือเราเป็นชนชั้นรากหญ้า ยิ่งคำว่ารากหญ้านี่
ถือว่าเป็นการดูถูกกันมาก ปัจจุบันก็ดูที่อาชีพค่ะ
http://en.wikipedia.org/wiki/National_Statistics_Socio-economic_Classification
แต่กระนั้นแล้ว ลึก ๆ เงียบ ๆ คนก็จะสังเกตเอาเอง
โดยดูที่พื้นเพ เช่น จากสำเนียง จากกริยามารยาท
แล้วคิดเอาเอง

ที่เขาเจริญกว่าเรา เพราะมาจากการต่อสู้กับความลำบาก และการยอมรับความจริงค่ะ

ส่วนสำคัญหนึ่งคือ การให้โอกาสทางการศึกษาค่ะ เด็กที่โตมาจากครอบครัวยากจน
มีโอกาสได้รับการศึกษาเท่ากันหรือเรียนอยู๋ในห้องเดียวกับครอบครัวที่พ่อแม่จ่ายเงิน
คือ เขาจ่ายเงินค่าเล่าเรียนตามแต่ฐานะของครอบครัวแต่ละครอบครัว (ที่ประเทศญี่ปุ่น
ก็ใช้หลักการเดียวกันนี้) แต่ไม่ได้จับเด็กแยกห้อง

เหมือนกับเขาพยายามสร้างบ้านที่เรียกว่าบ้านของการเคหะปะปนกับบ้านของเอกชน
แต่ก็เป็นยุค ๆ นะคะ เพราะบางยุคก็ไม่เห็นด้วย แล้วแต่ว่ายุคไหนรัฐบาลแบบไหนมีอำนาจ


ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
ทำไมถึงดูตามอาชีพละครับ เพราะแต่ละที่มันก็ไม่เท่ากัน หรือประเทศที่พัฒนาแล้วฐานเงินเดือนของเค้ามั่นคงและ แน่นอน กว่าของเรา


ปวดหัวมากครับ แรกๆก็แค่สนใจเรื่องพวกนี้ หลังๆคิดมากคิดจนปวดหัว ก็ยังไม่เข้าใจท่องแท้ ว่าจะไปหาจิตแพทย์แล้วครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
เรื่องเงิน ใคร ๆ ก็รู้ค่ะ พอถามอาชีพก็เดาเงินเดือนกันได้ ไม่ได้ยากอะไร
เหมือนกับที่คุณพิมพ์หาในกูเกิ้ลว่า ถ้าจะทำอาชีพนี้ นั้น โน้น ควรได้เงินเท่าไหร่
มันจะมีรายการออกมาให้เลยนะคะ ว่า อาชีพนี้ ในเมืองนี้ ควรได้เงินตั้งแต่เท่าไหร่ถึงเท่าไหร่
รู้กันไปจนถึงระดับบริหารว่าเงินเดือนเท่าไหร่ เป็นต้น ไม่ได้เป็นความลับสุดยอดอะไรนะคะ
ก็เหมือนสินค้า .. ถ้าคุณจะซื้อดินสอหนึ่งแท่ง ราคามันหาได้อยู่แล้วค่ะ

เรื่องฐานเงินเดือน ก็เหมือนฐานของราคาสินค้า มันก็ใช้หลักการคำนวณต้นทุนมาเหมือนกัน
ไม่งั้นเราจะไม่สามารถหาผลกำไร ขาดทุนขององค์กร หรือตั้งงบประมาณได้นะคะ
เพราะแต่ละอาชีพที่เราจ้างมา มันก็จะเป็นต้นทุนของสินค้า


ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
ตามความคิดเรานะการที่ประเทศตะวันตกเจริญกว่าบ้านเราเป็นเพราะเค้าทำงานแบบตั้งใจจริง ฝรั่งจะเสเพลเฉพาะในช่วงวัยรุ่น แต่พอออกจากบ้านมาหางานทำด้วยตัวเอง เค้าก็เริ่มตั้งใจทำงาน เก็บเงิน ทำให้ฝรั่งส่วนใหญ่ซื้อบ้าน ซื้อรถได้ตั้งแต่อายุน้อยๆ และภาษีที่เค้าจ่ายไปเป็นจำนวนเงินที่มากนั้น รัฐบาลได้เอามาพัฒนาสวัสดิการต่างๆ ซึ่งส่วนหนึ่งก็เป็นเงินสำหรับคนไม่มีงานทำ ทำให้ต่อให้ฝรั่งจน ไม่ได้ทำงานก็ไม่อดตายเหมือนบ้านเรา


ตอบกลับความเห็นที่ 5
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 6
ไปอ่านหนังสือเรื่อง the price of inequality
เขียนโดยนักเศรษฐศาสตร์ Joseph Stiglitz
คนนี้เราว่าแนวคิดเค้าโปรรัฐสวัสดิการ แจกเงินคนจนเหมือนจขกทเลย
จะรู้ว่าคนรวยของอเมริกา แบบรวยมากสุด ๆ มีน้อยและมีทีท่าว่าจะได้เงินมากขึ้นเรื่อย ๆ
ในขณะที่สวัสดิการน้อยลงเรื่อย ๆ
อันนี้ข้อมูลจากหนังสือล้วน ๆ นะคะ. ทำสถิติมาเลยว่าพวกbottom 20% ของสังคมมีโอกาสดึงตัวเองขึ้นมาจากความจนน้อยมากลงเรื่อย ๆ American dream is now just a myth
ไม่ใช่แต่ไทย

อังกฤษก็คล้ายกันแต่ไม่แย่เท่า
ประเทศที่จขกทว่าน่าจะเป็นแต่พวกสแกนดิเนวียนที่เค้าเก็บภาษีสูง ๆ นะคะ
ประเทศในยุโรปอื่น ๆ บางประเทศก็ไม่ได้รวยกันแล้ว ถ้าติดตามข่าวน่่าจะทราบ สเปน กรีซ โปรตุเกส

ไม่ได้ต่างจากไทยมากหรอกค่ะ นโยบายประชานิยมมาก ๆ อีกหน่อยจะเป็นกรีซแล้วเนี่ย

ตอบกลับความเห็นที่ 6
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 7
นิยาม "ชนชั้นกลาง" ของแต่ละประเทศไม่เหมือนกันหรอกครับ แม้แต่นักสังคมศาสตร์ระดับโลกยังตั้งนิยามออกมาไม่เหมือนกันเลย แต่ที่ใช้กันอยู่แพร่หลายในปัจจุบันคือนิยามของ Max Weber นักสังคมศาสตร์และนักปรัชญาชาวเยอรมัน

โดยคร่าวๆ แล้วคนชั้นกลางตามความหมายขององค์กร OECD ในเชิงเศรษฐศาสตร์ที่ใช้เป็นเกณฑ์ครอบคลุมทั่วโลก หมายถึงคนที่มีรายได้มากกว่าแค่พอเพียงมีกินมีใช้ในแต่ละวัน แต่ต้องมีเงินเหลือต่อไปเพื่อจัดหาที่อยู่อาศัย สามารถดูแลรักษาสุขภาพตนเองและสมาชิกในครอบครัว และสามารถส่งเสียบุตรให้มีการศึกษาในระดับอุดมศึกษาได้ สรุปว่าเป็นชนชั้นที่มีมาตรฐานชีวิตสุขสบายไม่ขัดสน

ในแง่ของนักวิจัยเศรษฐศาสตร์จะยังสามารถให้นิยามออกมาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น สถาบัญวิจัยเศรษฐศาสตร์ของเยอรมัน The German Institute for Economic Research (DIW) ตั้งนิยาม "ชนชั้นกลาง" ว่า หมายถึงผู้มีรายได้สุทธิมากกว่ารายได้เฉลี่ยของประชากรทั้งประเทศที่ 70-150% ซึ่งในประเทศเยอรมันหมายถึงผู้มีรายได้สุทธิหลังหักภาษีระหว่าง 1170-2350 ยูโรต่อเดือน หรือ 2250 - 3350 ยูโร ก่อนหักภาษีต่อเดือน ผู้มีรายได้ต่ำไปกว่านี้แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 860 ยูโรต่อเดือนคือผู้มีรายได้ต่ำ และถ้าต่ำกว่า 860 ยูโร ก็จะกลายเป็นคนยากจนที่จะอยู่ได้ก็ด้วยอาศัยความช่วยเหลือสวัสดิการสังคมของรัฐ

+++ ขอคั่นจังหวะถามหน่อย แล้วประเทศไทยไม่มีหน่วยงานไหนทำวิจัยออกมาบ้างหรอกหรือ ว่าประเทศไทยมีชนชั้นไหนอยู่ที่สัดส่วนเท่าไหร่? จขกท ถึงได้มั่วเอา แถมมั่วแบบใช้ตัวเลขจำนวนประชากรมาเปรียบเทียบ แทนที่จะคิดเป็นเปอร์เซนต์เพื่อจะได้เข้าใจง่าย คุณถึงได้สับสนเองอยู่นั่นไง+++

สำหรับเยอรมนีเปอร์เซนต์คนชั้นกลางอยู่ที่ 61.5% คนรายได้สูง 16.5% และผู้มีรายได้ต่ำ 22% ตั้งแต่เกิดวิกฤษเศรษฐกิจปี 2008 เป็นต้นมา ส่งผลให้จำนวนของชนชั้นกลางในประเทศพัฒนาอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ลดลง และ จำนวนของผู้มีรายได้ต่ำเพิ่มขึ้น

ในขณะเดียวกันตั้งแต่ปี 1980 เป็นต้นมาจำนวนชนชั้นกลางของโลกได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จากการบูมของเศรษฐกิจในประเทศที่เคยยากจนกลายมาเป็นประเทศกำลังพัฒนา ตัวอย่างเช่นในจีนและอินเดีย

สำหรับตัวบ่งชี้อื่นนอกจากรายได้แล้ว ได้แก่ การศึกษาซึ่งเป็นตัวกำหนดคุณสมบัติทักษะและความรู้ที่จำเป็นสำหรับแต่ละสาขาอาชีพ การศึกษาและรายได้จึงเป็นข้อบ่งชึ้ชนชั้้นของสังคมที่ควบคู่มาด้วยกันเสมอ แล้วถึงมาเป็นปัจจัยเสริมทางด้านสังคมอื่นๆ เช่น ประวัติตระกูลของครอบครัว กิริยามารยาท ความสามารถในการเรียบเรียงประโยคหรือการใช้คำพูดในการสนทนา เป็นต้น

ถ้าไปดูชนชั้นกลางของอเมริกาตัวเลขสัดส่วนจะน้อยราว 45% เพราะอเมริกายังแบ่งแยกย่อยออกเป็น ชนชั้นกลางค่อนข้างสูง คนชั้นกลางค่อนข้างต่ำ คนชั้นแรงงาน รายได้ที่กำหนดก็แตกต่างกันไป อยากรู้รายละเอียดก็เข้าไปดูหัวข้อ American middle class



ตอบกลับความเห็นที่ 7
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 8
ท้ายสุด เรื่องการดำเนินนโยบายเป็น "ประเทศสวัสดิการ" หรือที่ไทยเรียกว่า "ประชานิยม" นั้น จะสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อ ประชาชนในประเทศต้องยินยอมลงทุนด้วย นั่นคือต้องยอมจ่ายภาษีในอัตราที่สูง แต่ถ้าประชาชนไม่ฉลาดพอที่จะคิดได้เช่นนี้ กลับไปเข้าใจผิดๆ เอาว่าเป็นหน้าที่ของรัฐบาลแต่เพียงผู้เดียวที่จะเนรมิตรสวัสดิการทุกอย่างให้ได้ตามประสงค์ นักการเมืองจึงได้โอกาสใช้เป็นคำโฆษณาสัญญาในการหาเสียงว่าจะสนองความต้องการให้ถ้าได้รับเลือกตั้งเข้ามา พอมาเป็นรัฐบาลเข้าจริงๆ จะเอาเงินมาจากไหน? ถ้าประชาชนไม่ยอมให้ขึ้นภาษีก็ต้องกู้ยืมเงิน ประเทศมีรายจ่าย(ที่ไม่ได้ก่อผลลัพธ์อะไรกลับคืนมาเลย)มากกว่ารายรับ ประเทศก็เจ๊ง จะโทษนักการเมืองไม่ได้ ต้องโทษประชาชนนั่นเองที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอ

ที่ คห 6 คุณ PuppyPower เข้าใจว่า กรีช โปรตุเกส สเปญ มีปัญหาเศรษฐกิจเพราะการเป็นประเทศสวัสดิการนั้น จริงๆ แล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่ ประเทศพัฒนาแล้วในยุโรปเป็นประเทศสวัสดิการทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น ลักซัมบวร์ก เบลเยี่ยม ออสเตรีย เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี ประเทศกลุ่มนอร์ดิคอีก 5 ประเทศ ฯลฯ ประเทศเหล่านี้ไม่เห็นมีปัญหาเศรษฐกิจ

ปัญหาที่เกิดขึ้นกับ กรีซ สเปญ โปรตุเกล และ กำลังตามมาด้วย อิตาลี นั้นสาเหตุหลักมาจากการฉ้อฉลกันเองของคนภายในประเทศ ไม่ยอมจ่ายภาษีโดยยอมติดสินบนเจ้าหน้าที่รัฐ ธุรกิจสำคัญคือการเดินเรือซึ่งควรเป็นแหล่งรายได้ภาษีเป็นหลักให้แก่ประเทศ กลับไม่ต้องหรือไม่ยอมจ่ายภาษีหรือจ่ายน้อยที่สุด โกงไปจนถึงสหภาพ EU เอาเงินที่เขาให้มาช่วยเหลือพัฒนาประเทศไปสร้างงานโดยจ้างทุกคนเป็นพนักงานของรัฐ ไปจ่ายสวัสดิการให้คนสุขสบายโดยไม่ต้องทำงานหนัก คนที่รับเงินเกษียณอายุกว่าครึ่งหนึ่งไม่มีตัวตนจริงๆ ตายไปนานแล้วแต่ญาติยังรับกันต่อไป รัฐก็ไม่เคยตรวจสอบ สินค้าของประเทศที่จะผลิตออกขายในตลาดโลกก็ไม่มีอะไรสักอย่าง นอกจากไวน์กับน้ำมันมะกอก และ ท่องเที่ยว แต่มีมาตรฐานความเป็นอยู่ระดับยุโรปอุตสาหกรรมที่ประชาชนทำงานหนักกันแทบตาย พูดง่ายๆ คือ รายได้ต่ำแต่มีคุณภาพชีวิตสูง สุดท้ายก็เจ๊งเพระานิสัยการโกงและไม่ชอบทำงานหนักของคนในประเทศเอง ไม่ได้เกี่ยวกับนโยบายรัฐสวัสดิการ ทั้ง 4 ประเทศที่กำลังมีปัญหาหนักตอนนี้มีปัญหาหนึ่งที่เหมือนกันก็ตรงที่ "การโกงกิน" นี่เอง และเป็นประเทศในกลุ่มทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทั้งหมด มีสภาพภูมิอากาศสบายเกินไป

ลองดูไอร์แลนด์เป็นตัวอย่าง ที่เคยมีปัญหาเศรษฐกิจเหมือนกัน ตอนนี้สถานะการณ์กลับดีขึ้นตามลำดับ

อังกฤษ มีปัญหาเศรษฐกิจจากผลกระทบโดยตรงที่อเมริกาเริ่มขึ้นก่อน และอังกฤษเองได้สูญเสียอุตสาหกรรมด้านการผลิตและเทคโนโลยี่ไปตั้งแต่สมัยที่นายกมาการ์เรต แทธเชอร์ สู้รบกับสหภาพแรงงานที่เรียกร้องสวัสดิการและสภาพการจ้างงานเสียจนท้ายที่สุดไม่สามารถแข่งขันกับเยอรมนีและฝรั่งเศสได้อีกต่อไป จึงเปลี่ยนไปเข้าสู่การเป็นศูนย์กลางการเงินการธนาคารแทนและเชื่อมโยงกับตลาดการเงินในอเมริกาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พอปัญหาเริ่มขึ้นก็ลุกลามติดต่อถึงกันโดยทันทีและก็กอดคอร่วมทุกข์ร่วมสุขกันอยู่ทุกวันนี้

ตอบกลับความเห็นที่ 8
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 9
คุณ : Bagheera ขอเชิญมาบ่อยๆนะครับ

ตอนนี้ที่ผมดูๆว่าทำไมโลกจึงปั่นป่วน เคร่าๆก็คือมาจากคนรวยหยิบมือเดียวกับนักการเมืองเลวและศานาตัวร้าย ทั้งสามแยกกันไม่พัวพันกันไปหมด


ตอบกลับความเห็นที่ 9
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 10
คุณอิสวาสุ

เห็นด้วยโดยไม่มีข้อโต้แย้งครับ ศาสนา การเมือง และธุรกิจ ตัวการทำให้โลกป่วนจริงๆ

ถ้ามีกระทู้เกี่ยวกับเรื่องที่ผมสนใจและติดตามอยู่ก็อยากจะเข้ามาตอบครับ ปกติแล้วผมจะดูหัวข้อกระทู้เป็นหลักว่าจะผ่านเลยหรือจะคลิ๊กเข้าไปอ่าน บางทีการตั้งหัวข้อกระทู้ทำให้ผมเข้าใจผิดและไม่ได้เข้าไปเลยก็มี อย่างเช่นกระทู้นี้ผมนึกตอนแรกว่าเป็นเรื่องเงินๆ ทองๆ ในกระเป๋าทั่วๆ ไปไม่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ จึงไม่ได้เข้ามาดูตั้งแต่แรก จนกระทั่งมีคนไปสะกิดว่ามีคำถามน่าสนใจ ไม่สนใจเข้าไปตอบหรือ? ผมถึงได้เข้ามาหลังใครอื่นเขา

ตอบกลับความเห็นที่ 10
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 11
จริงอย่างที่คุณยีพีว่าเลยค่ะ รายได้ของแต่ละอาชีพในประเทศที่ดิฉันอยู่พิมพ์หาในกูเกิ้ลก็สามารถรู้ได้เลยค่ะ ไม่ได้เป็นความลับทางราชการ

ที่มีฐานเงินเดือนแน่นอนเพราะกฎหมายแรงงานและเพื่อป้องกันนายจ้างเอารัดเอาเปรียบค่ะ

การที่จะไล่คนๆนึงให้ออกจากงานก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆด้วยคะเพราะที่นี่ทุกสาขางานมีสหภาพแรงงานเป็นของตนค่ะ

สำหรับดิฉันเรื่องเงินเรื่องทอง คิดมากไป อยากได้มากไปก็ปวดหัวค่ะ ใช้เท่าที่หามาได้ เหลือเก็บบ้าง เอาเวลาไปท่องเที่ยวหาความสุขดีกว่าคะ จะตายวันไหนก็ไม่รู้

รัฐสวัสดิการ จะว่าทำได้ง่ายก็ง่าย จะว่าทำได้ยากก็ยากค่ะ คือต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย ทั้งคนจ่ายเงิน คนเก็บเงิน คนบริหารเงิน และคนได้รับเงินค่ะ

ยากตรงที่ว่าต้องมีความตรงไปตรงมา ซื่อสัตย์ สามารถตรวจสอบได้ และเห็นการพัฒนาหรือสวัสดิการที่เป็นรูปธรรมค่ะ

ทุกคนต้องเดินไปในทางเดียวกัน เต็มใจที่จะจ่ายภาษีมากๆเพื่อสวัสดิการที่ตอบแทนมาในรูปแบบต่างๆค่ะ

ดิฉันทำงานจ่ายภาษีให้รัฐ 36% ยังไม่รวมเงินประกันสังคมอีก 8% และถูกหักเงินค่าพักร้อนอีก 10% แต่สวัสดีการที่ได้รับคืนก็เป็นที่น่าพอใจค่ะ

ตอบกลับความเห็นที่ 11
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 12
ผู้รู้มาเองแล้ว เราคงเข้าใจความหมายของรัฐสวัสดิการผิดไปหน่อยค่ะ
แต่เราไม่ได้เข้าใจผิดไปหนักแบบที่คุณBagheera คิดว่าเราเข้าใจผิดนะคะ
ประเทศเหล่านั้นแย่ลงเพราะว่าอะไร
เราก็อ่าน Boomerang ของ Michael Lewis ค่ะเลยพอทราบ ก็เป็นอย่างที่คุณว่ามา
ส่วนแบบไหนที่จะเป็นประชานิยม เป็นรัฐสวัสดิการ แจกเงินอย่างเดียวไม่พอต้องเก็บภาษีสูงด้วยอันนี้เราทราบไม่ละเอียดเพราะว่าไม่ได้ศึกษาลึกซึ้งขนาดนั้นค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 12