ฟังมุมมองจากแพทยสภาที่มีต่อการไปเรียนแพทย์หลักสูตรอินเตอร์ที่ประเทศจีน

ไขข้อข้องใจทุกแง่มุม ข้อดี-ข้อเสีย การเรียน-การสอน
ของการไปเรียนต่อแพทย์หลักสูตรอินเตอร์ที่ประเทศจีน
รวมถึงรายละเอียดขั้นตอนการกลับมาสอบใบประกอบวิชาชีพในประเทศไทย
http://www.youtube.com/watch?v=0tmZ4kj_FtY&feature=player_embedded#!
http://www.oknation.net/blog/prointered/2012/07/28/entry-1


http://www.youtube.com/v/0tmZ4kj_FtY&feature=player_embedded#!
ความคิดเห็นที่ 1
จขกท คนนี้ มีแต่เอาข่าวที่น่าสนใจ มาให้อ่าน ถึงแม้ว่าตัวผมจะเป็นเพียงแค่หมอเสนห์ แต่ก็เปิดเข้าไปดูครับ


ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
เห็นด้วยครับ คุณ ความคิดเห็นที่ 1


ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
ขอเสริมจขกท แพทยสภาประกาศเตือนหน้าเวบครับ เพื่อพิจารณาเพิ่มเติม

คำเตือนสำหรับผู้ที่มีความประสงค์จะไปศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ในสาธารณรัฐประชาชนจีน
ที่มา/ผู้ประกาศ : ประชาสัมพันธ์
วันที่ : 18 มิ.ย 2555

คำเตือน

สำหรับผู้ที่มีความประสงค์จะไปศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ในสาธารณรัฐประชาชนจีน



ด้วยปัจจุบันมีผู้ที่สนใจไปศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ ในสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นจำนวนมาก แพทยสภาขอแจ้งให้ทราบว่า การรับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตในสาธารณรัฐประชาชนจีน แพทยสภามีมติรับรองหลักสูตร6ปีที่มีการจัดการเรียนตลอดหลักสูตร ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน และรับรองโรงพยาบาลที่ใช้ในการเรียนการสอนระดับคลินิกเฉพาะที่ระบุมาในหลักสูตรและอยู่ในสาธารณรัฐประชาชนจีนเท่านั้น

นักศึกษาต้องยื่นเรื่องให้แพทยสภารับรองหลักสูตรและสถาบันเป็นรายบุคคล เพื่อให้นักศึกษามีสิทธิสมัครสอบเพื่อรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทยได้

การรับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตต่างประเทศ เป็นการรับรองเนื้อหาหลักสูตรการเรียนการสอนด้านปรีเมด ปรีคลินิก คลินิก และชั่วโมงเรียนรวมเป็นจำนวนหน่วยกิต โดยเทียบเคียงกับการรับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตในประเทศไทย แต่ทั้งนี้ไม่ได้รวมไปถึงการบริหารจัดการของสถาบัน

แพทยสภาจึงขอเตือนผู้ที่จะไปศึกษา ณ สาธารณรัฐประชาชนจีนได้รับทราบถึงปัญหาการเรียนเพื่อใช้ในการตัดสินใจและเตรียมตัวต่อไป ดังนี้

การเรียนระดับปรีเมด ปรีคลินิก เป็นการบรรยายและฝึกปฎิบัติในห้องเรียนส่วนใหญ่ ต่างกับการเรียนหลักสูตรของประเทศไทยที่สอนผสมผสานสอดคล้องกับวิธีการประเมินขั้นตอนที่ 1 ของแพทยสภา นักศึกษาจะมีความยากลำบากในการสอบขั้นตอนนี้

โรงพยาบาลทุกระดับใช้ภาษาจีนในการสื่อสารทั้งการอ่านการเขียนและเจรจาโดยเฉพาะคนไข้ ญาติ แพทย์พยาบาลที่ดูแลประจำหอผู้ป่วย แม้มีล่ามช่วยแปลก็ตาม ทำให้เรียนไม่เข้าใจต้องลาออกกลางทาง หรือเมื่อสำเร็จการศึกษาไม่สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ด้านคลินิกเพียงพออาจทำให้ไม่สามารถสอบเพื่อรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมในไทยได้ นอกจากนั้นระบบเวชระเบียน ใบสั่งยาเกี่ยวกับคนไข้เป็นภาษาจีนทั้งหมดด้วย

นักศึกษาจำเป็นต้องมีความรู้แตกฉานเรื่องภาษาจีนในช่วงระดับคลินิกซึ่งจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มมากกว่าในหลักสูตรทั่วไป

ปัจจุบัน นักศึกษากำลังศึกษาในระดับปีแรกๆที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ มีเพียงส่วนน้อยไม่ถึงสิบคนที่เริ่มขึ้นชั้นคลินิกและพบปัญหาการเรียนดังกล่าวจนต้องลาออก

ผลการประเมินขั้นตอนที่1 ของแพทยสภาสำหรับนักศึกษาที่มีสิทธิสมัครสอบทั้งหมดไม่ผ่านเกณฑ์

ดังนั้น นักศึกษาจำเป็นต้องประเมินตนเองให้มากที่สุดก่อนการตัดสินใจ เพราะการเป็นแพทย์รักษาผู้ป่วยในประเทศไทยจำเป็นต้องสอบผ่านได้ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมก่อน ซึ่งเป็นข้อบังคับสำหรับแพทย์ทุกคนทั้งที่จบในประเทศไทยหรือต่างประเทศ


ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
สำหรับผมน่ะ
ผมว่าถ้าอยากเรียนแพทย์ต้องสอบรร.แพทย์รัฐบาลในไทยให้ได้
ผมว่าเดี๋ยวนี้ไม่ยากแบบสมัยก่อนแล้ว เปิดรับเยอะมาก โรงเรียนแพทย์รัฐบาลเปิดใหม่ก็มาก เฉพาะสอบแพทย์GPAไม่ดู เป็นอะไรที่ยุติธรรมมากๆ สอบอย่างเดียวไม่เกี่ยวกับเกรดไรเลย
อีกอย่างเด็กเก่งบางส่วนเดี๋ยวนี้ก็ไม่ได้เลือกเรียนแพทย์ ไม่เหมือนสมัยก่อนที่เก่งๆส่วนมากต้องแพทย์เท่านั้น

ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
โหวตค่ะ ...
อยากให้ช่วยโหวตกันเยอะ ๆ ...
เพราะ มีคนเข้าไปเรียนเยอะมาก ... และไม่ได้สนใจในรายละเอียดอย่างที่แพทย์สภา ประกาศเตือนเลย


ตอบกลับความเห็นที่ 5
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 6
อาจารย์แกพูดให้เห็นความเป็นจริง พูดทั้งข้อดี และ ข้อเสีย
แต่ คุณเอเจนซี่ พยายามพูดให้ เห็นแต่ข้อดีมากกว่า ...


เราเห็นบาง คห. ด่า อาจารย์ว่า อคติ ..."คำก็เก่ง สองคำก็ไม่เก่ง"
ก็คุณเรียนไม่เก่งจริงๆอะ แต่คุณดันฝันอยากจะไปมีอาชีพที่ "รักษาชีวิตคน" คุณต้องมีความรับผิดชอบมากกว่านี้



เห็นด้วยกับอาจารย์จริงๆ
อยู่จีนเขาไม่ให้ คุณทำคนไข้หรอก ..ยิ่งคุณเป็นต่างชาติ
การกลับมาสอบยากมาก ... เพราะ ข้อสอบเป็นภาษาไทยเนี่ยแหละ โรคที่เน้นก็ไม่เหมือนกัน

ข้อสอบกฎหมายยากมาก

และขอบอกว่า "สะใจ" ที่อาจารย์บอกว่า ทางเอเจนซี่ที่เป็นคนส่งไปควรจะหาที่ฝึกงาน 1 ปี หลังเรียนจบ เพราะโรงพยาบาลที่จะรับมันน้อยจริงๆ ยิ่งตอนนี้ นศพ. เพิ่มจำนวนมากขึ้นอีก ...

และชอบตอนสุดท้าย ที่อาจารย์บอกว่า "อย่าทำอะไรเล่นๆ"

แพทย์สภาต้องการ คัดเลือก "แพทย์ที่มีคุณภาพ" ค่ะ

ตอบกลับความเห็นที่ 6
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 7
ตอนม.ปลาย ก็อยากเรียนเป็นหมออยู่น่ะ อยากเป็นศัลยแพทย์ แต่ติดนิดเดียว โง่


ตอบกลับความเห็นที่ 7
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 8
สงสัยค่ะว่าการเรียนแพทย์ในประเทศจีนไม่ได้ใช้ตำราเป็นภาษาอังกฤษเหรอคะ ที่สงสัยก็เพราะ มีนักเรียนมาเรียนภาษาคนนึง ฟังอังกฤษแทบไม่รู้เรื่องเลย ถามว่าเป็นอะไรบอกว่าเป็นด๊อกเตอร์ ด๊อกเตอร์อะไรด้านไหน จีพีหรืออะไรเค้าก็ทำหน้างงไม่รู้เรื่องซักอย่าง ถามต่อว่าคุณเป็นด๊อกเตอร์อะไร ก็ชี้ไปที่หัวใจบอกว่าฮาร์ท เลยสงสัยค่ะว่าการเรียนหมอที่ประเทศจีนไม่ได้ใช้ตำราภาษาอังกฤษหรือคะ พี่ชายเป็นหมอด้านหัวใจเรียนในไทย ยังพูดฟังอ่านภาษาอังกฤษได้ดี ก็พยายามถามสาวจีนต่อแต่เค้าไม่รู้เรื่องเลยก็เลยไม่รู้ว่าเป็นอย่างไรกันแน่ค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 8
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 9
เห็นด้วยมากกกก
และถ้าอยากไปเรียนจริงๆ ก็ให้เลือกมหาวิทยาลัยที่ แพทยสภารับรองหลักสูตรแล้วดีกว่า
เพราะถ้าจะมายื่นขอรับรองหลักสูตรเอง ต้องให้มหาวิทยาลัยจัดทำเอกสารหลักสูตรแบบละเอียดยิบเลยเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อประกอบการพิจารณา และใช้เวลาเป็นปี


ตอบกลับความเห็นที่ 9
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 10
ตอบ คุณ คหที่ 8 นะคะ
เท่าที่เคยเห็น ไม่ได้ใช้ ตำราภาษาอังกฤษค่ะ ใช้ ภาษาจีน และ ทุกอย่างถูกแปลเป็นจีนหมด แม้บางคำ แปลไม่ได้ ก้ใช้ ทับศัพท์ให้อ่านคล้าย


ตอบกลับความเห็นที่ 10
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 11
ตอบคห8

ผมเห็นด้วยกับคห10-ตำราทุกอย่างแปลเป็นจีน

ที่ผมเห็นเช่นทางด้าน Organic Chemistry, Physics, Molecular

แปลเหมือนต้นฉบับภาษาอังกฤษเลย-แค่เป็นภาษาจีน


ตอบกลับความเห็นที่ 11
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 12
ขอขอบคุณ คุณ I-am-Friday และ คุณNine Cats อย่างมากค่ะ ที่ให้ความกระจ่างข้อสงสัยค่ะ^_^


ตอบกลับความเห็นที่ 12