คำถามเกี่ยวกับ Thesis ปริญญาเอก และการทำปริญญาเอกที่เยอรมัน

ผมเห็นว่าที่เยอรมันมีการทำปริญญาเอกทั้งกับมหาวิทยาลัย และกับทางบริษัทต่างๆ อยากจะทราบข้อแตกต่างระหว่างการทำปริญญาเอกกับทางบริษัทกับทางมหาลัยหน่อยครับว่ามันต่างกันยังไง แล้วผมก็อยากทราบว่า การทำปริญญาเอกในเยอรมัน มีบ้างมั้ยครับที่ทำกันมาตั้งนาน สุดท้ายพอส่งไปแล้วโดนทางคณะตีกลับ แล้วให้ไปแก้ใหม่ หรือมีการ defense แล้ว สุดท้ายผลออกมาคือไม่ผ่าน งานที่ทำมาทั้งหมดตั้ง 4-5 ปีก็เป็นอันเสียไปหมด ยังไงช่วยแชร์ประสบการณ์กันหน่อยครับ

ความคิดเห็นที่ 1
www.study-in.de
Information on studying and living in Germany.

www.daad.de/dany
The DAAD virtual advisor answers your questions about studying in Germany at once and 24 hours a day. And he shows you where to find more helpful information.


ตอบกลับความเห็นที่ 1
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 2
"ผมเห็นว่าที่เยอรมันมีการทำปริญญาเอกทั้งกับมหาวิทยาลัย และกับทางบริษัทต่างๆ อยากจะทราบข้อแตกต่างระหว่างการทำปริญญาเอกกับทางบริษัทกับทางมหาลัยหน่อยครับว่ามันต่างกันยังไง "
>> ข้อแตกต่าง เงินคับ ทำกับบริษัท ได้เงินคับ ทำกับมหาลัย คุณอาจจะไม่ได้เงิน

"การทำปริญญาเอกในเยอรมัน มีบ้างมั้ยครับที่ทำกันมาตั้งนาน สุดท้ายพอส่งไปแล้วโดนทางคณะตีกลับ"
>> คณะนี้ เป็นสิ่งสุดท้ายแล้วคับ คนแรกที่จะตีกลับ คือ อาจารย์ที่ปรึกษาของคุณ(doktorvater) ถ้าาผ่านท่าน ก็ก็จะส่ง ไปที่คณะกรรมการ ต่อไป

คุณลองไปศึกษาดูนะคับ ในเยอรมันมี วิธีทำ ป.เอก สองแบบ แบบ monographie และ kumulativen Dissertation


ตอบกลับความเห็นที่ 2
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 3
คห.ที่ 2 ที่ว่าเรื่องเงินนี่ เข้าใจผิดนะครับ ต้องขออธิบายให้เข้าใจก่อนเลยว่า การทำปริญญาเอกของที่นี่ต่างกับที่อเมกา หรือหลายๆที่อย่างสิ้นเชิง แม้จะเรียกกันภาษาอังกฤษว่า PHD Student นั้น แต่ในความเป็นจริงจะไม่มีการเรียนเพิ่มใดๆทั้งสิ้นอีกแล้ว ถึงแม้ปัจจุบันนี้จะเริ่มมีข่าวคราวให้ได้ยินเรื่อยๆว่า ในอนาคตอาจจะมีการปรับเปลี่ยนระบบให้เหมือนกับที่ US คือจะต้องมีการเรียนเพิ่มในคอร์สปริญญาเอก แต่ยังไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอันให้ได้เห็น ว่าง่ายๆว่า การเรียนทุกอย่างจบที่ปริญญาโทครับ การทำปริญญาเอกอาจจะมีการเข้าร่วมสมนาเพิ่มพูนความรู้บ้าง แต่จะไม่มีคอร์สเรียนเหมือนหลายประเทศอื่นๆ ไม่มีการสอบหรืออะไรทั้งสิ้น นอกจากการ Defense ตอนจบนั่นล่ะครับ หน้าที่หลักของผู้ทำปริญญาเอก หรือที่เรียกกันในภาษาเยอรมันว่า Doktorand นั้น คือการค้นคว้าในหัวข้อที่ได้รับมา และต้องทำการช่วยเหลือ Professor หรือ Doktorvater ของคุณในการเรียนการสอน เช่น อาจจะช่วยคุมการทำแลป หรีอ Praktikum หรือเป็นผู้ทำการสอนแทนในกรณีที่ Professor ไม่อยู่ หรือเป็นผู้สอนและรับผิดชอบใน Exercise ต่างๆ (Übung) นอกจากนี้บางมหาลัย Doktorand คือ ผู้ดูแล หรือเรียกว่า Betreuer ของเด็กนักศึกษาระดับปริญญาตรีและโทในการทำ Thesis จะเห็นได้ชัดแล้วนะครับว่า การทำปริญญาเอกของเยอรมัน คือ "การทำงาน Full-time ในฐานะนักวิจัย" ไม่ใช่การเรียน เพราะฉะนั้นแน่นอนว่า จะต้องมีการได้รับเงินเดือนเหมือนการทำงานบริษัททั่วๆไป แต่จะได้รับสัญญา fixed-term contract (befristeter Vertrag) ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะให้สัญญาแรกเป็นเวลาประมาณ 3 ปี แต่ระยะเวลาโดยเฉลี่ย (ขอตอบในสายที่รู้แน่นอน) ของสายวิศวะ คือ ประมาณเฉลี่ยน 5 ปี ซึ่งแน่นอนว่า ก็จะได้รับการต่อสัญญาหลังหมดไปเป็นครั้งๆไป

การทำปริญญาเอกกับบริษัทและกับทางมหาลัย มีข้อแตกต่างกันในหลายๆจุดนะครับ ขอไล่เป็นข้อๆไปตั้งแต่ข้อแรก คือ เรื่องเงินเดือน การที่คุณทำปริญญาเอก หรือที่เรียกกันว่าไปทำงานเป็น Wissenschaftlicher Mitarbeiter (Wimi) หรือ Wissenschaftlicher Assistent นั้น คุณก็จะได้เงินเดือนตามเกณฑ์ที่รัฐกำหนดให้นะครับ ซึ่งจะได้รับเงินเดือนตาม Tarifvertrag für den Öffentlichen Dienst der Länder (TV-L) (http://oeffentlicher-dienst.info/tv-l/) แล้วแต่รัฐที่คุณไปทำปริญญาเอกเงินเดือนก็จะมากน้อยไม่เท่ากัน เช่นเดียวกับเงินเดือน Professor ตามมหาลัยต่างๆ คุณสามารถหาดูเงินเดือนได้ใน Internet เลยครับ ส่วนเงินเดือนที่ได้กับทางบริษัทนั้นก็ไม่ได้ต่างกันมาก แล้วแต่บริษัทหลายๆที่จ่ายพอๆกับมหาลัยนั่นล่ะครับ บางที่ก็อาจจะมากกว่านิดหน่อยประมาณ 500 € เป็นต้น

ข้อที่ 2 ข้อแตกต่างของการทำเอกที่บริษัทกับมหาลัยนั้น คือ เรื่องงาน หลักๆในมหาลัยในฐานะที่คุณเป็น WiMi ก็อย่างที่ชี้แจงไปตอนแรกแล้วว่า คุณจะต้องมีส่วนร่วมในการสอนเด็กปริญญาตรีและโท แต่กับทางบริษัท คุณก็จะต้องทำงานในสายงานของคุณ จริงๆการทำ PHD ในบริษัท คุณจะมีเวลาน้อยมากในการทำงานวิจัยของตนอย่างที่สามารถอ่านเจอได้ในหนังสือพิมพ์หรือ Magezine ต่างๆ (ผมหาแหล่งที่อ่านไม่เจอแล้ว ไว้หาเจออีกทีจะมาโพสท์ให้นะครับ) แต่จริงๆการทำงานในมหาลัย บ่อยครั้งที่คุณก็จะประสบปัญหาเดียวกัน เพราะงานที่คณะที่นอกเหนือจากการทำวิจัยของคุณก็มีมากมายเช่นกัน

ข้อที่ 3 การที่คุณจะทำ PHD นั้น คุณจำเป็นจะต้องมี supervisor เป็นผู้รับรองงานของคุณ และนั่นก็คือปัญหาหลักๆของการทำ PHD ในบริษัท ในขณะที่คุณทำ PHD ทีมหาลัยนั้น คุณมี Doktorvater เป็นผู้ให้คำปรึกษาเป็นช่วงๆ และสามารถตามดูแลงานของคุณได้ตลอดจนจบนั้น การที่คุณทำ PHD extern คุณจำเป็นจะต้องหา Doktorvater ในมหาลัยท่านหนึ่งเป็นผู้รับรอง ปกติแล้วถ้าทำกับทางบริษัท ทางบริษัทก็จะมี Contact กับทางมหาลัยอยู่บ้างแล้ว คราวนี้ก็ขึ้นอยู่กับหัวข้อและผลที่ได้มาของคุณว่าจะเป็นแบบไหน ข้อแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด คือ ถ้าคุณทำเอกกับทางบริษัท และคิดว่า Dissertation ของคุณพร้อมจะส่งแล้ว อันดับแรกก็ควรจะต้องส่งให้ Professor อ่านก่อน ซึ่งปัญญาแรกที่จะให้ Professor รับรองเป็น supervisor ให้ก็ลำบากแล้ว เพราะเค้าไม่ได้ติดตามงานใกล้ชิดเหมือนกับเด็กทำ PHD ของเค้าในมหาลัย และการที่จะให้เด็กจบ PHD ไปโดยใช้ชื่อเค้ารับรอง ก็คือการเอาชื่อเสียงตัวเองมาเสี่ยง หากเค้าไม่มั่นใจตั้งแต่แรก คุณก็จะมีปัญหาตั้งแต่หา supervisor แล้ว แม้คุณจะหา supervisor ได้ หากเค้าไม่คิดว่า Dissertation ของคุณดีพอ เค้าก็จะให้คุณแก้ และไม่ให้คุณผ่าน (ซึ่งบางครั้งนั่น คือ จิตวิทยาที่บอกคุณว่า คุณไม่มีความสามารถมากพอ และเลิกทำไปเถอะ ยังไงเค้าก็ไม่ให้คุณผ่าน เรื่องนี้เป็น Ungeschriebenes Gesetz หรือกฏที่ไม่มีเขียนที่ใดให้อ่านที่ Doktorand ทุกคนในประเทศเยอรมันรู้ แต่ต้องหมั่นระวังเสมอว่า ที่แก้ๆกันนั้นเพราะจุดประสงค์อะไรกันแน่ ที่แก้อยู่นี้เป็นเพียงแค่เสียเวลาของการทำงานไปอีกหรือเปล่า) ซึ่งนั่นก็จะตอบคำถามสุดท้ายของคุณว่า "ไม่มีครับ" หากคุณสามารถไปถึงจุดที่ Professor ปล่อยให้คุณได้นัด Defense หรือ Verteidigung แล้ว เกรดจะดีหรือแย่ แต่ยังไงก็จบ แต่คุณจะไปถึงจุดนั้นหรือไม่ นั่นคือคำถามที่สำคัญกว่า เพราะนั้นคือคำตอบที่จะบ่งบอกว่า คุณจะมีโอกาสจบหรือไม่ หรือควรจะเลิกทำไปเอง เพราะจะไม่มี Professor ท่านไหนในเยอรมันไล่คุณออกโดยตรง มีแต่จะใช้จิตวิทยาให้คุณแก้งานของคุณไปเรื่อยๆ จนคุณรู้สึกตัวเองว่า มันไม่ make sense หรือไม่สามารถทำได้จริง นั่นก็คือ Sign ว่า คุณควรจะออกไปทำงานอื่นเสียเถอะ อย่ามาเสียเวลากับการทำ PHD ที่นี่ต่อเลย เท่าที่ทราบไม่เคยมีใครโดนไล่ออกจากการ PHD หรอกครับ มีแต่ออกกันไปเองถ้าไม่ด้วยเหตุผลส่วนตัว ก็เหตุผลที่อธิบายมาในตอนต้น ไม่ง่ายหรอกครับ ไม่ใช่ทุกคนที่ทำ ก็สามารถจบกันได้ บางคนเสียเวลาชีวิตไปเป็นปีๆ แต่ไม่จบก็มีครับ

สุดท้าย คือ ข้อเสียที่แย่ที่สุดของทางบริษัท กรณีที่ Worst Case ที่สุด และมีให้เห็นอยู่เรื่อยไป จริงๆก็ไม่ใช่เรื่องใหม่หรือน่าแปลกใจอะไร คือ การโดนตัด Budget โดยปกติทางบริษัทจะมี Budget ที่แน่นอนในการให้นักเรียนปริญญาเอก หากถึงจุดๆนั้นแล้ว งานยังไม่มีผลออกมาให้เห็นได้เท่าที่ควร ก็โดนตัด Budget ครับ งานที่ทำมาทั้งหมดเป็นปีๆ ก็มีอันจบครับ ซึ่งเทียบกับทางมหาลัยแล้ว ทางมหาลัยจะไม่มีจุดนี้ เพราะมหาลัยโดยมากมักจะมีเงินในส่วนที่รัฐให้มาทุกปี รวมถึง Drittmittel หรือ external funds จากที่ต่างๆ หากเป็นมหาลัยใหญ่ๆเช่น RWTH-Aachen, TU-München, TU-Darmstadt เป็นต้น พวกนี้จะมีการ Co กับหลายๆบริษัทและ Institutes เช่น Fraunhofer Institut, Siemens etc. เป็นต้น เรื่องเงินจึงมักจะไม่ใช่ปัญหา หากนักเรียน PHD สามารถหาเหตุผลที่ดีและคุณมี Doktorvater ที่ดีและเข้าใจคุณ เค้าก็จะให้เวลาคุณเพิ่มพร้อมกับ Budget ซึ่งตรงนี้ทางบริษัทหาได้น้อยมาก หรือแทบไม่มี เพราะเค้าไม่ใช่ Supervisor คุณ เค้าให้แค่เงินเดือนและเงินสนับสนุน สิ่งที่ต้องการ ก็คือผลงานครับ

ส่วนที่ คห.2 ว่าถึง "monographie" และ "kumulative Dissertation" นั้น ไม่ได้เกี่ยวกับการทำปริญญาเอกกับทางบริษัทหรือกับมหาลัยนะครับ ทั้ง 2 แบบ เป็นเพียงวิธีการ หรือว่าง่ายๆว่า ทางที่จะสามารถไปถึงการทำ PHD ของนักเรียนปริญญาเอกในประเทศนี้ได้

Monographie จะคล้ายกับการทำ Thesis คือ คุณเขียน Dissertation ทีเดียวในรูปแบบเล่ม แล้วก็ส่งตอนจบของการทำ PHD ของคุณทีเดียว แต่ kumulative Dissertation นั้น คือ คุณจะต้องมีอย่างน้อย 3 publications/ papers ก่อน (ขึ้นอยู่กับมหาลัยและรัฐที่คุณทำ จะมีจำนวนแตกต่างกันไป) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องที่คุณทำ PHD แล้วจึงจะสามารถเริ่มกับ Dissertation และสามารถจบ PHD ได้


ตอบกลับความเห็นที่ 3
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 4
คห. 3

คนรู้จักผม ทำ ป. เอก จบไปแล้วคับ ไม่เคยได้รับเงินเดือน เพราะไม่ใช่ ลูกจ้างของมหาลัย ส่วนเรื่องสอนเด็ก ป.ตรี ป.โทนั้นรับคุม praktikum แล้วแต่ความสมัครใจ แต่ก็ได้เงิน เป็นรายชั่วโมงไป

ส่วนที่ผมว่า "monographie" และ "kumulative Dissertation" ก็หมายถึงที่ เจ้าของกระทู้ตั้งมาไงคับ ว่าส่งไปแล้ว ไม่ผ่านอะไรของเขานั้น..
แต่ถ้าคุณทำแบบ kumulative Dissertation แล้วส่งไป ผ่าน 3 เรื่อง ผ่านไป เขารับติดพิมพ์ในวารสารในสาขานั้นๆแล้ว ก็จะง่ายกับการรวมเล่ม กว่าที่จะเขียนแบบ monographie เข้าใจที่ผมจะสื่อไหมเนี้ย...

ตัวอย่าง วารสาร อันนี้ทาง วิทยาศาสตร์
Top journals
http://pubget.com/

ตอบกลับความเห็นที่ 4
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 5
ในเมื่อคุณ Dearz ให้ข้อมูลมาว่า พี่ที่คุณรู้จักนั้นไม่ใช่ลูกจ้างของมหาลัย มันก็ไม่แปลกที่จะไม่ได้เงินเดือนสิครับ แต่นี่เรากำลังพูดถึงส่วนรวมหรือส่วนใหญ่ของผู้ทำ PHD ในเยอรมัน ถ้าในกรณีนั้นทุกคนที่เป็น Wimi ของมหาลัยได้เงินเดือน "ทุกคน" ครับ สำหรับกรณีของพี่ที่คุณรู้จักนั้น ให้ผมเดา ผมคาดว่าพี่เค้าได้ Promotionsstipendium รึเปล่าครับ? เพราะหากไม่มีเงิน Support ใดๆทั้งสิ้นนั้น การจะทำ PHD ในเยอรมันเป็นระยะเวลานานถึง 4-5 ปี เป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว นอกจากคนๆนั้นจะได้เป็นแค่ 1/2 Stelle หรือ 1/2-Teilzeitbeschäftigung และทำงานอื่นหาเงินเลี้ยงตัวเองไปด้วย

ยังไงรบกวนคุณ Dearz ให้ข้อมูลเพิ่มนิดนึงแล้วกันนะครับ ตอนนี้ผมก็สันนิษฐานเอาว่า "พี่"ที่คุณรู้จักท่านนี้ได้ทุนจากข้างนอก (Promotionsstipendium) แล้วกันนะครับ ซึ่งไม่ใช่กรณีทั่วไปที่คนทำ PHD กับทางมหาลัย เราพูดถึงคนโดยรวมหรือคนส่วนใหญ่ที่ทำ PHD ปกติ"กับทางมหาลัย" = "เป็นลูกจ้างของมหาลัย" ไม่ใช่กรณีที่นักศึกษาที่ได้ทุนจากข้างนอก และเป็นส่วนน้อยครับ ทุนที่ว่ามาก็เช่น จาก DAAD หรือทุน กพ. หรือจาก Bundesstiftung Umwelt เป็นต้น แล้วหากจะบอกว่าไม่ได้เงินเดือนก็ต้องบอกด้วยว่า ได้ทุนมาจากข้างนอก ไม่ใช่ไม่ได้เงินเลย เพราะในกรณีที่ไม่ได้เงินเดือนเลยแล้วทำงาน Full-time โดยทำ PHD กับทางมหาลัยจะใช้ชีวิตอยู่ยังไงล่ะครับ? อันนี้ผมพูดถึงกรณี่ที่ทำในสาย Naturwissenschaft นะครับ คือ ต้องมีการทำทดลองต่างๆ โดยใช้เครื่องมือของมหาลัย ไม่ใช่การทำงานในสาย Geisteswissenschaften ที่ไม่ต้องมาการทำทดลอง แต่อาศัยการเก็บข้อมูล หรือการอ่าน Literatur เป็นหลัก ซึ่งไม่จำเป็นต้องทำที่มหาลัยก็ได้ ยังไงถ้าจะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในกรณีนี้ก็รบกวนขอข้อมูลเพิ่มเติมด้วยครับ

คราวนี้มาพูดถึงกรณีที่เงินเดือน เงินเดือนที่ได้มาจากไหนนั้นมันอีกประเด็นหนึ่งครับ ซึ่งในกรณีนี้มันไม่ใช่กรณีธรรมดา แล้วก็มันไม่ใช่กรณีปกติที่ทำงาน หรือทำ PHD กับทางมหาลัย ในกรณีที่ได้ทุนนั้นแน่นอนว่าในกรณีนี้สัญญาก็ต้องมีเนื้อหาแตกต่างกันไป กรณีนั้น Professor จะไม่เข้าไปยุ่งด้วยมาก เพราะถือว่าไม่ได้ขึ้นตรงกับเค้า เงินเดือนก็ไม่ได้ตรงจากมหาลัย เพราะฉะนั้นในสัญญาจะไม่บังคับเด็ก PHD ในการมีส่วนร่วมในการสอน และโดยทั่วไประยะเวลาในการทำ PHD ก็จะสั้นกว่า PHD ปกติที่เป็น Wimi กับทางมหาลัย ก็ถูกแล้วนิครับที่ไม่ได้เงินเดือน ในเมื่อตัวเองได้แล้วจากทางต้นทุน ไม่งั้นก็ถือว่าได้ 2 ต่อ พี่คนหนึ่งที่คุณว่านั้นก็เป็นเพียงแค่ส่วนน้อยในมหาลัย หรือคณะเท่านั้น

แต่หากพูดถึงกรณีปกติโดย "ส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมด" Wissenschaftlicher Mitarbeiter ที่คุณทำ PHD และขึ้นตรงกับมหาลัย หรือที่เรียกกันว่า verbeamtete wissenschaftliche Mitarbeiter จะได้เงินเดือนเสมอครับ ไม่มีใครที่ทำแล้วไม่ได้เงินเดือน จะเห็นได้ว่า จะเขียนไว้เสมอใน Aufgabenbeschreibung หรือ Tätigkeitsbeschreibung เช่นว่า

"Die Aufgabe wird entsprechend der Tarifrichtlinien des öffentlichen Dienstes vergütet."

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดจากมหาลัยต่างๆที่หามาให้เป็นตัวอย่าง

http://www.iwb.de/Karriere/Stellenangebote/Themengruppe+Produktions_+management+und+Logistik/Technologie_+und+Betriebsmittelplanung.html

หรือ

http://www.emk.tu-darmstadt.de/institut/freie-stellen/225/

ที่เขียนชัดเจนเลยว่า "Mitarbeit in den vom Institut angebotenen Lehrveranstaltungen wie Übungen und Praktika wird erwartet." รวมทั้ง Die Vergütung erfolgt nach dem Tarifvertrag für die Technische Universität Darmstadt (TV - TU Darmstadt). (ในรัฐ Hessen เรียก Tarif อีกแบบ)

หรือ

http://careercenter-jobs.de/downloads/promotionsstellen/11-06-stellenausschreibung_wimi_1_8_11_landesst.pdf?PHPSESSID=hi60jvc3f781eqinbks0fatqg3

ซึ่งก็เขียนไว้ชัดเจนเช่นกันว่า "Darüber hinaus unterstützen Sie das Team in der Betreuung von Lehrveranstaltungen"

หรือ

http://doktorandenboerse.info/suchen/angebot_ausgabe.php?Angebot_id=5008&Uni=45&Fach=,1,

ซึ่งก็มี Bemerkung เช่นกันว่า Zu den Aufgaben gehoeren ausserdem die Wahrnehmung von Lehre (2 SWS) und die Uebernahme von organisatorischen Aufgaben am Lehrstuhl.

นั่นเป็นเพียงตัวอย่างส่วนน้อยจากมหาลัยต่างๆ แต่จะเห็นได้อย่างชัดเจนนะครับว่า ทุกมหาลัยจะระบุขั้นเงินเดือนตาม Tarifvertrag für den Öffentlichen Dienst der Länder (TV-L) (http://oeffentlicher-dienst.info/tv-l/) ซึ่งจะไม่เท่ากันแต่ละรัฐ แต่ไม่มีที่ไหนที่ทำงานแบบไม่ได้เงินเดือน เว้นแต่หาหัวข้อเอง แล้วอยากจะเขียนให้ได้ ยอมไม่รับเงินเดือน หรืออะไรก็แล้วแต่ กรณีนี้ถือว่าเป็นอีกกรณีนะครับ แต่หากคุณ Dearz มั่นใจว่า ในกรณี "ปกติ" ของการทำ PHD กับมหาลัยนั้น (ซึ่งผู้ทำไม่ได้ทุนจากข้างนอก) มีอยู่จริงที่ทำ PHD แล้วไม่ได้เงิน ก็รบกวนช่วยเอามาเป็นตัวอย่างให้ดูด้วยนะครับ จะได้เป็นการเพิ่มพูนความรู้ตัวผมไปด้วย เพราะผมไม่เคยเห็น และเท่าที่ทราบจากการอ่านหนังสือต่างๆ และจากประสบการณ์การสนทนากับทางมหาลัย Professors และ Dr. ท่านต่างๆจากหลายมหาลัยหรือบริษัทในหลายๆรัฐ ก็คือข้อมูลที่ผมนำมาอ้างอิง รวมถึงตัวอย่างที่นำมาแสดงให้ดูด้วยครับ

นอกจากนี้ยังมีระบุไว้ชัดเจนอีกด้วยในอย่างที่ผมอธิบายไปว่า การร่วมสอนในมหาลัยสำหรับ Doktorand ที่ขึ้นกับมหาลัยนั้นเป็น "หน้าที่" นะครับ ไม่ใช่ความสมัครใจ (ไม่งั้นคงไม่มีใครทำ ใครๆก็อยากจะวิจัยในเรื่องที่ตัวเองทำเป็นหลักอยู่แล้วครับ ถ้าว่ากันตรงๆการสอบสำหรับ Wimi ก็ทุ่นเวลาวิจัยไปไม่น้อยครับ) ซึ่งหลายๆมหาลัย จะไม่มีเขียนตรงนี้เป็นลากลักษณ์อันษร เพราะเป็น Dienstpflicht อยู่แล้ว แต่บางมหาลัยก็มีอย่างเห็นได้หลายตัวอย่างด้านบนเช่นกัน และทุกคนที่จะทำ PHD กับทางมหาลัยก็ทราบดีว่า นั่นคือ 1 ในเหตุผลหลักที่ทำให้การทำ PHD ในเยอรมันล่าช้า ในฐานะ Wimi คุณต้องดูแลเด็กปริญญาตรีและโท และดูแล Lehrveranstaltung รวมถึงออกข้อสอบ ตรวจข้อสอบด้วย เพราะ Professor ไม่มานั่งตรวจเองอยู่แล้วครับ เค้ามีหน้าที่เซ็นต์รับรองเฉยๆ หน้าที่ออกข้อสอบและตรวจ Wimi ทำหมด ทุกมหาลัยเหมือนกันหมดครับ เพราะ Professor เองก็มีหน้าที่ที่ต้องทำไม่น้อยเหมือนกัน นอกจากการสอนแล้วก็ยังมีงานวิจัย ซึ่งถือเป็นงานหลัก จะว่าไป สัญญาของ Wimi บางส่วนจะคล้ายคลึงกับของ Professor ซึ่งในสัญญาของ Professor มีระบุ "บังคับหน้าที่ในการสอน" ไม่ใช่ความสมัครใจครับ (ซึ่งก็จะเห็นได้จาก Professor บางคนที่ให้ความสำคัญในการวิจัยมากกว่าการสอนเช่นกันครับ หากเลือกได้ Professor บางท่านจะขอวิจัยมากกว่ามานั่งสอน)
http://de.wikipedia.org/wiki/Wissenschaftlicher_Mitarbeiter

Bei verbeamteten wissenschaftlichen Mitarbeitern gehören Lehrveranstaltungen zu den Dienstpflichten. => Wikipedia

ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยแพร่หลาย และเป็น ungeschriebenes Gesetz ที่ผู้ทำ PHD กับมหาลัยในเยอรมันรู้กันทุกคนเช่นกันครับ เช่น http://www.wissenschaft.hamburg.de/ ก็ก๊อบเอาส่วนนี้ของ Wikipedia ไปใช้ในบทความของเค้าเช่นกัน http://www.wissenschaft.hamburg.de/clp/3283458/clp1/wiki/Wissenschaftlicher_Mitarbeiter

ส่วนที่ว่าแล้วแต่ความสมัครใจและได้เป็นชั่วโมงในการคุม Lab หรือ Praktikum นั้น คือ กรณีนึงซึ่งเป็นกรณีส่วนน้อย (นับจำนวนคนได้ต่อคณะครับ คนที่ได้ Promotionsstipendium ในมหาลัย) ที่อาจจะระบุไว้ในสัญญาเรื่องความสมัครใจในการช่วยเรื่องของการสอน และอาจจะได้ค่าดูแลต่อชั่วโมง อันนี้ผมไม่ทราบเพราะสัญญาของพวกนี้จะเนื้อหาแตกต่างไปจากปกติ แต่ปกติแล้วกรณีที่ คุณ Dearz ว่ามานั้น นับเป็น Hiwi - Hilfswissenschaftler ครับ ซึ่งโดยปกติแล้วก็ขึ้นอยู่กับ Wimi อีกต่อครับ เพราะ Wimi จะไม่มีเวลาลงมาคุมด้วยตัวเอง แต่จะคุม Hiwi อีกต่อ แต่โดยทั่วไปแล้วจะกำหนดอยู่ในสัญญาโดยชัดเจนว่า จะต้องมีส่วนในการเรียนการสอน โดยรวมอยู่ในเงินเดือน และไม่ได้นับเป็น ชม แต่อย่างใด (ตัวอย่างก็ชี้แจงไว้ข้างบนแล้วเช่นกัน) เพราะได้เงินเดือนอยู่แล้วตามที่รัฐกำหนด นอกจากนี้ในสัญญาของ Wimi จะกำหนดอยู่ชัดเจนอยู่แล้วว่า ชั่วโมงในการทำงานต่ออาทิตย์เท่าไหร่ ไม่มีการจ่ายพิเศษเป็นชั่วโมงครับ

ตอบกลับความเห็นที่ 5
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 6
ผมคาดว่าพี่เค้าได้ Promotionsstipendium รึเปล่าครับ?

>> เปล่าคับ ทุนตัวเอง แต่โชคดีอย่างหนึ่งคือ สารเคมีและ อุปกรณ์ ไม่ต้องออกเองคับ ใช้ของแล็บได้ นะคับ
ส่วนตอนคุม praktium ก็จะได้สัญญางานเลยคับ เขาจะกำหนด เลยว่าจากไหนถึงไหน ทำงานกี่ชั่วโมง แล้วได้เงินต่อชั่วโมงเท่าไร ก็ตาม tarif ละคับ


ตอบกลับความเห็นที่ 6
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 7
กรณีนี้ผมก็พึ่งเคยได้ยิน เป็นการตกลงที่แตกต่างจากที่รู้จักทั่วๆไปจริงๆครับ ไม่ทราบว่าจะละลาบละล้วงไปมั้ยครับ หากจะขอถามนิดนึงว่า Uni ไหน ผมรู้จักแต่แบบที่ยกตัวอย่างมา กับแบบที่ได้ทุนนี่ล่ะครับ ยังไงก็ขอบคุณที่มาแบ่งปันครับ ได้เปิดหูเปิดตาขึ้นอีกหน่อย


ตอบกลับความเห็นที่ 7
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 8
uni Tuebingen คับ

ผมพาไปสมัครเองกับมือ!!


ตอบกลับความเห็นที่ 8
   
  
 
 
   
ความคิดเห็นที่ 9
ยืนยันว่าใช้ทุนตัวเองก็มีค่ะ แต่ไม่แนะนำ เพราะ Professor จะไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่ ไม่ต้องรีบให้จบเพราะไม่ต้องกังวลกับ Budget แต่ถ้าได้ Professor ดี ก็ดีไป

Uni Kassel ค่ะ


ตอบกลับความเห็นที่ 9